directions_run

หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข ”

บ้านยะออ ม.1 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นาง แวนูรียะห์ สาและ

ชื่อโครงการ หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

ที่อยู่ บ้านยะออ ม.1 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03994 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2176

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านยะออ ม.1 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข



บทคัดย่อ

โครงการ " หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านยะออ ม.1 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส รหัสโครงการ 58-03994 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 180,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 385 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. 1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน
  3. 1. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมความเชื่อ มีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  4. 1. พัฒนาให้มีการสร้างเสริมสุขภาพในรร.ตาดีกา
  5. 1.พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดประชุมทีมคณะทำงานเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดทำโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน

    เวลา 08.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ประชาชนและคณะทำงานรับทราบ

    เวลา 09.30-12.00 น. จัดตั้งคณะกรรมการทีมนำในการดำเนินงานโครงการพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่/ขอบเขตงาน

    เวลา 13.00-15.00 น. คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชน คณะทำงาน มีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การดำเนินงานเกิดความสะดวก รวดเร็ว บรรลุวัตุประสงค์ในการดำเนินงาน เนื่องจาก ทุกภาคส่วนเข้าใจและเสียสละ ตั้งใจ มีความรับผิดชอบในงานของตนที่ได้รับมอบหมาย สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากงานบรรลุผลแล้ว คือทำให้เห็นว่าชุมชนแข้มแข็งมากขึ้นเนื่องจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจและความร่้วมมือ ในส่วนของคณะทำงานเองเกิดความสัมพันธ์อันดี มีความสามัคคีซึ่งจะมีผลต่อการทำงานอื่นๆต่อไป

     

    10 10

    2. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 ลงทะเบียน
    • เวลา 09.00 -12.00 น.ฟังการบรรยายเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวมการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2) 4.รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
    • เวลา13.00-15.00น. ป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ป้อนข้อมูลแผนภาพโครงการป้อนแผนการดำเนินงานลงในปฏิทินโครงการได้การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมได้ รับรู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข ในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานผลในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ
    2. สามารถทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวม
    3. สามารถทราบถึงแนวทางการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2) 4.รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกจ่าย
    4. สามารถจัดกระบวนการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
    5. สามารถป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    3. จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ออกแบบป้ายตามที่ สสส.กำหนด โดยระบุประโยค ดังนี้...
    • ระบุสัญลักษณ์ สสส. และประโยค "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ"
    • ระบุสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ของสสส. และประโยค "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"
    • ระบุชื่อโครงการ
    1. สั่งทำป้ายไวนิล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการดำเนินกิจจกรรมในครั้งนี้ สิ่งที่ได้มากกว่า ป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในชุมชนและประกาศเตือนห้ามสูบบุหรี่ในชุมชน คือทำให้ชุมชนมีความสนใจ เข้าใจ เห็นด้วยในมาตรการ การห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นๆ เป็นการกำหนดมาตรการ กติกาในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเป็นเครื่องหมาย เตือนสติ ให้คนในชุมชน ละเลิก การสูบบุหรี่ และการที่มีป้ายติดประกาศในชุมชนยังส่งผลทำให้การดำเนินงานส่งเสริมให้ทุกภาคีเครือข่ายและประชาชนในชุมชน สะดวก เกิดความง่ายดาย เนื่องจากทุกคนรับทราบเข้าใจวัตถุประสงค์ได้โดยง่าย พร้อมให้ความร่วมมือด้วยดี กระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับและภาคีเครือข่ายให้ความสนใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนตามโครงการอย่างยั่งยืน

     

    150 150

    4. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่1

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงานในการดำเนินกิจกรรม

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน

    11.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบปัญหาและข้อมูลเพิ่่มเติมในการทำงานต่างๆ จากสภาผู้นำชุมชนสร้างสุขและคณะทำงาน โดยสามารถนำไปใช้ประกอบการนำเสนอข้อมูลในขั้นตอนประชาคมหมู่บ้าน ให้ได้ปัญหาที่แท้จริงจากชุมชนและเพื่อดำเนินการหาแนวทางแก้ไข้ปัญหาต่อไป อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน จนได้ปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไข้ จัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป
    • จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ มีดังนี้ ปัญหาสิงแวดล้อมต่าง ๆ เช่น น้ำประปาไม่ไหล น้ำขุ่น คูน้ำขาด ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน อาชีพ รายได้ ปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง โรคฟันผุในกลุ่มต่างๆ เหงือกอักเสบ ในส่วนของปัญหาอื่นๆที่ทาง ทันตบุคลากรไม่สามารถแก้เองได้ เราได้ประสานงานให้ทาง ผู้ใหญ่บ้านและ อบต. หาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
    • ในส่วนของปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบว่าประชาชนทุกกลุ่มวัยล้วนได้รับผลกระทบจากการปวดฟันทำให้ไม่สามารถทำงาน ไปโรงเรียนได้ และยังส่งผลต่อสุขภาพองค์รวม อารมณ์ ความเครียด และที่สำคัญส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน (คณะทำงานรับผิดชอบและสัญญากับประชาชนที่จะจัดโครงการเพื่อแก้ปํยหาในเรื่องนี้ต่อไป) โดยประชาชนให้ความเห็ฯอยากให้มีการออกหน่วยเชิงรุก ออกมาบริการถอนฟัน อุดฟัน เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากไปรับบริการที่โรงพยาบาลแล้วคิวทำฟันยาว

     

    50 50

    5. ทำป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาด

    วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แบ่งหน้าที่ทีมงานสร้างกระแสโดย ติดป้ายรณรงค์“แปรงฟันก่อนละหมาด”ตามสถานที่ต่างๆในหมู่บ้านและมัสยิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดยมีการกำหนดกติกา ดังนี้
    1. ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
    2. นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
    3. ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจากท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า หากไม่เป็นการยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน

     

    10 50

    6. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชน

    เวลา 08.00 น. ประชุมกลุ่มคณะทีมงานเพื่อแบ่งหน้าที่ และวางกิจกรรม
    เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
    เวลา 09.00 น. ชี้แจงการกำหนดการกิจกรรมและรายละเอียดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบ

    เวลา 09.30 น. นำเสนอข้อมูลปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในชุมชนจากการเก็บรวบรวมข้อมูล

    เวลา 10.00-12.00 น. เริ่มกิจกรรมประชาคม; ร่างปัญหา , ร่วมลงคะแนน (ตามกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน)วิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ จนได้ปัญหารวมถึงระบุแนวทางการแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง และผู้ประสานงานปัญหาอื่นๆที่ไม่สามารถแก้ปัญหากันเองได้ในระดับล่าง

    เวลา 13.30 -15.00น. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชนชน โดยผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ครั้งนี้ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ เกิดการพัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ และพัฒนาให้มีการสร้างเสริมสุขภาพ

     

    150 50

    7. เตรียมความพร้อมการจัดตั้งสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ,อาสาสมัคร แกนนำเยาวชน ครูตาดีกาและคณะทำงานร่วมกัน

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00น.ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้แก่ทีมงานแบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30-12.00น. ประธานได้ชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ดครงการ และกิจกรรมต่ามแผนทืี่ตั้งไว้ชาวบ้านและทีมงานร่วมกัน เสนอชื่อเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสมาชิกคณะทำงานโครงการ

    13.00-15.00น. ร่วมกันออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดตั้งสภาผู้นำในการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกจะได้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งทำให้ การทำงานเกิดความง่ายเนื่องจากสภาผู้นำคือบุคคลที่ประชาชนนับถือและให้ความไว้วางใจ การทำงานง่าย สะดวก และประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ตัวผู้นำเองเห็นความสำคัญ ตระในหน้าที่ ทำให้ทำงานด้วยความจริงจัง ส่งผลทำให้เกิดความพึงพอใจในการดำเนินงานต่างๆ ประชาชนมักเห็นด้วยในทุกๆอย่าง ซึ่งเป็นผลดี ให้ความสนใจในหัวข้อที่เจ้าหน้าที่กำลังจะแก้ ไม่เกิดการต่อต้านการทำงานเนื่องจาก ผู้ทำงานคือบุคคลที่ตนเลือก ซึ่งจุดนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักได้ว่า ในการดำเนินงานประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง งานถึงจะบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดี

     

    70 70

    8. สร้างกฎกติการวมกันฮูกัมปากัต

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน เพื่อเตรียมกิจกรรมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    เวลา 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    เวลา 10.00-12.00 น. จัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

    เวลา 13.00 น. สร้างกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดนำ้อัดลมในรร.ตาดีกา โดยสภาชุมชนร่วมกับผู้ปกครองของเด็กตาดีกา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ตั้งกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดบมีการกำหนดกติกา ดังนี้
    1. ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
    2. นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
    • ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจาก ท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า "หากไม่เป็นการอยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด" และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ "แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา" ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน

     

    50 50

    9. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    เวลา 10.00-1200 น.วิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การดุแลสุขภาพลูก กลุ่มผู้ปกครอง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลฟันลูก เคล็บลับ การแปรงฟัน ชาวบ้านเล่าว่า ควรมีการแปรงฟันพร้อมกัน แม่ลูก สร้างความสนุกสนาน และเคยชิน ในการแปรงฟัน ซื้อแปรงสีฟันลายการ์ตูน ดึงดูดให้ลูกอยากแปรงมากขึ้น ชาวบ้านมีความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวอย่างยิ่ง

    เวลา 13.00 -13.20.น. ประธานชี้แจงกฎกติการการแข่งขันแปรงฟัน
    เวลา13.30-15.00น.เริ่มจัดการแข่งขันการแปรงฟัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ทีมงานและประชาชนร่วมกันจัดงานให้มีความสนุกสนาน ในขณะเดียวกัน ได้สาระความรู้มากมาย โดยในช่วงเช้า ทุกคนได้ร่วมฟังการถ่ายถอดความรู้ความเข้า่ใจ การดูแลส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง โดยมีการฝึกทักษะจริง ในช่วงบ่ายมีการจัดแข่งกันแม่ลูกฟันดี โดยมีการมอบรางวัลหลังการแข่งขันอีกด้วย มีการกล่าวชมเชย ให้กำลังใจ ประชาชนในชุมชนให้มีพลังในการดุแลสุขภาพช่องปาก วันนี้นอกจากได้ความรู้เรื่องฟันทุกคนยังเป็นประโยชน์ให้กับคนในครอบครัวคือสามารถเป็นแบบอย่างและแบ่งปันความรู้ อีกทั้งกิจกรรมครั้งนี้กระตุ้นให้เกิดกระแส การแปรงฟันให้สะอาด และถูกวิธี สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือ ชาวบ้านอดทน และมีความตั้งใจสูงมาก ไม่ว่าฝนจะตกก็ตาม

     

    70 70

    10. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่2

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00-1200 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน

    13.00-15.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดเครือข่ายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการจัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป
    • จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย และปัญหาสุขภาพในช่องปาก ซึ่งทางสภาผู้นำจะประสานให้ทางทันตสาธารณสุขเข้ามาร่วมดำเนินการในต่อไป

     

    50 50

    11. อบรมการเขียนรายงานและการเงิน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการอบรมโดยทีม สจรส.ม.อ.ให้ความรู้เรื่อง

    09.30 - 10.00 น.การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง

    10.30 - 11.00 น การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

    11.00 - 12.00 น.ซักถามแลกเปลี่ยน

    13.00 - 16.00 น.แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

    16.00 - 16.30 น.สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงานปิดงวดเงินครั้งที่ 1
    2. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 ค่าจ้าง ค่าวิทยากรค่าร้านที่มี VAT
    3. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำหนังสือรับอรงการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    4. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใบแนบ ภงด.3
    5. มีความรู้ความเข้าใจในการทำแบบสรุปการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย ุ
    6. มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บหลักฐานในการทำกิจกรรม

     

    2 2

    12. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 2

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ"ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค

    12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

    13.30 น. จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้าน พ่อแม่ ผุ้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี เกิดการสร้างกระแสสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดี เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพองค์รวม โดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก เนื่องจากในหลักวิชาการศาสนามีระบุอย่างชัดเจนในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก กล่าวคือ หากไม่เป็นการยากลำบากสำหรับประชาชาติของฉัน ฉันนจะให้แปรงฟันก่อนละหมาดทุกครั้ง และ จากสายรายงาน กิจวัติประจำวัน เมื่อท่านศาสนากลับเข้าบ้านสิ่งที่ท่านทำอันดับแรกคือการแปรงฟัน ด้วยเหตุ หากประชาชน ผู้ศรัทธาได้ยึดแนวทางปฏิบัติตาม ถือเป็นการทำความดี และในทางกลับกันมีความสอดคล้องกับทางการแพทย์ที่ให้แปรงฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ

     

    40 40

    13. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 3

    วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ"ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค

    12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

    13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้าน พ่อแม่ ผุ้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี เกิดการสร้างกระแสการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดีขึ้น

     

    40 40

    14. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    เวลา 09.30 น. ละทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    เวลา 10.00-12.00 น. ประธานชี้แจงกิจกรรม แนะนำวิทยากร วิทยากรให้ความรู้จัดเรื่องการวิจัยท้องถิ่น ,ภาวะการเป็นผู้นำ,เครื่องมือ 7 ชิ้น แผนที่เดินดิน ปฎิทินหมู่บ้าน ชาวบ้านมีความสนใจ มีการโต้ตอบ ซักถาม ระหว่างชาวบ้านและวิทยากร ชาวบ้านได้มีการแลกเปลี่ยน เรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้านให้วิทยากรฟังประเพณีต่างๆในหมู่บ้าน

    เวลา 13.30 -15.00น. ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดทำเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปสภาวะสุขภาพต่างๆในชุมชนเพื่อใช้ประกอบการแก้ปัญหา
    • ได้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยในชุมชนได้มากขึ้น

     

    70 70

    15. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 4

    วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ครู เพื่อเตรียมกิจกรรม

    09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ" ในมุมมองของอิสลาม ถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพนั้นเป็นหน้าที่ (วาญิบ) สำหรับมนุษย์ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี เป็นความโปรดปราน (เนี๊ยะมัต) ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่มนุษย์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัดกล่าวว่า“เนี๊ยะมัต (ความโปรดปราน) 2 ประการ ที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม คือ การมีสุขภาพที่ดี และการมีเวลาว่าง”อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา ซึ่งครูต่างสนใจฟัง

    12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

    13.30-15.00น. จัดเสวนากลุ่มในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค และให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี
    • เกิดการสร้างกระแสสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดี ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การเลือกอุปกรณ์ในการแปรงฟัน อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เข้าใจ และตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการทำความสะอาดที่มีแบบอย่างมาจากท่านนบีตลอดจนได้ทบทวนหลักคำสอนในเรื่องศาสนา ทำความเข้าใจจากผู้รู้ในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จนไม่เกิดการต่อต้านต่อกิจกรรมการแปรงฟันก่อนละหมาดที่เป็นข้อตกลงและประกาศเป็นนโยบายในชุมชน โดยส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

     

    1 53

    16. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    เวลา 09.30 น. ละทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    เวลา 10.00 น. ประธานชี้แจงกิจกรรม แนะนำวิทยากรวิทยากรได้จัดอบรมหัวข้อ สุขภาพองค์รวมแบบฉบับตามซุนนะห์นบีสุขภาพดี ฟันดีการแปรงฟันก่อนละหมาด การแปรงฟันด้วยกล่าวบิสมีลาฮ ก่อนทุกครั้ง อิสลามเชื่อว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (Way of Life) ที่ตั้งอยู่ในกรอบแนวทางของศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งในเรื่องการกิน การนอน กิจวัตรประจำวันทั่วไป สังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย ความตาย และอื่นๆ ซึ่งมีบัญญัติไว้ทั้งสิ้น

    เวลา 13.30 น. วิทยากรจัดเวทีเสวนากลุ่ม ชาวบ้านมีความกระตือรื้อร้นสนุกสนาน สนใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทางทันตกรรมในเรื่องสุขภาพช่องปาก เช่น ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับคำปรึกษาจากทันตบุคลากร การดูแลฟันปลอม การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่ต้องมีการแปรงฟัน ดูแลช่องปากมากขึ้นกว่าเดิม มีการเดินทางหาหมอ เข้าใจว่าฟันไม่ได้หลุดตามวัย แต่สามารถอยู่กับคนเราได้ตลอดชีวิต ผู้นำชุมชนและแกนนำสามารถนำข้อมูลสุขภาพในชุมชนมาวิเคราะห์ เพราะเป็นฐานข้อมูลในการแก้ปัญหาสุขภาพต่อไป และเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนต่อไป ชาวบ้านยะออมีทัศนะคติในการดูแลสุขภาพในทางที่ดีขึ้น

     

    70 70

    17. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 4

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    เวลา 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    เวลา 10.00 น. ประธานเปิดกิจกรรมแนะนำ วิทยากร วันนี้ จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง สุขภาพกับอิสลาม การมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกระบวนการพัฒนาในทุกด้านทุกมิติ “ผู้ใดที่ตื่นเช้าขึ้นมา มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจที่สงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกกังวลทุกข์ร้อน มีอาหารสำหรับบริโภคในวันนั้นก็ประหนึ่งว่าเขาผู้นั้นได้ครองโลกไว้ทั้งโลก”

    เวลา 13.00 น.ทีมงานและชาวบ้าน ร่วมกันสำรวจ วิเคราะห์ ค้นหาข้อมูล สุขภาพในชุมชนยะออ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และมีศักยภาพในการดำเนินงานในชุมชนตนเอง รู้งาน รู้หน้าที่ รู้ขั้นตอนการทำงาน รู้จัก ประสานงาน รู้จักบุคคลสำคัญ และรู้จักการแก้ปัญหา ตลอดจนบริหารทรัพยากร เข้าใจหลักงานทำงาน สามารถวิเคราะหื ปัญหา สร้างเครื่องมือในการค้นหาปัญหาที่แท้จริง จัดลำดับความสำคัญของปัยหาได้ กลุ่มเป้าหมายแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมและความสามัคคีในชุมชน

     

    70 70

    18. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 ลงทะเบียน

    09.00-12.00 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร ใบสำคัญรับเงินใบเสียภาษี การลงข้อมูลในเว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำรายงานส่ง สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • หลังจากตรวจเอกสาร ต้องเพิ่มเติ่มข้อมูลในเว็บไซต์ ข้อมูลการรายงานกิจกรรม ให้ถูกต้องก่อน และค่อยส่งรายงานมายัง สจรส.ม.อ.

     

    2 1

    19. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 5

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรค 12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด 13.00 น.ละหมาดร่วมกัน 13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความรู้ด้านศาสนา เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพช่องปาก โดยยึดแบบอย่างของท่านศาสดา ที่สนับสนุนให้แปรงฟันก่อนละมาดทุกครั้ง เพื่อความสะอาดของช่องปาก

     

    1 1

    20. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่3

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ 09.30 น. ลงทะเบียน 10.00-1200 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน 13.00-15.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดเครือข่ายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการจัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย และปัญหาสุขภาพในช่องปาก ซึ่งทางสภาผู้นำจะประสานให้ทางทันตสาธารณสุขเข้ามาร่วมดำเนินการในต่อไป

     

    50 50

    21. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    9.00 น. ประชุมทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ครู เพื่อเตรียมกิจกรรม 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายหัวข้อ การดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันร่วมกันคู่แม่ลูก 13.30-15.00น. จัดเสวนากลุ่มในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค และให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี เกิดการสร้างกระแสสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดี ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การเลือกอุปกรณ์ในการแปรงฟัน อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เข้าใจ และตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการทำความสะอาดที่มีแบบอย่างมาจากท่านนบีตลอดจนได้ทบทวนหลักคำสอนในเรื่องศาสนา ทำความเข้าใจจากผู้รู้ในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จนไม่เกิดการต่อต้านต่อกิจกรรมการแปรงฟันก่อนละหมาดที่เป็นข้อตกลงและประกาศเป็นนโยบายในชุมชน โดยส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

     

    140 140

    22. อบรมให้ความรู้การประกอบอาหารอ่อนหวานในกลุ่มแกนนำแม่บ้านยะออ

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00  ประชุมกลุ่มคณะทำงาน แบ่งผู้รับผิดชอบงาน
    เวลา 09.00-12.00 น. .ให้ความรู้เรื่อง อาหารอ่อนหวาน  แกประชาชน ประโยนชน์การบริโภคอาหารที่ดีต่อฟัน เวลา 13.00-15.00 น. ร่วมกันสาธิตการทำอาหารอ่อนหวาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนให้ความสนใจซักถามเรื่องการทำอาหารอ่อนหวานให้ลูกกิน โดยจะเน้นปรุงอาหารที่กลมกล่อม รสชาติพอดี ไม่เน้นหวาน มันเค็ม และส่งเสริมให้ทานอาหารร่วมกัน เพื่อครอบครัวที่อบอุ่น

     

    30 30

    23. ประกวดครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชน

    วันที่ 9 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00ประชุมคณะทำงาน แบ่งหน้าที่ ร่วมกันประชาสัมพันธ์ ชาวบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 09.00-15.00 น. ชาวบ้านร่วมกันลงทะเบียนประธารชี้แจงงานกิจกรรมชี้แจงเกณฑ์การประกวดครอบครัวฟันดี เวลา 15.00มอบรางวัลแก่ครอบครัวผู้ชนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้ชนะเลิศการแข่งขัน ชาวบ้านดีใจและยินดีกับกิจกรรมครั้งนี้ และอยากให้มีกิจกรรมนี้ต่อไป และยังเป้นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนในการดูแลสุขภาพฟัน

     

    60 60

    24. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 6

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. ให้ความรู้แก่นักเรียนตาดีกา และครู ผู้ปกครองกิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรค 12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด 13.00 น.ละหมาดร่วมกัน 13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับความรู้ด้านศาสนา ในการดูแลสุขภาพควบคู่กับการประกอบศาสนกิจ โดยโต๊ะครูได้เน้นและย้ำหลักสำคัญในการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนทูตคือการดูแลความสะอาดของร่างกายทุกส่วน หากผู้ใดประกอบศาสนกิจโดยไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายก่อน การประกอบศาสนกิจนั้นก็ไม่สมบูรณ์ เมื่อร่างกายสะอาดก็ทำให้ปราศจากโรคและผู้ใดดูแลร่างกายของตนเองให้สะอาดทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้นด้วย  ชาวบ้านยะออมีความตระหนักในการรักษาความสะอาดของตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะความสะอาดของช่องปาก สังเกตได้จากมีการแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งก่อนละหมาดที่มัสยิด 

     

    1 1

    25. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่4

    วันที่ 23 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00- 14.00 น.ประชุมสภาผู้นำสร้างสุขและคณะทำงาน ชี้แจงปัญหาในการทำกิจกรรม -สภาสร้างสุขบ้านยะออ / คณะทำงาน แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน มีการแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไข และร่วมกัน สรุปประเด็นปัญหาในการจัดกิจกรรมในแต่ครั้ง ให้ความรู้การแปรงฟัน การตรวจฟัน การดูแลสุุขภาพคนในครอบครัว -สรุปและนำเสนอ ข้อเสนอแนะจากชุมชนเพื่อการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร้อยละ 80 มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม -มีรายงานการประชุมสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ -มีการสรุปผลการดำเนินงาน ประมวลผล วิเคราะห์ปัญหาและผลการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

     

    50 42

    26. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 7

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30-12.00 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรคและหัวข้อการเป็นผู้นำการดูแลครอบครัวในศาสนาการดูแลสุขภาพตนเองโทษการสูบบุหรี
    13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม โต๊ะครูได้บรรยายในการเลือกบริโภคที่ฮาลาล อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่เป็นโทษ ทำให้ชาวบ้านยะออได้แนวทางในการดูแลสุขภาพ โดยจะเลือกทานของที่มีประโยชน์  เพราะหากผู้ใดเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ฮาลาล ไม่มีประโยชน์และเป็นโทษต่อร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายเป็นโรค ผู้นั้นก็จะบาป ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารมากขึ้น สังเกตจากร้านค้าในหมู่บ้านยะออจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมลดลง ไม่จำหน่ายขนมกรุบกรอบที่ไม่มีเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งช่วยลดการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้ในชุมชนบ้านยะออ โดเฉพาะร้านค้าใกล้เคียงโรงเรียนตาดีกา

     

    50 50

    27. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่5

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00-1200 น. ประธานโครงการ เริ่มการประชุม โดยการ เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมาพบว่า ชาวบ้านให้ความสนใจน้อย ชาวบ้านเสนอกิจกรรมตรวจสุขภาพครบวงจร โดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ลดปัญหายาเสพติด ร่วมกัน แลกเปลี่ยน  ควรมีการตรวจสุขภาพชาวบ้าน หรือ ประชาสัมพันธ์ ให้ิความรุ้การดูแลสุขภาพตนเอง และถอดบทเรียน 13.00-15.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    •เกิดเครือข่ายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการจัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป

    •จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย และปัญหาสุขภาพ ซึ่งทางสภาผู้นำจะประสานให้ทางรพ.เข้ามาร่วมดำเนินการในต่อไป

     

    50 63

    28. ประกวดอาหารอ่อนหวานในกลุ่มแม่บ้านยะออ

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00ประชุมกลุ่มคณะทำงานเพื่อเตรียมงานจัดสถานที่
    เวลา 09.00 -14 .00 น. ประธานแจ้งรายละเอียดกิจกรรม ชี้แจงวัตถุประสงค์ เกณฑ์การประกวด แข่งขันการทำอาหารแก่ชาวบ้านทุกคนให้ความสนใจ และแยกย้ายไปประกอบอาหารร่วมกันกวนอาซูรอแข่งขัน อาซูรอ โดยแบ่งเป็นทีม อสม.กับชาวบ้านเขตรับผิดชอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมและยิ้มแย้ม สนุกสนานในการทำกิจกรรม เวลา 15.00 น. มอบรางวัล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้  กลุ่มแม่บ้านได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกอบอาหาร ทำให้มีความรู้ในการประกอบอาหาร ปริมาณน้ำตาลที่ปรุง ในแต่ละเมนูอาหารที่ปรุงอาหารให้คนในครอบครัวบริโภคในแต่ละวัน จากปีที่ผ่านๆมาการประกวดอาซูรอ ผลการให้คะแนนจะเน้นรสชาดที่เข้มข้นและความสวยงาม  แต่ในปีนี้กลุ่มแม่บ้านมีความรู้ในการคำนวณปริมาณน้ำตาล  และสามารถนำมาคำนวณปริมาณน้ำตาลก่อนที่จะปรุงอาซูรอในการประกวดอาหารอ่อนหวาน ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนจะคำนวณจากเครื่องปรุงที่ประกอบในอาซูรอโดยนักโภชนาการด้วย จากกิจกรรมนี้ทำให้ชาวบ้านยะออได้ตระหนักในการปรุงอาหารอ่อนหวานรับประทานในครอบครัวมากขึ้น

     

    30 30

    29. สร้างเสริมสุขภาพช่องปากใน ร.ร. ตาดีกา

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 - 15.00 น.วิทยากรให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในโรงเรียนตาดีกานร.ร่วมกันแปรงฟันก่อนละมาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนมีความรู้เรื่องการแปรงฟันด่้านศาสนาอิสลามการเลือกแปรงสีฟัน จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในรร.ตาดีกา จำนวน 60 คน มีการแปรงฟันก่อนทำศาสนกิจทุกวัน

     

    60 60

    30. อบรมครูตาดีกาเพื่อบรูณาการหลักสูตรการสอน

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ 09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ" 12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด 13.30 น. จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูตาดีกามีความรู้ด้านการแปรงฟันก่อนละมาด และสนใจในกิจกรรมนี้ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค บรรยายเรื่องการแปรงฟันก่อนละหมาด การใช้ไม้สิวาก การแปรงฟัน ยกบทความโดย.ไชยอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะหฺมาน อิบนุ ศอและหฺ อาลบัสซาม ซาอูดิอารเบีย ถอดความเสนอ. ส.สมอเอกอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบียฺ ศ็อลลัลลอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า ."لَوْلاَأَشُقُّ عَلَى أُمَّتِي لأَمَرْتُهُمْ بِالسِّوَاكِ مَعَ كُلِّ وُضُوْءٍ عِنْدَ كُلِّ صَلاَةٍ".(البخاري ومسلم). “หากฉันไม่กลัวว่า จะเกิดความยากลำบากยาก แก่ประชาชาติของฉันแล้ว ฉันก็จะใช้พวกเขาให้แปรงฟัน พร้อมกับทุกการอาบน้ำละหมาด ณ ทุกละหมาด”.(บุคอรียฺ และมุสลิม) .อธิบาย.ในความสมบูรณ์ของการเตือนของท่านนบียฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และการรักของท่าน ให้ประชาชาติของท่าน ได้รับความดี ปรารถนา ให้พวกเขาได้เข้าสู่ประตู ที่จะนำเอาสิ่งเป็นประโยชน์กับมาให้พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้รับความสุข ที่สมบูรณ์ ท่านได้สั่งเสียพวกเขาให้ทำการแปรงฟัน .

     

    10 10

    31. แข่งแปรงฟันสะอาดใน ตาดีกา เพื่อสร้างกระแส

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00คณะทำงานร่วมกันชี้แจงกิจกรรม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เวลา 09.00-15.00 น.ร่วมกันลงทะเบียนประธานชี้แจงเกณฑ์การประกวดผู้เข้าแข่งขันการแปรงฟัน
    เวลา 15.00น.มอบรางวัล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมแข่งแปรงฟันสะอาดในตาดีกาเพื่อสร้างกระแส อุสตาซ ผู้ปกครอง และเด็กตาดีกาให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งโรงเรียน เกณฑ์การให้คะแนนจะดูจากความสะอาดของฟันที่ไม่ติดสีจากการทาสีย้อมฟันก่อนแปรง วิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี และเวลาที่กำหนด ผลจากการตรวจช่องปากพบว่า เด็กนักเรียนตาดีกาที่ชนะการแข่งขันทั้ง 5 คน มีสุขภาพฟันที่ดี เด็กที่ ได้ที่1 กับ 2 ไม่มีฟันผุ  สำหรับเด็กที่ได้ที่ 3 , 4 , 5 พบฟันผุ 2 , 4 , 4 ซี่ตามลำดับ ซึ่งสามารถสะท้อนให้ผู้ปกครองและเด็กได้เห็นว่าเด็กที่แปรงฟันถูกวิธี สะอาดทำให้ฟันไม่ผุ จากกิจกรรมนี้ได้ให้เด็กทั้ง 5 คนออกมาพูดให้ผู้เข้าร่วมฟังว่าดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองอย่างไร เพื่อเป็นแบบอย่างให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆปฏิบัติตาม 

     

    33 33

    32. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 8

    วันที่ 4 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรคอิสลามเชื่อว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (Way of Life) ที่ตั้งอยู่ในกรอบแนวทางของศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งในเรื่องการกิน การนอน กิจวัตรประจำวันทั่วไป สังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย ความตาย และอื่นๆ ซึ่งมีบัญญัติไว้ทั้งสิ้นการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกระบวนการพัฒนาในทุกด้านทุกมิติ ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัดได้กล่าวถึงสุขภาพไว้อย่างกว้างขวางและครอบคลุปัจจัยแห่งสุขภาวะ อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของสุขภาพไว้อย่างเป็นองค์รวม ว่า“ผู้ใดที่ตื่นเช้าขึ้นมา มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจที่สงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกกังวลทุกข์ร้อน มีอาหารสำหรับบริโภคในวันนั้น
    12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด 13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับความรู้ใน หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรค ทำให้ได้ผลบุญเพิ่มขึ้น และถ้าพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวเป็นโรค ก็ให้รักษาจนสุดความสามารถ เช่นถ้าคนในครอบครัวมีฟันผุ ก็ให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เดิมชาวบ้านจะมีความเชื่อผิดๆคิดว่า ถ้าไปทำฟันจะส่งผลต่อสายตา โต๊ะครูจึงได้ยกฮาดิษคำสอนเกี่ยวกับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ผิดหลักศาสนา ผู้ใดที่มีความเชื่อผิดๆโดยไม่มีหลักฐานอ้างอิงทำให้ได้บาป เพราะอาจส่งผลทำให้ร่างกายเกิดโรคลุกลามขึ้น  ทำให้ชาวบ้านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น มีความเข้าใจในการรักษามากขึ้นด้วย

     

    100 100

    33. จัดอบรมการปลุกผักใรครัวเรือน

    วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนที่ 1 เวลา 8.30 น.เตรียมความพร้อมของทีมงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของทีมทำงาน และมีการประชุม/พูดคุย/แลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจร่วมกันในทีมงานเตรียมข้อมูลร่วมกันก่อนทำกิจกรรม แบ่งหน้าที่ในการทำกิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 เวลา 9.00- 9.30 น. เริ่มการลงทะเบียน คณะทำงานประชาสัมพันธ์ ประกาศเสียงทางไมล์มัสยิด เพื่อให้ชาวบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรม
    ขั้นตอนที่ 3 เวลา 9.30-9.40 น. เชิญเจ้าของโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมวันนี้ ขั้นตอนที่ 4 เวลา 9.40-12.00 น.เชิญวิทยากร (เกษตรอำเภอจะแนะ) ดำเนินกิจกรรม บรรยายการปลูกผักสวนครัว แนะนำประโยชน์ผักแต่ละชนิด ชาวบ้านมีความกระตือรื้อร้น มีการซักถาม และร่วมกันแสดงความคิดเห็นตลอดเวลา ขั้นตอนที่ 5 เวลา 13.00-15.00 น.วิทยากร ดำเนินกิจกรรม ลงปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว สรุปการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับความรู้การปลูกผักในครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือนเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริโภคผัก สร้างเสริมสุขภาพดีและสร้างรายได้ในครอบครัว

     

    30 30

    34. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่ 6

    วันที่ 12 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.00-09.00 น. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนแบ่งความรับชอบงานวันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00-1200 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน

    13.00-15.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปสำคัญ

    • สภาสร้างสุขบ้านยะออ / คณะทำงาน แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน มีการแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไข และร่วมกัน อบต.ได้แสดงความคิดเห็นว่าชาวบ้านยังไม่เให้ความสนใจในการจักิจกรรม เราต้องช่วยการประชาสัมพันธ์ให้เข้าร่วมมากยิ่งขึ้นชาวบ้านยังมีปัญหาด้านสุขภาพ มีความเชื่อผิดๆในการดูแลสุขภาพ ด้านสัยศาสตร์

     

    50 50

    35. แข่งตอบปัญหาสุขภาพเพื่อวัดความรู้ในตาดีกา

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 ประชุมกลุ่มคณะทำงาน แบ่งหน้าทืี่รับผิดชอบ เวลา 09 .30 -14 .00 น ประธานชี้แจงกิจกรรม  ชี้แจงเกณฑ์การจัดกิจกรรม  นร.ร่วมกันลงทะเบียนกิจกรรม  เด็กๆร่วมกันตอบปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ
    2. นักเรียนมีความรู้ ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

     

    60 60

    36. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่ 7

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.00-09.00 น. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนแบ่งความรับชอบงานวันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00-15.00 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน ผู้ใหญ่บ้าน.ได้แสดงความคิดเห็นว่าจากกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี และเด็กนักเรียนตาดีกาในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรคควรทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านรักสุขภาพมากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดเครือข่ายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการจัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป
    • จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ คือ ปัญหาด้านความรู้สุขภาพ และควรขยายกิจกรรมแปรงฟันก่อนละมาด ทุก วันศุกร์
    • จากการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในรร.ตาดีกา มีการแปรงฟันก่อนทำศาสนกิจทุกวัน ควรทำอย่างต่อเนื่องขยายไปทำในชาวบ้าน ทุกๆวันศุกร์และการแข่งทีมแปรงฟันสะอาดในตาดีกาเพื่อสร้างกระแสและแรงจูงใจให้เด็กรักการแปรงฟันเป็นกิจกรรมดีมากๆ

     

    50 32

    37. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 9

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "การดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา" เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพด้านอื่นๆของตนเองและครอบครัวได้ การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การอยู่เพื่อไม่เป็นโรค 12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด 13.00 น.ละหมาดร่วมกัน 13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสดา ส่งผลให้ชาวบ้าน มีความตระหนักในการดูแลความสะอาดช่องปากมากขึ้น โดยมีการแปรงฟันก่อนประกอบศาสนกิจร่วมกันที่มัสยิดทุกครั้ง มีทั้งคนที่ใช้แปรงสีฟัน และไม้ซีวากถูฟันแทนแปรงสีฟัน

     

    100 100

    38. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 10

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง 09.00 น. ประชุมทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ เพื่อเตรียมกิจกรรม 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายหัวข้อ การดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การบริหารร่างการ และหัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ" ในมุมมองของอิสลาม ถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพนั้นเป็นหน้าที่ (วาญิบ) สำหรับมนุษย์ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี เป็นความโปรดปราน (เนี๊ยะมัต) ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่มนุษย์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัดกล่าวว่า“เนี๊ยะมัต (ความโปรดปราน) 2 ประการ ที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม คือ การมีสุขภาพที่ดี
    13.30-15.00น. จัดเสวนากลุ่มในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค และให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้าวได้รับความรู้ในหัวข้อการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การบริหารร่างการ"อิสลามกับสุขภาพ" ในมุมมองของอิสลาม ถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพนั้นเป็นหน้าที่ (วาญิบ) สำหรับมนุษย์ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี เป็นความโปรดปราน (เนี๊ยะมัต) ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่มนุษย์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัดกล่าวว่า“เนี๊ยะมัต (ความโปรดปราน) 2 ประการ ที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม คือ การมีสุขภาพที่ดีชาวบ้านที่ไปประกอบศาสนกิจที่มัสยิดไม่มีการสูบบุหรี่ก่อนและหลังละหมาด ซึ่งก่อนหน้านี้มีการบรรยายเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ทำให้ได้บาป เพราะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดโรค และทำให้ผู้อื่นรอบข้างเกิดโรคด้วย และยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอีกด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ตอนนี้มัสยิดบ้านยะออปลอดบุหรี่ 100% ไม่มีการสูบบุหรี่ในเขตบริเวณมัสยิด และเขตป้ายปลอดบุหรี่

     

    100 100

    39. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่8

    วันที่ 28 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

    09.30 น. ลงทะเบียน

    10.00-15.00 น. เริ่มการประชุม ประธานชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ การจัดตั้งโครงการ เริ่มแรกและได้สรุปกิจกรรมที่ได้ทำแก่ชาวบ้านฟังดังนี้•จากการทำกิจกรรมลงพื้นที่ ปัญหาที่พบ มีดังนี้ ปัญหาสิงแวดล้อมต่าง ๆ เช่น น้ำประปาไม่ไหล น้ำขุ่น คูน้ำขาด ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน อาชีพ รายได้ ปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง โรคฟันผุในกลุ่มต่างๆ เหงือกอักเสบ ในส่วนของปัญหาอื่นๆที่ทาง ทันตบุคลากรไม่สามารถแก้เองได้ เราได้ประสานงานให้ทาง ผู้ใหญ่บ้านและ อบต. หาแนวทางช่วยเหลือ •ในส่วนของปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบว่าประชาชนทุกกลุ่มวัยล้วนได้รับผลกระทบจากการปวดฟันทำให้ไม่สามารถทำงาน ไปโรงเรียนได้ และยังส่งผลต่อสุขภาพองค์รวม อารมณ์ ความเครียด และที่สำคัญส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ซึ่งก็ได้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมาแล้ว อาทิเช่น •อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี และเด็กนักเรียนตาดีกาในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค •จัดการประกวดครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชน
    •จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในรร.ตาดีกา มีการแปรงฟันก่อนทำศาสนกิจทุกวัน •แข่งทีมแปรงฟันสะอาดในตาดีกาเพื่อสร้างกระแสและแรงจูงใจให้เด็กรักการแปรงฟัน •อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา
    •จัดกิจกรรมแข่งตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเด็กตาดีกา •จัดกิจกรรมร่วมกันสร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด (โดยเชิญโต๊ะครูมาบรรยายศาสนาในชุมชนยะออ เดือนละครั้ง และมีการแปรงฟันร่วมกันหลังจากร่วมฟังบรรยายก่อนทำการละหมาดยุมอะห์) ผู้ใหญ่บ้านออกมาสรุป ว่าอยากให้ชาวบ้านดูแลสุขภาพตนเองไม่สูบบหรี่ และปฏิบัติตามกฎระเบียนที่ร่วมกันตั้งไว้ •ได้ตั้งกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดบมีการกำหนดกติกา ดังนี้

    1.ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม 2.นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ร้อยละ 80 มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม
    • มีรายงานการประชุมสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ เดือนละ 1 ครั้ง
    • มีการสรุปผลการดำเนินงาน ประมวลผล วิเคราะห์ปัญหาและผลการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

    ผลสรุปสำคัญกิจกรรม

    • ประชาชน คณะทำงาน มีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การดำเนินงานเกิดความสะดวก รวดเร็ว บรรลุวัตุประสงค์ในการดำเนินงาน เนื่องจาก ทุกภาคส่วนเข้าใจและเสียสละ ตั้งใจ มีความรับผิดชอบในงานของตนที่ได้รับมอบหมาย สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากงานบรรลุผลแล้ว คือทำให้เห็นว่าชุมชนแข้มแข็งมากขึ้นเนื่องจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจและความร่้วมมือ ในส่วนของคณะทำงานเองเกิดความสัมพันธ์อันดี มีความสามัคคี
    • ป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในชุมชนและประกาศเตือนห้ามสูบบุหรี่ในชุมชน คือทำให้ชุมชนมีความสนใจ เข้าใจ เห็นด้วยในมาตรการ การห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นๆ เป็นการกำหนดมาตรการ กติกาในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเป็นเครื่องหมาย เตือนสติ ให้คนในชุมชน ละเลิก การสูบบุหรี่ และการที่มีป้ายติดประกาศในชุมชนยังส่งผลทำให้การดำเนินงานส่งเสริมให้ทุกภาคีเครือข่ายและประชาชนในชุมชน สะดวก เกิดความง่ายดาย เนื่องจากทุกคนรับทราบเข้าใจวัตถุประสงค์ได้โดยง่าย พร้อมให้ความร่วมมือด้วยดี กระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับและภาคีเครือข่ายให้ความสนใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนตามโครงการอย่างยั่งยืน
    • เกิดกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดบมีการกำหนดกติกา ดังนี้
    1. ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
    2. นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

     

    50 45

    40. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ตั้งแต่วันที่3-5 ต.ค.59เวลา 09.00 น. ได้ เข้าร่วมงานกิจกรรมที่หอประชุมนานาชาติ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาชมการแสดงทางวัฒนธรรมของการแสดงโขน และได้ฟังปฐถาพิเศษจากอดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนา นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซี่ยน มีการกล่าวรายงานโดยผส.ดร.ภก.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการสุขภาพ(สจ.รส.มอ)และมีเวทีเสวนาด้านการเสริมสร้างนวัตกรรมสร้างสุข

    ส่วนในวันที่ 4. ต.ค 59 ได้เข้ารับฟัง เวทีแลกเปลี่ยน โครงการต่างๆในชุมชน มีพื้นที่บ้านหัวหินปลอดขยะ ขึ้นเวทีย่อยในหัวข้อเรื่องเล่า ร้าวพลังในการการลด/คัด/แยกขยะและวิธีเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ พร้อมกับวิธีการนำทีมชุมชนมาร่วมกิจกรรม โดยชุมชนมีความต้องการอยู่ 2 ประเด็นสาเหตุหลัก 1 ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมีผลกระทบมากเท่าใดต้องการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน 2 คือต้องการสิ่งที่ดีๆที่มีอยู่เพื่อเป็นการต่อยอด เป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อหวังให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นต้องทีมชุมชนที่มีใจจิตอาสาที่รักความสะอาดมาร่วมกิจกรรมมีการนำขยะที่แยกแล้วขยะขายได้ก็ไปฝากขายที่ธนาคาร ส่วนขยะถุงพลาสติกให้อบต.จัดเก็บ แล้วขยะอินทรีย์นำไปทำปุ๋ยหมักครัวเรือนซึ่งมีคุณภาพที่ดีมีการขยายผลทำกันหลายครอบครัว เช่นใส่แปลงผักเกษตรอินทรีย์ แปลงนาข้าวเกษตรอินทรีย์ สวนยาง สวนปล์าม ให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านสุขภาพ กาย จิต ใจ ทั้งชุมชน


    วันที่ 5 ต.ค .59กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมสานพลังเครือข่าย โดยใช้เทคนิค World Cafe

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้เรียนรู้ปัญหาขยะและกลไกการบริหารการจัดการทุกด้าน

    -ได้แลกเปลี่ยนโครงการ กิจกรรมต่างๆ จากชุมชนอื่นๆ

    -ได้ฟังปฐถาพิเศษและบทบาทการเป็นผู็นำ การพัฒนานวัตรกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

    -ได้ชมบูธนิทรรศการจากชุมชนต่างๆเพื่อปรับใช้ในหมู่บ้านตนเอง

     

    2 2

    41. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันจัดเก็บภาพถ่ายในกิจกรรมต่างๆ คัดเลือกรูปถ่ายที่เหมาะสม ในการรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รูปเล่มรายงานเสร็จสมบูรณ์มีภาพถ่ายประกอบ

     

    2 2

    42. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมเอกสาร หลักฐาน ทางการเงิน กรอกข้อมูลในรายงานส 1 - ส 3 กรอกข้อมูลในราน ง 1 - ง 3

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม

     

    2 2

    43. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นัดวันจันทำรายงาน 2.จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน 3.ประสานพี่เลี้ยง 4. ลงมือการทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีรายงายฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.มีสมาชิกสภาจำนวน 30 คน 2.มีการประชุมสภาทุกเดือน 3.สมาชิกสภาเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    1.ร้อยละ100มีสมาชิกสภาจำนวน 30 คน

    2.ร้อยละ100มีการประชุมสภาทุกเดือน

    3.ร้อยละ100สมาชิกสภาเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80น

    2 1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มแกนนำเยาวชน จำนวน 30 คนที่มีทักษะในการจัดเก็บข้อมูล 2. มีฐานข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของชุมชนบ้านยะออ

    1.ร้อยละ100มีกลุ่มแกนนำเยาวชน จำนวน 30 คน 2.ร้อยละ100มีฐานข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของชุมชนบ้านยะออ

    3 1. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมความเชื่อ มีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
    ตัวชี้วัด : 1. ผู้ปกครองเด็กอายุ2-3 ปี จำนวน 50 ครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูกได้ 2. กลุ่มแกนนำเยาวชนจำนวน 30 คน สามารถเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในชุมชนยะออได้ 3.ผู้ปกครองและกลุ่มเยาวชนสามารถเป็นแบบอย่างในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในชุุมชนยะออได้ 4. ชุมชนยะออมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ 5.กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 30 ครอบครัวมีความรู้ในการประกอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อลดโรคและภาวะเสี่ยงต่างๆ 6.มีครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชนยะออ

    .ร้อยละ1001.ผู้ปกครองเด็กอายุ2-3 ปี จำนวน 50 ครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูกได้ 2.กลุ่มแกนนำเยาวชนจำนวน 30 คน สามารถเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในชุมชนยะออได้
    3.ผู้ปกครองและกลุ่มเยาวชนสามารถเป็นแบบอย่างในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในชุุมชนยะออได้ ชุมชนยะออมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ 5.กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 30 ครอบครัวมีความรู้ในการประกอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อลดโรคและภาวะเสี่ยงต่างๆ 6.มีครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชนยะออ

    4 1. พัฒนาให้มีการสร้างเสริมสุขภาพในรร.ตาดีกา
    ตัวชี้วัด : 1. มีฮูกมปากัตในชุมชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบรร.ตาดีกา 2. จัดตั้งร้านค้าปลอดขนมขยะ ลูกอม น้ำอัดลม ในร.ร.ตาดีกา 3.มีการแปรงฟันร่วมกันก่อนปฏิบัติศาสนกิจในรร.ตาดีกา 4.ครูสอนศาสนามีความรู้และเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี 5.มีการบูรณาการการดูแลสุขภาพในหลักสูตรการสอนศาสนารร.ตาดีกา

    1.ฮูกมปากัตในชุมชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบรร.ตาดีกา แปรงฟันก่อนละมาด 2.จัดตั้งร้านค้าปลอดขนมขยะ ลูกอม น้ำอัดลม ในร.ร.ตาดีกา
    3.มีการแปรงฟันร่วมกันก่อนปฏิบัติศาสนกิจในรร.ตาดีกา 4.ครูสอนศาสนามีความรู้และเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี 5.มีการบูรณาการการดูแลสุขภาพในหลักสูตรการสอนศาสนารร.ตาดีกา

    5 1.พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : 1.โต๊ะอีหม่ามและผู้นำศาสนาสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพบูรณาการกับการปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดได้ 2.ผู้นำศาสนาเป็นแบบอย่างในการแปรงฟันก่อนละหมาดที่มัสยิด 3.มีป้ายรณรงค์การแปรงฟันก่อนละหมาดติดที่มัสยิด

    1.โต๊ะอีหม่ามและผู้นำศาสนาสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพบูรณาการกับการปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดได้ 2.ผู้นำศาสนาเป็นแบบอย่างในการแปรงฟันก่อนละหมาดที่มัสยิด
    3.มีป้ายรณรงค์การแปรงฟันก่อนละหมาดติดที่มัสยิด

    6
    ตัวชี้วัด :

     

    7
    ตัวชี้วัด :

     

    8
    ตัวชี้วัด :

     

    9 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ร้อยละ 100 มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (2) 1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน (3) 1. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมความเชื่อ มีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ (4) 1. พัฒนาให้มีการสร้างเสริมสุขภาพในรร.ตาดีกา (5) 1.พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ (6)  (7)  (8)  (9) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

    รหัสโครงการ 58-03994 รหัสสัญญา 58-00-2176 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    รูปแบบการร่วมคิดร่วมทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนของกิจกรรมผ่านการประชุมร่วมกัน •เกิดรูปแบบการติดตามงานกิจกรรมด้วยการประชุม และ ถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรม

    รายงานประจำเดือนจากการประชุม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดโครงสร้างชุมชนที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต.ผู้นำศาสนา ชรบ. อสม. กลุ่มสตรี/แม่บ้าน ครูตาดีกา/ข้าราชการ และกลุ่มผู้ปกครองในพื้นที่ผู้นำท้องถิน

    จากผลการดำเนินงานโครงการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มสภาผู้นำ มีคณะกรรมการ 1 ชุด ( สภาผู้นำ 30 คน)

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    เกิดกลุ่มแกนนำในการดูแลความสะอาดในช่องปากและฟัน โดยการแปรงฟันทุกครั้งก่อนแาบน้ำละหมาด

    จากผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดข้อตกลงกับร่านค้าในโรงเรียน โดยไม่มีการขายอาหารขยะ และน้ำอัดลม

    จาผลการดำเนินงานโครงการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ในม้สยิดและชุมชน

    จากผลการดำเนินงานโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด (โดยเชิญโต๊ะครูมาบรรยายศาสนาในชุมชนยะออ เดือนละครั้ง และมีการแปรงฟันร่วมกันหลังจากร่วมฟังบรรยายก่อนทำการละหมาดยุมอะห์)

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดบมีการกำหนดกติกา ดังนี้ 1.ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม 2.นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

    เอกสารบันทึกกฏกติกา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -ข้อตกลงมาตรการทางสังคมที่เป็นฮูกมปากัตมีใจความหลักว่า ให้มีการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา ครั้งละ 2 นาที ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ และร้านค้าในโรงเรียนไม่ขายอาหารขยะและประเภทน้ำอัดลม

    เอกสารบันทึกข้อตกลง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดเครือข่าย 4 เสาหลัก

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่ในกรอบแนวทางของศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งในเรื่องการกิน การนอน กิจวัตรประจำวันทั่วไป สังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย ความตาย และอื่นๆ ซึ่งมีบัญญัติไว้ทั้งสิ้นการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 58-03994

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง แวนูรียะห์ สาและ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด