แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง ”

หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย นที หลังเกต

ชื่อโครงการ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

ที่อยู่ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03969 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2181

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03969 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 906 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้
  2. เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง
  3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน
  4. เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง
  5. เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการจัดทำป้ายและเตรียมข้อมูลเพื่อทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และเตรียมจัดทำรายงาน

     

    5 5

    2. ประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
    2. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    3. การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    4. การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    5. การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ -ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

      • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
      • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
      • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
      • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
      • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน
      • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
    2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

    3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

    - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

    1. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

    2. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

    - การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 2

    3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
    2. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
    3. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
    4. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน. 6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
    5. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
    6. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
    7. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    8. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
    9. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจโครงการและซักถามที่มาของโครงการจากพี่เลี้ยง แสดงให้เห็นถึงความสนใจและเห็นความสำคัญของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดีและเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพตัวเองพร้อมทั้งเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อนำมาปรับใช้กับชุมชนต่อไป พร้อมกันนั้นยังช่วยให้มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน

     

    141 141

    4. สร้างทีมงานสภาชุมชน

    วันที่ 18 ตุลาคม 2558 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกทีมงาน
    2. คัดเลือกทีมงาน จากทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น
    3. ทำหนังสือเชิญ ผู้ที่ตอบรับ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
    4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
    5. ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน 5.เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม การเรียนรู้
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ
    7. มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ทุก 1 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน

     

    30 30

    5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน
    2. จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
    3. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
    4. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
    5. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน.
    6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
    7. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
    8. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
    9. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    10. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
    11. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การเตรียมการ: มีการประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง)
    2. การดำเนินการ : จัดเวทีประชาคม ณ อาคารเนกประสงค์เริ่มเวลา 13.00 น.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน(กลุ่มเป้ามายในชุมชนเริ่มทยอยเข้าร่วมเวทีประชาคม) มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำ แกนนำ ประชาชน และผู้สูงอายุพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ เริ่มพูดคุย เวลา 14.00 น. เริ่มเวทีประชาคม โดยหัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสสโดยภาพรวม บรรยากาศ สมาชิกชุมชนมีความตั้งใจฟัง เงียบ ยังมีคนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้นทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดต่อ ในรายละเอียด แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง ในพื้นที่เลขานุการ มีการชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไปพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชนและทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน และ พูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการรียนรู้ร่วมกัน
    3. การประเมินผล: ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย ศูนย์รวมชุมชน มีการติดป้ายชื่อโครงการและป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ด้านคนมีครบองค์ประกอบที่วางไว้มีการเสนอ ซักถาม ประเด็นข้อสงสัยและมีภาคีเครือข่ายร่วมด้านการบริหารจัดการ : ตามวัน เวลา ที่กำหนดมีการชี้แจงแผนกิจกรรมและงบประมาณชัดเจน ทีมงานสภาชุมชนครบและใส่เสื้อทีมเชิงสัญลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์สสส.

     

    141 141

    6. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานประชุมหารือ และเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
    2. รับสมัครเยาวชนจิตอาสา เข้าร่วมพัฒนาชุมชน ทำความเข้าใจโครงการและกิจกรรมที่จะทำร่วมกันหลังจากนี้และให้แสดงความคิดเห็นเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่อไป
    3. สร้างทีมเยาวชนนักจัดการข้อมูล จำนวน 15 คน ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลในชุมชน จำนวน 3 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร
    2. เกิดอาสาสมัครที่เป็นเยา่วชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 คน
    3. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจโครงการสสส.และกระบวนการทำงานในรูปแบบเดียวกัน

     

    15 15

    7. การทำรายงานและการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังบรรยายการคีย์ระบบติดตามและการเงิน เป็นขั้นตอนตั้งแต่ติดตามกิจกรรมที่บันทึกไว้ในปฏิทินที่ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ทำการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้ระบบบันทึกการทำรายงานเสร็จสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ จำนวน 3 คน ทั้งประธานโครงการ การเงินและบันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

     

    2 3

    8. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทีมเยาวชนจัดทำตารางเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาแผนที่ โดยประสานขอแผนที่จาก อบต.ควนโดน
    2. แบ่งโซนการเก็บข้อมูลเตรียมแบบสอบถาม และประสาน อสม.ในพื้นที่
    3. แบ่งทีมลงเก็บข้อมูล นำแบบสอบถาม และแผนที่ย่อๆเพื่อบันทึก จุด ที่ดินว่างเปล่า ศูนย์เรียนรู็ ทรัพยากรชุมชน หรืออื่นๆพร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคและสิ่งที่ค้นพบระหว่างการเก็บข้อมูลจำนวน 4 วัน
    4. ทีมเยาวชน นัดหมายรวบรวมแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์1วัน
    5. ทีมสภาผู้นำชุมชนร่วมประเมินเสริมพลัง ให้กำลังใจและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
      รวมกิจกรรมจำนวน 5 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม ทำให้ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน
    2. เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตได้
    3. ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากการบริโภคในแต่ละมื้อ แต่ละวัน พร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อไป

     

    15 15

    9. นำข้อมูลมาวิเคราะห์

    วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ร่วมกับทีมเยาวชน ประชุม เตรียมความพร้อม
    2. ทีมเยาวชน นำข้อมูลที่ได้ร่วมกับสภาชุมชน มาวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ร่วมกัน ระหว่าง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้รู้ในชุมชนโดยเน้นการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สาเหตุที่มาจากคน สภาพแวดล้อมบริบทของชุมชน กลไก โครงสร้างชุมชนว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่รากเหง้าโดยวิเคราะห์ทั้งระดับครัวเรือน
    3. เยาวชนนำเสนอกรณีศึกษา ตัวอย่างครัวเรือนต้นแบบ การดำรงชีวิตแบบพอเพียงโดยใช้รูปแบบจัดทำกลุ่ม นำเสนอ
    4. ข้อมูลที่ได้ มาสังเคราะห์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุติ ในชุมชน นักวิชาการภายนอก และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อปรับปรุงข้อมูลและเติมเต็มข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์จริง
    5. เตรียมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ เพื่อการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ดังนี้

    ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

    1.1 ของครัวเรือนที่ทำแบบสอบถาม 141 ครัวเรือน

    1.2 สมาชิกในครัวเรือน 635 คน ชาย 343 หญิง 292 คน

    1.3 อาชีพหลักของครัวเรือน -รับจ้าง 36 ครัวเรือน
    -ค้าขาย 11 ครัวเรือน
    -ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 6 ครัวเรือน
    -เกษตรกร 77 ครัวเรือน
    -พนักงงาน/ลูกจ้าง 11 ครัวเรือน

    1.4อาชีพรองของครัวเรือน -ค้าขาย 20 ครัวเรือน
    -ค้าขาย 11 ครัวเรือน
    -ข้าราชการ 2 ครัวเรือน
    -เกษตรกร 95 ครัวเรือน
    -พนักงาน/ลูกจ้าง 3 ครัวเรือน
    -อื่นๆ 3 ครัวเรือน

    1.5 ลักษณะบ้าน -ที่อยู่อาศัย 137 ครัวเรือน
    -ร้านค้าเชิงพาณิชย์ 4 ครัวเรือน

    1.6 รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
    - ต่ำกว่า 5000ไม่มี -5001-10,000 = 66 ครัวเรือน
    -10,001-15,000 = 29 ครัวเรือน
    -15,001-20,000 = 3 ครัวเรือน
    -20,000 บาทขึ้นไป = 10 ครัวเรือน


    ตอนที่ 2ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

    2.1 หลักการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น -อยู่อย่างพอประมาณ -พึ่งพาตนเอง -ปลูกผักกินเอง -เก็บเงินใช้ยามจำเป็น

    2.2 การปลูกผักปลอกสารพิษ ปลูก 118 ครัวเรือนไม่ปลูก 23 ครัวเรือน

    2.3 การปลูกสมุนไพร ปลูก 128 ครัวเรือนไม่ปลูก 13 ครัวเรือน

    2.4 การกำจัดศัตรูพืช -น้ำหมักสมุนไพร 52 ครัวเรือน
    -ฉีดพ่นสารเคมี 45 ครัวเรือน
    -อื่นๆ 32 ครัวเรือน

    2.5 วิธีการกำจัดวัชพืช -ตัด/ถาง 118 ครัวเรือน
    -ยาฆ่าหญ้า 19 ครัวเรือน
    -ไถ-กลบ 3 ครัวเรือน

    2.6 ผลิตของใช้ที่จำเป็น -ทำเอง 25 ครัวเรือน
    -ไม่ได้ทำ 116 ครัวเรือน

    2.7 การจัดทำบัญชีครัวเรือน
    -ทำ 17 ครัวเรือน
    -ทำแต่ไม่ต่อเนื่อง 23 ครัวเรือน
    ไม่ทำ 101 ครัวเรือน

    2.8 รายรับรายจ่ายมีความสมดุลหรือเพียงพอหรือไม่ -เพียงพอไม่มีหนี้สิน 67 ครัวเรือน
    -ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน 74 ครัวเรือน
    -ในระบบ54 ครัวเรือน
    -นอกระบบ 17 ครัวเรือน

    2.9หนี้สินในระบบ
    -ธกส. 16 ครัวเรือน
    -ธนาคารพาณิชย์/ธนาคารออมสิน 4 ครัวเรือน
    -สหกรณ์ 7 ครัวเรือน
    -กองทุนในหมู่บ้าน 23 ครัวเรือน
    -อื่นๆ 7 ครัวเรือน

    2.10 หนี้สินนอกระบบ
    -นายทุนเงินกู้ 1 ครัวเรือน
    -ญาติ เพื่อนบ้าน 16 ครัวเรือน

    2.11 สาเหตุการมีภาระหนี้สิน -ค่าเล่าเรียนบุตร 30 ครัวเรือน
    -ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 20 ครัวเรือน
    -ผลผลิตได้รับความเสียหาย 4 ครัวเรือน
    -ขายผลผลิตไม่ได้ /ได้น้อน/ราคาต่ำ 16 ครัวเรือน
    -มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มึ้นและรายได้ไม่เพียงพอ 19 ครัวเรือน
    -ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ 7 ครัวเรือน
    -ค่าปุ๋ยและวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร 18 ครัวเรือน
    -ไม่ได้ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ 2 ครัวเรือน
    -อื่นๆ 8 ครัวเรือน

    2.12 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของภาระหนี้สิน -ลดลงเรื่อยๆ 35 ครัวเรือน
    -ไม่เปลี่ยนแปลง 14 ครัวเรือน
    เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 50ครัวเรือน

    2.13 เริ่มลดค่าใช้จ่ายประเภทใดเป็นอันดับแรก -อาหารจุกจิก -เครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น

    2.14 วิธีการแก้ไขปัญหารายได้ไม่เพียงพอ -หารายได้เสริม -ปลูกผักสวนครัว -กินใช้อย่างประหยัด -ต้องขยัน

    2.15 กรณีที่ไม่มีหนี้ -รู้จักออม -ใช้จ่ายอย่างเพียงพอ อยู่กินอย่างประหยัด


    ตอนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ

    3.1กินอาหารบรรจุสำเร็จมี อย. -ทุกครั้ง 88ครัวเรือน
    -บางคร้ง 53ครัวเรือน

    3.2กินอาหารสุกๆ ดิบๆ
    -ทุกครั้ง 4ครัวเรือน
    -บางครั้ง 26 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 111 ครัวเรือน

    3.3 ผักต้องเป็นผักปลอดสารพิษ
    -ทุกครั้ง 102 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 36 ครัวเรือน

    3.4 ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
    -ทุกครั้ง 118 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 23 ครัวเรือน

    3.5 ใช้ช้อนกลาง
    -ทุกครั้ง 132 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 9ครัวเรือน

    3.6 รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ใน 1 วัน -ทุกครั้ง 57ครัวเรือน
    -บางครั้ง 84ครัวเรือน

    3.7กินอาหารรสจัด -ทุกครั้ง 18 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 69 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 54 ครัวเรือน

    3.8 รับประทานผัก ผลไม้ 1 จาน/วัน -ทุกครั้ง 69 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 7 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

    3.9 ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
    -ทุกครั้ง 34 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 78 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 29 ครัวเรือน

    3.10 ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว -ทุกครั้ง 98 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 36 ครัวเรือน . -ไม่เคยปฏิบัติ 7 ครัวเรือน

    3.11 ดื่มน้ำอัดลม/น้ำหวานเป็นประจำ -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 75 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 46 ครัวเรือน

    3.12 เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ซื่อยาชุดมารับประทานเอง -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 48 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 73 ครัวเรือน

    3.13 ใช้ยาสามัญ
    -ทุกครั้ง 37 ครัวเรือน
    บางครั้ง 102 ครัวเรือน
    ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

    3.14 ใช้สมุนไพร -ทุกครั้ง 56 ครัวเรือน
    -บางครั้ง 66 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 19 ครัวเรือน

    3.15ปล่อยให้หายเอง
    -ทุกครั้ง 8ครัวเรือน
    -บางครั้ง 43 ครัวเรือน
    -ไม่เคยปฏิบัติ 90 ครัวเรือน

    3.16 มีการออกกำลังกาย -ได้ออกกำลังกาย 138 ครัวเรือน
    -ไม่ได้ออก 3 ครัวเรือน

    3.17 ภาวะน้ำหนักเกิน -มี 50 ครัวเรือน
    -ไม่มี 91 ครัวเรือน

    3.18 ภาวะการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว -มี 51 ครัวเรือน
    -ไม่มี 90 ครัวเรือน

    3.19 ตรวจสุขภาพประจำปี -มี 87 ครัวเรือน
    -ไม่มี 54 ครัวเรือน

    3.20 การสูบบุหรี่ -มี 70 ครัวเรือน
    -ไม่มี 71 ครัวเรือน


    ด้านที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำโครงการ

    1.ความต้องการของคนในชุมชนในการแก้ปัญหา 1.1 ข้อเสนอแนะระดับครัวเรือน -ปรับปรุงความเป็นอยู่ -ปรึกษาการือกัน -ลดค่าใช้จ่าย -ทำบัญชีครัวเรือน -ส่งเสริมอาชีพ

    1.2 ระดับครัวเรือน -อยากให้มีไฟฟ้าทางเข้าหมู่บ้าน -ทำถนนใหม่เพื่อการสัญจร -ลดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

    2.ข้อเสนอแนะในการทำโครงการ -ทำต่อเนื่อง -ทำแล้วให้เกิดผล

    3.หิอจกรรมครัวเรือนต้นแบบตามแนวเศรฐกิจพอเพียง -สนใจเข้าร่วมโครงการ 133ครัวเรือน
    -ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ 8ครัวเรือน

     

    45 45

    10. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อสม. เดินบอกกล่าวการเข้าร่วมประชุม
    2. ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิด
    3. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับฟังการคืนข้อมูลและพี่เลี้ยงโครงการ
    4. นำเสนอวีดีทัศน์เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อสู่หมู่บ้านต้นแบเศรษฐกิจพอเพียง นำเสนอข้อมูล เพิ่มเติม จาก ผู้รับผิดชอบโครงการ และข้อเสนอแนะ
    5. ร่วมพูดคุย และเปิดโอกาสการซักถาม การแสดงความคิดเห็นของชุมชน
    6. พูดคุย เสนอ กติกาชุมชนรือมาตราการทางสังคม ในชุมชน
    7. จัดทำป้าย มาตราการทางสังคม ติดในที่ชุมชน
    8. รวบรวมข้อเสนอแนะจากชุมชน ภาคเครือข่ายเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดเตรียมการทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายอาหมาดซอและ หมันเล๊ะ ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนอสม. ประกาศหลังละหมาดวันศุกร์ให้ทุกครัวเรือนเข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และให้ตัวแทนอสม.เดินบอกตามบ้านอีกครั้งก่อนวันทำเวทีคืนข้อมูลเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการประสานงาน รวมทั้งบอกสำหรับครัวเรือนที่มีหญิงม่ายและคนชราด้วย พร้อมกันนั้นได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมรับฟังด้วย โดยประธานโครงการกล่าวต้อนรับและชี้แจงกิจกรรมวันนี้ และวัตถุประสงค์ หลังจากนั้น นางสาวเจนวลี ปะดุกา ผู้บันทึกข้อมูลและเลขาฯทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่ได้รับจากชุมชน ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วนำเสนอเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน หลังจากนั้นพี่เลี้ยงโครงการ คุณธิดา เหมือนพะวงค์ ได้พบปะพูดคุยกับพี่น้อง และกิจกรรมรำไม้กระบองเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการออกกำลังกายในชุมชนโดยสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุที่สนใจด้วย ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และให้ทุกคนมีส่วนร่วมเสนอแนะและแจ้งข่าวสารอื่นๆต่อไป

     

    141 141

    11. พบพี่เลี้ยงทำรายงานการเงินโครงการ งวด 1

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี่เลี้ยงโครงการ ตรวจสอบความเรียบร้อย ใบลงทะเบียน กำหนดการ ใบสำคัญรับเงินและ ใบจ่ายภาษี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจเอกสารการเงินโครงการงวดที่ 1 และจัดทำรายงานความก้าวหน้า

     

    2 2

    12. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ทีมสภาผู้นำเสนอโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผ่น ซึ่งทุกคนให้ความร่วมมือในการคิดและวางแผนงานในอนาคตของชุมชนอย่างสนุกสนาน 2.เกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านมีการนำสู่การปฏิบัติามแผนอย่างเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนอสม.เดินประกาศให้ทีมสภาผู้นำเข้าร่วมจัดทำแผนหลังจากที่ได้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และคืนข้อมูลมาแล้ว นำมาจัดทำแผนทีละข้อดังนี้

    1. ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

    - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทั้งสองข้างทาง - โครงการตลาดน้ำคลองดุสน


    2. ด้านการเกษตร - โครงการช่วยเหลือเกษตรกรช่วงฤดูแล้ง - โครงการทัศนศึกษาด้านอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน - โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนประจำหมู่บ้าน (กองทุนสัจจะ)


    3. ด้านเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรี เช่นนวดแผนไทย เสริมสวย ทำขนมพื้นเมือง - โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านอาชีพแก่กลุ่มสตรีและศึกษาดูงาน - โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา - โครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - โครงการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพทำแชมพูสมุนไพร เช่น ทำสบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ - โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งหมู่บ้าน


    4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน - โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน - โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน ป่าโต๊ะโร๊ะ - โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายในหมู่บ้าน - โครงการบุกเบิกถนนนาโต๊ะโผ 4x300 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ต้นท้อน 3x200 เมตร - โครงการก่อสร้างประปา(ที่มัสยิด) ประจำหมู่บ้าน/ถังน้ำ - โครงการติดตั้งและก่อสร้างเครื่องทำน้ำดื่มสะอาด


    5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - โครงการคลองสวยน้ำใส - โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ


    6. ด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม - โครงการเข้าค่ายฤดูร้อนแก่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน - โครงการสนับสนุนครูสอนอันกุรอ่าน


    7. ด้านการจัดระเบียบชุมชน - โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


    8. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย - โครงการสนับสนุนเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ - โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - โครงการฝึกอบรมอสม.ชุมชน - โครงการตรวจ คัดกรอง เบาหวาน ความดัน - โครงการเฝ้าดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและหลังคลอด - โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


    9. ด้านบริหารจัดการที่ดี - โครงการติดตั้งเครื่องกระจายเสียงประจำอาคารเอนกประสงค์ จัดกิจกรรมกลุมย่อยโดยแบ่งโซนโดยคละกันทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ พร้อมนำเสนอข้อมูลแต่ละโซน ประกาศใช้โรดแมพและนำเสนอต่อการจัดทำแผนประชาคมของอบต.ควนโดนต่อไป

    สรุปการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน ดังนี้ 1. โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 2. โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร 3. โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน

     

    45 45

    13. จัดทำรายงานปิดงวด1

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับการตรวจเอกสารการเงิน ปิดงวดโครงการ ในระยะที่ 1 ณ  สจรส.มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าร่วมประชุมปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1 ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558
    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
    3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.
    4. สร้างทีมงานสภาชุมชน
    5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.
    6. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ
    7. เรียนรู้การทำรายงานและการเงิน
    8. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
    9. นำข้อมูลมาวิเคราะห์
    10. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    11. พบพี่เลี้ยงทำรายงานการเงินโครงการ
    12. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา
    13. จัดทำรายงานปิดงวด1

     

    2 2

    14. จัดทำสื่อเพลงพื้นบ้านและวิดีดทัศน์ชุมชน

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำวีดีทัสน์และสื่อเพลงพื้นบ้านประกอบ เพื่อเป็นการสร้างความตระถหนักให้ชุมชน เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติงาน สภาผู้นำเตรียมความพร้อม ประชุม หารือ ประสานวิทยากร จัดทำแผนชุมชนประสานพี่เลี้ยงและทีมวิทยากรเพื่อเข้าร่วมกระบวนการทำแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำวีดีทัสน์และสื่อเพลงพื้นบ้านประกอบ เพื่อเป็นการสร้างความตระถหนักให้ชุมชน เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติงาน

    ผลสรุปที่สำคัญ

    1. ชุมชนมีการรับรู้ข้อมูลชุมชน ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร
    2. มีสื่อเพลงพื้นบ้าน ที่เป็นของชุมชนเองจำนวน 1 ชุด
    3. มีมาตราการทางสังคมของชุมชน

     

    141 141

    15. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเพื่อคลี่ผลลัพธ์โครงการ

    วันที่ 18 มีนาคม 2559 เวลา 20.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดคณะทำงานทุกคนเข้าร่วมประชุมหารือการทำงานโดยการเดินแจ้งให้ทราบทั้ง 30 คน 2 .เลขาสรุปกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมา พร้อมทั้งชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณ
    2. คณะทำงานร่วมคิด วิเคราะหื ประเมินสถานการณืการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาในทุกๆด้าน
    3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดคุย ซักถามปัญหาการทำงานหรือกระแสตอบรับจากชุมชน
    4. พี่เลี้ยงใช้กระบวนการคลี่ผลลัพธ์โครงการ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้กิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
    5. ร่วมวางแผนกิจกรรมดำเนินงานและนำแผนชุมชนสู่การปฏิบัติต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นัดคณะทำงานทุกคนเข้าร่วมประชุมหารือการทำงานโดยการเดินแจ้งให้ทราบทั้ง 30 คน
    2. เลขาสรุปกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมา พร้อมทั้งชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณ
    3. คณะทำงานร่วมคิด วิเคราะหื ประเมินสถานการณืการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาในทุกๆด้าน
    4. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดคุย ซักถามปัญหาการทำงานหรือกระแสตอบรับจากชุมชน
    5. พี่เลี้ยงใช้กระบวนการคลี่ผลลัพธ์โครงการ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้กิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
    6. ร่วมวางแผนกิจกรรมดำเนินงานและนำแผนชุมชนสู่การปฏิบัติต่อไป

    ผลสรุปที่สำคัญ มีบันทึกวาระการประชุม คณะทำงานเข้าร่วม ทุกคน

     

    30 30

    16. สร้างวิทยากรชุมชน จัดการเรัยนรู้ด้านการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการออม

    วันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะทำงานประสานงานเยาวชนให้เข้าร่วมและสร้างความเข้าใจกิจกรรม และบอกเล่าเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรม 2.ประสานวิทยากรในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ในเรื่องต่างๆ 3.สร้างวิทยากรชุมชนโดยเยาวชนที่เข้าร่วมโดยคัดเลือกจากความสนใจในกิจกรรมต่างๆของเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกระบวนการเรียนรู้จากชุมชนโดยใช้กระบวนการฐานการเรียนรู้จากชุมชน พร้อมเชิญวิทยาที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ หลักสูตร 5 วัน ดังนี้

    • วันที่ 1 สอนการจัดทำบัญชีครัวเรือน พร้อมแจกเอกสารบัญชีครัวเรือน ให้เยาวชนไปลองทำเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการออมหรือไม่
    • วันที่ 2 การจัดทำวัสดุ อุปกรณ์การใช้ในครัวเรือน เช่น สบู่และแชมพู ซึ่งมีกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนอยู่แล้ว เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑืในชุมชนมากขึ้นและหันมาใช้ผลผลิตจากชุมชนเพื่อลดรายจ่ายจากภายนอกได้ด้วย
    • วันที่ 3 การปลูกผักปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ลงพื้นที่แปลงผักในหมู่บ้าน เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการไถดิน ทำแปลง ปลูก และการกำจัดวัชพืชและแมลงศุตรูพืชโดยเกษตรอินทรีย์ 100 % ทำให้ทุกคนในหมู่บ้านบริโภคผักปลอดสารพิษ
    • วันที่ 4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นการทำปุูยหมักเพื่อใช้ในแปลงผักในชุมชน
    • วันที่ 5 การเพาะเห็ดและทำหัวเชื้อ ให้เยาวชนลงมือทำด้วยตนเองทุกกระบงนการและให้นำก้อนเชื้อกลับบ้าน คนละ 3 ก้อน

    ผลสรุปที่สำคัญ

    1. มีทีมวิทยากรชุมชน จำนวน 1 ชุด
    2. วิทยากรชุมชนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เพิ่ม ร้อยละ 80
    3. มีหลักสูตรท้องถิ่นในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

     

    15 15

    17. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเอกสารงานต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วมาเรียบเรียงและจัดทำรายงานการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเอกสารงานต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วมาเรียบเรียงและจัดทำรายงานการเงินเพื่อให้การดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดี ผลสรุปที่สำคัญ นำเอกสารงานต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วมาเรียบเรียงและจัดทำรายงานการเงิน

     

    2 2

    18. เปิดรับสมัครสมาชิกการทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เปิดรับสมัครจากการที่อสม.เดินเคาะประตูทุกบ้าน 2.เชิญชวนจากการเข้าร่วมประชุม ประชาคมหมู่บบ้าน 3.เปิดรับสมัครโดยแบ่งงานให้คณะกรรมการช่วยกันเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการจับคู่บัดดี้เรียนรู้แลกเปลี่ยนการจัดทำบัญชี 2.มีการนำมาเปรียบเทียบกันทุกๆ 3 เดือน 3.มีการประเมินบัญชีครัวเรือน ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนและมีเงินออม 4.มอบเกียรติบัตร ของที่ระลึกเพื่อเสริมพลังในเวทีชุมชน ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

     

    70 80

    19. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนการทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดให้ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จากการจัดเก็บข้อมูลครั้งก่อน แล้วมาร่วมกันทำบัญชีครัวเรือน แยกรายรับ รายจ่าย โดยมีวิทยากรเป็นเยาวชนที่ผ่านการฝึกทำบัญชีมาก่อนหน้านี้แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จับคู่บัดดี้ครัวเรือนเพื่อติดตามกสรจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีการสรุปให้แต่ละบ้านนำมาเปรียบเทียบกันทุกๆ 3 เดือน
    ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

     

    70 75

    20. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 7 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

     

    2 2

    21. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนแนวทางวิถีพอเพียง การจัดทำวัสดุ ใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

    วันที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเชิญกลุ่มเป้าหมายโดยการให้ทีมคณะทำงาน อสม.ปั่นจักรยานบอกตามบ้าน ให้มาเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง 1. คณะทำงานร่วม จัดตั้งกลุ่มร่วมเรียนรู้ จำนวน 70 ครัวเรือนต้นแบบ การจัดทำวัสดุ อุปกรณ์การใช้ในครัวเรือน 2. จัดทำฐาน การเรียนรู้ แบ่งกลุ่มสมาชิก เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามฐานใชุมชน

    • น้ำยาล้างจานน้ำยาเอนกประสงค์
    • การปลูกผักเกษตรอินทรีย์
    • การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • การเพาะเห็ดและการทำหัวเชื้อ
    • การแปรรูปผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน จำปาดะ หรือ(ที่มีในชุมชน)
    1. วิทยากรเยาวชน จัดกลุ่ม สอน แนะนำ คนในชุมชน โดยมีวิทยากรชุมชนประจำฐานและมีระบบพี่เลี้ยง (จากวิทยากรภายนอกและปราชญ์ชาวบ้าน)
    2. ให้แต่ละกลุ่ม นำสเนอ สรุป การประเมินผลสิ่งที่ได้เรียนรู้
    3. จับบ้านเกลอ เพื่อเป็นระะบบการแบ่งปัน เอื้อาทร และการติดตามความรู้สู่การปฏิบัติ 5.คณะทำงาน ติดตาม ประเมินผลบัญชีครัวเรือน เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ เพื่อหาข้อสรุป รายจ่ายลด รายได้เพิ่มขึ้นของครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกระบวนการเรียนรู้ ในชุมชนเพื่อสานต่อเรื่อง -น้ำยาล้างจานน้ำยาเอนกประสงค์ - การปลูกผักเกษตรอินทรีย์ - การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ - การเพาะเห็ดและการทำหัวเชื้อ
    - การแปรรูปผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน หรือ(ที่มีในชุมชน) นำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้กับครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พร้อมกันนั้นควบคู่กับการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นถึงการเปลี่ยนแปลง ก่อน - หลัง ทำกิจกรรม ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

     

    70 70

    22. จับบ้านเกลอเพื่อแบ่งปัน

    วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานมาปรึกษาและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกมีดังนี้ 1.ครอบครัวปลอดยาเสพติด 2.มีรายได้น้อย 3.มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชน และการจับคู่ให้อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเพื่อปรึกษาหารือร่ววมกันในการทำบัญชีครัวเรือนด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมาปรึกษาและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกมี ดังนี้
    1. ครอบครัวปลอดยาเสพติด 2. มีรายได้น้อย 3. มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชน และการจับคู่ให้อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเพื่อปรึกษาหารือร่ววมกันในการทำบัญชีครัวเรือนด้วยและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

    ผลสรุปที่สำคัญ 1. ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิพอเพียง จำนวน 70 ครัวเรือน 2. ครัวเรือนมีการนำไปใช้ ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดลงร้อยละ 10 3. ร้อยละ 50 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการประกอบอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น

     

    30 30

    23. ถอดบทเรียน ทีมสื่อ สจรส.มอ

    วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประธานโครงการฯมอบหมายให้ฝ่ายการเงินและเลขาโครงการเข้าร่วมให้ข้อมูลโครงการฯและบอกกล่าวถึงที่มาของโครงการและเมื่อทำโครงการเสร็จแล้วจะเห็นเป็นรูปธรรมโดยมีศูนย์เรียนรู้บูเกตยามูโมเดล เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้เยาวชนในหมู่บ้านที่สนใจมาเรียนรู้และทำให้เยาวชนในหมู่บ้านณุ้จักหมู่บ้านตัวเองมากขึ้นและสำนึกรักบ้านเกิดมากขึ้น และหวงแหนชุมชนมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดโครงการฯนี้จากความต้องการของชุมชน 2.รวบรวมอาชีพเสริมของคนในชุมชนไว้ในที่เดียวกัน 3.เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 4.เป็นการติดตามการดำเนินงานของชุมชน ทำให้การบอกเล่าสิ่งที่ชุมชนทำนั้นมีความหมายและสำคัญกับพื้นที่มากมาย ทำให้เกิดเรื่องเล่าจากชุมชนสู่คนภายนอกได้อย่างดี

     

    2 2

    24. ร่วมจัดสถานที่ " บูเกตยามูโมเดล"

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมสถานที่เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ โดยการช่วยกับเก็บกวาดใบไม้ ถากถางเถาวัลย์ เตรียมป้ายและเสา พร้อมทาสี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนต่างช่วยกันเตรียมสถานที่เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้บูเกตยามู โมเดล เป็นศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ วิถีชีวิตของคนในชุมชน ผลสรุปที่สำคัญ 1.มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

     

    20 20

    25. เปิดตัวศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง " บูเกตยามูโมเดล"

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สภาผู้นำชุมชน ทีมเยาวชน มาสรุป ข้อค้นพบ ของชุมชน สิ่งดีดี รูปแบบกระบวนการต่างๆของชุมชน 2. ร่วมหารือ กับผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการคัดเลือก เตรียมสถานที่ ที่จะจัดตั้งเป็นศูนยืเรียนรู้ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง 3. นำเข้าสู่เวทีประชาคม เพื่อรว่มกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ แบบมีส่วนร่วมขอวชุมชน 4. ชุมชนร่วมจัดสถานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
    5. เปิดตัว และประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
    6. ทบทวน ปรับและขับเคลื่อนต่อยอดต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำชุมชน ทีมเยาวชน มาสรุป ข้อค้นพบ ของชุมชน สิ่งดีดี รูปแบบกระบวนการต่างๆของชุมชน 2. ร่วมหารือ กับผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการคัดเลือก เตรียมสถานที่ ที่จะจัดตั้งเป็นศูนยืเรียนรู้ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง 3. นำเข้าสู่เวทีประชาคม เพื่อรว่มกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ แบบมีส่วนร่วมขอวชุมชน 4. ชุมชนร่วมจัดสถานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
    5. เปิดตัว และประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
    6. ทบทวน ปรับและขับเคลื่อนต่อยอดต่อไป ผลสรุปที่สำคัญ มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

     

    442 141

    26. พบพี่เลี้ยงปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี

     

    2 2

    27. กิจกรรมถอดบทเรียนและชี้แจงปิดโครงการ

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนโดยให้อสม.แบ่งงานกันรับผิดชอบแจกจ่ายหนังสือเชิญแบบแบ่งโซน นำข้อมูลที่ได้ในกิจกรรมนี้ทั้งหมดมาประมวลให้ที่ประชุมรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำชุมชนเตรียมข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ผ่านมาในโครงการ
    2. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน 3.นำแบบประเมินมาสรุปก่อนล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลการถอดบทเรียนร่วมด้วย
    3. สภาผู้นำชุมชน และทีมเยาวชน ร่วมกระบวนการถอดบทเรียน จำนวน 2วัน
    4. ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปแผนการดำเนินงาน งบประมาณทั้งหมดในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
    5. สรุปสิ่งที่ได้จากถอดบทเรียน
    6. ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ด้านคนในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างการทำงาน ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร มีอะไรที่ควรทำต่อ และทำต่ออย่างไรเพื่อจะขยายผลต่อยอดในปีต่อไปในการต่อยอดการขยายผล ต่อในระยะ ปีที่ 2
    7. สรุปผลการดำเนินงานโดยภาพรวมภาวะหนี้สินเปรีบเทียบก่อน-หลังการดำเนินโครงการ ของคนในชุมชน
    8. จัดเตรียมเอกสารการใช้จายงบประมาณทั้งหมด ตรวจสอบความถูกต้อง
    9. นำเสนอกิจกรรมการประเมินผลแก่พี่เลี้ยงโครงการ
    10. สรุปรายงาน ส่ง สสส ผลสรุปที่สำคัญ 1.มีชุดข้อมูลจากการถอดบทเรียนจำนวน1ชุด 2. มีแผนการดำเนินงานต่อยอดโครงการในปีต่อไป

     

    45 45

    28. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เลือกรูปถ่ายที่ต้องการ • พาไปที่ร้านเพือล้างรูป ให้ทำรูปในกระดาษโฟโต้และทำลงซีดี • จ่ายเงินค่ามัดจำ • นัดวันรับรูปถ่าย • ไปรับรูปถ่านตามวันที่ตกลงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปถ่ายตรงตามความต้องการ จำนวน 1 ชุด

     

    2 15

    29. จัดทำรายงาน

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมเอกสารตั้งแต่ดำเนินการหลังจากปิดงวด 1 เพื่อเตรียมเอกสารปิดงวด 2 ให้มีความเรียบร้อยและง่ายต่อการตรวจสอบก่อนปิดโครงการโดยพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด รวบรวมเอกสารทั้งหมดของโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบเอกสารของแต่ละกิจกรรรมให้ครบถ้วน • ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ • เมื่อเอกสารเรียบร้อยก็จัดทำเป็นรูปเล่ม ผลสรุปที่สำคัญ เตรียมเอกสารตั้งแต่ดำเนินการหลังจากปิดงวด 1 เพื่อเตรียมเอกสารปิดงวด 2 ให้มีความเรียบร้อยและง่ายต่อการตรวจสอบก่อนปิดโครงการโดยพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด รวบรวมเอกสารทั้งหมดของโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

     

    2 2

    30. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมความพร้อมทั้งบุคคลและสิ่งที่จัดนิทรรศการและวางแผนการทำงานเพื่อวางนิทรรศการให้น่าสนใจและดึงดูดผู้คนที่เดินผ่านให้มาศึกษาและเรียนรู้นิทรรศการของตำบลควนโดนแต่ละพื้นที่ได้ไปจัดนิทรรศการ ความสำเร็จของโครงการร่วมกัน โดยนำผลงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ มีการนำผลไม้ และผักพื้นบ้านไปจำหน่าย และร่วมตกแต่งบูธให้ดูเป็นธรรมชาติเสมือนภาพจำลอง มีการนำผลผลิตของชุมชน เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ผลไม้ จำพวกลองกอง จำปะดะ ไปจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แต่ละพื้นที่ได้ไปจัดนิทรรศการ ความสำเร็จของโครงการร่วมกัน โดยนำผลงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ มีการนำผลไม้ และผักพื้นบ้านไปจำหน่าย และร่วมตกแต่งบูธให้ดูเป็นธรรมชาติเสมือนภาพจำลอง มีการนำผลผลิตของชุมชน เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ผลไม้ จำพวกลองกอง จำปะดะ ไปจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

     

    3 3

    31. พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

     

    2 2

    32. สรุปผลการดำเนินงานและปิดโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและหน้าเว็บไซต์โดยเจ้าหน้าที่ สจสร. • ทำ ง1. ง2. ส3. ส4. บนหน้าเว็บไซต์ Happynetwork.org • ส่งเอกสารทำการปิดงวด 2 ส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส. • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและเอกสารอื่นๆ • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบการรายงานหน้าเวปไซต์ • เจ้าหน้าที่สจรส. ให้คำแนะนำเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและหน้าเว็บไซต์โดยเจ้าหน้าที่ สจสร. • ทำ ง1. ง2. ส3. ส4. บนหน้าเว็บไซต์ Happynetwork.org • ส่งเอกสารทำการปิดงวด 2 ส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส. • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและเอกสารอื่นๆ • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบการรายงานหน้าเวปไซต์ • เจ้าหน้าที่สจรส. ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม มีการสรุปปิดโครงการและรายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน1 เล่ม

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้
    ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน 2. มีทีมวิทยากรชุมชน "เยาวชนนักคิด นักพัฒนาเพื่อชุมชน"จำนวน 1 ชุด 3. ร้อยละ 80 ประชาชนในชุมชน มีความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน 4. ร้อยละ 80 ครัวเรือนสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากการเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน

    1.ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน 2.มีทีมวิทยากรชุมชน "เยาวชนนักคิด นักพัฒนาเพื่อชุมชน"จำนวน 1 ชุด 3.ร้อยละ 80 ประชาชนในชุมชน มีความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน 4.ร้อยละ 80 ครัวเรือนสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากการเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน

    2 เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง
    ตัวชี้วัด : มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

    มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

    3 ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน 2. มีวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 วิสาหกิจ

    1.ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน 2.มีวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 วิสาหกิจ

    4 เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน 2. การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3. การประชุมทุกครั้งมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

    1.สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน 2.การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3.การประชุมทุกครั้งมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

    5 เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผน 2. ร้อยละ 10 ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ มีหนี้สินลดลง

    1.มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผน 2.ร้อยละ 10 ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ มีหนี้สินลดลง

    6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2.มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4.มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้ (2) เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง (3) ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน (4)  เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง  (5) เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง (6) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03969 รหัสสัญญา 58-00-2181 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    คู่มือการออมและคู่มือสุขภาพสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยรวบรวมเนื้อหาการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

    สมุดคู่มือ

    เพิ่มรายละเอียด 3 อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    รูปแบบการทำงาน แบบพี่ดูแลน้อง โดยนำกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมเป็นนักจัดเก็บข้อมูลชุมชน

    ทีมเยาวชนจัดเก็บข้อมูล

    ทีมเยาวชน แกนนำประจำครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานที่มีหลากหลายกลุ่มเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่ดูแลด้านสุขภาพ แต่มีการร่วมเครือข่ายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

    โครงร้างการทำงาน

    ขับเคลื่อนให้เกิดสภาผู้นำชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เครือข่ายเยาวชน คณะกรรมการบริหารโครงการมีการรับสมัครเด้กและเยาวชนเข้าร่วมในการดำเนินงาน เพื่อมาขับเคลื่อนแนวทางการทำงานในรูปแบบ พี่สอนน้อง โดยมีการชักชวนต่อๆกัน ในการดำเนินงาน

    เครือข่ายเยาชน

    พัฒนาเกิดการเรียนรู้ หรือหลักสูตรโรงเรียนชุมชน เพื่อการเรียนรู้วิถีชุมชน และการสืบทอดภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษณ์และเพื่อเป็นการสร้างทักษะชีวิต และภูมิคุ้มกันให้เด้กและเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    พัฒนาเกิดการเรียนรู้ หรือหลักสูตรโรงเรียนชุมชน เพื่อการเรียนรู้วิถีชุมชน และการสืบทอดภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษณ์และเพื่อเป็นการสร้างทักษะชีวิต และภูมิคุ้มกันให้เด้กและเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างความตระหนักและกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

    จากการสอบถามสำรวจ

    ขยายผลการปลูกให้ครอบครัวทุกหลังคาเรือนและสร้างครัวเรือนต้นแบบโดยนำแนวทางเกษตรอินทรีย์ร่วมด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย สมาชิกกลุ่ม

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค เมนูอาหารพื้นบ้าน

    จัดทำเป็นสื่อเรียนรู้ชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการจัดการพฤติกรรมการใช้จ่ายในระดับตนเองและครัวเรือน โดยมีการจัดทำสมุดบัญชีการออม

    คู่มือการออม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการปลูกผักในครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเน้นพืชผักระยะสั้น โดยไม่ใช้สารเคมี

    สังเกตและสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดพื้นที่ด้านการปลูกผักและการออกกำลังกายโดยชุมชน

    สังเกตและสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการรวมกุล่มด้านการจัดทำวิสาหกิจชุมชน

    ยาสระผมเถาสะบ้า

    ขยายผลผลิตภัณฑ์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    หมู่ที่ 7 ต้องปฎิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ 1. ต้องลดการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม และสารปรุงแต่ง 2. ต้องร่วมกันบริโภคผักและผลไม้ปลอดสารพิษ 5 ขีดต่อวัน 3. ต้องร่วมกันใช้สมุนไพรในสวนครัว 4. ต้องออกกำลังกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับตนเอง 6. ต้องลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา 7. ต้องไม่ทิ้งขยะในบริเวณบ้านเรือนและที่สาที่สาธารณะ

    รายงานผลการดำเนินงาน

    ประกาศใช้ครอบคลุมและขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรม โดยการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ในการอกกำลังกายและวิสาหกิจชุมชนพร้อมทั้งมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมร่วมกัน

    จากข้อมูลของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การจัดการสุขภาพของคนต้นแบบ

    จากข้อมูลของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ทางคณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ทางชุมชนให้ความร่วมมือและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน และได้รับความไว้วางใจในการดำเนินงานต่อ

    จากการพูดคุย ซักถาม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุ่นเวียนกันในทางทีมงานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

    จากการพูดคุย สัมภาษณ์

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    จาการรายงานผลกรดำเนินงาน

    จัดทำคู่มือ บันทึก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งาบุญ งานกีฬาของชุมชนเกิดการแบ่งปันพันธ์ไม้นานาชนิด

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในการดำเนินงานมีการพูดคุย โดยใช้เหตุและผลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง จะมีการร่วมฟังความิดเห็นและลงมติโดยใช้กระบวนการมีส่วนรวมและเสียงจากคนส่วนใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03969

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย นที หลังเกต )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด