directions_run

หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง ”

บ้านตือระ หมู่ที่2 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นาย วอเฮะ เจ๊ะแม

ชื่อโครงการ หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ที่อยู่ บ้านตือระ หมู่ที่2 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03780 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2222

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านตือระ หมู่ที่2 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง



บทคัดย่อ

โครงการ " หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านตือระ หมู่ที่2 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส รหัสโครงการ 58-03780 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,450.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 580 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.ชุมชนได้สภาชุมชนสามารถแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้
  2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558 มีการให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานกิจกรรมและเอกสารการเงิน การสังเคราะห์โครงการ และการบันทึกข้อมูลปฏิทินลงในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ
    2. สามารถทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวม
    3. สามารถทราบถึงแนวทางการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2)
    4. รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกจ่าย
    5. สามารถจัดกระบวนการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
    6. สามารถป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
    7. สามารถป้อนข้อมูลแผนภาพโครงการได้
    8. สามารถป้อนแผนการดำเนินงานลงในปฏิทินโครงการได้
    9. สามารถรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมได้
    10. รับรู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข ในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานผลในเว็บไซต์

     

    2 2

    2. 1.ประชุมเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำและชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการฯ

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 19:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ตรงกับปีใหม่ของศาสนาอิสลาม จึงได้จัดกิจกรรมร่วมกันกับการตอนรับปีใหม่ตามหลักศาสนาอิสลาม ขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ ก่อนวันงาน วันที่ 10 ตุลาคม 2558 มีการประชุมของคณะทำงานและชาวบ้านเพื่อเตรียมงาน กำหนดวันจัดกิจกรรมและได้แบ่งหน้าที่ จากที่ประชุมได้มอบหมายให้นาย มะลูเด็ง มูหะมะ เป็นผู้ประสานงานกับวิทยากร นาย นาซูฮา หะยีอาแว เป็นผู้ที่ประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนนาย อับดุลเลาะ เจ๊ะแว เป็นผู้ที่ดูแลฝ่ายสถานที่และจัดหาวัสดุต่างๆที่เกี่ยวกับงานเช่นโต๊ะ เก้าอี เต้น และอื่นๆ นาย หามะปาดือลี มะสาและ เป็นผู้ที่ดูแลกำหนดการและผู้ดำเนินรายการ นาย วอเฮะ เจ๊ะแม เป็นผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับการถ่ายภาพและจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม และแต่ละคนที่รับผิดชอบนั้นไปหาทีมงานของต้นเองให้เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ เช่นผู้ที่ดูแลฝ่ายสถานที่นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีทึมงานหลายคนเพราะว่าต้องมีการจัดสถานที่
    • วันที่ 24 ตุลาคม 2558 ทีมงานมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของการเตรียมงานและมีความคืบหน้าดังนี้ วิทยากรสามารถมาบรรยายได้ในวันจัดงาน สถานที่ สามารถหาอุปกรณ์ต่างๆได้แต่เก้าอี้ในหมู่บ้านมีเพียงแค่ 120 ตัวเท่านั้น แต่ก็ได้ประสานกับหมู่บ้านใกล้เคียงและสามารถยื่มได้จากหมู่บ้านน้ำตกโดยผู้ทีี่รับผิดชอบประสานกับสมาชิกสภาเทศบาลเพื่อดำเนินการและสามารถหาเก้าอี้ได้อีกจำนวน 80 ตัว กำหนดการนั้นได้เสนอให้เปิดโอกาสให้กับเด็กๆด้วยเพื่อทดสอบความสามรถของเด็กๆและนำมาเป็นแนวทางของกิจกรรมต่อไป โดยให้ผู้ดูแลประสานกับโรงเรียนตาดีกาเพื่อหาเด็กๆมาแสดงความสามารถบนเวที่ในวันจัดงาน ในส่วนอื่นๆก็ได้ลุลวงเป็นอย่างดี
    • ขั้นตอนวันจัดงานโดยเริ่มเวลา 18.30 น.ละหมาดมัฆรีบพร้อมกันที่มัสยิดหลังจากนั้นได้ร่วมรับประธานอาหารพร้อมกัน
    • เวลา19.30 น. เปิดการประชุมได้มีการเชิญอ่านอัลกุรอ่านเพื่อให้มีความบารอกัต(มีความสำเร็จ)และหลังจากนั้นผู้ที่ได้อ่านอัลกุรอ่านนั้นได้พูดบนเวที่เกี่ยวความสำคัญของคัมภีร์อัลกุรอ่านเพราะคัมภีร์อัลกุรอ่านนั้นเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของมุสลิมทุกคน
    • เวลา 20.15 น.ตัวแทนคณะทำงานผู้ใหญ่บ้านชี้แจงโครงการและทำความเข้าใจโครงการฯ คือโครงการฯนี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส เป็นจำนวนทั้งหมด 200,450 บาทโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดแรก จำนวน 80,000 บาท งวดที่สอง 100,000 บาท งวดที่ สาม20,450 บาท มีกิจกรรมดั่งนี้
    1. ประชุมเพื่อจัดตั้งสภาและชี้แจงโครงการฯและมีการประชุมสภาเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งหมด 11 ครั้ง
    2. กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชน2.กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล
    3. การวางแผนและพัฒนาแผนปฏิบัติการชุมชนน่าอยู่เพื่อเสริมสร้างความสมัคคีและความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้แบ่งเป็น 6 กิจกรรมย่อยเช่นส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นต้น เวลา 20.30 น.ได้มีการขัดเลือกสภาชุมชนโดยได้รับการขัดเลือกจากคนในชุมชนและผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานสภาชุมชน นายนาซูฮา หะยีอาแว รองประธานได้แก่คอเต็บ นายมะลูเด็ง มูหะมะ เลขาฯได้แก่นายวอเฮะ เจ๊ะแม และการเงินได้แก่นายอับดุลเลาะ เจ๊ะแว และคณะกรรมการรวมทั้งหมด 35 คน
    • เวลา 21.15.น.ได้มีกิจกรรมของเด็กๆ เด็กชาย 2 กลุ่ม อานาซีด และเด็กหญิง 3 กลุ่มอานาซีด และเด็กชาย 2 คนอ่านอัลกุรอ่าน และ 1 คนได้อาซาน
    • เวลา 22.00 น.ได้มีการบรรยายธรรมในหัวข้อการอยู่ร่วมกันเป็น(ญามาอะห์)เป็นกลุ่มและความสามัคคีโดยนายอ้สรี ซึ่งเป็นบาบอปอเนาะ(เป็นสถาบันการเรียนรู้ทางศาสนาอิสลาม) เปิดสอนปอเนาะที่ตำบลปูโยะ อำภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นบุคคลทีประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ให้การยอมรับ และได้บรรยายถึงของท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ,ล)เป็นบุคคลตัวอย่างที่ตลอดชีวิตของท่านได้เสียสละและทำงานเพื่อประชาชาติมาโดยตลอด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 250 คน แต่ที่เซ็นชื่อเข้าร่วมกิจกรรม 170 คน แบ่งเป็นชาย 97 คนหญิง 73 คน
    • มีสภาชุมชน ทั้งหมด 35 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานสภาชุมชน นายนาซูฮา หะยีอาแว รองประธานได้แก่คอเต็บ นายมะลูเด็ง มูหะมะ เลขาฯได้แก่นายวอเฮะ เจ๊ะแม และการเงินได้แก่นายอับดุลเลาะ เจ๊ะแวและคณะกรรมการสภา รวมเป็น 35 คน
    • มีสภาชุมชนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนได้
    • ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้เป็นอยางมากประเมินได้จากทางทีมงานประเมินก่อนงานประมาณการ 200 คน โดยมีการเตรียมเก้าอี้ 200 ตัว แต่ประชาชนมาร่วมงานมากกว่านั้น
    • ประชาชนที่เข้าไปร่วมงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เข้าไปร่วมงานทุกคนมีความตระหนักของความสามัคคีเพื่อให้เกิดพลังและมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่อยู่ในชุมชน
    • มีผู้ร่วมสนับสนุนได้แก่ เทศบาลตำบลปาเสมัส ให้การสนับสนุนเต็นท์จำนวน 3 ตัว และประชาชนในชุมชนได้บริจาคข้าวสาร 3 กระสอบ ปลาแห้ง 5 กิโลกรัม และเครื่องปรุง โดยทีผู้บริจาคไม่ประสงค์ออกนาม

     

    155 250

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำป้ายโครงการและสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านสามารถได้เห็นถึงการดำเนินงานตามโครงการ และให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการติดตั้งป้าย

     

    150 100

    4. 2.ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 09:30-12.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ที่ประชุมได้แบ่งและมอบหมายให้มีคนรับผิดชอบกิจกรรมของโครงการฯคือ นาย นาซูฮา หะยีอาแว รับผิดชอบหลักกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชน
    • กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล นาย อับดุลเลาะ เจ๊ะแว รับผิดชอบกิจกรรมส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน ,
    • นาย หามะปาดือลี มะสาและ รับผิดชอบกิจกรรมการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • นาย มะลูเด็ง มูหะมะ รับผิดชอบกิจกรรมการถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชน
    • นาย วอเฮะ เจ๊ะแม รับผิดชอบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพที่สอดคลองกับภูมิสังคม
    • ในที่ประชุมได้ให้ผู้ที่รับผิดชอบได้ไปทำแผนงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อง่ายและสะดวกในการทำกิจกรรมและติดตามประเมินผลของแต่ละกิจกรรม ถึ้งแม้การแบ่งการรับผิดชอบแต่ในหลักการปฎิบัติก็คือทุกคนต้องร่วมกันและช่วยเหลือกัน และทางผู้ใหญ่บ้านได้บอกในที่ประชุมว่าให้ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกันในการรักษาความปลอดภัยในชุมชน เพราะก่อนหน้านี้นั้นได้มีวัยรุ่น 2 คนเข้าไปในมัสยิดในเวลากลางคืนซึ่งผิดวิสัย เกรงกลัวว่าจะมีการขโมยตู้บริจาคสำหรับเด็กกำพร้าที่ตั้งในมัสยิดซึ่งเป็นวัยรุ่นจากพื้นที่อื่นๆแต่โชคดีมีคนมาพบเห็นก่อนจึงได้สอบถามและปล่อยตัวไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 36 คน
    2. ทำใหสมาชิกสภาทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ เช่น เข้าใจว่าการที่ สสส สนับสนุนงบประมาณนั้นก็เพื่อให้มีการสร้างประชาชนในชุมชนมีความเข้มแข็งเพราะการที่คนๆหนึ่งจะมีสุขภาพดีนั้นจำเป็นต้องสร้างชุมชนให้น่าอยู่และชุมชนจะน่าอยู่นั้นส่วนหนึ่งก็มาจากคนในชุมชนมีความรักซึ่งกันและกันและมีความสามัคคีกัน
    3. มีโครงสร้างการบริหารโครงการฯมากขึน เช่น การบริหารโครงการฯเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นั้นต้องมีการมีส่วนร่วม โปร่งใส่ และสามัคคีกัน
    4. นำความเข้าใจนี้ไปปฎิบัติได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องมากที่สุด

     

    35 36

    5. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 1

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบร่วมให้เด็กรวมตัวกัน
    • เวลา13.15 น.ครูตาดีการ่วมกันในการให้ความรู้โดยการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอ่านอัลกุรอ่านเด็กๆส่วนใหญ่มีพื้นฐานที่ได้เรียนมาเป็นประจำอยู่แล้ว แต่การสอนครั้งนี้นั้นเป็นการสอนแบบท่องจำเพื่อให่เด็กๆมีความจำทีดีขึ้น
    • การอานาซีด(ร้องเพลง)ครูสอนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอานาซีด เช่น การอานาซีดนั้นสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศาสนาในเรื่องต่างๆและผู้สอนจะเน้นสอนเพลงเรื่องการละหมาดเพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาอิสลามและการทำความดีเพื่อปลุกจิตสำนึกการทำความดีเริ่มตั้งแต่เด็กๆ
    • ครูตาดีกาได้สังเกตุและได้สอบถามนักเรียนที่สนใจหรือมีความสามารถต่อได้มาสอนเป็นการเฉพาะหรือแบ่งกลุ่มกันเพื่อต่อยอดต่อไป เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทำให้เห็นถึงความสามารถของเด็กๆ
    2.ทำให้เด็กๆมีความกล้าแสดงออก
    3.เด็กๆมีจิตสำนึกการทำงานเป็นกลุ่ม
    4.เด็กสามารถนำความรู้นี้ไปบอกกับบิดามารดาและผู้ปกครอง
    5.ผู้ปกครองมีความตระหนักและให้การสนับสนุนโรงเรียนตาดีกา
    6.เป็นการสร้างบรรยากาสในการเรียนและการสอน และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

     

    80 85

    6. อบรมการเขียนรายงาน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมการเขียนรายงานการดำเนินงานตามโครงการโดยมี สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงโครงการร่วมในการอบรมเพื่อทำความเข้าใจและพูดคุยแลกเปลี่ยนพร้อมแนะนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงาน สสส.ได้วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำเรื่องการเขียนรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนสอดคล้องกับอผนกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง และได้รับแนะนำในเรื่องของการจัดทำเอกสารการเงิน โดยปรับเพิ่มข้อมูลการเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน และได้ความรู้เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเริ่มหักในช่วงเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป

     

    2 2

    7. 3.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เวลา 19.30-21.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม 1 สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปกิจกรรมประชุมเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำและชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการฯคือได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ในที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ชุมชนควรที่จะจัดกิจกรรมที่ใหญ่กว่านี้หรือต้องมีการเชิญวิทยากรผู้มาบรรยายที่มีความรู้ความสามารถมากกว่านี้หรือเป็นบุคคลที่ให้การยอมรับในสังคมทุกระดับชั้น และกิจกรรมการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นควรที่จะเพิ่มเวลามากขึ้นและควรที่จะมีอย่างต่อเนื่องต่อไป
    • ชีแจงกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป คือ จะมีกิจกรรส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน 2 ครั้ง
    • กิจกรรมของชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงว่าหลังจากนี้จะมีกิจกรรมทางอำเภอเพื่อคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านดีเด่นและชุมชนได้รับงบประมาณจาก ศอ.บต โครงการสร้างอาชีพโดยให้ปลูกต้นมะพร้าวเพื่อขายหน่อได้รับงบประมาณทั้งหมดประมาณ 200,000 บาทปลูกในพื้นที่ 17 ไร่และที่ดินนั้นได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในชุมชนเป็นที่ดินที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆอีก
    • วาระอื่นๆผู้ใหญ่บ้านได้ขอความร่วมมือกับสมาชิกทุกท่านช่วยกันประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนร่วมกันกับกิจกรรมในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาชุมชนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯและรับรู้ถึงกิจกรรมต่างๆที่จะมีขึ้นในชุมชนและได้เตรียมความพร้อม โดยที่ประชุมได้ข้อสรุป คือ กิจกรรมที่ผ่านมานั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ กิจกรรมของหมู่บ้านนั้นทำให้เห็นถึงหมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเป็นอย่างดี วาระอื่นๆนั้น สมาชิกสภาได้เสนอว่าควรที่จะให้หาแนวทางเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือมากกว่านี้ถึงแม้ปัจจุบันนี้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมร้อยละ 80 เปอร์เซนต์แล้ว
    • ในการประชุมสภาในครั้งนี้นั้นได้มีมติให้ชุมชนมีกฎระเบียบของชุมชนและได้มีมติจากชุมชนว่าในช่วงแรกนี้ทางคณะกรรมการชุมชนทุกท่านควรรณรงค์ให้เยาวชนและชาวบ้านทั่วไปร่วมกันละหมาดร่วมกันที่มัสยิดทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนและเป็นช่วงรณรงค์นี้ยังไม่มีมาตรการณ์ใดๆสำหรับผู้ที่ไม่ไปร่วมละหมาดแต่เป็นการสร้างบรรยากาศในชุมชนในการปฎิบัติกิจกรรม
    • บทเรียนที่ได้รับการแบ่งกลุ่มที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นถึงการพัฒนาการและความเข้าใจใหม่ๆต่อกิจกรรมและโครงการฯถึงแม้มีความเข้าใจระดับดีแล้วกับโครงการฯหรือกิจกรรมแต่สิ่งหนึ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไปก็คือการสร้างระดับความเข้าใจร่วมกันอย่างแท้จริงเพราะพื้นฐานแต่ละคนไม่เหมือนกันทั้งทางด้านความรู้และประสบการณ์

     

    35 35

    8. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-11.30น.-14.00-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนและได้มีความเห็นตรงกันว่าต้องเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลาๆ 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและได้มีการพูดคุยถึงสถานที่จะเลือกทำกิจกรรมคือถนนเส้นทางหลักในหมู่บ้านและแบ่งกลุ่มโดยกลุ่มละ 10 คน ร่วมทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1.ทำความสะอาดหน้าปากซอยเป็นระยะทางโดยประมาณ 500-800 เมตร กลุ่มที่ 2.หลังจากกลุ่มที่ 1 ระยะทางเท่ากันโดยประมาณ กลุ่มที่ 3.ก็เช่นเดียวกันและกลุ่มที่ 4 สุดท้ายของถนนระยะทางโดยเฉลี่ยเท่ากัน และในแต่ละกลุ่มนั้นแบ่งหน้าที่กัน
    • เวลา 08.30น.ก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งแรกนี้ได้มีการทำความสะอาด ถนน ในชุมชน คนที่มีเครื่องตัดหญ้าก็จะตัดหญ่า เก็บขยะ และตัดต้นไม้ที่อยู่ในเขตของถนน
    • เวลา 11.30น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด
    • เวลา 14.00 น.ก็เริ่มทำความสะอาดต่อ โดยที่กลุ่มไหนเสร็จแล้วก็จะไปช่วยเหลือกลุ่มอื่นๆต่อ ถ้าส่วนไหนเสร็จแล้วก็จะไปทำความสะอาดต่อที่ถนนสายรองในหมู่บ้าน ในขณะทำความสะอาดนั้นมีคนที่รับผิดชอบเรื่องน้ำดื่มเพื่อบริการให้กับผู้ที่ทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ คือ

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 43 คน ได้ร่วมกันทำความสะอาดถนนในหมู่บ้านซึ่งทำให้ถนนในหมู่บ้านมีความสะอาด
    2.ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชนจึงจำเป็นที่จะต้องมีความสะอาดเรียบร้อยเพราะหากสองข้างทางของถนนมีต้นไม้หรือเป็นทีรกรุงรังนั้นจะทำให้ปิดบังการมองเห็นในการสัญจรไปมาอาจเกิดอันตรายได้หรืออาจมีสัตว์มีพิษที่ทำให้เกิดอันตรายได้
    3.เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่ด้วยกันหรือเยาวชนด้วยกันมีความสัมพันธ์กันและมีความใกล้ชิดมากขึ้น

     

    40 43

    9. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-11.30น-14.00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนและได้มีความเห็นตรงกันว่าต้องเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและหลังจากนั้นก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งนี้ได้มีการทำความสะอาดและพัฒนาที่โรงเรียนตาดีกา(สถานที่สอนศาสนาให้กับเด็กๆ)ในชุมชน สืบเนื่องจากในครั้งนี้ในชุมชนต้องการทีจะรื้ออาคารหลังเก่าและถมดินในบริเวณโรงเรียนตาดีกา ช่วงเช่าได้ร่วมกันรื้ออาคารหลังเก่าจนเสร็จ เวลา 11.30น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด และเวลาประมาณ 14.00 น.ก็ได้ร่วมกันข่นดินเพื่อไปถมในบริเวณโรงเรียนตาดีกาจนพร้อมกับทำความสะอาดจนแล้วเสร็จก็ได้แยกยายกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้นได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

    1.ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 41 คน
    2.โรงเรียนตาดีกาจึงทำให้โรงเรียนตาดีกามีความสะอาดมากขึ้น
    3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชน
    4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความใกล้ชิดมากขึ้น
    5.ผู้เข้าร่วมมีความคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น

     

    40 41

    10. 4.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 1 มกราคม 2559 เวลา 19.30-21.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม
    1. สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน 2 ครั้ง ประสบผลสำเร็จได้ดีระดับหนึ่งและคนในชุมชนมีความสนิทสนม มีความใกล้ชิดมากขึ้น
    2. ชีแจงกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป
    3. กิจกรรมของชุมชนผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงถึงโครงการร่วมกันปลูกต้นมะพร้าวได้ดำเนินการไปแล้วครึงหนึ่งได้ปลูกแล้วประมาณ 5,000 ต้น และได้ติดตามความคืบหน้าถึงกิจกรรมที่ส่งประกวดผู้ใหญ่บ้านดีเด่นและผู้ใหญ่บ้านได้ขอความร่วมมือกับชาวบ้านในชุมชนว่าในวันดังกล่าวนั้นให้ผู้ที่ทำผลิตภันฑ์ในชุมชนนำไปแสดงด้วย เช่น ผ้าบาติก ผ้าละหมาดสตรีเป็นต้น สืบเนื่องจากว่าหมู่บานตือระได้รับการคัดเลือกในอำเภอสุไหงโกลกเป็นผู้ใหญ่บานดีเด่นและได้คัดเลือกให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านดีด่นระดับจังหวัดต่อไปและมีกิจกรรมการตอนรับคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดมาเยี่ยมชมในชุมชน
    4. วาระอื่นๆ ในที่ประชุมได้นำเสนอให้กับทุกคนพูดคุยเรื่องกิจกรรมต่างๆของชุมชนในร้านน้ำชา หรือให้พูดคุยประเด็นการสร้างความสามัคคีเพื่อให้มีบรรยากาสทีดีขึ้น โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปโดยร่วม คือ กิจกรรมที่ผ่านมานั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมที่จะมีขึ้นต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้ที่รับผิดชอบแต่ละคนได้มีการสรุปกิจกรรมที่ต้นเองรับผิดชอบที่ผ่านมาทั้งหมด
    2. นำเสนอแผ่นที่จะจัดกิจกรรมครั้งต่อไปคือการเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมต้องมีเวลาอย่างน้อย 7-10 ก่อนจัดกิจกรรมและต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ดีกว่าเดิมไม่ใช้ประชาสัมพันธ์เฉพาะที่มัสยิดเท่านั้นเช่นไปที่บ้านเป็นต้น
    3. ทางคอเต็บได้ประเมินถึงผู้ที่เข้าร่วมละหมาดร่วมกันที่มัสยิดมีมากขึ้นจากเดิมมีประมาณ 30-40 คน แต่หลังจากได้มีการรณรงค์แล้วเพิ่มขึ้นเป็น40-50 คนโดยเฉลี่ย
    4. สมาชิกสภามีความพร้อมที่จะปฎิบัติกิจกรรมที่ได้ว่างไวและมีการแลกเปลี่ยนประเด็นในที่ประชุมมากขึ้น 5.จากการจัดกิจกรรมมาทั้งหมดแนวโน้มไปในทิศทางทีดีขึ้นคือเมื่อมีการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและประชาชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นและเป็นแนวทางสู่การมีความสามัคคีมากขึ้น

     

    35 35

    11. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 2

    วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 13:00-15.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบรวมให้เด็กรวมตัวกัน
    1. ครูตาดีกาได้ร่วมกันในการให้ความรู้โดยการทบทวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆและได้สอบถามความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอานาซีด(ร้องเพลง)เพื่อทบทวนของกิจกรรมครั้งที่แล้วโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
    2. กิจกรรมครั้งนี้ครูได้สอนเกี่ยวกับการอาซานคือ(การเชิญชวนให้ผู้คนมาละหมาด) สอนเรื่องอาซานให้ถูกต้องเป็นอย่างไรให้ไพเราะ เสียงสูง ต่ำ ยาว สั่น ให้เด็กๆเข้าใจ และหลังจากนั้นให้เด็กๆทดสอบครูก็มีหน้าที่ชี้แนะให้กับเด็กๆ
    3. ครูได้สอนเรื่องการบรรยายธรรม โดยได้สาธิตวิธีการบรรยายธรรมให้กับเด็กๆ เช่นการเริ่มต้นการบรรยายทุกครั้งต้องเริ่มด้วยสาลาม อัสลามูอาลัยกุม(คำทักทายคือจงมีสันติสุขแดทุกท่าน)และการขึ้นนำ อัลฮัมดุลลีเลาะห์(ขอบคุณพระเจ้าอัลลอฮ์ ซบ) และอื่นๆ เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทำให้เด็กมีความสามารถที่หลากหลาย
    2. ทำให้เด็กความความกระตือรือร้น
    3. มีการฝึกฝนเริ่มตั้งแต่เด็ก
    4. เป็นการสร้างจิตวิญญานให้กับเด็กด้านวัฒนธรรม
    5. มีจิตสะนึกด้านความสามัคคีเริ่มตั้งแต่เด็ก

     

    80 80

    12. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 008:00-11.30-14.00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 29 มกราคม 2559 ทางคณะทำงานได้ไปสอบถามชาวบ้านผู้ที่มีเครื่องตัดหญ่าและได้ไปประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านว่าในวันที่ 30 มกราคม 2559 จะมีกิจกรรมพัฒนาที่กูโบร์ (สุสานของคนมุสลิม) และประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม
    • วันที่ 30/1/59 เวลา 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและหลังจากนั้นก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งแรกนี้ได้มีการทำความสะอาดกุโบร์(สุสานที่ฝังศพคนมุสลิม) ในชุมชน ได้ร่วมกันตัดหญ่า ตกแต่งต้นไม้ที่อยู่ภายในบริเวณสุสาน ตัดกิ่งไม้ เป็นต้น เวลา 11.30 น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด เวลาประมาณ 14.00 น.ก็ได้ทำความสะอาดต่อ โดยได้ช่วยกันใส่หินให้กับหลุมฝังศพที่ยังไม่มีอีกเพื่อเป็นสัญลักษณ์และสะดวกสำหรับผู้จะจะขุดหลุมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้นได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
    2. ระหว่างทำกิจกรรมได้มีโอกาสพูดคุยกันและมีความใกล้ชิดมากขึ้น
    3. ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชน
    4. กูโบร์(สุสาน) เป็นสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม การพัฒนากุโบร์ จึงทำให้ทุกคนให้ความร่วมมือและให้เกียรติต่อสถานที่ว่าต้องดูแลให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา
    5. ผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาแต่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้บริจาคน้ำดื่มให้ในกิจกรรมครั้งนี้

     

    40 42

    13. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 3

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00-15.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบร่วมให้เด็กร่วมตัวกัน ครูตาดีกาได้ร่วมกันในการให้ความรู้โดยการทบทวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆและได้สอบถามความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอานาซีด(ร้องเพลง)และการอาซาน เพื่อทบทวนของกิจกรรมครั้งที่แล้วโดยที่ครูตาดีกาได้ทบทวนอย่างเข้มข้นเพื่อให้เด็กๆสามารถที่จะได้ปฎิบัติได้จริงหรือเพื่อให้สามารถส่งเด็กๆนักเรียนส่งไปประกวดการแข่งขันขึ้นหากมี โรงเรียนตาดีกาอื่นๆเชิญ เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีเด็กนักเรียนชาย 1 กลุ่ม หญิง 1 กลุ่ม ที่มีความสามารถที่จะไปแข่งขันได้ แต่ก็ต้องมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
    2. มีผู้ปกครองครองของเด็กให้การสนับสนุน ที่ผ่านมาได้มีผู้ปกครองบางท่านได้ไปพูดคุยกับครูตาดีกาถ้าเป็นไปได้ควรที่จะมีการสอนเรื่องนี้ทุกๆสัปดาห์
    3. เด็กๆมีจิตสำนึกการทำงานเป็นกลุ่มมีรูปธรรมมากขึ้น

     

    80 83

    14. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 19.30-21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 18.45 ร่วมกันละหมาดมัฆรีบที่มัสยิดและหลังละหมาดเสร็จแล้วอีหม่ามได้ประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้กับผู้ที่ร่วมละหมาดว่าหลังจากละหมาดอีซาเสร็จแล้วจะมีการสอนกีตาบ(คู่มือหนังสือเกี่ยวกับศาสนา)เรื่องเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นำตามทัศนะของอิสลาม
    • เวลา 19.30 น.ร่วมกันละหมาดอีซาหลังจากเสร็จละหมาดอีซาแล้ว ก็ได้มีการบรรยายเรื่องบาทและหน้าที่ของผู้นำตามทัศนะของอิสลาม จากการสอนในครั้งนี้สรุปได้ว่าผู้นำมีหน้าที่ที่ต้องเสียสละและเป็นแบบอย่างที่ดีของชาวบ้านในชุมชนและผู้ตามก็วายิบ(จำเป็นต้อง)ที่ต้องฎออัต(เคารพ)ต่อผู้นำตราบใดที่ผู้นำไม่ได้ปฎิบัติทีขัดกับหลักศาสนา เป็นต้น และหลังจากสอนเสร็จแล้วก็ได้ร่วมกันรับประทานอาหารว่างที่ทางทีมงานได้เตรี่ยมไว้หลังจากนั้นได้แยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนทั้งหมดได้เข้าร่วมในครั้งนี้ทั้งหมด 100 คน ประชาชนได้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำอย่างแท้จริงคือการเสียสละ ทำงานอย่างโปรงใส่ การทำงานจะต้องจริงใจ ทุกครั้งที่จะมีงานต้องมีการประชุมเพราะตามหลักการของอิสลามนั้นสนับสนุนการประชุม สามารถเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมแล้วการประชุมคือส่วหนึ่งที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันและเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เกิดความสามัคคี
    • ประชาชนเข้าใจถึงการเป็นผู้ตามทีดีก็คือปฎิบัติตามผู้นำนั้นคือหน้าที่ของผู้ตามตามหลักศาสนาอิสลามและการเป็นผู้ตามทีดีนั้นคือการปฎิบัติตนตามหลักศาสนาและทรงผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชุมชนคือผู้นำทำหน้าที่ทีดีแล้วมีผู้ตามทีดีด้วยสังคมก็จะเกิดความสามัคคีขึ้น

     

    100 100

    15. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 19.30-21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 18.45 ร่วมกันละหมาดมัฆรีบที่มัสยิดและหลังละหมาดเสร็จแล้วได้ร่วมกันรับประทานอาหารว่างที่ได้เตรียมไว้ สืบเนื่องจากได้รับข้อเสนอจากครั้งที่แล้วเพราะว่าบางคนที่ไปร่วมละหมาดที่มัสยิดยังไม่ได้รับประอาหาร
    • เวลา 19.30 น.ร่วมกันละหมาดอีซาหลังจากเสร็จละหมาดอีซาแล้ว ก็ได้มีการบรรยายเรื่องบทบาทและหน้าที่ในชุมชน จากการสอนในครั้งนี้สรุปมุสลิมเปรียบเสมือนเรือนร่างอันเดียวกันส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บทุกส่วนก็เจ็บด้วย คือ มุสลิมทุกคนคือพี่น้องทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งกันและกัน มีหน้าที่ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นต้น และหลังจากสอนเสร็จแล้วก็ได้แยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนทั้งหมดได้เข้าร่วมในครั้งนี้ทั้งหมด 100 คน และทุกคนทีเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ได้ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเพือนบ้านเพราะเป็นคำสั่งทางศาสนาและเป็นการสร้างบรรยากาศอย่างหนึ่งเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันและมีความสามัคคีกัน

     

    100 100

    16. รายงานปิดงวดที่1

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินงวดที่ 1 ให้ทาง สจรส.ม.อ.ตรวจความถูกต้อง ก่อนจะทำการส่งรายงานงวด 1 ให้ทาง สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำเรื่องการปรับแก้เอกสารการเงิน ให้แนบใบหักภาษีในรายงานที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และเอกสารการเงินถูกต้อง สามารถจัดส่งรายงานงวด 1ให้ทาง สจรส.ได้

     

    2 3

    17. 5ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม
    1. แจ้งให้ทราบ ทางทีมงานได้แจ้งให้ทราบเรื่อง 1.1 สรุปการเงินของงวดแรกที่ สสส ส่งมา 80,000 บาท และได้ใช้ในการจัดกิจกรรม 60,000 บาท1.2 หลังจากรายงานการเงินงวดแรกแล้ว ทาง สสสจะส่งเงินงวดที่2 อีกประมาณ 1 เดือน จำนวน 100,000 บาท 1.3 ผอ.โรงเรียนตาดีกาได้แจ้งว่าในปีนี้โรงเรียนตาดีกาบ้านตือระได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข็งขันกีฬาตาดีกาประจำตำบล
    2. สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาจากที่ประชุมส่วนใหญ่ได้เห็นถึงความสำเร็จของกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาเป็นรุปธรรมมากขึ้น
    3. กิจกรรมครั้งต่อไป
    4. วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกสภาได้ทราบถึงการใช้จ่ายเงินของทำกิจกรรมงวดที่ 1 และรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ
    2. สมาชิกสภาทุกท่านได้ทราบถึงการเป็นเจ้าภาพของการแข่งขันกีฬาตาดีกาประจำตำบล และได้มีการแบ่งหน้าที่เพื่อดำเนินการกิจกรรมของโรงเรียนตาดีกา หน้าที่รับผิดชอบดั่งนี้ เยาว์รับผิดชอบในการเตรียมการเพื่อดำเนินกิจกรรมการแข่งขันกีฬา เช่นเตรียมของพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆและเตรียมโปรแกรมการแข่งขัน โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งการเตรียมพร้อมก่อนวันงาน และส่วนที่สองผู้รับผิดชอบในวันงาน เช่นกรรมการภาคสนาม และทางฝ่ายครูผู้สอนรับหน้าที่เตรียมความพร้อมกิจกรรมการแข่งขันภาคเวที่เช่น ประสานกับคณะกรรมการผู้ตัดสินภาคเวที่ กำหนดการ การจัดหารางวัล และอื่นๆ และการจัดทำประตูชัยและเวที่นั้นได้มอบหมายให้กับคนในชุมชนที่มีความสามารถในการทำประตูชัยและเวที่เพื่อความสวยงามและสอดคลองกับกิจกรรม ส่วนเรื่องอาหารนั้นได้มอบหมายให้กับกลุ่มสัตรี
    3. สมาชิกสภาและทีมงานทุกท่านได้นำบทเรียนจากกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาในกิจกรรมต่อไปและได้นำการร่วมมือจากกิจกรรมที่ผ่านมาเป็นจุดแข็งในการการดำเนินกิจกรรมต่อไป

     

    35 35

    18. กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 18 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 12/03/59ทางทีมงานได้ประสานกับผู้ที่จะเข้ามากิจกรรมการเตรียมพร้อมการจัดเก็บข้อมูล วันที่ 17/03/59 วันจัดงาน ทางทีมงานได้มอบหมายให้บุคคลากรในชุมชนที่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลจากทางอำเภอมาเป็นวิทยากร เวลา09.00 ประธานสภาชุมชนกล่างตอนรับและเปิดพิธี เวลา09.30 วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพูดคุยกับประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด เช่น วิธีการถามบางครั้งหากถามตรงๆแล้วประชาชนอาจจะไม่ยอมพูดเพราะอาจจะเกร่งใจ จึงจำเป็นต้องใช้จิตวิทยาในการถาม ทางวิทยากรได้เปิดให้สอบถามแลกเปลี่ยนประเด็นกัน พักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกัน เวลา 13.30น.ร่วมตัวกันอีกครั้งและทางวิทยากรได้สอนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้ความสำคัญของข้อมูล และหลังจากนั้นได้แบ่งโซนกันเพื่อไปลงเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 5โซน คณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละโซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงาน เยาว์ขน ประชาชนทุกภาคส่วน มีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล
    2. คณะทำงาน เยาว์ขน ประชาชนทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและตระหนักถึงการจัดเก็บข้อมูล
    3. จากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วประชาชนในชุมชนโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นญาติพี่น้องกัน
    4. แต่ละโซนนั้นมีผู้ที่ประชาชนในโซนนั้นมีความเคารพและเชื่อฟัง เช่นโซนที่1 นั้นมีโต๊ะอีหม่าม เป็นที่ยอมรับของคนในโซนแล้วเป็นที่ยอมรับของคนทุกคนในชุมชนด้วย 5.บุคคลที่เป็นกุญแจ่สำคัญในแต่ละโซนนั้นได้เข้ามามีบทบาทในชุมชนแล้วบางส่วนเช่นเป็นคณะทำงานของผู้ใหญ่บ้านและอื่นๆ

     

    40 40

    19. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่4

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    .เวลา13.30 น.อุสตาซ์ได้ให้นักเรียนร่วมตัวกัน 1.อุสตาห์ได้ให้นักเรียนทบทวนความรู้ทางด้านปฎิบัติ เช่น ให้อานาซีด ให้อาซาน ให้อ่านอัลกุรอ่าน และครูผู้สอนได้แนะนำและได้สอนนักเรียนในสิ่งที่นักเรียนอ่านผิด และได้สอนทางด้านปฎิบัติเป็นตัวอย่างให้เด็กนักเรียนเห็นได้ชัดเจ่นและนักเรียนได้ปฎิบัติตาม เสร็จแล้วครูผู้สอนได้แจกขนมของว่าให้นักเรียนได้รับประทานร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนมีความมั่นใจ 2.เด็กนักเรียนเพิ่มความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรม 3.เด็กนักเรียนมีความคล่องตัวมากขึ้นในการทำงานเป็นที่ม

     

    80 82

    20. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่3

    วันที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 18.35 น.ร่วมกันละหมาดมัฆรีบพร้อมกัน ละหมาดเสร็จแล้วร่วมกันรับประทานอาหารว่างที่ได้เตรียมไว้ เวลา 19.40 น.ร่วมกันละหมาดอีซาร่วมกัน หลังจากนั้น ก็ได้มีการสอนในหัวข้อ"การอยู่ร่วมกันเป็นญามาอะห์(เป็นกลุ่มมีความสามัคคีกัน)" จากการสอนในครั้ง นี้นั้นสรุปคือ การอยู่ร่วมกันโดยมีความสามัคคีนั้นจะได้ผลบุญและได้รับฮีดายะห์(พร)จากอัลลอฮ์(ซบ) ผู้สอนเปรียบเสมือนนิ้วมือทั้งห้าถึงแม้จะมีขนาดต่างกันถ้ามาร่วมกันแล้วก็สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายแต่ถ้านิ้วเดียวอาจมีขีดจำกัดในการใช้งาน ความหมายคือคนเราก็เหมือนกันทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกันแต่ถ้ามาร่วมกันแล้วก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแต่ถ้าอยู่คนเดียวก็มีขีดจำกัดในการใช้ทำงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนในชุมชนมีความรักและความสามัคคีมากขึ้นคือประชาชนในชุมชนได้ร่วมตัวกันและเชิญผู้รู้มาบรรยายธรรมและสอนการอ่านอัลกุรอ่านที่บ้าน
    2. ประชาชนได้ทราบถึงอิสลามสนับสนุนการอยู่ร่วมกันและมีความสามัคคีกันคือประชาชนในชุมชนได้ปฎิบัติตามบัญญัติของศาสนาในการอยู่ร่วมกัน
    3. ประชาชนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและปฎิบัติได้จริงคือประชาชนในชุมชนเกิดการร่วมตัวกันในการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่
    4. ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงการอยุ่ร่วมกันคือประชาชนในชุมชนได้เข้าใจถึงผลลัพท์ของการอยู่ร่วมกัน

     

    100 100

    21. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่5

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.30น.ครูผู้สอนได้รวบร่วมนักเรียนและให้เด็กได้ปฎิบัติโดยมีการทดการแข่งขันกันและครูผู้สอนเป็นผู้ที่ให้คะแนน การอานาซีด เด็กได้คะแนนต่ำสุด 6.5 สูงสุดได้ 8.3 เต็ม 10 คะแนน การอ่านอัลกุรอ่าน ต่ำสุดได้ 7 คะแนน สูงสุดได้ 8 คะแนน เต็ม 10 คะแนน การอาซาน ต่ำสุดได้ 7.2 สูงสุดได้ 8.1 คะแนนเต็ม 10 คะแนน และหลังจากนั้นครูผู้สอนก็ได้แจกขนมให้เด็กๆกินเสร็จแล้วแยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กได้ฝึกการแข่งขัน 2.เด็กมีประสบการณ์ในการแข่งขัน 3.เด็กมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น 4.เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้คะแนน 5.เด็กรู้จัก แพ้ ชนะ และการให้อภัย

     

    80 81

    22. 7.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 5

    วันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม 1.สรุปกิจกรรมที่ทำมาและกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป คือกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่4 การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่3 การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่5  และกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปพัฒนายุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนสร้างสุขส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 4ทั้งสองกิจกรรมประสบผลสำเร็จและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนในชุมชน 2.ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจ้งถึงความคืบหน้าของโครงการเลี้ยงเป็ดที่ได้รับการสนับสนุนจากอำเภอสุไหงโกลก
    3.ชี้แจ้งกิจกรรมต่อไปคือ การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน 4.วาระอื่นๆ พูดคุยเรื่องจะทำเปิดบวช(ละศิลอดในเดือนรอมฎอน)ที่มัสยิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกสภาทราบถึงความคืบหน้าของโครงการฯ เช่นมีข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป และได้ทราบถึงความคืบหน้าของเด็กๆจากการทำกิจกรรมผ่านโรงเรียนตาดีกา และได้สรุปความรู้ที่ได้มาจากการบรรยยายธรรมที่มัสยิด
    2.สมาชิกสภาได้ทราบถึงผลของการทำโครงการฯอื่นๆของชุมชน เช่น หนึ่งเดือนข้างหน้าสามารถที่จะขายเป็ดได้และนำรายได้มาแบ่งเป็น สามส่วน ส่วนที่หนึ่งให้กับผู้ที่รับผิดชอบหลัก ส่วนที่สองใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ส่วนที่สามเก็บเป็นกองกลาง
    3.สมาชิกสภาสามารถนำข้อมูลจากที่ประชุมไปเผยแพรและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชน โดยแต่ละคนรับผิดในเขตของต้นเองรับผิดชอบพร้อมได้ชักชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    35 35

    23. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่6

    วันที่ 3 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00น.ครูผู้สอนได้ให้นักเรียนร่วมตัวกัน และได้เชิญนักเรียนที่ได้รับชัยชนะที่ 1และ2 ของแต่ละประเภทกิจกรรมมาฝึกปฎิบัติโดยให้เด็กนักเรียนเน้นเรื่องที่ผิดพลาดจากครั้งที่แล้วให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และเด็กนักเรียนคนอื่นๆให้เป็นกำลังใจให้กับตัวแทนนั้น เพื่อเตรียมตัวที่จะส่งการแข่งขันกีฬาตาดีการะดับตำบลต่อไป หลังจากนั้นครูผู้สอนได้แจกขนมให้เด็กกินร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กมีความรัและความสามัคคี 2.เด็กๆรู้จักหน้าที่ของต้นเอง 3.เด็กให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม 4.เด็กๆได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองโดยที่ผู้ปกครองมาให้กำลังใจ

     

    80 80

    24. พัฒนายุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนสร้างสุข

    วันที่ 13 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการได้เชิญชวนเยาว์ชนและประชาชนทั่วไปที่เคยเข้าร่วกับกิจกรรมที่ผ่านมาและได้นัดพบปะพูดคุยทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้ หลังจากนั้นทางทีมงานได้แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม และได้แต่งตั้งทีมงานเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 5 กลุ่มและได้แบ่งโซนกัน กลุ่มที่ 1 นายนาซูฮา หะยีอาแว หัวหน้ากลุ่มรับผิดชอบโซน 1กลุ่มที่ 2 นายอับดุลเลาะห์ เจ๊ะแว หัวหน้ากลุ่มรับผิดชอบโซน 2 กลุ่มที่ 3 นาย หามะปาดือลี มะสาและ รับผิดชอบโซน 3 กลุ่มที่ 4 นาย มะลูเด็ง มูหะมะ รับผิดชอบโซน 4 กลุ่มที่ 5 นายวอเฮะ เจ๊ะแมรับผิดชอบโซ 5 หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มได้ลงไปเยี่ยผู้สูงอายุหรือผู้ที่พิการที่อยู่ในโซนของต้นเองรับผิดชอบ ในการเยี่ยครั้งนี้ใช้วิธีการพูดคุยและให้กำลังใจกับผู้ที่ถูกเยี่ยม การทำกิจกรรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชุมชนโดยที่ประชาชนบางคนได้บริจาคเงินเพื่อซื้อสิ่งของบริจาคให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่พิการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้สูงอายุและผู้ที่พิการได้รับกำลังใจ คือ เมื่อมีเยาว์ชนไปเยี่ยมที่บ้านแล้วทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขและเกิดกำลังใจ
    2. ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชุมชน คือ ประชาชนในชุมชนเกิดการเยี่ยมบ้านของกันและกัน
    3. ประชาชนในชุมชนได้เสนอให้มีกิจกรรมแบบนี้ตลอดไปอาจต้องกำหนดอยู่ในกิจกรรมของชุมชนต่อไป การเยียมนี้มีอยู่ในแผ่นของกิจกรรมของชุมชน
    4. ประชาชนและเยาว์ชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตระหนักและจิตสำนึกในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป คือ วันฮารีรายอที่ผ่านมาหลังจากเสร็จละหมาดรายอแล้วเยาว์ชนได้จัดกลุ่มกันและได้ไปเยียมผู้สูงอายุ
    5. ประชาชนและเยาว์ชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและผู้ที่พิการมากขึ้นคือ เมือเห็นผู้สูงอายุกำลังเดินอยู่เยาว์ชนได้ช่วยพาไปส่งถึงทีหมายของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุกำลังเดินไปมัสยิดเยาว์ชนช่วยไปส่งและขากลับก็กลับพร้อมกัน

     

    40 44

    25. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 4

    วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันศุกร์ที่ 15/04/59 ทางคณะทำงานได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนได้ทำความสะและพัฒนาที่สนามฟุตบอลของชุมชน วันที่ 21/04/59 เวลา 08.30 น.ได้ร่วมตัวกันที่สนามฟุตบอลในชุมชน และได้แบ่งหน้าที่กัน ตัดหญ้า ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ โดยในช่วงเช้านี้ได้ตัดหญ้า ตัดต้นไม้ และไปก้องไว้ จนถึงเวลา 11.45 น.ได้พักรับประธานอาหาร เที่ยงร่วมกัน และได้แยกยายกลับบ้านอาบนำ้และละหมาดพร้อมกันที่มัสยิด เวลา 14.00น.ได้มาร่วมตัวกันอีกครั้งที่สนามฟุตบอล และได้เผ่าหญ้าใบไม้กิ่งไม้ที่ตัดและไว้เป็งกองแล้ว และได้เอาดินไปถ่มที่เป็นหลุ่มเพื่อปรับพื้นที่ให้สนามฟุตบอลเรียบเวลาเล่นฟุตบอลจะไม่ให้เกิดอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สนามฟุตบอลมีความสะอาดเรียบร้อยมากขึ้น
    2. เชื่อความสัมพันธ์และได้กระชับมิตรกันมีความสนิทสนมมากขึ้น
    3. เยาว์ชนมีแรงบัลดาลใจในการเล่นกีฬามากขึ้น
    4. ผู้เข้าร่วมมีจิตรสำนึกในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

     

    40 40

    26. 8.ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 6

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากละหมาดอีซาเสร็จแล้วทางประธานสภาได้เปิดการประชุมและได้เชิญประชาชนทั่วไปร่วมการประชุมด้วย 1.สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา 2.ชี้แจงทั่วไปให้ประชาชนที่เข้าร่วมทราบถึงกิจกรรมต่างๆด้วย 3.จากที่ประชุมครั้งที่แล้วในที่ประชุมได้พูดคุยเกี่ยวกับการเปิดบวชที่มัสยิด(ละศิลอด)ประธานสภาจึงถามความเห็นในที่ประชุมว่าเห็นด้วยและสนับสนุนจะมีกิจกรรมในเดือนบวชหรือไม่สรุปในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยจะให้มีกิจกรรมเปิดบวชในเดือนรอมฎอน 4.วาระอื่นๆ พูดคุยถึงรายละเอียดกิจกรรมที่จะทำในเดือนรอมฎอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาและประชาชนได้ทราบถึงกิจกรรมของโครงการฯและได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา 1.1 กิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไปคือส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 5 1.2สรุปกิจกรรมที่ผ่านมาถึงการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่6 นี้เป็นกิจกรรมสุดท้ายของเด็กๆและทำให้เด็กที่ผ่านกิจกรรมได้มีความพร้อมในด้านอนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ดีในระดับหนึ่ง และเยาว์ชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดโครงการฯได้ในระดับทีดีและได้หามาตรการในการที่จะต่อยอดกับกลุ่มเยาว์ชนกลุ่มนี้ และในที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมปรับภูมิทัศน์เพราะทำให้มีความสะอาดเรียบร้อยในชุมชนและเป็นหน้าตาของชุมชน
    2. ประชาชนในชุมชนมีเวที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นคือได้มีความเห็นและได้ใช้เหตุผลในการแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ
    3. ชุมชนมีกิจกรรมเพิ่มเติมนอกจากในโครงการฯคือได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมที่จะมีขึ้นในชุมชน4.ประชาชนและสมาชิกสภามีความคิดและเปิดใจยอมรับความคิดเห็นต่างได้ดีมากขึ้นโดยยอมรับจากใช้หลักการและเหตุผลต่างๆ

     

    35 35

    27. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 5

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนให้ว่าจะทำกิจกรรมทำความสะอาดและพัฒนาที่บาลาเซาะห์(สุเหร่าเป็นสถานที่ละหมาดแต่เล็กกว่ามัสยิด) เวลา 08.30น.ได้ร่วมตัวกันที่สุเหร่า และได้ชี้แจ้งว่ากิจกรรทำความสะอาดและพัฒนาในชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.นี้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โดยทำความสะอาดเก็บขยะ ทำความสะอาดท่อระบ่ายน้ำ ถึงเวลา 11.30 น.พักและรับประธานอาหารและละหมาดร่วมกัน เวลา 14.00 น.ได้ร่วมตัวกันอีกครั้งและได้ทำความสะอาดภายในตัวอาคาร ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้มีเด็กๆเข่าร่วมด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สุเหร่ามีความสะอาดเรียบร้อย  2.มีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น 3.สามารถเป็นแบบตัวอย่างให้กับเด็กๆได้เพื่อให้เด็กสามารนำเป็นตัวอย่างที่ดี

     

    40 40

    28. 9.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 7

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากละหมาดอีซาเสร็จแล้วทางประธานสภาได้เปิดการประชุม 1.สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา คือ  กิจกรรมส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 5  2.วางแผ่นกิจกรรมต่อไป 3.ช่วยกันสอดสองดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชน 4.วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กิจกรรมที่ผ่านมานั้นคือกิจกรรมส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 5 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายและเป็นกิจกรรมสุดท้ายของกิจกรรมนี้ และในที่ประชุมมีความเห็นว่ากิจกรรมนี้ควรดำเนินการต่อไปตามวันสำคัญต่างๆของศาสนา
    2. มีความเข้าใจมากขึ้นในการที่จะจัดกิจกรรมต่อไปคือจากการที่ได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้สมาชิกมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้นในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ
    3. คณะกรรมการสภาทุกคนรับที่จะไปประสานงานกับประชาชนในชุมชนให้ช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชนและเป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน
    4. ในชุมชนนั้นมีความสงบเรียบร้อยเป็นอย่างดีเพียงแต่เป็นชุมชนที่เป็นทางเข้าของชุมชนอื่นๆและอยู่ติดกับถนนสายหลักจึงมีผู้คนมากมายสัญจรผ่านไปมาจึงต้องช่วยกันสังเกตุมากขึ้น และได้เชิญผู้นำจิตวิญญานในชุมชนได้มาพูดให้กับที่ประชุมเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับคณะกรรมการทุกคน

     

    35 35

    29. 11.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 8

    วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังละหมาดวันศุกร์ ประธานสภาได้เปิดการประชุม 1.ประชุมเรื่องแจ้งให้ทราบและออกแบบงานที่จะจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน 2.การดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชน 3.วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนนั้นมติที่ประชุมได้ออกแบบงานคือให้มีการจัดทำขนมอาซูรอเพิ่มจากกิจกรรมจากที่แผ่นในโครงการ และมีวงเสวนาด้านศาสนาในการจัดงานในครั้งนี้
    2. ในชุมชนมีความสงบเรียบร้อยเป็นอย่างดีเหตุผลหนึ่งคือมาจากชาวบ้านในชุมชนร่วมมือการสอดส่องดูแลชุมชนถึงแม้จะมีความสงบเรียบร้อยแล้วแต่เพื่อความไม่ประมาทจึงมีการแบ่งงานตามปกติคือมีเวรยามในการดูแลชุมชน เช่น จัดตั้งดูแลสถานที่สำคัญๆของชุมชน และมีการลาดตระเวนในชุมชน เป็นต้น
    3. คอเต็บได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกสภาให้ไปเชิญชวนประชาชนมาละหมาดที่มัสยิดมากขึ้นซึ่งจากเดิมนั้นมีมากพอสมควรแล้วแต่อยากให้มีมากขึ้อีก

     

    35 35

    30. 10.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 9

    วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานสภาเปิดการประชุม 1.เตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน 1.1 แต่งตั้งประธานโครงการ1.2 แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ 1.3 แบ่งโซน 2.วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประธานโครงการ คือ นายนาซูฮา หะยีอาแว เหตุผลคือเพื่อให้สะดวกในการประสานงานกับทุกฝ่ายในชุมชนและประสานงานกับภายนอก
    2. หน้าที่รับผิดชอบมีดังนี้ 2.1 สถานที่ นาย หามะปาดือลี มะสาและ และมีทีมงานอีก 5 คน 2.3 ฝ่ายกิจกรรม นาย วอเฮะ เจ๊ะแมและทีมงาน 5 คน โดยแบ่งเป็นกิจกรรมภาคสนาม และกิจกรรมภาคเวที่ 2.4 นาย อับดุลเลาะ เจ๊ะแว การเงิน 2.5 รับผิดชอบทำขนมอาซูรอ นาย มะลูเด็ง มูหะมะ
    3. แบ่งโซนทั้งหมด 4 โซน และแบ่งเป็นสี คือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเหลือง และสีเขียว แต่ละโซนมีหัวหน้าทีมและคณะทำงาน
    4. วาระอื่นๆการทำงานขนมอาซูรอนั้นได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านในชุมชน

     

    35 35

    31. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 4

    วันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 18.45-20.15 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 18.20 น.ละหมาดมัฆรีบพร้อมกันละหมาดเสร็จแล้ว เวลา 18.30 น.รับประทานอาหารว่างพร้อมกัน เวลา 18.45 บาบอ(โต๊ะครู/ผู้สอน) ได้เริ่มมีการสอนและบรรยายในหัวข้อ "เรื่องความสัมพันธ์และความรับผิดชอบระหว่างเพื่อนมนุษย์ในทัศน์อิสลาม" จากการสอนในครั้งนี้นั้น สรุปคือ การใช้ชีวิวิตประจำวันของประชาชนนั้นต้องมีการปฎิบัติการกล่าวสาลาม(อัสลามูอาลัยกม)คือจงมีสันติแด่ท่าน ซูนัตสำหรับการกล่าวสาลาม และวายิบ(บังคับ)สำหรับการตอบสาลาม(วาอาลัยกมมุสาลาม)ตั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ให้สาลามและผู้ตอบสาลามจะได้ผลบุญทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนั้นแล้วทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟนยิ่งขึ้น เวลา 20.15 ละหมาดอีซาร่วมกัน และแยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้รับการตอบรับจากชุมชนได้ดีมากเช่นประชาชนได้นำไปปฏิบัติใช้ได้เลยในเมื่อมีการพบเจอกันและเมื่อไปเยี่ยมเพื่อนบ้าน
    2. เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟนยิ่งขึ้น
    3. ประชาชนเกิดความรักและใกล้ชิดมากขึ้น
    4. ทำให้มีการลดช่องว่างของการเกิดปัญหาระหว่างกันและที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือประชาชนในชุมมีการให้ความช่วยเหลือกันเช่นเมื่อคนหนึ่งจะไปตลาดได้สอบถามเพื่อบ้านว่าใครมีความต้องการที่จะซื้ออะไรบ้างหากมีใครฝากแล้วก็จะช่วยกันซื้อ

     

    100 100

    32. การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพที่สอดคลองกับภูมิสังคม

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมนี้ได้ปฎิบัติ 3 ติดต่อกัน วันแรก 1 วันเรียนทางทฤษฎี ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำอาชีพแบบเศษรฐกิจพอเพียงและได้วิเคราะห์ถึงผลผลิตและการตลาดเช่นถ้าทำ 1000 ก้อนผลผลิตออกมาได้ประมาณวันละ 1 กิโลกรัม ราคากิโลกรัลละ 50 บาทและสามารถไปขายที่ตลาดสุไหงโก-ลก และ เน้นเนื้อหาของการทำเห็ดนางฟ้า ช่วงเช้าได้เรียนเกี่ยวกับการทำก้อนเพาะเชื่อเห็ด เช่น ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 50 กิโลกรัม รำละเอียด 3 – 4กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 1 – 3 กิโลกรัม ปูนยิบซัม 0.5 กิโลกรัม หินปูนหรือผงชอล์ก 0.5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.1 กิโลกรัม น้ำ 40 กิโลกรัมช่วงบาย จะเรียนเกี่ยวกับการหยอดเชื้อเพื่อเพาะเห็ด หลังจากที่ได้ทำก้อนเรียบร้อยแล้วก็นำ้ก้อนเชื้อนำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้วก็ต้องปล่อยให้เย็นก่อนและหลังจากนั้นก็นำก้อนเชื้อไปหยอดเชื้อเห็ด ประมาณ 20 เมล็ด วันที่ 2 เรียนปฎิบัติ โดยปฎิบัติเกี่ยวกับการผสมวัตถุดิบในการผลิตก้อนเชื้อเพาะเห็ด วันที่ 3 เรียนการปฎิบัติ การนึ่งก้อนเชื้อ โดยนำถังน้ำมัน 200 ลิตร มาใช้เป็นหมอนึ่ง และนึ่ง ประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อ และปล่อยให้เย็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการทำเห็ดคือสามารถปฎิบัติได้จริงเกี่ยวกับการทำเห็ดและเห็นถึงการทำอาชีพในชุมชนได้อย่างแท้จริง
    2. เยาว์ชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยค คือ เยาว์ชนสามารถนำความรู้ได้ไปปฎิบัติและได้ลดช่องว่างของช่วงเวลาและไม่ไปยุงเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออื่นๆ
    3. เป็นทางเลือกให้กับกลุ่มเยาว์ชนในการประกอบอาชีพต่อไปคือเยาว์ชนในชุมชนมีการพูดคุยว่าจะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อทำเห็ดในการประกอบอาชีพ

     

    40 40

    33. การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพที่สอดคลองกับภูมิสังคม

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันแรก ได้เรียนทางปฎิบัติ คือเรียนเรื่องการกยอดเชื้อในก้อนเห็ด ต้องดูว่าเชื้อที่พอเหมาะสมในการหยอด เชื้ออยู่ในขวดแล้วต้องมาเคาะให้เป็นเม็ดๆก่อนแล้วจึงจะหยอดได้ ต้องใช้แอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ  วันที่ 2 เป็นการเตรียมโรงเรือนเพื่อใช้ในการบมเพาะก้อนเห็ด ในส่วนของโรงเรือนนี้ต้องเย็นชื่นและสะอาดและต้องมีการควบคุมอุณภูมิในโรงเรือนด้วย และ วันที่ 3 เรียนรู้เรื่องการวางก้อนเห็ดในโรงเรือน การวางก้อนเห็ดในโรงเรือนนั้นต้องวางให้ถูกวิธี การวางก้อนเห็ดตอนบมเพาะเชื้อและการวางก้อนเห็ดตอนเปิดดอก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีกลุ่มเยาว์ชนในชุมชนที่เพาะเห็ดคือปัจจุบันนี้มีเยาว์ชนในชุมชน 3 คน ทำเห็ดเป็นอาชีพได้สร้างโรงเรือน 2 โรง คือโรงบมเพาะเชื่อก้อนเห็ดและโรงเปิดดอกและได้ผลิตก้อนเห็ดนางได้ 2500 ก้อน ไปขายได้ประมาณวันละ 5-7 กิโลกรัมโดยเฉลี่ยคิดเป็นเงิน250 บาท-350บาทต่อไป
    2. เยาว์ชนสามารถพึ่งพาต้นเองและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คือเยาว์ชนสามารถหาช่องทางเพื่อช่วยเหลือเยาว์ชนคนอื่นๆการประกอบอาชีพเพราะปัจจุบันนี้ได้มีเยาว์ชนอีกประมาณ 3-5 คนต้องการที่จะทำเห็ดในการประกอบอาชีพและตอนนี้กำลังดำเนินการหาวิธีในการให้ความช่วยเหลือ
    3. เป็นเกราะป้องกันให้กับกลุ่มเยาว์ชนคือปัจจุบันนี้ได้มีเยาว์ชน 1 คน ใน 3 คนที่ทำเห็ดนั้น พึงเสร็จจากการบำบัดยาเสพติดของทางอำเภอและได้ผ่านการรับยาเพื่อบำบัดจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เป็นการเปิดโอกาสให้กับเยาว์ชน
    4. ปัญหาคือหลังจากการอบรมแล้วมีเยาว์ชนสนใจที่จะทำเห็ดเป็นอาชีพแต่ขาดงบประมาณในการสนับสนุน แต่ทางชุมชนกำลังปรึกษาหารือเพื่อหาช่องทางในการสนับสนุนต่อไป

     

    40 40

    34. 6.ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 10

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานสภาเปิดการประชุม 1.ติดตามการเตรียมพร้อมของการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน 2.วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีความคืบหน้าของการจัดกิจกรรมไปมากโดยประมาณ 70 เปอร์เซ็น วิทยากรทั้ง 3 ท่านตอรับเข้าร่วมกิจกรรม กระทะใหญ่สามารถหาได้ครบ ทั้ง 9 ใบแล้ว เวที่ เต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ นั้นได้ประสานแล้ว และได้เตรียความพร้อมของการเล่นกีฬาภาคสนามและภาคเวที่ โดยได้กำหนดคนที่จะมาเล่นและร่วมกิจกรรม แต่ละโซนได้กำหนดคนที่รับผิดชอบเช่นหัวหน้าเตรียมเครื่องส่วนผสมของขนมอาซูรอ หัวหน้วและทีมงานผู้รับผิดชอบหลักในการกวนขนมอาซูรอเป็นต้น
    2. วาระอื่นๆหลายคนในที่ประชุมได้แสดงความเห็นหลายปีแล้วที่ทางชุมชนไม่ไดเจัดงานใหญ่แบบนี้จึงอยากจะให้งานครั้งนี้สำเร็จเพื่อเป็นกำลังใจในการที่จะจัดในปีต่อๆไป

     

    35 35

    35. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 5

    วันที่ 14 กันยายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 18.20 น.ละหมาดมัฆรีบพร้อมกันละหมาดเสร็จแล้ว เวลา 18.30 น.รับประทานอาหารว่างพร้อมกัน เวลา 18.45 บาบอ(โต๊ะครู/ผู้สอน) ได้เริ่มมีการสอนและบรรยายในหัวข้อ"การทำอีบาดะห์(การปฏิบัติธรรม)"จากการสอนในครั้งนี้นั้น สรุปคือ การทำอีบาดะห์นั้นต้องทำด้วยความบริสุทธิใจถึงจะได้ผลบุญไม่ใช้ทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทน และการละหมาดนั้นเป็นอีบาดะห์ที่สำคัญเปรี่ยบเสมือนเป็นเสาของศาสนา และการใช้ชีวิตเป็นญามาอะห์(อยู่ร่วมกัน) การให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็เป็นอีบาดะห์เช่นกัน เวลา 20.15 ละหมาดอีซาร่วมกัน และแยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำอีบาดะห์มากขึ้นคือประชาชนในชุมชนได้ทำอีบาดะห์มากขึ้นเช่นการให้ศอดาเกาะห์(การบริจาค)ที่มัสยิดจำนวนเงินมากขึ้น
    2. ประชาชนมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องคือจะไม่มีเสียงการพูดคุยในขณะที่คอเต็บอ่านคุตเบาะห์ในวันศุกร์
    3. ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้นในการอยู่ร่วมกัน
    4. เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือมีประชาชนในชุมชน 5 คน จากที่ไม่เคยไปร่วมละหใาดที่มัสยิดแต่หลังจากจัดกิจกรรมแล้วทั้ง 5 คนนี้ได้ไปร่วมละหมาดที่มัสยิด

     

    100 100

    36. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 6

    วันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 18.25 น.ละหมาดมัฆรีบพร้อมกันละหมาดเสร็จแล้ว เวลา 18.35 น.รับประทานอาหารว่างพร้อมกัน เวลา 18.45 บาบอ(โต๊ะครู/ผู้สอน) ได้เริ่มมีการสอนและบรรยายในหัวข้อเรื่อง"เตาฮีด(หลักศรัทธา)" จากการสอนในครั้งนี้นั้น สรุปคือ มุสลิมทุกคนวายิบต้องเชื่อในรุกน อีมาน มี 6 ประการ 1.เชื่อต่อเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)คือ ศรัทธาในพระองค์เดียว 2. ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮ์ของพระองค์ 3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ 4. ศรัทธาในบรรดารอซูลของพระองค์ 5. ศรัทธาในวันสุดท้ายและการเกิดใหม่ในวันปรโลก 6. ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ เวลา 20.10 ละหมาดอีซาร่วมกัน และแยกยายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประชาชนมีความเชื่อและศรัทธามากยิ่งขึ้น คือ ประชาชนในชุมชนไม่ได้กระทำผิดกับหลักการศาสนาเช่นที่ผ่านมากล้วยชาวบ้านมีหายอยู่บ้างแต่ปัจจุบันนี้ไม่มีหายเลย 2.การศรัทธาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ คือประชาชนในชุมชนมีการให้อภัยมากขึ้นหากมีปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาได้และไม่ทำให้เกิดบานปลาย 

     

    100 100

    37. การแข่งขันกีฬาและนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00-23.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 23/09/59 กลุ่มสตรี ได้ร่วมตัวกันเพื่อทำเครื่องที่จะผสมการทำขนมอาซูรอแต่ละโซนเป็นผูรับผิดชอบ
    • วันที่ 24/09/59 เวลาประมาณ 08.00 น. ชาวบ้านได้ร่วมตัวกันเพื่อที่จะทำกวนขนมอาซูรอโดยแต่ละโซนเป็นผู้รับผิดชอบ โซนละ 2 กระทะใหญ่ แต่ สีเหลืองทำ 3 กระทะใหญ่เพราะมีสมาชิกมากกว่าโซนอื่นๆ ทำทั้งหมด 9 กระทะใหญ่ และในขณะเดียวกันเด็กๆเล่นกีฬาพื้นบ้าน จนถึงเวลา 12.30 ละหมาดและกินข้าวพร้อมกัน แต่ยังต้องมีคนกวนอาซูรออยู่ การกวนอาซูรอต้องกวนตลอดเวลาจนถึงสุก และได้เปลี่ยนการกวนอาซูรอ จนถึงเวลา 15.00 น. ขนมอาซูรอสุก ทุกโซนมีการเก็บและแจกจ่ายให้สมาชิกทุกคนในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบได้กินทั้งหมด หลังละหมาดอีซา เวลาประมาณ 20.30 น.เริ่มกิจกรรมภาคเวที่ โดยคืนนี้จะเป็นเวที ของเด็ก มีกิจกรรม อ่านอัลกุรอ่าน อานาซีดอาซาน ปาฐกถา จนถึง เวลา 23.00 โดยประมาณ
    • วันที่ 25/09/59 เวลาประมาณ 09.00น.ชาวบ้านร่วมตัวกันเล่นกีฬา พื้นบ้าน เช่นวิงสวมกระสอบ เตะปีบ ชักคะเย่อ เยียบลูกโป่ง เปตอง และเล่นฟุบอลเสร็จประมาณเวลา 17.00 น.เวลาประมาณ 20.30 น.กิจกรรมภาคเวที่ โดยการอ่านอัลกุรอ่าน และบรรยายธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การทำขนมอาซูรอเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อพิสูจน์ความสามัคคี เพราะถ้าไม่มีความสามัคคีจะทำขนมอาซูรอไม่ได้
    2. การแบ่งโซนนั้นเป็นวิธีการหนึ่งโดยการสร้างกลุ่มเล็กขึ้นแต่เกิดพลังในความสัมคคีในภาพร่วม
    3. เด็ก เยาวชน สตรีและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
    4. เป็นการเสริมความแข็งแรงทางด้านร่างกายผ่านกิจกรรมกีฬาและเสริ่มของเข้มแข็งทางด้านจิตใจโดยผ่านกิจกรรมภาคเวที มาร่วมกันแล้วนอกจากทำให้เกิดความสามัคคีแล้วยังทำให้มีความสุข
    5. จากกิจกรรมนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ทุกปี
    6. มีจิตวิญญานของความเป็นชุมชน ดั่งที่มีการกล่าวว่าหากชุมชนไหนที่ไม่ได้ทำกิจกรรมก็เปรียบเสมือนชุมชนนั้นไม่มีจิตวิญญาน 7.ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านได้เป็นอย่างดีมากๆ

     

    100 100

    38. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล/สรุปโครงการ

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น เปิดกิจกรรมโดยอ่านอัลกุรอ่าน

    เวลา 09.30-10.30 น.บรรยายธรรมเกี่ยวกับความสำคัญและหลักการอยู่ร่วมกันในทัศนอิสลามโดยบาบอ(ผู้รู้)

    เวลา 10.30-10.45น พักเบรก

    เวลา 10.45-12.15 นได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯที่ผ่านมา

    เวลา 12.15-13.15 น พักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกัน

    เวลา 13.15-15.30 สรุปโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทำให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆในโครงการ
    2.ประชาชนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา

    3.ประชาชนเข้าใจถึงแผ่นงานและการบริหารกิจกรรมและโครงการฯ

    4.สามารถสรุปถึงกิจกรรมในโครงการฯที่ผ่านมา

    5.โครงการฯและกิจกรรมทั้งหมดมีการตอบรับจากประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

    6.ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในโครงการทั้งหมด

     

    80 80

    39. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการฟังเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละห้องย่อย และการชมบูธ

     

    2 2

    40. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกครั้งที่มีการจัดโครงการฯมีผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการถ่ายภาพของกิจกรรมและรวบรวมภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีรุปภาพและสามารถนำภาพมาแสดงหรือใช้ในการทำรายงาน

     

    2 2

    41. จัดทำรายงาน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.รวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้ในการทำโครงการ 2.เตรียมความพร้อมในการส่งรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารและสรุปการดำเนินงานตามโครงการทั้งหมด เอกสารการเงินต้องปรับแก้หลายบิล และต้องพบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเอกสารที่ถูกต้องให้ดูอีกครั้ง ก่อนส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

     

    2 2

    42. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 2

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเพื่อสรุปผลและส่่งรายงานเอกสารจากการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้สรุปผลการดำเนินงานการดำเนินงานตามโครงการ่วมกับพี่เลี้ยงและนำส่งรายงานให้กับ สจรส.มอ.ส่วนเอกสารการเงินส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้ง

     

    2 2

    43. ถอนค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีคืนผู้รับผิดชอบโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถจัดทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.ชุมชนได้สภาชุมชนสามารถแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้
    ตัวชี้วัด : 1. มีสภาชุมชนอย่างน้อย 1 สภา 2. มีศูนย์ประสานงานช่วยเหลือชุมชนทีมัสยิดโดยรียมีคณะทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่สามารถเชื่อมโยงกับบทบาทสภาผู้นำ 3. มีการประชุุมสมัยสามัญ ประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และสมัยวิสามัญขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 5. มีการกำหนดนโยบายสาธารณะในท้องถิ่นและมีมาตรการทางสังคมประณีประน้อมเพื่อให้ประชาชนในชุมชนปฏิบัติ
    • เกิดสภาผู้นำชุมชน สมาชิกสภา 35 คน มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้งทั้งนี้โดยรวมเป็นลักษณะการให้ความเห็น ปรับรูปแบบและการติดตามโครงการ เป็นระยะๆ ในส่วนนโยบายสาธารณะชุมชนอยู่ระหว่างการระดมความเห็นระหว่าง สภาและชุมชน เพิ่มเติมศูนย์ประสานงานนั้นไม่เกิดที่มัสยิดแต่บ้านผู้ใหญ่บ้านเป็นศูนย์ประสานงาน ถ้าชาวบ้านมีปัญหาก็จะไปหาผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอความช่วยเหลือเช่นปัญหาไม่สามารถที่จะแบ่งมรดกระหว่างพี่น้องกัน ผู้ใหญ่บ้านรับเรื่องแล้วก็จะนำปัญหาไปพูดคุยกับอีหม่ามและผู้รู้ด้านศาสนาและจะหาทางออกและดำเนินการต่อไป การกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นโดยแจ้งให้ทุกฝ่ายรับทราบเกี่ยวกับชายหญิงที่มิได้เป็นสามีภรรยากันหากพบอยู่ที่ปลอดผู้คนสองต่องก็จะมีการตักเตือนแต่หากมีการปฎิบัติที่เกินเลยระหว่างชายหญิงก็จะมีมาตรการโดยบังคับแต่งงานกัน
    2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนมีส่วมร่วมและมีความสามัคคีในชุมชนมากขึ้น คณะทำงานในหมู่บ้านทุกภาคส่วนมีความรับผิดชอบร่วมกันในชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนในชุมชน ช่วงที่มีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือและออกมาเพื่อทำงานร่วมกัน40-50 คนจากเดิมนั้นออกมาเพียง 15-20 คนเท่านั้น 2. ชุมชนมีแผนดำเนินงานในชุมชนได้อย่างชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แผ่นงานในชุมชนโดยมีปฎิทินกิจกรรมของชุมชนตลอดทั้งปีและสามารถปฎิบัติตามที่กำหนด 3. ชุมชนมีพื้นที่มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้
    • จากกิจกรรมโครงการในชุมชนทำให้เกิดความสามัคคีมากขึ้น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ใช้มัสยิดเป็นสถานที่ในการจัดประชุมทีมงานและเริ่มต้นของกิจกรรมต่าง ๆ และได้ขอบเขตขยายกิจกรรมไปยังสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ของชุมชน แผนการดำเนินของชุมชนยังใช้แผนงานโครงการเป็นหลักยังไม่เป็นรูปแบบของชุมชนอย่างชัดเจน ปัจจุบันนี้ประชาชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆของชุมชนมีประมาณ 70-80 คน และในชุมชนมีแผ่นงานของชุมชนโดยยึดหลักวันสำคัญทางศาสนาโดยจะมีกิจกรรมตามวันสำคัญของศาสนา และมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางโดยมีการประชุม และจัดกิจกรรมต่างๆก็จะใช้พื้นที่มัสยิด
    3
    ตัวชี้วัด :

     

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรมกับสจรส.และพี่เลี้ยงเป็นระยะ มีการจัดทำป้ายปลอดบุหรี่ สามารถส่งรายงานตามกำหนดงวด รายงานฉบับสมบูรณ์

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.ชุมชนได้สภาชุมชนสามารถแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ (2) เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน (3)  (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

    รหัสโครงการ 58-03780 รหัสสัญญา 58-00-2222 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ในชุมชนมี 4 โซน

    • โซนที่ 1.นายนาซูฮา หะยีอาแว(ผู้ใหญ่บ้าน)0850787676
    • โซนที่ 2.นายเจ๊ะอาลี หะยีโวะ(อีหม่าม)
    • โซนที่3.นายบาฮาเรน ยูโซะ(สมาชิกเทศบาล)
    • โซลที่ 4.นายมะลูเด็ง มูหะมะ(คอเต็บ)

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดสภาชุมชน ในการแก้ไขความสามัคคีในชุมชน ด้วยการเสริมความรู้ศาสนาและการปฏิบัติกิจกรรมสาธารณะในชุมชน การใช้ประเพณีวัฒนธรรมกีฬา การฝึกอาชีพ และยุวชนจิอาสา เยี่ยมเยียนผุ้สูงอายุและผู้พิการ ร่วมการใช้มาตรการทางสังคมของชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีมากขึ้นโดยมีสมาชิก35 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชนกรรมการหมู่บ้านอบต. ผู้นำศาสนากรรมการมัสยิดชรบ.อสม.กลุ่มสตรีแม่บ้าน และครูตาดีกา

    -

    • แนะนำให้เชิญกลุ่มเครือข่ายต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการสภามากขึ้น โดยเน้นจากชุมชนเป็นหลัก
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่
    • เกิดพื้นที่มัสยิดปลอดบุหรี่อย่างจริงจัง

    -

    • การส่งต่อพื้นที่ปลอดบุหรี่จากมัสยิดสู่บ้านและชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย

    -

    • การสอดแทรกสถานการณ์ปัจจุบันและหลักการศาสนาในการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • กลุ่มเยาวชนทำเพาะเห็ดนางฟ้า 1 กลุ่ม นอกจากการประกอบอาชีพแล้ว กลุ่มเพาะเห็ด ยังรองรับเยาวชนในชุมชนที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดมาฝึกอาชีพ เป็นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดรายได้ การป้องกันการกลับเสพยาซ้ำ
    • กลุ่มในชุมชนโดยนายอับดุลฮาฟิต เจ๊ะแม เป็นผู้ประสานงาน0807067256
    • จัดตั้งกอนทุนบริหารจัดการกลุ่มเห็นฟางและการคืนสู่สังคมและสาธารณะของชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน
    • มีมาตรการการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายให้ถูกต้องตามหลักศาสนา
      • ชายหญิงที่มิได้เป็นสามีภรรยากันหากพบอยู่ที่ปลอดผู้คนสองต่องก็จะมีการตักเตือนแต่หากมีการปฎิบัติที่เกินเลยระหว่างชายหญิงก็จะมีมาตรการโดยบังคับแต่งงานกัน
    • ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนร่วมสอดส่ง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • มีการสนับสนุนขอสนับสนุนทุนจากชุมชนเพื่อช่วยเหลือและสมทบกิจกรรม

    รายงานรับจ่ายโครงการ

    • ระดมทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆในชุมชนหรืออาจจะรัดมทุนจากภายนอกเพิ่มเติม
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรม

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถช่วยเหลือชุมชนได้

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
    • การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุ่นเวียนกัน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง
    • ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    -

    --

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
    • เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
    • ในการดำเนินงานมีการพูดคุย โดยใช้เหตุและผลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 58-03780

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย วอเฮะ เจ๊ะแม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด