directions_run

โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) ”

บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย อับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง

ชื่อโครงการ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

ที่อยู่ บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03912 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1926

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03912 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,895.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 252 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความยั่งยืน
  3. เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส.
    2. ลงแผนการดำเนินงาน
    3. บันทึกกิจกรรม
    4. การเสริมสร้างสมรรถนะขีดความสามารถของผู้รับทุนด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
      ผ่านกระบวนการ ปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการ เอกสารการเงิน
      และการติดตามสนับสนุนโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกปฏิบัติขั้นตอนการลงข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการเขียนรายงาน และการจัดการ เอกสารการเงิน

     

    2 2

    2. พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

     

    2 2

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การวางแผนออกแบบป้ายและดำเนินการในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)ตามความต้องการ

     

    2 2

    4. คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการรับเงินคืนสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    1 1

    5. ประชุมคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น.ต่อด้วยการร่วมพูดคุยปรึกษาหารือการทำงานร่วมกันในคณะทำงานโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม

    • หลังจากนั้นเวลา 14.00 น. นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ประธานโครงการกล่าวแนะนำพี่เลี้ยงโครงการ คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวังและคุณอนัญญา แซะหลี ต่อที่ประชุมและกล่าวขอบคุณที่พร้อมมาให้คำชี้แจงการดำเนินงาน และคำแนะนำ แก่คณะทำงานโครงการ ต่อด้วยประธานโครงการได้กล่าวถึงความตั้งใจในการทำโครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบได้ในอนาคต ทีพร้อมให้ภายนอกมาศึกษาดูงานในพื้นที่ได้

    • หลังจากนั้นผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ คุณกัลยทรรศน์ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ ชี้แจงความเป็นมาของการเกิดโครงการนี้ในหมู่บ้าน มาจากความตั้งใจ ความอดทนและความเสียสละของคณะทำงานที่เสนอโครงการจนผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆจนโครงการผ่านการอนุมัติ และเล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน

    • หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ส่วนการใช้จ่ายงบประมาณที่ให้เกิดความโปร่งใส โดยการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้ระบุรายละเอียดที่ชัดเจน และมีการรายงานค่าใช้จ่ายที่มีเอกสาร หลักฐานทางการเงินที่ชัดเจน

    • คุณอนัญญาแสะหลี : ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน การจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน อาจจะใช้พื้นที่โรงเรียนหรือพื้นที่ใดก็ได้ที่มีความพร้อมครูโรงเรียน :

    • การจัดพิ้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทางโรงเรียนมีความพร้อมและมีพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อมีส่วนร่วมกับชุมชนด้วย เนื่องจากทางโรงเรียนก็มีการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนอยู่แล้ว โดยการร่วมประกวดในระดับโรงเรียนและระดับเขตพื้นที่ เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่เด็กนักเรียน ทางโรงเรียนมีความยินดีที่จะร่วมกับชุมชนในการดำเนินโครงการประธาน

    • โครงการ : พูดคุยการวางเป้าหมายให้หมู่บ้านเกิดสภาผู้นำชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง สามารถให้คนอื่นมาดูงานได้ เกิดครัวเรือนต้นแบบเน้นการปลูกผักสวนครัว ที่ใช้กินในครัวเรือน จัดหาเมล็ดพันธุ์ ปลูกพืชผักอย่างน้อย 10 ชนิดเพื่อให้มีกินในครัวเรือน เหลือสามารถส่งผลผลิตขายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

    • คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา และเสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการทำกิจกรรมของโครงการ ทราบที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการ
    • เกิดการวางแผนกิจกรรม สร้างครัวเรือนต้นแบบการปลูกผัก การจัดศูนย์เรียนรู้ที่โรงเรียน
    • เกิดการขับเคลื่อนโครงการโดยการมีสวนร่วมของทุกฝ่ายผ่านสภาผู้นำชุมชนทุกฝ่าย มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำโครงการต่อไป

     

    15 15

    6. เวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา เวลา 13.30 น. โดยนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมโครงการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) ได้กล่าวแสดงความยินดีกับพี่น้องบ้านห้วยมะพร้าว ที่ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและชี้แจงให้กับคนในชุมชนรับทราบ เพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์เป้าหมายความเป็นมาของโครงการ ที่เกิดจากความพยายามและความตั้งใจของคณะทำงานโครงการในการขอเสนอโครงการจนได้รับการสนับสนุน คือ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    • คุณมนัสนันท์นุ่นแก้ว : แนะนำตัวเองและร่วมเป็นวิทยากร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอละงู ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พูดคุยวิธีการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

    • คุณรุจิรารักปลื้ม : นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ให้ความรู้เรื่องการเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ซึ่งสอนให้คนไทยรู้จักคำว่าพอเพียง ที่เมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก คำว่าพอเพียงคือคำว่าพอดี เราต้องการให้ลดรายจ่ายตามหลัดเศรษฐศาสต์ เท่ากับเพิ่มรายได้ และแนะนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย วิธีการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ประจำเดือน ซึ่งการทำบัญชี เพื่อปรับวิธีคิดแล้วจะเหลือ และเพื่อหาอาชีพ

    • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง : กล่าวขอบคุณวิทยากร จากเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา ทุกคนต่างมีความฝัน แต่ความฝันต้องมีจิตอาสาด้วย จากการเดินพื้นที่หมู่บ้านมีตรงไหนเป็นจุดเด่นให้ผู้อื่นมาศึกษาดูงานบ้าง ปัจจุบันพบว่ามีการพัฒนามากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มปลูกมะนาว สร้างฟาร์มแพะ ฟาร์มวัว และมีครัวเรือนตัวอย่างด้านเศรฐกิจพอเพียง อยากให้เกิดการรวมกลุ่มกัน มีวิธีการคิดแบบเครือข่าย มีสถานที่ศึกษาดูงานในชุมชน และเกิดครัวเรือนต้นแบบ และต่อไปอยากให้มีการเกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพูดคุยร่วมกัน ซึ่งทุกอย่างทุกกิจกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนได้รับทราบโครงการ เข้าใจที่มาที่ไปของการทำงานและได้รับทราบหลักการแนวคิดในการทำงาน ได้รับความรู้ใหม่ๆและมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกิดการสร้างแนวคิดจิตอาสาในการร่วมกันทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในชุมชน ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และมีวิทยากรมาให้ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินโครงการ ส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรพอเพียงเพื่อให้เกิดการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ตามโครงการ 

     

    82 57

    7. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งที่ประชุมทราบการจัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเวทีร่วมกันปรึกษาหารือ วางแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชน มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน และให้สภาที่มาจากทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ร่วมกันพัฒนาสภาผู้นำให้มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลืชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่สนับสนุนเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณทางสสส.ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด มีการดำเนินการงาน 19 กิจกรรมตามแผนและมีพี่เลี้ยงมาหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่

    • นางสาวเพ็ญศรีราเหม ชี้แจงรายงานทางการเงิน และมีการคัดเลือกแต่งตั้งประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ นายรอสักคงทอง ผู้ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้นำพูดคุยเสนอแนะการวางแผนหรือทำอย่างไรให้ให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่างๆของหมู่บ้านจากสภาผู้นำหมู่บ้าน อยากให้ผู้นำทุกคนมีความสามัคคี ก็จะเกิดเป็นสภาและนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป้หมายของโครงการให้มีครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือนและเกิดสภาผู้นำ 30 คน นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียน พูดคุยเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดการร่วมกันขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้หลัก การทำงานเป็นทีมและวางแผนการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมของชุมชน คือ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิกอบต. ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม. กลุ่มสตรี บัณฑิตอาสา และผู้แทนกลุ่มต่างๆ มาร่วมพูดคุยทำความเข้าใจและวางแผนการทำงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการแต่งตั้งประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  เหรัญญิก  และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ 

     

    30 23

    8. พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 10.00 น. นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดเวทีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน โดยเชิญวิทยากรจำนวน 2 ท่านมาให้ความรู้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างภาวะความเป็นผู้นำชุมชนและสร้างกระบวนการการละลายพฤติกรรมเสริมทักษะการเป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

    • นายรอสักคงทอง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้กล่าวถึงเป้าหมายทีมสภาผู้นำที่มาร่วมในวันนี้ จำนวน 23 คน การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาเสริมทักษะในการเป็นผู้นำ

    • นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ร่วมทีมสภาผู้นำ แนะนำวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คือ

    1. นายอุมัธสวาหลัง ผู้อำนวยการโรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3 ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล
    2. นางสาวสุชดาแซ่ตั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล
    • การดำเนินกระบวนการตามกิจกรรมที่กำหนด โดยทีมสภาผู้นำรับฟังการบรรยายจากท่านวิทยากร นายอุมัธ สวาหลัง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ เรื่องของการสร้างจิตอาสาการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำที่ดี คือการเป็นผู้นำตามสถานการณ์ การทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อชุมชนของตนเองให้สามารถพึ่งตนเองได้หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมการทำงานเป็นทีมผ่านเกมส์ซึ่งดำเนินกิจกรรมโดยวิทยากรทั้งสองท่าน โดยการให้สมาชิกสภาทุกคนเขียนความคาดหวังที่ได้จากกิจกรรมในครั้งนี้ และแบ่งกลุ่มสภาผู้นำเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรม เป็นการฦึกความกล้าแสดงออกในการเป็นผู้นำ การวางแผน การมีไหวพริบที่ดี มีความตั้งใจ การเป็นคนช่างสังเกตุ การเสริมทักษะการฟัง จดจำ และนำข้อมูลที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นที่ดีและได้รับประโยชน์สูงสุด มีการวางแผนเพื่อเป็นนักวางแผนที่ดี ผ่านกิจกรรมที่กำหนดขึ้น แต่ละกลุ่มแต่ละคนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำ และปฏิบัติร่วมกันเป็นทีมงานสภาที่เข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกันหลังจากนั้นวิทยากรกำหนดกิจกรรมให้แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของหมู่บ้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม (วิถีชีวิต,วัฒนธรรม,ประเพณ๊) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทัศนียภาพ ซึ่งแต่ละทีมได้ร่วมกันวิเคราะห์โครงสร้างทางด้านต่างๆทั้งจุดเด่นจุดด้อยที่มีในหมู่บ้าน แล้วออกมานำเสนอให้ทุกคนร่วมรับฟังเพื่อนำมาร่วมกันพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกัน จึงทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน หลังจากนั้นวิทยากรก็ได้สรุปผลการวิเคราะห์ "เมื่อรู้แล้ว - เราควรทำอย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราพึ่งตนเองได้ โดยจากข้อมูลที่แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์สามารถนำจุดด้อยไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยผู้นำชุมชนหรือสมาชิกอบต. เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการพึ่งตนเอง การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการนำมาปฏิบัติแก่ตนเองและชุมชนให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้

    • น.ส.สุชดา แซ่ตั้ง ได้พูดคุยเรื่องการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้นำหมู่บ้านควรมีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน ผู้นำควรมีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่สามารถเสริมทักษะการสร้างภาวะการเป็นผู้นำที่ดี เปลี่ยนความคิดคนให้มีจิตอาสามากขึ้นการเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น  ทีมสภาผู้นำที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาและร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป

     

    30 23

    9. อบรมการเขียนรายงาน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
    • ซักถามแลกเปลี่ยน
    • สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ

     

    2 2

    10. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

    • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนทำความเข้าใจในการกำหนดจัดประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนตามกิจกรรมต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

     

    30 23

    11. ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีนายปรีชา หมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว เป็นวิทยากรร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน
    • เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจ
    • เกิดกระบวนการคิดร่วมกันและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
    • และร่วมกันวางแผนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่อไป

     

    21 21

    12. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 3 เดือนมกราคม

    วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป
    • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนและการวางแผนในการลงพื้นที่สำรวจ โดยกำหนดจัดประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูลต่อไป
    • หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน ตามแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

     

    30 23

    13. ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 9.30 น. ณ ห้องโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง
      ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งคณะทำงานและอสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน

    • ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้คณะทำงานจับคู่กับอสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยมีนาง รอย๊ะ เป็นหัวหน้าทีมลงพื้นที่สำรวจ เพื่อติดตามผลและเป็นที่ปรึกษาในระหว่างการลงพื้นที่สำรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล

    • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน

    • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่

     

    20 20

    14. มาพบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน ก่อนปิดงวดโครงการ

    วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ
    • ตรวจสอบการเขียนรายงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการจัดการเอกสาร
    • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมครบถ้วน

     

    2 2

    15. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารรายงานการเงินก่อนปิดงวดโครงการ

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการโครงการก่อนปิดงวด
    • ปรับปรุงแก้ไขในระบบและเพิ่มเติมเนี้อหาในระบบให้มมากขึ้น
    • ฟังคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารที่ถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

     

    2 2

    16. ลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อสม.และคณะทำงานลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือน จำนวน 312 ครัวเรือน จำนวน 10 วัน (30 ม.ค. - 8 ก.พ. 59)

    โดยทำการสอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม การสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)
    โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ประกอบ คือ

    • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
    • ส่วนที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจสังคม
    • ส่วนที่ 3 การถือครองที่ดิน
    • ส่วนที่ 4 ภาระหนี้สินของครัวเรือน
    • ส่วนที่ 5 ความสามารถในการออมของครัวเรือน
    • ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคขัดขวางแนวทางการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสการขยายรายได้ และสอบถามปัญหาความต้องการของครัวเรือนทุกครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำชุมชนได้ข้อมูลหนี้สินเบื้องต้นของคนในชุมชน จำนวน 312 ครัวเรือนจากการสอบถามตามแบบสอบถาม
    • ได้พูดคุยถึงสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละครัวเรือน เพือนำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินต่อไป

     

    20 20

    17. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 24 คนโดยนายรอสัก คงทอง ประธานสภาได้เปิดการประชุม

    • เวลา 14.00 น.โดยประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆตามวาระ ให้ข้อเสนอแนะ และชี้แจงปัญหาความต้องการด้านต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันนำปัญหาความต้องการที่ได้รับมาช่วยกันแก้ไข

    • นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไปเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพโดยตรงและตามเป้าหมาย และนางสาวอนงค์ รอดเสน ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรมเพื่อให้คณะทำงานเกิดความเข้าใจ ส่วนภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคจากการทำกิจกรรมต่างๆของคณะทำงาน
    • ได้ทีมผู้นำที่พร้อมจะขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกัน
    • เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    • เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
    • ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการพูดคุยในที่ประชุม
    • สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

     

    30 24

    18. ปิดงวด1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจดูรายละเอียดการเงินในเอกสารให้สอดคล้องกับในเว็ปไซด์และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนรายงานก่อนพบทีม สจรส.
    • นำเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้องและตรงกับรายงานในเว็ปไซน์
    • ดำเนินการปิดงวดรายงานการเงิน (ง.1)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงินสอดคล้องกับข้อมูลในเว็ปไซด์
    • สามารถปิดงวด 1(ง.1) ได้เรียบร้อย

     

    2 3

    19. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 เดือนมีนาคม

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.โดยนายรอสัก คงทอง ประธานสภาได้เปิดการประชุมตามวาระดังนี้ 1.เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
    • 1.1 ขอเชิญเข้าร่วมโครงการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านและโครงการจัดทำเวทีประชาคมแผนชุมชนประจำปี พ.ศ. 2559เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดทิศทางในการพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ในวันที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
    • 1.2 ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชน “ห้วยมะพร้าวเกมส์” ภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวและขอความร่วมมือผู้นำกรรมการหมู่บ้านและประชาชนทุกคนในการมีส่วนร่วมการจัดการแข่งขันและร่วมทำกิจกรรมต่างๆภายในกิจกรรมพิธีเปิด การเดินขบวนพาเหรด ในวันที่ 21 มีนาคม และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2559
    • 1.3 ขอเชิญร่วมเวทีโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง กิจกรรมการให้การศึกษาชุมชน จัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชน เวทีที่1 เวทีชี้แจงและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล เป้าหมาย 30 คน ในวันที่ 15 มีนาคม 2559 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว

      1. นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงผลการลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน และเตรียมจัดกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน การวางแผนการสร้างศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเริ่มจากนำทีมสภาผู้นำหมู่บ้านไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาเป็นแนวทางและต้นแบบในการทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและปรับใช้ในพื้นที่
    • นางสาวเพ็ญศรี ราเหมชี้แจงรายงานการปิดงวด 1 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 โดยสรุปการใช้จ่ายเงินประจำงวด 1 รวมรายรับ = 85,722.62 บาท รวมรายจ่าย= 59,900.00 บาท สรุปเงินคงเหลือ รายรับ - รายจ่าย = 25,822.62 บาท
      1. นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ชี้แจงปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
        จากปัญหาชาวบ้านหลายครัวเรือนได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ และผลกระทบสำหรับครัวเรือนที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ไม่ค่อยมีน้ำใช้ในการเกษตรซึ่งชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนได้เรียกร้องอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยแก้ปัญหา โดยเฉพาะครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาและอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำอื่นๆ ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ทางสมาชิกอบต.ได้ประสานองค์การบริหารส่วนตำบลละงูให้ช่วยบริการแจกจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้ โดยให้พี่น้องประชาชนเตรียมภาชนะหรือถังใส่น้ำ เตรียมไว้ให้เรียบร้อย โดยทางอบต.จะจัดสรรน้ำมาแจกจ่ายให้
      1. ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน
    • นายดุสิต ขวัญทอง แจ้งให้ทราบว่าการขอรับสนับสนุนการเพิ่มทุนระยะที่ 3 หรือล้านที่สอง ทางคณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการยื่นเอกสารขอรับทุนสนับสนุนเรียบร้อยแล้ว แต่เงินยังไม่ได้รับการอนุมัติเข้าบัญชี
    • เรื่องขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  จำนวน 30 คน  มีการชี้แจงผลการทำกิจกรรมต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
    • ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการวางแผนการสร้างศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเริ่มจากนำทีมสภาผู้นำหมู่บ้านไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เพื่อเตรียมการวางแผนล่วงหน้านำมาเป็นแนวทางและต้นแบบในการทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและปรับใช้ในพื้นที่
    • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่

     

    30 30

    20. สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน

    วันที่ 8 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ทีมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล มาลงทะเบียนและนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จำนวน 312 ชุดมาวิเคราะห์ร่วมกับวิทยากร
    โดยวิธีการแยกข้อมูลการวิเคราะห์เป็น 6 ส่วน ประกอบด้วย - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร - ส่วนที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ส่วนที่ 3 การถือครองที่ดิน - ส่วนที่ 4 ภาระหนี้สินของครัวเรือน
    - ส่วนที่ 5 ความสามารถในการออมของครัวเรือน - ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคขัดขวางแนวทางการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสการขยายรายได้ โดยทีมวิเคราะห์ข้อมูล นำโดยทีมอสม.และคณะทำงานโครงการ ช่วยกันแยกแยะข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้มา เพื่อสรุปเป็นความถี่ แล้วนำความถี่ที่ได้นำมาคำนวณเป็น "ร้อยละ"ของข้อมูลแต่ละด้านแต่ละคำถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์ให้เข้าใจง่ายที่สามารถนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ให้เข้าใจง่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จำนวน 312 ชุดมาวิเคราะห์ร่วมกับวิทยากร
    • ผลลัพธ์จากการสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ทำให้รู้รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และปัญหาของชุมชน จนเข้าใจสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมของชุมชน เข้าใจว่าทำไมจึงเกิดปัญหาหนีสิ้นมาก รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
    • ได้ข้อมูลหนี้สิน และครอบครัวที่ผ่านการวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นพร้อมนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป 

     

    21 21

    21. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่

    วันที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 08.00 น. คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 25 คน เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอรัตภูมิและใกล้เคียง โดยมีนายนายชิต ขวัญคำ เป็นวิทยากรและผู้จัดการเรียนรู้ประจำศูนย์ฯ ให้ความรู้การดำเนินวีถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรแบบผสมผสาน
    • เวลา 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    • เวลา 10.15 น. เดินศึกษากิจกรรมตามศูนย์เรียนรู้ มี 13 ฐานแห่งการเรียนรู้ คือ ฐานที่ 1 ผักพื้นเมืองกินยอด
      ฐานที่ 2 การปลูกไม้ไผ่ตงโดยการตอน
      ฐานที่ 3 ระบบน้ำ E-Wave
      ฐานที่ 4 การเลี้ยงผึ้งโดยธรรมชาติ ฐานที่ 5 การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก ฐานที่ 6 เตาเผาถ่านและเก็บน้ำส้มควันไม้ ฐานที่ 7 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฐานที่ 8 การผลิตอาหารสัตว์ ฐานที่ 9 การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ฐานที่ 10 เตาเผาขยะ
      ฐานที่ 11 แปลงขยายพันธุ์พืช ฐานที่ 12 กับดักแมลงศัตรูพืช ฐานที่ 13 พืชร่วมยาง หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและมอบของที่ระลึก
    • เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    • เวลา 13.30 น. เดินทางไปเยี่่ยมชมบ้านสวนของนาย สิกชัย ยาสิน หมู่ที่ 5 บ้านทางงอ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล พื้นที่ จำนวน 10 กว่าไร่ ในการใช้พื้นที่ปลูกพืชผสมผสานตามแนวเศรฐกิจพอเพียง และกำลังอยู่ในช่วงเก็บผลผลิตจากการปลูกข้าวโพดหวาน เป็นรายได้ในครัวเรือน และปรับพื้นที่บริเวณโดยรอบเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นๆไปด้วย และเป็นเกษตร ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีบทบาทในภาคการเกษตรปัจจุบัน
    • เวลา 16.00 น. รับประทานอาหารว่างและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 25 คน ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
      เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเยี่่ยมชมบ้านสวนของนาย สิกชัย ยาสิน หมู่ที่ 5 บ้านทางงอ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล พื้นที่ จำนวน 10 กว่าไร่
      ในการใช้พื้นที่ปลูกพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    • คณะศึกษาดูงานได้ความรู้ ต้นแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่และครัวเรือนของตนเองได้
    • ได้แนวความคิดการจัดการศูนย์เรียนรู้ เพื่อนำมาจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่

     

    20 25

    22. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 6 เดือนเมษายน

    วันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 1.ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ประจำเดือนเมษายน เริ่มประชุมเวลา14.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว ต.ละงู อ.ละงู จังหวัดสตูล ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบตามวาระ ดังนี้
    • 1.1 ขอเชิญร่วมเวทีโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบท เวทีที่ ๒ เวทีนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์และประมวลผลจากการสำรวจข้อมูลบัญชี รายรับ-รายจ่าย และประชาคมคัดเลือกโครงการ เป้าหมาย ๕๐ คน ในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
    • 1.2 การคัดเลือกคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอ.พ.ป.และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
    • 1.3 โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
    • 1.4 ประชุมทีมสภาในการวางแผนทำกิจกรรมรวมเวทีคืนข้อมูลชุมชน 100 คน โดยมีการ
    • กำหนดหน้าทีความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชน
    • แบ่งหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมเวที่คืนข้อมูลมาร่วมเวทีให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
    • ชี้แจงการวางแผนการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน
    • 2.การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆภายในพื้นที่หมู่บ้านและข่าวสารทางราชการให้ที่ประชุมรับทราบ
    • 2.1 นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) แจ้งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ “กินอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็ง” เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่องการป้องกันและระมัดระวังเรื่องสุขภาพ การเกิดโรคมะเร็ง จากพฤติกรรมการบริโภคในแต่ละวัน ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปฏิบัติตน เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถเอาชนะเซลล์ร้ายที่อยู่ในร่างกายของเราได้
    • 2.2 นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง แจ้งการจัดกิจกรรมลากูเกมส์ ประจำปี 2559 ที่กำลังมีกำหนดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ซึ่งปีนี้ทางหมู่บ้านจะให้มีการส่งนักกีฬาประเภทต่างๆร่วมแข่งขันด้วย เช่น วอลเลย์บอล ฟุตบอล ฟุตซอล และแชร์บอล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
    • 2.3 นายดุสิต ขวัญทอง ประชาสัมพันธ์ให้มาประชุมกองทุนหมู่บ้าน ในวันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว ให้สมาชิกชำระเงินกองทุนหมู่บ้าน ทุกวันที่ 14 ของเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวจำนวน 30 คนมีการชี้แจงการทำกิจกรรมต่างๆ
      โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
    • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
    • ทีมสภาผู้นำได้รับความรู้เรื่อง "กินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง" เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปฏิบัติตนให้ถูกต้องในชีวิตประจำวันได้

     

    30 30

    23. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 7 เดือนพฤษภาคม

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม
      เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระดังนี้ 1. 1.1 แจ้งผู้เข้าร่วมโครงการ “ส่งเสริมหมู่บ้านต้นแบบเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"ภายใต้โครงการขับเคลื่อนอนาคตสตูลด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2559 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เข้าร่วมการอบรมตามโครงการ เป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว 1.2 โครงการยกระดับศักยภาพของหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐที่ได้ประชาคมลงมติที่ผ่านมา คือ โครงการปรับปรุงและต่อเติมต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านขณะนี้กำลังดำเนินการทำเอกสารรายละเอียดเสนอโครงการและการเปิดบัญชีโครงการ และแจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 7ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว
    • นายอับดลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานของโครงการ ของกิจกรรมต่อไป คือการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 ครัวเรือน
      และการจัดทำศูนย์เรียนรู้ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ไถหน้าดินแล้ว เพื่อเตรียมจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอพียงต่อไปหลังจากนี้ด้วยโดยจัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
    • ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน ดังนี้
    1. นายดุสิต ขวัญทอง : แจ้งเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมกองทุนฌาปนกิจ เป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกและบุคคลในครอบครัวในกรณีเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพแก่ผู้เสียชีวิต ใครประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มาสมัครได้ ทุกวันที่ ๑๔ ของทุกเดือน และให้สมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ติดต่อชำระอย่างต่อเนื่อง
    2. นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ติดตามโครงการส่งเสริมอาชีพผู้ด้อยโอกาสบ้านห้วยมะพร้าว ตามโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล กลุ่มส่งเสริมอาชีพทำขนมพื้นบ้าน โดยประธานกลุ่มกำลังดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับหน่วยงานเกษตรอำเภอละงู
    3. เรื่องปัญหายาเสพติดและการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านด้วย
    4. นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) แจ้งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ และการป้องกันยุงลายสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม
      เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระและแจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 7ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว
    • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
    • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่

     

    30 30

    24. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 8 เดือนมิถุนายน

    วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระดังนี้
    1. การออกเสียงประชามติ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 กำหนดวันออกเสียงประชามติฯ ในวันอาทิตย์ที่ 7สิงหาคม2559ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันออกเสียงประชามติตามวันเวลาดังกล่าวด้วย
    2. แจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 9 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว

    - นายอับดลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานของโครงการ และชี้แจงยอดเงินงวดที่ 2 แก่ที่ประชุม โดยทางโครงการได้รับการโอนเงินงวด 2 เข้าบัญชีแล้ว จำนวน 106,450 บาทและได้ชี้แจงการดำเนินงานของกิจกรรมต่อไป คือการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 ครัวเรือน - ต่อด้วยการจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว - ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน ดังนี้ 1. นายดุสิต ขวัญทอง : แจ้งเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมกองทุนฌาปนกิจ เป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกและบุคคลในครอบครัวในกรณีเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพแก่ผู้เสียชีวิต ใครประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มาสมัครได้ ทุกวันที่ ๑๔ ของทุกเดือน และให้สมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ติดต่อชำระอย่างต่อเนื่อง 2. เรื่องปัญหายาเสพติดและการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านด้วย เพราะที่ผ่านมามีกรณีโรงเรียนถูกงัดเข้าขโมยของบ่อยครั้ง 3. นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) ชี้แจงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกต้องขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทำลายแหล่งพันธุ์อย่างต่อเนื่อง อย่าให้มีน้ำขังในภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดกาiประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระ
    • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้
    • ที่ประชุมได้รับรู้เรื่องการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และพร้อมนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบต่อไปเพื่อให้มาลงประชามติ

     

    30 30

    25. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนการจัดกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันและสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทินโครงการ
    • ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาข้อความ ให้มีความละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     

    2 2

    26. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 เดือนกรกฎาคม

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.30 น.ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกัน และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายรอสัก คงทอง ซึ่งเป็นประธาน ชี้แจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกแจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป
    นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน แจ้งเรื่องต่างๆดังนี้ 2. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญพร้อมนำแผ่นพับสื่อประชาสัมพันธ์นำมาแจกจ่ายและสร้างความเข้าใจกับประชาชนในหมู่บ้านและประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกคนในหมู่บ้านให้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติในวันที 7 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ที่ออกเสียง อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว 2. การจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์การยางแห่งประเทศไทย เปิดรับแจ้งข้อมูลการปลูกยางของเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลใช้ประกอบการกำหนดนโยบายด้านยางพารา สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ที่ทำการการยางแห่งประเทศไทยสาขาอำเภอละงู ตั้งแต่วันนี้-30 กันยายน 2559 3. ประชาสัมพันธ์ โครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการของรัฐ สำหรับผู้ที่จะไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ต้องตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติตามดังนี้ 1. มีสัญชาติไทย
    2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องเกิดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2541 3. เป็นผู้ว่างงาน หรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทในปี 2558 เปิดให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนในวันที่ 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม 2559 ผู้มีสิทธิ์สามารถลงทะเบียนได้ 3 แห่งคือ - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    - ธนาคารออมสิน - ธนาคารกรุงไทย นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ขณะนี้ในหมู่บ้านมีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 24 ราย ซึ่งโรคไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดมากในตอนนี้ ต้องขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทำลายแหล่งพันธุ์อย่างต่อเนื่อง อย่าให้มีน้ำขังในภาชนะ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที และให้ดูแลปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากโรคด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
    • ที่ประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ และพร้อมมาลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559
    • ที่ประชุมได้รับทราบการจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์การยางแห่งประเทศไทย เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลใช้ประกอบการกำหนดนโยบายด้านยางพารา เพื่อดำเนินการไปแจ้งข้อมูลที่ทำการการยางแห่งประเทศไทยสาขาอำเภอละงู
    • ที่ประชุมรับรู้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกของยุงลาย และนำไปปฏิบัติตามหลักการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด

     

    30 30

    27. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนอย่างน้อย 100 คน

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานดำเนินการในการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนอย่างน้อย 100 คน ดังนี้ - เตรียมข้อมูลที่จะนำเสนอในเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน - เตรียมความพร้อมในเรื่องสถานที่อาหารและอุปกรณ์ในการจัดการประชุม - กระบวนการนำเสนอในวันนี้ วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 น. - 16.00 น  ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ 11  ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูล โดยนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนในวันนี้ เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินที่มีในชุมชน ที่จะได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของชุมชนในอนาคต ซึ่งข้อมูลได้จากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลหนี้สินในชุมชนที่ผ่านมา ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้นางสาวสมปอง  บุญฤทธิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ชี้แจงทางในการดำเนินกิจกรรมในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและการขยายโอกาสของครัวเรือน ซึ่งข้อมูลการนำเสนอมีดังนี้ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 312 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้างทั่วไป และข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ตามลำดับ รายได้หลักต่อเดือนของคนในชุมชน อยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน 105 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง5001-15000 บาท จำนวน 134 ครัวเรือน อยุ่ระหว่าง 15001-30000 บาท จำนวน 67 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง30001-50000บาท จำนวน  4 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไปจำนวน 1 ครัวเรือน ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่พบว่า มาจากรายได้ในภาคการเกษตรประเภทยางพารา ส่วนรายจ่ายของครัวเรือนส่วนใหญ่พบว่าประชาชนมีรายจ่ายนอกภาคการเกษตรมากกว่าในภาคการเกษตร ซึ่งจำนวนครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายจ่ายอยู่ระหว่าง 0-5,000 บาทต่อเดือน
    - ภาระหนี้สินของครัวเรือน พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินในระบบ อยู่ระหว่าง 0-50,000บาท จำนวน 86 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50,001-150,000 จำนวน 19 ครัวเรือน 150,001-350,000 จำนวน 36 ครัวเรือน 350,001-500,000 จำนวน 18 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 500,001 ขึ้นไป จำนวน 12 ครัวเรือน  และภาระหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน เช่น นายทุนเงินกู้ ญาติ เพื่อนบ้านและอื่นๆ อยู่ระหว่าง 0-50,000บาท จำนวน 40 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50,001-150,000 จำนวน 8 ครัวเรือน 150,001-350,000 จำนวน 2 ครัวเรือน 350,001-500,000 จำนวน - ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 500,001 ขึ้นไป จำนวน - ครัวเรือน
    - สรุปสาเหตุการเกิดหนี้สิน โดยเรียงลำดับจากความคิดเห็นส่วนมากของประชาชน พบว่า 1. มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและรายได้ไม่เพียงพอ 2. ขายผลผลิตไม่ได้/ได้น้อย/ราคาต่ำ 3. มีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกิดขึ้นในครัวเรือน 4. อื่นๆ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร 5. ไม่ได้ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ 6. ผลผลิตได้รับความเสียหาย - พักรับประทานอาหารว่าง รับสมัครครัวเรือนนำร่องจำนวน 40  ครัวเรือน ในการอบรมทำบัญชีครัวเรือน นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดประชุม ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้สถานการณ์หนี้สินแต่ละครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด
    • เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถดำเนินไปพร้อมกับแผนชุมชนได้
    • เกิดการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคเพื่อลดหนี้สินทั้งในครัวเรือนและชุมชน
    • คนในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากแบบวิเคราะด้านต่างๆที่ครัวเรือนได้ตอบคำถามจากการสำรวจจริง

     

    100 115

    28. ประชุมทำความเข้าใจการทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน และครัวเรือนต้นแบบที่เลือกไว้ 40 ครัวเรือน มาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 09.00 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายหมาน ยาบา ได้เปิดวาระการประชุม และหัวข้อการประชุม คือประชุมทำความเข้าใจการทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือนซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุม หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องรายละเอียดของกิจกรรมประชุมครัวเรือน ตามระเบียบวาระตามที่วางแผนในการจัดกิจกรรมหลังจากนั้นประธานเรียนเชิญวิทยากร คือ นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรชุมชน มาพูดคุยเกียวกับการเป็นครัวเรือนต้นแบบ ว่าเป็นอย่างไร ที่จะเป็นตัวอย่างแบบอย่างให้คนในชุมชนเป็นแบบอย่าง ที่จะลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนและยาฆ่าแมลง โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำ บัญชีครัวเรือน ปลูกผักสาวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด และต้องคิดวางกติการ่วมกัน ท่านวิทยากรได้พูดคุยกันจนถึงเวลา 11.00 น. หลังจากนั้น ท่านวิทยากรได้สรุปกฏกติกาให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่จะได้ครัวเรือนดีเด่นคื่อ1.ต้องทำบัญชีครัวเรือน2.ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด3.ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง4.ต้องทำกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง5.ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน6.ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน เวลา 12.00น.สมาชิกทุกคนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเมื่อเสร็จแล้วก็ได้มีการพูดคุยกันต่อหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำ จากภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้านจากนั้น ประธานได้สรุปการประชุม และปิดการ ประชุมใน เวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กติการ่วมกันของครัวเรือนนำร่องที่จะลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนและยาฆ่าหญ้าแมลง โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำ บัญชีครัวเรือน ปลูกผักสาวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด
    • ได้มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

     

    40 40

    29. อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2559 ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน และครัวเรือนต้นแบบที่เลือกไว้ 40 ครัวเรือน มาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 09.00 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ได้เปิดวาระการประชุม และหัวข้อการประชุม คือ อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน และชี้แจงเรื่องรายละเอียดของกิจกรรมประชุมครัวเรือนต้นแบบ ตามระเบียบวาระตามที่วางแผนในการจัดกิจกรรมหลังจากนั้นประธานเรียนเชิญวิทยากร คือ นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรชุมชน มาพูดคุยเกียวกับการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร เพื่อให้คนที่เข้าร่วมกลุ่ม ได้บันทึกเป็น ว่าก่อนเริ่มโครงการมีรายได้และรายจ่ายเป็นอย่างไรและสิ้นสุดโครงการเป็นอย่างไร มีการยกตัวอย่างการทำบัญชีอย่างง่ายๆให้สมาชิกได้เข้าใจ ท่านวิทยากรได้พูดคุยกันจนถึงเวลา 11.00 น. เวลา 12.00 น.สมาชิกทุกคนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเมื่อเสร็จแล้วก็ได้มีการพูดคุยกันต่อหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำ จากภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้านจากนั้น ประธานได้สรุปการประชุม และปิดการ ประชุมใน เวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 ครัวเรือน ได้รับทราบและเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายได้และสามารถทำได้ทุกเดือน
    • เกิดครัวเรือนต้นแบบสามารถให้ความรู้และทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย

     

    42 42

    30. อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 ครัวเรือน

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการเปิดเวทีกิจกรรมอบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 ครัวเรือน หลังจากนั้นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดาเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ตามหลัก 3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
    • ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
    • ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
    • ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
    • การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
      1 ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ 2 ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ 3 ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต 4 ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
    • วิทยากรได้ให้เสนอแนะ : เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนต้นแบบ มีความรู้ และเข้าใจแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้
    • มีชุดความรู้ชุมชนจากฐานการเรียนรู้ชุมชน ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมชุมชน เผยแพร่ให้ความรู้คนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

     

    42 42

    31. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง กล่าวเปิดเวทีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรมในครั้งนี้ หลังจากนั้น ฟังบรรยายทฤษฎี โดย
    ซึ่งทางวิทยากรก็จะให้ความรู้แก่ครัวเรือนต้นแบบตั้งแต่หลักการพื้นฐาน พืชผักสวนครัว หมายถึง สวนผักขนาดเล็กที่ปลูกในบริเวณบ้านหรือโรงเรียนหรือที่ทำงานใช้แรงงานในครอบครัว และใช้พื้นที่ไม่มากนัก มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งด้านคุณค่าทางอาหารและความสาคัญในด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ผักบุ้ง มะนาว ผักกาด มะละกอ พริกขี้หนู โหระพา ตะไคร้ มะเขือ ผักคะน้า เป็นต้นซึ่งสามารถปลูกรับประทานได้ในครัวเรือน และนำเสนอหัวข้อต่างๆในการปลูกผักสวนครัว เช่น - ทำไมเราจะต้องปลูกผักทานเอง - หลักการปลูกผักปลอดสารเคมี - ประโยชน์การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ - การเตรียมดินและปรับปรุงดิน - การเพาะกล้า มีความสำคัญอย่างไร - การปลูกและการดูแลรักษา - เทคนิคปลูกพืชสวนครัวยอดนิยม 10 ชนิด - การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
    นายอับดุลเลาะ โส๊ะเต่ง สรุปผลการดำเนินงานให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับทราบ ซึ่งเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการปฏิบัตงานร่วมกันในการนำไปปฏิบัติ และกล่าวปิดการประชุมใน เวลา 15.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกผักและการดำเนินชีวิตของผู้เข้าอบรม ที่จะสามารถต่อยอดความรู้และสามารถนำไปเป็นหลักของการพึ่งพาตนเอง

     

    42 42

    32. พัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 12-13 สิงหาคม 2559 คณะทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องลงพื้นที่จัดทำศูนย์เรียนรู้ มีการปรับพื้นที่ที่จะทำศูนย์โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว และมอบวัตถุดิบให้กับศูนย์ พร้อมลงมือร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์เรียนรู้โดยมีวิทยากรคอยให้ความรู้และแนะนำ เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน หลังจากนั้น มีการแบ่งกลุ่มลงมือทำปุ๋ยหมักซึ่งมีวิทยากรคอยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    • คนในชุมชนมีความสามัคคีกันเกิดกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบ

     

    42 42

    33. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 เดือนสิงหาคม

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 น.ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกัน และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นประธาน ชี้แจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกแจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ 1. เรื่องการขึ้นทะเบียนชาวสวนยางทีดินทีไม่มีเอกสารสิทธิ์สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ทีการยางแห่งประเทศไทย 2. ขอบคุณชาวบ้านทุกท่านทีให้ความร่วมมือในการออกมาลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ทีผ่านมา 3. ติดตามการชำระหนี้ของลูกหนี้กองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการชำระทุกวันที่ 14 ของทุกเดือน 4. การขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อยโดยจะหมดเขตในวันที 15 สิงหาคม 2559 และแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
    • ที่ประชุมรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ชี้แจงในที่ประชุม เพื่อนำไปปฏิบัติ
    • มีแผนการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน

     

    30 30

    34. ทบทวนกติกาหมู่บ้าน

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. คนชุมชนได้มาคิดร่วมกันในการจัดทบทวนกฎกติกาหมู่บ้าน เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเติมเต็มกติกาชุดเก่าของชุมชนกับกติกากลุ่มครัวเรือนต้นแบบ โดยเริ่มต้นจากการทำประชาคม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในชุมชน ได้แก่ ประชาชนในชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน กลุ่มสตรีและกลุ่มอาชีพในชุมชน
    - ที่ประชุมเสนอกฎกติกาหมู่บ้าน ดังนี้
    1) ห้ามทุกคนในชุมชนเล่นการพนันทุกชนิดหรือข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด หากพบเห็นโทรแจ้งตำรวจ 2) ไม่ให้ร้านค้า ขายสุรา บุหรี่ ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกปรับโดยกรรมการหมู่บ้านคนละ 300 บาท 3) ห้ามมิให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เที่ยวเตร่หรือออกจากบ้านเวลากลางคืน หลังเวลา 24.00 น. โดยลำพัง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง หากฝ่าฝืนจะถูกปรับคนละ 300 บาท เป็นต้น 4) การลักทรัพย์และทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายผู้ที่ลักทรัพย์สินของมีค่าของผู้อื่น ปรับ 3-5 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สิน นั้น 5) ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดและปล่อยสัตว์ให้ไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น ให้มีความผิดและปรับค่าเสียหาย ดังนี้ 5.1 ประเภทพืชยืนต้น คิดค่าปรับในอัตรา100 บาท/ต้น 5.2 นาข้าว ตารางเมตรละ 100 บาท 5.3 พืชไร่/พืชสวน คิดค่าปรับ ในอัตราระหว่าง 200-1,000บาท(แล้วแต่ความเสียหาย) 6) การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 7) ห้ามก่อเหตุทะเลาะวิวาทภายในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ก่อเหตุ จะถูกปรับเป็นเงิน 500 บาท 8) ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ้ายิงเล่นปรับ 500 บาทต่อ 1 นัด 9) สมาชิกครัวเรือนละ 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน หากครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมประชุม สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจะให้การพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมทุกเดือนก่อน ไม่ว่ากรณีใดๆ 10) ครัวเรือนต้นแบบ
    10.1 ต้องทำบัญชีครัวเรือน 10.2 ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด 10.3 ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง 10.4 ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 10.5 ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน 11) กฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงได้ในวันประชุมประจำเดือน หรือตามที่คณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นสมควรเป็นเรื่องไป 12) ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน หลังจากนั้นสรุปกฎกติกาหมู่บ้านที่ได้จากการทำประชาคมประกาศให้คนในชุมชนรับทราบ และกำหนดวันเริ่มบังคับใช้ ซึ่งกฎกติกาหมู่บ้านที่บังคับใช้นั้นได้รับการลงนามรับรองจากผู้ใหญ่บ้านซึ่งถือว่าเป็นกฎระเบียบ และเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กติการ่วมของชุมชนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น
    • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาของชุมชน
    • มีกติการ่วมของชุมชน 1 ชุด

     

    32 32

    35. ประชุมคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ

    วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00 น. คณะกรรมการประเมินครัวเรือนประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการประเมินครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องและวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ตอนเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
    10. ด้านการลดรายจ่าย - ครัวเรือนทำสวนครัว มีผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด - ครัวเรือนปลอดอบายมุข 2. ด้านการเพิ่มรายได้ - ครัวเรือนมีอาชีพเสริม - ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3. ด้านการประหยัด - ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ 4. ด้านการเรียนรู้ - ครัวเรือนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น - ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน - ครัวเรือนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ - ครัวเรือนมีการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นครัวเรือนน่าอยู่ 6. มีความสามัคคีในหมู่คณะ 7. ความเอาใจใส่ของงาน การจัดระเบียบ แบ่งสัดส่วนของสวนผักสวนครัว 8. มีความต่อเนื่องยั่งยืน 9. ผักที่ปลูกปลอดสารพิษ 10. ด้านความสะอาด
    - มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยของสวนผักและบริเวณบ้าน โดยคณะกรรมการประเมินจะลงพื้นที่ประเมิน จำนวน 2 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการประเมินครัวเรือนประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการประเมินครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องและวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ครัวเรือนต้นแบบ จนได้รูปแบบการประเมินครัวเรือนนำร่องเพื่อนำไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินครัวเรือนต้นแบบดีเด่นต่อไป

     

    25 25

    36. ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการประเมิน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. บัณฑิตอาสาฯ และตัวแทนกลุ่ม ร่วมกันลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่อง จำนวน 2 วัน โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่วางไว้แล้วนำมาสรุปร่วมกันเพื่อให้ได้ครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นได้เรียนรู้แล้วขยายไปสู่ครัวเรือน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการประเมินลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่องที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เกณฑ์การประเมินที่วางไว้สามารถสรุปผลการประเมินครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นได้เรียนรู้แล้วขยายไปสู่ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการประเมินเป็นครัวเรือนต้นแบบดีเด่น ดังต่อไปนี้ ๑. นายกูมูฮำมัดซอดิก ราเหม บ้านเลขที่90 ๒. นางร่อบีอะ จำฝังใจ บ้านเลขที่25 ๓. นางบิฉ๊ะ ศิวลักษณ์ บ้านเลขที่163 ๔. นายดีน ราเย็น บ้านเลขที่77 ซึ่งครัวเรือนดังกล่าวเป็นครัวเรือนที่มีการใช้พื้นที่บริเวณบ้านปลูกผักสวนครัว พืชผักสมุนไพรได้หลากหลายชนิด สามารถถ่ายทอดการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจนให้ผู้อื่นสามารถศึกษาและเป็นต้นแบบได้

     

    16 10

    37. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงินและการบันทึกข้อมูล

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค นางสาวอณัญญา  แสะหลี  พี่เลี้ยงได้เข้ามาตรวสอบเอกสารทางการเงินและการรายงานผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลการจัดทำเอกสารและการบันทึกกิจกรรมที่ถูกต้องครบถ้วน

     

    2 2

    38. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้
    • วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคต
    • วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการได้มีโอกาสในการเข้าร่วมงานสร้างสุขร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้
    • คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการระบบสุขภาพและได้เรียนรู้ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของโครงการชุมชนน่าอยู่ ของจังหวัดต่างๆ

     

    2 2

    39. เวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดเวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนะนำวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดเวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พักรับประธานอาหารว่าง จากนั้นนางสาวมนัสนันทร์ นุ่นแก้ว วิทยากรนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และพักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 น. การนำเสนอการประกวดครัวเรือนดีเด่นจากการลงพื้นที่ประเมิน สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการประเมิน ปัญหา ข้อเสนอแนะในการเป็นครัวเรือนต้นแบบ และดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับบทเรียนและประสบการณ์ในการทำเกษตรพึ่งตนเองโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พักรับประทานอาหารว่าง หลังจากนั้นเป็นการประกาศผลครัวเรือนต้นแบบที่ได้รับคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบดีเด่น จำนวน 4 ครัวเรือน และมอบรางวัลเพื่อการยกย่องให้แก่ครัวเรือนดีเด่น จำนวน 4 ครัวเรือน คือ ๑. นายกูมูฮำมัดซอดิก ราเหม
    ๒. นางร่อบีอะ จำฝังใจ
    ๓. นางบิฉ๊ะ ศิวลักษณ์
    ๔. นายดีน ราเย็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีรูปแบบครัวเรือนดีเด่นสามารถให้คนในชุมชนดูเป็นแบบอย่างได้
    • เป็นกำลังใจให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
    • ทำให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรง
    • สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความกระตือรือร้น

     

    120 127

    40. ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่  8  ตุลาคม  2559  เวลา 09.00 น. ณ  อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  ได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ โดยทางคณะทำงานได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและนำเสนอสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่อย่างไร  โดยมีรายละเอียดจากการถอดบทเรียนดังนี้ ความคาดหวังของโครงการจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา - อุปสรรค) และข้อเสนอแนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่  8  ตุลาคม  2559  เวลา 09.00 น. ณ  อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  ได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ โดยทางคณะทำงานได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและนำเสนอสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่อย่างไร  โดยมีรายละเอียดจากการถอดบทเรียนดังนี้ ความคาดหวังของโครงการจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา - อุปสรรค) และข้อเสนอแนะ ซึ่งนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงได้พูดถึงข้อมูลจากการได้ลงสำรวจข้อมูลของชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว ม.11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูลจำนวน314ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเชิงเดี่ยวคือ ทำสวนยางไม่มีอาชีพเสริมและบางคนไม่มีอาชีพแต่ใช้จ่ายแบบฟุ่มเฟือยและปัจจุบันค่าครองชีพก็สูงมากโดยดูได้จากการซื้อของจากตลาดนัด ยกตัวอย่างจากการซื้อพริกขี้หนูกองละ20 บาทซื้อกลับมาบ้านใช้จริงไม่เกิน 2 บาทที่เหลือต้องทิ้งเพราะพริกสดเก็บไว้ได้ไม่นานก็เน่าหลายครัวเรือนอยู่ในฐานะลำบาก หนี้สินพะรุงพะรังแม้หน่วยงานราชการหลายแห่งมาให้แนวคิดเรื่องอาชีพเสริมแต่ไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน จึงทำให้ครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แนวคิดอาชีพเสริมของชุมชนส่วนมากเลี้ยงวัวเลี้ยงแพะก็ไม่สามารถทำได้ทุกครัวเรือนอีกอย่างมันก็ยังไม่เกิดจากความต้องการเปลี่ยนแนวคิดพฤติกรรมของชาวบ้านเองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมมาลดค่าใช้จ่ายและที่ผ่านมาไม่เคยมีสภาชุมชนแต่พอมีโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชนก็มีเวทีชุมชนแกนนำทุกองค์กรในชุมชนสามารถเข้ามานั่งพูดคุยกันจนสามารถคัดเลือกกลุ่มแกนนำจำนวน30คนเข้ามาเป็นคณะทำงานและได้ร่วมกันไปดูงานแปลงตัวอย่างเกษตรกรรมผสมผสานที่บ้านเขาพระอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลาของนายชิต ขวัญคำ"มีคำพูดหนึ่งของคุณชิตที่สำคัญมากเขาบอกว่าถ้าไม่เปลี่ยนแนวคิดชีวิตคุณก็จะไม่เปลี่ยน"คณะทำงานจึงมีแรงบันดาลใจมากจากการไปดูงานครั้งนั้นจากการเห็นวิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกโดยใช้วัสดุเหลือใช้แบบง่ายๆ ทำให้มีแนวคิดกลับมาทำหลายคนขณะอีกจำนวนหนึ่งเริ่มกลับมาปลูกผักปลูกมะนาวและเลี้ยงไก่พื้นที่ว่างข้างบ้านแทนที่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามอย่างเดียวก็หันมาปลูกพืชกินได้หลายอย่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวเห็นด้วยกับแนวคิด อาสามาให้ใช้พื้นที่กลางในการเรียนรู้ของหมู่บ้านทุกกลุ่มทุกวัยจึงให้พื้นที่ตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนในโรงเรียนเป็นแปลงรวมขนาดพื้นที่1ไร่เพื่อจะปลูกไม้ยืนต้นเช่น มะละกอมะนาวข้าวโพดและเกษตรผสมผสานยิ่งสร้างกระแสแนวคิดให้คนหันมาสนใจมากขึ้น นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหนึ่งปี จะเห็นได้จากการไปศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ เราสามารถมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง และจากการทำบัญชีครัวเรือนทำให้เรามีการวางแผนในการจ่าย ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงทำให้เราลดปัญหาหนี้สินลงด้วย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สมาชิกสนใจที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมมากขึ้น และสนใจที่จะหันมาส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนมากขึ้น และต่อยอดให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เกิดความร่วมมือ การร่วมแรง ร่วมใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความสำเร็จในระดับหนึ่ง

     

    26 26

    41. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 1ุุุ6 ตุลาคม2559 เวลา 13.00 น.คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการและรายละเอียดการเขียนรายงาน เพื่อให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องและให้คำแนะนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการและได้รายงานทางการเงินที่ถูกต้อง
    • ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงในการรายงานการบันทึกกิจกรรม

     

    2 2

    42. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 10  ตุลาคม  2559  เวลา  13.00 น.  คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

     

    2 2

    43. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานรูปเล่มที่สมบูรณ์

     

    2 3

    44. จัดทำรูปถ่าย

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปริ้นรูปภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ภาพถ่ายกิจกรรมโครงการที่สามารถถ่ายทอดเป็นสื่อความรู้ต่อไป

     

    2 3

    45. สังเคราะห์โครงการปิดงวด2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจดูรายละเอียดการเงินในเอกสารให้สอดคล้องกับในเว็ปไซด์และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนรายงานก่อนพบทีม สจรส.
    • นำเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้องและตรงกับรายงานในเว็ปไซน์
    • ดำเนินการปิดงวดรายงานการเงิน (ง.2)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานและเอกสารการปิดงวดโครงการที่สมบูรณ์

     

    2 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด - คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 40 ครัวเรือน - กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 40 ครอบครัว มีรายได้เพิ่มขึ้น
    • ได้ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินจำนวน 1 ชุด ที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจจริงทุกครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล
    • ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 ครัวเรือนได้รับความรู้ในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำหลักความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
    • กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 ครัวเรือนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างเป็นอาชีพเสริมโดยการปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ว่าง สามารถนำผลผลิตที่เหลือจากการรับประทานในครัวเรือนนำไปจำหน่ายได้รายได้เสริม ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลักในครัวเรือน
    2 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : - เกิดกติการ่วมของชุมชน - เกิดครัวเรือนนำร่องในการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายจำนวน 40 ครัวเรือน - เกิดกลุ่มเพื่อการผลิตในชุมชน เช่น กลุ่มปลูกผัก ในระดับครัวเรือนและชุมชน
    • เกิดกติการ่วมของชุมชน เป็นธรรมนูญหมู่บ้านในการอยู่ร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน
    • ครัวเรือนนำร่องมีการทำบัญชีครัวเรือนเกือบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
    • เกิดกลุ่มการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้อย่างน้อย 60 ครัวเรือน และเกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 ศูนย์สำหรับปลูกพืชสมุนไพรและพืชผักสวนครัวในระดับชุมชน
    3 เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน 1 ชุด 2. เกิดสภาหมู่บ้าน 1 สภา 3. สมาชิกสภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน 4. มีการประชุมสภาหมู่บ้านเดือนละ 1 ครั้ง 5. มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 6. ในการประชุมมีการปรึกษาหารือปัญหาเรื่องต่างๆของชุมชน 7. มีแผนปฏิบัติการในชุมชนอย่างน้อย 5 แผนงาน
    • มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์
    • เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา จำนวน 30 คน จากภาคีเครือข่ายต่างๆในหมู่บ้านร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน
    • คณะกรรมการหมู่บ้านมีบทบาทในการร่วมปรึกษาหารือร่วมกันกับตัวแทนกลุ่มต่างๆ สามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้
    • มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งโดยมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า80%ในแต่ละครั้งเพราะคนในชุมชนเข้าใจและร่วมรับฟังในการประชุมหรือจัดกิจกรรมต่างๆ
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด เช่น การปฐมนิเทศโครงการ การปิดงวดโครงการ 2 ครั้ง มาพบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสาร และจัดทำรารายงาน
    • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมเป็นประจำ
    • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ซึ่งได้บันทึกในรายงานทุกครั้ง
    • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความยั่งยืน (3) เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    รหัสโครงการ 58-03912 รหัสสัญญา 58-00-1926 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดฐานข้อมูลการทำปุ๋ยหมักใช้เองและเกิดกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้น คือ กลุ่มเลี้ยงผึ้งในชุมชนที่หันมาทำเป็นอาชีพเสริม สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

    • เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    สภาผู้นำชุมชนจำนวน 30 คนซึ่งเป็นกรรมการชุดใหญ่ ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกับกรรมชุดย่อยในแต่ละภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการให้บทบาทแก่คนทำงาน ช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็ว

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
    • เพิ่มจำนวนสมาชิกสภาให้มากขึ้น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการรวมกลุ่มกันทำงานเป็นกลุ่มย่อยตามอาชีพที่ตนมีในชุมชน โดยให้แต่ละกลุ่มสามารถดำเนินงานได้เอง เน้นการสร้างกองทุนในเรื่องของอาชีพและรายได้ เพือลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
    • พัฒนาต่อในด้านวิสาหกิจชุมชน และการตลาด
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สภาผู้นำชุมชน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนร่วมกับกลุ่มย่อยในชุมชน

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
    • เพิ่มจำนวนสมาชิกสภาให้มากขึ้น
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
    • การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

    จัดเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับบุคคล นักเรียนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีเครือข่าย อสม.อยู่ในคณะทำงานให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขอนามัย เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เช่น การล้างผักที่ถูกวิธี หากเป็นผักที่ซื้อจากตลาด

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

    • ใช้เสียงตามสายเพื่อให้ทั่วถึงคนในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดกระแสการหันมาบริโภคเพื่อสุขภาพมากขึ้น จากการปลูกเองกินเอง สามารถมั่นใจในอาหารว่าปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

    • สร้างกระแสในเรื่องการบริโภคที่ปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่
    • มีการรณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่โดยจะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดในชุมชน
    • บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
    • รณรงค์อย่างต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
    • มีการปลูกพืชผักสมุนไพรที่ปลูกง่ายในครัวเรือนไว้กินเอง และหันมาบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพ

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เกิดการบริหารจัดการเรื่องเวลา ใช้เวลาว่าให้เกิดประโยชน์ หาอาชีพเสริมให้ในครัวเรือนและเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีประเพณีวัฒนธรรมตามแบบมุสลิมให้เกิดการพบปะเยี่ยมเยือนกัน สร้างความร่วมมือสามัคคีกันในชุมชน

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้นในชุมชน เช่น กลุ่มเลี้ยงผึ้ง กลุ่มทำขนม กลุ่มเลี้ยงวัว ซึ่งสามารถสร้างรายได้เสริมในครัวเรือนและชุมชน

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    มีเครือข่าย อสม.ในพื้นที่คอยให้คำปรึกษาและติดตามพฤติกรรมด้านสุขภาพชุมชนอยู่เสมอ

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติการ่วมของชุมชน เป็นธรรมนูญหมู่บ้านในการอยู่ร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มีการรวมกลุ่มกันทำงาน มีการทำตามกติกาของกลุ่มนั้น ๆ เช่น กลุ่มที่ปลูกผัก ทำนา ให้มีการลดการใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยอินทรีย์

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    มีธรรมนูญของชุมชนให้ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เช่น กฏกติกาชุมชน ธรรมนูญสุขภาพ

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการประสานงานกับกลุ่มอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงวัว กลุ่มทำขนม และกลุ่มตัดเย็บในชุมชน

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    สภาผู้นำชุมชน 30 คน มีการประชุมประจำเดือน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการประชุมหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันนำเสนอความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะมาร่วมพูดคุยกัน

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรในชุมชน โดยการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สนง.เกษตร สนง.ปศุสัตว์ และพัฒนาชุมชนอำเภอละงู

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการพบปะพูดคุยสะท้อนสถานการณ์จากสมาชิกในชุมชน ผ่านการประชุม และนำไปสู่การวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การลดรายจ่าย การ การลดใช้สารเคมี

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เนื่องจากเป็นชุมชนชนบท วิถีชุมชนมีการแบ่งปันเอื้ออาทร

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น งานบุญประเพณีตามหลักศาสนางานแต่ง เป็นต้น

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    มีการทำเกษตร เช่นปลูกผัก ปลูกข้าวทั้งบริโภคเอง และเหลือจำหน่าย

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีวิถีชีวิตแบบชนบท ยังมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในชุมชน เช่น งานบุญประเพณีตามศาสนา งานแต่งงาน เป็นต้น

    บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03912

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย อับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด