แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ ”

ม.2 บ้านบางโกระ ต.บางโกระ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นาย ปฏิพัทธ์ หนักแดง

ชื่อโครงการ ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

ที่อยู่ ม.2 บ้านบางโกระ ต.บางโกระ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03792 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2217

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.2 บ้านบางโกระ ต.บางโกระ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ



บทคัดย่อ

โครงการ " ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ " ดำเนินการในพื้นที่ ม.2 บ้านบางโกระ ต.บางโกระ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี รหัสโครงการ 58-03792 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 198,150.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 160 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านในการจัดการข้อมูล และให้คนตระหนักในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  3. เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
  4. เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีการออม
  5. เพื่อนำพื้นที่ว่างรอบครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  6. เพื่อให้เกิดครัวเรือนต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน
  7. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 2558

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศ ณ สจรส.ม.อ. มีกระบวนการดังนี้
    1. อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ บรรยายเรื่องหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
    2. สจรส.ม.อ.อธิบายการใช้เวบไซต์คนใต้สร้างสุข รับฟังข้อมูลสถานการณ์ เอกสารสัญญาเพื่อจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลลงเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุขและรายงานกิจกรรมการเงิน
    3. คีย์ข้อมูลโครงการและปฏิทินลงในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการปฐมนิเทศทำให้รับความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการจัดทำรายงานเอกสารโครงการและการจัดทำเอกสารการเงิน
    • ได้วางแผนการทำกิจกรรมและลงในปฏิทินเวบไซต์ได้เสร็จ

     

    2 2

    2. ซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำโครงการโดยภาคีเครื่อข่ายในท้องถิ่น

    วันที่ 13 ตุลาคม 2015 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการฯได้บอกให้คนในชุมชนทราบว่า ในขณะนี้ทางหมู่บ้านได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณจากสสส.จำนวน 195,150 บาท โดยได้แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ จัดกิจกรรมตามแผนที่ สสส.กำหนด โดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมตามโครงการที่ได้จัดวางไว้ตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 กลุ่ม คือ
    1. เกิดสภาผู้นำ จำนวน 45 คน มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
    2. คณะทำงานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการ
    3. ได้คณะทำงานโครงการภาคีเครือข่ายท้องถิ่นทั้งหมด จำนวน 16 คน

     

    16 16

    3. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 1เดือนตุลาคม

    วันที่ 13 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการฯ นัดชาวบ้านเข้าร่วมประชุม ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม.ครู ปราชญ์ชาวบ้านสมาชิกอบต.ผู้นำศาสนากลุ่มแม่บ้านกลุ่มผู้สูงอายุ แกนนำประชาชน และคณะกรรมการตามโครงการฯ เข้าร้วมประชุมพร้อมกัน โดยมีคณะกรรมการบางคนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ เนื่องจากติดภาระกิจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในหมู่บ้านได้ทราบถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • ประธานได้กล่าวพูดคุยกับคณะกรรมการทั้งหมด โดยเน้นเรื่องปัญหาต่าง ๆ ของชาวบ้านในชุมชน โดยเฉพาะรายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครัวเรือน เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนส่วนมากประกอบอาชีพทำสวนยาง และตอนนี้ราคายางตกต่ำมากจากที่เคยได้รับอยู่กิโลละ 80 บาท ลดเหลือ กิโลละ 27 บาท ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินต่าง ๆ มากมาย แต่ละครอบครัวมีภาระในการส่งเสียค่าเล่าเรียนบุตร

     

    45 40

    4. พบพี่เลี้ยงเพื่อปรับแผนกิจกรรมในโครงการ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำโดยนางกัลยาเอี่ยวสกุลพี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ร่วมประชุมเพื่อชี้แจงและแนะนำการดำเนินงานของโครงการฯ และการบัญทึกข้อมูลผ่านเว๊ปไซ ให้แก่ ผู้ใหญ่บ้านผู้รับผิดชอบโครงการฯ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการจัดประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง ทำให้เข้าใจการทำโครงการมากขึ้น เข้าใจการรายงานในเวบไซต์ โดยได้ทำการบันทึกรายงานกิจกรรมปฐมนิเทศจนเสร็จ และได้จัดทำเอกสารการเงินจนเสร็จ
    • ได้วางแผนการทำกิจกรรมร่วมกับพี่เลี้ยง โดยปรับปฏิทินการทำกิจกรรมเพิ่มเติมจากเวทีปฐมนิเทศโครงการ

     

    2 4

    5. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 14 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกแบบสั่งทำป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 4 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่จำนวน 4ป้าย ในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่เช่นสถานที่ประชุม สถานที่สาธารณะไม่มีการสูบบุหรี่ ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบพื้นที่ในการไม่สูบบุหรี่

     

    150 150

    6. ประชาสัมพันธ์โครงการร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    วันที่ 16 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการนัดชาวบ้าน เข้าร่วมประชุม โดยผ่านทางหอกระจายข่าว ผ่านทางแกนนำกลุ่ม และพี่เลี้ยงโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในหมู่บ้านมีโครงการของ สสส.เป็นโครงการท้องถิ่นชุมชนน่าอยู่ และบอกให้ถึงทราบถึงวิธีการทำโครงการ และกิจกรรมต่างที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในพัฒนาเป็นแก้ปัญหาเรื่องรายรับ-รายจ่าย หนี้สินของสมาชิกในหมู่บ้าน
    • ประธานชุมชนกล่าวเปฺิดกิจกรรมตามโครงการทั้งพร้อมอธิบายเหตุผลและหลักการต่างๆ ที่มาของการเสนอโครงการของบประมาณจาก สสส. บอกถึงประชาชนให้มีส่วนร่วมในขั้นตอนและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด13 กิจกรรมหลักอยากให้ประชาชนเข้าร่วมดังกล่าว
    • คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงติดตามโครงการชี้แจงความเป็นมาโครงการเรียกว่าโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เป็นโครงการของชุมชนสะพานน้ำที่จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดกิจกรรมร่วมกัน การก่อเกิด การจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการ การแก้ไขปัญหา การรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องในชุมชนสะพานม้า ขอความร่วมมือทั้งหน่วยงานรัฐ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยุพราชสายบุรี
    • ประชาชนในชุมนร่วมกิจกรรมตลอดจนเสร็จสิ้นโครงการขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำโดยขอความร่วมมจากคณะกรรมการชุมชนกลุ่มเครือข่ายในชุมชนจากคนที่ทำงานจิตอาสาเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความยั่งยืนสามารถดูแลชุมชนของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน15 คน,อสม.2 คน,ครู 2 คน,ปราชญ์ 2 คน,สมาชิก อบต.2 คน,ผู้นำศาสนา 1 คน,กลุ่มแม่บ้าน 3 คน,กลุ่มผู้สูงอายุ 3 คน,แกนนำประชาชน 15 คน รวมทั้งหมด 45 คน
    • เกิดกลุ่มอาสาสมัครแกนนำ จำนวน 20 คน ทำหน้าที่สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน เป็นกลุ่มเยาวชนที่ต้องการสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิตในการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมให้ความรู้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบ

     

    160 160

    7. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้นำชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลแบบสอบถามแก่เยาวชนและพี่เลี้ยงในการลงพื้นที่จัดทำแบบสอบถาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กเยาวชนและคนในหมู่บ้านมีทักษะในการสำรวจและการเก็บรวบรวมข้อมูล เด็กและผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตุจากข้อมูลแบบสอบถามในบางข้อที่คนในครอบครัวไม่ตอบคำถาม การลงพื้นที่ผู้ให้คำตอบจากแบบสอบถาม 1-2 คนในครัวเรือน เนื่องจากอาสาสมัครเป็นบุคคลในหมู่บ้านทำให้ง่ายกับการพูดคุยและให้ข้อมูลการลงพื้นที่แต่ละครั้งใช้เยาวชนทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำแบบสอบถาม

     

    15 15

    8. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่1

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าร่วมครัวเรือนมีเงินออมตามกติกา 60 ครัวเรือน สมาชิกสามารถเก็บเงินออมได้และนำเงินมาฝากเดือนละ 1 ครั้งเป็นการประชาสัมพันธ์และสามารถรับสมัครผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มแม่บ้านและบุตรหลานจำนวน 60 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีแกนนำเข้าร่วมปฏิบัติงานเป็นสมาชิก 60 ครัวเรือน และได้ชี้แจงกฏกติกาให้สมาชิกทราบ เพื่อนำไปปฏิบัติ ประธานได้แนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย

     

    60 60

    9. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)ครั้งที่2เดือนพฤศจิกายน

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะทำงานนัดหมายผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสภาผู้นำ ประชาชนในชุมชน แกนนำกลุ่มมานั่งคุยปรึกษาหารือเรื่องแบบสอบถาม และความต้องการของชาวบ้าน โดยให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยในกลุ่มแกนนำบางคน แนะนำเสนอความเดือดร้อนด้านรายรับ รายจ่าย วัยรุ่นว่างงาน ยาเสพติดในชุมชน ส่วนกลุ่มสตรีที่ยังพอมีเวลาเหลือ ได้ใช้เวลาว่างมารวมตัวกันทำขนม ก็สามารถได้ความคิดหลายๆคนมารวมกัน จึงได้มีแนวทางนี้นำมาพูดคุยกัน และจัดแบ่งหน้าที่ เพื่อจะออกไปสำรวจตามครัวเรือน ตามความต้องการที่แท้จริงของแต่ละครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงาน แนวคิดที่ว่าต้องการสร้างแกนนำในการตัดสินใจและใช้อำนาจโดยไม่ตกอยู่ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง ด้วยการค้นหาคนใจอาสาในหมู่บ้านโดยการกำหนดลักษณะจิตอาสาจัดตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชนเป็นครั้งแรกจากกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ในแต่ละกลุ่มสมาชิกจะเสนอชื่อคนที่เห็นว่าอาสาทำงานด้วยตนเอง ตามความสมัครใจในการทำงานเช่น มีปัญหาเรื่อง สุขภาพ มีภาระเลี้ยงดูลูกหลานโดยมีหน้าที่ในการประชุมปรึกษาหารือกันถึงปัญหาและความต้องการ จากนั้นตัวแทนนำเรื่องเข้าที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

     

    45 45

    10. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่ 2พฤศจิกายน

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกันทบทวนแผนปฏิบัติการภายใต้โครงการร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการและคณะกรรมการสภาผู้นำทบทวนกิจกรรมโครงการมีความถี่เนื่องจากในช่วงการพัฒนาโครงคณะทำงานใหม่กับการเขียนโครงการลักษณะนี้ทำให้มีความรู้สึกว่าโครงการจำสร้างความลำบากให้กับคนในชุมชนเนื่องจากมรกิจกรรมวัน 2-3กิจกรรมในแต่ละวันทำให้คณะกรรมและสภาผู้นำขอให้ดำเนินการไปจนปิดงวดโครงการและทบทวนกแผนอีกครั้ง

     

    28 24

    11. ออกแบบสอบถามเกี่ยวกับรายรับจ่ายเพื่อไปประกอบกับบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้นำแกนนำชุมชน เยาวชน ปราชญ์ชุมชน และผู้รู้ร่วมกันสร้างแบบสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ภาระหนี้สิน ในครัวเรือนของคนในหมู่บ้าน เพื่อนำมาประกอบกับบัญชีครัวเรือนในการทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานะรายรับ-รายจ่ายและหนี้ของครัวเรือนและหมู่บ้าน โดยใช้เวลาสร้างเครื่องมือและเรียนรู้ใช้เวลา 1 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ออกแบบสมุดบัญชีครัวเรือนรับ/จ่าย หนี้สิน การดำรงชีวิตทั้้งระดับครัวเรือนและชุมชน เด็กเยาวชนและคนในหมู่บ้านมีทักษะในการออกแบบและการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล
    1. รวมรายรับ
    2. รวมรายจ่าย
    • หมวดที่ 1: หมวดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
    • หมวดที่ 2 : ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
    • หมวดที่ 3 : ยา และเครื่องนุ่งห่ม
    • หมวดที่ 4 : ที่อยู่อาศัย
    • หมวดที่ 5 : ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและงานสังคม
    • หมวดที่ 6 : ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
    • หมวดที่ 7 : ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

    • สรุปเงินคงเหลือหรือติดลบ (รวมรายรับ-รายจ่าย)

    1. รวมเงินออมและหลักประกัน
    2. รวมหนี้สิน

     

    15 15

    12. เรียนรู้ เรื่องการดำรงวิถีพอเพียงชุมชน และฝึกปฎิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 18 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการฯ เรียกอบรมให้ความรู้ เรื่องการดำรงวิถีพอเพียงชุมชนและการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่คนในหมู่บ้าน และแกนนำนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ต้องเข้ารับการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน โดยเชิญวิทยากรจากนักพัฒนาชุมชน ตำบลนาแว มาบรรยายแนวคิดและความสำคัญในการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายที่ทำบัญชีครัวเรือน ได้เรียนรู้การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามวิถีชุมชนพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในหมู่บ้านแกนนำชุมชน เยาวชน ปราชญ์ชุมชน และผู้ร่วม้รียนรู้หลักการทำบัญชีครัวเรือนการทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีต ปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
    • ได้เรียนรู้ประโยชน์จากการทำบัญชีครัวเรือน คือ การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน

     

    60 60

    13. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเอกสารรายงานการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน ผู้ประสานงานวิจัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สจรส. มอ. ทีมสนับสนุนวิชาการผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่บันทึก เจ้าหน้าที่การเงินและพี่เลี้ยงโครงการฯ ร่วมอบรมโครงกาพัฒนาศักยภาพ ติดตามประเมินผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้การบันทึกข้อมูลการจัดทำบัญชีรายงานการเงินของโครงการฯ ณ สจรส.มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานการเงิน การบันทึกข้อมูล การใช้บิลที่ถูกต้องต้องเป็บบิลใบสำคัญรับเงินที่มีทะเบียนผู้เสียภาษีมีชื่อร้านค้าที่ถูกต้อง ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในการจัดทำเอกสาร การบันทึกข้อมูล การเสียภาษีโดยเริ่มต้นเสียภาษีในเดือนธันวาคม 58 และค่าใช้จ่ายที่เกิน 1,000 บาท ต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์

     

    4 4

    14. ลงสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการร่วมกับสภาผู้นำอธิบายรายละเอียดข้อมูลแบบสำรวจข้อมูลโดยให้เยาวชนและคณะทำงานจับคู่กัน จำนวน 5 ทีม ทีมละ 3 คน ออกสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือน จำนวน 160 ครัวเรือน ใช้เวลาในการสำรวจจำนวน 3 วัน ณ หมู่ที่ 2 บ้านบางโกระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้สำรวจข้อมูลแกนนำชุมชนที่ทำบันทึกรายรับ รายจ่าย พบว่า จากการทำบันทึกทีมแกนนำได้เรียนรู้ว่า ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน ทำให้ทีมแกนนำได้มาพูดคุยกันในตอนเย็น และจะเปลี่ยนพฤติกรรมประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งของตนเองและครอบครัว

     

    15 15

    15. วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คนในชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุปัจจัย รายรับ-รายจ่าย หนี้สิน และเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาช่วยในการวิคราะห์ร่วมกับเยาวชนและเจ้าของข้อมูลซึ่งจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาหนี้สิน รายจ่าย โดยแกนนำครัวเรือนและกลุ่มเยาวชนร่วมกับผู้มีความรู้ โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถาม และบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนมาประกอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สรุปการประชุมวิเคราะห์ผู้สำรวจเก็บข้อมูล วิทยากรร่วมรวบรวมประเด็นและร่วมวางแผนในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชน จากแบบสอบถามมีข้อมูลสภาพทั่วไปที่ตั้งชุมชน ข้อมูลด้านอาชีพ ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลความสัมพันธ์ในชุมชนโดยกรอกรายละเอียดตามรายครอบครัวทำให้สามารถแยกกลุ่มอาชีพ ความต้องการ ปัญหาที่ทำกิน การเพาะปลูกพืช การะจายผลผลิต เพื่อขาย ใช้หนี้ เพื่อบริโภค แปรรูป รายได้จาผลผลิต การเลี้ยงสัตว์ รายได้จากการขาย รายได้จากการทำการเกษตร รายจ่ายของครอบครัว สมาชิกกลุ่มองค์กรสามารถแยกกลุ่มปัญหา รายได้ รายจ่าย การศึกษาเป็นแนวทางในการดำเนินการทำแผนต่อไป

     

    45 45

    16. จัดเวทีเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในหมู่บ้าน

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการฯ ได้นัดคณะแกนนำและกรรมการทุกคนแบ่งงานในหน้าที่และเปิดรับสมัครสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
    • จัดเวทีคืนข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชุมชนและครัวเรือน เช่น รายรับรายจ่าย เงินออมหนี้สิน สถาบันการเงินในท้องถิ่น กลุ่มผลิต แหล่งทุน หน่วยงานการสนับสนุนด้านอาชีพและโอกาสการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาอาชีพเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตสังคมวัฒนธรรม
    • ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชี้แจงรายละเอียด ตอบข้อซักถาม แล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสามารถกำหนดแนวทางปฎิบัติในการแก้ไขปัญหาชุมชนให้ชัดเจนและยกร่างทำแผนชุมชน รวมถึงเปิดรับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจ ดังนี้
    1. ข้อมูลทั่วไปทางกายภาพ แสดงลักษณะภาพรวมของชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
    2. ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และพบว่าส่วใหญ่ยังปลูกผักกินเอง ข้อมูลตรวนี้สามารถนำไปสู่การส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกผักไว้ทานเอง เพื่อทานผกที่ปลอดสารพิษ
    3. ผู้คนส่วนใหญ่มีหนี้สิน ชาวบ้านนชุมชนจึงมีความเห็นด้วยกับโครงการ สสส.ที่ทำอยู่ เพราะฝึกการออม ทำให้สามารถแก้ปัญหาหนี้สินได้ และเกิดครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการกิจกรรมออมในกระป๋องจำนวน 60 ครัวเรือน ซึ่งได้ทำกิจกรรมนี้มาแล้ว ก่อนเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

     

    160 160

    17. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่2

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการเงินออมรับหน้าที่ในการเก็บเงินออมวันละ 1 บาทเดือนละ30 บาทตามกติกาที่กำหนด และได้นำเงินมาฝากเดือนละ 1 ครั้งโดยรับฝากและเก็บเงินเพียงวันเดียวตามแผนงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เดือนนี้เป็นครั้งที่ 2 ทางคณะกรรมการเก็บเงินออม 60 คน คนละ 30 บาท รวมเงิน1800 บาท และในครั้งนี้มีผู้ใจเข้ามาสมัครเพิ่ม

     

    60 60

    18. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่ 1ตุลาคม

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการฯ เรียกคณะทำงานกับแกนนำชุมชน 28 คน ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน กลุ่มเป้าหมายคือสภาชุมชน จำนวน 15 คนคณะกรรมการตามโครงการ 8 คน รวมทั้งหมด 23 คน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง เพื่อร่วมกันเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาและเป็นแกนนำในการหาแนวทางแก้ไข ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม โดยให้กรรมการเข้าใจตรงกัน มีทิศทางการทำงานเป็นแนวทางเดียวกัน มีการรายงานผลดำเนินงานทุกกิจกรรม ตลอดจนกรรมการร่วมกันติดตามความก้าวหน้าของโครงการ รับฟังข้อเสนอแนะทีมงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนากิจกรรมครั้งถัดไป ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 บ้านบางโกระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 1 ประกอบด้วยแกนนำที่สมัครใจเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ และได้สรุปผลจากการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เมื่อวันที่ 25 พ.ย.58 ที่ผ่านมา ซึ่งผลี่เกิดขึ้น คือ ทำให้คนในชุมชนได้เข้าใจกิจกรรมที่ทำ ซึ่งใน 1 วัน ต้องจัดประชุมถึง 3 ครั้ง ของแต่ละเดือน คือ กิจกรรมออมกระป๋อง กิจกรรมประชุมสภาผู้นำ และกิจกรรมถอดบทเรียนสภาผู้นำ ที่ผ่านมาหลายคนยังไม่เข้าใจ และเริ่มเบื่อกับการจัดกิจกรม

     

    28 28

    19. วางแผนปฏิบัติการแก้ปัญหารายจ่าย เพิ่มรายได้ ทำข้อตกลงร่วมกัน

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการร่วมจัดเวทีพูดคุยและวางแผนเสนอแนวทางเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่สามารถลดได้ ตัดที่ฟุ่มเฟือยออกไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านในชุมชนมารวมกลุ่มกันเสนอเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และกลุ่มแม่บ้านได้เสนอเกี่ยวกับการทำขนม กลุ่มชาวบ้านที่ทำเกษตร ก็เสนอปลูกผักและเลี้ยงไก่ โดยทุกคนร่วมเสนอความคิดเห็นกันว่าจะทำปุ๋ยหมักแทนการใช้สารเคมี เพราะปุ๋ยเคมีมีราคาสูงมาก และเป็นสารพิษที่ทำลายดินทำให้ดินเสีย และในชุมชนก็มีหมอดินที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก สามารถที่จะพูดคุยได้ทุกเวลา เพราะเป็นคนในชุมชนเดียวกันพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และชาวบ้านก็ยังเสนอแนะว่าจะหาไก่พันธุ์พื้นเมืองมาเลี้ยง โดยนำไก่ที่มีอยู่ในชุมชนมาแลกเปลี่ยนกัน และชาวบ้านบางส่วนได้เสนอให้ปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน ถึงแม้ว่าบริเวณบ้านแต่ละครัวเรือนจะไม่กว้างนักก็สามารถจะปลูกรอบ ๆ บริเวณบ้านได้
    • กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกันทั้งในเรื่องการเพิ่มรายได้ เช่น จัดตั้งธนาคารหมู่บ้านการออม โดยให้ครัวเรือนร่วมกันออมวันละ 1 บาท ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำอยู่แล้ว

     

    60 60

    20. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 3เดือนธันวาคม

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการโครงการ ร่วมชี้แจงเหตุผลกับคณะกรรมการว่าให้ทุกคนนำปัญหาต่าง ๆ มาร่วมแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เดือนละ 1ครั้ง และร่วมกันคิดและวางแผน ที่จะหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยได้จัดทำเป็นรายงานของแต่ละคนและนำมาเสนอในที่ประชุม เพื่อที่จะหาแนวทางและปรับปรุงปัญหาต่าง ๆ และเพื่อการทำงานที่ชัดเจน มีแนวทางการทำงานในแนวทางเดียวกันโดยมีเป้าหมายหลักเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งนี้ กลุ่มแกนนำ อาสาสมัครในชุมชนมารับฟัง นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบด้วย ม.2 เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างหมู่บ้านและเป็นเส้นทางสัญจรระหว่างหมู่บ้านและคนภายนอกทำให้เกิดเป็นพื้นที่เสี่ยงในการเกิดเหตุ เสนอขอความเห็นในการดูแลโดยให้มีทหารประจำการณ์ลาดตระเวนและอาสาสมัครดูแลหมู่บ้านพร้อมผู้ใหญ่บ้านจัดเวรยามดูแลความสงบเรียบร้อยในหมูบ้าน การดำเนินการประชุมสภาผู้นำสามารแก้ปัญหาโดยคนในชุมชนร่วมพูดคุยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกัน

     

    45 45

    21. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่3

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการผู้รับผิดชอบการเก็บเงินออมวันละ 1 บาท เดือนละ 30 บาท นัดเก็บเงินออมตามแนงานที่วางไว้ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเงินออมเดือนนี้ 1800 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครั้งที่ 3 ของการเก็บเงินออมจากคณะกรรมการวันละ 1 บาท เดือนนี้ได้ 1,800 บาท ทางคณะกรรมการมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น คือ เริ่มมีพฤติกรรมสะสมเงิน ซึ่งเป็นเงินเล็กน้อย วันละ 1 บาท แต่พอรวมกันหลายวันกับเป็นเงินที่มากขึ้น

     

    60 60

    22. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่3ธันวาคม

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำ คณะกรรมการโครงการ ร่วมกันวางกำนหดการในการประชุมสภาผู้นำทุกครั้ง ครั้งนี้นำวาระการประชุมเกี่ยวกับโครงการตำบลละ 5 ล้าน เป็นวาระพูดคุยและการนำปัญหาของคนในชุมชนมาคุยในที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • โครงการตำบลละ 5 ที่นำเสนอโดยผู้ใหญ่บ้าน ได้ชี้แจงว่า ชาวบ้านนำเสนอ ให้ทำโครงการการทำขนมเพื่อเป็นอาชีพเสริมแก่คนในชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนำเสนอโครงการการดูแลสุขภาผู้สูงอายุ คนพิการ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะพัฒนาตำบลบางโกระให้เป็นตำบลเป้าหมายของสาธารณสุขในต่อไป ทั้งนี้หากมีโครงการอื่นที่จะนำเสนอ สามารถนำเสนอได้ในเวลาจัดประชุมสภาผู้นำทุกเดือน

     

    28 28

    23. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 4เดือนมกราคม

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาผู้นำกับคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4 เพื่อกำหนดแผนในการประชุมมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนตามแผนปฏิบัติการตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบและประสานงานความร่วมมือกับคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการประชุมสภาครั้งที่4
    • คณะทำงานโครงการนำเสนองบประมาณโครงการจาก สสส.ในงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำกับคณะทำงานมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนตามที่เคยคุยกันไว้ตามข้อตกลง พร้อมทั้งให้นำผลการออกแบบสำรวจทุกครัวเรือนมาออกแบบสำรวจ เพื่อให้รับรู้ถึงปัญหาทุกครัวเรือน โดยวิธีสลับกันพูดคุยเสนอเหตุผลของแต่ละคน คนในชุมชนส่วนมากรายได้จะไม่เพียงพอกับรายจ่าย วัยรุ่นในชุมชนไม่ได้รับการศึกษาต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องสุขภาพเจ็บป่วยบ่อย เป็นโรคเรื้อรัง คนในชุมชนส่วนมากมีอาชีพกรีดยาง ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินเพิ่ม มีความคิดต่างกัน ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างครัวเรือน และแบ่งพักแบ่งพวก ไม่ค่อยมีเวลานั่งพบปะพูดคุย ทำให้ห่างเหินกัน กลุ่มสตรีและผู้สูงอายุยังพอมีเวลาว่างหลังจากการกรีดยางแนะนำให้ทุกคนปลูกผักรอบๆบ้านไว้ทานเองในครัวเรือน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานคณะกรรมการสภาผู้นำ แกนนำชุมชนในเดืนกุมภาพันธ์โครงการจะปิดงวดโครงการในวันที่15 กุมภาพันธ์ งบประมาณจาก สสส.ในงวดที่1 เป็นเงิน 79,260 บาท มีดอกเบี้ย 39.84 เงินเปิดบัญชี 100 บาท รวมงบประมาณ 79399.84 บาท รายจ่ายสรุปพอสังเขปประมาณ 76,946 บาท มีเงินคงเหลือ 2,453.84 บาทในงวดที่ 1 และปิดโครงการ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

     

    45 45

    24. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่4

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการนัดเก็บเงินออมเดือนละ 30 บาทจำนวน 60 คนนัดทุกเดือนตามแผนที่วางไว้ในปฏิทินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครั้งที่ 4 เก็บเงินจากสมาชิกวันละ 1 บาท จาก 60 คน ได้เงิน 1,800 บาท ทำให้ผู้เข้าโครงการธนาคารออมในกระป๋องมีความรับผิดชอบในออมทุกเดือน

     

    60 60

    25. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่4มกราคม

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการโครงการ ประชุมเรื่อง การจัดการปัญหารายได้ไม่พอจ่าย มีการหารือเพื่อกำหนดทำกิจกรรมลดรายจ่ายของชุมชนร่วมกัน และประเมินผลการทำโครงการออมวันละ 1 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาผู้นำเปิดการประชุมสภาด้วยการนำปัญหาที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายเนื่องจากยางราคาตกต่ำ ทำให้มีการเสนอแนวทางโดยการเพิ่มรายได้ลดรายได้จากการออมซึ่งมีการขอความร่วมให้พี่น้องในชุมชนประชาสัมพันธ์กับเด็กเยาวชนมีส่วนร่วมในการออมเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผลการประเมินกิจกรรมโครงการสามารถดำเนินกิจกรรมได้เนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

     

    23 23

    26. ตรวจเอกสารรายงานปิดงวดที่1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงนัดตรวจเอกสารตามแผนปฏิบัติการเพื่อปิดงวดโครงการ ตรวจเอกสารการเงิน การบันทึกข้อมูลกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารปิดโครงการ1ชุด(ง.1ง.1,ส.1) เอกสารรายงานการเงินทำให้เข้าใจการทำเอกสารรายงานมากยิ่งขึ้นสามารถทำเอกสารงานปิดโครงการตามแผนงานโครงการ

     

    2 2

    27. ประชุมปิดรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินมาพบ สจรส. และได้ตรวจเอกสารการเงิน และจัดทำรายงานความก้าวหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำการทำเอกสารการเงิน ยังไม่เรียบร้อย ส่วนใหญ่ขาดลายเซ็นต์ผู้รับเงินค่าอาหาร ซึ่งจะนำไปปรับในชุมชนอีกครั้ง
    • ได้หารือการปรับแผนกิจกรรมร่วมกับ สสส.และ พี่เลี้ยง เนื่องจากมีกิจกรรมย่อยเป็นจำนวนมาก ในงวดที่ 2 กิจกรรมไหนที่ทำร่วมกันได้ จะรวมเป็นกิจกรรมเดียวกัน

     

    2 3

    28. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่5

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. เตรียมเอกสารการจัดเก็บเงิน
    3. ประสานงานแกน 60 ครัวเรือน แกนนำชุมชน จำนวน 60 คน นำเงินมาฝากประจำทุกเดือน ตามวันและเวลาที่กำหนดเดือนละ 1 ครั้ง ทุกๆ วันที่ 5 ของเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ 60 ครัวเรือนนำเงินออมในการสะสมให้แก่เจ้าหน้าที่ ณ.อาคารเอนกประสงค์ บ้านบางโกระ ทุกๆเดือนโดยมีเงินออมเดือน 1800 บาท เพื่อเป็นการสร้างวินัยในการออมเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนคนรุุนหลัง

     

    60 60

    29. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่5กุมภาพันธ์

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการถอดบทเรียน
    2. ประสานวิทยากรและคนในชุมชน
    3. จัดเตรียมเอกสารในการเข้าร่วมการประชุมสภาชุมชนจำนวน 15 คน คณะกรรมการโครงการจำนวน 8 คน รวมทั้งหมด 23 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ ม.2 บ้านบางโกระ ตั้งแต่เวลา10.00 น. เพื่อถอดบทเรียนวิเคราะห์การทำงาน ปัญหาในชุมชนร่วมกัน เสนอแนะและปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานกับแกนนำชุมชน 23 คน ได้ร่วมกันเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาในชุมชนด้านโครงสร้างทางสังคม เช่น การศึกษา สูขภาพ โครงสร้างพื้นฐานและประเพณี วัฒนธรรมโดยการใช้สภาผู้นำ โดยมีวิทยากรนำกระบวนการตั้งคำถามชุมชนและหมู่บ้านมีประชากรทั้งหมดกี่คน กี่ครัวเรือน ลักษณะที่ตั้งของครัวเรือน ลักษณะของครอบครัวเป็นอย่างไร แบ่งเป็นหญิงหรือชายเท่าไหร่ ชุมชนมีสถานที่สำคัญอะไรบ้าง ชุมชนยังขาดโครงสร้างพื้นฐานอะไรบ้าง ชุมชนมีประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา ภูมิปัญญาที่ยังแสดงบทบาทและหน้าที่ต่อชุมชนอย่างไรและกำลังประสบปัญหาอะไรคนในชุมชนส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นใด ค่านิยมของผู้ปกครองในการส่งลูกหลานเข้าเรียน ปัจจุบันแตกต่างจากอดีต หรือไม่ คนในชุมชนมีโรคภัยที่เจ็บป่วยที่สำคัญหรือปัญหาที่พบมีอะไรบ้าง ซึ่งข้อมูลที่ได้นำไปสู่การออกแบบเก็บข้อมูลในต่อไป

     

    28 23

    30. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 5เดือนกุมภาพันธ์

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. เตรียมข้อมูลการประชุม
    3. ประสานคณะกรรมการสภา คระกรรมการสภาผู้นำคณะทำงานจำนวน45คนเข้าร่วมประชุมสภาตั้งแต่เวลา 13.00น ณ.อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ ได้ร่วมรับฟังและพูดคุยปรึกษาร่วมกัน ทำความเข้าใจตรงกันถึงประโยชน์ในการเข้าร่วมกลุ่มเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำ จำนวน 45 คน ได้รับสมัครสมาชิกไม่ระบุจำนวน ให้ทุกคนนำเงินมาฝากทุกวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเข้าใจถึงประโยชน์ และลงสมัครร่วมเป็นสมาชิกในกองทุนหมู่บ้าน

     

    45 45

    31. อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารเคมี

    วันที่ 5 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. ประสาน เชิญชวนคนในชุมชนผ่านเสียงตามสายในการเข้าร่วมกิจกรรม
    3. เตรียมข้อมูลเอกสารการประชุม
    4. จัดประชุมโดยนายปฏิพัทธ์ หนักแดงผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เชิญวิทยากรในชุมชน นายธนโชติ สารพร เป็นหมอดินมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในผักการให้ความรู้ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านในชุมชนจำนวน 60 ครัวเรือนได้รับความรู้เกี่ยวกับสารพิษตกค้างในพืชผักที่เป็นโทษแก่ร่างกายและมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการปลูกผักกินเองทำให้ปราศจากสารพิษที่ตกค้างในร่างกายและหันกลับมาปลูกผักกินเองในครัวเรือนเพื่อลดรายได่เพิ่มรายจ่าย ซึ่งวิทยากรชี้ถึงโทษของสารพิษที่ตกค้างในผักที่ไปซื้อมาจากตลาด และได้แนะนำให้ชาวบ้านในชุมชนใช้พื้นที่บริเวณรอบ ๆ บ้านปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือน โดยไม่ต้องซื้อ และไม่ต้องกังวลสารตกค้างในผัก ปราชญ์ชาวบ้านได้อธิบายและให้ความรู้และสอนวิธีการทำยาฉีดพ่นแมลงที่กัดกินผัก โดยนำใบต้นยอ ใบของสะเดานำมาตำให้ละเอียด โดยผสมกับน้ำและกรองเอาน้ำนำไปฉีดพ่นผักของตนเอง โดยไม่ต้องไปซื้อยาฉีดพ่นมาจากตลาดซึ่งมีราคาที่แพง และยาฆ่าแมลงที่ได้ทำกันเองในชุมชน ก็สามารถหาได้ในหมู่บ้าน เพราะเป็นสมุนไพรป่า ซึ่งจะมีอยู่แล้ว เช่น ใบยอ ใบสะเดา ซึ่งมีรสขม ทำให้ชาวบ้านสามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ได้เลย โดยไม่ต้องนำเงินไปซื้อมาช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกวิธีหนึ่ง
    • และชาวบ้านเมื่อมีความรู้จากปราชญ์หมู่บ้านในครั้งแรกแล้ว สามารถจับกลุ่มหรือทำเป็นครัวเรือนไว้ฉีดพ่นผักของครอบครัวตนเองได้เลย ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีกผักสะอาดปราศจากสารตกค้างรับประทานในครัวเรือน ไม่ทำลายสุขภาพทำให้ชาวบ้านได้ทราบถึงโทษของสารพิษ และมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ปลูกผักรอบๆบริเวณบ้านทุกครัวเรือน โดยไม่ใช้สารเคมีฉีดพ่นผัก แต่หันมาใช้สมุนไพรในหมู่บ้านน้ำมาฉีดพ่นผักจนเกิดเครือข่ายปลูกผักปลอดสารพิษ

     

    60 60

    32. อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารเคมี/รับสมัครผู้เข้าาร่วมกิจกรรม

    วันที่ 6 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดอบรม
    2. ประสานวิทยากรและคนในชุมชน นายธนโชติ สารพร หมอดินประจำหมู่บ้าน ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ย การเตรียมดินให้เหมาะสม 3. จัดเตรียมเอกสารในการเข้าร่วมการอบรมโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ตัวแทนในครัวเรือนจำนวน 60 คนเข้าร่วมอบรมการทำปุ็ยหมักชีวภาพและนำ้หมักชีวภาพโดยมีปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรจิตอาสา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านในชุมชนได้ทราบความรู้เรื่องการใช้ยาฉีดพ่นผักทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่ต้องไปซื้อยาในตลาดราคาแพง ชาวบ้านสามารถทราบและเข้าใจ คณะแกนนำและผู้นำหมู่บ้านได้เปิดรับสมัครสมาชิกที่มีความสนใจเกี่ยวกับการปลูกผัก โดยไม่ใช้สารเคมีชาวบ้านได้เข้าร่วมสมัครร่วมกิจกรรมชาวบ้าน จำนวน 60 ครัวเรือน โดยได้ดำเนินการและมีข้อตกลร่วมกันทุกครัวเรือน จะปลูกผักปลอดสารเคมีไว้กินเองในครัวเรือน โดยไม่ฉีดยาพ่นจากตลาด แต่จะหันมาแปรรูปพืชผักที่มีอยู่นำมาทำเป็นยาฆ่าแมลงฉีดพ่นเอง โดยจะใช้บริเวณรอบ ๆ บ้านที่พอมีเหลือครัวเรือนละ 1 แปลง อย่างน้อย โดยผักที่ปลูกต้องใช้ปุ๋ยหมักและปลอดสารพิษ

     

    60 60

    33. ทำแปลงเพาะเมล็ดพืช

    วันที่ 7 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ
    2. เตรียมผู้เข้าร่วมโดยการคัดเลือกหรือสมัครจากคนในชุมชนจำนวน 60 คน
    3. เตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูก ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 60 คนในการจัดทำแปลงเพาะเมล็ดพืชซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะให้กับคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมแปลงเพาะพันธ์พืช โดยมีปราชญ์ชุมชนได้แนะนำเห็นถึงความสำคัญร่วมกันทำเกษตร โดยให้พื้นที่ว่าง ๆ บริเวณรอบ ๆ บ้านรวมตัวกัน ทำแปลงผักร่วมกัน เพราะการทำงานร่วมกันก่อให้เกิดความคิดที่แตกต่างตามมา เสนอ และแลกเปลี่ยนกันคิด ได้พูดคุยกันอีกส่วนหนึ่งก่อให้เกิดความสมามัคคีในชุมชน และผักที่ปลูกร่วมกันก็ได้แบ่งปันกันกิน โดยทุกครัวเรือนสามารถมีผักปลอดสารพิษไว้ปรุงอาหาร เป็นการป้องกันจากการซื้อผักในตลาดที่มีสารพิษตกค้าง และช่วยให้ประหยัดในการใช้จ่ายชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับกรปลูกผักปลอดสารพิษ ทราบถึงประโยชน์และโทษของสารตกค้าง ได้เข้าร่วมสมัครเข้าโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ได้มีสมาชิกร่วมทำแปลงผักเพาะเมล็ดพืชไว้กินเองในหมู่บ้าน จำนวน 60 ครัวเรือน เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบ

     

    60 60

    34. อบรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

    วันที่ 8 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการนัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการอบรมการทำปุ๋ยหมักแก่คนในชุมชน
    2. ประสานแกนนำ ปราชญ์ชุมชนในการเข้าร่วมอบรม
    3. เตรียมสถานที่การอบรม ตัวแทนครอบครัวจำนวน 60 คนโดยมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีจิตอาสาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพแก่คนในชุมชน ได้เชิญวิทยากรในชุมชนใกล้เคียง นายธนโชติ สารพร ซึ่งเป็นหมอดิน มาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหลักร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนครอบครัวในชุมชนบ้านบางโกระ จำนวน 60 คน เข้าร่วมรับฟังการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ โดยประธานโครงการได้เชิญวิทยากรในชุมชนใกล้เคียง นายธนโชติ สารพรซึ่งเป็นหมอดิน พร้อมทั้งร่วมกันทำปุ๋ยหมัก เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักโดยได้ให้ชาวบ้านนำวัสดุในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพมาร่วมกันตามขั้นตอนที่ปราชญ์แนะนำ และหมักน้ำหมักชีวภาพ EM โดยชาวบ้านได้นำผักที่มีในหมู่บ้าน เช่น ผักตบ แกบล ขุยมะพร้าว มูลสัตว์ มูลไก่ สารเร่ง EM ต่าง ๆ โดยได้ร่วมกันทำและแยกเป็นกลุ่มๆ หลังจากทำเสร็จเรียบร้อย ได้จัดแบ่งให้กับชาวบ้านนำไปทดลองใช้ เพื่อเป็นตัวอย่างกับครัวเรือนอื่น ๆ ที่ไม่มีโอกาสและเวลาได้เข้าร่วมชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวับการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ มีปุ๋ยที่ผลิตเองนำไปใส่ผักสวนตนเอง มีปุ๋ยที่ไม่ต้องใช้เงินไปซื้อ เพราะได้นำวัสดุต่าง ๆ ที่มีในชุมชนมาแปรรูปทำเอง ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายมาก

     

    60 60

    35. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)ครั้งที่ 6เดือนมีนาคม

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมประชุมสภาผู้นำ
    2. เตรียมข้อมูลเอกสาร
    3. ประสานผู้เข้าร่วมประชุม
    4. เตรียมสถานที่
    5. ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย คณะทำงานกับแกนนำชุมชน จำนวน 45 คนร่วมประชุมสภาผู้นำณ.อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00 น. เพื่อมาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ คือ ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนที่กำลังประสบกับเศรษฐกิจ ข้าวยาก หมากแพง เข้าสู่ฤดูร้อน น้ำดื่ม น้ำใช้ก็มีไม่เพียงพอ สำหรับใช้ในปีนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสภาผู้นำ จำนวน 45 คนเข้าร่วมประชุม ทางผู้นำหมู่บ้านได้พยายามให้แนวทางในการใช้น้ำกันอย่างประหยัด เพื่อให้ได้ใช้กันทั่วทุกครัวเรือน น้ำที่ใช้แล้วให้หมุนเวียนมารดน้ำต้นไม้ ตลอดจนชั่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อน ใบไม้ร่วงชาวเกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนมากไม่สามารถกรีดยางได้ ทำให้รายได้ลดน้อยลงอีกในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ยังมีความจำเป็นต้องใช้กันอยู่ ทางแกนนำหมู่บ้านได้พยายามพูดคุยและให้คำแนะนำให้ทุกคนช่วยกันประหยัดและลดในส่วนที่ไม่มีความจำเป็นลง โดยให้ทุกคนจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งสามารถทราบได้ว่าส่วนไหนจำเป็น ส่วนไหนไม่มีความจำเป็น และในส่วนหนึ่งของเงินกองทุนที่ชาวบ้านได้กู้มาให้นำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จำเป็นและให้จัดทำ รายรับ-รายจ่าย ออกมาเป็นบัญชี สามารถควบคุมและทราบรายรับ รายจ่ายได้
    • เกิดสภาผู้นำสามารถวิเคราะห์ปัญหาคนในชุมชน / ชาวบ้านในชุมชนสามารถจัำทำบัญชีได้ สามารถรู้ถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามารถบริหารเงินในครอบครัวตามหลักและวิธีที่ถุกต้อง คือใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด แยกรายรับ - รายจ่ายได้ถูกต้อง มองเห้นถึงค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย สามารถตัดออกไปได้สามารถแก้ปัญหารายจ่ายได้บางส่วน ชาวบ้านในชุมชนปราศจากปัญหาหนี้สินนอกระบบ ซึ่งมีดอกเบี้ยที่สูง และปัญหาอีกมากมาย

     

    45 45

    36. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋อครั้งที่ง6

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมประชุมสภาผู้นำ
    2. เตรียมข้อมูลเอกสาร
    3. ประสานผู้เข้าร่วมประชุม
    4. เตรียมสถานที่
    5. ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย คณะทำงานกับแกนนำชุมชน 23 คนร่วมประชุมสภาผู้นำณ.อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00น.
    6. ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระ ม.2 ได้สมัครเป็นสมาชิกเก็บออมของธนาคารการออมในกระป๋อง จำนวน 60 ครัวเรือน แกนนำและทีมคณะกรรมการ ผู้นำชุมชนได้นัดหมายให้สมาชิกที่สมัครเข้าโครงการออมเงิน นำเงินมาฝาก ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านบางโกระ ในทุกๆวันที่ 5 ของเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้มีคณะกรรมการและแกนนำชุมชนที่ได้เสียสละเวลาเข้ามาทำงานให้กับหมู่บ้านโดยไม่รับค่าตอบแทน ซึ่งในเวลาเก็บออมเงินดังกล่าวในช่วงกลางปีเป็นต้นมา ทางชาวบ้านและคณะกรรมการได้ตกลงร่วมกันว่าจะเก็บออมเงินในคราวเดียวกับการนำเงินกองทุน โดยทางสมาชิกจะฝากกับชุดเก็บออมเงินกับธนาคารกระป๋องหรือฝากกับเงินกองทุนหมู่บ้าน และบางส่วนได้เข้าไว้ทั้งสองกองทุน และในส่วนธนาคารกระป๋องประจำเดือนก็ได้มีสมาชิกซึ่งมาฝากเป็นประจำอยู่แล้วในแต่ละเดือน จำนวน 60 ครัวเรือน เป็นเงิน 18,000 บาท ซึ่งทางผู้นำชุมชนได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากไว้กับธนาคารในทุก ๆ เดือน เพื่อเก็บไว้ให้กับชาวบ้าน
    • รวมมีเงินเก็บประจำเดือนนี้ 10,800 บาท

     

    60 60

    37. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่6มีนาคม

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมประชุมสภาผู้นำ
    2. เตรียมข้อมูลเอกสาร
    3. ประสานผู้เข้าร่วมประชุม
    4. เตรียมสถานที่
    5. ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย คณะทำงานกับแกนนำชุมชน 23 คนร่วมประชุมสภาผู้นำณ.อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00น.เพื่อเข้ามากำหนดวิเคราะห์การทำงานปัญหาในชุมชนร่วมกัน เสนอแนะและปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานโครงการและสมาชิกได้สรุปผลที่ได้จัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมี อบรมการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
    • ทำให้ชาวบ้านในตำบลบางโกระได้รับความรู้เกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ และทำปุ๋ยหมัก ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาหน้าดินจากปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้านรวมตัวกันทำแปลงผักรอบ ๆ บริเวณบ้าน และมีแปลงผักรวมของคนในชุมชน
    • ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีอีกส่วนหนึ่ง และได้ใช้ประโยชน์จากพืชผักที่เน่าเสียแล้ว ใช้ทีมในหมู่บ้านนำมาแปรรูปได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
    • จากการดำเนินกิจที่ผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมี การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพทำให้ประชาชน ม.2 ตำบลบางโกระ ให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมในชุมชนโดยเฉพาะ การปลูกผักกินเอง การออมทรัพย์ในแต่ละเดือน เกิดรายได้ ลดรายจ่าย โดยมีผู้เข้าร่วมและให้ความร่วมมือในการดำเนินนกิจกรรม 28 ครัวเรือน และ กลุ่มออมทรัพย์ 60 ครัวเรือน เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนพืชผักสวนครัว การใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ในการปลูกผักร่วมกันในการใช้สาธารณประโยชน์

     

    28 28

    38. ร่วมลงแขกเตรียมแปลงผักและปลูกผักในหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้าน

    วันที่ 5 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาชนในชุมชนจำนวน 50คน เข้าร่วมฝึกอบรมโดยประสานวิทยากรอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องการใช้ยาฉีดพ่นทำให้สารตกค้างในผักที่เรานำมารับประทานผักทำปุ๋ยหมักและน้ำหมัก EM

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านได้ทราบถึงโทษของผักที่ขายตามท้องตลาด จึงได้มีมติกันว่าให้คนในชุมชนพร้อมใจกันจะปลูกผักไว้รับประทานอาหารกันเองในครัวเรือน โดยใช้บริเวณรอบๆบ้าน หลังละ 1 แปลงเป็นอย่างน้อย และได้เป็นแปลงสาธิตไว้ให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จำนวน 1 แปลงรวม โดยได้กำหนดความรับผิดชอบดูแลร่วมกัน และได้จัดแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ มอบหมายความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่ม ให้กลุ่มคณะสภาผู้นำ และแกนนำเยาวชนนำผักไปแบ่งให้ชาวบ้านในชุมชน เพื่อปรุงเป็นอาหาร
    • เกิดแปลงผักรวมในชุมชนจากการลงมือปฏิบัติการของประชาชนคนจิตอาสาจำนวน 50 คนเข้าร่วมจัดทำและร่วมปลูก และร่วมรับผลประโยชน์ โดยใช้พื้นที่สาธารณะปลููกกินใช้ร่วมกัน ทุกคนในชุมชนมีความเป็นเจ้าของร่วม มีผักปลอดสารพิษทำให้สุขภาพของประชาชนในชุมชนแข็งแรง

     

    50 50

    39. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)ครั้งที่ 7เดือนเมษายน

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำสภาเศรษฐกิจ จำนวน 45 คน
    2. เปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
    3. เตรียมเอกสารข้อมูล
    4. เตรียมสถานที่การประชุม สภาผู้นำ คณะทำงาน 45 คนร่วมจัดการประชุมสภาผู้นำ ณ.อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    5. ประธานโครงการ คณะทำงานสภาผู้นำสภาเศรษฐกิจ จำนวน 45 คน ได้เปิดรับสมัครเงินกองทุนหมู่บ้าน ในเวลา 13.00 น. - 15.00 น. ทุกๆวันที่ 5 ของเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีชาวบ้านในชุมชนได้ลงสมัครทั้งสิ้น 154 ครัวเรือน เป็นไปตามวัตถุปสงค์ของประชาชนและแกนนำคณะทำงานร่วมกัน ทีมคณะกรรมการในกองทุน สามารถมีเงินเก็บเข้ากองกลางของแม่บ้านเป็นจำนวนเงิน หุ้นๆละ 100 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 15,400 บาท และทางคณะทำงานได้นำเงินจำนวนดังกล่าวนำไปฝากเข้าบัญชีกองกลางหมู่บ้านไว้เพื่อเปิดให้ชาวบ้านที่มีความจำเป็นกู้ในครั้งต่อไป
    • มีชาวบ้านในชุมชนสนใจและลงสมัครสมาชิกเงินกองทุน 154 หุ้นๆละ 100 บาทสามารถมีเงินหมุนเวียนไว้ให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน สามารถเข้ากู้ได้ทุกหุ้นเท่า ๆ กันหุ้นละ 20,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย เพื่อนำเงินดังกล่าวหมุนเวียนให้หุ้นอื่นกู้ต่อไป

     

    45 45

    40. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่รู้7เมษายน

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำนำชุมชน
    3. เตรียมสถานที่
    4. เตรียมข้อมูลเพื่อการติดตามโครงการ แกนนำชุมชน คณะทำงานจำนวน 28 คนเข้าร่วมการประชุมติดตามการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ ณอาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    5. แกนนำชุมชน คณะทำงานจำนวน 28 คนเข้าร่วมการประชุมติดตามการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ ณอาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ ร่วมประเมินผล ติตามกิจกรรมการการสมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้ร่วมกิจกรรมกันลงแขกร่วมกันทำแปลงผักในพื้นที่ของหมู่บ้าน โดยได้นัดวันและเวลาที่สมาชิกสะดวกคือในช่วงวันอาทิตย์ที่เป็นวันหยุด มาพร้อมกันช่วนกันทำแปลงเพาะพันธ์ผัก โดยได้รับพันธ์ุผักจากเกษตรอำเภอมาร่วมสนับสนุน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีผักปลอดสารพิษได้ทานในครัวเรือน และเหลือสามารถนำไปแบ่งเพื่อนบ้านได้ทาน เจ้าหน้าที่เกษตรได้เข้ามาแนะนำให้คนในชุมชนรู้จักเลี้ยงไก่พันธุุ์พื้นเมือง เพราะไก่พันธุ์พื้นเมืองแข็งแรงไม่มีโรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ชาวบ้านได้เข้าร่วมโครงการไก่พันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงไว้รับประทานเป็นอาหารและขายได้ ทำให้เกิดรายได้อีกส่วนหนึ่งจนเกิดมีแปลงผักร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้พื้นที่ว่างในชุมชนและบริเวณรอบๆบ้านมีแปลงผักปลอดสารพิษ ชาวบ้านในชุมชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักเก็บออมเงิน ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้วัสดุที่มีในหมู่บ้านให้เป็นประโยชน์

     

    28 28

    41. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋อครั้งที่ง7

    วันที่ 10 เมษายน 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. เตรียมเอกสารการจัดเก็บเงิน
    3. ประสานงานแกน 60 ครัวเรือนแกนนำชุมชน จำนวน 60 คน นำเงินมาฝากประจำทุกเดือน ตามวันและเวลาที่กำหนดเดือนละ 1 ครั้ง ทุกๆ วันที่ 5 ของเดือนณ อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    4. สมาชิกจำนวน 60 คน ได้ดำเนินการเก็บออมเงินและนำเงินมาฝากประจำทุกๆเดือน ๆละ 1 ครั้ง ณ อาคารอเนกประสงค์ ในเวลา 13.00 น. - 15.00 น. ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระได้นำเงินมาฝากกับคณะกรรมการและแกนนำครัวเรือนละ 30 บาท ตามวันเวลาที่กำหนดและได้ร่วมนำเงินกองทุนอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในเดือนนี้ชาวบ้านได้นำเงินมาฝาก จำนวน 60 คนๆละ 30-35 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 18,500 บาท ตามกติกาที่กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนนำมารอรับฝากเงินทุก ๆ วันที่ 5 ของเดือนทำให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระ ม.2 รู้จักเก็บออมรู้กฎติกาหมู่บ้าน และมีเงินเก็บในครัวเรือนของตนเองทุกๆเดือน จำนวน 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 35 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 12,900 บาท

     

    60 60

    42. เพื่อส่งเสริมอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพขยายครัวเรือนการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

    วันที่ 15 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อวางแผนคัดเลือกครัวเรือนจำนวน 60 ครัวเรือนโดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก

    • ครัวเรือนที่มีรายได้เดือนละ 5000 บาท
    • เป็นคนในชุมชน ม.2 บ้านบางโกระ
    • มีผู้สูงอายุในความรับผิดชอบ 2 คนขี้นไป

    2.ประสานงานครัวเรือนจำนวน 60 ครัวเรือน การผ่านคัดเลือกมาอบรมให้ความรู้และแจกพันธุ์ไก่พื้นบ้าน บ้านละ 3 ตัว

    3.เชิญเกษตรตำบลให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้านและการทำอาหารเสริม ดังนี้

    • ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองด้วยวิธีการ ดังนี้ ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตร จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน ได้ความรู้ข้อดีและข้อเสียในการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
    1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน
    • หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
    • ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
    • ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
    • มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
    • เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ

    2.ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน

    • โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
    • ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง2
    • เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีกพันธุ์และการผสมพันธุ์ไก่ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อย

    3.ไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นบ้าน จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมา แล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำ เสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้ และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหาลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทน การปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดี แล้วจะพบว่า ไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรด ซึ่งนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าไก่โรดนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อนำไก่ทั้งสองพันธุ์มาผสมข้ามพันธุ์แล้ว จะได้ไก่ที่มีการเจริญเติบโตและการให้ไข่ที่ดีกว่าไก่พื้นบ้านเดิม

    4.นอกจากนี้มีความสามารถใน การหากินในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยลานบ้านเหมือนกับไก่พื้นบัานไดัอีกด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธู์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้ คือ

    • ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง
    • ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได้การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขี้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงการผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรง การแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
    • ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้นเกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง มีพันธุ์ไก่ไว้สำหรับปรุงเป็นอาหารทั้งไก่ไข่และเนื้อไก่ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

     

    60 60

    43. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 8เดือนพฤษภาคม

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสารการประชุม
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานคณะกรรมการสภา สภาผู้นำคณะทำงานจำนวน 45 คน ประชุมสภาผู้นำที่อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00 น.
    5. สภาผู้นำกับคณะทำงาน 45 คนนายปฏิพัทธ์หนักแดง ประธานโครงการและประธานเงินกองทุนได้เปิดให้ชาวบ้านเข้าร่วมสมัครสมาชิก และให้กู้ในวันที่ 5 ของทุกเดือน เวลา 13.00 น. มีชาวบ้านนำเงินหุ้นมาฝากทุกๆเดือน และชาวบ้านที่มีความจำเป็นเดือดร้อนได้ส่งคำร้องขอกู้ เดือนละประมาณ 3-5 คน ทางคณะกรรมการเงินกองทุนได้เข้าร่วมพิจารณาและอนุมัติเฉพาะบุคคลเป็นราย ๆ ไปเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ภายใน 3 วัน ทางคณะกรรมการได้โอนเงินเข้าบัญชีสมาชิกได้สามารถไปเบิกถอนใช้ได้ตามที่สมาชิกมีความประสงค์ชาวบ้านในชุมชนได้จัดทำบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ทราบถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในแต่ละครัวเรือน ทำให้สามารถมองได้เห็นชัดเจนถึงค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ไม่มีความจำเป็น สามารถลดและตัดในส่วนนั้นลงไปได้บ้าง จึงทำให้การแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายสามารถเดินมาถูกต้องตามทิศทางที่ทางคณะกรรมการได้กำหนดร่วมกันไว้ในที่ประชุมสมาชิกที่ส่งคำร้องกู้เงิน ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3-7 วัน สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนเป็นค่าใช้จ่าย และค่าเล่าเรียนของลูก ๆ โดยไม่มีดอกเบี้ย

     

    45 45

    44. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่8

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำครัวเรือน
    3. เตรียมสถานที่
    4. เตรียมเอกสารการจัดเก็บเงินออม สมาชิกครัวเรือน จำนวน 60 ครัวเรือนนำเงินออมส่งให้คณะกรรมการ ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    5. สมาชิกที่ได้ลงชื่อสมัครไว้ได้นำเงินเก็บของตนเองที่ได้ใส่กระปุกไว้นำเงินมาฝากตามเวลาที่กำหนด กฎระเบียบที่ได้วางไว้ เดือนละ 1 ครั้ง วันละ 1 บาท โดยมีคณะแกนนำและผู้นำชุมชนมานั่งรอรับฝากเงิน ณ เวลาและสถานที่่ที่ได้กำหนดไว้ และในเดือนนี้สมาชิกก็ได้ถือปฏิบัติเหมือนกับทุกๆเดือน คือนำเงินมาฝากไว้กับคณะกรรมการซึ่งได้นั่งรอรับฝากเงินตามวันเวลาที่กำหนดไว้ ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านบางโกระ ม.2 ทางชาวบ้านที่เป็นสมาชิกมีความพร้อมเพรียงและมีความสุขกับการที่ทางครัวเรือนของตนเองมีเงินเก็บออมทุกๆเดือน เป็นจำนวนเงิน 30 - 37 บาท ในแต่ละครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระ ม.2 รู้จักเก็บออม รู้กฎติกาหมู่บ้าน และมีเงินเก็บในครัวเรือนของตนเองทุก ๆ เดือน จำนวน 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 14,700 บาท

     

    60 60

    45. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนรู้ครั้งที่8พฤษภาคม

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำนำชุมชน
    3. เตรียมสถานที่
    4. สภาผู้นำ 15 คน คณะกรรมการโครงการ 8 คน จำนวน 23 คน จัดประชุมสภาผู้นำ โดยประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมแจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในอาชีพต่างๆให้แก่แม่บ้านสามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมก่อให้เกิดรายได้ต่อครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการร่วมกันคิด กันทำและร่วมพัฒนา ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมเห็นร่วมให้มีการพัฒนาอาชีพให้แม่บ้าน ทำให้แม่บ้านทำขนมส่งขายตามร้านค้าในชุมชน ครอบครัวสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สมาชิกเงินออมได้ร่วมมาฝากเงินกับคณะกรรมการประจำทุก ๆ เดือนทำให้ครัวเรือนมีเงินเก็บ

     

    28 28

    46. ส่งเสริมบทบาทของกลุ่มสตรีให้เข้าถึงอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการขยายกลุ่มแม่บ้านทำขนม

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนร่วมกับสตรีในชุมชน
    2. ประสานวิทยากร
    3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การทำขนม
    4. จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรมสตรีในชุมชนบ้านบางโกระจำนวน 60 คนฝึกอบรมทำขนม 3 วัน
    • วันที่ 1 การฝึกทำ “โดนัทจิ๋ว”
    • วันที 2 การฝึกทำ“กะหรี่ปั๊บ”
    • วันที 3 การฝึกทำ“ขนมเทียน ขนมเจาะหู ขนมจาก” ณอาคารกลุ่มสตรีบ้านบางโกระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มสตรีจำนวน 60 คน มีความรู้เกี่ยวกับการทำโดนัทจิ๋วกะหรี่ป๊บ ขนมเทียนขนมเจาะหูขนมจาก โดยวิทยากรเริ่มจาการแนะนำอุปกรณ์ในการทำขนมโดนัทจิ๋ว ดังนี้
    • แป้งเค้ก 150 กรัมผงฟู 4 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำตาลทราย 100 กรัม นมสดรสจืด 50 กรัม ไข่ไก่ 3 ฟอง เนยสดละลาย 30 กรัม กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา ส่วนผสมตกแต่งลูกเกด ถั่วต่าง ๆ ผงโกโก้
    • แบ่งผสมลงในแป้งที่ตีสำเร็จแล้ว คนจนเนียนเข้ากันไม่เป็นเม็ดเป็นอันใช้ได้ค่ะ
    • วิธีทำ
    1. ร่อนแป้งเค้ก+ผงฟู + เกลือ เข้ากันพักไว้
    2. เตรียมเครื่องตีหัวตะกร้อม นำไข่ไก่ และน้ำตาลทรายตีให้เข้ากันจนส่วนผสมข้นขาว (ความเร็วสูง 3 – 5 นาที)
    3. นำนมสดผสมกลิ่นวนิลา จากนั้นลดความเร็วต่ำ เติมส่วนผสมของแห้งลงไปสลับกับนมสดที่ผสมกลิ่นวนิลา
    4. จากนั้นตีต่อความเร็วปานกลางให้ส่วนผสมเข้ากันอีก 2 – 3 นาที ตีจนส่วนผสมเนียน
    5. ลดความเร็วต่ำ ใส่เนยสดละลาย(อุ่น) ลงไปโดยเทเนยสดให้เป็นสาย จนหมด เพิ่มความเร็วปานกลางตีต่ออีก 1 – 2 นาทีหรือจนส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นตีความเร็วต่ำอีก 1 นาทีเพื่อตัดฟองอากาศและทำให้ขนมเนียน
    • ด้วยสูตรขนมแต่ละชนิดมีการดัดแปลงให้เหมาะกับพื้นที่จึงผู้สั่งขนมไปขายหรือทำเป็นอาหารว่างในเวลามีการประชุมทั้งในและนอกหมู่บ้าน อาทิตย์ละ 4 วัน ๆ ละ 300 บาททำให้กลุ่มสตรีมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,200 บาทต่อคน

     

    60 60

    47. พัฒนาศักยภาพประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงนัดพูดคุยเพื่อปรับกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้มีการปรับแก้กิจกรรมตามแผนงานเพื่อดำเนินการตามแผนงานงวดที่2

     

    3 3

    48. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 9เดือนมิถุนายน

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสาร
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานงานคณะำรรมการผ่านเสียงตามสาย คณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข
    5. คณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข โดยมีประธานโครงการได้ร่วมรับฟังและร่วมเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นร่วมกับคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสามารถมองเห็นปัญหาในชุมชนและได้ร่วมกันวางแผนและแก้ปัญหาบางส่วนที่พอจะแก้ได้ และสามารถดำเนินการกิจกรรมต่อไปได้ในทิศทางตรงกัน เช่นการแก้ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายได้ กลุ่มสตรีบ้านบางโกระจัดทำขนมจากเดิมเป็นอาชีพเสริมกลายเป็นอาชีหลักเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

     

    45 45

    49. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่9

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำครัวเรือน
    3. เตรียมสถานที่
    4. เตรียมเอกสารการจัดเก็บเงินออม สมาชิกครัวเรือน จำนวน 60 ครัวเรือนนำเงินออมส่งให้คณะกรรมการ ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    5. ประธานและคณะแกนนำชุมชนนำฝากจากเงินที่เก็บวันละ 1 บาท ฝากทุกๆครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบกับครัวเรือนอื่น ๆ และครัวเรือนของสมาชิกก็ได้มีเงินเก็บกันทุกครัวเรือน ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านบางโกระ ม.2 ในเวลา 13.00 น. - 15.00 น. ชาวบ้านในชุมชนได้นำเงินมาฝากครัวเรือนละ 30 บาท ตามกฏกติกาที่กำหนดไว้ โดยชาวบ้านได้นำเงินมาเข้ากองทุนกับหมู่บ้านในทุกๆเดือนยุแล้ว คนละ 1 หุ้น หุ้นละ 100 บาท ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บออมเงินอีกทางหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ชาวบ้านที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นในการเก็บเงิน มีเงินเก็บ 2 ทาง คือ 1. กับธนาคารกระป๋อง เดือนละ 30 บาท2. เข้าสมทบเก็บเงินกับกองทุนหุ้นละ 100 บาททำให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระ ม.2 รู้จักเก็บออมรู้กฎติกาหมู่บ้าน และมีเงินเก็บในครัวเรือนของตนเองทุกๆเดือน จำนวน 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 16,500 บาท

     

    60 60

    50. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่9มิถุนายน

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำชุมชน
    3. เตรียมเอกสารการประเมิน
    4. เตรียมสถานที่ แกนนำชุมชนและคณะทำงานสภาชุมชน จำนวน 23 คน ได้มาร่วมกันเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาในชุมชนร่วมกัน โดยให้คณะกรรมการเข้าใจปัญหา และกำหนดทิศทางแก้ไขปัญหาตรงกัน ในแนวทางเดียวกัน โดยจัดให้มีรายงานผลทุกกิจกรรและได้ร่วมกันติดตามความก้าวหน้าของโครงการร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำชุมชนและคณะทำงานสภาชุมชน จำนวน 23 คน ได้มาร่วมกันเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาในชุมชนร่วมกัน โดยให้คณะกรรมการเข้าใจปัญหา และกำหนดทิศทางแก้ไขปัญหาตรงกัน ในแนวทางเดียวกัน โดยจัดให้มีรายงานผลทุกกิจกรรและได้ร่วมกันติดตามความก้าวหน้าของโครงการซึ่งโครงการกำลังจะสิ้นสุดและปิดโครงการในวันที่ 15ตุลาคม 59 สิ่งที่ได้จากโครงการคือการใช้สภาผู้นำในการแก้ปัญหาของชุมชน

     

    28 28

    51. คัดเลือกครอบครัวเรือนต้นแบบ และมอบรางวัล

    วันที่ 29 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุมสภาผู้นำ
    2. รับสมัครสมาชิกครัวเรือนจำนวน 60ครัวเรือน
    3. ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานแกนนำชุมชนตำบลบางโกระ ได้คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามข้อตกลงที่วางไว้ทุกกิจกรรม รวมทั้งหมด 60 ครัวเรือน แจ้งให้ทราบถึงผลการคัดเลือกและได้รับเลือกเข้ารับเงินรางวัลพร้อมประกาศนียบัตร ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านบางโกระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครอบครัว 60 คน1. ได้มีครัวเรือนที่เป็นแบบอย่างให้กับชุมชนในการเก็บออมเงิน จำนวน 4 ครัวเรือน คือ

    • บ้านรายนิกร หลักแดง
    • นายเติม ปานสังข์
    • นายณรงค์ศักดิ์ ช่วยบุญชู
    • นายวิเชียร พรัมมณี
    • นายสมภพ กลิ่นทอง

      1. ในครัวเรือนมีผักปลอดสารพิษไว้กิน เหลือกินสามารถแบ่งขาย ทำให้มีรายได้เพิ่มจากการที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ครัวเรือนต้นแบบมีผักปลอดสารพิษไว้กิน ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมนี้ชาวบ้านในชุมชนได้รับทราบถึงผลการคัดเลือกและได้เข้าร่วมประชุมการคัดเลือกของคนในชุมชนให้ทราบโดยทั่วกันถึงเหตุผล และกิจกรรมหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก
    • เป็นครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเก็บออมธนาคารกระป๋องเดือนละ 30 บาท

    • เป็นครัวเรือนที่ปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือน จำนวน 4 ครัวเรือน
    • เป็นครัวเรือนที่ไม่ซื้อปุ๋ยเคมีจากตลาดและทำปุ๋ยหมักหรือ EM เอง
    • เป็นครัวเรือนที่ไม่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง แต่ใช้สมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นยาฉีดพ่นแทน

    จากผลการคัดเลือก และเข้าตรวจเยี่ยมโดยประธานโครงการและคณะทำงานแกนนำชุมชน ได้คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ

     

    60 60

    52. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) ครั้งที่ 10เดือนกรกฎาคม

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสาร
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานงานคณะำรรมการผ่านเสียงตามสาย คณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงาน แกนนำชุมชน จำนวน 45 คน ร่วมกันคิดและวางแผนเพื่อจะเข้าใจแก้ปัญหา ที่อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ ประธานสภาผู้นำเกริ่นนำการประชุมเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ โครงการ 500,000 บาท ขอให้คนในชุมชนเสนอความต้องการและสะท้อนปัญหาจะได้สนับสนุนตรงกับความต้อง มติเห็นชอบในการสนับสนุนการสร้างที่จัดเก็บน้ำประจำหมู่บ้านไว้ใช้ในยามฝนแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค

     

    45 45

    53. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่10

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำครัวเรือน
    3. เตรียมสถานที่
    4. เตรียมเอกสารการจัดเก็บเงินออม สมาชิกครัวเรือน จำนวน 60 ครัวเรือนนำเงินออมส่งให้คณะกรรมการ ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ
    5. สมาชิก จำนวน 60 ครัวเรือน นำเงินมาฝากทุกๆเดือน วันละ 1 บาท เดือนละ 30 บาท ทุกครัวเรือนที่เป็นสมาชิกได้มีเงินออมทุกครัวเรือน ในทุก ๆ เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้คนในชุมชนสามารถมองเห็นความสำคัญของการเก็บออมเงิน รู้คุณค่าของการใช้เงินและการออมเงินจากที่ชาวบ้านที่เคยอยากออมเงินทุกคนต้องนำเงินไปฝากธนาคาร ซึ่งคนโดยส่วนมากคิดว่ามันเป็นการลำบากเพราะต้องเดินทางไปที่ธนาคาร และในการฝากเงินก็ไม่สามารถนำไปฝากได้ในจำนวนวันละ 1 บาท เพราะจะเป็นภาระในการเดินทาง ค่าน้ำมันรถ ค่าเสียเวลา ซึ่งก็ไม่อาจจะทำได้คือ เดินทางไปฝากวันละ 1 บาท
    • จากการที่ทางผู้นำชุมชนและคณะแกนนำได้แนะแนวทางและร่วมกันปฏิบัติทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ลำบาก เพราะเก็บเงินวันละแค่ 1 บาท ครบ 1 เดือน นำไปฝาก ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านบางโกระ ม.2 ซึ่งเป็นสถานที่ของชุมชนในหมู่บ้านอยู่แล้ว ทำให้ชาวบ้านได้รับความสะดวก และสามารถทำได้ชาวบ้านที่สมัครเป็นสมาชิกครัวเรือนต้นแบบนำเงินมาเก็บทุกๆเดือน ทำให้ชาวบ้านมีเงินเก็บออมเดือนละ 30 บาท จำนวน 60 ครัวเรือน เป็นเงิน 18,300 บาท

     

    60 60

    54. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่10กรกฎาคม

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานแกนนำชุมชนจำนวน 23 คน ประชุมสภาผู้นำโดยประธานสภา ชี้แจงการดำเนิโครงการตลอดระยะเวลา ปี 2559 ได้ร่วมกันรับสมัครสมาชิกลงแขกร่วมกันปลูกผักในครัวเรือนของตนเอง โดยผักที่ปลูกใช้ปุ๋ยหมักที่ชาวบ้านช่วยกันทำจากวัชพืชที่มีในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ชาวบ้านได้มีผักปลอดสารพิษและได้มีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักนำมาใช้เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่ง และโครงการอบรมให้ความรู้แม่บ้านทำขนม ได้ช่วยให้กลุ่มแม่บ้านนำความรู้มาประกอบอาชีพทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นชาวบ้านในชุมชนที่เป็นสมาชิกมีผักปลอดสารพิษปรุงเป็นอาหารในครัวเรือน และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายขนมในชุมชน

     

    28 28

    55. พัฒนาศักยภาพประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงปรึกษาการทำเอกสารการเงิน และการรายงานผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การตรวจเอกสารรายงานตลอดงวดที่ 2 และ 3 เพื่อปิดโครงการส่งรายงาน สจรส.ผลที่เกิดขึ้นเอกสารรายงานยังไม่ครบขาดเอกสารสำเนาบัตรประชาชน และได้กลับไปแก้ไข ก่อนมาพบพี่เลี้ยงอีกครั้ง

     

    3 2

    56. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)ครั้งที่ 11เดือนสิงหาคม

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสาร
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานงานคณะกรรมการผ่านเสียงตามสาย คณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำกับคณะทำงานจำนวน 45 คน นัดประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 11 เพื่อวางแผนในการประชุมพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นตามแผนปฏิบัติการในบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ และประสานงานความร่วมมือกับคนในชุมชน ได้พูดคุยกันในเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้ที่เกิดขึ้นคนในชุมชนมีมีอาชีพเสริมมีรายได้เพิ่มขึ้น พอเพียงแก่การใช้จ่ายในครัวเรือน

     

    45 45

    57. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่11

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดเก็บเงินทุกวันที่ 5 ของเดือนโโยมีการเก็บเงินออมทรัพย์ที่อาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระ เวลา13.00-15.00น.สมาชิกซึ่งเป็นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 60 ครัวเรือน ได้นำเงินมาฝากตามกฏและกติกาที่ได้วางไว้ โดยนำเงินที่สะสมไว้ในขวดพลาสติกหรือกระป๋องเหลือใช้ นำมาฝากไว้กับธนาคารตามเวลาที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางโกระ ม.2 รู้จักเก็บออมรู้กฎติกาหมู่บ้าน และมีเงินเก็บในครัวเรือนของตนเองทุกๆเดือน จำนวน 60 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 12,100 บาท ทำให้มีความตระหนักและเคารพกติกาในการฝากเงินออมทุกๆเดือน

     

    60 60

    58. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่11สิงหาคม

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสาร
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานงานคณะกรรมการผ่านเสียงตามสายคณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงาน แกนนำชุมชน จำนวน 23 คน ร่วมถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาบรลุตามเป้าหมายที่วางไว้การเกิดกลไกการทำงานการเกิดคณะกรรมการสภาผู้นำ การแก้ปัญหาของคนในชุมชนที่ผ่านการแลกเปลี่ยน แก้ไขปัญหาโดยคนในชุมชน

     

    28 28

    59. จัดทำรายงานเอกสารปิดโครงการ

    วันที่ 9 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง ตรวจสอบเอกสารการเงินทั้งหมดที่ทำในงวดที่ 2 และฟังชี้แจงการเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำให้แก้ไขเอกสารการเงิน ค่าวิทยากร การแนบสำเนาบัตรประชาชน การเรียงเอกสารแต่ละกิจกรรมให้เรียบร้อย และการเตรียมเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

     

    3 3

    60. สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)ครั้งที่ 12เดือนกันยายน

    วันที่ 10 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสภา
    2. เตรียมเอกสาร
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประสานงานคณะำรรมการผ่านเสียงตามสาย คณะทำงาน จำนวน 45 คน ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็น และได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดแนวทางแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมสภาผู้นำนัดประชุมผ่านเวทีสภาผู้นำครั้งที่11เดือนสิงหาคมโดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน45 คนผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการและรายงานสถานการเงินจากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา 1ปีตั้งแต่กันยายน58ถึงตุลาคม59 ดังนี้
    • งวดที่ 1 เงิน สสส.โอนมา 79,260 บาท งวดที่ 2 โอนมาเมื่อ 16 กุมภาพันธุ์ 59 จำนวน 99,080 บาท การดำเนินโครงการจะเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2559 โดยจะต้องปิดโครงการด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 118,890 บาท โดยมีเงินงวดที่ 3 ที่ สสส.ยังไม่ได้โอนมาจำนวน 19,810 บาท เจ้าหน้าที่การเงินจำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้คณะกรรมการผ่านสภาำผู้นำทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเสร็จสิ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2559

     

    45 45

    61. ส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องครั้งที่12

    วันที่ 10 กันยายน 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อมอบหมายคณะทำงานเก็บเงินออม
    2. ประสาน นัดหมาสมาชิกจำนวน 60ครัวเรือน
    3. จัดเตรียมสถานที่
    4. จัดเตรียมเอกสารเพื่อจัดทำข้อมูลการเก็บเงินออม สมาชิกจำนวน 60 ครัวเรือนนำเงินเก็บใส่กระปุกนำเงินมาฝาก ณอาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00น.เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกจำนวน 60 ครัวเรือนนำเงินเก็บใส่กระปุกนำเงินมาฝาก ณอาคารเอนกประสงค์บ้านบางโกระตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ชาวบ้านมีเงินเก็บออมทุกครัวเรือนๆละ 30 บาท/เดือนจำนวน 60 ครัว เป็นเงินทั้งสิ้น 222,000 บาท สิ่งที่เปลี่ยนแปลงฝึกนิสัยการออมให้กับเด็ก เยาวชน และคนในครอบครัว

     

    60 60

    62. ติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนครั้งที่12กันยายน

    วันที่ 10 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมสภา
    2. ประสานคณะกรรมการสภา
    3. เตรียมเอกสารการประชุม
    4. เตรียมสถานที่
    5. ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวคณะทำงานกับแกนนำชุมชน 28 คน จัดประชุมสภาที่อาคารเอนกประสงค์ตั้งแต่ 10.00 น
    6. คณะทำงาน และ แกนนำชุมชน 28 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันได้และได้พูดคุยวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน ตลอดระยะเวลาการทำโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานมีความเข้าใจทิศทางการทำงานร่วมกัน มีการทำงานร่วมกันตลอดจนติดตามกิจกรรมความก้าวหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อนำมาพัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นและก่อให่เกิดคณะทำงานที่มีความพร้อมและความสามัคคีของคนในชุมชนเกิดคณะทำงานที่เข้าใจในทิศทางการทำงาน ทำให้คนในชุมชนมีโอกาสร่วมกิจกรรม

     

    28 28

    63. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกคณะทำงานร่วมงานคนใต้สร้างสุข
    2. ประสานงานพี่เลี้ยงเพื่อส่งรายชื่อคณะทำงาน
    3. ร่วมประชุมคนใต้สร้างสุข ระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 3-5 ตุลาคม2559 ณหอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่เริ่มงานวันที่3ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป บรรยากาศในงานสร้างสุขภาคใต้ ประกอบด้วย นิทรรศการจากโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 14 จังหวัด และนิทรรศการเครือข่าย เช่น สสส. สปสช. กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ปัจจัยเสี่ยง ฯ ทำให้เห็นผลงานมีการแลกเปลี่ยนประเด็นความสำเร็จ ส่วนวันที่ 4 ตุลาคมซึ่งเป็นงานวันที่ 2 มีห้องแต่ละประเด็น เช่น ห้องชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ห้องกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ห้องเยาวชน ห้องปัจจัยเสี่ยงเป็นต้น ส่วนห้องชุมชนท้องน่าอยู่ในห้องมีการเสวนาแลกเปลี่ยนพื้นที่ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและทิศทางในการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในปีต่อไป

     

    2 2

    64. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำเอกสารรายงาน
    2. เตรียมเอกสารรายงายเพื่อโครงการ
    3. จัดทำเอกสารรูปเล่มและล้างรูปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน 5 เล่ม สำหรับส่งให้ สสส. และ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้อง

     

    2 2

    65. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 11 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นัดพี่เลี้ยงตรวจเอกสารายงานการเงิน ได้นำเอกสารการเงินและบัญชีปิดโครงการ ส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบหลักฐานการใช้เงิน ก่อนส่งให้ สจรส.ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงิน ต้องแก้ไข การเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่าวิทยากร ต้องเขียนให้ชัดเจน และแจกแจงรายละเอียดด้วย

     

    2 2

    66. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงตรวจเอกสารรายงานการเงิน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง นำเอกสารการเงินที่แก้ไขมาให้ตรวจสอบครั้งสุดท้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงินถูกต้อง และได้เขียนสรุปค่าใช้จ่ายด้วยใบปะหน้าแต่ละกิจกรรม ก่อนรวบรวมเป็นแฟ้มส่งให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบ

     

    3 3

    67. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ร่วมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ. ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และการรายงานผลในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงินงวดที่ 2 เบิกจ่ายถูกต้อง และสามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาเศรษฐกิจหมู่บ้านบ้านจำนวน45คน 2. มีการประชุมดำเนินกิจกรรมและประเมินผลสภาเศรษฐกิจหมู่บ้านเดือนละ1ครั้ง

    คณะกรรมการสภาเศรษฐกิจหมู่บ้านจำนวน45คนมีเข้าร่วมประชุมเดือนละ 1 ครั้ง12ครั้ง

    2 เพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านในการจัดการข้อมูล และให้คนตระหนักในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
    ตัวชี้วัด : 1. แกนนำหมู่บ้านมีความรู้ทักษะในการจัดเก็บข้อมูล 20คน 2. มีฐานข้อมูลหมู่บ้านที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ 3. คนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยร้อยละ 80

    แกนนำหมู่บ้านมีความรู้ในการจัดเก็บข้อมูล จำนวน20คนและนำไปใช้ เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนหมู่บ้าน

    3 เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
    ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนรายรับ-รายจ่ายที่ถูกต้องร้อยละ 50 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    แกนนำครัวเรือนสมัครเข้าร่วมในการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน60ครัวเรือนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    4 เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีการออม
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ได้จำนวน60ครัวเรือน

    การจัดเก็บเงินออมทรัพย์คนละ1บาทเดือนละ30บาทจากสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 60 คน

    5 เพื่อนำพื้นที่ว่างรอบครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    ตัวชี้วัด : 1.มีแปลงผักในครัวเรือนปลอดสารพิษ 30ครัวเรือน เรือนละ 1แปลง

    สมาชิกบ้านบางโกระจำนวน 30 ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 1 แปลง

    6 เพื่อให้เกิดครัวเรือนต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน
    ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนต้นแบบอย่างน้อย 20 ครัวเรือนเป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน

    ครัวเรือนต้นแบบ 20 ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยและเลี้ยงไก่เป็นแหล่งอาหารและแลกเปลี่ยนประการณ์ในชุมชนจึงเกิดเป็นศูนย์เรียนเศรษฐกิจชุมชนและครัวเรือนต้นแบบ

    7 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.การประชุมกับพี่เลี้ยง สจรส สสส.จำนวน 9ครั้ง 2.สถานที่ติดป้านปลอดบุหรี่ในชุมชนจำนวน 10ป้ายชุมชนให้ความร่วมมือในการไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ปลอดบุหรี่ 3.การบันทึกข้อมูลบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุขต้องใช้รูปกิจกรรมประกอบการรายงาน 4.การจัดทำเอกสารรายงานปิดโครงตามเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน) (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านในการจัดการข้อมูล และให้คนตระหนักในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (3) เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ (4) เพื่อให้ครัวเรือนในหมู่บ้านลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีการออม (5) เพื่อนำพื้นที่ว่างรอบครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (6) เพื่อให้เกิดครัวเรือนต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน (7) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    รหัสโครงการ 58-03792 รหัสสัญญา 58-00-2217 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ชุมชนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

    กระบวนการจัดทำโครงการร้อยมือสร้างวิถีชุมชนฯ

    การนำกระบวนการวิเคระห์สถานการณ์ในการจัดทำแผนชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การจัดการข้อมูล และให้คนตระหนักในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    ฐานข้อมูลหมู่บ้าน

    การจัดทำฐานข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดสภาเศรษฐกิจหมู่บ้านบ้านจำนวน45คน

    สภาผู้นำ(สภาเศรษฐกิจชุมชน)

    การนำรูปแบบประชุมสภาผู้นำแทนการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    การนำครัวเรือนเป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านเช่นการปลอดผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองกินเอง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีเป็นการลดรายจ่าย

    ครัวเรือนสมัครเข้าร่วมโครงการ20ครัวเรือน

    การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งศึกษาดูงานของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การปลูกผักในครัวเรือนปลอดสารพิษครัวเรือนละ 1แปลง

    แปลงผักในครัวเรือนปลอดสารพิษ 30ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1แปลง

    การดำรงชีวิตตามวิถีพอเพียงนำมาใช้ในวิถีชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การลงแขกแปลงผัก เตรียมแปลงผักเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งของชุมชน

    กิจกรรมการลงแขกเตรียมแปลงผักและปลูกผักในหมู่บ้าน

    การจัดทำแผนการออกกำลังอย่างน้อยอาทิตย์ละ3 วัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ความร่วมมือของคนในชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมและไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ตลอดโครงการ

    ป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ 2ป้าย

    การณรงค์พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และลดนักสูบหน้า่ใหม่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การเรียนรู้ การดำรงวิถีพอเพียงชุมชน และฝึกปฎิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    บัญชีครัวเรือน 60 ครัวเรือน

    การรวบรวมมูลการบัญชีครัวเรือนไปใช้ประโยชน์ในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ชาวบ้านในชุมชนจำนวน 60 ครัวเรือนได้รับความรู้เกี่ยวกับสารพิษตกค้างในพืชผักที่เป็นโทษแก่ร่างกายและมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการปลูกผักกินเองทำให้ปราศจากสารพิษที่ตกค้างในร่างกายและหันกลับมาปลูกผักกินเองในครัวเรือนเพื่อลดรายได่เพิ่มรายจ่ายโดยนำใบต้นยอ ใบของสะเดานำมาตำให้ละเอียด โดยผสมกับน้ำและกรองเอาน้ำนำไปฉีดพ่นผักของตนเอง

    การปลูกผักปลอดสารพิษ

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพแก่คนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ส่งเสริมบทบาทของกลุ่มสตรีให้เข้าถึงอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการขยายกลุ่มแม่บ้านทำขนมและการปลูปผักครัวเรือนละ1 แปลงเป็นการเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

    กิจกรรมการฝึกอาชีพการทำขนมและปลูกผักในครัวเรือน

    การเปิดตลาดชุมชนเพื่อนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจำหน่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาการออมเงินและการปลูกผักครัวเรือนละ 1 แปลง

    กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยธนาคารการออมในกระป๋องและการปลูกผัก60ครัวเรือน

    การจัดตั้งธานคารหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียน สภาชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 10 ครั้ง

    การประชุมสภาผู้นำ

    การนำรูปแบบการประชุมสภาในการติดตามประเมินแก้ใขสรุปและถอดบทเรียนทุกครั้งก่อน หลังและเสร็จสิ้นกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การใช้พื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านในการจัดทำแปลงผักสาธารณะของชุมชน

    กิจกรรมแขกเตรียมแปลงผักและปลูกผักในหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้าน

    การใช้พื้นที่สาธาณะเป็นพื้นที่ดำเนินกิจกรรมร่วมของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การมอบหมายภาระกิจร่วมกันดูแล ทำอย่างต่อเนื่องกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลแปลงผักรวมของหมู่บ้าน โดยกำหนดออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานสภาผู้นำ เด็ก เยาวชน

    กิจกรรมการปลูกผักของชุมชน

    การสนับสนุนกิจกรรมแก่เด็ก เยาวชนในชุมชน(สร้างคนจิตอาสา)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    จัดเวทีวางแผนการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย และวางแผนการออม รวมถึงจัดทำข้อตกลงของหมู่บ้านในเรื่องการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ และแผนการออมของครัวเรือน

    การจัดทำบัญชีครัวเรือนและกิจกรรมการออมทรัพย์

    การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มทักษะการจัดทำข้อมูลครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    การสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของกลุ่มสตรีทำขนม

    การจดบันทึก การปันผลจากการทำขนมเดือนละ1200บาท

    องค์ปรกครองส่วนท้องถิ่นตำบลบางโกระสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มสตรี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การลงแขกเตรียมแปลงผักและปลูกผักในหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน

    สมาชิกในชุมนจำนวน 50คน

    การใช้พื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนเป็นพื้นที่สาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การจัดทำบัญชีครัวเรือนและการปลูกผัก เลี้ยงไก่และการออม

    ศูนย์เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    การประกวดครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การรู้จักแบ่งปันและการทำงานเพื่อส่วนรวมเช่นการปลูปผักเพื่อแบ่งปันแก่คนในชุมชน

    กิจกรรมจิดอาสาเพื่อคนในชุมชนการปลูกผักในพื้นที่สาธารณะของชุมชน

    การสนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 58-03792

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ปฏิพัทธ์ หนักแดง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด