แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง ”

บ้านโปน ม.4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง อรสา เจริญผล

ชื่อโครงการ บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

ที่อยู่ บ้านโปน ม.4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03888 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2112

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านโปน ม.4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโปน ม.4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03888 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,960.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 550 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ครัวเรือนมีความรู้ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักของครอบครัว
  2. คนในชุมชนมีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัยลดลง
  3. สภาผู้นำทำให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำเกษตรปลอดสารพิษในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 9-17 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ และรายละเอียดการทำโครงการจากทีมสจรส. และทีมพี่เลี้ยง มา 2 วัน คือวันที่ 3 และ 4 ตุลาคม 2558 1. ผศ.ดร.พงศ์เทพ ชี้แจงที่มางบประมาณโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการ
    2. ทีมสจรส.และทีมพี่เลี้ยงชี้แจงการลงกิจกรรมย่อยในโครงการ การทำปฏิทินโครงการ การบันทึกกิจกรรม การทำเอกสารการเิงิน การบันทึกเอกสารต่างๆ รวมทั้งการบันทึกลงในเวปไซด์ 3. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร วางแผนและกำหนดวัน เวลา ในการทำกิจกรรมอย่างคร่าวๆ และลงกิจกรรมย่อย ทำปฏิทินโครงการ บันทึกกิจกรรม ทำเอกสารการเิงิน และบันทึกลงในเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงที่มางบประมาณโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการจาก ผศ.ดร.พงศ์เทพ
    2. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงการลงกิจกรรมย่อยในโครงการ การทำปฏิทินโครงการ การบันทึกกิจกรรม การทำเอกสารการเิงิน การบันทึกเอกสารต่างๆ รวมทั้งการบันทึกลงในเวปไซด์ จากทีมสจรส.และทีมพี่เลี้ยง
    3. ลงกิจกรรมย่อยในโครงการ ทำปฏิทินโครงการ บันทึกกิจกรรม ทำเอกสารการเิงิน และบันทึกลงในเวปไซด์
    4. วางแผน และกำหนดวัน เวลา ที่ทำกิจกรรมในโครงการอย่างคร่าวๆ

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายเปิดตัวโครงการในวันประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-11.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ว่าจ้างจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" จำนวน 1 ป้าย ติดไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับรับผิดชอบโครงการได้ว่าจ้างจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" จำนวน 1 ป้าย ติดไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

     

    120 70

    3. ตรวจสารเคมีในเลือดและให้ความรู้เรื่องพิษของการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในช่วงเช้าได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านนาสร้าง จำนวน 100 คน และในช่วงบ่ายได้แจ้งผลการตรวจสารเคมีในเลือดในชาวบ้านได้รับทราบเป็นรายบุคคล และในภาพรวมของทั้งชุมชน จากนั้นเจ้าหน้าที่รพ.สต. คือ นางสายสมร หมื่นบวร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการใช้สารเคมีหรือบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในช่วงเช้าได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านนาสร้าง จำนวน 100 คน ในจำนวนดังกล่าวมีกำนันตำบลอินคีรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 และอสม.เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
    • ในช่วงบ่ายได้ชี้แจงผลการตรวจสารเคมีในเลือดเป็นรายบุคคล และแจ้งผลการตรวจเลือดในภาพรวมของทั้งชุมชน ซึ่งผลการตรวจสารเคมีในเลือดของทั้งชุมชนพบว่า ปกติ 8 ราย ปลอดภัย 23 ราย มีความเสี่ยง 45 ราย และไม่ปลอดภัย 24 ราย จากนั้นเจ้าหน้าที่รพ.สต.คือ นางสายสมร หมื่นบวร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการใช้หรือบริโภคสารเคมี ทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีในการผลิต และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มมากขึ้น

     

    120 100

    4. สำรวจชนิดเและปริมาณการใช้สารเคมี ต้นทุนการใช้สารเคมี

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อสม. จำนวน 20 คน สำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในชุมชน สำรวจความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมี โรคที่เกิดจากการใช้สารเคมี ของคนในชุมชนทุกครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริง: อสม.จำนวน 20 คน ได้ทำการสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีเพื่อเพาะปลูก ความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมีหรือการบริโภคสารเคมี ในตัวแทนครัวเรือนจำนวน 256 ครัวเรือน ก่อนทำโครงการ ซึ่งได้ผลดังนี้ 1. ครัวเรือนร้อยละ 90 ใช้สารเคมีในการเกษตร (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า) ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปการการซื้อสารเคมี (รวมปุ๋ย)อยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ทุกครัวเรือนรับประทานผัก/ผลไม้ที่ซื้อจากตลาด และส่วนใหญ่ล้างผัก/ผลไม้ โดยใช้น้ำเปล่า ประมาณร้อยละ 10 ของครัวเรือน เริ่มมีคนในครัวเรือนมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย โดยไม่ทราบสาเหตุ 2. คนในชุมชน ตระหนักถึงโทษของการรับประทานผัก/ผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี 3. ครัวเรือนใช้สารเคมีมาก 74 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 28.90 ใช้สารเคมีปานกลาง 103 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 40.24 ใช้สารเคมีน้อย 79 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 30.86
    4. ประเภทการใช้สารเคมีที่พบมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมี

     

    284 200

    5. ประชุมชี้แจงโครงการ กิจกรรมโครงการ และที่มาของงบประมาณ

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณจากสสส. และแจ้งใหุ้ชุมชนทราบว่างบประมาณนี้เป็นงบประมาณที่ให้เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมบ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง ซึ่งให้กับคนทั้งชุมชน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมปรึกษาคนในชุมชนเพื่อเลือกแกนนำชุมนในแต่ละกลุ่มบ้านเพื่อขับเคลื่อนโครงการขึ้นมา 1 กลุ่ม
    3. ร่วมกันนัดวันในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริง: คนในชุมชนและแกนนำในชุมชนจำนวน 70 คนเข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ กิจกรรมของโครงการ และที่มาของงบประมาณ ในวันนี้ที่ประชุมได้เลือกแกนนำชุมชนและแกนนำแต่ละกลุ่มบ้านในการขับเคลื่อนโครงการ 1 กลุ่ม ทำให้เกิดสภาผู้นำขึ้น นอกจากนี้ยังได้นัดวันทำกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ และการป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และพูดคุยเรื่องกิจกรรมที่ชุมชนต้องการเพิ่มเติม ซึ่งคนในชุมชนอยากได้วิธีการกำจัดสารพิษในพืช ผัก ผลไม้ ก่อนบริโภค ผลผลิต: มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

     

    120 70

    6. ประชุมครั้งที่ 2 ติดตามโครงการ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน เข้าร่วมรับฟังการติดตามโครงการ ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ เขียนรายงานปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน เข้าร่วมรับฟังการติดตามโครงการ
    2. ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ
    3. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจการเขียนรายงาน การเขียนเอกสารการเงินมากขึ้น

     

    2 2

    7. ให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมี การป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การล้างผักเพื่อลดสารพิษ

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตอนเช้ามีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ และสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ปู๋ยหมัก น้ำยาฆ่าแมลง โดย ร.ต.สุวรรณ ทองทรัพย์ ปราชญ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และมีการแจกพันธ์ผักบุ้งและผักกาดเพื่อไปปลูกที่บ้าน
    2. ตอนบ่ายจะเป็นการชี้แจงสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชนโดยผู้รับผิดชอบโครงการ และให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมี วิธีการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในผู้ที่ใช้สารเคมี วิธีการล้างผักเพื่อลดสารเคมี และสาธิตการล้างผัก โดยนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3. แจกคู่มือ "รู้ทันสารพิษ ชีวิตปลอดภัย" ครัวเรือนละ 1 เล่ม และหากครัวเรือนไหนไม่มาร่วมโครงการ ก็จะให้อสม.นำไปให้ที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คนในชุมชนจำนวน 96 คน เข้าร่วมโครงการ (วัยทำงานจำนวน ุ64 คน วัยสูงอายุจำนวน 32 คน)
    2. มีนายกอบต.อินคีรี มาเปิดงาน และเกริ่นนำเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้สารพิษในชุมชน
    3. คนในชุมชนตระหนักถึงพิษภัยของการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร และสนใจที่จะทำการเกษตรปลอดสารพิษ
    4. ทุกคนได้เรียนรู้ การทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำยาไล่แมลง การล้างผักก่อนกินให้ปลอดสารเคมี
    5. ผู้หญิงที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่สนใจเรื่องล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษ

     

    120 96

    8. ประชุมครั้งที่ 3 ประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมรับฟังการจัดทำรายงานงวด 1 และเขียนขอขยายเวลาการปิดงวด 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมรับการจัดทำรายงานงวด 1 จำนวน 2 คน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการขอขยายเวลาการปิดงวด 1 ไปอีก 1 เดือน เนื่องจากเพิ่งได้รับเงินสนับสนุนในวันที่ 12/11/2558 และภายหลังได้รับเงินเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งปีนี้มีฝนตกเป็นระยะยาวนาน ทำให้การดำเนินงานล่าช้า

     

    2 2

    9. จัดทำป้ายรณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษปิดตามกลุ่มบ้าน

    วันที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 6 ป้าย ปิดไว้ตามกลุ่มบ้านจำนวน 6 กลุ่มบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คนในชุมชนอย่างน้อย 300 คน ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
    2. มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

     

    120 300

    10. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมเพาะพันธุ์พืชผัก ทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. แบ่งหน้าที่กันทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัำพธ์: แกนนำชุมชนและคนในชุมชนมาประชุมร่วมกันจำนวน 10 คน
    ผลผลิต: ได้วันในการทำกิจกรรม มีผู้รับผิดชอบในการทำกิจกรรม

     

    15 10

    11. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
    2. วางแผนการทำกิจกรรมบัญชีครัวเรือน หาผู้รับผิดชอบในการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: แกนนำชุมชนจำนวน 10 คนในชุมชนจำนวน 2 คน เข้าร่วมประชุม ผลผลิต: ได้วันในการทำกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน ได้ผู้รับผิดชอบในการทำกิจกรรม ได้วิทยากรในการให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน

     

    15 11

    12. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ
    2. พูดคุยถึงปัญหา/อุปสรรค ที่พบในกิจกรรมในโครงการ
    3. ร่วมวางแผนแก้ปัญหาหากพบปัญหา/อุปสรรค
    4. วางแผนการทำกิจกรรมในครั้งถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: แกนนำชุมชนเข้าร่่วมการประชุมจำนวน 18 คน ผลลัพธ์: แกนนำชุมชนได้พบปัญหา/อุปสรรคในการจัดทำโครงการคือ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร หากปล่อยไว้จะได้รับความเสียหาย การทำกิจกรรมในโครงการจึงต้องชะลอไปก่อน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร หากปล่อยไว้จะได้รับความเสียหาย การทำกิจกรรมในโครงการจึงต้องชะลอไปก่อน

     

    15 18

    13. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ
    2. พูดคุยถึงปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางการแก้ปัญหา่ร่วมกัน
    3. วางแผนกันทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: แกนนำชุมชนเข้าร่่วมการประชุมจำนวน 10 คน ผลลัพธ์: แกนนำชุมชนได้พบปัญหา/อุปสรรคในการจัดทำโครงการคือ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร หากปล่อยไว้จะได้รับความเสียหาย การทำกิจกรรมในโครงการจึงต้องชะลอไปก่อน

     

    15 10

    14. ลงแขกปลูกพืชผักและเตรียมพื้นที่

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ช่วยกันเตรียมพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้เพื่อปลูกพืชผัก
    2. ลงแขกปลูกพืชผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต:คนในชุมชนจำนวน 40 คน ช่วยกันปลูกพืชผัก และเตรียมพื้นที่ ผลผลิต: คนในชุมชน และกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษมีการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความรักสามัคคีกัน นอกจากนี้ยังทำให้ชุมชนมีพื้นที่ต้นแบบในการทำเกษตรปลอดสารพิษ

     

    40 40

    15. ดูแลพืชผักที่ที่ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 45 วัน

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-15 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกในกลุ่มจำนวน 2 คน ช่วยกันดูแลพืชผักที่ปลูกไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้ทุกวันเป็นเวลา 45 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: สมาชิกกลุ่มทำการเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 2 คน ช่วยกันดูแลพืชผักที่ปลูกไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้ ผลลัพธ์: พืชผักเจริญเติบโตดี

     

    6 2

    16. ประชุมครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 2 และรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 4 กันยายน 2559 เวลา 09:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ไปประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. มอ. เพื่อประเมินความก้าวหน้าโครงการ ลงรายงานกิจกรรม เพื่อเตรียมทำรายงานงวด 2 และปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ผู้รับผิดชอบโครงการได้ลงกิจกรรมที่ทำมาในเวปไซด์ และวางแผนทำกิจกรรมที่เหลือให้ครบ ผลลัพธ์: ผู้รับผิดชอบโครงการมีแนวทางในการทำกิจกรรม รายงานการเงิน และรายงานปิดงวด

     

    2 2

    17. เพาะพันธ์เมล็ด

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คนในชุมชนรวมกลุ่มกันเพาะพันธุ์พืชผัก 1 ที่ คือบ้านประธานอบต. ซึ่งอยู่ในหมู่ 4 เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ โดยทำการเอาดินใส่แผงเพาะ และขนไปไว้เรียงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: คนในชุมชนจำนวน 54 คน รวมทั้งแกนนำชุมจำนวน 10 คน ร่วมกันเพาะพันธุ์พืชผัก ที่บ้านของประธานอบต. ผลลัพธุ์: คนที่ทำกิจกรรมร่วมมือร่วมใจกันเอาดินใส่แผง เพื่อเพาะพันธ์พืชผัก ทำให้ได้พูดคุยกัน มีความรักสามัคคีต่อกัน

     

    60 64

    18. ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก น้ำยาไล่แมลง

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนกลุ่มบ้าน 6 กลุ่มบ้าน รวม 80 คน รวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ตัวแทนกลุ่มบ้าน 6 กลุ่มบ้าน รวม 80 คน มาร่วมกันทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง ณ บริเวณศาลาประจำหมู่บ้าน ผลลัพธ์: คนในชุมชนมาร่วมกันทำกิจกรรม ทำให้มีความรักสามัคคีกัน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

     

    120 80

    19. อบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านนาสร้าง

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านนาสร้างเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 40 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจ และทดลองปฏิบัติ ซึ่งคนที่มาอบรมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ และภายหลังจากได้ฝึกทำ มีคนในชุมชนหลายคนถามว่าจะใช้ได้ตอนไหน ใช้ในปริมาณเท่าใด 

     

    40 40

    20. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านไร่บน

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านไร่บนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 40 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจ และทดลองปฏิบัติ ซึ่งคนที่มาอบรมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ

     

    40 40

    21. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านคลองเมียด

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านคลองเมียดเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 43 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจ และทดลองปฏิบัติ ซึ่งคนที่มาอบรมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ และมีบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน

     

    40 43

    22. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านโปน

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านโปนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 40 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจมาก เนื่องจากชาวบ้านกลุ่มบ้านโปนส่วนใหญ๋มีอาชีพปลูกผักทั้งรับประทานในครัวเรือนและขาย และทดลองปฏิบัติ
    ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ และมีคนภายนอกชุมชนมาเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

     

    40 40

    23. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านสระหอย

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านสระหอยเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 35 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจ และทดลองปฏิบัติ ซึ่งคนที่มาอบรมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน จึงสนใจทำน้ำหมัก นำ้ยาไล่แมลงไปใช้เอง ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ 

     

    40 35

    24. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง บ้านทุ่งโคร๊ะ

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แกนนำและตัวแทนกลุ่มบ้าน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละกลุ่มบ้านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบ้ติการเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เมื่อได้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง แล้ว ก็ให้ตัวแทนกลุ่มบ้านดูแล จนกว่าจะใช้งานได้ (จำนวน 7-10 วัน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ คนในกลุ่มบ้านทุ่งโคร๊ะเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 34 คน ชาวบ้านใ้ห้ความสนใจ ซึ่งคนที่มาอบรมทั้งหมดจะเป็นกลุ่มที่ปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน
    ผลลัพธ์: คนในชุมชนสนใจ โดยในขณะทำกิจกรรมคนได้มารวมกลุ่มพูดคุยกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความรักใคร่สามัคคีกัน ได้ถามสารทุกข์สุกดิบ

     

    40 34

    25. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 14 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ
    2. สมาชิกช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคที่พบ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
    3. วางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
    4. พูดคุยกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: แกนนำชุมชนจำนวน 10 คน ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ ผลลัพธ์: แกนนำชุมชนทราบถึงปัญหา/อุปสรรคในการทำโครงการ และร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา

     

    15 10

    26. สอนทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจกสมุดบัญชีครัวเรือนแก่ผู้เข้าอบรม
    2. ชี้แจงการลักษณะ ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน
    3. อธิบายวิธีการทำบัญชีครัวเรือน โดยนางอรสา เจริญผล
    4. ชี้แจงเกณฑ์ในการประกวดการทำบัญชีครัวเรือน
    5. ชี้แจงว่าจะให้รางวัลผู้ที่ทำบัญชีครัวเรือนดีเด่น กลุ่มบ้านละ 1 ครัวเรือน
    6. มอบของรางวัลให้กับครัวเรือนที่ทำบัญชีครัวเรือนดีเด่น กลุ่มบ้านละ 1 ครัวเรือน รวม 6 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ตัวแทนครัวเรือนได้เรียนรู้ประโยชน์ และวิธีการทำบัญชีครัวเรือน และได้นำเอาบัญชีครัวเรือนไปทำ ผลลัพธ์: คนในชุมชนได้มารวมกลุ่มกัน มีการพูดคุยสาระทุกข์สุกดิบ ทำให้มีสัมพันธภาพที่ดี

     

    120 120

    27. ตั้งกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ

    วันที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ลด ละเลิก การใช้สารพิษในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในชุมชน ผลลัพธ์: คนในชุมชน และผู้สัญจรไปมา ได้เห็นข้อความแล้วจะช่วยให้ตระหนักมากขึ้น

    ปัญหา : ผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ทำให้คนไม่มีเวลา ประกอบกับระยะเวลาภายหลังเงินเข้าเหลือเพียง 4 เดือน ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ทัน

     

    40 40

    28. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษ

    วันที่ 20 กันยายน 2559 เวลา 09:00-11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้
    2. แกนนำชุมชน และคนในชุมชน เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: เกิดศูนย์การเรียนรู้จำนวน 1 แห่ง ผลลัพธ์: คนในชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

     

    20 20

    29. ตรวจสารเคมีในเลือดและให้ความรู้เรื่องพิษภัยของการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตรวจระดับสารเคมีในเลือดคนในชุมชน
    2. แจ้งผลรายบุคคล และในภาพรวม
    3. ให้ความรู้เรื่องสารเคมี และการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: คนในชุมชนเข้าร่วมตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน 120 คน ผลการตรวจพบมีความเสี่ยง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 39.2 ซึ่งลดลงจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง ผลลัพธ์: คนในชุมชนทราบผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดสารเคมีในเลือด และตระหนักถึงการป้องกันสารเคมีในเลือดเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น รพ.สต.บ้านนาสร้าง สนับสนุนชุดตรวจสารเคมีในเลือด และช่วยตรวจ พร้อมทั้งให้ความรู้กับคนในชุมชน

     

    120 120

    30. ติดตามโครงการ

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 18.00-23.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงร่วมกันสำรวจกิจกรรม เอกสารการเงิน ใบลงทะเบียน ภาพถ่ายกิจกรรม วางแผนการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ผู้รับผิดชอบโครงการวางแผนการทำกิจกรรมที่เหลืออยู่ จัดเตรียมเอกสารให้ถูกต้อง ผลลัพธ์: ผู้รับผิดชอบกิจกรรมทราบแนวทางในการจัดเตรียมเอกสาร กิจกรรมต่างๆ 

     

    2 2

    31. สำรวจชนิดเและปริมาณการใช้สารเคมี ต้นทุนการใช้สารเคมี

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อสม.จำนวน 20 คน แบ่งกันสำรวจชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูก ภายหลังการทำโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต:อสม.จำนวน 20 คน ได้ทำการสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีเพื่อเพาะปลูก วิธีการป้องกันสารเคมีตกค้างในผัก/ผลไม้เข้าสู่ร่างกาย จากครัวเรือนจำนวน 258 ครัวเรือน ผลพบว่า 1)ร้อยละ 90 ยังใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า แต่ปริมาณมาณการใช้ลดลง โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 2,000 บาท 2) ครัวเรือนปลูกผัก/ผลไม้รับประทานเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 3) ครัวเรือนร้อยละ 100 ล้างผัก/ผลไม้ ก่อนประกอบอาหารหรือรับประทาน ซึ่งส่วนใหญ่แช่เกลือแกง (93 ครัวเรือน) รองลงมาคือใช้ผงฟู (64 ครัวเรือน) น้ำส้มสายชู (41 ครัวเรือน) ล้างน้ำเปล่า (26 ครัวเรือน) น้ำซาวข้าว (25 ครัวเรือน)และอื่นๆ (ใช้ด่างทับทิม ปอกเปลือก ลวก) จำนวน 30 ครัวเรือน โดยครัวเรือนร้อยละ 93 ปฏิบัติทุกครั้ง ที่เหลือปฏิบัติเป็นบางครั้ง และบางครัวเรือนใช้วิธีการกำจัดสารเคมีออกจากผักและผลไม้หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในแต่ละครั้ง 4) ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีมากมี 12 ครัวเรือน(ร้อยละ 4.65) ใช้ปานกลาง 90 ครัวเรือน (ร้อยละ 34.88) ใช้น้อยมี 156 ครัวเรือน (ร้อยละ 60.46)

    ผลลัพธ์: ทุกครัวเรือนรับรู้ว่าใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง และมีการล้างผัก/ผลไม้ เพื่อกำจัดสารเคมีที่ตกค้างก่อนบริโภค ส่งผลให้ระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากก่อนทำโครงการพบคนในชุมชนมีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยถึงร้อยละ 70 (สำรวจ 100 คน) แต่ภายหลังจากทำโครงการ พบคนในชุมชนมีสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงร้อยละ 40 (สำรวจ 120 คน)ทำให้คนในชุมชนตระหนักว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวช่วยให้สารเคมีในเลือดลดลดได้จริง

     

    20 20

    32. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 10:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครง และผู้รับผิดชอบโครงการ รวม 2 คน เข้าร่วมกิจกรรม และได้เรียนรู้โครงการที่ประสบความสำเร็จในชุมชน ได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมด 2 คน เข้าร่วมงานสร้างสุขคนใต้ ผลลัพธ์: ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้กระบวนการทำงานในชุมชนให้ประสบความสำเร็จ นวัตกรรม ผลงานของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ได้แนวคิดใหม่ๆ มาปรับใช้กับชุมชนของตนเอง

     

    2 2

    33. ประชุมแกนนำ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ พร้อมทั้งปัญหา/อุปสรรค
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์: แกนนำชุมชนมาเข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน ผลผลิต: แกนนำชุมชนที่เข้าร่วมประชุมทราบความก้าวหน้าของโครงการ ทราบผลการดำเนินโครงการ ปัญหา/อุปสรรค

     

    12 10

    34. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน สามารถส่งรายงานให้ สสส.ในเวลา

     

    2 2

    35. เพื่อจัดทำรายงานงวด 2 สรุปโครงการ และคืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงร่วมตรวจสอบกิจกรรม เอกสารการเงิน ภาพถ่ายกิจกรรม บันทึกลงในเวปไซด์ สรุปปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต: ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง ได้ร่วมกับจัดทำรายงานงวด 2 บันทึกกิจกรรมลงในเว็ปไซด์ และสรุปปิดโครงการ
    ผลลัพธ์: ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจเอกสารการเงิน การทำรายงานปิดงวด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1
    ตัวชี้วัด :

     

    2 เพื่อให้ครัวเรือนมีความรู้ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักของครอบครัว
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนเป้าหมายอย่างน้อย 80 ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 2. ครัวเรือนอย่างน้อย 40 ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน 3. ครัวเรือนอย่างน้อย 80 ครัวเรือนมีต้นทุนทางการเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ลดลง 4. ครัวเรือนอย่างน้อย 80 ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างน้อย 10 ชนิด 5. มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำการเกษตรแบบพึ่งตนเอง โทษของการใช้สารเคมีในการเกษตร

    ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมครบทุกกิจกรรม

    3 คนในชุมชนมีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัยลดลง
    ตัวชี้วัด : 1. เจ้าหน้าที่รพ.สต. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตรวจสารเคมีในเลือดในกับคนในชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด 3. คนที่มีสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยอย่างน้อยร้อยละ 60 มีสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับปกติ 4. คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และต่อสุขภาพ

    คนในชุมชนมีความรู้เรื่องโทษของสารเคมี และพยายามปลูกผักทานเอง รวมทั้งหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตร

    4 สภาผู้นำทำให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำเกษตรปลอดสารพิษในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 1 กลุ่ม 2. เกิดศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษ 1 แห่ง 3. เกิดสภาผู้นำ (ทางการ/ไม่เป็นทางการ) โดยสมาชิกมีการประชุมเพื่อทราบแนวทางการดำเนินโครงการ ความก้าวหน้าของโครงการ และเรื่องอื่นๆ ในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง และร่วมบริหารจัดการการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน 4. สมาชิกในสภาผู้นำเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80 ในการประชุมแต่ละครั้ง 5. กลุ่มปลูกผักปลูกสารพิษมีการรวมกลุ่มกันเพื่อขายสินค้าในวันที่มีกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และขายสินค้าปลอดสารพิษให้กับแม่ค้าในชุมชนเพื่อนำไปขายต่างชุมชน

    เกิดสภาผู้นำ 1 กลุ่ม มีการประชุมทุกเดือน

    5
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)  (2) เพื่อให้ครัวเรือนมีความรู้ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักของครอบครัว (3) คนในชุมชนมีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัยลดลง (4) สภาผู้นำทำให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำเกษตรปลอดสารพิษในชุมชน (5)

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03888 รหัสสัญญา 58-00-2112 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    แนวทางการล้างผักปลอดสารพิษ แนวทางการทำเกษตรปลอดสารพิษ

    คู่มือ "รู้ทันสารพิษ ชีวิตปลอดภัย"

    การกระตุ้นให้คนในชุมชนใช้ความรู้จากคู่มือเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมี และวิธีการทำเกษตรปลอดสารพิษมากขึ้น และป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจนำมาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

    การทำกิจกรรมส่วนใหญ่ของชุมชนจะทำร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

    ในการประชุมแกนนำเพื่อจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ควรดึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นมามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยให้การจัดกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มทำกิจกรรม "บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง"

    เมื่อจะจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง จะมีกลุ่มผู้รับผิดชอบโครงการและผู้สนใจรวมถึงภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมประชุมวางแผนก่อนดำเนินกิจกรรม

    ควรมีการดึงกลุ่มทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเข้ามาร่วมวางแผนการทำกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    คนในชุมชนมีพฤติกรรมการล้างผัก/ผลไม้ เพื่อลดสารพิษก่อนบริโภคมากขึ้น และลดการซื้อผัก/ผลไม้ จากตลาดมารับประทาน และเพิ่มการปลูกผักกินเองมากขึ้น

    ครัวเรือนส่วนใหญ่ล้างผัก/ผลไม้ ก่อนบริโภคถูกวิธี ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้านปลูกผักกินเองมากขึ้น

    ควรรณรงค์การล้างสารเคมีในผัก/ผลไม้ ก่อนบริโภค และปลูกผักกินเองเป็นระยะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีป้ายรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

    เวลาจัดกิจกรรมในหมู่บ้านจะไม่มีคนสูบบุหรี่ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    คนในชุมชนปลูกผักกินเองมากขึ้น

    ครัวเรือนในชุมชนใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้านปลูกผักไว้กินเอง

    เพิ่มการปลูกผักบริเวณบ้านให้หลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ครัวเรือนล้างผัก/ผลไม้ ก่อนบริโภค ลดการซื้อพืชผักจากตลาดมารับประทาน

    ครัวเรือนทุกครัวเรือนมีการล้างผักผลไม้ ก่อนบริโภค

    มีการรณรงค์การป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีป้ายรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในชุมชน

    มีป้ายรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในชุมชน ชุมชนขายผักผลไม้ที่ปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงได้มากขึ้น

    รณรงค์ให้คนในชุมชนปลูกผักกินเอง และเหลือไว้ขาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    คนที่ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง มักจะมีพืชผักเหลือไว้ขายหรือแบ่งปันเพื่อนบ้าน

    คนที่ปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้กินเองมีรายจ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้น

    ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และหากเหลือให้ขายผู้ที่สัญจรไปมา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน

    การจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ในชุมชน จะมีการดึงภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    ควรมีการดึงภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการวางแผนแก้ไขปัญหาเมื่อไม่สามารถจัดกิจกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนดได้

    ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลาได้

    ควรมีการประชุมแกนนำชุมชนและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นระยะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้วิทยากรจากภายในและภายนอกชุมชน โดยมีการประสานรพ.สต.บ้านนาสร้าง ซึ่งอยู่ภายในชุมชน มาตรวจสารเคมีในเลือดให้คนในชุมชน มีการเชิญวิทยากรจากชุมชนใกล้เคียงมาให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง

    รพ.สต.บ้านนาสร้าง จ่าแบน ปราชญ์ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง โดยสอบถามได้จาก นายณัฐวุฒิ เจริญผล

    วิทยากรจากภายนอกมาให้ข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง จนเกิดแกนนำในชุมชน ทำให้แกนนำชุมชนสามารถขยายผลต่อได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันเพาะพันธ์พืชผักเพื่อนำไปปลูกตามบ้าน ทำให้มีการรวมกลุ่มกันดูแลต้นกล้าที่เพาะพันธ์ไว้

    บ้านนางอรสา เจริญผล

    การรวมกลุ่มกันตั้งแต่เพาะพันธ์พืชผัก ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และขาย ทำให้เกิดกลุ่มที่เข้มแข็ง เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และต่างชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมั่นใจว่าได้รับประทานพืชผักปลอดสารพิษจริงๆ

    ครัวเรือนในชุมชน

    พัฒนาครัวเรือนตัวอย่างเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทั้งภายในและภายนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    คนในชุมชนมีการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ใช้สารเคมีทางการเกษตร รวมถึงปุ๋ยเคมีลดลง มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานเอง และแลกเปลี่ยนกันในชุมชน

    ครัวเรือนในชุมชน

    พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ผู้รับผิดชอบโครงการ แกนนำชุมชน และคนในชุมชน มีการเรียนรู้จากสภาพปัญหาที่พบในชุมชน และตัดสินใจทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือดของคนในชุมชน

    ชุมชนหมู่ที่ 4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

    พัฒนากระบวนการคิดและตัดสินใจของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการปลูกพืบผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03888

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง อรสา เจริญผล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด