directions_run

ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ ”

ชุมชนเสาธงทอง ทม.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางสาว สายไหม ทองสุก

ชื่อโครงการ ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

ที่อยู่ ชุมชนเสาธงทอง ทม.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03949 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2152

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนเสาธงทอง ทม.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนเสาธงทอง ทม.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03949 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,100.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ชาวเสาธงทองนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ได้เก็บออม
  2. เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศร่วมกับสจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบด้านข้อมูลคอมพิวเตอร์ร่วมรับฟังการชี้แจงระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ ระเบียบการเงินโครงการ การจัดเก็บเอกสารหลักฐาน และดำแนะนำการทำปฏิทินของโครงการพร้อมทั้งรับฟังเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดการการเงิน  การฝึกการลงปฎิทินโครงการ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการมาฝึกลงข้อมูลจริงบนเวบคนใต้สร้างสุข ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจ ในระเบียบ ข้อตกลงของการทำโครงการสสส. พอสมควร ส่วนการบันทึกข้อมูล ผู้รับผิดชอบงานบันทึกข้อมูลบนเวบ เข้าใจ และสามารถทำได้

     

    2 2

    2. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่1

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา13.00 น. เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการคือนส.สายไหม ทองสุก ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการนัดประชุมในวันนี้เพื่อจะจัดตั้งสภาผู้นำและให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคัดเลือกคณะทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนได้รับขัอมูลที่จะทำจริงและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป

     

    20 20

    3. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการร่วมกิจกรรมโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย

    วันที่ 18 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30ถึง16.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มลงทะเบียนเวลา8.30น.โดยมีชาวบ้าน เยาวชน แกนนำอสม. คณะกรรมการชุมชนโดยประธานชุมชนได้เชิญนส.นัฐนันท์จันทราทิพย์รองนายกเทศบาลเมืองปากพนังกล่าวเปิดงานหลังจากนั้นนส.สายไหมทองสุกคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงโครงการ ได้พูดบอกชาวบ้านที่ร่วมประชุมถึงที่มาที่ไปของโครงการงบประมาณที่ได้รับจากสสส.โดยหลักๆจะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนทุกคนที่เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจซักถามจดบันทึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 108 คนได้พูดจาซักถามในที่ประชุมยังเสนอให้มีการจัดตั้งแกนนำจำนวน 20 คน ได้แก่ 1.นางอรพักตร์ ศรีนวลแก้ว 2.นางหนูนินทร์ แดงเอียด 3.นางสมใจ แก้วมณี 4.นางภัคชุดา วัชรานุวิทย์ 5.นางสาวปิยะรัตน์ หวังจันทร์ 6.นางสาวนิชาฏา พงศ์ไพโรจน์ 7.นางสาวจันนา จันทวงศ์ 8.นางวันรัตน์ แก้วนก9.นางสัญชุรี ฉิมวงศ์ 10.นางสาวบังอร ศิริสมบัติ 11.นางพรรัตน์ ไชยยา 12.นางรัตนา สุทธินวกุล 13.นางจันทิมา คงนก 14.นางสุเพ็ญ ขำเกิด 15.นางวารี มุสิกะธรรม 16.นางวันดี ปลอดวงศ์ 17.นายวิชัย ชัยนุมาศ18.นางวาสนา แท่นหยู 19.นส.สิรินทร กู้เมือง 20.นางสมพร เรืองโรจน์ มีผลสรุปที่สำคัญดังนี้คือ

    1. ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีผู้เข้าร่วมจริงครบ 100 คนตามเป้าหมาย
    2. ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการทำปฎิทินการดำเนินงานได้กรรมการดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจและร่วมกันทำปฏิทินโครงการได้
    3. ร้อยละ75ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถพูดคุยซักถามในเรื่องของตัวกิจกรรม การกำหนดวันเวลาสถานที่ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    100 108

    4. ประชุมสภาผู้นำชุมชนกรรมการชุมและชนทุกเดือนครั้งที่2

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน โดยครั้งแรกประชุมในประเด้นการคัดเลือกกรรมการดำเนินงานในโครงการ โดยให้กรรมการชุมชนเสนอชื่อผุ้ที่สามารถเป็นแกนนำมีความเสียสละและมีความร่วมมือ เสียสละเวลา ร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมโครงการได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปการประชุมสภาผู้นำเสาธงทอง ครั้งที่ 2 มีดังนี้

    1. รายชื่อกรรมการและคณะทำงานโครงบการ จำนวน 20 คน พร้อมบทบาทหน้าที่ที่แบ่งกันรับผิดชอบ
    2. แบ่งพื้นที่เป็นซอย 6 ซอยในชุมชนเสาธงทองและให้มีผู้รับผิดชอบเป็นกรรมการประจำซอย คอยชี้แจง ติดตาม แจ้งข่าวสารโครงการ
    3. มีการนัดวันประชุมกรรมการชุมชน กรรมการสาธารณสุข และ กรรมการโครงการ แบบบูรณาการประชุมพร้อมกัน ทุกวันที่ 10 ของเดือน
    4. กำหนดประเด็นคุยและลงมติ ให้ชัดเจนในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อให้กรรมการได้มีการเตรียมตัวและเสนอความคิดเห็นมาล่วงหน้า
    5. ในการประชุมที่เป็นการตกลงมติ ของชุมชน หรือกติกา ชุมชน ให้ถือตามองค์ประชุม คือเกินครึ่ง และ รับรองมติทุกครั้ง

     

    20 20

    5. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันประชุมและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินการจำนวน 2 จุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันประชุมและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินการจำนวน 2 จุด ได้แก่ บริเวณประชุมที่ศาลาวัดใน และ ในชุมชนหน้าถนนซอยอินไท

     

    2 5

    6. สภาผู้นำประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพชุมชน ภายในจังหวัด

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการชุมชน 5 คน ผุ้สูงอายุ 5 วัยทำงาน 10 คน ร่วมกันเดินทางโดยรถตู้จ้างเหมา เดินทางสัญจรร่วมประชุมกับสภาผู้นำ ตำบลหัวลำพู อ.บ้านหัวไทร บ้านนายสุธรรม สังข์ผอม  โดยกรรมการโครงการ ได้ จัดประเด้นศึกษาดูงานเกี่ยวกับ การสร้างแปลงผักปลอดสารพิษพิชิตโรค แบบยกร่องสูงกันน้ำท่วม  การเลี้ยงไก่ไข่  และ การเลี้ยงปลา  แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยที่ทำให้เกิดควยามสำเร็จในการปลูกผักอย่างต่อเนื่องครบวงจร  จากนั้น ช่วงบ่าย ตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด และเดินทางชมและศึกษาการจัดการชุมชนตลาดน้ำคลองแดน จำนวน 1 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการชุมชน และการจัดการตลาดน้ำโดยสภาชุมชน และเกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญ ในการเดินทางประชุมสภาผู้นำเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผัก และการจัดการชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้

    1. ทีมกรรมการได้ร่วมฟังบรรยายจากประสบการณ์จริง ของ ลุงสุธรรม สังข์ผอม เกิดการยอมรับและความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
    2. ได้เดินชมวิธีการปลูกผักหลากหลายรูปแบบ กระตุ้นให้เกิดแนวคิดการนำไปใช้ที่ชุมชน
    3. มีการพบปะแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเองทั้งในกลุ่มที่ไปศึกษาดูงานด้วยกัน และกับกลุ่มสภาผู้นำของ บ้านเทพรักษา เพื่อการปรึกษาและขอข้อมูลเรียนรู้เพิ่มเติม

     

    20 20

    7. ชุมชนร่วมกันร่างข้อตกลงชุมชนเสาธงทองน่าอยู่

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-16.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มลงทะเบียนเวลา08.30น.หลังจากนั้นคณะทำงานได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุมถึงเรื่องการจัดกิจกรรมในวันนี้โดยการให้ผู้เข้าร่วมเป็นผู้เสนอและบอกถึงความต้องการต่างๆในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในโครงการและเอาผลจากการแบ่งคณะทำงานลงสำรวจพื้นที่ก่อนจากนี้แล้วเพื่อมาทำประชาคมในวันประชุมด้วยจึงได้ข้อตกลงชุมชนเสาธงทองน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 95 คนทุกคนต่างยอมรับมติที่ประชุมโดยมีการยกมือเพื่อเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมและมีการเสนอข้อตกลงของชุมชนดังนี้

    1. มีการประชุมร่วมกันทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน
    2. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนและมีการออมเงินในกลุ่มโดยสมาชิกได้มีการคัดเลือกผู้จะมาทำหน้าที่กันเอง
    3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปลูกผักสวนครัวที่บ้านเพื่อกินเอง
    4. ที่บ้านสมาชิกทุกคนจะต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท
    5. ทุกซอยจะต้องมีการทำน้ำหมักชีวภาพซอยละ 1 ถังโดยจะมีบ้านตัวแทนในการวางถังหมัก

     

    100 95

    8. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00ถึง15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนเวลา9.00น.เข้าห้องประชุมรับฟังการบรรยายเรื่องการเขียนรายงานโครงการแต่ละกิจกรรมใบลงทะเบียนรายชื่อผู้เช้าร่วมกิจกรรมเอกสารการเงินแต่ละประเภทใบสรุปรายงานการประชุมรูปถ่ายแต่ละกิจกรรมและการลงข้อมูลทางเว็บหลังจากนั้นพักเที่ยง เข้าห้องประชุมอีกครั้งเวลา13.00น.ฟังบรรยายต่อเรื่องการหักภาษีณ.ที่จ่ายร้อยละ1.และให้ผู้เช้าร่วมประชุมช่วยกันตรวจสอบหลักฐานของตัวเองในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งว่าถูกหรือไม่หลังจากนั้นผุ้เข้าร่วมประชุมได้ฝึกลงข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานทางเว็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญดังนี้

    1. ได้รับรู้เข้าใจและได้ทบทวนเรื่องการบันทึกกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว
    2. ได้เข้าใจเรื่องใบสำคัญรับเงินและบิลเงินสดว่าแบบไหนต้องใช้กับใคร
    3. ได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    4. ได้รับความรู้เรื่องการลงข้อมูลทางเว็บอย่างถูกต้อง

     

    2 2

    9. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่3

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนเวลา13.00น.หลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยกับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมถึงกิจกรรมที่จะทำในเดือนนี้ได้แก่กิจกรรมออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้รับทราบการทำงาน
    2. มีการมอบหมายงานให้แต่ละคนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จน โดยให้กรรมการช่วยกันสำรวจข้อมูลของแต่ละครัวเรือนเพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการทำกิจกรรม
    3. ทุกคนเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ

     

    20 20

    10. จัดกิจกรรม ออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จนร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 27 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-16.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มลงทะเบียนเวลา 08.30 น.สมาชิกมาครบเวลาประมาณ 09.00 น.ต่อจากนั้นประธานโครงการเริ่มพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงวัตถุประสงค์หลักๆของกิจกรรมซึ่งวันนี้สมาชิกจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รายจ่ายฟุ่มเฟือย อบายมุขและสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนตอนที่วิทยากรพูดคุยเรื่องรายจ่ายฟุ่มเฟือยก็มีการถามตอบกันแสดงความคิดเห็นกันระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมทำให้บรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นไปด้วยดีมีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะหลังจากนั้นวิทยากรพูดคุยซักถามได้ข้อมูลหลายๆอย่างแล้วก็เขียนข้อมูลลงบนกระดาษชาร์ดเพื่อให้สมาชิกได้เห็นภาพรวมของชุมชนไม่ว่ารายรับรายจ่ายและหนี้สินในภาพรวมของชุมชนมีมากขนาดไหนหลังจากนั้นก็พักรับประทานอาหารพอรับประทานอาหารเสร็จวิทยากรสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนให้กับสมาชิกและยังมีการตกลงกันในกลุ่มสมาชิกว่าให้สมาชิกทุกคนเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์โดยให้เลือกคณะกรรมการกันเองภายในกลุ่มมีการฝากเงินออมเดือนละครั้งสมาชิกสามารถตรวจสอบหลักฐานต่างๆได้มีสมาชิกสนใจหลายๆคนให้การตอบรับและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเลิกประชุมเวลา16.30น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญดังนี้

    1. สมาชิกมีความรู้และเข้าใจเรื่องเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
    2. สมาชิกให้ความสนใจเรื่องการออมเงินมากขึ้น
    3. สมาชิกให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดีสังเกตจากการพูดคุยซักถามระหว่างผู้เข้าประชุมกับวิทยากร

     

    100 100

    11. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่4

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนเวลา13.00น.เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมมาพร้อมกันผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยเกี่ยวกับการการเข้าร่วมประชุมวันนี้มีการถามถึงปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมที่ผ่านมาหลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการแบ่งหน้าที่ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้จักโครงการให้มากที่สุดช่วยกันณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ในชุมชนโดยเริ่มจากบ้านของแกนนำก่อนหลังจากพูดคุยกันเสร็จก็มีการรับฝากเงินสัจจะออมทรัพย์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำกิจกรรมเดือนที่แล้ว ออมแล้วไม่อด จดแล้วไม่จนจึงตกลงกันว่าจะรับฝากเงินออมของสมาชิกทุกวันที่10ของเดือนหลังจากประชุมเสร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญดังนี้

    1. มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคของแกนนำแต่ละคน
    2. สมาชิกแกนนำสามารถพูดคุยประชาสัมพันธ์โครงการได้
    3. สมาชิกแกนนำสามารถรับรู้รับทราบกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง
    4. สมาชิกมีเงินออมแต่ละเดือน

     

    20 20

    12. จัดกิจกรรมเสาธงทองปลอดขยะ

    วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มลงทะเบียนวันที่31มค.เวลา08.30น.ต่อจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยถึงการร่วมทำกิจกรรมในวันนี้โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่าเสาธงทองปลอดขยะโดยใช้หลัก3rมีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้หลักการคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะ การลดมลพิษและโรคติดต่อรักษาสภาพแวดล้อมหลังจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายโดยวิทยากรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซักถามกับผู้เข้าร่วมประชุมถึงกิจกรรมในวันนี้แล้วให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอกันว่าเราจะทำอย่างไรกับขยะในแต่ละวันก็ได้ข้อสรุปสำคัญๆดังนี้1.ขยะที่ย่อยสลายได้เช่นเศษอาหาร เศษผัก เศษปลาในครัวเรือนให้เอามาทำน้ำหมัก 2.เศษดินใบไม้แห้งและมูลสัตว์ตากแห้งที่มีอยู่ในชุมชนเอามาทำปุ๋ยหมัก 3.ขยะที่ขายได้ให้ทำการคัดแยกให้ชัดเจนก่อนขายหากเป็นขยะที่ใช้ไม่ได้ทิ้งถังขยะเทศบาล 4.ขยะมีพิษเช่นหลอดไฟ กระป๋องสีสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ขวดยาฆ่าแมลง ขวดยาหมดอายุต่างๆเป็นต้นให้นำไปใส่ถังขยะอันตรายซึ่งถังจะมีอยู่ในชุมชนหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะเก็บไปทำลายเอง กิจกรรมย่อยวันที่1ก.พ.เริ่มเวลา09.00น.ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดพูดคุยอธิบายชาวบ้านในการทำกิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพหลังจากนั้นลงพื้นที่ทำน้ำหมักตามซอยต่างๆในชุมชนเพราะทำที่บ้านของสมาชิกจะสะดวกเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆมีพร้อมไม่ต้องขนย้ายไปมาให้ยุ่งยากได้ทำทั้งหมด4ซอยได้แก่ ซ.เขมาวิถี ซ.6ประชาวัฒนา ซ.ธกส.และซ.4ประชาวัฒนา สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือกันดีต่างสนใจในการทำซักถามเรื่องต่างๆทำไปถามไปพูดคุยกันทำให้ทุกคนสนุกกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญดังนี้

    1. ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำการคัดแยกขยะได้
    2. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองในครัวเรือนได้
    3. สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของสมาชิก
    4. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกในชุมชนได้

     

    100 93

    13. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่5

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปเรื่องการเตรียมกิจกรรมในเดือนกพ.เรื่องการปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก และเรื่องการเตรียมเอกสารการเงิน การทำรายงานให้เรียบร้อยสมบูรณ์เพื่อให้ทางพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่สจรส.ม.อ. ช่วยตรวจสอบเพื่อจัดทำรายงานการเงินและรายงานผลการดำเนินงานงวดที่ 1 ในวันที่ 13 - 14 ก.พ. 59

     

    20 20

    14. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่13ก.พ.59ที่ม.วลัยลักษณ์เริ่มลงทะเบียนเวลา9.00น.รับฟังคำชี้แจงและนำเสนอผลการดำเนินงานจนถึงเวลาเที่ยงหลังจากนั้นส่งหลักฐานให้พี่เลี้ยงตรวจสอบและมาติดตามแก้ไขเพิ่มเติมในวันที่14

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
    2. เจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำและได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

     

    2 2

    15. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่6

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน เดือนนี้ กรรมการได้จัดประชุมเพื่อแจ้งความก้าวหน้าโครงการและงบประมาณที่เหลือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กรรมการโครงการจำนวน 15 ภาคีเครือข่าย 5 คน รวม 20 คน ร่วมประชุมแจ้งความก้าวหน้าโครงการและงบประมาณที่เหลือ ดังนี้
    1. โครงการดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนด งบทั้งหมด จำนวน 200,100 บาท  และปิดงวดเรียบร้อย ส่งรายงาน สสส. แล้ว ใช้งบไปจำนวน 85,360 บาท เกินงบประมาณ งวด 1 ไป 4,764.25 บาท สถานะคือรอสสส.ตรวจเอกสารเรียบร้อย และรอเงินอนุมัติในงวด 2 จำนวน 100,060 บาท
    2. การดำเนินในงวดที่ 2 ต้องดำเนินการใ้หครบทุกกิจกรรมตามแผนและทดรองจ่ายงบประมาณในงวดที่ 3 ไปก่อน หลังรายงานกิจกรรมงวด 2 เสร็จ เรียบร้อยและส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ จะได้งบ งวด 3 ที่เหลือจำนวน 20,010 บาท
    3. ช่วงระหว่างรองบให้ดำเนินกิจกรรมประชุมกรรมการต่อเนื่องทุกวันที่ 10 เหมือนเดิม
    • ที่ประชุมรับทราบ

     

    20 20

    16. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่7

    วันที่ 10 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กรรมการชุมชน อสม.เยาวชน ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 15 คน และภาคีเครือข่าย 5 คน รวม 20 คน ร่วมประชุมเพื่อติดตามงบประมาณและแผนการทำกิจกรรมต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการประชุมในวันนี้ ผู้รับผิดชอบ นางสายไหม ทองสุก แจ้งเรื่อง
    1. งบประมาณยังไม่ได้รับเนื่องจากขั้นตอนการตรวจรายงานยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากจนท.สสส.ที่ตรวจมีน้อย ทำให้การตรวจล่าช้า อีกทั้งจำนวนโครงการที่ส่งไป หลายโครงการทำไม่เรียบร้อย การตรวจยุ่งยากล่าช้า จึงทำให้ช้าในการรวบรวมส่งสสส.
    2. แนวทางแก้ไขงบประมาณช้า ให้ประชุมสภาผู้นำตามปกติเดือนหน้า ประชุมที่เดิมอีก ส่วนกิจกรรมที่ต้องทำในเดือนกพ มีนา ให้เลื่อนมาทำช่วง พค. มิย
    • ที่ประชุมรับทราบ

     

    20 20

    17. สภาผู้นำ ลงติดตามพื้นที่เพื่อให้กำลังใจและช่วยเหลือชุมชน ไตรมาสละ ครั้ง

    วันที่ 15 เมษายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดคณะกรรมการพร้อมกันที่ ศสมช.เสาธงทองเวลา 08.30 น. หลังจากนั้นแบ่งงานเป็นกลุ่มรับผิดชอบแต่ละซอยโดยใช้กรรมการ 2 คน ต่อ 3 ครัวเรือน ดังนี้
    • เรือนซอย ธกส. มีนางสัญชุลี ฉิมวงศ์ และ นางจันนา จันทรวงศ์ ลงติดตามบ้านนายลี้กิตติ พนังกุล บ่านนางสายพิณ จินา และบ้านนายอำพล ดำรักษ์
    • ซอยประชาวัฒนา 6 มีนางสาวบังอร ช่วยสมบัติ บ้านนางสาวปิยะรัตน์ หวังจันทร์ บ้านนางอารีย์ ฉิมวงศ์ นางเกยูรปาระมาศ และบ้านนายจรูญ แดงเอียด
    • ซอยประชาวัฒนา 4 มีนางสาวอารยา คงทอง นางนวลอนงค์ สุขสวัสดิ์ ลงติดตามบ้านนางแดง เชียรแก้ว นางสมพร เรืองโรจน์ และนางพวงพิศ หงษ์เกิด
    • ซอยเขมาวิถี มีนางพรรัตน์ ไชยยา นางสาววรรณี ชัยนุมาศ ลงติดตามบ้านนางอรพักตร์ ศรีนวลแก้ว นางปรีญา เจริญศรี และบ้านนายสุวิทย์ แซ่โค้ว
    • ซอยออมสิน มีนางภัคชุดา วัชรานุวิทย์ และนางเตือนใจ พัลวัล เป็นผู้ติดตามบ้านนางรื่น คงสวัสดิ์ นางจำเนียร แสนแก้ว และบ้านนายโกมล พจมานพงศ์
    • บ้านที่อยู่ติดถนน มีนางสาวสายไหม ทองสุก นางธนพร พูลแก้ว นางรัตนา สุทธินวกุล นางสาวสุเพ็ญ สุคนธ์ปฏิภาค นางสังวรณ์ นาคสิงห์ นางสาวประดับ ดำคล้าย เป็นผู้ติดตามบ้านนายวัฒนา คีรีสุทธิ์ นางจวง สมมุ่ง นายไหวพริบ รัตนาภรณ์ นายสมบูรณ์ ทิพย์รัตนแก้ว นางสาวสุคนธ์ ชีวะธรรม นางดวงใจ ชูดวง นางยอง แถมแก้ว นางละออ เขียวสุวรรณ นางวาสนา หรี่แก่น นางมณีโชติ ดำรักษ์ นางหนูวาส สิงห์วงศ์และนางสุนีย์ ชัยนุมาศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการลงเยี่ยมบ้าน พบว่า แต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง ดังนี้

    • เรือนซอย ธกส.ทั้งสามบ้านมีการปลูกผักกินเองบริเวณข้างบ้าน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ได้แก่ ลังโฟม กะละมังรั่ว และมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนด้วย มีการพูดคุยบอกให้คนติดตามดูผักที่พวกเขาปลูกเกิดความประทับใจในผลที่ได้รับ
    • ซอยประชาวัฒนา 6 ทั้งสามบ้านนี้มีการรวมกลุ่มปลูกผักสวนครัวโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านนายจรูญ และได้มีการชวนเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นสมาชิกเข้าร่วมด้วย มีการพูดคุยกับผู้ติดตาม ว่า วันหลังถ้ามีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ให้บอกด้วย ซอยนี้มีการคัดแยกขยะเกือบทุกบ้าน
    • ซอยประชาวัฒนา 4 ทั้งสามบ้าน มีการเพาะเห็ดนางฟ้าใช้วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ตู้เย็นเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ลังโฟมเก่า มีการทำน้ำหมักไว้ใช้ในครัวเรือน พอคนติดตามลงพื้นที่ได้มีการนำของที่ทำมาให้คนติดตามดู และมีการพูดคุยเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายบอกว่าเขียนบัญชีครัวเรือนเขียนบ้างลืมบ้าง คนติดตามเลยแนะนำว่าอย่าลืมเขียนเพราะจะทำให้เรารู้ถึงรายรับรายจ่ายของตัวเอง ส่วนข้างๆบ้านได้มีการสอบถามกันว่าถ้าเขาจะเข้าเป็นสมาชิกด้วยได้ไหม ผู้ติดตามบอกว่าได้
    • ซอยเขมาวิถี ทั้งสามบ้านกลุ่มเป้าหมายได้มีการชักชวนบ้านใกล้ ๆ เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำหมัก และทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่าง ๆ มีการคัดแยกขยะ การทำบัญชีครัวเรือน
    • ซอยออมสิน ทั้งสามบ้านมีการทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน และมีการจดบัญชีครัวเรือนด้วย
    • บ้านที่อยู่ติดถนน บ้านทั้งหมดมีการเพาะเห็ดในลังโฟมและตระกล้า และมีการคัดแยกขยะด้วย
    • พอติดตามกลุ่มเป้าหมายครบมีการรวบรวมข้อมูลหลัก ๆ ได้ดังนี้
    1. กลุ่มเป้าหมายปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง
    2. มีการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน
    3. กลุ่มเป้าหมายสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
    4. มีการทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่าง ๆ ใช้เอง

     

    20 20

    18. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่8

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็กภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายอีก 5 คน รวม 20 คน ร่วมประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยเพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน ในเดือนนี้ นัดประชุมทบทวนเรื่องการจัดทำกติกาชุมชน และนโยบายการออมชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการทบทวะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน ในเดือนนี้ นัดประชุมทบทวนเรื่องการจัดทำกติกาชุมชน และนโยบายการออมชุมชน มีข้อสรุปดังนี้
    1. สมาชิกกองทุนออมของบ้านเสาธงทองขยายจากเริิมต้น จำนวน 50 ครัวเรือน เป็น 100 ครัวเรือน
    2. เงินออมสมาชิกเดือนละ 50 บาท รวมยอดเข้าบัญชีออมทรัพย์ โโยมแจ้งรายชื่อกรรมการเก็ยรักาาบัญชีจำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบและดำเนินการทำ ยังเก็บเป็นเงินออมยอดจำนวน 15,000 บาท
    • สมาชิกรับทราบ

     

    20 20

    19. ร่วมคิดร่วมทำร่วมใจ สกัดโรค ด้วยการปลูกทุกสิ่งที่กิน

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเรียนรู้การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในครัวเรือน โดยการปลูกผักและจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ด ดังนี้
    • ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การเพาะต้นกล้าผัก โดยจรูญ แดงเอียดและป้าหนูิล แดงเอียด
    • เรียนรู้การเพาะเห็ดใช้กินในชุมชนโดยนางอรพักตร์ ศรีนวลแก้ว โดยการจัดการเป็นกลุ่มเพาะเห็ดเสาธงทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวเสาธงทองได้เรียนรู้การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในครัวเรือน โดยการปลูกผักและจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ด ดังนี้

    วิธีการเพาะกล้าผัก
    1. เตรียมตะกร้าสี่เหลี่ยม ขนาดสักประมาณ 13 X16 นิ้ว สูงประมาณ 4 นิ้ว หรือใช้ตะกร้าขนมจีนก็ได้
    2. นำตะกร้าที่ใช้เพาะรองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
    3. ใส่กาบมะพร้าวสับเป็นชิ้นเล็กๆ ครึ่งตะกร้า จากนั้นใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เรียบ
    4. ใช้ไม้ขีดเป็นร่องๆให้ห่างประมาณ 1 ไม้บรรทัด
    5. โรยเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงในร่อง ใช้ดินกลบทับบางๆ พอให้คลุมเมล็ดมิด
    6. นำหนังสือพิมพ์มาปิดทับ รดน้ำให้ชุ่ม วางตะกร้าไว้ในที่ร่ม รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ให้นำกระดาษหนังสือพิมพ์ออก เช้าวันที่ 4 ก็ให้แยกต้นกล้าใส่ถาดหลุม วางพักไว้ในที่ร่มสัก 2 วัน พอเข้าวันที่ 3จึงนำออกแดดได้ ว่าแต่อย่าลืมรดน้ำอย่างระมัดระวังไม่ให้ต้นกล้าหักด้วยนะคะ พอต้นกล้าอายุได้ประมาณ 20 วัน จึงย้ายปลูกลงแปลงหรือกระถางที่เตรียมไว้ต่อไป โดยคราวนี้ถึงเวลาต้องใช้ดินที่หมักเตรียมไว้ มาใส่แปลงหรือใส่กระถาง พร้อมลงมือย้ายต้นกล้าที่โตได้ที่

     

    100 91

    20. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่9

    วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็กภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน เดือนนี้รายงานผลการติดตามบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รายงานผลการติดตามบัญชีครัวเรือน พบว่า
    1. จำนวนผู้ร่วมบัญชีครัวเรือนตินแรกร่วมโครงการจำนวน 100 ราย
    2. จำนวนผู้ที่ได้ทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่องตั้งแต่ เดือนมกรา 59-มีค59 ในช่วงไตรมาศแรกจำนวน 90 ราย ส่วนใหญ่ได้จดแต่รายจ่ายฟุ่มเฟือย และจดไม่ละเอียด ส่วนในรอบไตรามาสที่ 2 คือ เมย.59- มิย.59 สรุปว่า จำนวนจดน้อยลงกว่าเดิม คือเหลือ 62 ราย และเด็ก ที่ร่วมโครงการ 30 ราย จดเพียง 20 ราย
    3. เหตุผลที่คนไม่จดแจ้งให้ทราบ คือ ขี้เกียจ จด ลืมจด ไม่มีอะรัยให้จด มีแต่รายจ่าย ไม่มีรายรับ ส่วนเหตุผลคนจด คือ ทำตามข้อตกลงให้จดทุกเดือน จดไม่ครบก็ยังดีกว่าไม่จด
    • ที่ประชุมกรรมการรับทราบและจะกระตุ้นใน ไตรมาสต่อไป

     

    20 20

    21. กรรมการติดตามสนับสนุนพื้นที่ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กรรมการติดตามสนับสนุนพื้นที่ครั้งที่ 2 เพื่อให้กรรมการติดตามกิจกรรมเศรรษฐกิจพอพอเพียงในครัวเรือน ในครั้งนี้เป็นการติดตามประเมินครัวเรือน ครั้งที่ 2 โดยแบ่งเวรติดตามแยกเป็นซอย รวม 5 ซอย ซอยละ 4-5 คน โดยเน้นการประชุมกรรมการติดตามหลังจากเข้าติดตามในครัวเรือนตามโซนที่แบ่งกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครั้งนี้เป็นการติดตามประเมินครัวเรือน ครั้งที่ 2 โดยเน้นการประชุมกรรมการติดตามหลังจากเข้าติดตามในครัวเรือนโดยแบ่งเป็นโซน ในการช่วยกันติดตาม ผลพบว่า
    1. ครัวเรือนอย่างน้อย 50 ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวเอาไว้กินเอง อย่างน้อย 5 อย่าง ตามข้อตกลง ซึ่งส่วนใหญ่ผักที่ปลูกได้แก่ ผักกาด คะน้า ต้นหอม ผักบุ้ง ดีปลี ตะไคร้
    2. ครัวเรือน 3 ครัวเรือนเพาะเห็ดทั้งไว้กินและแบ่งขายในบ้านเรือนใกล้เคียงและในตลาดเช้า โดยแบ่งขายทั้งก้อนเห็ด และ ดอกเห็ด และมีครอบครัวที่เข้ากลุ่มเพาะเห็ด ประมาณ 20 ราย ช่วยกันมาเพาะเห็ดที่บ้าน นางหนูนิล ซึ่งเป็นแปลงต้นแบบ และแบ่งก้อนเห็ดเอาไว้ให้บ้านที่ร่วมกลุ่มประมาณ 20 หลัง หลังละ 10 ก้อน
    3. การแยกขยะ พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีการแยกขยะตามข้อตกลง คือ ขยะสดอินทรีย์นำไปร่วมกันแต่ละซอยเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ และพบว่า มี 5 กลุ่มที่ทำหน้ำหมักอย่างต่อเนื่อง
    4. การทำบัญชีครัวเรือน พบว่า มีการทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 50 หลัง โดยเฉพาะรายที่เข้ากลุ่มออมทรัพย์ มีการทำบัญชีต่อเนื่องตามข้อตกลง

     

    20 20

    22. การปลูกฝังจิตสำนึก โดยจัดเสวนา ลดขยะลดรายจ่าย ลดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมชุมชน

    วันที่ 17 มิถุนายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สาธิตและฝึกปฎิบัติการทำน้ำยาต่างๆใช้ในครัวเรือนเอง ได้มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่โดยมีนางบุญยวง มนต์แก้ว และนางอรพักตร์ ศรีนวลแก้ว เป็นวิทยากรซึ่งเป็นปราชญ์ในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประหยัด และลดสารพิษร่างกายและต่อสิ่งแวดล้อม
    2. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทำน้ำยา และสบู่ใช้เองในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมกัน จำนวน 100 คน มีการพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับการลดขยะเข้าบ้าน ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดของใช้ฟุ่มเฟือย การจดบันทึกการออม ปลูกฝังแนวคิดให้กับเด็กลูกหลาน ทุกคนที่เข้าทุกคนตั้งอกตั้งใจในการทำครั้งนี้มาก ดูจากการมีส่วนร่วมของทุกคน คือ แบ่งงานกันทำ มีสมาชิกต่างชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม หลายคนบางคนบอกว่าไม่เคยรู้เรื่อง สสส.มาก่อนพอมีคนชวนมาร่วมกลุ่มเลยมา ทำให้พวกเราเจ้าของโครงการดีใจมาก ที่นอกจากสมาชิกในชุมชนเสาธงทองแล้วยังมีสมาชิกต่างชุมชนมาร่วมด้วย
    • การเรียนรู้ในวันนี้ ทุกคนมีความคาดหวังว่าในอนาคตบ้านเสสธงทองจะมีลักษณะ ดังนี้

    1.สามารถลดขยะในครัวเรือนได้
    2. ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้โดยการทำน้ำยาเอนกประสงค์และสบู่ใช้เอง
    3. คนในครัวเรือนมีเงินออมและรู้จักวิธีการออมมากขึ้นโดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

    4.มีสมาชิกที่สามารถเป็นแกนนำเครือข่ายจากต่างชุมชนมากขึ้น

    5.เกิดการทบทวนกติกาเสาธงทองและแจ้งให้ทราบถือเป็นแนวทางปฏิบัติโดยทั่วกัน

     

    100 100

    23. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บัญชีครัวเรือนให้อะไรแก่เสาธงทอง และจัดตั้งกลุ่มออม เสาธงทอง

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมที่วัดเสาธงทอง สมาชิกมาพร้อมกันเวลา 8.30 น.
    • หลังจากนั้นท่านรองนายกณัฐนันท์จันทราทิพย์ และ หมออ้อย พี่เลี้ยงโครงการ ได้พูดคุยกับชาวบ้านถึงเรื่องการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บัญชีครัวเรือนให้อะไรแก่เสาธงทองและได้มีการจัดตั้งกลุ่มออม โดยมีการเลือกคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านมีกลุ่มออมทรัพย์และชาวบ้านมีการออมเป็นรูปธรรมร้อยละ75
    • เกิดคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด โดยเลือกมาจากผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้ทั้งหมด 6 คน ดังนี้
    1. นางสาวสายไหม ทองสุก ประธานกลุ่ม
    2. นางสาวบังอร ช่วยสมบัติ เลขา
    3. นางรัตนาสุทธินวกุล ผู้ช่วยเลขา
    4. นางสัญชุรี ฉิมวงศ์ เหรัญญิก
    5. นางเตือนใจ พัลวัล ผู้ช่วยเหรัญญิก
      ุ6. นายกิติกร กิตติพนังกุลฝ่ายตรวจสอบ
    • และมีการรับสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มมีจำนวนทั้งหมด 75 คน มีการเปิดสมุดแรกเข้าเป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า 50 บาท ได้รับความสนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมเงินได้ทั้งหมด 8,500 บาท หลังจากนั้นนำเงินไปฝากธนาคารไทยพานิช

     

    100 100

    24. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่10

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ในเดือนนี้ได้พูดคุยเรื่องจำนวนเงินในกองทุนออมทรัพย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประเมินพูดคุยเรื่องกองทุนออมทรัพย์ ตอนนี้มีสมาชิก 95 คน มีเงินในบัญชี จำนวน 83,000 บาท

     

    20 20

    25. ชุมชนจัดกิจกรรมเสาธงทองสามัคคี ชมวารี พายเรือปลูกผัก

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมริมคลองแพรกซ้าย เพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ตั้งแต่เริ่มดำเนินการเพื่อสร้างความสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการชุมชนเสาธงทองปลุกผักปลอดสารพิษ ปลอดขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลสำคัญดังนี้
    1. ชาวเสาธงทอง 80 กว่าคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนสูงอายุ ช่วยกันเก็บขยะริมคลอง
    2. ชายวัยแรงงานพายเรือเก็บขยะสิ่งสกปรกในคลอง โดยการพายเรือล่องคลอง
    3. กรรมการชุมชนช่วยกันรวบรวมขยะสิ่งปฏิกูลได้ถึง 30 ถุง และนำไปทิ้งรถขนขยะเทศบาล
    4. เกิดข้อตกลงบำเพ็ญประโยชน์และช่วยกัรรักษาคลอง โดยให้บ้านริมฝั่งคลองเป้นผู้ร่วมดูแล

     

    100 100

    26. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่11

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กรรมการโครงการ และภาคีเครือข่าย 20 คน ร่วมประชุม เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน เดือนนี้ วางแผนติดตามเรื่องการติดตามผลครัวเรือนจัดการขยะและการปลูกผักทุกอย่างที่กิน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วางแผนติดตามเรื่องการติดตามผลครัวเรือนจัดการขยะและการปลูกผักทุกอย่างที่กิน โดยพบว่า
    1. จำนวนผู้ที่ปลูกผักสวนครัวข้างบ้าน และในกระถาง ในกระสอบ มีจำนวน 20 ราย ส่วนใหญ่มีไว้กินที่เหลือแบ่งขายที่แผงตลาดเช้า
    2. จำนวนผู้ืที่ปลูก บางชนิด เช่น ผักกาด ผักบุ้ง พริก มะนาว บัวบก ผักชีมีจำนวน 12 ราย ปลูกคนละอย่าง 2 อย่าง ส่วนใหญ่ไว้เก็บกินอย่างเดียว
    3. กลุ่มที่ปลูกสมุนไพร และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ได้แก่ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำตะไคร้ ขิง บัวบก มะขามเป้นต้น ส่วนในกลุ่มที่ทำปุ๋ยน้ำหมัก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ปลูกผักทั้งกินและขาย และทำต่อเนื่องตลอด

     

    20 20

    27. กรรมการติดตามสนับสนุนพื้นที่ครั้งที่ 3

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กรรมการโครงการและสภาชุมชน เพื่อให้ทีมกรรมการโครงการได้ติดตามช่วยเหลือการเพาะเลี้ยงเห็ด ในครั้งนี้ เป็นการติดตามผลลัพธ์การเพาะเห็ดของกลุ่มเพาะเห็ดจำนวน 20 ราย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กรรมการโครงการรับทราบผลการติดตาม การติดตามผลลัพธ์การเพาะเห็ดของกลุ่มเพาะเห็ดจำนวน 20 ราย และพบว่า
    1. บ้านต้นแบบการเพาะเห็ดคือบ้านนางหนูนิล
    2. สมาชิกที่เข้ากลุ่มเพาะเห็ด มีการเพาะเห็ด 3 ชนิด คือเห็ดนางฟ้า เหฌดภูฎาล และเห็ดเป่าฮ้อ
    3. บางครัวเรือนเห็ดเดินเต็มถุง ยังไม่เปิดถุงบางครัวเรือนเห็ดเริ่มออกดอกเห็ด
    • ผลจากการสังเกตพบว่า แม่บ้านที่เพาะเห็ดดีใจ และมีความสุข กับเมื่อเห็นดอกเห็ดบานออกและสวยงาม ไม่เสียหาย

     

    20 20

    28. จัดทำรายงานงวดที่2และรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและเหรัญญิก เพื่อสรุปรายงานความก้าวหน้าโครงการ และบันทึกรายงานให้เป็นปัจจุบันครบถ้วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและเหรัญญิกสรุปรายงานความก้าวหน้าโครงการ และบันทึกรายงานให้เป็นปัจจุบันครบถ้วน ให้พี่เลี้ยงระดับจังหวัดรับทราบ
    • ทีมสนับสนุนวิชาการ (สจรส.ม.อ.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการและการปิดงวด 2

     

    2 2

    29. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่12

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ในเดือนนี้มาร่วมกันวางแผนการทำถุงผ้าลดขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กรรมการ 15 คน ร่วมกันวางแผนกิจกรรมทำถุงผ้า ใช้ถุงผ้า ลดขยะ และได้กำหนดวันทำถุงผ้าในวันที่ 14 กันยายน 59

     

    20 15

    30. แม่บ้านยุคใหม่ ร่วมใจ ใส่ถุงผ้า และประกวดถุงผ้าทำมือ เสาธงทอง

    วันที่ 14 กันยายน 2559 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รองนายกเทศนตรี นางณัฐนันท์ มาร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนการทำถุงผ้า และร่วมเรียนรู้แนวคิดการลดขยะสู่ครัวเรือน จากนั้นลงมือปฏิบัติการทำถุงผ้าร่วมกัน จากนั้นแจกถุงผ้าของโครงการคนละ 1 ถุง เพื่อให้นำไปใช้เพื่อลดปริมาณขยะสู่บ้านเรือน ให้ผู้เข้าประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นและวิธีการทำถุงผ้าแบบต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการแนะนำให้ใช้ถุงผ้าในกลุ่มคนที่สนใจก่อนและขยายผลไปสู่เด็กและเยาวชน จากนั้นกระจายสู่ชุมชน ส่วนการจัดการประกวดถุงผ้าทำมือ เสาธงทอง และรณรงค์ให้ทุกคนจ่ายตลาดโดยการนำถุงผ้า หรือวัสดุอื่นๆ เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและเป็นต้นแบบแก่ชุมชนใกล้เคียงในการลดขยะ มีการให้รางวัล และนำแบบถุงที่ชนะการประกวดมาเป็นต้นแบบแก่ผู้สนใจ โดยนัดวันมาประกวดถุงผ้าพร้อมกระถางทำเองในวันปิดโครงการ
    • บรรยากาศสนุกสนาน มีส่วนร่วม ผู้มาร่วมประชุม มาครบตามเป้าหมาย

     

    100 100

    31. ชาวเสาธงทอง ร่วมใจ กินทุกสิ่งที่ปลูก

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าเรื่อง 108 วิธี กินผัก โดยให้ทุกคนเขียนเรื่องเล่า และคัดเลือกเรื่องเล่าดีๆมาให้เด็กในครอบครัว อ่านให้ที่ประชุมฟัง โดยเน้นกรรมวิธี การนำผักมาปรุง ประโยชน์ สรพพคุณผักเป็นยา และ เมนูสุขภาพ ป้องกันและลดโรคเรื้อรังในปัจจุบัน มอบของที่ระลึกแก่ครอบครัวที่ได้รับรางวัลเรื่องเล่า ชาวเสาธงทอง วิธี กินผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ร้อยละ 50 ของสมาชิก ได้รู้ถึงวิธีการกินผักที่มีประโยชน์ และได้รู้ถึงสรรพคุณทางยาของผักที่ตนเองปลูก
    • สมาชิกมีการทำน้ำสมุนไพรที่ได้จากการปลูก คือ ตะไคร้และอัญชันไว้กินเองได้
    • ร้อยละ 50 ของสมาชิกสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชนและระหว่างชุมชนได้

     

    60 60

    32. จัดการประกวดบ้านน่าอยู่ด้วยผักงาม และกระะถางสวย

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดการประกวดพืชผักงาม และกระถางสวย มีประโยชน์ลดต้นทุน ในกลุ่มเด็กเยาวชน เพื่อขยายเครือข่ายลดขยะ และขยายแนวคิดสวนผักคนเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่างๆในชุมชน ผักที่นำประกวด ได้แก่ ต้นใบเล็บครุฑ ต้นคะน้า ต้นตะไคร้ เห็ด มะเขือ โหระพา เป็นต้น โดยมีหน่วยงานจากโรงพยาบาลปากพนัง เกษตรอำเภอ และสาธารณสุข ปากพนัง เข้ามาร่วมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนการปลูกผักสวนครัว ผักริมรั้ว ในบริเวณ โดยสามารถปลูกได้ง่าย และมีความสวยงามเสมือนกับการปลูกไม้ประดับ เช่น ต้นใบเล็บครุฑ ต้นคะน้า ต้นตะไคร้ เห็ด มะเขือ โหระพา เป็นต้น

     

    100 80

    33. ถอดบทเรียนประเมินคุณค่าโครงการที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์และแก้ไข

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ถอดบทเรียนประเมินคุณค่าโครงการที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์และแก้ไข โดยเชิญตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ และต้นแบบบุคคลและครัวเรือนที่ได้รับการยกย่องในชุมชน กรรมการโครงการ และภาคีเกี่ยวข้อง และพี่เลี้ยงโครงการมาร่วมสะท้อนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นคุณค่าจากการดำเนินโครงการผลลัพธ์ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับตนเอง สิ่งแวดล้อม และกลไกชุมชนที่เกิดขึ้น เป็นต้น พร้อมทั้งสรุปภาพรวมโครงการ จัดทำเอกสารสรุปรายงาน และแผ่นพับประชาสัมผลโครงการให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผลผลิต ดังนี้
    • ร้อยละ 75 ลดรายจ่ายได้ ครัวเรือนละ เฉลี่ย 500 บาท ส่วนเพิ่มรายได้ เพียงร้อยละ 50 เพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท ส่วนใหญ่มาจากการนำผัก และ ไข่ มาแบ่งขาย
    • ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการทำบัญชีครัวเรือน ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด แต่มีการทำต่อเนื่อง จนปิดโครงการ เพียง ร้อยละ 50
    • ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนได้ ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากพบว่า ทุกครัวเรือนที่เข้าโคงการมีการปลูกผักอย่างน่อย 5 ชนิดตามข้อตกลง
    • ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีเงินออม และชุมชนมีกองทุนออม ผ่านเกณฑ์ เนืองจากตอนนี้ กองทุนออม มีสมาชิกจำนวน 100 ราย และมีการฝากบัญชีออมเดือนละ 50 อย่างต่อเนื่อง

    2.เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากชุมชนมีการนัดประชุม อสม. และ โครงการพร้อมกันในวันที่ 10 ทุกเดือน และมีกรรมการมาร่วม อย่างน้อย 15 คน และกลุ่มสภาผู้นำมีการจัดประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

    3.ชุมชนมีแผนการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในชุมชน และปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ำเสมอและเกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองแพรกซ้าย พบว่ามีผลการนำเสนอความคิดแผนการอนุรักษ์รักษาคลองโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาทำต่อเนื่อง 4. เกิดข้อตกลงชุมชนเสาธงทอง พบว่าผ่านเกณฑ์ เนื่องจากเกิดข้อตกลง และกติกา จำนวน 10 ข้อ ซึ่งชาวบ้านในที่ประชุม เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการเสาธงทอง 5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการโดยพบว่า

    • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
    • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    40 40

    34. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คนร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการร่มสร้างชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ของ สสส. ในงานสร้างสุขภาคใต้ ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าฟังการเสวนาชุมชนน่าอยู่ และแลกเปลี่ยนการจัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่ร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คนนางสายไหม ทอฝสุก และนายวิชัย ชัยนุมาศ ได้เป็นตัวแทนร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมโครงการร่มสร้างชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ของ สสส ผลลัพธ์ในการร่วมมงานคือ
    1. ได้เห็นและได้เรียนรู้เรื่องการจัดทำตลาดนัดผักปลอดสารพิษของนาท่อม การจัดการขยะของคลองท่อม ที่มานำเสนอ
    2. การปั่นจักรยานเยี่ยมบ้าน
    3. การออมของแหลมยางนา
    • ซึ่งได้นำมาบอกเล่าต่อในวันประชุมกรรมการโครงการ

     

    2 2

    35. สรุปผลการดำเนินโครงการและตรวจเอกสารหลักฐาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการและตรวจเอกสารหลักฐานการเงินในงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงิน สรุปผลการดำเนินโครงการและตรวจเอกสารหลักฐานโดยมีพี่เลี้ยงโครงการช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก้ไขความถูกต้อง และนำผลลัพธ์โครงการมาจัดทำเอกสาร

     

    2 2

    36. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรมรายงาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และติดป้ายกิจกรรมในโครงการถอดบทเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดป้ายปลอดบุหรี่จำนวน 1 ป้ายขึ้นในชุมชนบ้านเสาธงทอง
    • มีรูปภาพกิจกรรมเก็บไว้จัดนิทรรศการ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ชาวเสาธงทองนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ได้เก็บออม
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว 2. ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการทำบัญชีครัวเรือน 3. ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนได้ 4. ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีเงินออม และชุมชนมีกองทุนออม

    ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว เฉลี่ยเดือนละ 300-900 บาท ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการทำบัญชีครัวเรือน ไม่ผ่าน ได้ทำเพียงร้อยละ 50 ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนได้ ผ่าน ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักอย่างน้อย5 ชนิด ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีเงินออม และชุมชนมีกองทุนออม ผ่าน ร้อยละ 75 มีการเก็บออมเดือนละ 50 บาท

    2 เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มสภาผู้นำมีการจัดประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง 2. ชุมชนมีแผนการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในชุมชน และปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ำเสมอ 3. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองแพรกซ้าย 4. เกิดข้อตกลงชุมชนเสาธงทอง

    กลุ่มสภาผู้นำมีการจัดประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง ชุมชนมีแผนการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในชุมชน และปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มร่วมกันรักาาความสะอาดและเก็บขยะ ในวันสำคัญ เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองแพรกซ้าย มีกลุ่มดุแลคลอง จำนวน 30 คน เกิดข้อตกลงชุมชนเสาธงทอง เกิดกติกา 10 ข้อและประดาศใช้

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    การเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ทุกครั้ง มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด ส่งตามกำหนดทุกครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ชาวเสาธงทองนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ได้เก็บออม (2) เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

    รหัสโครงการ 58-03949 รหัสสัญญา 58-00-2152 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ใช้เองในครัวเรือนได้แก่ สบู่ น้ำยาล้างจาน และการเพาะเห็ด

    จากการบันทึกการประชุม ภาพถ่าย

    การทำผลิตภัณฑ์ใช้เป็นกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เห็ดที่ชุมชนเพาะกันเอง
    ถุงผ้าลดขยะประดิษฐเอง การปลูกผักกินเอง

    บันทึกการประชุม ภาพถ่าย

    กลุ่มเพาะเห็ดจำนวน 40 คนขยายผลต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ชุมชนใช้การเปิดบัญชีออมให้กับผู้ร่วมโครงการ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มาร่วมโครงการและการบันทึกบัญชีครัวเรือน เกิดข้อตกลงการส่งเสริมการออมโดยใช้งบค่าอาหารของการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง สมทบกับเงินของผู้เข้าร่วมกิจกรรมออมทุกคนสัดส่วนคนละครึ่ง รวมครั้งละ 50 บาท รวบรวมเก็บนำฝากโดยกรรมการชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เป็นการฝากไม่ถอนซึ่งการใช้สัดส่วนค่าอาหารครึ่งหนึ่งมากระตุ้นทำให้คนเข้าร่วมเพราะไม่อยากเสียสิทธิ

    กิจกรรมรายชื่อกลุ่มออม บัญชีกองทุนออม

    กลุ่มออมพัฒนาสู่สวัสดิการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ชุมชนมีสถานที่นัดพบประชุมเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมชุมชนได้แก่พื้นที่ศาลาวัดใน

    ภาพถ่ายกิจกรรม ข้อตกลงชุมชน

    บูรณาการเวทีผู้นำ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มออมทรัพย์ 100 คน กลุ่มเพาะเห็ด 40 คน กลุ่มผลิตน้ำยาใช้เอง 50 คน

    บันทึกการประชุม ภาพถ่าย คำบอกเล่า

    กลุ่มออม และสวัสดิการกลุ่มออม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การบริโภคผักพืชที่ปลูกกินเองในบ้านเรือน

    กิจกรรมรายงาน

    ชุดความรู้การทำเมนูอาหารจากผักในกลุ่มเด้ก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เกิดข้อตกลงระหว่างร่วมโครงการผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ มีรางวัลจากโครงการ

    จากภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การเน่นการปลูกผักกินเอง การคิดหาสูตรทำสบู่จากธรรมชาติโดยใช้ภูมิปัญญา มาผลิตเอง

    จากภาพถ่ายกิจกรรม

    ภูมิปัญญา ตลาดภูมิปัญญาในเมือง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การจัดการทำความสะอาดครัวเรือน โดยการผลิตผลืตภัณฑ์เอง การจัดการขยะเป็นซอยเป็นโซน และการนำขยะมาใช้ประโยชน์ การปลูกผักในที่ว่างบริเวณครัวเรือน

    จากภาพถ่ายกิจกรรม

    ชุมชนจัดการสุขภาพต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการกำจัดขยะแยกขยะในครัวเรือน และในที่สาธารณะ แม่น้ำ ลำคลอง

    บันทึก กิจกรรม รายงานการทำกิจกรรม

    การปรับสภาพริมคลองเป้นสวนผักสาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การเกิดอาชีพเพาะเห็ด การปลูกผักจนเหลือแบ่งขาย การทำสบู่แบ่งขาย

    กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ผลสรุปในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด95คนทุกคนต่างยอมรับมติที่ประชุมโดยมีการยกมือเพื่อเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมและมีการเสนอข้อตกลงของชุมชนดังนี้ 1.มีการประชุมร่วมกันทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน 2.มีการประชุมร่วมกรรมการชุมชน อสม.และแกนนำคณะทำงานทุกวันที่10ของเดือน 3.สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนและมีการออมเงินในกลุ่มโดยสมาชิกได้มีการคัดเลือกผู้จะมาทำหน้าที่กันเอง 4.สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปลูกผักสวนครัวที่บ้านเพื่อกินเอง 5.ที่บ้านสมาชิกทุกคนจะต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท 6.ทุกซอยจะต้องมีการทำน้ำหมักชีวภาพซอยละ1ถังโดยจะมีบ้านตัวแทนในการวางถังหมัก

    บันทึกข้อตกลง

    สวัสดิการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงประสานงานกันระหว่าง กลุ่มกรรมการโครงการ และเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ กะกลุ่มกรรมการชุมชนเดิม รวมประชุมพูดคุยที่สภากาแฟ ทุกสัปดาห์ และเมื่อวางแผนทำกิจกรรม และกลุ่มเครือข่ายอสม.ชุมชน

    บันทึกรายงานการประชุมสภาชุมชน

    เกิดกกลุ่มรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    กรรมการชุดดำเนินงานและกรรมการชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มาช่วยเหลือได้แก่ พี่เลี้ยงโครงการ รองนายกเทศมนตรีช่วยให้เกิดการงวางแผนและจัดทำกิจกรรมชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับ

    บันทึกการประชุม

    การทำงานเป็นทีม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการชุมชนใกล้เคียงมาปรับใช้ เช่น การเพาะเห็ด ม่ชุมชนใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้และแบ่งปันก่อนเห้ด การรวมกลุ่มเพาะเห็ดและการนำผักพืชมาเป็นอาหารและยา

    บันทึกกิจกรรมถอดบทเรียน ภาพถ่าย คำบอกเล่า

    นวตกรรมการจัดการความรู้จากชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผุ้รับผิดชอบโครงการได้รับการชื่นชมจากภาคีเครือข่ายในการทุ่มเทเพื่อให้เกิดกิจกรรมตามแผน สร้างแรงจูงใจและความภูมิใจแก่ทีมงานโครงการ

    กลุ่มเห้ด กลุ่มทำน้ำยา กลุ่มทำน้ำหมัก มีผลงานที่ภาคภูมิใจ

    รวมกลุ่มเข้มแข็งยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ครัวเรือนมีการบอกเล่าว่าเป็นสุขที่ได้ทำและแบ่งปันผลิตภัณฑ์จากการร่วมโครงการ เช่น ผัก น้ำยา น่้ำหมัก ก้อนเห้ด แก่เพื่อนบ้าน

    บันทึกการประชุม ภาพถ่าย รายงาน

    กลุ่มแบ่งปัน กลุ่มสวัสดิการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03949

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาว สายไหม ทองสุก )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด