แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03991
สัญญาเลขที่ 58-00-1983

ชื่อโครงการ เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร
รหัสโครงการ 58-03991 สัญญาเลขที่ 58-00-1983
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นาง วารุณี ธารารัตนากุล
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 28 ธันวาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 24 กุมภาพันธ์ 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางสาว มณีพร เนาว์ไพร หมู่ที่ 8 บ้านพรุสมภาร ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 0869509564

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของสภาผู้นำ

1.มีสภาผู้นำ จำนวน 30 คน 2.มีการประชุมทุก 1 เดือน จำนวน 12 ครั้ง 3.มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าประชุม ไม่น้อยกกว่า 80 %
4.มีการพูดคุยเรื่องโครงการและสถานการณ์ปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน

2.

2.เพื่อกำหนดแผนและแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน จากรายได้ที่ตกต่ำ

1.มีแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจชุมชน โดยมาจากฐานข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.1 รายได้ รายจ่าย 1.2 วิถีการดำรงชีวิตการออม 1.3 อาชีพ 1.4 ข้อมูลทุนหมู่บ้าน 2. มีกลุ่มอาชีพ อย่างน้อย 3 กลุ่มคือ กลุ่มปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนท์, กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านย้ายคอก และไก่ไข่อารมณ์ดี, กลุ่มเลี้ยงปลาดุก 3.มีร้านค้าชุมชุน 1 แห่ง 4.มีสภาเกษตรชุมชน 5.มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา

3.

3.เพื่อพัฒนาศักยภาพและเด็กเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด

1.เด็กและเยาวชนมีรายได้เสริม และมีส่วนร่วมในกิจกรรม การจัดการข้อมูล, มีกิจกรรมสร้างสรรค์ จำนวนอย่างน้อย 60 คน

4.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : 1.สภาผู้นำ ทำความเข้าเข้าโครงการและวางแผนการดำเนินงานi

1,400.00 40 ผลผลิต
  1. คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 20 คน
  2. คณะกรรมการกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ในหมู่บ้าน จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมาย 40 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  1. ได้สภาผู้นำ จำนวน 35 คน
  2. แบ่งโซนการทำงานได้ 11 โซน
  3. แต่งตั้งหัวหน้าโซน และมอบหมายให้คัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชน โซนละ 6 คน 4.ได้นัดหมายประชุมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน วันที่ 21 ตุลาคม 2558

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 20 คน
  2. คณะกรรมการกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน
1,400.00 1,400.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้สภาผู้นำ จำนวน 35 คน
  2. แบ่งโซนการทำงานได้ 11 โซน
  3. มอบหมายงานให้หัวหน้าโซน หาผู้ช่วยหัวหน้าโซน 1 คน และเยาวชน 4 คน โดยกำหนดให้เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในโซนที่ตนรับผิดชอบ
  4. สรุปได้ว่า แบ่งโซนทำงานได้ 11 โซน มีแกนนำด้านข้อมูลชุมชน โซนละ 6 คน รวมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน 66 คน
  5. นัดหมายให้ประชุมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน วันที่ 21 ตุลาคม 2558

ผู้รับโครงการ10คน เจ้าหน้าที่ สจรส. 4คน พี่เลี้ยงและผู้ช่วย 2คน

0.00 0.00 16 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ /  มีเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายครบถ้วน  และมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย มีจำนวน 1 โครงการ "โครงการสานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง" 2.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ /  มีเอกสารการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน และต้องแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 โครงการ ได้แก่  โครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย 3.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ไม่ครบถ้วน  / ขาดเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายงบประมาณบางส่วน จำนวน  2 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู และ โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร 4.  ขาดการพัฒนาโครงการให้เป็นที่แล้วเสร็จ ขาดรายงานผลตามกิจกรรมและไม่ครบถ้วน และ ไม่มีเอกสารหลักฐานใบลงทะเบียน และ ไม่มีเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณที่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์ เพิ่ม สร้างทรัพยากรชายฝั่งเพือเศรษฐกิจชุมชนอ่าวหลังแดง

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีประชาคมi

8,500.00 300 ผลผลิต

เชิญชาวบ้านมาร่วมประชุม เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชาวบ้านได้รับฟังคำชี้แจง และได้ซักถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ กับคณะผู้บริหารโครงการ ฯ โดยมี นายไกรสร พันธ์ทิพย์ เป็นประธานและ พัฒนาการอำเภอให้ความชัดเจนต่อโครงการฯ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน 

8,500.00 8,190.00 200 235 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชาวบ้านได้รับฟังคำชี้แจง และได้ซักถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการฯ ว่า ที่มาของโครงการคือการพูดคุยกันของผู้นำสภาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยสรุปปัญหาได้ดังนี้
  • ปัญหายาเสพติด
  • ปัญหาโรคเรื้อรัง
  • ปัญหารายได้ตกต่ำ
  • จากปัญหาดังกล่าว ผู้นำสภาได้หาวิธีการแก้ไขไว้ เมื่อ โครงการ สสส.ได้เข้ามาเสนองบประมาณให้จึงมอบหมายให้ตัวแทนจากผู้นำสภา ไปศึกษาและทำโครงการเสนอเพื่อนำงบประมาณมาพัฒนาบ้านเรา โดยสภาผู้นำเลือกที่จะแก้ปัญหาเรื่องรายได้ตกต่ำก่อน

2.พี่เลี้ยงจาก สสส. ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่มาของงบประมาณที่ สสส.นำมาให้ในโครงการนี้ ได้มาจากภาษีอากร บุหรี่และสุรา โดยแต่ละโครงการจะของบประมาณได้ไม่เกิน 200,000 บาท และบ้านพรุสมภารก็ได้ทำโครงการในชื่อ "โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร" ได้สนับสนุนงบประมาณ ทั้งสิ้น 199,770 บาท

3.พัฒนาการอำเภอถลาง คุณพเยาว์ ประทีปไพศาลกุล ได้กล่าวว่า การของบประมาณจาก สสส. ไม่ใชเรื่องง่ายเลย มีหมู่บ้านไม่มากที่ได้รับงบประมาณนี้ และการจัดทำเพื่อขอโครงการนี้ก็มีหลายขั้นตอน ซึ่งยุ่งยากมาก ให้ชาวบ้านจงภูมิใจถึงความสามารถในการขอโครงการครั้งนี้ และหาปีนี้เราทำได้ดี สามารถที่จะได้รับงบประมาณต่อเนื่องถึง 3 ปี ทั้งนี้เพื่อพัฒนาหมู่บ้านของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับสภาผู้นำที่ตั้งใจแก้ปัญหาชุมชน
4.พัฒนาการอำเภอ ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านซักถามข้อสงสัย โดยชาวบ้านซักถามเรื่อง

  • ถาม : โครงการนี้ชาวบ้านจะได้อะไรบ้าง ตอบ : โดยผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะจัดการอบรมอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านที่สนใจ

  • ถาม : โครงการนี้ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนอะไรบ้าง ตอบ : โดยผู้ใหญ่บ้าน ว่า ไม่มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง

5.ตัวแทนธนาคาร ได้เสนอโครงการการทำประกันชีวิตกันธนาคารให้ชาวบ้านรับฟัง

กิจกรรมหลัก : คัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชนi

0.00 60 ผลผลิต

แบ่งโซนการทำงานเป็น 10 โซนทั่วหมู่บ้าน แต่ละโซน จะมีสมาชิก 6 คน เป็นผู้ใหญ่ในชุมชน 2 คน และเด็กและเยาวชน 4 คน รวมเป็น 60 คน ทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูลชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  1. คัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชน ได้ 11 โซน รวม 66 คน
  2. ชี้แจงทำความเข้าใจกับแกนนำด้านข้อมูลชุมชน
  3. นัดวันจัดเวทีประชาคม วันศุกร์ที่ 6 พฤษจิกายน 2558

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

แบ่งโซนทั่วหมู่บ้านได้ 11 โซน จำนวนสมาชิกแต่ละโซน 6 คน เป็นผู้ใหญ่ในชุมชน 2 คน และเด็กและเยาวชน 4 คน รวมเป็น 66 คน ทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูลชุมชน

0.00 2,437.00 60 66 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุม วันที่ 26 ตุลาคม 2558 ตามที่ได้นัดหมาย สรุปได้ว่า
  1. แต่ละโซนได้คัดเลือกผู้ช่วยโซนมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีบางโซนที่มีปัญหาเรื่องเด็ก ที่ไม่สามารถหาเด็กมาร่วมงานได้ แก้ปัญหาโดยให้ครูโรงเรียนบ้านพรุจำปาช่วยคัดเลือกเด็กในโรงเรียนมาช่วย
  2. ได้สรุปว่าจะมีการจัดเวทีประชาคมในวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา เวลา 14.00 น.
  3. การสำรวจบ้านเลขที่ของหัวหน้าโซน ได้ดำเนินไปด้วยดีในแต่ละโซน

กิจกรรมหลัก : อบรมแกนนำด้านข้อมูลชุมชนi

13,620.00 60 ผลผลิต

เยาวชนในหมู่บ้าน จำนวน 40 คน ผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จำนวน 20 คน สภาผู้นำ จำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมาย 70 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.กลุ่มแกนนำ ด้านข้อมูลชุมชน เข้าใจหลักการจัดการข้อมูลชุมชน จำนวน 60 คน 2.เครื่องมือในการจัดการข้อมูลชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เยาวชนในหมู่บ้าน จำนวน 44 คน ผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จำนวน 22 คน สภาผู้นำ และคณะครูโรงเรียนบ้านพรุจำปา จำนวน 9 คน

13,620.00 13,850.00 75 75 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1ชุด มี 12 ข้อซักถาม ใช้ในการสำรวจทั้งสิ้น 385 ชุด
  • แผนการสำรวจ คือ ให้หัวหน้าโซนนำแกนนำเยาวชน แต่ละโซนลงสำรวจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โซนละ 35 ชุด ให้เวลาในการสำรวจ 2 อาทิตย์
  • การแบ่งกลุ่มการสำรวจโดยการ แบ่งตามกลุ่มโซนที่ สภาผู้นำแบ่งไว้เรีบยร้อยแล้ว เพื่อให้สามารถครอบคลุมได้ทั่วพื้นที่หมู่บ้าน
  • นัดเจอกันอีกที่หลังจากสำรวจ 2 อาทิตย์ นัดเจอกันอีกครั้ง ในวันที่ 28 พย. 58 เวลา 13.00 น.

กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนท์i

11,300.00 30 ผลผลิต

ชาวบ้านจำนวน 30 คนได้รับความรู้การปลูกมะนาวในท่อชีเมนต์


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชาวบ้านได้นำความรู้ไปใช้ที่บ้าน คือ จะทดลองปลูกมะนาวในท่อชีเมนต์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ประชาชน 70 คน สภาผู้นำและวิทยากร 20 คน

11,300.00 10,940.00 40 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านได้ความรู้และฝึกปฏิบัติการปลูกมะนาวในบ่อชีเมนต์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อชีเมนต์ จากการฝึกปฏิบัติการ เรียนรู้การผสมดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว, การปลูกมะนาว, ดูแลรักษา, และการดูลักษณะโรคที่เกิดกับมะนาวและวิธีรักษา และจะนำไปทดลองปลูกมะนาวและเลี้ยงปลาดุกที่บ้านอีกครั้ง และจะนำผลที่ได้สรุปในช่วงประชุมสภาผู้นำ

กิจกรรมหลัก : การสำรวจข้อมูลi

12,000.00 60 ผลผลิต

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน ๆ ละ 2 คน จำนวน 10 โซน รวมเป็น 20 คน ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ๆ ละ 4 คน จำนวน 10 โซน รวมเป็น 40 คน กลุ่มเป้าหมาย 60 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ข้อมูลสำรวจชุมชน จำนวน 350 ชุด ได้ข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจของาวบ้านพรุสมภาร ที่นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน ๆ ละ 2 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 22 คน ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ๆ ละ 4 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 44 คน

0.00 0.00 60 66 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เก็บข้อมูลชุมชนได้ครบทั้ง 11 โซนของบ้านพรุสมภาร โดยใช้วิธีการสำรวจตามบ้านเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและสัมภาษณ์แต่ละครัวเรือน ทำให้กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้การเก็บข้อมูล และได้ข้อมูลคร่าว ๆ ข้อมูลชุมชน เรื่อง อาชีพ เศรษฐกิจ รายได้ และประวัติชุมชน

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน ๆ ละ 2 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 22 คน ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ๆ ละ 4 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 44 คน

12,000.00 13,200.00 60 66 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน พร้อมด้วย ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในชุมชนโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยกำหนดเวลาในการเก็บข้อมูล 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาเพื่อหาจุดขาดตกบกพร่อง และจัดเก็บเพิ่มเติม
  • ปัญหาที่ืพบ
  1. ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
  2. ชาวบ้านบางคนไม่เข้าใจคำถามของแบบสอบถาม
  3. ชาวบ้านตอบคำถามไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่อย่างบอกขู้อมูลที่ไม่เป็นจริง

กิจกรรมหลัก : คืนข้อมูลให้ชุมชนi

8,000.00 300 ผลผลิต
  • ประชาชนในชุมชน จำนวน 150 คน
  • สภาผู้นำจำนวน 30 คน
  • กลุ่มภาคีเครือข่าย 20 คน กลุ่มเป้าหมาย 200 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดแผนชุมชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ การเลี้ยงปลาดุกและปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ชาวบ้านในพื้นที่

0.00 0.00 120 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาวบ้าน

  • ประชาชนในชุมชน จำนวน 140 คน
  • สภาผู้นำจำนวน 30 คน
  • กลุ่มภาคีเครือข่าย 10 คน
8,000.00 8,000.00 200 180 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูลสู้ชุมชน และได้เชิญวิทยากรที่ได้ช่วยในขกระบวนการจัดเก็บข้อมูล มาพูดคุยถึงผลที่ได้จากสำรวจข้อมูล โดยวิทยากรได้สรุปผลการสำรวจให้ฟังจากข้อมูลที่ได้ในเวทีวิเคราะห์ข้อมูล
  • ข้อมูลที่นำเสนอทำให้ชาวบ้านได้รับรู้ในเรื่องเศรษฐกิจของชุมชนว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากว่ารายได้ และยังมีหนี้สินอีกหลายครัวเรือน ทำให้เกิดการนำเสนอแผนการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน โดยการส่งเสริมการปลูกผักในครัวเรือน ส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุก ส่งเสริมการปลูกมะนาวในท่อซีเมนส์ ซึ่งจะสรุปแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอีกครั้งในเวทีประชุมสภาผู้นำ

กิจกรรมหลัก : วิเคราะห์ข้อมูลi

9,950.00 120 ผลผลิต
  • กลุ่มแกนนำด้านข้อมูลชุมขน 10 กลุ่ม
  • สภาผู้นำ จำนวน 30 คน
    รวมทั้งหมด 90คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้ชุดข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วย อาชีพ ข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนในแต่ละวัน ข้อมูลราการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และข้อมูลหนี้สิน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • กลุ่มแกนนำด้านข้อมูลชุมขน 11 กลุ่ม จำนวน 66 คน
  • สภาผู้นำ จำนวน 10 คน
  • วิทยากร จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 78 คน
9,950.00 8,770.00 90 78 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครั้งที่ 1 ได้เฉพาะข้อมูลพื้นฐาน
  • ครั้งที่ 2 ได้ข้อมูลเฉพาะ จากแบบสำรวจทั้งหมด 315 ครัวเรือน
  1. ข้อมูลครัวเรือน ที่สำรวจได้ 315 หลังคาเรือน สมาชิกที่อยู่ร่วมกันในครอบครัว1,148 คน
  • แยกเป็น เด็กเล็ก 120 คน
  • เด็กในวัยเรียน 468 คน
  • อยู่ในวันชรา 85 คน
  • พิการหรือทำงานไม่ได้ 9 คน
  • ทำงานอยู่ในหมู่บ้าน 354 คน
  • ตกงานกลับมาอยู่บ้าน 48 คน
  • ไปทำงานต่างถิ่น64 คน

2.ข้อมูลอาชีพ 28.8% อาชีพการเกษตร 22% อาชีพค้าขาย 36.4% อาชีพรับจ้าง 4.5% รับราชการหรือลูกจ้าง 6.0% อาชีพงานบริการ 1.5% อาชีพการแปรรูป / ทำหัตถกรรม / งานโรงงาน 0.7% อาชีพอื่น ๆ ระบุอาชีพการเกษตร

  • พืชที่ปลูกไว้กิน 1.ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ พริก กระเพรา โหรพา ฯลฯ 2. ผลไม้ เช่น ลองกอง มะละกอ มะพร้าว ขนุน ฯลฯ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้กิน เช่น ไก่ เป็ด ปลา
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ขาย เช่น แพะ วัว ควาย
  • อาชีพค้าขาย เช่น ขายอาหารสด ขายผัก ขายเครื่องอุปโภคบริโภค และอื่น ๆ
  • อาชีพงานบริการ ช่างตัดผม ช่างซ่อมรถ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างประปา และอื่น ๆ
  • อาชีพรับราชการ/ลูกจ้างหน่วยงานรัฐ ครู หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • อาชีพรับจ้าง พนักงานบริษัท
  • อาชีพอื่นๆ

3.ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลที่ดินทำกิน กรรมสิทธิ์ โฉนด นส.3 สปก.4-01 จับจองทำกิน แบ่งทำจากคนอื่น เช่าจากคนอื่น อื่นๆ

  • ความชำนาญของคนในครอบครัวและเครือญาติ เรื่องที่ชำนาญ ทำขนม 2.2 % กรีดยาง 1.5 % วาดรูป 0.7 % ทำอาหาร 0.7 % นวดแผนไทย 1.5 % กักกระเป๋า 0.7 % สปา 0.7 %

4.ข้อมูลสุขภาพของครอบครัว ความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวและการบำบัดรักษาฟื้นฟู อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 3.8 % เบาหวาน1.5 % ความดัน 3.8 % ภูมิแพ้ 2.8% ขาหัก 0.7 % กระเพาะ 3.8 % หอบ 4.5%

  • หมอพื้นบ้านในชุมชนที่รู้จักและนิยมไปรักษา
  • นายยุทธนา เกตุรักษ์ หมอพื้นบ้าน รักษาไข้ไทยฟอร์ย
  • นายณรงค์ผลทวี หมอพื้นบ้าน รักษางูสวัด
  • นายสุขุมวารี หมอสุนัต ทำพิธิสุนัต
  • นายก่อเดชมานะบุตร ดูเรื่องไสยศาสตร์ รักษาโรค
  • นายสุไลหมานวงศ์สะอาด หมอจับเอ็น รักษาเอ็น
  • นางเจียว ชายเลี้ยง หมอตำแย รักษาดูแลคนท้อง
  1. ข้อมูลเศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัวทุกครัวเรือน รายได้ของครอบครัว รายได้ต่อเดือน รายได้ทั้งปี
  • รายได้จากอาชีพการเกษตร 66,500 - 780,000
  • รายได้จากอาชีพหัตถกรรม - -
  • รายได้จากอาชีพค้าขาย 190,000 - 2,280,000
  • รายได้จากธุรกิจส่วนตัว 15,000 - 180,000
  • รายได้จากงานรับจ้างทั่วไป 198,000 - 2,376,000
  • รายได้จากงานลูกจ้างบริษัท 205,500 - 2,466,000
  • รายได้จากงานโรงแรม 176,500 - 2,118,000
  • รายได้จากงานราชการ 149,450 - 1,793,400
  • รายได้จากงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 10,000 - 120,000
  • หนี้สินของครอบครัวทุกครัวเรือน
  • แหล่งเงินกู้ เงินต้น อัตราดอกเบี้ย ธ.ก.ส 7 ครัวเรือน จำนวน 1,394,000 บาท
  • สหกรณ์ 6 ครัวเรือน จำนวน 1,430,000 บาท
  • กองทุนหมู่บ้าน 1 ครัวเรือน จำนวน 10,000 บาท
  • ธนาคาร 7 ครัวเรือน จำนวน 5,187,000 บาท
  • บัตรเครดิต3 ครัวเรือน จำนวน 130,000 บาท
  • บัตรอีออน4 ครัวเรือน จำนวน 70,000 บาท
  • นอกระบบ 2 ครัวเรือน จำนวน 45,000 บาท
  • ญาติพี่น้อง 7 ครัวเรือน จำนวน 722,000 บาท
  • อื่น ๆ1 ครัวเรือน จำนวน 60,000 บาท
  • รวม 38 ครัวเรือน จำนวน 9,048,000 บาท

ทรัพย์สินของครอบครัวทุกครัวเรือน

  • รถยนต์ 65 ครัวเรือน ตู้เย็น 88 ครัวเรือน รถจักรยานยนต์ 187 ครัวเรือน พัดลม 224 ครัวเรือน รถจักรยาน 73 ครัวเรือน เครื่องซักผ้า 73 ครัวเรือน เรือ-เครื่องยนต์ 2 ครัวเรือน เครื่องปรับอากาศ/แอร์บ้าน 41 ครัวเรือน เครื่องดูดฝุ่น 26 ครัวเรือน หม้อหุงข้าว 90 ครัวเรือน วิทยุ-เครื่องเสียง 36 ครัวเรือน เครื่องเล่นวีซีดี 49 ครัวเรือน โทรศัพท์บ้าน 17 ครัวเรือน คอมพิวเตอร์ 50 ครัวเรือนโทรศัพท์มือถือ 238 ครัวเรือน เตาแก๊ส 47 ครัวเรือน มอเตอร์สูบน้ำ 67 ครัวเรือน เตาไมโครเวฟ44 ครัวเรือน โทรทัศน์ 144 ครวเรือน เครื่องรับดาวเทียม 50 ครัวเรือน กระติกน้ำร้อน 80 ครัวเรือน อื่น ๆ ระบุ4 ครัวเรือน

  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน ข้าวสาร 7,218 บาท ขนมห่อ 5 บาท 450 บาท เนื้อเป็ด 100 บาท กระทิงแดง 280 บาท เนื้อไก่ 1,230 บาท บุหรี่/ใบจาก 886 บาท เนื้อวัว 3,010 บาท ยาเส้น 135 บาท เนื้อควาย 583 บาท หวยหุ้น 100 บาท ปลา 5,715 ลูกไปโรงเรียน 8,230 บาท หมึก 1,500 บาท อาหารว่าง 2,810 บาท กุ้ง 380 บาท น้ำมันรถ 10,826 บาท หอย 1,752 บาท เหล้า/เบียร์ 3,445 บาท ไข่ไก่ 1,596 บาท อาหารเช้า 440 บาท ผักสวนครัว 1,175 บาท กับข้าวถุง 100 บาท ผักทั่วไป 1,185 อื่น ๆ - รวม/วัน 53,146 บาท

  • ค่าใช้จ่ายของครอบครัวแต่ละเดือน ค่าไฟฟ้า 83,130 บาท ค่าพริกแห้ง พริกไท 2,740บาท ค่าแชร์ 44,900 บาท ค่าโทรศัพท์บ้าน 5,073 บาท ค่าหัวหอม/กระเทียม 3,260 บาท ค่าประกันชีวิต 46,435 บาท ค่าโทรศัพท์มือถือ 33,169 บาท ค่ามาม่า 2,906 บาท ค่าซ่อมรถ 25,420 บาท ค่าผ่อนรถยนต์ 256,882 บาท นมถั่วเหลือง/นมเปรี้ยว 6,560 บาท ค่าเทอม 92,730 บาท ผ่อนอุปกรณ์ไฟฟ้า 7,280 บาท น้ำผลไม้ 2,673 บาท ค่ายาสีฟัน 9,246 บาท ผ่อนมอเตอร์ไซด์ 3,985 บาท น้ำหวาน 1,887 ค่าสบู่16,748 บาท เครื่องแบบนักเรียน 8,150 บาท น้ำอัดลม 9,655 บาท เครื่องสำอาง 10,180 บาท ค่ายาสระผม 8,778 บาท ค่าน้ำตาล 4,802 บาท ค่าโฟมล้างหน้า 3,036 บาท ค่าผงซักฟอก 9,352 บาท ค่าน้ำมันพืช 6,197 บาท ค่ายาแก้ปวด 8,015 บาท ค่าซอส 2,548 บาท น้ำยาล้างจาน 3,498 บาท ยาแก้ไข้ 3,241 บาท ค่าน้ำปลา/ซีอิ้ว 3,684 บาท ค่าน้ำประปา 4,030 บาท ยาแก้ปวดท้อง 1,030 บาท ค่ากะปิ 10,955บาท ค่าน้ำดื่ม 3,621 บาท ยาแก้โรค 2,970 บาท ค่าปลากระป๋อง 4,043 บาท ค่าภาษีสังคม 10,720 บาท ค่ากางเกง 7,694 บาท ค่าผงชูรส 1,602 บาท ค่ารถโรงเรียนลูก 37,460 บาท ค่าเสื้อ 7,652 บาท ค่าปลาฉิ้งฉ้าง 4,360 บาท ค่านมผง 8,510 บาท ค่าร้องเท้า 6,569 บาท ค่าน้ำชา-กาแฟ 11,440บาท ค่าถุงเท้า 2,599 บาท อื่น ๆ 23,500 รวม/เดือน 870,930 บาท

กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมอาชีพ การเลี้ยงปลาดุกi

11,600.00 30 ผลผลิต

ประชาชน 20 คน เยาวชน 10 คน สภาผู้นำและวิทยากร 10 คน กลุ่มเป้าหมาย 40 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้ความรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อชีเมนต์ ที่นำกลับไปใช้ที่บ้านได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ประชาชน 70 คน สภาผู้นำและวิทยากร 20 คน

11,600.00 11,100.00 40 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความรู้เรื่องการเตรียมบ่อซีเมนต์ก่อนเลี้ยงปลาดุก การคัดเลือกพันธุ์ปลาดุก ซึ่งจะนำกลับไปเลี้ยงต่อที่บ้าน เพื่อทำเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน

กิจกรรมหลัก : ประชุมสภาผู้นำi

10,000.00 11 ผลผลิต

เกิดทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาผู้นำและผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการประชุมประจำทุกเดือนทุกเดือน ได้รายงานความก้าวหน้าการทำโครงการ สรุปกิจกรรมและวางแผนกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งนำวาระในชุมชนมาหารือในที่ประชุมสภาผู้นำด้วย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

สภาผู้นำบ้านพรุสมภาร

910.00 1,300.00 30 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมสรุปได้ว่า
1. วันที่ 6 พ.ย. 2558 เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์จริยธรรมประจำมัสยิดดาว่ะตุ้ลอิสลามมีย๊ะ บ้านพรุสมาภาร จะมีการจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการได้แบ่งหน้าที่กันทำงาน
2. วันที่ 14 พ.ย. 2558 เวลา 09.00-15.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านพรุจำปา อบรมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน
3. วันที่ 30 พ.ย. - 14 ธ.ค. 58 กิจกรรมสำรวจข้อมูล

1.คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุจำปา จำนวน 80 คน 2.ประชาชนในพื้นที่จำนวน108 คน 3.เจ้าหน้าที่ สกย. จำนวน 5 คน 4.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอถลาง จำนวน 2 คน 5.ฝ่ายติดตาม จำนวน 2 คน 6.ผู้ใหญ่บ้าน 7.ผู้สังเกตุการณ์2 คน 8.สภาผู้นำ 35 คน

0.00 0.00 235 235 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมฯ เกินความคาดหวัง และ มีการตอบสนอง และ ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้งทางด้าน การฟัง ทุกคนจะตั้งใจฟัง, สนใจ มีการตอบโต้ในการแลกเปลี่ยน
2.ภาคีและหน่วยงานที่เข้าร่วมฯ สร้างแรงกระตุ้นและสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมในเวทีเกิดความสนใจในเนื้อหาข้อมูล ที่นำมาถ่ายทอด ได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งสามารถกระตุ้นให้สมาชิกสนใจเรื่องการทำกิจกรรม 3.คณะทำงานโครงการ ชี้แจงและทำความเข้าใจเรื่องโครงการฯ พร้อมทั้งชี้แจงงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จำนวน 199,770 บาท 4.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้นำกิจกรรมมานำเสนอในที่ประชุม "จัดตั้งศูนย์เรียนรู้จำนวน 1 จุด ในพื้นที่ ม.8 บ้านพรุสมภาร เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมีการอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนและส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจ โดยเน้นด้านเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาดูงานในจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญ ต้องเป็นครอบครัวที่พร้อม และ ดำเนินการ สนใจเป็นสำคัญ 5.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้ชี้แจงข้อมูล และ ผลการดำเนินงานด้านสวัสดิการให้กับสมาชิกได้รับทราบ อนาคตทางคณะกรรมการกกลุ่มออมทรัพย์จะมีการดำเนินการเรื่อง โรงน้ำ เองในพื้นที่โดยใช้ชื่อว่า ทรัพย์ฮาลาล 6.กิจกรรมทางเลือกที่ส่งเสริมให้กับสมาชิกในชุมชน ประกอบด้วย 6.1กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์, การเลี้ยงไก่บ้านย้านคอกและไก่ไข่อารมณ์ดี และการเลี้ยงปลาดุก 6.2การจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านการทำเกษตร ประมง พืช และ อื่น ๆ
6.3กิจกรรมการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้แก่ การทำน้ำยาล้างจาน, ทำน้ำยาซักผ้า, ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ , ทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ และ การทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือน 6.4ตั้งร้านค้าชุมชน 6.5กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้เน้นเยาวชนและผู้ที่สนใจ รักในการออกกำลังกาย เช่น สอนเยาวชนเล่นฟุตบอล
6.6จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจำปา หมายเหตุ ที่ประชุมเสนอผู้เข้าร่วมประชุมกลับไปตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำเสนอ แล้วแจ้งมายังผู้ใหญ่บ้าน หรือ ตัวแทนที่รับผิดชอบแต่ละโซน อีกครั้ง

สภาผู้นำ จำนวน 35 คน

910.00 875.00 30 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำได้รับทราบความก้าวหน้าการทำกิจกรรมตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร มี 2 กิจกรรม คือ

๑. กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งตอนนี้ได้มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ วิทยากรกำลังทำการนำข้อมูลที่ได้ไปบันทึกข้อมูล และจะนำมาแจ้งให้ สภาผู้นำและแกนนำจัดเก็บข้อมูลทราบ เพื่อจะวิเคราะห์ถึงปัญหาที่มีในหมู่บ้านและหาวิธีแก้ไขต่อไป โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร เสนอให้จัดกิจกรรมนี้วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ มติที่ประชุมเห็นชอบ

๒. กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน หลังจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้แจ้งกับประชาชนรับทราบ เพื่อให้คนในชุมชนทราบถึงสถานการณ์ในชุมชน และช่วยกันแก้ไข โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร เสนอให้จัดกิจกรรมนี้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ มติที่ประชุมเห็นชอบ

สภาผู้นำและตัวแทนองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

910.00 625.00 30 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เดือนมกราคม ไม่มีกิจกรรมของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เนื่องจากต้องเตรียมงานของกิจกรรมการเปิดศูนย์ปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด ได้ลูกหลานกลับคืน ซึ่งจะมีกิจกรรมในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ แต่เวทีประชุมสภาผู้นำเป็นเวทีที่ทำให้ได้เอาเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนมาคุยร่วมกัน

สภาผู้นำและตัวแทนองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

910.00 500.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องด้วยมีชาวบ้านที่สนใจเข้ารับการอบรมของโครงการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และมีบางคนอยากอบรมทั้งสองรายการ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด จึงไม่สามารถเข้าร่วมได้ คณะกรรมการจึงลงความเห็นว่า ควารมีการอบรมในวันเดียวกันเลย เพราะเป็นการไม่เสียเวลาของคนที่สนใจ
  • มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.
  • จะมีการประชาสัมพันธ์ แจ้งให้กับชาวบ้านที่ได้ลงชื่อไว้ โดยผ่านหัวหน้าโซนแต่ละพื้นที่ ส่วนชาวบ้านที่ยังไม่ได้ลงชื่อไว้ ก็จะประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน

สภาผู้นำ จำนวน 20 คน

910.00 500.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการนัดหมายเพื่อ ทำกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการออม ในวันที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 - 12.00 น. ที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา ให้คณะกรรมการโซนหมู่บ้านแจ้งกับชาวบ้านให้มาร่วมกิจกรรมนี้
  2. การจัดตั้งสภาเกษตร โดยสภาผู้นำมีมติส่วนใหญ่ให้ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุสมภาร ที่มีสมาชิกที่มีกิจกรรมดังนี้ คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ, กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไขและไก่บ้าน, กลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์, และเพื่อเดิมคือกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด และให้นัดหมายสมาชิกทั้งหมด ในวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 20.00 น. ณ ศูนย์ชุมชนอุ่นใจบ้านพรุสมภาร เพื่อจัดตั้งเป็นสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร และขึ้นทะเบียนเพิ่มเดิมจากของเดิมด้วย

สภาผู้นำ 16 คน

910.00 1,500.00 30 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนนี้มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ

๑. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรมย่อย น้องรักฟุตบอล จะดำเนินการโดยชมรมฟุตบอลบ้านพรุสมภาร จะมีการเปิดรับสมัคร เยาวชนชั้น ป. ๔ – ป.๖ จะมีการเปิดรับสมัคร ในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙ จะมีการฝึกการเล่นฟุตบอลอย่างถูกต้อง ในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาช่วงบ่ายเป็นเวลา ๓ เดือน ในระหว่างนี้หากมีการจัดแข่งฟุตบอล ก็จะจัดให้ออกไปแข่งขันกันทีมอื่นด้วย ประธานในที่ประชุมขอช่วยให้คณะกรรมการโซนแจ้งให้ชาวบ้านทราบด้วย

๒. จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาได้ให้มีการจัดตั้งสภาเกษตรขึ้น โดยให้สมาชิกทุกกลุ่มประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากกลุ่มอาชีพที่ทำกัน มีการประชุมย่อยกัน ๓ ครั้ง เป็นของกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์, กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทนในการประชุมร่วมกับหมู่บ้านและแต่ละกลุ่มได้พูดขึ้นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีแก้ไข และแจ้งให้ทราบความต้องการในการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม คือ

  • กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการ อบรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ จากการติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ตได้นัดหมายวันอบรมเป็นวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ ต้องการ อบรมเรื่องการเลี้ยงไก่และการใช้วัคซีนไก่ ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อกับปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต
  • กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการอบรมเรื่องการทำน้ำหมักสำหรับฆ่าเชื้อโรคในบ่อปลา ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อผู้มีประสบการณ์ และจะมาให้ความรู้ในการประชุมสภาเกษตร กลุ่มย่อย ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ในครั้งต่อไป

สภาผู้นำ 20 คน

910.00 500.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้าพรุสมภาร สภาเกษตรบ้านพรุสมภารเสนอว่า

๑. จากการประชุมสภาเกษตรกลุ่มย่อย ตามมติที่ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ ๑ มีการเรียกกลุ่มย่อยประชุม ๓ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ๒. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ๓. กลุ่มไก่บ้านและไก่ไข่ แต่ละกลุ่มได้ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน และมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายพงษ์เทพ เนาว์ไพร เข้าร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามจากสมาชิก ได้ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันกับสภาผู้นำ โดยสรุปความต้องการของแต่ละได้ดังนี้คือ
๑.กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการเรียนการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว สภาผู้นำได้แจ้งว่า จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ต จะมีการอบรมให้ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๒.กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำ จากการประสานงาน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาน้ำจืด จะมีการให้ความรู้ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไกไข่ ต้องการเรียนรู้เรื่องการดูแลไก่ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว จากการประสานงานกับปศุสัตว์ จะมีการวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

  • ส่วนกลุ่มอื่น ได้เสนอความต้องการมาเหมือนกัน คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ต้องการเรียนรู้เรื่องการหมักหญ้าสำหรับอาหารแพะ จะมีการอบรมกันในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • สำหรับแกนนำเกษตรพอเพียงบ้านพรุสมภารยังไม่พร้อมที่จะประชุม เพราะอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน

๓.๔ เรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการอบรมของแต่ละกลุ่มย่อย ที่ไม่มีระบุไว้ในโครงการคือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ประธานสภาเกษตรเสนอให้ถือเป็นการประชุมสภาเกษตรเลย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาใช้จากมมติที่ประชุม สมาชิกและสภาผู้นำเห็นด้วย

สภาผู้นำ 20 คน

910.00 1,600.00 30 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม

วาระที่ 1

  • ผู้ใหญ่ขอขอบคุณกรรมการทุกท่าน ที่ช่วยงานเร่งด่วน เรื่องการประกวด “บ้านสวยเมืองสุข” ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา และทำให้งานผ่านพ้นไปด้วยดี และจากการประกวด ผลปรากฏว่า “บ้านพรุสมภารได้อันดับ ๑ ระดับจังหวัดภูเก็ต” และได้เป็นตัวแทนจังหวัดแข่งระดับภาคต่อไป
  • โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (งบ ๒๐๐,๐๐๐บาท) ที่เสนอไปนั้นได้ผ่านการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทุกฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการได้เลย
    วาระที่ 4

  • โครงการประชารัฐรักสามัคคี ได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนที่ ๕ คือ ขั้นตอนการสรุปจำนวนผู้เสพและผู้ค้าที่มีในหมู่บ้าน จากการเสนอรายชื่อในทางลับ สรุปได้ว่า ผู้เสพ จำนวน ๑๕ คน ผู้ค้ายาบ้าจำนวน ๓ คน ผู้ค้ายาไอซ์จำนวน ๒ คน ผู้ค้าพืชกระท่อม จำนวน ๔ คนมติที่ประชุมเห็นชอบ ผู้ใหญ่จึงสั่งให้เลขา จัดพิมพ์เอกสารส่งให้กับปลัดศิริพงษ์

  • โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนนี้เป็นเดือนรอมาฏอน จึงสมควรที่จะหยุดทำกิจกรรม ๑ เดือน มีมติให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ ช่วงเดือนรอมาฏอนทั้งเดือน

วาระที่ 5 ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ ผู้ว่าราชการจะให้เกียรติมาร่วมละศีลอดกับชาวบ้านพรุสมภาร จึงขอให้คณะกรรมการหมู่บ้านทุกท่านมาช่วยตระเตรียมสถานที่และอย่างอื่น ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ มัสยิด

สภาผู้นำ 22 คน

910.00 1,075.00 30 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมที่จะทำตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร ในเดือนนี้
  1. ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ 9 (แกนนำอบรมผสมดินและเตรียมบ่อปลาดุก) ในวันที่ 16 ก.ค. 2559
  2. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรม น้องชอบเปตอง จบกิจกรรมวันที่ 29 ก.ค. 2559
  3. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรม น้องชอบอัลนาเชร จบกิจกรรมวันที่ 30 ก.ค. 2559

สภาผู้นำ จำนวน 15 คน

910.00 530.00 30 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในเดือนสิงหาคม จะมีกิจกรรมตามโครงการต้องทำ 4 กิจกรรม คือ
  1. สร้างศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง ในวันที่ 10 สิงหาคม 2559
  2. ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านย้ายคอก และไก่ไข่อารมร์ดี วันที่ 15 สิงหาคม 2559
  3. ประชุมสภาเกษตร ครั้งที่ 10 วันที 21 สิงหาคม 2559
  4. จัดตั้งร้านค้าชุมชน วันที่ 28 สิงหาคม2559

สมาชิกสภาผู้นำ 

900.00 650.00 30 26 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมรับราบ
  2. ขอมติที่ประชุมในการทำโครงการในปีที่ 2 โดยมติที่ประชุมให้มุ่งเน้นด้านการกีฬา หรือสนับสนุนการส่งเสริมเรื่องปัญหายาเสพติด เน้นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน และคนในชุมชน

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

ได้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ม.อ.จำนวน 3 ครั้ง คือ กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ กิจกรรมอบรมการเขียนรายงาน และกิจกรรมประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า รวมทั้งประชุมร่วมกับพี่ี่เลี้ยง 1 ครัง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชน บ้านพรุสมภาร มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

3,600.00 3,300.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เรียนการสร้างปฏิทินกิจกรรม และสามารถวางแผนลงปฏิทินได้เสร็จ
  2. เรียนรู้การเขียนรายงานส่งออนไลน์ทางเว็บไซต์
  3. เรียนรู้การทำบัญชีการเงิน การจัดทำเอกสารการเงิน

จ.กระบี่ 11 โครงการ จ.ภูเก็ต5โครงการ พี่เลี้ยงโครงการฯ เจ้าหน้าที่ สจรส.

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสรุปและจัดทำรายงานโครงการ การจัดทำเอกสารการเงินที่เป็นระบบ และตรงตามที่แหล่งทุนกำหนด และ ตรงตามแผนงานโครงการที่ขอรับงบประมาณ
ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องการจัดทำภาษี (หัก) ณ ที่จ่าย ให้กับสรรพากรพื้นที่ และ เข้าใจมากขึ้นพร้อมทั้งสามารถกลับไปดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

1,400.00 1,480.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชน บ้านพรุสมภาร มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง ได้มีการซักถามถึง

  • ถามลักษณะใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง
    ตอบ ใบเสร็จรับเงินให้มีที่อยู่ร้าน เลขที่ผุู้เสียภาษี เล่มที่ และเลขที่ แต่ถ้าหากไม่มีเลขที่ผู้เสียก็ไม่เป็นไร

  • ถามลักษณะของใบสำคัญรับเงินที่ถูกต้อง ตอบ ใบสำคัญรับเงิน ต้องมีชื่อ ที่อยู่ผู้รับเงินที่ชัดเจน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว

  • มีการอธิบายถึงการจ่ายภาษีเพิ่มเติมในส่วนของค่าจ้างที่เกิน 1,000 บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน

500.00 200.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องจากโครงการที่รับผิดชอบ ยังไม่ได้บันทึกกิจกรรมในเว็บไซร์ให้ครบถ้วน และเอกสารการเงินยังไม่เรียบร้อย พี่เลี้ยงจึงตรวจสอบความถูกต้องเฉพาะกิจกรรมที่เสร็จเรีบยร้อยแล้ว และให้คำแนะนำในส่วนที่ต้องแก้ไข และให้เวลาในการจัดการในส่วนที่เหลือภายใน 1 อาทิตย์

เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

4,000.00 6,110.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทราบการดำเนินงานการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน
  • การดำเนินการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แต่ละสำนักมีความแตกต่างกันแต่เกิดการสมดุล
  • ได้เรียนรู้การทำโครงการชุมชน 5 อยู่ในแต่ละพื้นที่ เห็นรูปธรรมและแนวทางในการดำเนินโครงการให้สำเร็จ เกิดเป็นความรู้ที่จะนำมาต่อยอดในหมู่บ้านต่อไป

เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

500.00 200.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับคำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน และการรายงานผลในเว็บไซต์ยังไม่เรียบร้อย ขาดรูปภาพในหลายกิจกรรม ต้องกลับไปแก้ไขและส่งให้พี่เลี้ยงดูอีกครั้ง ก่อนส่งรายงานมายัง สจรส.ม.อ.

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ติดไว้บริเวณสนามเด็กเล่นและออกกำลังกายของโรงเรียนบ้านพรุจำปา


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ และป้าสัญลักษณ์ สสส. จำนวน 2 แผ่น เพื่อใช้ในการประชุม อบรม ตลอดโครงการ ทำให้ไม่มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการติดป้าย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม

1,000.00 1,000.00 200 200 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ และป้ายสัญลักษณ์ สสส. จำนวน 2 แผ่น เพื่อใช้ในการประชุม อบรม ตลอดโครงการ นำไปติดที่ศูนย์ชุมชนอุ่นใจบ้านพรุสมภาร ทำให้ไม่มีการสูบบุหรี่เกิดขึ้นในบริเวณนี้

หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะทำงานจำนวน 2 คน

1,000.00 1,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รูปภาพจำนวน 10 รูป ประกอบการทำรายงานฉบับสมบูรณ์

หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะทำงาน จำนวน 2 คน

1,000.00 1,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ให้แก่ชุมชนบ้านไร่ทอน ได้แนวทางในการต่อยอดโครงการของปีต่อไปในอนาคต

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

สภาผู้นำบางคนยังไม่เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการพยายามอธิบายให้ชัดเจน และไม่รีบเร่งในการทำความเข้าใจ

 

 

การพูดคุยกับชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องด้วยที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำงานแบบนี้เกิดขึ้นในชุมชน แก้ไขโดย

ค่อย ๆ ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับชุมชนอย่างเข้าใจและเข้าถึง

 

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีโครงสร้างชัดเจนแต่ขาดการมีส่วนร่วม

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ขาดคนที่มีความรู้และทักษะในการทำงานร่วม ส่วนผู้ที่มีความรู้จริงไม่มีเวลาเข้าร่วมทำกิจกรรม เนื่องจากติดภารกิจ และมีหมวกในการทำงานหลายด้าน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้เท่าที่ควรการกำหนดปฏิทินงานมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้พี่เลี้ยงไม่สามารถหนุนเสริมการทำงานได้
  • ผู้นำ และ ผู้รับผิดชอบโครงการมีภารกิจมาก จนบางครั้งไม่สามารถทำงานตามโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้ (การทำงานล่าช้า การรายงานผลล่าช้า เป้นต้น)
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีคณะทำงานแต่ภารกิจ บทบาท หน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายไม่ชัดเจน

2.2 การใช้จ่ายเงิน

เป็นไปตามแผนงาน / กิจกรรมที่วางไว้

2.3 หลักฐานการเงิน

ยังไม่เข้าใจการจัดการเอกสารให้ถูกต้อง ต้องช่วยและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

ผลรวม 0 2 4 0
ผลรวมทั้งหมด 6 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการทำกิจกรรมยังล่าช้า ทำให้การรายงานกิจกรรมล่าช้า รวมทั้งการจัดการเอกสารการเงิน ซึ่งต้องติดตามและให้ำแนะนำอย่างใกล้ชิด
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ทางคณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรมไปตามแผน และอยู่ในช่วงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของคนในชุมชนด้วยการส่งเสริมให้ความรู้การปลูกมะนาวและเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ แต่ทางโครงการมีจุดอ่อนตรงผู้รับผิดชอบโครงการมีภาระงานหลายอย่าง ทำให้กิจกรรมดำเนินไปล่าช้า และยังไม่เข้าใจการจัดทำเอกสารการเงิน จึงปรับสถานะให้เป็นโครงการเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

สร้างรายงานโดย วารุณี ธารารัตนากุล ภูเก็ต