directions_run

ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง ”

บ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
น.ส.นูรีซาน มะซาแม

ชื่อโครงการ ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

ที่อยู่ บ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03788 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2219

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส รหัสโครงการ 58-03788 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 187,075.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 460 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ?
  2. สภาพแวดล้อมเกิดความเข็มแข็งในชุมชนและมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  3. กลุ่มเยาวชนและสตรีเป็นแบบอย่างในเรื่องของจิตอาสาดำรงรักษาวัฒธรรมลงแขก
  4. สร้างชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
  5. เพื่อจัดการกระบวนการจัดการข้อมูลในชุมชน
  6. สร้างอาชีพในชุมชน
  7. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ ณ สจรส.ม.อ. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักการทำโครงการ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้เวบไซต์คใต้สร้างสุข การจัดทำเอกสารการเงินและรายงานผลดำเนินกิจกรรม โดยทีมพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เข้าใจการจัดทำรายงานกิจกรรม และการจัดการเอกสารการเงิน สามารถลงปฏิทินได้เสร็จ และเข้าใจการทำโครงการชุมชนน่าอยู่

     

    2 2

    2. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 1

    วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่คณะทำงาน
    2. แบ่งหน้าที่ของคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน)
    3. แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนมีภาวะผู้นำ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมจนเสร็จสิ้นกิจกรรมประชาชนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมและพร้อมทุ่มเท กำลังกาย ใจ และสร้างความผูกพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนผู้ใหญ่กับเด็กๆ เกิดความสามัคคีภายในชุมชนของตนเอง อย่างมีความสุขและเป็นไปตามความตั้งใจของการจัดกิจจกรรมครั้งนี้

     

    25 30

    3. เตรียมความพร้อมจัดตั้งสภาผู้นำและคณะทำงาน (คณะกรรมการหมู่บ้าน)

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ พี่เลี้ยงได้ชี้แจงของโครงการหลักๆ ที่ผู้นำและคณะทำงานโครงต้องรับทราบ คือ ที่มาของโครงการ งบประมาณ วิธีการดำเนินงานของโครงการ และพี่เลี้ยงได้นำเสนอโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงผ่านวิดีโอให้ผู้เข้าร่วมประชุมชมความสำเร็จของหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกคนมีความสนใจและพร้อมที่จะดำเนินโครงการที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการจัดประชุมร่วมกันร่างการจัดตั้งคณะกรรมชุมชน จำนวน 40 คน และจัดตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ร่วมทั้งพี่้เลี้ยงเข้ามาชี้แจงรายละเอียด เช่น การจัดตั้งสภาชุมชน เพื่อขับเคลื่่อนโครงการทำนบร่วมสร้างรายได้สร้างอาชีพอยู่อย่างพอเพียง และ การทำอาชีพหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความร่วมมือของชาวบ้านทุกคนมีความเข้าใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับการจัดกิจกรรม
    • วิดีโอที่ได้ชมทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนของเรา ได้เรียนรู้วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ สามารถนำไปประยุกต์ตามวิธีการ รวมถึงข้อซักถามของผู้เข้าร่วมประชุม มีทั้งปัญหาในหมู่บ้าน จะต้องปฎิบัติอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อหมู่บ้านมากที่สุด

     

    25 40

    4. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน30 คน ประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอ ว่า ควรมีการจัดกิจกรรมประเพณีการกวนอะซูรอพร้อมกันในเวทีเปิดโครงการ ซึ่งการกวนอาซูรอ (นำอาหาร แป้ง ข้าวสาร น้ำตาล ถั่ว มากวนรวมกัน) เป็นประเพณีวัฒนธรรมของคนในชุมชนที่ทำทุกปี และจะทำให้เวทีเปิดโครงการมีผู้เข้าร่วมเยอะ และจะได้รับการสนับสนุนจาก ครือข่าย อบต ปลัดตำบลบางปอด้วย ร่วมทั้งมีการจัดกิจกรรมกีฬาสีตาดีกา เพื่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างเด็กและผู้ปกครองเกิดกระบวนการ เกิดการร่วมคิดร่วมทำการวางแผน เกิดรูปแบบการสร้างเครือข่ายในชุมชน

     

    25 30

    5. อบรมการเขียนรายงาน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมอบรมการทำรายงาน การทำหลักฐานรายงานที่ถูกต้อง และวิธีการเขียนใบสำคัญรับเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รับรู้และเข้าใจการทำภาษีในเรื่องของค่าจ้าง ค่าวิทยากร และในกรณีการหักภาษีและเข้าใจการกรอกข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    6. 1.ประชุมชี้แจง เพื่อสร้างวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันของโครงการ

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในกิจกรรมชี้เเจง เพื่อสร้างวัตถุประสงค์ของโครงการทางคณะกรรมและคณะทำงานโครงการได้ร่วมกับโรงเรียนดารุลบายาน บ้านทำนบ ต.บางปอ อ.เมือง จัดกิจกรรมประเพณีดั้งเดิม การกวนอาซูรอ การเดินขบวนพาเรดของเด็กนักเรียน และการละเล่นกีฬา กิจกรรมนี้เพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ชาวบ้านระหว่างชาวบ้าน สมารถสร้างความสามัคคี มีความกระตือรือร้นกับการจัดกิจกรรม ความร่วมมือของชาวบ้านเป็นอย่างดี และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยทหารในพื้นที่และปลัดผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบางปอเป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านในชุมชนเกิดสัมพันธ์ที่ดี มีความสามัคคี ความร่วมมือในการมาร่วมทำกิจกรรมเปิดเวทีโครงการและกวนอาซูรอ
    2. ชุมชนทราบถึงความเป็นมาของโครงการ
    3. คณะทำงานโครงการสามารถทำงานได้ตามแผนงานที่จัดเตรียมไว้ได้ตลอดงาน

     

    350 350

    7. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 3

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้ใหญ่ชี้แจงเรื่องพัฒนาศักยภาพชุมชน
    2. แบ่งหน้าที่และรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เรื่องเศรษฐกิจชุมชน วางระบบงานและเตรียมพร้อมในการดำเนินการ การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแบบพึ่งตนเอง (เลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนท์) มติที่ประชุมมีมติให้อบรมในรูปแบบการสาธิต และร่วมปฎิบัติเพื่อให้สามารถเห็นรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ร่วมถึงการหาแหล่งปลาดุกให้ชุมชน และมอบหมายให้ทีมฝ่ายปกครองทำหน้าที่ประสานเพื่อของบประมาณกับ อบต ในเรื่องการสนับสนุน บ่อซิเมนต์คณะกรรมการ รับทราบในรายละเอียดของกิจกรรมได้ จะนำไปปฎิบัติตามที่ได้วางแผนไว้ เกิดทีมงานทำงานในแต่ละกิจกรรม

     

    25 25

    8. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการได้ติดป้ายปลอดบุหรีในสถานที่ มัสยิดดารุลบายาน ม.5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้บุคคลที่สูบบุหรี่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยสูบบุหรี่ในเขตบริเวณมัสยิดนั้น เปลี่ยนจากที่เดิมเปลี่ยนเป็นห่างจากผู้คนที่อยู่กลุ่มใหญ่ และมีความเกรงใจมากขึ้น  เพราะมีป้ายการปลอดบุหรี่ เกิดการสำนึกภายในตัว

     

    230 230

    9. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครั้งที่ 1 เป็นการให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรให้ความรู้เรื่อง การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเอง การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุลคือมีความสุขที่แท้ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ - ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต ความพอดีด้านจิตใจ- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้ - มีจิตสำนึกที่ดี - เอื้ออาทร ประนีประนอม - นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน- รู้รักสามัคคี - สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร - พออยู่มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล และ สืบทอดภูมิปัญญา ร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมอบรมตั้งใจรับความรู้ที่วิทยากรนำเสนอ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนมีความตั้งใจจะทำและพัฒนาครอบครัวของเองให้อยู่ในหลักแบบไม่ฟุ่มเฟื่อย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน โดยทีมวิทยาแนะนำการเลี้ยงปลาดุกและการปลูกผักอย่างไรให้ปลอดจากสารพิษ และแนะวิธีต่างๆที่ทำให้เกิดรายได้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยเน้นพืชผักที่มีต้นทุนน้อยแต่รายได้ ได้รับหลายครั้ง พร้อมให้การแนะนำห้ามให้ซื้อของกิน ของใช้ที่เกิดอันตรายแก่ชีวิตบนรถที่ขายตามบ้าน ซึ่งพืชผักพวกนี้จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งและร่างกายได้รับสารพิษโดยปกติชุมชนหรือชาวบ้านจะปลูกผักตลอด ไม่เพียงแต่จะบริโภคเอง โดยเน้นครอบครัวนำร่องทำตามเป็นแบบอย่างหลักเศรษฐกิจพอเพียง

     

    110 110

    10. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำและคณะทำงาน(คณะกรรมการหมู่บ้าน)

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชน เน้นการรู้จักการวางแผน กระบวนการคิดเป็นลำดับขั้นตอน
    • วิทยากรให้ความรู้ ว่า ในการทำงานของสภาเป็นสังคมที่สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น สัมผัสได้ในความเป็นปึกแผ่น แน่นหนา ของความเป็นมิตรภาพ มีความแข็งแรง มั่นคง ยืนหยัด ยั่งยืน มีความพร้อมเพรียง ความสามัคคี อบอุ่น เป็นเอกภาพ ขยัน สร้างสรรค์ ขวนขวาย กระตือรือร้น ที่จะขับเคลื่อนการทำงานใหชุมชนมีความเข็มแข็งมากขึ้น จากที่ไม่เข้าใจในเรื่องของสภาผู้นำ ทำให้เกิดความรู้ลักษณะการทำงานของสภาได้ดีขี้น ชุมชนมีผู้นำที่มีศักยภาพ ขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานต่างได้เห็นพร้อมเพรียงในเรื่องของสภาที่มีการให้ความรู้ อบรม และคณะทำงานมีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะปฎิบัติในเรื่องที่ได้รับความรู้ ซึ่งแต่ละคนมีการสอบถาม เรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำให้มีความเข้มแข็งให้มากขึ้น และพร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมใจทำงาน เพื่อให้เกิดชุมชนการช่วยเหลือภายในชุมชนและมีการงาน มีรายได้จากที่ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล ให้ชุมชนเพื่อเกิดความสงบต่อชุมชน อยู่กันอย่างผาสุข สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานร่าเริง เป็นชุมชนที่สภาผู้นำที่ดีและเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนได้

     

    25 25

    11. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที 2

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
    2. วิทยากรทำการเรียนการสอนการทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือนโดยแยกการลงบัญชีให้ถูกกับรายจ่ายในแต่ละวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นตัวเองที่จะทำให้เกิดการออม ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนมีความสำคัญ ดังนี้ ทราบถึงรายรับรายจ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนเป็นต้น ทำให้ประชาชนสามารถวางแผนการใช้จ่ายรู้จักการบริหารจัดสรรเงินแต่ละครั้งได้และยังรู้จักการออมภายในครอบครัวมีวินัยการใช้จ่ายรวมถึงสร้างความสามัคคีภายในครอบครัวและยังทำให้เกิดการจดบันทึกระหว่างค่าใช้จ่ายติดเป็นนิสัยทำให้ไม่เกิดหนี้สินตามมาภายในการทำบัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมดจึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อครอบครัวที่เป็นต้นแบบของชุมชนให้มีการออม

     

    110 110

    12. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 3

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกการลงบัญชีครัวเรือน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู่การทำบัญชีครัวเรือน ครัวเรือ่นให้ความสนใจ และสอบสอบถามว่า ทำบัยชีครัวเรือนจะได้รู้ที่มาที่ไปของเงินในครอบครัว รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร แต่ปัญหาบางคนเขียนไม่เป็น ก็จะให้บุตรหลานช่วยเขียนบันทึกครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการทำกิจกรรมการออกแบบข้อมูลบัญชีครัวเรือนให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจตามแบบฟอร์มวิทยากรได้ การสอนวิธีการออกแบบข้อมูลบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย และสอนรายละเอียดการลงบัญชีรายรับรายจ่ายให้ครัวเรือนลองกรอกลงบัญชีตามความเป็นจริงในแต่ละวันว่าครัวเรือนมีการลงบัญชีตามที่ออกแบบหรือลงตามช่องการใช้จ่ายถูกต้องหรือไม่กลุ่มแกนนำที่เป็นครัวเรือนต้นแบบมีความกระตือรือร้นในการลงบัญชีสนใจการทำบัญชี

     

    110 110

    13. รายงานการปิดงวด 1

    วันที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 ทาง สจรส.ม.อ.ทำการตรวจเอกสารการเงินในงวดที่ 1 และตรวจการรายงานกิจกรรมในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง ต้องมีหลักฐานใบเสร็จจากทางร้านค้า และจัดทำเป็นชุดกิจกรรมให้ง่ายในการเรียกตรวจสอบ
    • ได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดทำรายงานกิจกรรมในโครงการ ต้องเพิ่มข้อมูลให้ชัดเจน

     

    2 2

    14. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 4

    วันที่ 26 มิถุนายน 2559 เวลา 20:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการประชุม ยกประเด็นประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงปลาดุก โดยค้นหาผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครง มีคนเสนอว่า มีคนในหมู่บ้านที่เคยเลี่ยงปลาดุแล้ว และเลิกแล้ว 7 คน น่าจะชักชวนเข้าร่วมโครงการใหม่ เพราะจากการสอบถามพบว่า ปัญหาเรื่ออาหารปลา ที่ใช้อาหารที่ซื้อจากตลาด ทำให้รับภาระไม่ไหวรวมถึง ภาวะน้ำที่ต้องรอช่วงหน้าฝน ทำให้นำ้ไม่แห้ง ช่วงหน่าร้อนทำไม่ได้น้ำแห้ง ไม่สามารถเปลี่ยนหรือเพิ่มน้ำได้ ทำให้ปลาตายและให้เริ่มที่การสร้างบ่อซิเมนต์ก่อน มตืที่ประชุมเห็นด้วย คนในหมู่บ้านที่เคยเลี่ยงปลาดุแล้ว และเลิกแล้ว 7 คน น่าจะชักชวนเข้าร่วมโครงการใหม่ และเพิ่มจำนวนหลังคาเรือน ใในกลุ่มที่ยังไม่เคยเลี้ยงแต่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยจะมีการประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่ิอรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการในประเด็นบ่อซิเมนต์ควรขอบงบจากหน่วยงานนอก พร้อมกับเรี่ยไรเงิน หรือใช้เงินของตัวเอง แต่มีเพื่อมาช่วยสร้าง สร้างความสัมพันธ์และสามัคคีกับชุมชน โดยมีผู้นำเป็นตัวนำในการปฎิบัติต่อกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะปฏิบัติเกิดกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่มัสยิด และชักชวนรายคนในกลุ่มที่เคยเลี่ยงปลาดุ เกิดกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาโดยให้เรืมเลี้ยงปลาช่วงมีฝน โดยให้ทยอยสร้างบ่อซิเมนต์ก่อนในกลุ่มที่มีบ่อซิเมนต์แล้ว ให้ปรับปรุงให้สามารมาใช้งานได้

     

    25 25

    15. การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแบบพึ่งตนเอง (เลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนท์)

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 - 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการและคณะทำงานได้แนะนำตัววิทยาการที่มาร่วมงานจากประมงอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 2.และผู้ใหญ่บ้านได้เกรินนำเรื่องละเอียดเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ จากนั้น วิทยาการได้พูดถุงการเลี้ยงปลาดุกแบบต่างๆ ซึ่งการเลี้ยงปลาดุก จะมี 2 แบบ คือ การเลี้ยงปลาดุกแบบบ่อซีเมนท์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกในสองแบบนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปซึ่งการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนท์จะเลี้ยงง่ายกว่าเพราะสามารถเปลี่ยนน้ำได้ง่าย การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถใช้ อี เอ็มในการยื่นอายุของการถ่ายเปลี่ยนน้ำ และลดการทำให้ปลาไม่เครียดจากการเลี้ยง ผู้เลี้ยงก็ต้องเปลี่ยนน้ำ 2-3 วัน/1 ครั้ง หน้าหนาว ปลาดุกมีโอกาศการเกิดโรคได้มากๆ ขอแนะนำ ควรลงมือเลี้ยงในฤดูฝน จะทำให้เลี้ยงงายและโตเร็ว จะเก็บผลผลิตได้ไม่เกิน 3 เดือน จะโตเต็มทีสามารถจำหน่ายได้ วิทยากรจะบอกถึงวิธีการให้อาหารและการทำอาหารเองตามธรรมชาติโดยไม่เสียค่าอาหารเพื่อที่จะลดต้นทุนของอาหารให้ปลาดุกได้ วิธีการทำอาหารเอง คือ สามารถนำเศษอาหารหัวปลา เศษไก่ เศษอาหารที่เหลือบดให้ละเอียดนิดหน่อยนำไปเท่ลงในบ่อซีเมนท์และพืชผัก เช่น ผักตบชวาและอื่นๆ ที่สามารถนำให้มาปลาดุกกินได้ และการผสมอาหารเอง คือการทำอาหารปลาดุก ส่วนผสม
    1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
    2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
    3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
    4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
    5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
    6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
    7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร
    **วิธีทำการทำอาหาร
    1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
    2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
    3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน
    **การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก 1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย 2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง 3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง **ประโยชน์ของปลาดุก -เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย -ปลาไม่เป็นโรค -ปลาไม่มีกลิ่นสาบ -ปลาไม่มีมันในท้อง -ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย ** เรื่องที่ 2 หลักสูตรการขนมตาแปฮูบีกายู ***(มันสำปะหลัง) 1.ต้องเลือกหัวมันสำปะหลังที่แก่และอ่อนมาก เพื่อที่จะไม่ให้ขนมออกมาแหละจนเกินไป 2.ตัดปลายห่างที่เป็นไม้ออก จากนั้นหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ4 เซนติเมตร 3. ปอกเปลือกออก และหั่นเนื้อมันเป็นแฉกให้เท่ากันตามความเหมาะสม 4. นำมันสำปะหลังที่ติดมันออก ล้าง 2-3 ครั้ง จนน้ำสะอาดและน้ำจะเป็นสีใสไม่ขุ่น 5. นำไปต้มในน้ำเดือดให้พอมันสำปะหลังสุก เสด็จน้ำจนน้ำแห้งสนิทและตากบนเสื่อให้ความร้อนคลายออกให้หมด 6.สุดท้ายให้นำหัวเชือกมาบอดให้ละเอียดและโปรยบนสำปะหลังให้พอดี จากนั้นใส่ในกะละมัง ปิดห่อหุ้มให้สนิทไว้หนึ่งคืน จากนั้นมาเปิดใส่ถุงเพื่อนำไปขายที่ตลาด ** การปลูกผักสวนครัว ริมรั้ว ** การปลูกผักสวนครัวริมรั้ว ได้ความอนุเคราะห์เมล็ดจากเกษตรอำเภอ พัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสการที่เราได้ปลูกผักริมรั้วเพื่อต้องการให้ชาวบ้านลดต้นทุนในการซื้อของบนรถเร่ หรือการใช้แบบอย่างเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ชาวบ้านได้ปลูกตามรั้วหน้าบ้านหรือทำเป็นสวนหย่อมเพื่อเก็บพืชผักทานเองภายครัวเรือน จากที่เหลือกินสามารถนำไปขายต่อได้ตามราคาที่ไม่แพงนักชาวบ้านให้ความร่วมมือในการปลูกผักต่างๆ เช่น ตะไคร่ พริก ข่า และอื่นๆ ที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่ายดูแลไม่ยาก สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ภายในหมู่บ้านเกิดกลุ่มการเลี้ยงปลาดุก  มีกลุ่มการขนมแบบดั้งเดิม มีการปลูกผักเพื่อรับประทานกินเอง และแลกเปลี่ยนไปตาม ทำให้เกิดความสุขภายในตนเองและรอบๆหมู่บ้าน

     

    110 110

    16. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่1

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมกันทำบ่อปลาดุกให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการทำบ่อซิเมต์ใหม่ ร่วมกับการปรับปรุงบ่อซิเมนต์ที่ที่มีอยุ้แล้ว แบ่งคนทำงานหลังคาเรือนละ 15 คนได่ 4 หลังคาเรื่อน พบว่าใน 4 หลังคาเรื่อน ไม่สามารภให้เสร็จสิ้น ใน 1 วัน จากการดำเนินการต้องใช้เวลา ทำบ่อซิเมนต์ใหม่ ประมาณ 1 อาทิตย์บ่อวิเมนต์เก่า 3-4 วัน จึงสรุปว่า ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้น 4 หลังคาเรือนนี้ก่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การสร้างบ่อปลาดุกด้วยบ่อซีเมนต์สำเร็จและทำได้บรรลุเป้าวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แต่ยังไม่เสร็จสิ้น 4 หลังคาเรือน

     

    60 60

    17. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 5

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้รับผิดชอบชี้แจงรายละะเอียดของการเลี้ยงปลาดุก 2.ให้ประชาสัมพันธ์ให้คนที่สนใจเข้าอบรมทักษะการเลี้ยงปลาดุก 3.และการการขนมหลักสูตรขนม (ตาแปฮูบี) แบบดั้งเดิมของหมู่บ้าน 4.การปลูกผักสวนครัวริมรั้ว เพื่อลดต้นทุนของครัวเรือน และสร้างรายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการและคณะทำงานโครงการได้ประชาสัมพันธ์ภายในหมู้บ้านเข้าร่วมรับฟังและเป็นกลุ่มตัวอย่างของหมู่บ้าน 

     

    25 25

    18. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 6

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชาวบ้านในชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการร่วมลงแขกในการสร้างบ่อปลาแต่ละบ้าน และ การทำขนมตาแปฮูบีกายูและช่วยการปลูกผักริมรั้ว ผู้ใหญ่ได้เน้นให้กลุ่มเยาวชนกลุ่มสตรีและแกนนำในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมลงแขก ซึ่งได้ดำเนินการ 4 ครัวเรือนจากการประชุม เป้าหมายหลังคาเรือน 55 หลังคาอาจไม่ได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก ความการสร้างบ่อต้องใช้เวลานาน เป็นอาทิตย์จึงตั้งเป้าหมายใหม่ เหลือ 10 หลังคาเรือน เพื่อนำร่องในการเลี้ยงปลาดุ และประชุมเรื่อการขอพันธ์ปลาที่ใหนมีคนเสนอลองหาพันธ์ปลาดุฟรีก่อน ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่ อบต ถ้าไม่ได้ค่อยร่วบรวมเงินซื้อพันธ์ปลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิดกลุ่มสตรี หนึ่งกลุ่ม เกิดกลุ่มเยาวชนหนึ่งกลุ่มเกิดสภาผู้นำชุมชนสร้างเศรษฐกิจพอเพียง เกิดกลุ่มครัวเรือนที่มีอาชีพเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก เพาะเห็ดนางฟ้า เลี้ยงไก่พี้นเมือง เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน เกิดการร่วมคิดร่วมทำข้อตกลงของคนในชุมชน

     

    60 60

    19. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนที่มาร่วมกิจจกรรมสร้างความร่วมมือในการระดมแรง และลงมือร่วมกันลงแขกอย่างพร้อมเพรียงโดยการทำบ่อซิเมต์ใหม่ ร่วมกับการปรับปรุงบ่อซิเมนต์ที่ที่มีอยุ้แล้ว แบ่งคนทำงานหลังคาเรือนละ 15 คนได่ 4 หลังคาเรื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกลุ่มเยาวชนหนึ่งกลุ่ม คนในชุมชนช่วยเหลือ เกิดจิตอาสาช่วยเหลือในชุมชน สืบสารวัฒนธรรมลงแขกซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่และสร้างความสามัคคีในชุมชน เกิดชุมชนน่าอยู่ และทำให้ผุ้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปต่อยอดโดยการทำบ่อซิเมต์ใหม่ ร่วมกับการปรับปรุงบ่อซิเมนต์ที่ที่มีอยุ้แล้ว แบ่งคนทำงานหลังคาเรือนละ 15 คนได่ 4 หลังคาเรื่อน

     

    60 60

    20. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 7

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานสภาได้ชี้แจงในเรื่องรายละเอียดการร่วมมือและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมลงแขกบ่อปลาดุกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ พบปัญหาว่า บางคนติดภ่ระกิจในวันที่ลงแขก แต่ส่งตัวแทนมาร่วมทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีระบบการเลี้ยงปลาดุก ให้เกิดอย่างต่อเนื่อง จะทำอย่างไร มีคนเสนอให้เมื่อเลี้ยงปลาดุ การทำอาหารปลา เราสามารถเอาวัตถุดิบจากร้านค้าหรือ เศษวัสดุจากครัวเรือน เช่นหัวปลา ฉะนั้น มอบหมายให้สมากชิกที่เริ่มสร้างบ่อให้เริ่มติดต่ิร้านอาหารที่มีเศษปลาสด และผัก และร้านขายไก่ ที่มีเศษหัวไก่หนังไก่ ทั้งในชุมชน และตลาด เพื่อประมาณการวัตถุดิบการทำอาหาร เพื่อลดการใช้อาหารสำเร็จรูป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการให้ความร่วมมือและพร้อมกันช่วยกันทำปลาดุกการการร่วมคิดการผลิดอาหารปลาร่วมกันในชุมชน

     

    25 25

    21. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 8

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการชี้แจงจุดการสร้างบ่อปลาและหารือร่วมมือร่วมแรงในการสร้างบ่อปลาร่วมประชุม จะอย่างไรให้สร้างบอปลาให้เสร็จเร็วที่สุด มีคนเสนอว่า บ่อปลาใหม่ใหญ่เกินไป ทำให้ต้องใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสุง เราน่าจะปรับเป็น บ่อขนาดเล็กได้มั้ย ในครัวเรือนที่ดำเนินการบ่อใหญ่แล้วก็ไม่เป็นไร อาจใช้วิธีแบบการใช้ปล่องบ่อแทน ทำให้เกิดหลังคาเรือนที่เลี้ยง้อาไว้รับประทานเองเท่านั้น อาจไม่ต้องขายแต่มติอยากได้ขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ขายได้ด้วย และมีการเสนอให้ มีการเสี่ยงเมื่อปลาโต และมีการขาย 50 กิโลแรกให้ขายเก็บเป็นเงินกองหลางสำหรับบริหารจัดการเป็นกองทุนปลาดุ เช่นเป็น ทุนในการวื้อพันธ์ปลาในครั้งต่อไป และสำหรับสมาชิครัวเรือนใหม่สร้างบ่ิเลี้ยงปลาดุ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการเห็นชอบและพร้อมจะสร้างบ่อปลาให้ผุ้ร่วมกิจกรรมเกิดกระบวนการร่วมคิดร่วมทำร่วมเสนอข้อเสนอแนะ สู่การพัฒนาชุมชน

     

    25 25

    22. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 4

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน ร่วมทั้งสิ้น 4 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนเกิดความสามัคคี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กิจกรรมการสร้างลงแขกสำเร็จได้ด้วยดี

     

    60 60

    23. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 9

    วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำคณะกรรมการร่วมชี้แจงรายละเอียดงานในที่ประชุมที่ต้องปฎิบัติแก่ผู้เข้าร่วมรับฟังการประชุมครั้งนี้ การจัดงานปันผลกองทุน ชรบ และสรุปกำไรของกองทุนและการออมเงินของโครงการออมเงินวันละบาทโครงการ ทำนบร่วมสร้างอาชีพ สร้างรายได้อยู่อย่างพอเพียง พบว่า ครัวเรือนสนใจที่ออม โดยใข้รูปแบบการทำกองทุนออมทรัพย์ของ ชรบ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์บ้านทำนบ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์โดยจัดตั้งกฏกติกาชุมชนในการเบิกจ่ายแต่ละครัวเรือนเปิดบัญชีออมทรัพย์จัดเก็บเงินวันละบาทได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ(คณะกรรมการ) สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี เกิดกองทุนออมทรัพย์

     

    25 25

    24. การจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจในชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสตรีและกลุ่มเยาวชนนำแบบสอบถาม ให้แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการกรอกข้อมูลและเดินกรอกตามบ้าน ซึ่งในแบบสอบถามนั้นจะมีข้อมูลให้ครัวเรือนได้แก่ความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินอต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคน ด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเองรายละเอียด มีด้านความรู้ควมเข้าใจการจัดการบัญชีครัวเรือนพบว่ามีการลงบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนือง 4 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังลงไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากเขียนหนังไม่ได้ ต้องให้ลูกหลานช่วยด้านการเพิ่มรายได้ มีผลิดด้านอาหาร คือ ผัก จำพวกผักบุ้ง ถั่วชะอม พริกตะใคร้ ข่ากระเจียบเลี้ยงปลาดุ 3 ครัวเรือน มีการออมทรัพย์ วันละบาทกับกองทุนออมทรัพย์ 18 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการทำหลังจากได้ประชาสัมพันธ์กองทุนออมทรัพย์ มีการสำรวจด้านการศึกษา พ่อ แม่ไม่ได้เรียนหนังสือด้านประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชัพกรีดยาง และเป็นแม่บ้านส่วนใหญ่บริโภดอาหารถุงขนมกินเล่น จากรถเร่ที่มาข่ายในชุมชน ส่วน น้ำปลา น้ำตาล ซอสข้าวสาร จากร้านในตัวเมือง รวมถึงเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ค่าขนมลูก ในชุมชนไม่มีสหกรณ์ชุมชนด้านรายได้ต่ำกว่า 5000 บาท รายจ่าย มากกว่า 9000 -15000 บาท ซึ่งทำการสำรวจ ทั้ง 40 หลังคาเรือนในวันนี้ และในการสำรวจมีการแนะนำครัวเรือง การใช้จ่าย การลดรายจ่าย ให้กับครัวเรืิอน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้น พยายามจะลดรายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินอต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคน ด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเอง รู้จักการวางแผนในการใช้จ่าย ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียง 40 ครัวเรือน เกิดกลุ่มสรตรีที่ดำเนินการด้านสำรวจขับเคลื่อนเศรษกิจพอเพียง

     

    40 40

    25. การจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจในชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่บ้านต่อบ้าน ทำการสำรวจเกี่ยวกับ เช่น การทำบัญชี รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนรายได้จากการทำอาชีพเสริมอาชีพหลักของแต่ละครัวเรือน รวมถึงการออมเงินเพื่อปฏิบัติเป็นนิสัย รวมถึงสอบถามลักษณะการใช้จ่าย หนี้ที่เกิดจากการว่างงาน ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินอต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคน ด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเองรายละเอียด มีด้านความรู้ควมเข้าใจการจัดการบัญชีครัวเรือนพบว่ามีการลงบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนือง 4 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังลงไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากเขียนหนังไม่ได้ ต้องให้ลูกหลานช่วยด้านการเพิ่มรายได้ มีผลิดด้านอาหาร คือ ผัก จำพวกผักบุ้ง ถั่วชะอม พริกตะใคร้ ข่ากระเจียบเลี้ยงปลาดุ 3 ครัวเรือน มีการออมทรัพย์ วันละบาทกับกองทุนออมทรัพย์ 18 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการทำหลังจากได้ประชาสัมพันธ์กองทุนออมทรัพย์ มีการสำรวจด้านการศึกษา พ่อ แม่ไม่ได้เรียนหนังสือด้านประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชัพกรีดยาง และเป็นแม่บ้านส่วนใหญ่บริโภดอาหารถุงขนมกินเล่น จากรถเร่ที่มาข่ายในชุมชน ส่วน น้ำปลา น้ำตาล ซอสข้าวสาร จากร้านในตัวเมือง รวมถึงเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ค่าขนมลูก ในชุมชนไม่มีสหกรณ์ชุมชนด้านรายได้ต่ำกว่า 5000 บาท รายจ่าย มากกว่า 9000 -15000 บาทพบครัวเรือนหนี้นอกระบบ จำนวนหนี้ประมาณครัวเรือนช่วง 5000 - 8000 บาท และบางครัวเรือนมีหนี้ธนาคารอยู่ในช่วง 1000 - 100000 บาท เพื่อทำการกู้มาต่อเติมบ้านกับธนาคารประมาณ 5 ครัวเรือน หรือ ซึ่งทำการสำรวจ ทั้ง 42 หลังคาเรือนในวันนี้ และในการสำรวจมีการแนะนำครัวเรือง การใช้จ่าย การลดรายจ่าย ให้กับครัวเรืิอน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้น พยายามจะลดรายจ่าย และไม่สร้างหนี้ให้กับครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนมีความกระตื้ิอรือร้น หลังจากที่ได้ศึกษา การทำบัญชีครัวเรือน ชุมชนหรือครัวเรือนรู้วิธีการเขียนบัญชี ด้านรายรับรายจ่ายของทุกวัน ครัวเรือนสามารถ รับู้ถึงการใช้จ่ายของครัวเรือนแต่ละวัน ครัวเรือนจ่ายไปเท่าไร ครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนด้วยตนเองและทำเป็นนิสัย เกิดกิจกรรมภายในตนเอง ชุมชนมีความรู้ในการใช้เงินอย่างประหยัด เพื่อดำเนินวิถีชีวิตย่างพอเพียง เกิดกลุ่มสตรีด้านการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

     

    40 40

    26. การจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจในชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำการเดินสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ การทำบัญชีครัวเรือนและการวางแผนของรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน รวมถึงการหนี้ของคนในครัวเรือน ซึ่งเป็นสาเหตุ นำไปวิเคราะห์ข้อมูล ถึงปัญหา ต้นเหตุที่เป็นข้อเท็จจริง ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินแต่ละครัวเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคน ด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเองรายละเอียด มีด้านความรู้ควมเข้าใจการจัดการบัญชีครัวเรือนพบว่ามีการลงบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนือง 4 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังลงไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากเขียนหนังไม่ได้ ต้องให้ลูกหลานช่วยด้านการเพิ่มรายได้ มีผลิดด้านอาหาร คือ ผัก จำพวกผักบุ้ง ถั่วชะอม พริกตะใคร้ ข่ากระเจียบเลี้ยงปลาดุ 3 ครัวเรือน มีการออมทรัพย์ วันละบาทกับกองทุนออมทรัพย์ 18 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการทำหลังจากได้ประชาสัมพันธ์กองทุนออมทรัพย์ มีการสำรวจด้านการศึกษา พ่อ แม่ไม่ได้เรียนหนังสือด้านประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชัพกรีดยาง และเป็นแม่บ้านส่วนใหญ่บริโภดอาหารถุงขนมกินเล่น จากรถเร่ที่มาข่ายในชุมชน ส่วน น้ำปลา น้ำตาล ซอสข้าวสาร จากร้านในตัวเมือง รวมถึงเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ค่าขนมลูก ในชุมชนไม่มีสหกรณ์ชุมชนด้านรายได้ต่ำกว่า 5000 บาท รายจ่าย มากกว่า 9000 -15000 บาท ซึ่งทำการสำรวจ ทั้ง 40 หลังคาเรือนในวันนี้ และในการสำรวจมีการแนะนำครัวเรือง การใช้จ่าย การลดรายจ่าย ให้กับครัวเรืิอน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้น พยายามจะลดรายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนมีการทำรายรับ รายจ่าย ครัวเรือนสามารถ รู้ถึงการใช้จ่ายเป็นรายวัน ครัวเรือนสามารถทำการออมเงินให้เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และมีเงินเก็บไว้ใช้ ครัวเรื่อนมีการวางแผนการใช้จ่ายและเก็บออมทรัพย์ และผู้สำรวจได้แนะนำวิธีการเขียนบันทึกให้เข้ามากขึ้น ทำให้เกิดกลุ่มสตรีในการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษกิจในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินแต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคน ด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเอง รู้จักการวางแผนในการใช้จ่าย ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียง 40 ครัวเรือน เกิดกลุ่มสรตรีที่ดำเนินการด้านสำรวจขับเคลื่อนเศรษกิจพอเพียง

     

    40 40

    27. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 5

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมเพียงกันในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถบรรลุเป้าหมายทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน ร่วมทั้งสิ้น 4 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หมู่บ้านเกิดความสามัคคี และเข้มแข็ง กิจจกรรมการสร้างบ่อปลา และการปลูกผักริมรั้วสำเร็จได้ดี

     

    60 60

    28. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 6

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนปฎิบติตามหน้าที่ที่รับได้รับผิดชอบและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน อีก4 หลังคาเรือน รวมทั้งหมด 8 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรามาถสรา้งบ่อปลาดุกได้สำเร็จ

     

    60 60

    29. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 3

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่1 หลังคาเรือนปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน ร่วมทั้งสิ้น8 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนให้ความมือและเต็มใจช่วยเหลือตามวัตถุประวงค์ของโครงการและกิจกรรม เกิดความสามัคคี มีความเอื่อเฝื่อเผื่อแผ่ สร้างความรักและความเข้าใจ

     

    60 60

    30. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 7

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันสร้างบ่อปลาดุก ร่วมกันเทปูนและฉาบปูนบ่อปลาทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน อีก 4 หลังคาเรือนต่อ ร่วมทั้งสิ้น 8 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนร่วมกันทำบ่อปลาทั้งผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้าง เกิดความสามัคคีในการกลุ่มมีการแบ่งปันน้ำใจ ทำให้เกิดสภาที่แข็มแข็งภายในหมู่บ้าน ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้และสานสัมพันธ์ในกลุ่มได้ การสร้างบ่อปลาเสร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้

     

    60 58

    31. เสริมสร้างการร่วมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์บ้านทำนบ

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าร่วมโครงการออมเงิน วันละบาท สร้างกฎกติกาในกลุ่ม มีสวัสดิการให้สมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีกลุ่มออมทรัพย์ที่ชัดเจนทำให้คณะทำงานมีความสามัคคีเกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้เกิดกลุ่มออมทรัพย์

     

    110 113

    32. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 8

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำสภาแนะนำและชี้แจงรายลายเอียดเกี่ยวงานที่จะสร้างบ่อปลาทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน ร่วมทั้งสิ้น 8 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงมือสร้างบ่อปลาโดยพร้อมเพรียง และครัวเรือนจิตอาสาร่วมด้วยกันในการสร้างบ่อปลา

     

    60 60

    33. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 9

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมเพรียงกัน ณ สถานที่บ้านที่จะสร้างบ่อปลาของกิจกรรมครั้งนี้ทุกคนพร้อมเพรียงในการลงแขกและสร้างบ่อปลาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ่อปลาใหม่ ปรับปรุงบ่อเก่า 15 คนต่อหลังคาเรือน ร่วมทั้งสิ้น 8 หลังคาเรือน กลุ่มแม่บ้านมาร่วมแต่เช้า ร่วมกันปลุกผัก ก่อนที่จะเริ่มสร้างบ่อปลา และปลุกผัก มีการกล่าวดุอา โดยโตะบิลลาเพ่อความเป็นศิริมลคลในการดำเนินการในวันนี้ ผู้บ้านได้กล่าวแจ้ง การหาพันธปลาที่ได้รับการสนับสนุนประมงอำเภอเมืองนราธิวาส ซึ่งจะได้พันธุ์ปลาเพื่อจะเริมลงพันธุ์ปลาดุกและแจ้งให้ครัวเรือนหาแหล่งอาหารจากร้านค้าไก่เศษอาหารจากร้านอาหารเพื่อลดต้นทุนตามที่อบรมครั้งก่อน ลองหัดทำอาหารปลาสาธิตโดยเศษอาหารในบ้านมาทำซ้ำหน้างาน จากนั้นกลุ่มแม่บ้านบางส่วนไปเตรียมตักและเสริฟอาหารห้กับทีมที่มาสร้างบ่อปลา พบว่าครัวเรือนบางส่วนต้องการเพาะเห็ดเพิ่มจึงเตรียมเพาะเห็ดโดยนำครัวเรือนมาแนะนำการเพาะเห็ดให้กับผู้สนใจในคณะที่รับประทานอาหาร และสาธิตเกี่ยวกับการทำตาแปหูบีจากมันสำปะหลังโดยให้ครัวเรือนเตรีมมันสะปะหลังมาสาธิต การปอกเปลือก การล้างและการ หั่น ให้มีขนาดเท่าๆกัน ให้คนที่มีมันสะปะหลังและพันธุ์ต้นสะปะหลังเพื่อบริจาดให้ครัวเรือนที่เป็นหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนพร้อมสถานที่ที่จะสร้างบ่อปลา กิจรรมสามารถสร้างเสร็จได้ตามวัตถุประสงค์ ทุกคนต่างทำหน้าที่ และกลุ่มจิตอาสา กลุ่มสตรีช่วยทำอาหารให้แก่ผุ้เข้ากิจกรรมทำบ่อปลา

     

    60 60

    34. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 10

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนพร้อมเพรียงกันมาช่วยกันสร้างบ่อปลาแบบดั้งเดิมโดยมีกลุ่มสตรีจะคอยทำกับให้รับประทานอาหารให้แแก่ผู้ที่สร้างบ่อปลาดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนที่มาช่วยกันสร้างบ่อปลามีความกระตื้อรื้นในการทำบ่อปลา ผู้ที่มีความรู้ช่วยกันแนะนำในการสร้างแบบและปริมาณในการใช้วัสดุก่อสร้างของแต่ครั้ง สามารถสร้างความรักภายในกลุ่มและช่วยกันปลูกผักริ้มรั้วเพื่อเป็นการอนุรักษ์การลงแขก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยจะมีกลุ่มจิตอาสา กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี มาร่วมในการปลูกและร่วมกัน เกิดการร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชน

     

    60 60

    35. วิเคราะห์ข้อมูลด้านเศษฐกิจชุมชน

    วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ศึกษาสภาพปัญหา 2.สภาผู้นำรวมกันศึกษาสาเหตุของปัญหา 3. ความต้องการของชุมชนคือสาเหตุของปัญหาและความต้องการเป็นอย่างไรจึงเกิดการวางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาในขั้นต่อไปสิ่งสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ชุมชนคือประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ชุมชนถ้าหากประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าใดสภาผู้นำวิเคราะห์ถึงการแก้ปัญหาชุมชนสามารถนำข้อวิเคราะห์ถึงการสภาพปัญหาของชุมชนได้ ว่าชุมชนมีสภาพเป็นอย่างไร สามารถสอดถึงข้อมูลที่แท้จริงของชุมชน เพื่อทดสอบความรู้เดิมให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเป็นการทดสอบความรู้ต่างๆ ยืนยันและเป็นการทำให้ความรู้เดิมนั้นน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องของการที่จะสร้างแนวความคิดและทฤษฎีใหม่ขึ้นให้แก่ชุมชน การศึกษาชุมชนแบบแรกเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงต่อการทำงานพัฒนาในพื้นที่ รวมถึงศึกษาสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการขาดแคลนอาชีพและด้านอื่นๆและสภาผู้นำเกิดความเข็มแข็งภายในตัวและคณะกรรมการสรา้งความเชื่อถือต่อคนในชุมชนพร้อมถึง ความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง คือชุมชนต้องการ สร้างรายได้ ชุมชนต้องการอาชีพ เป็นต้นเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน และสามารถนำไปแก้ปัญหาอย่างตรงจุดการวิเคราะห์ถือเป็นการแก้ปัญหาของผู้นำและคนในชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีที่จะพัฒนาหมู่บ้านของตนเองเป็นภาพรวมที่จะทำให้คนในหมู่บ้านและหมู่บ้านข้างเคียงมีความมั่นใจถึงการพัฒนา 1. ชุมชนทราบถึงปัญหา 2. ชุมชนทราบถึงสาเหตุ ที่มาที่ไปได้ 3. ชุมชนมีการวางแผนต่อไป 4. ชุมชนเกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง 5. ชุมชนมีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง จากการทำการสำรวจเกี่ยวกับ เช่น การทำบัญชี รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนรายได้จากการทำอาชีพเสริมอาชีพหลักของแต่ละครัวเรือน รวมถึงการออมเงินเพื่อปฏิบัติเป็นนิสัย รวมถึงสอบถามลักษณะการใช้จ่าย หนี้ที่เกิดจากการว่างงาน ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินอต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคนด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเองรายละเอียด มีด้านความรู้ควมเข้าใจการจัดการบัญชีครัวเรือนพบว่ามีการลงบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนือง 4 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังลงไม่ต่อเนื่อง พบครัวเรือนที่ดำเนินแต่ยังไม่สมบูณย์25ครัวเรือน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการเสนอ ให้ สอนติดตาม รายครัวเรือน และทำเป็นละแวก ให้คณะกรรมและกลุ่มสตรีร่วมกับกลุ่มเยาวขน ที่เป็นแกนนำด้านบัญชีครัวเรือนสอนละแวกบ้านซ้ำและติดตามอย่างต่อเนื่องสำเสนอให้กับคณะกรรมการชุมชน ครัวเรือนทีเขียนหนังสือไม่ได้ ให้บุตรเป็นแกนนำในการดูแลร่วมกับพ่อแม่และช่วยบันทึกต้องให้ลูกหลานช่วยด้านการเพิ่มรายได้ มีผลิดด้านอาหาร คือ ผัก จำพวกผักบุ้ง ถั่วชะอม พริกตะใคร้ ข่ากระเจียบปลูกมันสำปะหลัง 20 ควรัวเรือน เลี้ยงปลาดุ 8 ครัวเรือน มีการออมทรัพย์ วันละบาทกับกองทุนออมทรัพย์ 50 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการทำหลังจากได้ประชาสัมพันธ์กองทุนออมทรัพย์ มีการสำรวจด้านการศึกษา พ่อ แม่ไม่ได้เรียนหนังสือด้านประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชัพกรีดยาง และเป็นแม่บ้านส่วนใหญ่บริโภดอาหารถุงขนมกินเล่น จากรถเร่ที่มาข่ายในชุมชน ส่วน น้ำปลา น้ำตาล ซอสข้าวสาร จากร้านในตัวเมือง รวมถึงเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ค่าขนมลูก ในชุมชนไม่มีสหกรณ์ชุมชนด้านรายได้ต่ำกว่า 5000 บาท รายจ่าย มากกว่า 9000 -15000 บาทพบครัวเรือนหนี้นอกระบบ จำนวนหนี้ประมาณครัวเรือนช่วง 5000 - 8000 บาท และบางครัวเรือนมีหนี้ธนาคารอยู่ในช่วง 1000 - 100000 บาท เพื่อทำการกู้มาต่อเติมบ้านกับธนาคารประมาณ 5 ครัวเรือน หรือ ซึ่งทำการสำรวจ ทั้ง 42 หลังคาเรือนในวันนี้ และในการสำรวจมีการแนะนำครัวเรือง การใช้จ่าย การลดรายจ่าย ให้กับครัวเรืิอน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้น พยายามจะลดรายจ่าย และไม่สร้างหนี้ให้กับครัวเรือนอา สรุชีพเดี่ยว กรีดยาง60 ครัวเรือน ปลูกผักเดิม 5 ครัวเรือน ปัจจุบัน 20 ครัวเรือนอาชีพค้าขาย5 ครัวเรือน รับจ้าง 21 ครัวเรือน สรุปได้ว่าอาชีพส่วนใหญ่ยังเป็นอาชีพเชิญเดี่ยว มีการเสนอให้คณะกรมการดำเนินการให้ชาวบ้านทำอาชีพเสริมหลากหลายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กรีดยาง เลี้ยงสัว์ ปลูกผัก และเป็นตั้งกลุ่มอาชีพที่นำผลผลิตที่ได้ในชุมชนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยสร้างตลาดในชุมชนและนอกชุมชน เช่น การทำตาแปบีแนนำไปแรรูปเป็น ขนมหวาน ออเดาะตาแป ตาแปทอด เกิดก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำวิเคราะห์ กลุ่มเยาวชนและกลุ่สตรีรวมวิเคราะห์ถึงการแก้ปัญหาชุมชนสามารถนำข้อวิเคราะห์ถึงการสภาพปัญหาของชุมชนได้ ว่าชุมชนมีสภาพเป็นอย่างไร สามารถสอดถึงข้อมูลที่แท้จริงของชุมชน เพื่อทดสอบความรู้เดิมให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเป็นการทดสอบความรู้ต่างๆ ยืนยันและเป็นการทำให้ความรู้เดิมนั้นน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องของการที่จะสร้างแนวความคิดและทฤษฎีใหม่ขึ้นให้แก่ชุมชน การศึกษาชุมชนแบบแรกเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงต่อการทำงานพัฒนาในพื้นที่ รวมถึงศึกษาสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการขาดแคลนอาชีพและด้านอื่นๆและสภาผู้นำเกิดความเข็มแข็งภายในตัวและคณะกรรมการสรา้งความเชื่อถือต่อคนในชุมชนพร้อมถึง ความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง จำนวน 50 คน

     

    50 50

    36. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 11

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกคนต่างพร้อมเพรียงกันช่วยกันสร้างบ่อปลา จำนวน 4 ครัวเรือนกลุ่มแม่บ้านมาร่วมแต่เช้า ร่วมกันปลุกผัก ก่อนที่จะเริ่มสร้างบ่อปลา และปลุกผัก มีการกล่าวดุอา โดยโตะบิลลาเพ่อความเป็นศิริมลคลในการดำเนินการในวันนี้ ผู้บ้านได้กล่าวแจ้ง การหาพันธปลาที่ได้รับการสนับสนุนประมงอำเภอเมืองนราธิวาส ซึ่งจะได้พันธุ์ปลาเพื่อจะเริมลงพันธุ์ปลาดุกและแจ้งให้ครัวเรือนหาแหล่งอาหารจากร้านค้าไก่เศษอาหารจากร้านอาหารเพื่อลดต้นทุนตามที่อบรมครั้งก่อน ลองหัดทำอาหารปลาสาธิตโดยเศษอาหารในบ้านมาทำซ้ำหน้างาน จากนั้นกลุ่มแม่บ้านบางส่วนไปเตรียมตักและเสริฟอาหารห้กับทีมที่มาสร้างบ่อปลา พบว่าครัวเรือนบางส่วนต้องการเพาะเห็ดเพิ่มจึงเตรียมเพาะเห็ดโดยนำครัวเรือนมาแนะนำการเพาะเห็ดให้กับผู้สนใจในคณะที่รับประทานอาหาร และสาธิตเกี่ยวกับการทำตาแปหูบีจากมันสำปะหลังโดยให้ครัวเรือนเตรีมมันสะปะหลังมาสาธิต การปอกเปลือก การล้างและการ หั่น ให้มีขนาดเท่าๆกัน ให้คนที่มีมันสะปะหลังและพันธุ์ต้นสะปะหลังเพื่อบริจาดให้ครัวเรือนที่เป็นหมาย พบครัวเรือนที่ลูกมันสะปะหลังในวันนี้นำมาปลูกประมาณ 10-20 ลุ่มใน 4 ครัวเรือนนี้และอีก5 ครัวเรือนที่ยังไม่ได้สร้างบ่อปลา และมีการปลูกในพื้นที่สำหรับเป็นตัวอย่างในการปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 5 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำมีความตั้งใจในการสร้างบ่อปลาให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องการเลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนต์ เกิดความร่วมมือภายในหมู่บ้านและภายในกลุ่ม ทำให้ชุมชนเกิดความแข็มแข็ง เกิดกลุ่มปลูกมันสำปะหลัง 20 ครัวเรือน วันนี้ 4 ครัวเรือน เกิดครัวเรือนตัวอย่างปลูกมันสำปะหลัง10 ครัวเรือนเกิดครัวเรือนการปลูกผักสวนครัว เพื่อเกิดรายได้

     

    60 60

    37. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ไปเรียนรู้การทำงานของแต่ละจังหวัดในการทำงานที่จะประสบความสำเร็จในดครงการและแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ทำกันมา รวมถึงปัญหาต่อการทำงานของแต่ละหมู่บ้านแต่ละแบบของงาน ทำให้เกิดความรู้ ความแปลกใหม่ ในแนวทางการทำงานที่จะให้โครงการให้ประสบความเร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากที่ได้ไปศึกษาดูงานคนใต้สร้างสุขนั้น ทำให้มีความคิดแสดงให้ว่า การที่ชุมชนได้ทำโครงการครั้งสำเร็จนั้นต้องทำเป็นขั้นตอนอย่างไรบ้าง และต้องมีแกนนำหรือสภาผู้นำเป็นแกนหลักในการลงมือปฎิบัติให้คนในชุมชนและหมู่บ้านเดินหน้าไปพร้อมกันได้ 

     

    2 2

    38. การถ่ายทอดและการสื่อสารข้อมูลสุ่ชุมชน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปข้อมูลในด้านๆ ที่ได้ทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนได้รวบรวม ข้อมูลที่ได้ทำมาทั้งหมดในชุมชนมาสรุป ถึงปัญหา สาเหตุ สภาพรวมของปัญหาหมู่บ้าน ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนและการประกอบอาชีพที่ทำให้ชุมชนเกิดความยันยืน ซึ่งข้อมูลที่ได้มาสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจชุมชนในการแก้ไขปัญหาเป็นลำดับขั้นเช่น ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (จปฐ) เป็นหลักเกณฑ์ที่จะนำมาพัฒนาในด้านต่างๆของชุมชน ได้แก่ รายได้ อาชีพ การศึกษาและการติดหนี้การว่างงาน ยาเสพติด ที่ทำให้คนในชุมชนเกิดความวุนวาย ยังไม่สามารถแยกแยะของปัญหาที่เกิดขึ้นและที่ตัวเองประสบอยู่ การรวบรวมข้อมูลเหล่านีทำให้คนในชุมชนสามารถรับรู้ถึงที่มาที่ไปของสาเหตุ ทำให้เกิดการร่วมคิดร่วมทำแผนชุมชน จัดการเศรษฐกิจชุมชน และเกิดสภาผู้นำที่แข็มแข็ง ชุมชนมีความเชื่อถือของการทำงานต่อสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ โดยกลุ่มครัวเรือน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี โดยมีพัฒนาชุมชน ประมงอำเภอเข้ามาให้ความรู้ด้านการเลี้ยงปลาดุกหน่วยงานของรัฐเข้ามาให้การความรู้แก่ชุมชนให้เกิดการยันยืน และนำข้อมูลจากวิเคราะห์ที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์มาเสนอในที่ประชุมด้านปัญหาเศรษฐกิจที่บางส่วนที่คณะกรรมการได้หาวางแผนบางส่วนมาเสนอในที่ประชุม เพื่อหาข้อเสนอและข้อสรุปของชุมชนการทำบัญชี รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนรายได้จากการทำอาชีพเสริมอาชีพหลักของแต่ละครัวเรือน รวมถึงการออมเงินเพื่อปฏิบัติเป็นนิสัย รวมถึงสอบถามลักษณะการใช้จ่าย หนี้ที่เกิดจากการว่างงาน ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย ด้านการออมเงินอต่ละครัเรือนมีการออมเงินเป็นเดือน เป็นวันตามความสามารถของแต่ละคนด้านการปลูกผักริมรั้วแต่ละบ้านมีการปลูกผักไว้ทานเอง เหลือจากการเหลือใช้ สามารถนำไปขายต่อ เพื่อเพิ่มมรายได้ให้แก่ครอบครัว ลดการใช้จ่ายภายในตัว กิจกรรมนี้ยังสามารถทำให้เกิดเป็นนิสัยภายในตัว และทำให้เกิดการส่งเสริมการรสร้างอาชึพของตัวเองรายละเอียด มีด้านความรู้ควมเข้าใจการจัดการบัญชีครัวเรือนพบว่ามีการลงบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนือง 4 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังลงไม่ต่อเนื่อง พบครัวเรือนที่ดำเนินแต่ยังไม่สมบูณย์25ครัวเรือน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการเสนอ ให้ สอนติดตาม รายครัวเรือน และทำเป็นละแวก ให้คณะกรรมและกลุ่มสตรีร่วมกับกลุ่มเยาวขน ที่เป็นแกนนำด้านบัญชีครัวเรือนสอนละแวกบ้านซ้ำและติดตามอย่างต่อเนื่องสำเสนอให้กับคณะกรรมการชุมชน ครัวเรือนทีเขียนหนังสือไม่ได้ ให้บุตรเป็นแกนนำในการดูแลร่วมกับพ่อแม่และช่วยบันทึกต้องให้ลูกหลานช่วยด้านการเพิ่มรายได้ มีผลิดด้านอาหาร คือ ผัก จำพวกผักบุ้ง ถั่วชะอม พริกตะใคร้ ข่ากระเจียบปลูกมันสำปะหลัง 20 ควรัวเรือน เลี้ยงปลาดุ 8 ครัวเรือน มีการออมทรัพย์ วันละบาทกับกองทุนออมทรัพย์ 50 ครัวเรือน ซึ่งดำเนินการทำหลังจากได้ประชาสัมพันธ์กองทุนออมทรัพย์ มีการสำรวจด้านการศึกษา พ่อ แม่ไม่ได้เรียนหนังสือด้านประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำอาชัพกรีดยาง และเป็นแม่บ้านส่วนใหญ่บริโภดอาหารถุงขนมกินเล่น จากรถเร่ที่มาข่ายในชุมชน ส่วน น้ำปลา น้ำตาล ซอสข้าวสาร จากร้านในตัวเมือง รวมถึงเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียน ค่าขนมลูก ในชุมชนไม่มีสหกรณ์ชุมชนด้านรายได้ต่ำกว่า 5000 บาท รายจ่าย มากกว่า 9000 -15000 บาทพบครัวเรือนหนี้นอกระบบ จำนวนหนี้ประมาณครัวเรือนช่วง 5000 - 8000 บาท และบางครัวเรือนมีหนี้ธนาคารอยู่ในช่วง 1000 - 100000 บาท เพื่อทำการกู้มาต่อเติมบ้านกับธนาคารประมาณ 5 ครัวเรือน หรือ ซึ่งทำการสำรวจ ทั้ง 42 หลังคาเรือนในวันนี้ และในการสำรวจมีการแนะนำครัวเรือง การใช้จ่าย การลดรายจ่าย ให้กับครัวเรืิอน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้น พยายามจะลดรายจ่าย และไม่สร้างหนี้ให้กับครัวเรือนอา สรุชีพเดี่ยว กรีดยาง60 ครัวเรือน ปลูกผักเดิม 5 ครัวเรือน ปัจจุบัน 20 ครัวเรือนอาชีพค้าขาย5 ครัวเรือน รับจ้าง 21 ครัวเรือน สรุปได้ว่าอาชีพส่วนใหญ่ยังเป็นอาชีพเชิญเดี่ยว มีการเสนอให้คณะกรมการดำเนินการให้ชาวบ้านทำอาชีพเสริมหลากหลายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กรีดยาง เลี้ยงสัว์ ปลูกผัก และเป็นตั้งกลุ่มอาชีพที่นำผลผลิตที่ได้ในชุมชนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยสร้างตลาดในชุมชนและนอกชุมชน เช่น การทำตาแปบีแนนำไปแรรูปเป็น ขนมหวาน ออเดาะตาแป ตาแปทอด ประชาชนเห็นด้วยในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือนและการทำซ้ำและะกสานส่งเสริมให้มีอาชีพหลากหลาย โดยทำเป็นกลุ่มอาชีพ เพิ่มครัวเรือนสามารถเพิ่มการออมตามศักยภาพของครัวเรือนและเสนอให้เบิกต้องการเงินฉุกเฉินกรณีเจ็บป่วยคลอด เสียชีวิต การรวมเงินเพื่อซากาตผช่วยเหลือผู้ยากจน และเสนอให้กลุ่มปลาดุกให้เก็บเป็นกองกลางเพื่อซื้อเครื่องบดอาหารสัตว์

     

    110 110

    39. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรูปภาพโดยคัดเลือกภาพที่เหมาะสมและนำไปปริ้นสีเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รูปภาพจำนวน 10 รูป สามารถนำไปทำรายงานฉบับสมบูรณ์ได้

     

    2 2

    40. จัดทำรายงานแบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวบรวมข้อมูล ปรับแก้เนื้อหาการรายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์ เมื่อเรียบร้อยนำไปเข้าเล่มจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม สามารถจัดส่งรายงานให้ สสส.ได้ภายในเวลา

     

    2 2

    41. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับพี่้เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ นำเอกสารการเงินมาให้ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งรายงานให้ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงินไม่เรียบร้อยหลายกิจกรรม ต้องปรับแก้ไข และส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ?
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง 2 .สมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 80

    มีการประชุมสภาผู้นำละคณะทำงานโครงการ ซึ่งจะมีสมาชิก 25 คน เพื่อถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความรู็และความการคิดร่วมกันแก้ปัญหาของแต่ละกิจกรรมทั้งก่อนทำและหลังทำกิจกรรม ซึ่งสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการสามารถประเมินกิจกรรมเป็นครั้งคราว โดยวิธีการพูดคุย สนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

    2 สภาพแวดล้อมเกิดความเข็มแข็งในชุมชนและมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดกติการ่วมด้านการออมของชุมชน วันละ บาท 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน

    เกิดกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนโดยมีครัวเรือนที่เข้ามาเป็นกลุ่มสมาชิกกองทุน ทำให้ครัวเรือนเกิดการออมซึ่งครัวเรือนที่เป็นสมาชิกนั้น มาเก็บเงินออมทรัพย์เดือนละ 1 ครั้ง โดยแต่ละครัวเรือนสามารถออมได้ตามความสามารถของตนเอง ทำให้กองทุนออมทรัพย์กำหนดวิธีการออม โดยครัวเรือนต้องเก็บออมของแต่ละเดือนไม่เกิน วันที่ 15 ของทุกเดือน และต้องนำสมุดออมทรัพย์มาทุกครั้งกองทุนจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกกองทุน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ป่วยเป็นไข้ คลอดบุตร และให้ซากาตแก่ผู้ไร้ และทุนการศึกษา ซึ่งเป็นกฏกติการที่กองทุนตั้งไว้ เพื่อการช่วยเหลือยามเดือดร้อนแก่ ชุมชน และเป็นความสมัครใจ กติการ่วมของสมาชิก

    3 กลุ่มเยาวชนและสตรีเป็นแบบอย่างในเรื่องของจิตอาสาดำรงรักษาวัฒธรรมลงแขก
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และครัวเรือนมีจิตอาสา ร่วมกิจกรรมลงแขกกิจกรรมเลี้ยงปลาดุก ตามบ้าน อย่างน้อย 1 กลุ่ม 50 ครัวเรือน

    เกิดกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และครัวเรือนจิตอาสากลุ่มหนึ่งในชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนช่วยเหลือคนในชุมชน เกิดการสืบสานวัฒนธรรมการลงแขกที่กำลังจะสูญหาย ซึ่งการลงแขกเป็นวิถีดั้งเดิมของคนในชุมชน ให้คงอยู่ สามารถสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างบ้านต่อบ้าน และเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ลุกหลานในปัจจุบัน ให้คงดำเนินกิจกรรมการลงแขกต่อไป

    4 สร้างชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : ในชุมชนมีการทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน

    ครัวเรือนได้เรียนรู้วิธีการลงบัญชี รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนตนเอง เกิดความแตกต่างจากที่ไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะครัวเรือนไม่สามารถหรือไม่รู้หลักการมาก่อน ทำให้มีการอบอบรมการเขียนบันทึกการใช้จ่ายของครัวเรือนในแต่ละวัน ครัวเรือน 10 ครัวเรือนที่สามารถลงบัญชีการใช้จ่ายแต่ส่วนใหญ่จะทำบางไม่ทำบางเพราะขาดทักษะ ให้เกิดเป็นนิสัยและกิจวัตรประจำวันในการเขียนบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง เกิดกลุ่มขับเคลื่อนในชุมชน เพราะครัวเรือนจะได้ลดปัญหาการใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยเกินไปครัวเรือนมีรายได้เท่าไรทำให้รู้ถึงที่มาที่ไปของการใช้เงิน รู้จักค่าของเงิน ใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับครัวเรือนลดสิ่งที่ไม่จำเป็น นำไปสู่การออมเงินได้มากที่สุด สามารถนำเงินที่ออมทรัพย์กับกองทุนมาใช้ในเวลาครัวเรือนเดือดร้อน

    5 เพื่อจัดการกระบวนการจัดการข้อมูลในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลชุมชน 2.เกิดทีมงานหรือกลุ่มสตรีจัดการข้อมูลในชุมชน 1 ทีม 3.เกิดข้อมูลชุมชน

    1.ชุมชนมีเครื่องมือนการสำรวจข้อมูล โดยใช้การข้อมูลในการสำรวจ เช่น รายได้ต่อเดือนต่อครัวเรือน การจ่ายใช้จ่ายของครัวเรือน การเพิ่มรายได้ของครัว เพื่อนำวิเคราะห์ถึงปัญหาหรือแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ถูกต้อง 2.เกิดกลุ่มผู้สำรวจของชุมชน เพื่อจัดเก็บข้อมูลและขับเคลื่อนข้อมูลที่ได้ทำการสอบถามถึงปัญหาด้านเศษฐกิจ เช่น ปัญหาการออมทรัพย์ ปัญหาการว่างงาน ทำให้กลุ่มสตรี ที่ว่างงาานฝึกการบันทึกข้อมุลและเป็นการเรียนรู้ภายในตัว
    3.เกิดข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนเป็นข้อมูลหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านต้องการอาชีพคนในชุมชนมีคนว่างงานกี่คน ชุมชนมีการรณรงค์ปัญหายาเสพติด และกลุ่มสตรีที่ทำการสำรวจจัดเก็บข้อมูลนำไปพัฒนาและต่อยอดให้มีความสอดคล้องในชุมชนต่อไป

    6 สร้างอาชีพในชุมชน
    ตัวชี้วัด : เกิดการสร้างอาชีพแก่ผู้ว่างงาน 50 ครัวเรือน

    ชุมชนมีครัวเรือนที่ยังขาดอาชีพผู้ว่างงานจำนวนไม่น้อยที่ว่างจากอาชีพหลัก เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนที่ไม่เรียนหนังสื่อ กลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้มีกิจกรรมการการสำรวจ หรือสรา้งอาชีพเสริมให้แก่กลุ่มต่างๆที่ยังว่างอยู่มาทำกิจจกรรม การสำรวจข้อมูล หรือการลงแขกสรา้งอาชีพและอาชีพการทำขนมในชุมชน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคณะกรรมการโครงการแล้วเห็นว่าการทำอาชีพเสริมให้แก่ผู้ว่างงานแล้ว ยังสามารถเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักได้ โดยนำวัตถุดิบจากชุมชนที่มีอยู่แล้วมาผลิตหรือต่อยอด ได้แก่ การปลูกผักริมรั้ว ทำให้เกิดรายได้แก่ครัวเรือน หลังจากที่เก็บการเกี่ยวมรับประทานแล้ว นำไปขายในตลาดนอกชุมชน การทำขนมตาแปฮูบีกายู (มันสำปะหลัง) ทำการแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยวกินเล่น และการเลี้ยงปลาดุกใช้ระยะเวลา 3 เดือน ในการเลี้ยงที่จะโตเต็มวัย นำไปขายได้ อาชีพเสริมเหล่านี้สามารถทำได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ในการลงทุน เพราะใช้ระยะสั้นสามารถนำผลผลิตมาขายเพิ่มรายในขณะที่เข้าฤดูฝน ชุมชนยังอาหารบิริโภคและสร้างรายได้และ การสร้างอาชีพเสริมนี้เป็นประโยชน์แก่ครัวเรือนได้มากต่อการเพิ่มรายได้

    7 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงสสส สจรส.ม.อ.ศึกษาชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อมาปรับปรุงพัฒนาต่อชุมชนของเรา ทำให้การเรียนรู้จาก ผู้ที่ประสบผลสำเร็จแล้ว ยังมาบอกเล่าถึงการทำอย่างไรให้ชุมชนหันมาใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ทการลดความขัดแย้ง ลดหนี้สิ้น ลดการว่างงาน ลดยาเสพติดที่มีผลต่อการเปลี่ยนของชุมชนให้หายไปจากกลุ่มเยาวชนที่ไม่เรียนหรือเด็กนักเรียน แม่กระทั่งผู้ปกครองในชุมชนซึ่งกิจกรรมที่ทาง สสส.ได่จัดขึ้นนั้นเป็นจุดๆหนึ่งที่จะทำใ้ชุมชนที่กำลังพัฒนาในด้านต่าง นำไปประกอบ เรียนรู้ให้ได้ถึง จุดที่เป็นปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง และนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน 2.ภายในชุมชนมีการกำหนดสถานที่ ที่ประกอบศาสนกิจเป็นที่ปลอดบุหรี่ เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่อีบาดะห์ในทางศาสนาเป็นเงียบสงบบริสุทธิ์ ผู้คนต้องเกีตรแก่สถานที่ ชุมชนจึงเลือกมัสยิดเป็นที่ปลอดบุหรี่ 3.ชุมชนจะถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อแสดงถึงการดำเนินงานทุกครั้งที่ ได้ทำไป
    4.ชุมชนมีการจัดรายงานและส่งรายงานไป สสส.ทุกครั้ง ตามระยะเวลาที่ต้องส่ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ? (2) สภาพแวดล้อมเกิดความเข็มแข็งในชุมชนและมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (3) กลุ่มเยาวชนและสตรีเป็นแบบอย่างในเรื่องของจิตอาสาดำรงรักษาวัฒธรรมลงแขก (4) สร้างชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (5) เพื่อจัดการกระบวนการจัดการข้อมูลในชุมชน (6) สร้างอาชีพในชุมชน (7) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03788 รหัสสัญญา 58-00-2219 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    รูปแบบการร่วมคิดร่วมทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนของกิจกรรมผ่านการประชุมร่วมกัน •เกิดรูปแบบการติดตามงานกิจกรรมด้วยการประชุม และ ถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรม

    การประชุมประจำเดือน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีคณะกรรมการ 1 ชุด ( สภาผู้นำ 25 คน)

    เกิดกลุ่มครัวเรือนเศษฐกิจพอเพียง

    การแต่งตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด ( สภาผู้นำ 25คน)

    เกิดสภาชุมชน และคณะทำงานแต่งานที่ชัดเจน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดครัวเรือนบริโภคผักริมรั้วปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์

    ครัวเรือน 20 ครัวเรือน

    ขยายครัวเรือน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดเศษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    เกิดชุมฃนอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ชุมชนใช้ในการช่วยกันในการทำกิจกกรรมของคนในชุมฃน ไม่ให้สูญหายไป เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จัก

    -ปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ของคนในชุมชน

    กิจกรรมลงแขกขุดบ่อปลา ปลูกผัก เพาเห็ด

    การเสริมสร้างจิตอาสาในแต่ด้าน ของกิจกรรมชุมชุนแลดำเนินกิจกรรมลงแขกกอย่างต่ออเนื่อง ในทุกกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เกิดกลุ่มครัวเรือนเศษฐกิจพอเพียง

    ครัวเรือน 28ครัวเรือน

    ขยายกลุ่มครัวเรือนเศษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เกิดชุมฃนอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ชุมชนใช้ในการช่วยกันในการทำกิจกกรรมของคนในชุมฃน ไม่ให้สูญหายไป เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จัก

    -ปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ของคนในชุมชน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดครัวเรือนการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่ ปลูกมันสันปะหลัง การทำตาแปปีแนขาย

    28 ครัวเรือน

    ขยายครัวเรือน แลเพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยการจัดเป็น สหกรณ์ชุมชน การผลิดสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทำเองในชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสตรีให้มีการร่วมกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มาตรการการออม การเบิกจ่ายเงินออม

    กองทุนเงินออม

    ขยายครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการประสานการทำงานกับเครือข่ายภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี

    รายงานการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    วัฒนธรรมลงแขกดั้งเดิมที่ชุมชนใช้ในการช่วยกันในการทำกิจกกรรมของคนในชุมฃน ไม่ให้สูญหายไป เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จัก ยังคงอยู่ -ปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ของคนในชุมชน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกลุ่มเยาวชนหนึ่งกลุ่ม คนในชุมชนช่วยเหลือ เกิดจิตอาสาช่วยเหลือในชุมชน สืบสารวัฒนธรรมลงแขกซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่และสร้างความสามัคคีในชุมชน เกิดชุมชนน่าอยู่

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    วัฒนธรรมลงแขกดั้งเดิมที่ชุมชนใช้ในการช่วยกันในการทำกิจกกรรมของคนในชุมฃน ไม่ให้สูญหายไป เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จัก ยังคงอยู่ -ปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ของคนในชุมชน .

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ช่วยเหลือนของคนในชุมชน ด้วยกิจกรรมการลงแขก การธำรงวัฒนธรรมอาซูรอ ประชาชนร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    เกิดครัวเรือนการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่ ปลูกมันสันปะหลัง การทำตาแปปีแน ปลูกผักริมรั้ว ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    28 ครัวเรือน

    ขยายเกิดครัวเรือนการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่ ปลูกมันสันปะหลัง การทำตาแปปีแน ปลูกผักริมรั้ว ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    วัฒนธรรมลงแขกดั้งเดิมที่ชุมชนใช้ในการช่วยกันในการทำกิจกกรรมของคนในชุมฃน ไม่ให้สูญหายไป เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จัก ยังคงอยู่ -ปลูกจิตสำนึกความร่วมมือความสามัคคีการเอื้ออาทร ของคนในชุมชน .

    -

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 58-03788

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( น.ส.นูรีซาน มะซาแม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด