แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง) ”

บ้านสือดัง ม.4 ต. เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นาย ฮาฎอรอมี สะตา

ชื่อโครงการ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

ที่อยู่ บ้านสือดัง ม.4 ต. เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03806 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2210

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง) จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านสือดัง ม.4 ต. เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)



บทคัดย่อ

โครงการ " สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านสือดัง ม.4 ต. เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี รหัสโครงการ 58-03806 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 180,025.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 624 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อหมู่บ้านมีข้อมูลที่ถูกต้องครบทั้ง 4ด้านเพื่อใช่ในการพัฒนาชุมชน
  2. 2. หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ
  3. 3.สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในชุมชน
  4. 4. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหน ตลอดถึงปลูกฝังวัฒนธรรมและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชน
  5. 5. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการท้องถิ่นน่าอยู๋

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิการชี้แจงรายละเอียดการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ปี 58
    • อ.สุวิทย์ หมาดอะดำ ให้ความรู้การวางแผนดำเนินโครงการ
    • คุณนฤมล อุโหยบ อธิบายและสอนการทำเอกสารการเงิน
    • สรุปโครงการและซักถามประเด็นปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้ และ จัดทำ ดังนี้

    • การจัดทำเอกสารรายงานลงเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข
    • การบันทึกข้อมูลลงเว็บ
    • การบันทึกกิจกรรมลงปฎิทิน
    • การจัดทำรายงาน การรับฟังคำชี้แจง
    • การจัดทำรายงานทางการเงิน
    • การบันทึกรายงานการเงิน
    • การเบิกจ่ายงบประมาณตามงวดโครงการ

     

    2 3

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 8 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สั่งทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย นำป้ายไปติดตามสถานที่ดังนี้

    1. ที่มัสยิดบ้านสือดัง
    2. โรงเรียนดาตีกาบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังจากได้ทำการติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

    1. คนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะงดการสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นๆ
    2. เกิดจิตสำนึกเรื่องของการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

     

    150 150

    3. ซักซ้อมความเข้าใจในการทำโครงการ โดยภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น รวมถึงกำหนดกรอบแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ

    วันที่ 9 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
    • ประชุมกลุ่มทีมงาน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    • จัดตั้งคณะกรรมการทีมนำในการดำเนินงานโครงการพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่/ขอบเขตงาน
    • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานโครงการได้ชี้แจงโครงการ สือดังเบอร์ซาตู(ร่วมเป็นหนึ่ง)ให้คณะกรรมการได้ทราบถึงรายละเอียดโครงการการจัดกิจกรรม ตลอดระยะเวลา 1 ปี ทำให้ทีมคณะกรรมการชุมชนมีความเข้าใจการทำงาน และร่วมดำเนินการเป็นคณะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้ง ร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรม การประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะมาจัดตั้งเป็นสภาหมู่บ้านร่วม
    • ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่างๆให้คณะกรรมการ แบ่งออกเป็น ฝ่ายผู้รับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ประชาชน ครู
    • ได้หารือการเตรียมการจัดตั้งคณะกรรมสภาผู้นำ เพื่อสร้างความเข้าใจการทำงานโครงการและเป็นคณะทำงานที่มาช่วยกันร่วมคิดร่วมคุยร่วมกันทำงานโครงการที่ได้รับให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
    • ร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมชี้แจงให้กับคนในชุมชนได้รับทราบแผนการทำงานโครงการร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะมาจัดตั้งเป็นสภาหมู่บ้านแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานและผู้รับผิดชอบในการประสานกลุ่มเป้าหมาย

     

    20 20

    4. ประชาสัมพันธ์โครงการสือดังเบอร์ซาตู (สือดังร่วมเป็นหนึ่ง)/เตรียมความพร้อมในการพัฒนาการจัดตั้งสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

    วันที่ 15 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ
    • ประสานนัดพี่เลี้ยงโครงการและบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและปฎิทินกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งให้ประชาชนรับทราบ
    • เตรียมอุปกรณ์ต่างๆและใบลงทะเบียนใช้ในการจัดกิจกรรม
    • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งรายละเอียดโครงการเกี่ยวกับโครงการ
    • ผอ.รพ.สต.เตราะบอน พูดคุยเรื่องระบบสนับสนุนการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่
    • ให้พี่เลี้ยงเสนอที่มา ขั้นตอนต่างๆของโครงการ
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม
    • โ๊ต๊ะอีม่ามกล่าวดุอาร์ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการได้มาของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และขอความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมที่จะดำเนินกิจกรรมพี่เลี้ยงโครงการ ได้แนะนำความเป็นมาของโครงการชุมชนทัองถิ่นน่าอยู่ และบอกถึงงบประมาณ วิธีการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ ทำให้คนในชุมชนเข้าใจกระบวนการทำโครงการ และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งปี
    • ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ได้พบปะกับพี่น้องประชาชนและให้การสนับสนุนในด้านการดูแลสุขภาพข้อมูล
    • นางรอกีเยาะ วามะ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรี ได้พบปะกับพี่น้องประชาชนและได้แจ้งในส่วนงานด้านภาคการเกษตร พร้อมให้การสนับสนุนในกิจกรรมของโครงการด้วย
    • เจ้าหน้าที่ ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย ได้ร่วมแสดงความยินดี และได้ฝากถึงประชาชนที่ต้องการจะศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • หน่วยงานทหารพรานในพื้นที่รับผิดชอบ ได้ร่วมแสดงความยินดี และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ สนับสนุนในโครงการครั้งนี้อีกด้วย
    • ในกิจกรรมดังกล่าวมีประชาชนในชุมชน มากกว่า 150 คนรับทราบถึงวิธีการทำโครงการ และกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นแก้ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
    • มีการคัดเลือคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)จำนวน 35 คน ชึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน 8 คน,อสม.2 คน,ผู้นำศาสนา 5 คน,ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน,เยาวชน 5 คน,คณะทำงานโครงการ 5 คน,ผู้สูงอายุ 5 คน
    • ได้คัดเลือกแกนนำจิตอาสาในชุมชนเป็นคณะทำงานอาสาสมัครหมู่บ้านสือดัง ทำหน้าที่สำรวจและเก็นรวบรวมข้อมูลพื้นฐานชุมชนจำนวน 20 คน มีกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมการดำเนินงานเป็นการสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิตในการพัฒนาท้องถิ่น

     

    150 154

    5. พัฒนาศักภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)กำหนดบทบาท หน้าที่ของสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

    วันที่ 29 ตุลาคม 2015 เวลา 08.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
    • ประชุมกลุ่มทีมงาน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบเปิดโครงการ และได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ พร้อมทำความเข้าใจในการจัดทำโครงการ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)
    • ทีมสภาผู้นำที่ถูกจัดตั้งในเวทีประชาสัมพันธ์โครงการและแกนนำจิตอาสาชุมชน ได้พูดคุยกันในเรื่องการจัดทำกิจกรรมในโครงการ โดยในการประชุมสภาผู้นำจะนำเรื่องวาระการประชุมในหมู่บ้านเข้ามาพูดคุยด้วย พร้อมให้ความรู้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบของกลุ่มเครือข่าย

     

    35 35

    6. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
    • จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้มีการประชุมวางแผนในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด และที่ประชุมได้มีการนำเสนอโครงการเร่งด่วนแก้ปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้าน คือ โครงการขุดเจาะบ่อบาดาลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

    35 35

    7. การออกแบบเครื่องมือการจัดการด้านความสัมพันธ์ /อบรม สร้างความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • ประสานวิทยากรกระบวนการในการออกแบบเครื่องมือ
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • จัดเตรียมอุปกรณืต่างๆใช้ในการออกแบบสำรวจ
    • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
    • ให้วิทยากรให้ความรู้ในการออกแบบเครื่องมือในการสำรวจ/ให้ความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร
    • ให้ผู้เข้าร่วมเสนอข้อมูลที่จะใช้ในการสำรวจ
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูล ให้มีควาสอดคล้องกับชุมชนและง่ายต่อความเข้าใจในการกรอกข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลด้านโภชนาการ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ อาชีพ ทรัพยากร สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและด้านจารีต โดยให้วิทยากรช่วยจัดการให้เป็นหมวดหมู่ต่อไป

     

    50 50

    8. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่1

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเตรียมเอกสารการสำรวจ
    • จัดวางแผนในการออกสำรวจ/กำหนดครัวเรือน
    • ออกสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
    • สรุปข้อมูลที่จัดเก็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันแรกในพื้นที่โซน ทฺิศเหนือ(ออก-ตก) เป็นจำนวน 50 ครัวเรือน และในระหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

     

    20 20

    9. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่2

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกสำรวจวันที่ 2
    • กำหนดครัวเรือนที่จะจัดเก็บข้อมูล ทั้ง 4โซน
    • จัดเตรียมตัวบุคคลในการจัดเก็บตามโซนต่างๆทั้ง 4 โซน
    • ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
    • ผู้จัดเก็บข้อมุลแนะนำตัวเองทุกครั้งในการลงมีอปฎิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันที่สองในพื้นที่โซน ทฺิศใต้(ออก-ตก) เป็นจำนวน 40ครัวเรือน และในรหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

     

    20 20

    10. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่3

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเก็บข้อมูลของวันที 3
    • กำหนดครัวเรือนที่จะจัดเก็บข้อมูล ทั้ง 4โซน
    • จัดเตรียมตัวบุคคลในการจัดเก็บตามโซนต่างๆทั้ง 4 โซน
    • ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
    • ผู้จัดเก็บข้อมุลแนะนำตัวเองทุกครั้งในการลงมีอปฎิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันที่สามในพื้นที่โซน ทฺิศตะวันออก(ริมถนนสาย4074) เป็นจำนวน 40ครัวเรือน และในรหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

     

    20 20

    11. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ คือ

    • การทำเอกสาร
    • การรายงานทางการเงิน
    • การรายงานกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ลงเวปไซค์ คนใต้สร้างสุข
    • การรับฟังคำชี้แจง
    • การจัดทำรายงานทางการเงิน
    • การเสียภาษี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินร่วมกับสสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ
    • ได้เรียนรู้และทราบแนวทางในการจัดทำเอกสารทางการเงิน
    • การหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 1 ฉบับ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบการเงินของโครงการสามารถจัดทำเอกสารการเงินได้อย่างถูกต้อง

     

    2 3

    12. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ครั้งที่1

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • ประสานวิทยากรกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • จัดเตรียมข้อมูลจากการสำรวจในพื้นที่เพื่อให้วิทยากรนำมาวิเคราะห์
    • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรให้คณะทำงานจัดรวมรวมข้อมูลจากแบบสำรวจทั้ง 130 ชุดจัดออกเป็น 4 หมวดใหญ่ๆคือ ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และข้อมูลสุขภาพ
    • หาผลการสำรวจข้อมูลดิบจากแบบสำรวจ ผลที่ได้คือมีควารู้ความเข้าใจด้านประวัฒิศาตร์ ร้อยละ 85 รู้ ร้อยละ 15 ไม่รู้ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 81 มีปัญหา ร้อยละ 19 ไม่ปัญหาข้อมูลด้านวัฒนธรรม ร้อยละ 55 มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่ปัญหา ข้อมูลสุขภาพร้อยละ 68 มีปัญหา ร้อยละ 32 ไม่ปัญหา
    • กลุ่มเป็าหมายที่ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 75 วัยทำงาน ร้อยละ 20 อื่นๆ ร้อยละ 5
    • ข้อมูลที่ได้ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาในเรื่องเศษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ รายได้ รายจ่าย เศรษฐกิจภายนอกในการส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว รองลงมาคือด้านปัญหาด้านสุขภาพเพราะกลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังคือเบาหวาน และความดันโลหิต เป็นส่วนหลัก
    • ชุมชนได้ข้อมูลชุมชนประกอบด้วยข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และข้อมูลสุขภาพ
    • คณะทำงานโครงการเกิดทักษะด้านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน
    • สภาชุมชนมีทักษะกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล

     

    50 51

    13. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2

    วันที่ 4 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะกรรมการสภาโดยใช้โทรศัพท์
    • จัดเตรียมรายละเอียดใช้ในการประชุม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการใด้ชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และให้เจ้าหน้าที่การเงินรายงานรายละเอียดการเงินที่จ่ายไปทำไหรคงเหลือเท่าไหร ให้กับสภาผู้นำรับรู้
    • เวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะสภาผู้นำเสนอให้คณะทำงานทุกฝ่ายรับรู้ถึงปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้แก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกัน และการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน
    • ผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องสั่งการจากอำเภอสา่ยบุรีมารายงานให้กับสภาผู้นำรับทราบในเรื่องต่างๆคือ งบกระตุ้นเศษฐกิขชุมชน 5,000,000 บาท ซึ่งหมู่บ้านได้รับจัดสรรค์มาเพื่อดำเนินโครงการจำนวน 450,000 บาท ให้เสนอโครงการตกลงมีมติร่วมกันที่จะดำเนินจัดสร้างโครงซ่อมแซมห้องนำของมัสยิดเพื่อสาธารณะชุมชน
    • ด้านการส่งเสริมงานเกษตร ของเกษตรอำเภอ การทำปุ๋ยหมัก
    • กำหนดแผนการจัดกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 2 และการคืนข้อมูลให้กับประชาชนรับฟัง

     

    35 39

    14. พบพี่เลี้ยง แลกเปลี่ยนการทำโครงการ

    วันที่ 15 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงประชุมเพื่อความเข้าใจเอกสารรายงานการเงิน การบันทึกข้อมูล การใช้จ่ายงบปนะมาณในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ประสานเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/การเงินแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงแนะนำวิธีการบันทึกข้อมูล การจัดทำรายงานการเงิน การลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งโดยให้มีการใช้แบบลงทะเบียนในคูมือเอกสารคนใต้สร้างสุขทำให้เข้าใจการบันทึกข้อมูนลงบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การเบิกเงินในการดำเนินกิจกรรมในแต่ครั้งโดยการเบิกครั้งเดยวใน 1 เดือนที่มีกิจกรรมและสามารถถือเงินสดในมือได้ไม่เกิน 5,000 บาท

     

    2 2

    15. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ครั้งที่2

    วันที่ 24 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • ประสานวิทยากรกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์ครั้งที่1เพื่อให้ทีมวิทยากรวิเคราะห์ครั้งที่ 2 โดยวิทยากรให้ความรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนที่เดินดินของหมู่บ้าน มีขั้นตอนการทำคือ มาทำแผนที่เดินดินโดย การเดินสำรวจดูด้วยตา และจดบันทึกทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นลงบนบันทึก เพื่อเข้าใจถึงความหมายทางสังคม (Social Meaning) และหน้าที่ทางสังคม (Social Function) ของพื้นที่ทางกายภาพ (Physical Space) เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ด้วยวิธีการง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานมาก
    • วิธีการ และข้อแนะนำโดยการนำแผนที่ชุมชน ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น ทบทวนข้อมูลในแผนชุมชน มีข้อมูลที่สามารถนำกลับมาใช้หรือจำเป็นต้องสำรวจใหม่ การให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้การทำแผนที่เดินดิน มีหลักการ คือ

    1. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน
    2. ต้องเดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน
    3. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม
    4. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม
    5. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ
    6. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียว ( อาจเป็นภาพลวงตา ) จำเป็นต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
    7. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง
    8. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน
    9. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่ต่าง ๆ
    • การวิเคราะห์ทุนหมู่บ้าน คือ บ้านสือดังยังมี่พื้นที่ไม่ได้ปรโยชน์เพื่อให้เกิดรายได้ บุคคลที่ยังขาดความรู้ในการแก้ปัญหาหมู่บ้านทั้ง 4 ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานยังน้อย
    • ร่วมเสนอแนวทางการแก้ปัญของหมู่บ้าน
    1. ทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้ครบถ้วน
    2. ได้ข้อมูลมากและละเอียดในระยะเวลาสั้น
    3. ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง
    4. นำไปสู่ความเข้าใจในมิติอื่นๆ ตามมา
    5. นำข้อมูลมาปรับใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหมู่บ้าน

     

    50 51

    16. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 3

    วันที่ 7 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
    • จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการใด้ชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และให้เจ้าหน้าที่การเงินรายงายรายละเอียดการเงินที่จ่ายไปทำไหรคงเหลือเท่าไหร ให้กับสภาผู้นำรับรู้
    • คณะสภาผู้นำเสนอให้คณะทำงานทุกฝ่ายรับรู้ถึงปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้แก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกัน
    • ผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องสั่งการจากอำเภอสา่ยบุรีมารายงานให้กับสภาผู้นำรับทราบในเรื่องต่างๆคือ การจัดตังกองทุนหมู่บ้านและการพัฒนนากองทุนการของงบประมาณในระยะ 3 และงบประชารัฐ ในวงเงิน 1000,000 บาท เพื่อมาจัดทำด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
    • คณะกรรมการให้รับมอบถุงยังชีพจากอำเภอโครงของ ศอ.บต.โดยการคัดประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 10 รายโดยให้ศาสนามอบให้กับประชาชน
    • กำหนดแผนการจัดกิจกรรมการการคอนข้อมูลให้กับประชาชนรับฟัง

     

    35 37

    17. จัดเวทีเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในหมู่บ้าน

    วันที่ 14 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดเวทีคืนข้อมูล
    • ประสานผู้ใหญ่หมู่ที่7 บ้านกะลาพอเป็นวิทยากรกระบวนการในการคืนข้อมูล
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์เพื่อให้ทีมวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนร้อยละ 80 รับทราบถึงข้อมูล และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และหมู่บ้านมีข้อมูลที่เป็นทุนชุมชนมาใช้ในการจัดทำแผนชุมชนนำไปสู่การแก้ปัญหาชี้แจงทราบถึงปัญหา ข้อมูล ด้านต่างๆ นำจัดหมวดหมู่ทั้ง 4 ด้านคือ 1.ด้านประวัฒิศาตร์ 2.ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ3.ข้อมูลด้านวัฒนธรรม 4.ข้อมูลด้านสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 75 วัยทำงาน ร้อยละ 20 อื่นๆ ร้อยละ 5
    • ปัญหาประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาในเรื่องเศษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ รายได้ รายจ่าย เศรษฐกิจภายนอกในการส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว รองลงมาคือด้านปัญหาด้านสุขภาพเพราะกลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังคือเบาหวาน และความดันโลหิต
    • ให้ประชาชนในหมู้บ้านรับรู้ถึงโครงการเพิ่มเติมจากภาครัฐ คือ การจัดตังกองทุนหมู่บ้านและการพัฒนนากองทุนการของงบประมาณในระยะ 3 และงบประชารัฐ ในวงเงิน 1000,000 บาท เพื่อมาจัดทำด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านและงบกระตุ้นเศษฐกิขชุมชน 5,000,000 บาทซึ่งหมู่บ้านได้รับจัดสรรค์มาเพื่อดำเนินโครงการจำนวน 450,000 บาท ให้เสนอโครงการตกลงมีมติร่วมกันที่จะดำเนินจัดสร้างโครงซ่อมแซมห้องนำของมัสยิดเพื่อสาธารณะชุมชน
    • การจัดทำแผนที่เดินดินเพื่อนำแผนที่มาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของหมู่บ้านและพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนหมู่บ้าน

     

    132 143

    18. พบพี่เลี้ยง นัดตรวจเอกสารปิดงวดโครงการ

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงิน การบันทึกกิจกรรม จัดเตรียมเอกสารรายละเอียดการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงได้ตรวจเอกสารบัญชี การบันทึกกิจกรรม ใบสำคัญรับเงินเพื่อจัดทำงานเอกสารรายงานปิดโครงการ และให้ไปแก้ไขเอกสารที่ไม่ถูกต้อง และมาส่งให้พี่เลี้ยงดูอีกครั้ง

     

    3 3

    19. พบพี่เลี้ยง ทำรายงานปิดงวดครั้งที่1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำรายงานปิดงวดครั้งที่ 1 นำเอกสารการเงินที่ปรับแก้แล้วมาส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งให้ สจรส.ตรวจเอกสารในวันพรุ่งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้จัดทำรายงานในเวบไซต์ ได้ปรับแก้ให้เรียบร้อย และทำเสร็จ ส่วนเอกสารการเงินมีความถูกต้องและเรียบร้อย สามารถส่งให้ สจรส.ตรวจสอบและส่งรายงานได้ในวันพรุ่งนี้

     

    3 2

    20. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินในงวดที่ 1 ส่งให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่าย และตรวจสอบการเขียนรายงานในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารใบเสร็จการเงินถูกต้อง เรียบร้อย สามารถทำรายงานเพื่อปิดงวดโครงการและส่งให้ สจรส.และคืนเงินเปิดบัญชี 100 บาท

     

    2 2

    21. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครั้งที่ 4

    วันที่ 3 มีนาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมสถานที่จัดการประชุมโดยมอบภาระกิจหน้าที่ฝ่ายสถานที่ การประชุมสภาผู้นำครั้งที่4มีผู้เข้าร่วมจำนวน 35คน ณ.โรงเรียนบ้านสือดัง เริ่มการประชุมตั้งแต่เวลา 19.00 น เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมสภาผู้นำจำนวน 35 คน เข้าร่วมประชุมครั้งที่ ณ.โรงเรียนสือดัง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา จัดทำเอกสารปิดโครงการงวดที่ 1 รายงาน สสส.โดยมีพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจเอกสารรายงาน พร้อมชี้การดำเนินกิจกรรมโครงการในงวดที่ 2 เพื่อขอความร่วมคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

     

    28 35

    22. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 25 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเตรีมคณะทำงานเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
    2. ประสานวิทยากรบรรยายธรรม
    3. เตรียมสถานที่เพื่อความเรียบร้อยในการจัดกิจกรรม
    4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนสือดังเข้ากิจกรรม ตัวแทนประชาชนที่เข้าละหมาดวันศุกร์ ณ.มัสยิดบ้านสือดังตัวแทนประชาชนจำนวน 80 คน ร่วมกิจกรรมฟังการบรรยายธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนประชาชนจำนวน 80 คน เข้าร่วมละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดบ้านสือดัง โดยมีอิหม่านประจำมัสยิดเป็นผู้บรรยายธรรมเรื่องครอบครัวกับการละหมาดร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวอย่างน้อยละหมาดร่วมวันละ 1 ครั้งในช่วงเวลา 19.30 น. สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวทำให้พ่อ แม่ลูกรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นและมีการละหมาดร่วมกันทุกวัน

     

    80 80

    23. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม ครั้งที่ 1

    วันที่ 28 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเตรีมคณะทำงานเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
    2. ประสานวิทยากรจากหน่วยงานเกษตร
    3. ประสานเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อใช้สถานที่ในการจัดประชุม ใช้สถานที่ในการจัดเวทีที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน
    4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนบ้านสือดังเข้าร่วมกิจกรรม
    5. ผู้นำศาสนา คณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 50 คน ร่วมวิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชน โดยวิทยากรจากหน่วยงานเกษตรเป็นผู้นำกระบวนการ วิเคราะห์รูปแบบการเสนอปัญหา ความต้องและข้อมูลที่มีอยู่ในชุมชนบ้านสือดัง ริ่มกระบวนการวิทยากรจากหน่วยงานเกษตรนำแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนที่ได้รวบรวมขึ้นมาจากข้อเสนอของคณะกรรมสภาผู้นำ ผู้นำศาสนา มีประเด็น4 ประเด็น คือ ทุน ศักยภาพ สถานการณ์ ปัญหา การจัดการ การปรับตัวของชุมชน ได้แก่

    6. ทรัพยากรของชุมชนและการใช้ประโยชน์

    7. การทำมาหากินและเศรษฐกิจของชุมชน
    8. โครงสร้างทางสังคมของชุมชน
    9. ความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชน กลุ่ม/องค์กร ระบบเครือญาติและผู้นำแบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมเป็น 4 กลุ่มตามประเด็น 4 ประเด็นโดยมีการนำการวิเคราะห์กรอบการศึกษาชุมชนด้านการทำมาหากินและเศรษฐกิจของชุมชน โดยการตั้งคำถามสถานการณ์ของทรัพยากรในชุมชนเป็นอย่างไร ประเภทของทรัพยากร ปริมาณและคุณภาพ ลักษณะการนำมาใช้ประโยชน์ ใครบ้างที่เข้ามาใช้ทรัพยากรและใช้อย่างไรการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในชุมชนแต่ละประเภทในชุมชน ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรในชุมชนด้านการทำมาหากินและเศรษฐกิจของชุมชน ใช้ชุดคำถามในการสรุปข้อมูล เช่น อาชีพหลักและรายได้ของชุมชนคืออะไร วงจรการผลิตของอาชีพหลักในชุมชนเป็นอย่างไร ปัญหาจากการประกอบอาชีพ การทำมาหากินของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้นำศาสนา คณะกรรมการสภาจำนวน 50 คน นำเสนอข้อมูลปัญหาและความต้องการ ว่า หนี้สินที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ และร่วมกันหาแนวทางจัดการหนี้สิน
    • ได้ข้อมูลด้านโครงสร้างทางสังคมแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
    1. ด้านการศึกษา
    2. ด้านสุขภาพ
    3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    4. ด้านประเพณี วัฒนธรรมในการศึกษาชุมชน

     

    50 50

    24. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 5

    วันที่ 30 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานสภาจำนวน 28 คน
    2. เตรียมข้อมูลการประชุม
    3. เตรียมสถานที่ โรงอาหารโรงเรียนบ้านสือดัง คณะทำงานสภาจำนวน 28 คน เข้าร่วมการประชุม ณ โรงอาหารโรงเรียนบ้านสือดัง ตั้งแต่เวลา 19.30 น. หลังละหมาดรวมกันในช่วงกลางคืน (ละมาดอีซา) เพื่อพบปะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการประจำมัสยิดสือดัง ตัวแทน อสม. กลุ่มแกนนำเยาวชนจิตอาสา และประชาชน จำนวน 28 คน ประธานสภาได้เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ ช่วยกันประหยัดน้ำดื่ม น้ำใช้ เนื่องจากฝนทิ้งช่วงและเฝ้าระวังเหตุวาตภัยในพื้นที่ ขอความร่วมมือให้ประชาชนในพื้นที่คอยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังเหตุลักขโมยเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน และคณะกรรมการแต่ละฝ่ายรายงานผลการปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ที่ประชุมได้รับทราบ
    • ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ การสื่อสารภายในหมู่บ้านเกิดการขัดข้อง เนื่องจากเครื่องกระจายเสียงมีปัญหาทำให้การกระจายข่าวสารที่ผ่านมาไม่ทั่วถึงเท่าที่ควรแนวทางแก้ไขปัญหา ควรตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเครื่องขยายเสียงเป็นการเฉพาะ

     

    28 28

    25. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 1 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด มาทำการสอนอัลกุรอ่าน
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดัง เยาวชน ปราชณ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ ตัวแทนเทศบาลเตราะบอน ข้าราชการในพื้นที่ ผู้นำศาสนาจำนวน 80 คน โดยมีอิหม่านสอนการอ่านกุรอ่านซึ่งเป็นข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ณ.มัสยิดบ้านสือดังตั้งแต่ 19.30 ถึง 20.30

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความร่วมมือจากท่านอีมามประจำมัสยิด เป็นผู้นำในการอ่านนำกุรอ่าน แล้วให้ผู้เข้าร่วมอ่านตาม ใช้การอ่านบทซ้ำถึง 3 ครั้ง เพื่อย้ำความจำพร้อมความหมายของอัลกุรอ่าน ซึ่งเป็นบทบัญญัติแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันและวิถีการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข เช่น ความกตัญญต่อบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดและดูแลเราให้เราเป็นคนดีต่อสังคมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
    • สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ คือ ได้พบปะชาวบ้าน ได้พบคุยร่วมกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถือเป็นกิจกรรมที่ดี ที่ทำให้คนในชุมชนได้มาศึกษาเล่าเรียนร่วมกัน

     

    80 80

    26. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 8 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน หัวหน้าครอบครัว 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมฟังการบรรยายธรรมโดยอิหม่านประจำมัสยิด หลังละมาดวันศุกร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน หัวหน้าครอบครัว 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมฟังอิหม่านประจำมัสยิดอ่านสารจุฬารัฐมนตรี ในหัวข้อการอยู่ร่วมกันในสังคม 2 โลก (คือโลกนี้ และโลกหน้า) ที่อิสลามได้บัญญัติไว้ เช่น การปฎิบัติศาสนกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงกระทั่งเข้านอน และการดูแลครอบครัว โดยมีพ่อแม่เสมือนเป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกค่อยบ่มเพาะอบรมให้ลูกเจริญงอกงาม

     

    80 80

    27. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 6

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูลในการพูดคุย
    4. เตรียมสถานที่ โรงเรียนบ้านสือดังในการประชุมสภาครั้งที่ 6 ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและประชาชนในพื้นที่จำนวน 28 คน ที่โรงเรียนบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และประชาชนในพื้นที่จำนวน 28 คน ที่โรงเรียนบ้านสือดัง เริ่มการประชุมตังแต่เวลา 19.00 น ถึง 21.30 น. ประธานสภาผู้นำแจ้งเพื่อทราบ เรื่องแจกถุงยังชีพช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบความเดือดร้อน ปัญหาภัยแล้งทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพกรีดยางพารา เนื่องจากอากาศร้อนทำให้น้ำยางลดลงบวกกับราคายางตกต่ำ จึงเกิดความเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

     

    28 28

    28. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 15 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน หัวหน้าครอบครัว 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ฝึกการอ่านกุรอ่านโดยอิหม่านประจำมัสยิดเป็นผู้ฝึกสอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน หัวหน้าครอบครัว 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ฝึกการอ่านกุรอ่านโดยอิหม่านประจำมัสยิดเป็นผู้ฝึกสอน รูปแบบการสอน นั่งล้อมเป็นวงกลมแล้วอ่านบทอัลกุรอ่านตามท่านอีหม่านพร้อมทั้งได้อธิบายความหมายของอัลกุรอ่านในบทที่อ่านข้างต้นให้ทุกคนได้เข้าใจถึงแก่นแท้หลักการอิสลามและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การบริจาค เพื่อสาธารณะประโยชน์ ผู้ใดที่บริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์นั้น ผลบุญของการบริจาคนั้นเขาจะได้รับจนกระทั้งวันสิ้นโลก เสร็จแล้วสั่งให้ทุกคนยื่นเพื่อสรรเสริญท่านศาสดามูฮำหมัด ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในอิสลาม

     

    80 80

    29. เรียนรู้ความสัมพันธ์ของชุมชนเพื่อสร้างความเอกภาพของชุมชนด้วยเครื่องมือผังเครือญาติ ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานเจ้าหน้าที่ กศน.เป็นวิทยากร
    3. จัดเตรียมสถานที่ลานโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง
    4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมการทำแผนที่เดินดินผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน ชาย 25 คน หญิง 36 คน เยาวชน 9 คนจำนวน 70 คน เข้าร่วมให้ความคิดเห็นในการทำแผนที่เดินดินโดยมีเจ้าหน้าที่ กศน.เป็นวิทยากร ณ.ลานหน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในหมู่บ้าน ชาย 25 คน หญิง 36 คน เยาวชน 9 คนจำนวน 50 คน เข้าร่วมการทำแผนที่เดินดินบ้านสือดัง เจ้าหน้าที่กศน.อำเภอสายบุรีเป็นผู้จุดประกายในการนำกระบวนการที่ลานหน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 น รูปแบบการระดมความคิดเห็นด้วยวิธีการสอบถามผู้เข้าร่วมเกี่ยวข้อมูลหมูบ้าน ที่ตั้งของครอบครัวตามบ้านเลขที่ ถนนในชุมชนบ้านสือดัง สถานที่สำคัญๆเช่น โรงเรียน มัสยิด ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านโดยการวางกระดาษ วิทยากรวางถนนที่สายหลักในหมู่บ้านสือดัง ผู้ร่วมวางผังบ้านของตนเอง ทำให้เกิดแผนที่เดินดินจากความร่วมมือของคนในบ้านสือดังอีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้านต่อไป

     

    50 70

    30. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม ครั้งที่ 2

    วันที่ 19 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเตรีมคณะทำงานเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
    2. ประสานวิทยากรจากหน่วยงานเกษตร
    3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนบ้านสือดังเข้าร่วมกิจกรรม อาสาสมัคร แกนนำ หน่วยงานรัฐท้องถิ่น โดยวิทยากรจากหน่วยงานเกษตรเป็นผู้นำวิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนบ้านสือดังใช้สถานที่ลานโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อาสาสมัคร แกนนำ หน่วยงานรัฐท้องถิ่น จำนวน 130 คน เข้าร่วมในกิจกรรมวิเคราะห์และประมวนความต้องการของชุมชน โดยมีวิทยากร นาง คอลีเยาะ วามะ ได้เป็นวิทยากรการดำเนินกิจกรรม ณ หน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง ได้ให้มีการประชุมนำเสนอความต้องการในชุมชน ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้
    1. ชุมชนต้องการการสร้างอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการเคลือนไหว ออกกำลังกายและมีงานทำ
    2. ชุมชนต้องการแหล่งน้ำในการทำเกษตรหลังฤดูเกี่ยวข้าว
    3. ชุมชนต้องการเมล็ดพันธ์ข้าว เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการพลิตและปุ๋ยใช้เพื่อลดต้นทุนในการพลิต
    • คณะทำงานได้มองเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนบ้านสือดัง เนื่องจากเป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพเสริมนั้นมีความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน ในเรื่องการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การถากหญ้าการขุดดิและเกิดสังคมเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนเรี่ยนรู้เรื่องราวในการทำอาชีพเสริมของกันและกัน

     

    50 130

    31. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 5

    วันที่ 22 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานวิทยากรสอนอัลกุรอ่าน
    3. เตรียมสถานที่อาคารอเนกประสงค์บ้านสือดัง มีเด็กเยาวชน จำนวน 80 คน ฝึกการอ่านกุรอ่าน ณ อาคารอเนกประสงค์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การเรียนการสอนอัลกุรอ่านครั้งที่ 5 ซึ่งเยาวชน 20 คนเด็ก 30 คนประชาชนทั่วไป 30 คน ใช้วิทยากรในชุมชนที่มีความรู้การสอนอัลกุรอ่านทั้งหมดจำนวน 4 ท่าน ชาย 2 ท่านหญิง 2 ท่าน แต่ละท่านมีจิตอาสาในการสอนให้แก่เด็กและเยาวชนที่สนใจเข้าเรียนซึ่งจะเปิดสอนในวันที่ 22 เมษายน 2559 ณ อาคารอเนคประสงค์หน้ามัสยิดสือดัง เวลา19.45น.-20.15น. ในการเรียนการสอนในครั้งนี้สอนในเรื่องการอ่านอัลกุรอ่านและบทดูอาร์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น บทดุอาร์การกล่าวรับประทานอาหาร บทดุอาร์ขึ้นมัสยิดและวิธีการอาบน้ำละหมาดเพื่อใช้เป็นในการปฎิบัติศาสนกิจของเยาวชนตั้งแต่เยาววัยให้มีคุณภาพของสังคมและชุมชนต่อไป

     

    80 80

    32. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 6

    วันที่ 29 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. โดยบีหลาประจำมัสยิดเป็นผู้สอนอัลกุรอ่าน
    3. เตรียมสถานที่สุเหร่าบ้านสือดัง มีเยาวชน 20คน ผู้สูงอายุ ชาย 30 คน หญิง 30 คน จำนวน 80 คน ฝึกการอ่านกุรอ่าน ณ สุเหร่าบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน ผู้สูงอายุ ชาย 30 คน หญิง 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งที่ 6 วันที่ 29 เมษายน 2559 ได้จัด ณ สุเหร่าบ้านสือดัง เวลา 18.30-20.30 น. โดยมีบิลาล (กรรมการ) ประจำมัสยิดบ้านสือดัง ได้มีการสอนการอ่านอัลกุรอ่านให้ตรงตามอัคระ วิทยากรผู้สอนจะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอ่านบทตามวิทยากรจำนวน 3 ครั้ง หลังจากนั้นวิทยากรจะแปลความหมายเป็นภาษามลายู ซึ่งเดิมภาษาอัลกุรอ่านเป็นภาษาอาหรับทำให้ยากที่จะเข้าใจในความหมายบทที่อ่านนั้นเป็นบท วัลอัซร์ (ช่วงเวลาสาย) ซึ่งในความหมายเกี่ยวกับเรื่องของ คุณค่าของเวลาทุกเวลานาทีที่เราอยู่นั้นล่วงอยู่ในการขาดทุน เว้นแต่ผู้ศรัทธาแท้จริง เราประกอบความดีด้วยสุจริตใจ เราตักเตือนกันและกันในสัจะธรรมเพื่อดำรงความจริงไว้ เราตักเตือนกันและกันให้ดำรงขันติธรรมไว้ ผู้ได้ประพฤติได้เช่นนี้ผู้นั้นเป็นกัลยาณชนผลสำเร็งในชีวิตของตนและได้ความโปรดปราณจากอัลลอฮ

     

    80 80

    33. เรียนรู้ความสัมพันธ์ของชุมชนเพื่อสร้างความเอกภาพของชุมชนด้วยเครื่องมือผังเครือญาติ ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรีเป็นวิทยา
    3. จัดเตรียมสถานที่ลานโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง
    4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมการทำผังเครือญาติผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน ชาย 25 คน หญิง 36 คน เยาวชน 9 คน จำนวน 70 คน เข้าร่วมให้ความคิดเห็นในการทำผังเครื่อญาติโดยมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรีเป็นวิทยากร ณ.ลานหน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในหมู่บ้าน ชาย 25 คน หญิง 36 คน เยาวชน 9 คน จำนวน 70 คน ครูกศน.เป็นวิทยากรผังเครือญาติ คือ การถอดความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ หรือเชิงสายเลือดในชุมชนยังเครือญาติมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจชุมชนและสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบท เพราะเครือญาติเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานที่สุดของชีวิตครอบครัว และจะมีความเกี่ยวข้องกันไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว การทำผังเครือญาติจึงมีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชน
    • ปราชญ์ชาวบ้านได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านสือดังและคนยุคแรกจากนั้นท่านวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมบอกนามสกุลของคนในหมู่บ้านโดยวิทยากรได้คัดเลือกนามสกุลหลักที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านแล้วให้บอกชื่อบรรพบุรุษจนถึงชื่อบุคคลที่มีอยู่จริงในปัจจุบันจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำการเชื่อมโยงนามสกุลต่างๆทำให้ผู้เข้าประชุมเกิดความประหลาดใจในความสัมพันธ์ของชื่อสกุลกระทั้งเกิดความรักระหว่างพี่น้องที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันคือเครือญาติอย่างแท้จริง

     

    50 70

    34. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 7

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูลในการพูดคุย
    4. เตรียมสถานที่ ใต้อาคารโรงเรียนบ้านสือในการประชุมสภาครั้งที่ 7 ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและประชาชนในพื้นที่จำนวน 26 คน ที่โรงเรียนบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและประชาชนในพื้นที่จำนวน 28 คน เพื่อนัดวันทำกิจกรรมพัฒนาเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชนพร้อมฝึกการทำปุ่ยหมักและน้ำหมัก ณ โรงเรียนบ้านสือดัง 20.00 น. เป็นตั้นไป เพื่อต้องการให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและให้เยาวชนได้เชิญชวนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 17-18 พ.ค. 59 เวลา 09.00 น. ณ อาคารอเนคประสงค์หน้ามัสยิดบ้านสือดัง

     

    28 26

    35. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชนพร้อมฝึกการทำปุ่ยหมักและน้ำหมัก ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานสถานที่ ณ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด จ.พัทลุง
    3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมการกิจกรรมผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน โดยมีการคัดเลือกตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ที่มีความสนใจในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 60คน โดยแบ่งเป็น4 โซนๆละ15คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ณ. กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ตั้งแต่เวลา 9.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คัดเลือกตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ที่มีความสนใจในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 4 โซนๆละ 15 คน ไปเรียนรู้การจัดทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ณ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด จังหวัดพัทลุง เวลา 9.30 น. แล้วนำความรู้ที่ได้มามาร่วมแลกเปลี่ยน โดยขั้นตอนแรกในการจัดทำปุ๋ยหมักวิทยากรแนะนำให้มีการตรวจสอบดินหาแร่ธาตุดินในพื้นที่ เพื่อการจัดทำปุ๋ยหมักให้ได้แร่ธาตุในดินอย่างเหมาะสม โดยใช้กากปาล์มน้ำมันเป็นวัสดุในการทำปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วราดด้วยน้ำยูเรีย เสร็จแล้วคลุมด้วยพลาสติกสีดำเพื่อให้เกิดความชื้น โดยใช้ระยะเวลาหมัก ประมาณ 2 เดือน แล้วเปิดออกแบ่งใส่ถุงแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเพื่อทดสอบให้อาหารพืชเติบโตเร็ว ผลปรากฎ เป็นที่น่าพึ่งพอใจต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และก่อให้เกิดการลดต้นทุนในการเกษตร

     

    60 60

    36. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชนพร้อมฝึกการทำปุ่ยหมักและน้ำหมัก ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
    3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมการกิจกรรมผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน โดยมีการคัดเลือกตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ที่มีความสนใจในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 4 โซน ๆ ละ15คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ณ บ้านปราชญ์ชุมชนสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คัดเลือกตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ที่มีความสนใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 4 โซน ๆ ละ 15 คน โดยให้แต่ละโซนทั้ง 4 โซนจัดหาหอยเชอร์รี่ โซนละ 10 กิโลกรัม รวมทั้งหมด 40 กิโลกรัม ภายในหมู่บ้าน จากนั้นทำการบดหอยเชอร์รี่ให้ละเอียดแล้วใส่ลงในถังหมัก ขนาด 200 ลิตร ผสมกับน้ำตามด้วยกากน้ำตาลพร้อม EM ตามสัดส่วนที่วิทยากรได้กำหนดไว้ ตั้งแต่เวลา 9.30 น. โดยผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจในกิจกรรมและจะนำความรู้ที่ได้มานำไปถ่ายทอดแก่ผู้สนใจอื่นๆในพื้นที่ นำไปใช้ในครัวเรือนเป็นการลดต้นทุนในการทำเกษตรต่อไป

     

    60 60

    37. พัฒาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • โทรนัดหมายกับพี่เลี้ยง
    • รวบรวมเอกสารการเงินของกิจกรรมที่ทำผ่านมา ส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฎิบัติการจนสิ้นสุดโครงการพร้อมทั้งบันทึกข้อมูลลงเว็บไซด์ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้
    • เอกสารการเงินต้องแก้ไขทุกกิจกรรม เนื่องจากไม่ได้แนบสำเนาบัตรประชาชน

     

    3 1

    38. บูโบซูรอสุขภาพสัมพันธ์ตามวิถีมุสลิมเพื่อสุขภาพและส่งเสริมภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. จัดเตรียมสถานที่ลานโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง
    3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมบูโบซูรอสุขภาพสัมพันธ์ตามวิถีมุสลิมเพื่อสุขภาพและส่งเสริมภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้านบ้านตัวแทนชาวบ้านในชุมชน อาทิ ผู้สูงอายุ เยาวชน กลุ่มสตรี เด็ก จำนวนทั้งหมด 150 คน เข้าร่วมกวนบูโบซูรอในครั้งนี้ ณ.ลานหน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนชาวบ้านในชุมชน อาทิ ผู้สูงอายุ เยาวชน กลุ่มสตรี เด็ก จำนวนทั้งหมด 150 คน โดยให้แต่ละโซนได้จัดเตรียมอุปกรณ์จัดทำบูโบซูรอ เตาไฟ ไม้ฟืน วัตถุดิบในการทำบูโบซูรอ ณ ลานหน้าโรงเรียนตาดีกาบ้านสือดัง เวลา 9.30 น. ได้จัดการแข่งขันประกวดหัวข้อบูโบซูรออาหารสุขภาพ โซนละ 1 กระทะ รายละเอียดในการให้คะแนน ความสะอาดอร่อยถูกหลักสุขภาพเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ปรุงเสร็จตรงต่อเวลาที่กำหนด ผลที่เกิดขึ้นโซนทิศตะวันตกได้รับชัยชนะในการเข้าประกวดบูโบซูรอในครั้งนี้

     

    200 150

    39. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ณ กูโบร์บูเกะซีเร็ง (สุสาน) บ้านสือดัง ผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนจำนวน 15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 8 คน แกนนำประชาชน 50 คนรวม 73 คน ณ บูเกะซีเร็ง บ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเยาวชนจำนวน15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 8 คน แกนนำประชาชน 50 คน รวม 73 คน ได้ออกมาร่วมพัฒนากูโบร์บูเกะซีเรง ตามเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งได้นำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆของตนเอง เช่น จอบ เครืองตัดหญ้า คราบ เพื่อทำความสะอาดกูโบร์ โดยมีการแบ่งโซนการทำงานบริเวณกูโบร์ได้เป็น 2 ส่วน ส่วนชั้นนอกกูโบร์และส่วนชั้นในกูโบร์ แต่ละส่วนได้แต่งตั้งหัวหน้าชุดในการรับผิดชอบ เพื่อให้เสร็จตรงต่อเวลาที่กำหนดและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในการทำงานและเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุ

     

    75 73

    40. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 7

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด 3 เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน ตัวแทนหน่วยภาครัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมการฟังบรรมยายธรรมในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน ตัวแทนหน่วยภาครัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน โดยผู้นำศาสนาประจำมัสยิดได้บรรยายธรรม ณ มัสยิดบ้านสือดัง เวลา 12.00 น. ในหัวข้อการเป็นคนมือบนดีกว่ามือล่างให้กับคนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่แบ่งปันในเรื่องกำลังแรง กำลังทรัพย์ในกิจกรรมของส่วนรวมที่เป็นสาธารณะประโยชน์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างให้ความสนใจในประเด็นหัวข้อดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมได้ตระหนักถึงคุณค่าของการให้โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน

     

    80 80

    41. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 8

    วันที่ 17 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน ตัวแทนหน่วยภาครัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมการฟังบรรมยายธรรมในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน หัวหน้าครอบครัว 30 คน ผู้สูงอายุ 30 โดยมีวิทยากรผู้บรรยายธรรม นายซาการียา บากา ณ มัสยิดบ้านสือดังเวลา 12.30 น. ซึ่งได้บรรยายหัวข้อ หลักการศรัทธาในอัลลอฮ ซึ่งได้ยิบยกอายัตกุรซีร์ ซูเราะห์อัลบากอเราะห์ (บทสอนอัลกุรอ่าน) ซึ่งให้ความหมายได้ว่า อัลลอฮฺคือผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารด้วยพระองค์เอง ความง่วงและการนอนหลับจะไม่ครอบงำพระองค์ ทุกสิ่งในฟากฟ้าและทุกสิ่งในผืนดินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ผู้ใดเล่าจะให้ความช่วยเหลือใดๆ ณ พระองค์ได้นอกจากด้วยความเห็นชอบจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าพวกเขาและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ครอบคลุมถึงความรู้ใดๆจากพระองค์ได้เลยนอกจากเท่าที่พระองค์ทรงประสงค์ กุรซีของพระองค์กว้างใหญ่ไพศาลเทียมฟากฟ้าและผืนดิน และการดูแลมันทั้งสอง(ฟากฟ้าและผืนดิน)มิได้ทำให้พระองค์ทรงลำบากเลย และพระองค์คือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ได้เข้าใจในพระธรรมและได้รู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮจึงทำให้รู้สึกว่าเราคือ มนุษย์ของพระองค์ที่สร้างขึ้นมานั้นเองและได้สำนึกถึงความต้อยต่ำทำให้เกิดไม่มีความยิ่งยโสต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

     

    80 80

    42. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 9

    วันที่ 24 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน ตัวแทนหน่วยภาครัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมการฟังบรรมยายธรรมในครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คนและหน่วยงานภาครัฐ 20 คน โดยมีวิทยากรผู้บรรยายธรรมประจำวันศูกร์ครั้งที่ 9 ณ มัสยิดบ้านสือดัง เวลา 12.30 น.บรรยายโดย อีมามประจำมัสยิด นายอัดนาน ยามา เป็นผู้บรรยาย หัวข้อการบรรยายจิตใจอิคลาส ซึ่งมีบทหนึ่งของการบรรยายได้กล่าวว่า การทำงานของเรานั้นเนียต (การตั้งเจตนาเพื่ออัลลอฮ) นั้นสำคัญพระผู้เป็นเจ้ามอบการงานตามสั่งที่เราประสงค์ด้วยความแนบแน่น มุ่งมั่น พยายามตามเนียตของเรา มุสลิมนั้นเป็นบุคคลของโลกตายแล้วจะต้องสืบสวนสอบสวนผลงานในโลกดุนยาก่อนที่จะส่งไปสวรรค์หรือนรก หากดุนยา (โลกนี้) มีผลงานดีประพฤติปฎิบัติการงานที่จิตใจบริสุทธิผลตอบแทนก็จะงดงาม การบรรยายธรรมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตะหนักถึงการมีจิตใจที่บริสุทธิต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสังคมพัฒนาจิตใจคนให้สูงส่ง

     

    80 80

    43. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 10

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประสานอิหม่านประจำมัสยิด
    3. เตรียมสถานที่มัสยิดบ้านสือดังเยาวชน 20 คน ตัวแทนหน่วยภาครัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน จำนวน 80 คน ร่วมการฟังบรรมยายธรรมในครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 20 คน หน่วยงานรัฐ 30 คน ผู้สูงอายุ 30 คน โดยมีวิทยากรผู้บรรยายธรรมประจำวันศูกร์ครั้งที่ 9 บรรยายโดย นายเซะ ยามา ณ มัสยิดบ้านสือดัง เวลา 12.30 น. ซึ่งเป็นผู้บรรยายธรรมในหัวข้อ ครอบครัวเป็นสุข ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่ผลิตคนสู่ชุมชน/สังคม อย่างแท้จริง ผู้ที่เป็นพ่อแม่คือแบบอย่างของลูกในการประพฤติปฎิบัติงาน พ่อแม่เป็นคนมีอามานะ ลูกของตนเกิดมาก็จะเป็นคนมีอามานะ พ่อแม่ไม่มีอามานะ ลูกก็จะไม่มีอามานะ ฉะนั้นพ่อแม่คือแบบแปลงที่สำคัญ มีนายอุสมาน อามิง ได้สักถามถึงเรื่องการดูแลสุขภาพของ ท่านเซะ ยามา ซึ่งท่านมีอายุ 74 ปี ท่านเป็นคนมีสุขภาพแข็งแรงท่านดูแลสุขภาพอย่างไร ท่านเซะ ยามา ได้กล่าวว่าเราต้องค่อยรู้ว่าอายุเท่าไรและเราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราจะอยู่บนโลกนั้สักกี่ปีเท่านี้เราก็มีคำตอบในเรื่องสุขภาพให้กับตัวเองแล้ว ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองโดยไม่ต้องมีใครค่อยชักจูง

     

    80 80

    44. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้ง 8

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูลในการพูดคุย
    4. เตรียมสถานที่ ใต้อาคารโรงเรียนบ้านสือในการประชุมสภาครั้งที่ 8 โดยมีผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและประชาชนในพื้นที่จำนวน 28 คน ที่โรงเรียนบ้านสือดัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานทหารในพื้นที่ เกษตร พัฒนาชุมชน เจ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและประชาชนในพื้นที่จำนวน 28 คนได้ร่วมฟังการประชุมในครั้งนี้ ณ โรงเรียนบ้านสือดัง เวลา 9.30 น.โดยมี นายฮาฏอรอมี สะตา ประธานโครงการได้กล่าวพิธีเปิดประชุมและได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
    • ระเบียบที่ 1 ประธานแล้วให้ทราบ เรื่องที่ 1 การรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านเป็นเรื่องของทุกคนในชุมชนต้องช่วยกันดูแล ผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นกำลังหลักในการทำงานจึงจะเกิดความสงบเรียบร้อยในชุมชน เรื่องที่ 2 การให้สนับสนุนปัจจัยในการทำนาข้าวนาปี ทางหมู่บ้านสือดังได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธ์จากสำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรี จำนวน 20 กระสอบ เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในชุมชนตามรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ เรื่องที่ 3 กองทุนหมู่บ้านสือดังได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มทุนระยะที่ 3 จำนวนเงิน 1,000,000 บาท แล้วในโครงการประชารัฐ
    • ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานประชุมรับรอง
    • ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา ดังนี้

    3.1การเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ประธานที่ประชุมได้ให้มีการประชุมเสนอแนวทางในการรับสมัครสมาชิก ใด้มีผู้เข้าร่วมประชุม นายมะรูดีน ดาโอะ ได้เสนอให้มีการจัดเก็บค่าสมัครเป็นเงิน 200 บาท 100 บาท เป็นค่าหุ้น 50 บาทเป็นเงินออมอีก 50 บาท เป็นเงินค่าสมัคร ซึ่งมติที่ประชุมเห็นชอบ

    3.2การจัดงานมอบเมล็ดพันธ์ข้าวให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว นางมาซีเราะ สือนิ ได้เสนอต่อที่ประชุมให้จัดกิจกรรมมอบเมล็ดพันธ์เป็นเวลาในช่วง 09.00 น. เพื่อหลีกเลี่ยงจากการละหมาดวันศุกร์ เพราะเป็นวันที่ทุกคนในชุมชนใช้เป็นวันหยุด มติที่ประชุมเห็นชอบ ให้มีการจัดงานกิจกรรมมอบเมล็ดพันธ์ในวันพฤหัสบดี ที่14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.30น. ณ ลานมัสยิดบ้านสือดัง

     

    28 28

    45. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 9

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูลในการพูดคุย
    4. เตรียมสถานที่ ใต้อาคารโรงเรียนบ้านสือในการประชุมสภาครั้งที่ 9 คณะกรรมสภา/คณะกรรมหมู่บ้าน จำนวน 28 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมสภา/คณะกรรมหมู่บ้าน จำนวน 28 คน ได้เข้าร่วมเสาวนาร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ ณ ใต้อาคารโรงเรียนบ้านสือดัง เวลา 19.30 น. ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และให้เจ้าหน้าที่การเงินรายงายรายละเอียดการเงินที่จ่ายไปทำไหรคงเหลือเท่าไหร ให้กับสภาผู้นำรับรู้
    • คณะสภาผู้นำเสนอให้คณะทำงานทุกฝ่ายรับรู้ถึงปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้แก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกัน โดยกำหนดให้คณะกรรมการดูแลรับผิดชอบเงินโครงการจัดทำเอกสารให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมไปให้พี่เลี้ยงดู

     

    28 28

    46. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ณ กูโบบูเกะซีเร็งบ้านสือดัง ผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนจำนวน15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 8 คน แกนนำประชาชน 50 คนรวม 73 คน ณ บูเกะซีเร็ง บ้านสือดังตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเยาวชนจำนวน15 คนกลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 8 คน แกนนำประชาชน 50 คน รวม 73 คน ได้ออกมาร่วมพัฒนากูโบร์บูเกะซีเรงตามเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งได้นำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆของตนเอง เช่น จอบ เครืองตัดหญ้า คราบ เพื่อทำความสะอาดกูโบร์ โดยมีการแบ่งโซนการทำงานบริเวณกูโบร์ได้เป็น 2 ส่วน ส่วนชั้นนอกกูโบร์และส่วนชั้นในกูโบร์ แต่ละส่วนได้แต่งตั้งหัวหน้าชุดในการรับผิดชอบ เพื่อให้เสร็จตรงต่อเวลาที่กำหนดและเป็นการ ทำให้เยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างไปในทางที่ดี ลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับคนชุมชนให้มีความคิดที่ดีต่อกันเยาวชนและประชาชนเกิดการรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียวจากการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มประชาชนในหมู่บ้านให้มีความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน

     

    73 73

    47. ปรึกษาพี่เลี้ยง

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2016 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • โทรนัดหมายกับพี่เลี้ยง
    • รวบรวมเอกสารในการส่งตรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงกัลยา เอี้ยวสกุล ได้แนะนำเรื่องการพิมพ์งานรายงานผลการดำเนินงานในเว็ปไซด์ของ สสส. และได้ตรวจงบการเงินพร้อมทั้งแนะนำเอกสารการเงินใบสำคัญรับเงิน ค่าอาหาร และวิทยากร

     

    3 2

    48. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 10

    วันที่ 5 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูลในการพูดคุย
    4. เตรียมสถานที่ สำนักงานผู้ใหญ่บ้าน บ้านสือดัง ในการประชุมสภาครั้งที่10 คณะกรรมสภา/คณะกรรมหมู่บ้าน จำนวน 28 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมสภา/คณะกรรมการหมู่บ้านมาประชุมที่สำนักงานผู้ใหญ่บ้านพร้อมเพรียงกัน เวลา 9.30 น. และได้เริ่มเปิดการประชุมโดยผู้ใหญ่บ้านชี้แจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกแจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป หลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป หลังจากนั้นท่านประธานได้มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายไปจัดการ หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำของภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี ได้ผูดคุยเรื่องสถาณะการณ์ปัจจุบัญที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน หลังจากนั้นสมาชิกได้แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้านต่อไป
    • คณะทำงานตามโครงการให้ชี้แจ้งงบประมาณจากสสส.ตลอดโครงการจำนวน 180,025บาทโดยงวดแรก สสส.โอน 72,010 บาท งวดที่ 2 สสส.โอน 90,015 บาท แต่การดำเนินเสร็จโครงการในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 คงเหลืองบประมาณในการดำเนินงวดที่ 3 จำนวน 18,000 บาท การดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 2 และ 3 ต้องรายปิดโครงการจึงจำเป็นต้องสำรองจ่ายเพื่อจัดทำเอกสารทางการเงินไปให้พี่เลี้งตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่ไปให้ทาง สจรส.ตรวจสอบต่อไป

     

    28 28

    49. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ณ บริเวณถนนสองข้างทางภายในหมู่บ้านสือดัง ผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนจำนวน 15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10 คน แกนนำประชาชน 50 คน รวม 75 คน ณ บริเวณถนนสองข้างทางภายในหมู่บ้านสือดัง ตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนจำนวน 15 คน กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10 คน แกนนำประชาชน 50 คนรวม 75 คน ได้ร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการร่วมทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน ณ บริเวณริมถนนสองข้างทางภายในหมู่บ้านสือดัง ตั้งแต่เวลา 9.30 น. เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดการใช้เวลาว่างไปในทางที่ดี ลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับคนในชุมชนให้มีความคิดที่ดีต่อกัน เยาวชนและประชาชนเกิดการรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียวจากการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มประชาชนในหมู่บ้านให้มีความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

     

    75 75

    50. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล/สรุปโครงการ

    วันที่ 5 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    2. จัดเตรียมสถานที่ลานมัสยิดบ้านสือดัง
    3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล/สรุปโครงการ ผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้านบ้าน 4.คณะกรรมการตามโครงการจำนวน 8 คน สภาผู้นำ(อาซูรอเบอร์ซาตู)จำนวน 35 คน แกนนำชุมชนจำนวน 20 คน และภาคีเครือข่ายภาครัฐจำนวน 10 คนรวม 73 คน เข้าร่วมรับฟังกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล/สรุปโครงการ ณ.ลานหน้ามัสยิดบ้านสือดัง ตั้งแต่เวลา 9.30 เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการตามโครงการจำนวน 8 คน สภาผู้นำ(อาซูรอเบอร์ซาตู) จำนวน 35 คน แกนนำชุมชนจำนวน 20 คน และภาคีเครือข่ายภาครัฐจำนวน 10 คนรวม 73 คนเข้าร่วมรับฟังพิธีเปิดเวทีกิจกรรม ณ ลามมัสยิดบ้านสือดัง เวลา 9.30 น. แล้วได้เชิญ เด็กชายอาลีฟ แปะอิง ได้อ่านบทคำภีอัลกุรอ่าน ต่อด้วย นายฮาฏอรอมี สะตา ประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พร้อมทั้งได้รายงานผลการดำเนินงานของ โครงการสือดังเบอร์ซาตู(ร่วมเป็นหนึ่ง) ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ จากนั้นได้ดำเนินการสักถามประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ว่าท่านได้อะไรจากการดำเนินงาน โครงการสือดังเบร์ซาตู(ร่วมเป็นหนึ่ง) นางดอรีเยาะ อามิง ได้บอกความรู้สึกของตนเองและครอบครัวจาก โครงการสือดังเบอร์ซาตู(ร่วมเป็นหนึ่ง) เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเครื่อญาติได้เกิดมีความสนิดสนมมีความรักมากขึ้น ได้ส่งมอบอาหารสิ่งของต่างๆระหว่างกันและกัน นางมารีแย สาเหาะ ได้บรรยายความรู้สึกของตนเองว่าชุมชนของเราได้ปรับปรุงโครงสร้างกองทุนหมู่บ้านใหม่ หลังได้หยุดเป็นระยะเวลา 15 ปี เพราะโครงการสือดังเบอร์ซาตูเป็นตัวขับเคลือนและได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ 3 จำนวนเงิน 1,000,000 บาท โครงการสือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง) ได้สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเดิมภายใต้การดำเนินงานในโครงการที่ผ่านมาได้สร้างความรู้สึกดีๆ ให้คนในชุมชนต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายต่างๆได้อย่างสมดุล

     

    73 73

    51. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อแจ้งการเข้าร่วมงานสร้างสุขคนใต้ที่หอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่และสมัครผู้เข้าร่วม 1ท่าน
    2. ประสานที่พักคืนวันที่ 3-4ตุลาคม 2559 3.เข้าร่วมงานสร้างสุขคนใต้วันที่ 3-5 ตุลาคม2559ตั้งแต่เวลา 13.00นผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานจำนวน 2ท่านเข้าร่วมงานสร้างสุขคนใต้อที่หอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการร่วมงานสร้างสุขภาค ตั้งแต่วันที่ 3-5 ตุลาคม2559 ณหอประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่เริ่มงานวันที่ 3 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 13.00 น เป็นต้นไป บรรยาการศในงานสร้างสุขภาคใต้ประกอบด้วยนิทรรศการจากโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 14 จังหวัด และนิทศรรการเครือข่ายเช่น สสส. สปสช. กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ปัจจัยเสี่ยง ฯ ทำให้เห็นผลงานมีการแลกเปลี่ยนประเด็นความสำเร็จ ส่วนวันที่ 4 ตุลาคมซึ่งเป็นงานวันที่ 2 มีห้องแต่ละประเด็น เช่น ห้องชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ห้องกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ห้องเยาวชน ห้องปัจจัยเสี่ยงเป็นต้น ส่วนห้องชุมชนท้องน่าอยู่ในห้องมีการเสวนาแลกเปลี่ยนพื้นที่ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและทิศทางในการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในปีต่อไป

     

    2 2

    52. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงินจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่มและล้างรูปกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำเอกสาร 10 เล่ม และล้างรูปกิจกรรมในการปิดโครงการ

     

    2 2

    53. ทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 11 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดพื้เลี้ยงโครงการเพื่อจัดทำเอกสาร
    2. รวบรวมเอกสารรายงานการเงินสรุปปิดโครงการผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน
    3. นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานและการเงินที่ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดปัตตานีตั้งแต่เวลา 10.30 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานและการเงินที่ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดปัตตานีตั้งแต่เวลา 10.30 น ผลจากการตรวจเอกสารรายงานและการเงินสามารถปิดโครงการได้

     

    1 2

    54. ปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นัดพี่เลี้ยงร่วมกับ สจรส.ตรวจเอกสารรายงานการเงิน ปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอโครงการสามารถปิดเอกสารโครงการส่งงาน สสส.ได้

     

    3 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อหมู่บ้านมีข้อมูลที่ถูกต้องครบทั้ง 4ด้านเพื่อใช่ในการพัฒนาชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนร้อยละ 80 มีข้อมูลพื้นฐานทั้ง 4ด้าน คือ 2.สุขภาพ 2.สังคม 3.วัฒนธรรม 4. เศรษฐกิจ

    การรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆเช่น สำนักงานการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษานอกระบบ สำนักงานเกษตรอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในหมู่บ้านมาวิเคราะห์รวมกันกับประชาชนในชุมชน

    2 2. หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ
    ตัวชี้วัด : 1. มีแบบสำรวจพื้นฐานทั้ง 4 ด้านคือ สุขภาพ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ข้อมูลของชุมชนจำนวน 130 ชุด 2. ประชาชน130 ครัวเรื่อนมีแผนและกติกาชุมชน

    การรวบรวมข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชนจัดทำแบบสำรวจพื้นฐาน 130 ชุด มีอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลจำนวน 4 คน ประชาชน130ครัวเรือนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม

    3 3.สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิด 2กลุ่มเครือข่ายพัฒนาชุมชน กลุ่มเครือข่ายคณะกรรมการ 4เสาหลัก จำนวน 28 คนกลุ่มเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์ชุมชน จำนวน 25 คน รวม 53 คน

    เกิดกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 2กลุ่ม จำนวน 53 คน ร่วมปฎิบัติการพัฒนาชุมชน เช่นการทำความสะอาดมัสยิดทุกๆวันศุกร์ของสัปดาห์ๆละ 1ครั้ง

    4 4. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหน ตลอดถึงปลูกฝังวัฒนธรรมและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน 73 คน 2. 1ศูนย์เรียนรู้วิถีมุสลิมชุมชนบ้านสือดัง

    มีผู้เข้าร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านจำนวน 73คน ปฎิบัติการดูแลความปลอดภัยทุกๆเดือน

    5 5. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเครือข่ายมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลของกิจกรรม จำนวน 20 คน เดือนละ 1 ครั้ง

    การประชุมสภาเดือนละ 1ครั้ง เป็นการแลกเปลี่ยน ติดตามประเมินผลโครงการเพื่อปรับแผนปฎิบัติการโครงการ

    6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกๆกิจกรรมให้ความร่วมมือ ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้าย ตลอดโครงการ
    3. มีการบันทึกภาพกิจกรรมทุกๆกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมา
    4. มีการบันทึกจัดทำรายงาน ส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อหมู่บ้านมีข้อมูลที่ถูกต้องครบทั้ง 4ด้านเพื่อใช่ในการพัฒนาชุมชน (2) 2. หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ (3) 3.สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในชุมชน (4) 4. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหน ตลอดถึงปลูกฝังวัฒนธรรมและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชน (5) 5. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน (6) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

    รหัสโครงการ 58-03806 รหัสสัญญา 58-00-2210 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การประชุมสภาผู้นำในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ปัญกาและหาแนวทางแก้ไข

    การประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1ครั้ง

    การนำรูปการประชุมสภาผู้นำไปใช้แทนเวทีประชาคมหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    การเกิดกลุ่มยุวจิตอาสาพัฒนาชุมชน

    กลุ่มยุวจิตอาสาพัฒนาชุมชนจำนวน73คน

    กลุ่มยุวจิตอาสาพัฒนาชุมชนจัดตั้งโครงสร้างแกนนำอาสาพัฒนาชุมชนในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การทำสวน ทำนา ทำไร่ปลูกผักบริโภคในชุมชนปลอดสารเคมี

    กลุ่มประชาชนจำนวน150คนมีส่วนร่วมในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

    การลดต้นทุนการผลิตจากปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่

    ภาพถ่ายกิจกรรมตลอดโครงการไม่มีผู้เข้ากิจกรรมสูบบุหรี่

    การรณรงค์พื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การระดมข้อมูลในการจัดทำผังเครือญาติ

    ผังเครือญาติบ้านสือดัง

    การนำผังเครือญาติจากความร่วมมือของคนในชุมชนบ้านสือดังในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การลดใช้ปุ๋ยเดมีในการด้านการเกษตร

    กลุ่มทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ

    สนับสนุนให้คนในชุมชนปลูกผักไม่ใช้สารเคมี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและคนในชุมชน

    การเกิดกลุ่มยุวจิตอาสาพัฒนาชุมชนในการทำงานร่วมกับคนในชุมชน

    การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนโดยการรับสมัคมยุวจิตอาสาเพิ่มให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    กุ๋ารจัดทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยใช้วิทยากรจากศูนย์การศึกษาฯและเกษตรตำบล

    การฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

    การสนับกลุ่มต่างๆในชุมชนเช่นกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชนได้รับการฝึกอบรมตามความต้องการเป็นการเพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การเขียนโครงการสือดังเบอร์ซาตูเริ่มกระบวนการจากการวิเคราะห์ปัญหา การค้นหาประเด็น การแก้ไขปัญา การวางแผนการดำเนินการและการกำหนดแผนปฏิบัตการ

    โครงการสือดังเบอซาตู

    การนำผลการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาของชุมชนจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นการไขปัญหาตรงกับความต้องการของคนในชุมชนและแก้ปัญหาตรงกับความต้องนำมาสู่การจัดทำแผนชุมชนได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การระดมทุนคนในการวิเคราะห์ปัญหาและเขียนเป็นแผนงานโครงการ

    โครงสร้างคณะทำงานสือดังเบอซาตูจำนวน6คน

    การใช้ทุนทางสังคมแก้ไขปัญหาของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การใช้สภาผู้นำในการแก้ปัญหาของชุมชนและตวามต้องการของชุมชนในการจัดทำแผนงาน

    การประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1ครั้ง

    การใช้สภาผู้นำในการจัดทำแผนชมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การจัดทำแผนปฏิบัติการเริ่มต้องจากการวางแผนเพื่อการลงพื้นที่ปฏิบัติการด้วยคณะทำงานเป็นผู้ดำเนินการเมื่อมีการเปิดโครงการและนำเสนอแผนปฏิบัติการโครงการต่อคนในชุมชนสือดังมีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตเช่นการประชุมสภาแต่ละครั้งขอมติจากคณะกรรมการในการเสนอช่วงเวลาประชุม

    ปฏิทินบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข

    การวางแผนปฏิบัติจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และวิถีชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    การจัดทำผังเครือญาติโดยคนในชุมชนร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอข้อมูล

    ผังเครือญาติ

    การเชื่อมความสัมพันธ์ความเป็นเครือญาติในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การจัดตั้งกลุมยุวจิตอาสาพัฒนาชุมชนเป็นกลุ่มอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน

    กลุ่มจิตอาสาจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในการทำความสะอาดมัสยิด

    การพัฒนาคนในชุมชนบ้านสือดังให้มีจิตอาสาที่ทำงานเพื่อส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การทำขนมบูโบอาซูรอทำให้คนในชุมชนบ้านสือดังรู้จักการช่วยเหลือและแบ่งปัน

    การฟื้นฟูประเพณีการกวนขนมบูโบอาซูรอ

    การฟื้นฟูประเพณีการกวนขนมบูโบอาซูร็นประเพณีของชุมชนสือดังตลอดไเป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง) จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 58-03806

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ฮาฎอรอมี สะตา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด