แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก ”

บ้านกะลาพอตก ม. 8 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นาย มะรอบี ยามิง

ชื่อโครงการ กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

ที่อยู่ บ้านกะลาพอตก ม. 8 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03798 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2214

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านกะลาพอตก ม. 8 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก



บทคัดย่อ

โครงการ " กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านกะลาพอตก ม. 8 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี รหัสโครงการ 58-03798 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,975.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 684 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบของสภาผู้นำ (สภากองปังสร้างสุข)
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว
  3. เพื่อการวางแผนด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวและจัดทำแผนปฏิบัติการ
  4. เพืื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวโดยใช้ศิลปะกองปังชุมชน
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดหมายผู้ที่จะเข้าร่วมไปประชุม
    • จัดเตรียมอุปกรณ์ เอกสาร ต่างๆ
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มาโครงการและวัตถุประสงค์ร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการการบันทึกข้อมูลลงเว็บไซต์/การบันทึกกิจกรรมปฎิทิน/การจัดทำรายงานและรับฟังคำชี้แจงของทีม สจรส.ม.อ.ต่อการจัดทำโครงการ
    • สรุปกิจกรรมและแลกเปลี่ยนข้อสงสัยร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกปฏิบัติการ ดังนี้

    • การบันทึกข้อมูลลงเว็บไซต์ ทำให้เข้าใจว่า ข้อมูลรายละเอียดในสัญญาโครงการต้องตรงกับข้อมูลในเวบไซต์
    • การบันทึกกิจกรรมปฎิทิน สามารถวางแผนกิจกรรมและลงในเวบไซต์ได้เสร็จทุกกิจกรรม
    • การจัดทำรายงานและรับฟังคำชี้แจง ได้เรียนรู้การเขียนรายงานกิจกรรม จากการฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการในเวที
    • การจัดทำรายงานทางการเงิน ทาง สจรส.ได้อธิบายการเขียนเอกสารใบเสร็จ โดยยกตัวอย่างกิจกรรมปฐมนิเทศ

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ในพื้นที

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี ที่ร้านอัลซอบรูน ฟรีแลนซ์ ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จังหวัดปัตตานี
    • กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จะนำป้ายไปติดเพื่อเป็นเขตปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังจากได้ทำการติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

    • มีพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ 2 พื้นที่ คือ บาราเซาะ (สถานที่ละมาดสาธารณะ) และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านเตาะบอน
    • คนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะงดการสูบบุหรี่ในสถานที่เขตปลอดบุหรี่ เกิดจิตสำนึกเรื่องของการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

     

    150 150

    3. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ ได้ชี้แจงโครงการหมู่บ้าน 5 ล้าน ให้กับคนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกับโครงการกองปังสร้างสุข ในการร่วมทำกิจกรรม และมีคณะกรรมการชุดเเดียวกับโครงการที่จะบริหารงานร่วมกัน
    2. สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมทีมเครือข่าย ได้ข้อตกลงร่วมกันว่า งบโครงการหมู่บ้าน 5 ล้าน จะจัดซื้อพันธุ์วัวให้กับคนในชุมชน เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในพื้นที่
    • ทีมคณะกรรมการได้วางแผนการจัดทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการที่จะจัดกิจกรรมในเดือนถัดไป

     

    59 20

    4. ซักซ้อมความเข้าใจในการทำโครงการกองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ และบอกเล่ารายละเอียดโครงการให้รับทราบ เพื่อวางแผนและเตรียมการทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ คือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คณะทำงานที่พร้อมจะปฎิบัติงานตามโครงการ ได้เกิดแผนงานการกำหนดกิจกรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้คณะกรรมการ และรับทราบถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงาน ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ ดังนี้

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ รับผิดชอบเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน
    • อสม.ได้รับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวัน
    • คณะผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบเรื่องจัดเตรียมสถานที่
    • ตัวแทนเยาวชน รับลงทะเบียน
    • บัณฑิตอาสา ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลในระหว่างการจัดประชุม

     

    8 8

    5. ประชาสัมพันธ์โครงการและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาในการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน(สภากอปังสร้างสุข)

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การเตรียมงานและการวางแผนในการจัดกิจกรรม/การจัดลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรม
    • ประสานนัดพี่เลี้ยงโครงการและบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
    • จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและปฎิทินกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งให้ประชาชนรับทราบ
    • เตรียมอุปกรณ์ต่างๆและใบลงทะเบียนใช้ในการจัดกิจกรรม
    • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งรายละเอียดโครงการเกี่ยวกับโครงการ ได้มีการแสดงโชว์ อนาซีด กองปัง ของเยาวชนในหมู่บ้าน บ้านกะลาพอตก
    • ให้พี่เลี้ยงเสนอที่มา ขั้นตอนต่างๆของโครงการ
    • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความร่วมมือในการทำโครงการกันระหว่างคณะกรรมการสภาผู้นำ และแกนนำในหมู่บ้าน โดยท่านกำนัน ตำบลเตราะบอน ได้มาเปิดงานประชาสัมพันธ์โครงการกองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตกและท่านกำนันตำบลเตราะบอนได้พบปะกับพี่น้องและได้ให้แนวคิดในการดำเนินการว่าให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่เราวางไว้ และท่านรับปากจะให้ความร่วมมือและจะให้การสนับสนุนกิจกรรมของโครงการในครั้งหน้าเพื่อความสุขของชุมชน และยินดีให้ความช่วยเหลือในด้านกิจกรรมอื่นๆ ที่พอจะให้การสนับสนุนได้ ในครั้งต่อไป หลังจากนั้น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านกะลาพอตก ได้พูดคุยกับประชาชนเกี่ยวกับโครงการที่จะมีขึ้นในหมู่บ้าน บ้านกะลาพอตกหลังจากนั้น หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมอำเภอสายบุรี ได้มาพูดคุยกับผู้เข้ารวมเกี่ยวกับฝ่ายวัฒนธรรมอำเภอว่าทำงานเกี่ยวกับด้านอะไรและสามารถช่วยเหลือทางด้านใด ได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารวมได้เข้าใจกับงานฝ่ายวัฒนธรรม แล้วยังให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ
    • พี่เลี้ยงโครงการมาถึงบริเวณพิธี เพื่อมามาเปิดโครงการกอปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก พร้อมกับชี้แจ้งโครงการให้กับประชาชนที่เข้าร่วมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ และบอกถึงที่มาของงบประมาณและการสนับสนุนจาก สสส.ให้กับโครงการ และวิธีการดำเนินงานของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นและการสิ้นสุดโครงการของ สสส. ทำให้ผู้มาร่วมงานเข้าใจกระบวนการจัดทำโครงการ

     

    150 170

    6. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 น.จัดประชุมคณะทำงานโครงการ โดยมีผู้ใหญ่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 2 เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการดำเนินงาน ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งจากการแบ่งหน้าที่กันทำงาน รับผิดชอบงาน และให้คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็น ความต้องการต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการประชุมทำให้มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนผู้ใหญ่บ้าน และได้นำเรื่องโครงการต่างๆจะเกิดขึ้นหมู่บ้านแจ้งให้คณะกรรมการสภาทราบ คือ เรื่องโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน ตำบล 5 ล้านบ้าน ทำให้ประชาชนมีความสนใจที่จะเสนอโครงการเลียงวัวขุน เพื่อสร้างอาชีพ และเรื่องของการจัดกิจกรรมทางศาสนา คือ การกวนอาซูรอตามประเพณี

     

    59 19

    7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกแบบสำรวจข้อมูลด้านครอบครัว/และกำหนดผู้ที่จะจัดเก็บข้อมูล

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานผู้เข้ากิจกรรม
    • ประสานวิทยากรกระบวนการในการออกแบบเครื่องมือง
    • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหารเก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    • จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆใช้ในการออกแบบสำรวจ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ให้วิทยากรให้ความรู้ในการออกแบบเครื่องมือในการสำรวจ/ให้ความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร
    • ให้ผู้เข้าร่วมเสนอข้อมูลที่จะใช้ในการสำรวจ
    • ประชุมออกแบบสำรวจข้อมูลมีข้อมูลที่ประกอบด้วย โดย 1.ด้านศิลปวัฒนธรรม 2.ด้านสังคมครอบครัว 3.ด้านสุขภาพ. 4.ความสัมพันธ์ของครอบครัว โดยทำการสำรวจและรวมกันระดมปัญหาแล้วจึงจะประชุมออกแบบ แบบชุดสำรวจ
    • คัดเลือกกลุ่มอาสาสมัครที่จะจัดเก็บข้อมูล
    • สรุปรายงานผลที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบสอบถาม 1 ชุด ประกอบด้วยข้อมูล 4 หมวด คือ 1.ด้านศิลปวัฒนธรรม 2.ด้านสังคมครอบครัว 3.ด้านสุขภาพ. 4.ความสัมพันธ์ของครอบครัว
    • พอแบ่งได้เป็น4หมวดแล้วก็มีผู้เข้ารวมประชุมได้เสนอปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ด้านสังคนที่เกิดความแตกแยกหลังจากที่มีการคัดเลือผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการแบ่งเป็นพวกๆ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมก็มีบ้างสวนที่ไม่เข้าใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรม เราก็แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง ผู้เข้ารวมประชุม เพือง่ายต่อการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลภายในชุมชน แถมยังได้รู้รับรู้ปัญหาภายในชุมชนบ้านกะลาพอตก ว่ามันเกิดจากอะไรยังไงภายในชุมชนและง่ายต่อการแก่ปัญหา
    • ได้กลุ่มอาสาสมัครที่จะจัดเก็บข้อมูล ประมาณ 20 คน เราก็ได้ฝึกให้เยาวชนภายในหมู่บ้านให้ได้พบปะกับคนในหมู่ของตัวเองได้ด้วยเพราะเยาวชนสมัยนี้ชอบอยู่รวมกลุ่ม เป็นกลุ่มๆ เยาวชนกันเองไม่ค่อยได้พุดคุยกับคนมีอายุมากว่า สักเท่าไร เราจึงเลือกกลุ่มเยาวชนมาเป็นผู้จัดเก็บข้อ
    • เวลา 15.30 ก็ได้เลิกการประชุมแลกเปลี่ยนในวันนี้ การประชุมวันนี้ก็เป็นไปได้ดี ครับ

     

    40 40

    8. เรียนรู้การใช้เครื่องมือแบบสำรวจ

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานผู้เข้ากิจกรรมเสียงตามสาย
    • ประสานวิทยากรกระบวนการในการออกแบบเครื่องมือง
    • จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆใช้ในการออกแบบสำรวจ
    • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
    • ให้วิทยากรให้ความรู้ในการออกแบบเครื่องมือในการสำรวจ/ให้ความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร วิทยากรให้ความรู้เกียวกับการใช้เครื่องมือแบบสอบถามและวิธีการสัมภาษณ์เพื่อให้นักสำรวจเข้าในการสำรววจข้อมูล วิทยากรก็ได้พูดคุยเยาวชนที่เราได้คัดเลือกมาเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลเรื่องทีทั่วไปและได้เริ่มให้ความรู้เกียวกับการใช้เครื่องมือแบบสอบถามว่าเราต้องกรอกช่องไหนบ้างและได้อธิบายแต่ละช่องว่ามีความสำคัญยังไง และวิธีกรรอกช่องต่างๆ
    • แบ่งโซนการจัดเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ โดยการแบ่งออกเป็น 4โซนของชุมชน
    • กำหนดกลุ่มจัดเก็บให้เยาวชนจำนวน 3 คนกลุ่มแกนนำ 2 คน รวม5 คน/โซนและกำหนดจัดเก็บโซนละ 5 วัน
    • สรุปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมเยาวชนได้เรียนรู้ วิธีการจัดเก็บข้อมูล เทคนิคการลงไปเก็บข้อมูลในชุมชน ได้ซักซ้อมการถามคำถามจากแบบสอบถาม เรียนรู้เกียวกับวิธีการสัมภาษณ์ ว่าสัมถาษณ์ยังไงเราจะได้ข้อมูลที่ครบและละเอียดที่สุดของคนในหมู่บ้านเรา และวิททยากรก็ได้ทดสอบเยาวชนนักสำรวจ ลองให้นักสำรวจสัมภาษณ์วิทยากรสัก2-3 เรื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการที่จะสัมภาษณ์ปัญหาต่างๆ ของคนในหมู่บ้านเรา
    • พอได้ทดสอบเส็รจ เราก็ได้แบ่งโซนการจัดเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ เพื่อง่ายในการจัดเก็บและไม่มั่วเวลาเราจัดเก็บ โดยการแบ่งออกเป็น 4โซน ของชุมชน แบะกำหนดกลุ่มจัดเก็บให้เยาวชนจำนวน 3 คน กลุ่มแกนนำ 2 คน รวม5 คนต่อโซน และเราก็ได้กำหนดจัดเก็บ 5 วัน

     

    20 20

    9. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดหมายผู้ที่จะเข้าร่วมไปประชุม
    • จัดเตรียมอุปกรณ์โนตบุ๊ค เอกสาร ต่างๆ
    • กระบวนการในวันจัดอบรม ดังนี้

    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    09.00 - 09.30 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    09.30 - 10.00 น. การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    10.30 - 11.00 น. การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
    11.00 - 12.00 น. ซักถามแลกเปลี่ยน
    13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    16.00 - 16.30 น. สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบตามจำนวน 2 คน
    2.ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำเอกสารการเงินได้อย่างถูกต้องร้อยละ 100

    ผลลัพธ์

    1. ได้แนวทางในการจัดทำเอกสารการเงินและการหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการ
    2. ได้ร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินร่วมกับสสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ เรื่อง การเขียนรายงานปิดงวดเงินครั้งที่ 1 การหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 การจัดทำหนังสือรับอรงการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบแนบ ภงด.3 และการทำแบบสรุปการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 2

    10. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานคณะกรรมการสภาโดยใช้โทรศัพท์
    2. จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
    3. ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมเริ่มเปิดการประชุมโดย ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุม ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    4. สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป จากนั้น สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น การจัดกิจกรรมจัดจัดเก็บข้อมูลทั้ง 4 วันนั้นมีปัญหาในด้านการตอบข้อมูลของชาวบ้านในชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเพิ่มเติมให้คณะกรรมการรับทราบในเรื่องการจัดการคีย์ข้อมูลของโครงการ เพราะผู้รับผิดชอบติดภาระกิจหน้าที่ไม่ค่อยได้คีย์ข้อมูลรายงานผลเป็นปัจจุบัน และพี่เลี้ยงโครงการคุณกัลยาได้โทรศัพท์เพื่อหาทางในการแก้ไขปัญหา เพราะโครงการจะต้องปิดงวดแรกภายใน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ นี้ และต้องนำเอกสารทั้งการเงินและอื่นๆให้พี่เลี้ยงตรวจสอบก่อนที่จะขึ้นไปปิดงวดแรกกับ สจรส. และทางการเงินโครงการชี้แจงรายละเอียดการเงิน ให้คณะกรรมสภาทราบ

     

    59 20

    11. จัดเก็บข้อมูล ครั้งที่ 1

    วันที่ 2 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดครัวเรือนที่จะลงจัดเก็บ จำนวน 150 ครัวเรือน โดยทีม อสม.และเยาวชน จำนวน 30 คน แบ่งการสำรวจออกเป็น 5 วัน วันละ 30 ครัวเรือน โดยแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คน
    • จัดเตรียมแบบสำรวจข้อมูล เรื่อง แบบสำรวจปัญหาในครัวเรือนและปัญหาในชุมชน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูล
    • ให้เยาวชน อสม. นำแบบสำรวจข้อมุลออกสำรวจตามครัวเรื่อนในหมู่บ้าน ตามกลุ่มที่จัดการเตรียมและแบ่งโซนของหมู่บ้าน ทั้ง 5 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในวันแรกได้แบบสอบถามจำนวน 30 ครัวเรือนครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    • คณะลงจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน มีข้อซักถามถึงรายเอียดความเป็นอยู่และความต้องการของประชุมชนในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญในการตอบตามความเป็นจรีง เพราะเป็นคำถามที่เขาอยากตอบ บางคนยังเสนอแนะเนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน

     

    30 30

    12. จัดเก็บข้อมูลครั้งที่ 2

    วันที่ 3 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดครัวเรือนที่จะลงจัดเก็บ จำนวน 30 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มเหมือนเดิม
    • จัดเตรียมแบบสำรวจข้อมูล ในวันนี้พบอุปสรรคเล็กน้อยในการเก็บข้อมูล
    • ให้เยาวชน อสม. นำแบบสำรวจข้อมุลออกสำรวจตามครัวเรื่อนในหมู่บ้าน ตามกลุ่มที่จัดการเตรียมและแบ่งโซนของหมู่บ้าน ทั้ง5 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะลงจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน วันที่ 2 ต่อจากครั้งที่มีข้อซักถามถึงรายเอียดความเป็นอยู่และความต้องการของประชุมชนในหมู่บ้าน วันนี้สามารถเก็บได้ทั้งหมด 40 ครัวเรือนของในหมู่บ้าน
    • เกิดอุปสรรค คนในครัวเรือนไม่ยอมให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากมีการสำรวจปัญหาชุมชนของหลายหน่วยงาน เช่น ศอ.บต. หน่วยงานทหาร ทำให้ชาวบ้านไม่อยากให้ข้อมูล และบ่นว่าเป็นการสำรวจเรื่องเดิม ๆ

     

    30 30

    13. จัดเก็บข้อมูลครั้งที่ 3

    วันที่ 4 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดครัวเรือนที่จะลงจัดเก็บ
    • จัดเตรียมแบบสำรวจข้อมูล
    • ให้เยาวชน อสม. นำแบบสำรวจข้อมุลออกสำรวจตามครัวเรื่อนในหมู่บ้าน ตามกลุ่มที่จัดการเตรียมและแบ่งโซนของหมู่บ้าน ทั้ง5 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะลงจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน วันที่ 3 ต่อจากครั้งที่ 2 มีข้อซักถามถึงรายเอียดความเป็นอยู่และความต้องการของประชุมชนในหมู่บ้าน ประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญในการตอบตามข้อความเป็นจรีง ทั้ง 5 กลุ่มสามารถเก็บได้ทั้งหมด 32 ครัวเรือนของในหมู่บ้าน
    • ในวันนี้ได้พบผู้ป่วยติดเตียง และได้พูดคุยกับผู้ป่วย เขาได้ถามเกี่ยวกับหน่วยงาน และอยากได้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานสาธารณสุข อยากได้เครื่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดูแลตนเอง เช่น เตียงลมยางที่นอนแล้วมีอากาศถ่ายเทสะดวก

     

    30 30

    14. จัดเก็บข้อมูลครั้งที่ 4

    วันที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดครัวเรือนที่จะลงจัดเก็บ
    • ให้เยาวชน อสม. นำแบบสำรวจข้อมูลออกสำรวจตามครัวเรือนในหมู่บ้าน ตามกลุ่มที่จัดการเตรียมและแบ่งโซนของหมู่บ้าน ทั้ง 5 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะลงจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน วันที่ 4 ต่อจากครั้งที่ 3 จากการก็บข้อมูลในวันนี้ได้พูดคุยกันเรื่องเศรษฐกิจของราคายางพาราในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา ราคายางพาราในวันนี้ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ผู้ถูกสัมภาษณ์เลยบอกว่าอยากได้เมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานเกษตรมาช่วย มาปลูก เพื่อเสริมรายได้ของตนเอง

     

    30 30

    15. จัดเก็บข้อมูลครั้งที่ 5

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดครัวเรือนที่จะลงจัดเก็บ
    • เตรียมใบสำรวจข้อมูล
    • ให้เยาวชน อสม. นำแบบสำรวจข้อมุลออกสำรวจตามครัวเรื่อนในหมู่บ้าน ตามกลุ่มที่จัดการเตรียมและแบ่งโซนของหมู่บ้าน ทั้ง5 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะลงจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน วันที่ 5 ต่อจากครั้งที่ 4 สามารถเก็บได้ทั้งหมด 31 ครัวเรือนของในหมู่บ้าน สามารถจัดเก็บ
    • ข้อมูลรวมรวมทั้ง 5 โซนหมู่บ้าน ได้จำนวน 150 ชุด จำนวน 150 ครัวเรือน

     

    30 30

    16. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่4

    วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานคณะกรรมการสภาโดยใช้โทรศัพท์
    2. จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและ/วาระการประชุม อื่นๆ
    3. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
    4. สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมเริ่มเปิดการประชุมโดย ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป จากนั้น สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ในเวทีจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเพิ่มเติมให้คณะกรรมการรับทราบในจัดดำเนินกิจกรรมตามโครงการว่าโครงการมีปัญหาด้านต่างๆ คือ ด้านความพร้อมในการจัดคีย์ข้อมูล เอกสารการเงิน โดยได้ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการคุณกัลยา เอี่ยวสกุล เพื่อหาทางในการแก้ไขปัญหา และยังมีเรื่องของความคืบหน้าโครงการต่างๆที่ทางภาครัฐสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาชุมชน เช่น โครงการเลี้ยงวัว โครงกองทุนหมู่บ้านและการนำเยาวชนเข้าร่วมงานพหุวัฒนธรรมลานเมืองสาย ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเพื่อทราบ การให้คณะคณะกรรมการหมู่บ้านอกกสำรวจข้อมูล จปฐ. ของพัฒนาชุมชน ด้วย

     

    59 20

    17. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

    วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการชุมชน นักวิชาการ เยาวชน/ทางโทรศัพท์ และเสียงตามสาย
    2. จัดเตรียมสถานที่/ข้อมูลจากการเก็บสำรวจ
    3. ประสานวิทยากรผู้มาจัดกระบวนการวิเคาะห์ข้อมูล วิทยากรให้ความรู้ และแนะแนวทางการทำแผนชุมชน และการจัดการข้อมูล ให้กับแกนนำของชุมชนและเยาวชน เพื่อให้แกนนำมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และร่วมกันนำสิ่งที่เรียนรู้ไปจัดทำแผนชุมชน และร่วมกันเก็บแบบสอบถามสถานการณ์ร่วมกันระหว่างเด็ก และเยาวชน ผู้นำชุมชน สถาณการณ์สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนโโยใช้แกนนำเยาวชนมาเป็นเครื่องมือในลดช่องว่างระหว่างวัย และกลุมคนในชุมชน
    4. เวทีวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนและจัดหมวดหมู่
    5. สรุปกิจกรรมประเมินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
    1. สถานการณ์ภาวะวิกฤตที่มาจากคน จากสภาพแวดล้อม ที่เป็นบริบทของชุมชนและกลไกการจัดการในชุมชน พื้นที่ สิ่งแวดล้อมในชุมชน ทุนของชุมชนยังมีน้อย เช่น มัสยิดไม่มีในหมู่บ้านมีแต่บาราเซาะ (สถานที่ใช้ละมาด เล็กกว่ามัสยิด) ประชาชนส่วนใหญ่ยังทำนาการศึกษามีน้อย คนสมัยก่อนไม่ค่อยเข้าถึงการศึกษาอาศัยแต่หลักศาสนามาดำเนินชีวิต

    2. ข้อมูลจากแบบสำรวจ

    • ด้านศิลปะวัฒนธรรมศาสนา ประชาชน ร้อยละ 90 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 10 มีปัญหา ส่วนใหญ่เป็นเป็นหาด้านเยาวชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับด้านศาสนา วัฒนธรรม
    • ด้านสังคม ร้อยละ 75 มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีเป็นปัยหาด้านสังคมวัยรุ่น และเทคโนโลยี สิ่งมัวเมา
    • ด้านสุขภาพ ร้อยละ 65 มีปัญหา ร้อยละ 35 ไม่มี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สุงอายุโรคเรื้อรังเช่น ความดัน เบาหวาน อื่นๆ
    • ด้านสัมพันธ์ครอบครัว ร้อยละ 72 มีปัญหา ร้อยละ 28 ไม่มี คือกลุ่มวัยรุ่นลูกชาย กับแม่ ลูกสาวกับพ่อ ห้างเหินกันเนื่องจากสังคมวิถีมุสลิม ชายหญิง และกลุ่มโลกสังคมวัยรุ่นที่ไปไกลกว่าผู้ปกครอง ถึงเท่าให้ความห่างกันยิ่งเยอะขึ้น

     

    40 40

    18. จัดเวทีเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในชุมชน

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดเวทีคืนข้อมูล
    2. ประสานวิทยากรกระบวนการในการคืนข้อมูล
    3. แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
    4. ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของบาลาเซาะ และประชาสัมพันธ์โดยใช้กลุ่มเยาวชน
    5. จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์เพื่อให้ทีมวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ
    6. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชนโดยเยาวชนใช้ศิลปะกองปังบอกเล่าความเป็นมาของชุมชนบ้านกะลาพอตกและปัญหาของครอบครัว ชุมชน โดยการแบ่งกลุ่มประชาชนย่อยระดมความคิดเห็นการแสดงกองปัง สื่อถึงความสัมพันธ์ของครอบครัว 7.ผู้ใหญ่บ้านนำสรุปการที่ได้จากการวการวิเคราะห์แจ้งให้กับชาวบ้านรับทราบ คือ สถานการณ์ร่วมกันระหว่างเด็ก และเยาวชน ผู้นำชุมชน สถาณการณ์สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนโดยใช้แกนนำเยาวชนมาเป็นเครื่องมือในลดช่องว่างระหว่างวัย และกลุมคนในชุมชน สถานการณ์ภาวะวิกฤตที่มาจากคน จากสภาพแวดล้อม ที่เป็นบริบทของชุมชนและกลไกการจัดการในชุมชน พื้นที่ สิ่งแวดล้อมในชุมชน ทุนของชุมชนยังมีน้อย เช่น มัสยิดไม่มีมีแต่บาราเซาะ ประชาชนส่วนใหญ่ยังทำนาการศึกษามีน้อยคนสมัยก่อนไม่ค่อยเข้าถึงการศึกษาอาศัยแต่หลักศาสนามาดำเนินชีวิต และนำเสนอข้อมูลจากแบบสำรวจ
    7. สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากเวที มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

    • ประชาชนเสนอแนะในการแก้ปัญหาชุมชนโดยการนำกิจกรรมเข้ามาทำในชุมชนบ่อยสามารถเพิ่มความสัมพันธ์ในชุมชนได้ดี
    • เสนอแนะความต้องการของชุมชนตามโครงการต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างครอบครัว เพิ่มความสัมพันธ์คนในครอบครัวและหมู่บ้าน
    • กำหนดเป้าหมายในการจัดทำแผนหมู่บ้านกะลาพอตก คือ การใช้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรม เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน และทำในช่วงงวดที่ 2

     

    150 150

    19. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสาร ปิดงวด 1

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงนัดเพื่อตรวจเอกสารรายการเงิน
    • การบันทึกกิจกรรมรายงานการจัดกิจกรรม
    • เอกสารการปิดโครงการงวดที่1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ตรวจเอกสารบัญชี การบันทึกกิจกรรม ใบสำคัญรับเงินเพื่อจัดทำงานเอกสารรายงานปิดโครงการ และมีหลายกิจกรรมต้องปรับแก้ในเรื่องของเอกสารการเงิน การเขียนรายงานกิจกรรม

     

    3 3

    20. พบพี่เลี้ยง ตรวจเอกสารรายงานการเงินและการบันทึกข้อมูล

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หลังจากพบพี่เลี้ยงในครั้งที่ 1 และได้รับคำแนะนำในการปรับแก้เอกสารการเงิน และการรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ ในวันนี้จึงได้นำเอกสารมาส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง ก่อนส่งให้ สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานทางเวบไซต์ มีบางรายงานยังไม่ถูกต้อง และได้ทำการปรับแก้ ก่อนส่งให้ สจรส.ม.อ.อีกครั้ง

     

    3 3

    21. ส่งเอกสารรายงานปิดงวดโครงการ งวด 1

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารรายงานการเงินเพื่อปิดงวดโครงการและจัดทำเอกสารปิดโครงการ ส่งให้ สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทาง สจรส.ม.อ.ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และตรวจสอบรายงานกิจกรรมที่ทำในงวด 1 ได้รับคำแนะนำจาก สจรส.ม.อ.ในเรื่องการเขียนใบสำคัญรับเงินให้ถูกต้อง ได้ปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างทำโครงการ คือ ไม่เข้าใจการทำเอกสารว่าทำอย่างไรให้ถูกต้อง ทาง สจรส.ได้สอนการเขียนหลักฐานเบิกจ่าย แนะนำให้เพิ่มเติมข้อมูลในรายงานกิจกรรม และแนะนำการวางแผนทำโครงการในงวด 2 

     

    3 3

    22. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่5

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมคณะทำงานโครงการ
    2. ประสานผู้เข้าร่วมกิจกรรมสภาครั้งที่ 5
    3. เตรียมข้อมูลการประชุม
    4. เตรียมสถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการสภา จำนวน 44 คน เยาวชน 15 คน จำนวน 59 คนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 5 ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านกลาพอตก ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปิดงวดโครงการงวดที่ 1 และรายละเอียดเอกสารหลักฐานต่างๆกับ สจรส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายมะรอบี ยามิง ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ ว่าโครงการต้องรองบประมาณจาก สสส.งวดที่ 2 ในการดำเนินกิจกรรมต่อ ไป คือกิจกรรม นำข้อมูลมาร่วมกันจัดทำแผน ครอบครัวบ้านกะลาพอตก
    • นายมะรอบี ยามิง ได้นำเรื่องโครงการประชารัฐ ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้หมู่บ้าน ร่วมกับ พัฒนาชุมชน และกทบ. ฟื้นฟู กองทุนหมู่บ้าน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วใในการคัดเลือกกรรมการชุดใหม่ในการบริหารกองทุนหมู่บ้านและโดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไ โดยใช้สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ม.8 เตราะบอน
    • สภาผู้นำและคณะทำงานโครงการได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกิจกรรมต่างๆตามในโครงการในงวดที 2

     

    59 59

    23. แผนปฏิบัติชุมชนในการแก้ปัญหาครอบครัวภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภากองปังสร้างสุข)

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ในการประสานงาน ติดต่อ และเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน40คน
    2. ประสานวิทยากรการจัดทำแผนสัมพันธ์ครอบครัว น.ส.ซูไฮลา สะนิ ให้ความรู้เรื่องการทำแผนชุมชน
    3. นำข้อมูลต่างๆที่ผ่านการวิเคราะห์มาใส่ในแผนปราชญ์ชาวบ้าน -กลุ่มเยาวชน -ครู -ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว -ผู้นำศาสนา -บัณฑิตอาสา -แกนนำหลักในชุมชน -และกลุ่มสตรีจำนวน 40คน จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาครอบครัวที่ทำการผู้ใหญ่บ้านม.8บ้านกลาพอตก โดยวิทยากรให้ความรู้และขั้นตอนกาารจัดทำแผนสัมพันธ์ครอบครัวโดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
    • ขั้นตอนที่ 1 วิทยากรชวนคุยเกี่ยวกับข้อมูลความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
    • ขั้นตอนที่ 2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและบอกเล่าความเป็นมาของคนในหมู่ 8 บ้านกะลาพอตก
    • ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
    • ขั้นตอนที่ 4 จัดทำแผนความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานและประชาชนจำนวน40คน เรียนรู้การจัดทำแผน
    • ผลที่เกิดจากการจัดทำแผน คือ ได้ความสัมพันธ์ครอบครัว ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวให้ดีขึ้น โดยกำหนดเป็นกิจกรรมในลักษณะการเฝ้าระวัง การป้องกัน การแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาที่ครอบครัวสามารถนาไปปรับใช้หรือเข้ามามีส่วนร่วมได้ และมีความสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวและบริบทของชุมชน ความสำคัญของแผนความสัมพันธ์ครอบครัวโดยชุมชนใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกัน การแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เปิดโอกาสให้ครอบครัว และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทาแผนครอบครัวเข้มแข็งโดยชุมชน ตั้งแต่การกำหนด สืบค้นข้อมูล การวางแผน การดำเนินการตามแผน การติดตามและรับผลประโยชน์โดยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน ทำให้เกิดการนำข้อมูลครอบครัวในชุมชน เช่น ข้อมูลความเข้มแข็งของครอบครัว ข้อมูล จปฐ.ข้อมูลพื้นฐานชุมชน ข้อมูลด้านสาธารณสุข เป็นต้น มาใช้ในการกำหนดแผนครอบครัวเข้มแข็งโดยชุมชนทำให้ครอบครัวและชุมชนรับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์ครอบครัวในชุมชน เพื่อให้การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวมีเป้าหมายชัดเจน เช่น โครงการกีฬาต้านยาเสพติด อบรมจริยธรรมเด้กเยาวชนในช่วงปิดเทอม เกิดแผนงานโครงการดังนี้โครงการกีฬาเพื่อต้านยาเสพติดวัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    2. เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพกาย จิตแข็งแรง
    3. เพื่อให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ถูกต้องระหว่างกันกระบวนการ คือ การสรรหาแกนนาเยาวชนที่มีทักษะความสามารถในการเล่นกีฬามาเป็นแกนนาในการจัดตั้งกลุ่มกีฬา การเปิดรับสมัครเยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มกีฬา และจัดหาสถานที่สาหรับให้เยาวชนได้ทากิจกรรมด้านกีฬาร่วมกัน งบประมาณ 100,000บาท

     

    40 40

    24. สร้างเวทีในรูปแบบเสวนาสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ครั้งที่ 1

    วันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานและคระกรรมการสภาผู้นำเพื่อเตรียมความพร้อมและออกแบบเวทีเสวนา
    2. ประสานกลุ่มหมายเข้าร่วม
    3. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
    4. เตรียมสถานที่จัดเวทีเสวนา ผู้ปกครองกับเยาวชนจำนวน 60 ครัวเรือน แบ่งกลุ่มเสวนาที่บ้านกลาพอตก รูปแบบการเสวนา โดยมีวิทยากรชวนคุย เกี่ยวกับยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนเนื่องจากเนยาวชนว่างงาน จนเกิดเป็นปัญหาของชุมชน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ปกครองกับเยาวชนจำนวน 60 ครัวเรือน แบ่งกลุ่มเสวนาที่บ้านกลาพอตก มีการแลกเปลี่ยน ดังนี้ เดิมผู้ปกครองมองและยังไม่เข้าใจในพฤติกรรมการกระทำของวัยรุ่นหรือบุตรหลานไปในทางทางที่ผิด ไม่ไว้ใจในตัววัยรุ่น และยังมองวัยรุ่นเป็นตัวปัญหาของหมู่บ้านและสังคม แต่เมื่อได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปัญหาร่วมกันผู้ปกครองไม่ใส่ใจผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน เนื่องจากต้องไปทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว เมื่อเกิดความเข้าใจในหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ผู้ปกครองเข้าใจพฤติกรรมของเยาวชน เข้าใจสังคมที่มีสภาพแวดล้อมด้วยปัจจัยเสี่ยง คือ ยาเสพติด จึงเกิดข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองด้วยกันหันหน้ามาพูดคุยกัน ถึงสถานการณ์ของชุมชนในยุคดิจิตอลที่ผู้ปกครองต้องรู้เท่าทันเยาวชนในทุกเรื่อง

     

    60 60

    25. สร้างเวทีในรูปแบบเสวนาสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ครั้งที่ 2

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมรูปแบบการเสวนา
    2. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย3. เตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรม
    3. ประสานวิทยากรกระบวนการเด็ก เยาวชนจำนวน 60คนร่วมกับคณะทำงานในการจัดเวทีเสวนาเพื่อสะท้องปัญหา ความต้องการของเยาวชนที่โรงเรียนกลาพอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็ก เยาวชนจำนวน 60 คน ร่วมกับคณะทำงานในการจัดเวทีเสวนาเพื่อสะท้องปัญหา ความต้องการของเยาวชนที่โรงเรียนกลาพอ - เยาวชนได้รับความรู้ในเรื่องของสถานการณ์ด้านครอบครัวปัจจุบัน ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดปัญหา เยาวชนมีควมาเข้าใจในเรื่องและวิธิการเสริมสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวและความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสถาบันครอบครัวสร้างสัมพันธภาพที่ดีและส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันส่งเสริมความรักเยาวชนที่ผ่านการอบมีความรู้ความเข้าปัญหาที่เกิดขึ้น
    • การอบรมครั้งนี้ได้เน้นให้ความรู้ด้าน การศรัทธา ในศาสนา การสร้างศรัทธาในศาสนาอิสลาม คือ การทำให้เขารำลึกถึงศรัทธาต่ออัลเลาะห์อย่างสูงสุดเมื่อเกิดศรัทธาแล้วพวกเขาจะกลัวบาป กลัวต้องไปนรก และในขั้นต้นจะให้เขาได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความสุขของมนุษย์ 3 เรื่อง คือ ความสุขประการที่ 1 ได้แก่ การออกกำลังกาย ทำให้มนุษย์มีความสุขเนื่องจากทางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า เมื่อออกกำลังกายจนเหงื่อออกมาถึงเวลาหนึ่ง มนุษย์จะรู้สึกมีความสุข ความสุขประการที่ 2 ได้แก่ การทำใจให้เป็นสมาธิ โดยยกตัวอย่างโต๊ะอิหม่ามหรือคนแก่ ๆ ในชุมชน ที่แม้ไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ก็มีความสุขได้ สามารถอยู่ในมัสยิดได้เป็นชั่วโมงๆ เพราะเขามีสมาธิในการละหมาด ความสุขประการที่ 3 ได้แก่ การไกลจากสิ่งต้องห้ามตามศาสนา กิจกรรมที่สำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งคือการทำให้เกิดการรำลึกถึงความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูกจนทำให้ลูกเกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด รักครอบครัว

     

    60 60

    26. สร้างเวทีในรูปแบบเสวนาสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ครั้งที่ 3

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการเสวนา
    2. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
    3. ประสานผู้ปกครองเด็กและเยาวชน
    4. จัดเตรียมสถานที่และพื้นที่ในการจัดกิจกรรม
    5. ประสานวิทยากรกระบวนการการสร้าค่ายสัมพันธ์ครอบครัว
    6. สรุปประเมินกิจกรรมที่เกิดขึ้น กิจกรรมการดำเนินการคือ ให้ความรู้สถานการณ์ครอบครัว ปัจจัยปัญหาครอบครัว
    7. ให้ความรู้ในเรื่องและวิธิการเสริมสร้างความสัมพันธ์ครอบครัว ผู้ปกครองกับเด็ก เยาวชนจำนวน 60 คน โดยวิทยากรกระบวนการจัดกิจกรรมในการสร้างความสัมพันธ์ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน ที่มัสยิดบ้านกลาพอตกจำนวน 3 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ปกครองกับเด็ก เยาวชนจำนวน 60 คน โดยวิทยากรกระบวนการจัดกิจกรรมในการสร้างความสัมพันธ์ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน ที่มัสยิดบ้านกลาพอตกจำนวน 3 วัน รูปแบบเสวนาสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก เยาวชน เด็กและผู้ปกครองแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ของเด็กในยุคปัจจุบัน ผู้ปกครองมองเด็กไร้สาระ วันๆกิน กะเที่ยว ไม่ใด้ช่วยอะไรในครอบครัวซึ่งกลุ่มเด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มที่ว่างงานและไม่ได้เรียนหนังสือ ผู้ปกครองมองยังไม่เข้าใจในพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น การกระทำของวัยรุ่นหรือบุตรหลานไปในทางทางที่ผิด ไม่ไว้ใจในตัววัยรุ่น และยังมองวัยรุ่นเป็นตัวปัญหาของหมู่บ้านและสังคมแต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการ ผู้ปกครองมีแนวคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่นเปลี่ยน เข้าใจสังคมวัยรุ่นมากขึ้น และจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของวัยรุ่นมายิ่งขึ้น เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับอาสาที่จะช่วยเหลือครอบครัว ไม่ทำตัวเป็นภาระให้กับครอบครัวการอบรม ส่วนใหญ่เน้นการสร้างครอบครัวแบบศาสนาอิสลาม คือรูปแบบการดำเนินชีวิตภายในกรอบแนวคิดของอิสลาม โดยวิทยากรจะพูดถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตภายใต้กรอบแนวคิดของอิสลามและรูปแบบต่างๆรวมทั้งวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อให้เยาวชนมีความรุ้ ความตระหนักถึงแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในชุมชนและในศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น วัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต ที่การตัดสินใจมีผลต่อนาคตในวันข้างหน้า หลักศาสนาอิสลามส่งเสริมการสร้างครอบครัวแต่ต้องเป็นครอบครัวที่ดี สามีภรรยาต้องมีความรับผิดชอบและต้องเตรียมรับมือภาระหน้าที่เกิดขึ้นในอนาคต การทำอะไรที่ไม่คำนึงอนาคตรวมถึงบุคลลที่เป็นที่เป็นที่รักซึ่งก็คือครอบครัว จะทำให้ความเสียใจในภายหลัง การอบรมไปด้วยดี ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว

     

    60 60

    27. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่6

    วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 09.00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมประชุมสภา
    2. ประสานงานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมข้อมูล
    4. จัดเตรียมสถานที่ คณะกรรมการสภา ผู้นำศาสนา กรรมการมู่บ้าน เยาวชน จำนวน 22คน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านเริ่มตั้งแต่ 10.00น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภา ผู้นำศาสนา กรรมการมู่บ้าน เยาวชน จำนวน 22คน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านเริ่มตั้งแต่ 10.00นคณะกรรมการสภาให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทุกๆกิจกรรมและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของชุมชน และในวันนี้ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม
    • สภาผู้นำกับคณะทำงานได้นำปัญหาของคนในชุมชนมาพูดคุยกัน และนำเรื่องนโยบายของรัฐต่างๆที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน โครงการประชารัฐหมู่บ้านละ 200,000 บาท มีมติร่วมกันที่จะซ่อมแซมสุสาน ของมหู่บ้าน การจัดตั้งกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ชุดใหม่ และให้ทางกองทุนนำรายชื่อเสนอต่อพัฒนาชุมชนเพื่อรับรอง

     

    59 22

    28. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่7

    วันที่ 2 เมษายน 2559 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. เตรียมข้อมูล
    3. ประสานคณะกรรมการสภา
    4. คณะกรรมสภา(สภาความสัมพันธ์ภายในหมู่บ้าน) 44 คนกลุ่มเยาวชนศิลปะกองปัง 15 คน จำนวน 59 คน ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7 ที่ว่าการผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านกลาพอตกตั้งแต่ 10.00 น. ประธานสภาเปิดการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการประชุมที่มอบหมายจากนายอำเภอเรื่อง การทำนา โดยรื้อฟื้นนาร้างโดยใช้โฉนดที่ดิน โครงการ 200,000 บาท ได้มาทำกุโบร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานสภานำข้อเสนอแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำโครงการประชาคมชาวบ้าน เพื่อสำรวจปัญหาในชุมชนเกี่ยวกับสถานการณ์เด็ก เยาวชนติดยาเสพติด ควรมีมาตราการร่วมกับครอบครัวในการให้ความสำคัญกับเด็ก เยาวชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ปกครองที่ต้องใก้ลชิดและใส่ใจลูกหลาน ร่วมกันเฝ้าระวังมิให้คนแปลกหน้าหรือคนในหมู่บ้านร่วมเสพและค้าให้กับเด็ก เยาวชนซึ่งมาสู่การลักขโมย สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน

     

    59 59

    29. กองปังสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวครั้งที่ 1และ2

    วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดทำแผนการถ่ายทอดศิลปกองปัง
    2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเยาวชนที่เป็นแกนนำในการแสดงกองปัง
    3. ประสานเยาวชนฝึกอบรมกองปัง
    4. จัดแผนการถ่ายทอดกองปัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนรุ่นพี่ถ่ายทอดกองปังแก่เยาวชนรุ่นน้องจำนวน32 คน ฝึกการเรียนการสอนแบบให้เชื่อมโยงกับการสร้างความสัมพันธ์ครอบครัว และแนวทางตามศาสนาอิสลามในการละหมาดวันละ 5 ครั้ง การเป็นทำหน้าที่ลูกที่ตามคำสอนของศาสนาอิสลาม ทำให้ครอบครัวและเยาวชนจัดทำแผนการถ่ายทอดกองปัง

     

    32 32

    30. กองปังสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว (ลานศิลปะกองปังพี่สอนน้อง)

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการแบ่งบทบาทหน้าที่
    2. ประสาน ปราชญ์ชาวบ้านผู้นำศาสนา กุลุ่มเยาวชน อสม. ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว กลุ่มเครื่อข่ายเยาวชนศิลปะกองปัง
    3. เตรียมสถานที่ลานศิลปหน้าบาลาเซาะบ้านกลาพอตก
    4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์อาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมจำนวน 21 วัน เริ่มจัดเตรียมสถานที่ในลานบาลาเซาะบ้านกลาพอตกในการฝึกอบรมศิลปะกอปังตั้งแต่วันที่ 8 เมษายนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม2559 เป็นเวลา 21วัน เริ่มตั้งแต่ โดยใช้กองปัง (เครื่องเล่นสมัยก่อนมีลักษณะคล้ายกลอง ซึ่งเป็นเครื่องเล่นในสมัยท่านนบีมูฮัมมัด) มีรายละเอียด ดังนี้
    • วันที่ 8 เม.ย.59 เริ่มสอนร้องอนาซีดประสานเสียงแก่เด็ก โรงเรียนตาดีกาโรงเรียนตายุจดีน บ้านกะลาพอตก
    • วันที่ 9 เม.ย.59 ฝึกร้องอนาซีดประสานเสียงเป็นรายบุคคล เพื่อคัดเลือกผู้ร้องประสานเสียงนำ
    • วันที่ 10 เม.ย.59 จัดแบ่งกลุ่ม เพื่อการประสานเสียงให้เป็นจังหวะ
    • วันที่ 11 เม.ย.59 สอนผู้ร้องนำเพื่อเกิดความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องตาม
    • วันที่ 12 เม.ย.59 สอนผู้ร้องตาม ในการใช้ประสานเสียงที่พร้อมเพรียงกัน
    • วันที่ 13 เม.ย.59 ร่วมกันฝึกร้องประสานเสียงเป็นทีม
    • วันที่ 14 เม.ย.59 เริ่มทำการรู้จักเครื่องดนตรี พร้อมทั้งฟังเสียงเครื่องดนตรีในแต่ละอย่าง
    • วันที่ 15 เม.ย.59 เริ่มการฝึกเล่นดนตรี เพื่อคัดเลือกว่าใครเหมาะสมกับเครื่องดนตรีประเภทไหน
    • วันที่ 16 เม.ย.59 สอนเล่นเครืองดนตรีให้เป็นจังหวะ
    • วันที่ 17 เม.ย.59 สอนตีกล่องให้เป็นจังหวะพร้อมร้องประสานเสียงไปด้วยกัน
    • วันที่ 18 เม.ย.59 ฝึกการขึ้นเวทีพร้อมร้องประสานเสียงและตีกล่องไปด้วยกัน ณ โรงเรียนตาดีกาตายุจดีน บ้านกะลาพอตก
    • วันที่ 19 เม.ย.59 เริ่มการฝึกร้องอนาซีดใหม่ๆ
    • วันที่ 20 เม.ย.59 ฝึกร้องประสานเสียงพร้อมตีกล่องภายในตำบลที่มีการจัดกิจกรรมภาคเวที ณ บ้านกะลุแปเหนื่อ
    • วันที่ 21 เม.ย.59 มีการบรรยายธรรมที่บาลาเซาะ พร้อมเชิญกลุ่มร้องประสานเสียงกองปังขึ้นเวที่ไปด้วย
    • วันที่ 22 เม.ย.59 มีชมรมวัฒนธรรมอำเภอสายบุรีมาเชิญให้กลุ่มประสานเสียงกองปังกะลาพอตก ไปเล่นที่ลานหน้าอำเภอสายบุรี เพื่อให้ประชาชนรำลึกถึง วัฒนธรรมเก่าๆ ที่กำลังจะสูญหาย
    • วันที่ 23 เม.ย.59 มีการสอนการสื่อความหมายในเนื้อหาที่กำลังขับร้อง
    • วันที่ 24 เม.ย.59 มีชมรมวัฒนธรรมอำเภอสายบุรี เชิญกลุ่มประสานเสียงกองปังให้ไปเล่นที่จังหวัดปัตตานี
    • วันที่ 25 เม.ย.59 โรงเรียนตาดีกาปะนาเระ ได้มาเชิญให้กลุ่มกองปัง ไปร่วมแสดง ณ บ้านฆือลอง
    • วันที่ 26 เม.ย.59 ได้มีการแสดง ณ ตลาดหาดวาสุกรี ขอรับบริจากเพื่อจัดงานให้แก่เด็กกำพร้าภายในตำบลเตราะบอน
    • วันที่ 27 เม.ย.59 ได้จัดประชุมคณะทำงานและผู้เข้าร่วมกลุ่มกองปัง ในการจัดงานเลี้ยงเด็กกำพร้าใน วันที่30 เม.ย.59 ที่จะถึงนี้
    • วันที่ 28 เม.ย.59 ฝึกร้องพร้อมตีกล่องให้เป็นจังหวะ ก่อนงานเลี้ยงเด็กกำพร้า
    • วันที่ 29 เม.ย.59 ได้จัดการแสดงอีกครั้ง ณ ตลาดเปิดท้ายปัตตานี เพื่อของบสมทบทุนงานเลี้ยงเด็กกำพร้า
    • วันที่ 30 เม.ย.59 จัดซื้อของพร้อมเตรียมสถานที่และเวที่ เพื่องานเลี้ยงที่จะเกิดขึ้นตอนเวลา 20.30น. จนถึง 03.00น.
    • วันที่ 1 พ.ค. 59หลังจากจัดงานเสร็จไปด้วยดี คณะทำงานพร้อมทั้งผู้เข้าร่วมกลุ่มกองปัง ก็ได้จัดการประชุมพร้อมหาจุดบกพร่องในการจัดงานในวันที่ 30 เม.ย.59
    • วันที่ 2 พ.ค. 59 สรุปผลจากการทำกิจกรรม 21 วัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน วันที่ 2 เม.ย 59 ถึงวันที่ 1 พ.ค 59 สรุปได้ว่า เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคณะทำงาน ซึ่งเป็นวัยผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กเยาวชน ทุกคนในหมู่บ้านถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้กลุ่มเยาวชนเขาจัดการปัญหา ออกแบบวิธิแก้โดยเขาเอง แก้ปัญหาโดยการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้เขาคิด ทำแก้ปัญหาโดยตัวเขาเองดีกว่าการสั่งให้เขาตามเรามันเหมือนเป็นการถูกบังคับ สามารถลดความหวาดระแวงทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เยาวชนเองก็จะไม่ทำให้เป็นปัญหาและภาระต่อชุมชน อีกทั้งสามารถเกิดความสัมพันธ์และความร่วมมือกันให้เกิดชุมชนเข้มแข็งให้อย่างยั่งยืน ทุกครอบครัวมีความเข้าใจระหว่างกัน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ช่วยกันดูแลลูกฉันลูกเธอ เกิดการพบปะพูดคุยระหว่างผู้นำในชุมชน คนในชุมชน เด็กและเยาวชน กลุ่มเสี่ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามความชอบและสมัครใจ เกิดกิจกรรมที่คนในชุมชนทำร่วมกัน เกิดระบบการเฝ้าระวังภัยทางสังคมที่จะเข้ามาในชุมชน ใช้ข้อมูลในการทำงานมากขึ้น
    • เกิดกลุ่มเยาวชนและสภาหมู่บ้านในการร่วมมือการฝึกสอนเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการห่างไกลยาเสพติดผ่านเรี่องราวการร้องเพลง โดยใช้เครื่องมือในการร้องกองปังเริ่มจากการฝึกการตีกลองใช้กระบวนการพี่สอนน้องเพื่อบอกเล่าผ่านเสียงเพลง จากการแต่งเพลงของเยาวชนรุ่นพี่เพื่อสร้างความเข้าในแก่ผู้ปกครองและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เยาวชนจะบอกพ่อแม่ขอเวลาวันละครั้งทีจะได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ผลที่เกิดขึ้น ว่า เยาวชนกลุ่มเสียงได้เข้ามาร่วมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดพ่อแม่ คนในชุมชนเข้าใจเยาวชนผ่านการสื่อสารด้วยศิลปกองปัง และสร้างแรงจูงใจในการออกแสดงกองปังเพิ่มรายได้แก่เยาวชน

     

    32 45

    31. จูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 08.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดการพัฒนาหมู่บ้านหลังละหมาด
    2. ประชาสัมพัรธ์ผ่านเสียงตามสายในการทำกิจกรรมหลังละหมาดวันศุกร์ กิจกรรมการละมาดร่วมกันและทำความสะอาดกูโบร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้เยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างไปในทางที่ดี
    • ลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับคนชุมชนให้มีความคิดที่ดีต่อกัน
    • เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียวจากการทำกิจกรรม

     

    130 130

    32. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมและแสดงความคิดเห็นได้ แต่มติที่ประชุมให้ออกเสียงโดยสมาชิกสภาผู้นำชุมชน
    • มีการเเลกเปลียนความคิดเห็นในการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน
    • สภาผู้นำชุมชนมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
    • คณะกรรมการหมู้บ้านนำเรื่องราวต่างๆที่ได้รับมาจากหน่วยงานต่างๆมาปรึกษาหารือและหาแนวทางปฎิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดกระบวนการสภาพที่เด่นชันขึ้น
    • การแก้ไขปัญหาตรงจุด
    • การร่วมมือที่ดี มีการรวมกลุ่ม และมีความสามัคคี
    • กรรมการสภาสามารถกำหนดแนวทางการทำงานตามนโยบายของรัฐ ที่ได้รับมอบหมายมาจากอำเภอ หรือ พัฒนาชุมขน เช่น เรื่องโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชารัฐ โครงการกองทุนหมู่บ้านประชารัฐ

     

    59 25

    33. จูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน ครั้งที่ 2

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ลงมือทำกิจกรรมการละมาดร่วมกัน
    • ทำกิจกรรมทำความสะอาดถนนทางเข้าหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับคนชุมชนให้มีความคิดที่ดีต่อกัน เกิดความภาคภูมิใจที่ได้มาร่วมกันทำความสะอาด เมื่อเห็นสองข้างทางสะอาด ทีมเยาวชนรู้สึกมีความสุข และได้บุญจากการมาร่วมกันทำความสะอาด ทำให้เยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างไปในทางที่ดี

     

    130 130

    34. จูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน ครั้งที่ 3

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
    2. ประสานประชาชนในชุมชนจำนวน 130คน ผ่านสายตามสาย
    3. เตรียมสถานที่ ทำความสะอาดมัสยิด
    4. ติดต่อประสานอิหม่านประจำมัสยิดบรรยายธรรม ประชาชนในชุมชนบ้านกลาพอตกจำนวน 130คน เข้าร่วมฟังการบรรยายธรรมโดยอิหม่านประจำมัสยิดบ้านกลาพอตกตั้งแต่เวลา 13.00นเป็นต้น เนื้อหาการบรรยายธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในชุมชนบ้านกลาพอตกจำนวน 130คน เข้าร่วมฟังการบรรยายธรรมโดยอิหม่านประจำมัสยิดบ้านกลาพอตกตั้งแต่เวลา 13.00นเป็นต้น เนื้อหาการบรรยายธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของครอบครัวเช่น การเป็นบิดา มารดา การเป็นบุตรที่ดี การละหมาดร่วมกันน้อย 1ครั้งในช่วง18.30น รับประทานร่วมกันวันละ 1 มื้อในตอนเย็นหลังเลิกงาน หรือกอดลูกทุกวัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว มีกิจกรรมพัฒนา เช่น การตัดหญ้าริมถนนทางเข้าหมู่บ้าน ทำความสะอาดมัสยิด

     

    130 130

    35. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงนัดพูดคุยเกี่ยวกับงบประมาณและปรับแผนปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานตามงวดจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ

     

    3 3

    36. จูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน ครั้งที่ 4

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานโครงการ
    2. ลงมือทำกิจกรรมการละมาดร่วมกัน
    3. กิจกรรมซ่อมแซมโรงเรียนตาดีกา ด้วยการทาสี และรับประทานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนเกิดความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว คนในชุมชนเป็นลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับคนชุมชนให้มีความคิดที่ดีต่อกัน และการรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียวจากการทำกิจกรรมสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเยาวชนมีส่วนร่วมในการกิจกรรมชุมชนเช่นพัฒนาชุมชน และ ช่วยเหลือในการซ่อมแซม ปรับปรุง อาคาร มัสยิด

     

    130 130

    37. จูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน ครั้งที่ 5

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
    2. ลงมือทำกิจกรรมการละหมาดร่วมกัน
    3. ทำกิจกรรมพัฒนากุโบร์ (สุสาน) และร่วมกันรื้อถอนศาลาในกุโบร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน และชาวบ้าน ได้ร่วมกันทำความสะอาดในกุโบร์ ได้ทำการถอนหญ้า ตัดแต่งทางในกุโบร์ให้เรียบร้อย และได้ร่วมกันรื้อถอนศาลาที่ชำรุดออก เพื่อเคลียร์สถานที่ฝังมัยยิต (ศพ) ให้มีพื้นที่กว้่างขวางขึ้น กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนได้ระลึกถึงความตาย และเมื่อตายไปแล้วไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้ เพราะจะถูกสอบสวนความดีและความชั่วอยู่ในหลุมฝังศพ ทำใหเยาวชนและผู้ที่มาร่วมกิจกรรมได้พูดคุยกันในเรื่องศาสนาเกี่ยวกับความตาย ทางเยาวชนเองพูดว่า จะกลับไปเป็นคนดีให้มากกว่านี้

     

    130 120

    38. เยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านครอบครัวเพื่อนฉัน ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
    2. คัดเลือกครอบคุณธรรมจำนวน 10ครัวเรือน
    3. เยาวชนลงพื้นทีปฏิบัติการเยี่ยมและมอบของใช้ประจำวัน เยาวชนและคณะกรรมการสภาจำนวน 60คนร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลในการคัดเลือกครัวเรือน 10ครัวเรือน โดยมีหลักเกณฑ์ 1.ครอบครัวที่ยากจนมีรายได้ไม่ถึง 3,000บาทต่อเดือน 2. มีบ้านที่ไม่ถาวร 3.ลูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ผลการคัดเลือก 10ครอบครัว การคัดเลือกจาการประชุมสภาผู้นำ โดยมีแกนนำเยาวชนลงพื้นที่เยี่ยมและมอบเครื่องอุปโภคบริโภค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนจำนวน 10 คนลงพื้นที่เยี่ยมแจกเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ 10ครอบครัวในชุมชนกลาพอตก ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเพื่อนช่วยเพื่อนจนความผูกพันธ์ ใก้ลชิดสอบถามสาระทุกข์ ความเป็นอยู่ทำให้เยาวชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกันกับคนในชุมชน มีปัญหากล้าที่จะบอกครอบครัวติดยาเสพติดก็กล้าที่จะเดินเข้ามาหาผู้ใหญ่บ้านเพื่อต้องการบำบัด

     

    60 60

    39. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำหลังละมาดอีซา (ละมาดในช่วงกลางคืน) สรุปผลการทำกิจกรรมจูงลูก จูงหลาน เรียนรู้จริยธรรมและคุณธรรมผ่านการเข้ามัสยิดหลังจากละหมาดร่วมกัน จำนวน 5 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำจำนวน 47 คน รวมทั้งกลุ่มเยาวชน มีความพึงพอใจมากต่อกิจกรรมนี้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ และกลุ่มเยาวชน ได้พูดคุยร่วมกัน มีการสั่งสอนเรื่องราวดี ๆ จากผู้ใหญ่ โดยจะใช้หลักศาสนามาสั่งสอนทุกครั้ง ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ว่ายาเสพติดนั้นเป็ยบาป และ ทำลายคนในครอบครัว ถ้าเราประพฤติไม่ดี พ่อแม่ก็เสียใจ ซึ่งกิจกรรมในโครงการนี้ ทำให้ได้แง่คิดในหลายเรื่อง

     

    59 47

    40. เยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านครอบครัวเพื่อนฉัน ครั้งที่ 2

    วันที่ 13 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและกรรมการจำนวน 60 คน ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ปกครองเยาวชน จำนวน 3 ครัวเรือน ได้มอบของอุปโภคบริโภค และพูดคุยในเรื่องการดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และทำให้รับทราบปัญหาของแต่ละบ้าน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ครอบครัวที่ไปเยี่ยมอยากให้คนในชุมชนมีการช่วยเหลือและพูดคุยกันมากกว่านี้ เพื่อจะได้ลดความห่างเหินในช่วงที่มีสถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น

     

    60 60

    41. เยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านครอบครัวเพื่อนฉัน ครั้งที่ 3

    วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายบ้านที่จะลงเยี่ยม
    • จัดแบ่งกลุ่มออกเยี่ยม
    • จัดเตรียมของที่ระลึกในการเยี่ยม เช่นเครื่ออุปโภคบริโภค ต่างๆ
    • ลงพื้นที่เยี่ยม จำนวน 12 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเเยาวชน พบบ้านแบบอย่างในการเลี้ยงลูก คือ พ่อแม่จะให้เวลากับลูก ทานข้าวร่วมกัน ละมาดร่วมกัน ช่วยกันทำงานบ้านและงานในครัวเรือน และพูดคุยกับลูกให้คำปรึกษา ทำให้มีลูกที่เติบโตมาอย่างมีคุณภาพ และมีการงานที่ดี

     

    60 60

    42. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่10

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดประชุมสภาผู้นำจากมติการประชุมครั้งที่ 9 โดยมีสมาชิกสภาผู้นำชุมชนจำนวน 23 คนมีการเเลกเปลียนความคิดเห็นในการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน สภาผู้นำชุมชนมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการหมู่บ้านพูดคุยเกี่ยวกับโครงการประชารัฐ โครงการพนมและกองทุนหมู่บ้านเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ที่ได้รับมาจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่อนำมาสู่การพัฒนาหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 10 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 23 คนโดยผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเกี่ยวข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการการประชุมประจำเดือนกรกฏาคมเกี่ยวงานรับผิดชอบจากนายอำเภอเกี่ยวกับโครงการประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านและโครงพนมอีกทั้งชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณการดำเนินกิจกรรมโครงการกองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตกซึ่งได้รับงบประมารจาก สสส.งวดที่ 1 จำนวน 74,790 งวดที่ 2จำนวน 93,490 และงวดที่ 3 จำนวน 18,695 รวมงบประมาณ 186,975 บาท การดำเนินกิจกรรมโครงสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม2559 บัดนี้กิจกรรมสิ้นสุดการดำเนินการในวันนี้แต่ยอดเงินคงเหลืองวดที่ 3 ซึ่งสสส.จะต้องโอน 18,695 บาท ส่วนงวดที่ 2 และงวดที่ 3 การดำเนินกิจกรรมสิ้นสุดปิดโครงการงบประมาณในการดำเนินการ 112,185 บาท จึงจำเป็นต้องสำรองเพื่อปิดโครงการในงบประมาณงวดที่3จึงชี้แจงในคณะกรรมการสภาผู้นำทราบ

     

    59 23

    43. พบพี่เลี้ยงเพื่อรายงานความก้าวหน้า

    วันที่ 4 สิงหาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงนัดหมาย
    • จัดเตรียมเอกสาร/ข้อมูล
    • นำเอกสารและข้อมูลให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงแนะการจัดทำเอกสารทางการเงิน
    • คณะทำงานจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมผ่านทางเว็บไซด์
    • พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการบันทึกข้อมูล รายงานการเงิน ตรวจบัญชีการใช้จ่ายเงินตลอดงวดที่ 2 และงวดที่ 3 เพื่อทำรายงานส่ง สจรส. ให้ตรวจปิดโครงการ
    • สิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตรวจเอกสารรายงานผู้รับผิดชอบโครงการกลับไปเพิ่มเติมข้อมูลบนเว็บไซต์ และตรวจเอกสารใบลงทะเบียนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม

     

    2 2

    44. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ส่งรายชื่อประสานพี่เลี้ยงคณะทำงาน 2คน
    2. ประสานที่พักที่หาดใหญ่
    3. ลงทะเบียนเข้าร่วมงานวันที่3 เดินทางเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2559 โดยผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้จำนวน2 คน ตั้งแต่เวลา 13.00น จนเสร็จสิ้นวันที่ 5 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการจำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน ผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการได้ร่วมกิจกรรม และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถ่อยทอดให้ทีมงานและคนในชุมชนรับทราบเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนตนเองต่อไป

     

    2 0

    45. ถ่ายภาพกิจกรรม /จัดทำรายงานเอกสาร

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำเอกสารจำนวน 10เล่มเพื่อแจกคณะทำงาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
    2. ล้างรูปกิจกรรมต่างๆเพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผลงานเป็นเล่มรายงานผลการทำโครงการกองปังสร้างสุข จำนวน 10 เล่ม
    • มีรูปถ่ายประกอบการทำรายงาน

     

    2 0

    46. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงิน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานปิดโครงการ พี่เลี้ยงได้ตรวจเอกสารการเงิน และ การรายงานผลในเว็บไซต์ ก่อนนำเอกสารรายงานมาส่งให้ สจรส.ม.อ.ในวันที่ 15 ตุลาคม 59

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารายงานเงินครบถูกต้อง เพิ่มข้อมูลบนเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขสามารถส่งรายงานให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ในวันที่ 15 ตค.59 ได้

     

    2 2

    47. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดคุยคณะทำงาน
    2. จัดเตรียมเอกสารรายงานการเงิน
    3. นัดพี่เลี้ยง
    4. นัดเจ้าหน้าที่ สจรส. ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินนัดเจ้าหน้าที่สจรส.ตรวจเอกสารการเงินปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินนัดเจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจเอกสารการเงินปิดโครงการ สามารถปิดโครงการได้ เอกสารการเงินถูกต้อง และมีข้อแนะนำให้เพิ่มข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ หลังจากนี้จะกลับไปทำ และแจ้งทางพี่เลี้ยงอีกครั้ง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบของสภาผู้นำ (สภากองปังสร้างสุข)
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดสภาผู้นำ(สภากองปังสร้างสุข)จำนวน 44 คน 2. สภาผู้นำ(สภากองปังสร้างสุข)ขับเคลื่อนประเมินผล โดยผ่านที่ประชุมหมู่บ้าน และมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

    คณะกรรมการสภาจำนวน 44คนเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำและต่อเนื่อง

    2 เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว
    ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนมีข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว 2. เกิด 1กลุ่มสภาผู้นำ(สภากองปังสร้างสุข)จำนวน 44 คน

    การลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามของเยาวชน ชุมชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกกับคนในครอบครัว

    3 เพื่อการวางแผนด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวและจัดทำแผนปฏิบัติการ
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดแผนปฏิบัติการของเด็กเยาชนและครอบครัวนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว

    การพูดคุยระหว่างเยาวชนกับเยาวชน ครอบครัวกับครอบครัว ท้ายสุดเยาวชนและครอบครัวมีพื้นที่การคุยกกันทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการระหว่างเยาวชนกับครอบครัวจนเกิดเป็นแผนความต้องการของเยาวชนและครอบครัว

    4 เพืื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวโดยใช้ศิลปะกองปังชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มเยาวชนสืบทอดวัฒนธรรมศิลปะกอปังจำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 60 คน 2. กลุ่มสภาชุมชน จำนวน 20คนในการจัดการแผนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว

    การสื่อสารผ่านการละเล่นกองปังเยาวชนบอกกล่าวเล่าความความในใจให้ครอบครัวได้รู้ถึงความต้องการของเยาวชนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวกับเยาวชน

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.การเข้าร่วมประชุมกับสสส.สจรส.มอ.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมอย่างต่อเนื่อง 2.ประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่ 3.การถ่ายรูปกิจกรรมทุกครั้งก่อน หลัง ระหว่างการจัดกิจกรรมทุกครั้งในการเก็บภาพกิจกรรมเพื่อบันทึกบนเว็ปไซด์รายงานสสส. 4.การดำเนินงานเสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด15ตค59สามารถรายงานปิดโครงการได้ตามกำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบของสภาผู้นำ (สภากองปังสร้างสุข) (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว (3) เพื่อการวางแผนด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวและจัดทำแผนปฏิบัติการ (4) เพืื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัวโดยใช้ศิลปะกองปังชุมชน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

    รหัสโครงการ 58-03798 รหัสสัญญา 58-00-2214 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1ครั้งในการแก้ปัญหาและการจัดทำแผนความสัมพันธ์ของครอบครัวและเยาวชน

    การประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1 ครั้ง

    การประชุมสภาผู้นำในการแลกเปลี่ยนข้อมูลปัญหาความต้องการในการจัดทำแผนชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มจิตอาสาลงพื้นที่ดูแลผูสุงอายุเรื่องสุขภาพสิงแวดล้อมในชุมชน

    กลุ่มจิตอาสาสานสัมพันธ์คนในครอบครัว

    การพื่อเครือข่ายจิตอาสาโดยใช้กระบวนการพี่ชวนน้้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    เยาวชนลงพื้นที่ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

    กิจกรรมเยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านครอบครัวเพื่อนฉัน

    การจัดทำแผนร่วมกับหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่นในการลงพื้นที่ดูแลผู้สุงอายุในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การให้ความร่วมมือของคนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้านสถานที่ปลอดบุหรี่ตลอดกิจกรรมโครงการ

    ป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่

    ติดป้ายรณงค์สถานที่ปลอดบุหรี่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในครอบครัวร่วมกับเยาวชน

    กิจกรรมเยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านครอบครัวเพื่อนฉัน

    การประสางานร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    การจัดเวทีเสวนาสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก เยาวชน เด็กและผู้ปกครองแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ของเด็กในยุคปัจจุบันผู้ปกครองและเด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มที่ว่างงานและไม่ได้เรียนหนังสือ ผู้ปกครองมองและยังเข้าใจในพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น การกระทำของวัยรุ่นหรือบุตรหลานไปในทางทางที่ผิด ไม่ไว้ใจในตัววัยรุ่น และยังมองวัยรุ่นเป็นตัวปัญหาของหมู่บ้านและสังคมแต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการ ผู้ปกครองมีแนวคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่นเปลี่ยน เข้าใจสังคมวัยรุ่นมากขึ้น และจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของวัยรุ่นมายิ่งขึ้น เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับอาสาที่จะช่วยเหลือครอบครัว

    เวทีเสวนาการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวทำให้เกิดครอบครัวอบอุ่น

    การใช้กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเยาวชนใช้เป็นข้อมูลสถานการณ์ของชุมชนในการจัดทำโครงการครอบครัวอบอุ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การเชื่อมโยงประสานงานกลุ่มเยาวชน ผู้สูงอายุและครอบครัวในการประสานให้เกิดความสัมพันธ์นำมาสู่ครอบครัวอบอุ่น

    กิจกรรมลงพื้นที่เยาวชนดูแลผู้สูงอายุและครอบครัว

    การจัดทำโครงการร่วมกับหน่วยงานรัฐท้องถิ่นในการสร้างสายสัมพันธ์ครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การระดมทุนคนในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการโดยเฉพาะการสร้างสัมพันธ์ผ่านศิลปกองปังสร้างสัมพันธ์ในครอบครัว

    ลานศิลปะกองปังพี่สอนน้อง

    การสนับสนุนศิลปกองปังให้คงอยู่กับชุมชนบ้านกลาพอตกโดยการจัดทำหลักสูตรการละเล่นกองปัง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การทำแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนโครงการจากการบันทึกข้อมูลเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุขก่อนจะดำเนินโครงการ

    แผนปฏิบัติการโครงการกองปังสร้างสุขบ้านกลาพอตก

    การนำปฏิบัติการปรับใช้ในการทำแผนงานอื่นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเช่นการสมัครเข้าเป็นคณะกรรมการสภาผู้นำในการประชุมสภาผู้นำในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

    การประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1ครั้ง10เดือน

    การใช้ประโยชน์จากการประชุมสภาในการจัดทำเวทีประชาคมของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การช่วยเหลือแบ่งปันลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน

    กิจกรรมโครงการเยาวชนลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวในชุมชน

    กิจกรรมผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมประจำปีของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 58-03798

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย มะรอบี ยามิง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด