directions_run

ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสหจร ชุมคช

ชื่อโครงการ ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-0186 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-0186 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 198,500.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปจจุบันยางพาราเขาครอบครองพื้นที่ทําการเกษตรอยางตอเนื่อง ขอมูลพื้นที่ปลูกยางพาราของสถาบันวิจัยยาง ปพ.ศ. 2558 รายงานวา ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งสิ้น 18,761,231 ไร ประกอบดวย พื้นที่ปลูกยางของภาคใตจํานวน 11,906,882 ไร รองลงมาคือ พื้นที่ปลูกยางพาราของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 3,477,303 ไร ภาคตะวันออกรวมกับภาคกลาง จํานวน 2,509,644 ไร สวนภาคเหนือพื้นที่ปลูกยางพารานอยที่สุด จํานวน 867,402 ไร พื้นที่ปลูกยางทั้งหมดของประเทศที่กลาวถึง มีจํานวน พื้นที่ซึ่งเปดกรีดไปแลว จํานวนรวมทั้งสิ้น 10,896,957 ไร คิดเปนรอยละ 85 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด ในจํานวนนี้ใหผลผลิตเฉลี่ย 282 กิโลกรัม/ไร/ป  อยางไรก็ตามพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทยยังมีอัตราที่ เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาวะวิกฤติน้ำมันเชื้อเพลิง มีสวนชวยสรางโอกาสใหกับยางธรรมชาติขึ้นมาอยูเหนือยางเทียม อยางไมคาดคิด ความตองการยางธรรมชาติในเชิงอุตสาหกรรมจึงสูงขึ้น ชวยฉุดใหราคายางพาราสูงตาม สงผลใหพื้นที่ปลูกยางพารา ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว นอกจากปาบนพื้นที่สูงจะถูกแทนที่ดวย สวนยางพาราแลว บริเวณที่ราบลุมที่เคยเปนบานของพืชไร วันนี้ยังถูกแทนที่ดวยยางพาราจํานวนไมนอย ทั้งๆ ที่ผลผลิตเฉลี่ยตอไรจะต่ำมากก็ตาม เมื่อรวมพื้นที่ปลูกยางพาราของทั้งจังหวัดสงขลา จังหวัด พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช เขาดวยกันพบวามีพื้นที่ปลูกยาง ทั้งสิ้นประมาณ 3,430,422 ไร ในจํานวนพื้นที่นี้พบวามีพื้นที่ปาอนุรักษรวมอยูดวยจํานวนหนึ่ง จากขอมูลภาพถายทางอากาศเมื่อป พ.ศ. 2545 ซึ่งกรมทรัพยากรปาไมลุมน้ำทะเลสาบสงขลา ไดรายงาน โดยอางจากรายงานโครงการจัดทําแผนแมบทการพัฒนาลุมน้ำทะเลสาบสงขลา สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่ง - แวดลอม  ปพ.ศ. 2548 พบวาพื้นที่ปาอนุรักษไดถูกบุกรุกประมาณ 23,618 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหลานี้สวนใหญเปนพื้นที่ในเขตลุมน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ครอบคลุมบางสวนของจังหวัดสงขลา จังหวัด พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช การรุกปาเพื่อเปลี่ยนเปนพื้นที่การเกษตร สืบเนื่องจากพื้นที่เดิม ดินเกิดสภาวะเสื่อมโทรมสงผลใหผลผลิตลดจํานวนลง การแกปญหาของเกษตรกรวิธีที่งายที่สุดก็คือการขยายพื้นที่ปลูก เพื่อให ผลิตตอไรคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น แตดวยไมมีพื้นที่วางเปลาเหลืออยู เกษตรกรจึงเลือกที่จะรุกเขาไปทําแปลงเกษตรในพื้นที่อนุรักษซึ่งสวนใหญอยูในบริเวณพื้นที่ตนน้ำ แตดวยถูกปลูกฝงมาใหยึดติดกับระบบเกษตรกระแสหลักที่ยึดเอาเทคโนโลยีเปนตัวตั้ง เกษตรกรจึงทําเกษตร ในระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สงผลใหสวนยางพาราทั้งหมดในทุกพื้นที่ เปนสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทั้งสิ้น ในมิติที่เปนประโยชนของการจัดการ เกษตรกรรมระบบนี้เกษตรกรจะไดคาตอบแทนสูง แตจะชักนําใหตนทุนสูงตามไปดวย ทั้งนี้เพราะตองวิ่งตามเทคโนโลยีไปตลอดไม สิ้นสุด ในทางกลับกันหากพิจารณาในมิติความยั่งยืนของการจัดการเชิงเดี่ยวที่ปลูกในที่พื้นที่เดิมตอเนื่องกันประมาณ 3 รอบ ใชเวลา ประมาณ 60 ปหรือมากกวา จะพบวาอัตราการเจริญเติบโตของตน ยางพาราจะคอยๆ ลดขนาดลงตามลําดับ สงผลใหตนยางพารามี เปลือกบางลง และใหน้ํายางนอย เนื่องจากดินในแปลงปลูกพืช เชิงเดี่ยวเสื่อมคุณภาพลง ดวยเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของดิน ทั้งทางดานกายภาพ เคมีและชีววิทยา ที่สืบเนื่องมาจากการ ใชปุยเคมีและสารเคมีในแปลงปลูกยางพาราเปนเวลายาวนาน หากเขาไปตรวจสอบความหลากหลายของการทําหนาที่ของ สรรพชีวิตที่ผิวดินและในดินของสวนยางพาราเชิงเดี่ยว จะพบวาความ หลากหลายของสัตวในดิน ที่ถูกออกแบบมาใหทําหนาที่ลดขนาดของ ซากพืช เพื่อสงตอใหจุลินทรียชวยยอยสลายนั้นลดลงทั้งชนิดและ จํานวน สวนจุลินทรียที่ถูกออกแบบมาใหทําหนาที่ยอยสลายเศษซาก เพื่อคืนธาตุอาหารใหกับดินเพื่อใหดินสงตอใหกับรากพืชนั้น ก็ลด จํานวนความหลากหลายไมตางไปจากสัตวในดิน ความหลากหลายของสรรพชีวิตในดิน มีผลใหการทําหนาที่ใน การขับเคลื่อนพลังงาน และวงจรธาตุอาหารเริ่มติดขัด ดวยเพราะดินมี ความแนนทึบมากขึ้น สงผลใหการแลกเปลี่ยนกาซ และการระบายน้ำ ทําไดไมดีตามปกติ ทําใหกลุมจุลินทรียที่ใชออกซิเจนเปนตัวรับ อิเล็กตรอนลดจํานวนประชากรลง ขณะเดียวกันเกิดการพัฒนาให  จุลินทรียที่ใชสารอื่นเปนตัวรับอิเล็กตรอน ซึ่งใหคาพลังงานต่ํากวาเขา มาแทนที่อยางคอยเปนคอยไป    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของกลุมจุลินทรียดังกลาว ทําให ประสิทธิภาพของการยอยสลายเศษซากของสรรพชีวิต เพื่อคืนธาตุ อาหารใหกับดินลดลงตามลําดับ เนื่องจากตัวรับอิเล็กตรอนที่ไมใช ออกซิเจนจะใหคาพลังงานต่ำกวา โดยเฉพาะหากเปนจุลินทรียใช สารอินทรียเปนตัวรับอิเล็กตรอนจะใหคาพลังงานต่ำที่สุด ผลลัพธที่ได คือกระบวนการยอยสลายเปนไปอยางเชื่องชา ทําใหเศษซากดังกลาว ตกคางอยูในดินเนิ่นนานกวาที่ควรจะเปน ขณะเดียวกันกลไกดังกลาว มีสวนสนับสนุนใหผิวอนุภาคดินมีไฮโดรเจนไอออนจับเกาะในปริมาณ มากขึ้น จึงไมใชเรื่องแปลกที่ดินจะคอยๆพัฒนาไปสูความเปนกรดขึ้น อยางตอเนื่อง การเสื่อมของคุณภาพดินยังสรางผลกระทบกับวงจรธาตุ อาหารของระบบนิเวศทั้งระบบ เชน วงจรของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและธาตุอาหารอื่น วงจรธาตุอาหารดังกลาวจะถูกตัดตอน ใหขาดเปนชวงๆ ระบบนิเวศของดินในพื้นที่ปลูกยางพาราจึงขับเคลื่อน วงจรธาตุอาหารลดประสิทธิภาพลงอยางตอเนื่อง สงผลใหขาดธาตุ อาหารจําพวกไนโตรเจนในดินลดจํานวนลง    สวนฟอสฟอรัสแมจะยังมี อยูก็มิอาจใชประโยชนไดเนื่องจากไมไดอยูในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำไดดวยเพราะดินเปนกรด ดินที่ขาดธาตุอาหารหรือมีธาตุอาหารแตอยูในรูปที่ใช ประโยชนไมได จัดเปนดินที่เสื่อมความอุดมสมบูรณพืชที่อาศัยอยูใน ดินลักษณะดังกลาวจึงเติบโตไดนอยและใหผลผลิตต่ำ ทางออกของ เกษตรกรอยางงาย ก็คือการนําเขาธาตุอาหารดังกลาวสูดินมากขึ้นตามลําดับ แตอยางไรก็ตามแมวาจะเพิ่มปุยเคมีลงไปเทาใดก็หาเปน ประโยชนไม เพราะดินที่เปนกรดทําใหธาตุอาหารฟอสฟอรัสไมแตกตัว เปนไอออน โดยจะอยูในรูปสารประกอบของโลหะเปนสวนใหญ รากพืชจึงไมสามารถนําเขาเพื่อใชประโยชนได ดังนั้นแมวาเกษตรกรจะเพิ่มปุยเคมีลงไปในดินมาก สักเพียงใด ก็จะไมเกิดประโยชนกับตนยางพารา    ดวยเพราะไม สามารถนําธาตุอาหารชนิดนี้เขาสูรากเพื่อสงตอไปยังสวนตางๆของ เนื้อเยื่อที่ไดรับคําสั่งมา สุดทายก็จะเกิดสภาวะขาดแคลนธาตุอาหาร ดังกลาวในที่สุด ผลกระทบที่ตามมาก็คือตนยางพาราจะแสดงออกถึง  การจํากัดการเจริญเติบโตขึ้นที่ใบพืช โดยใบแกจะแสดงอาการสีซีดลง และมีเซลลตายเกิดขึ้นที่บริเวณตัวใบ  สภาพดังกลาวทําใหใบใหมลด ขนาดลง ซึ่งสามารถสังเกตไดชัดเจนวาเล็กลงกวาปกติมาก นอกจากนั้นยังเกิดผลกระทบกับทั้งสวนของเปลือกและขนาดของลําตน โดยเปลือกตนยางพาราจะลดความหนาลง สงผลใหจํานวนของทอน้ำยางที่พัฒนาตามโปรแกรมของเซลลแมผูใหกําเนิดมีจํานวนนอย ตามไปดวย ทําใหสงผลกระทบกับการผลิตของเนื้อยางที่ผลิตไดในรอบ วัน นั้นคือปริมาณเนื้อยางที่ผลิตไดลดจํานวนลงไปดวย เมื่อหันกลับมาพิจารณามิติของการปลูกยางพาราเชิง บูรณาการ ที่อาจเปนการใชพืชหลายชนิดปลูกแซม หรืออาจพัฒนาให ซับซอนสูการสรางสังคมพืช จะพบวาวิธีนี้เปนวิธีที่สอดคลองกับ ธรรมชาติเนื่องจากมีสวนชวยใหโครงสรางของดิน ทั้งทางกายภาพ เคมีและชีววิทยา ไดมีการพัฒนาตนเองไปสูการสรางสัดสวนขององคประกอบของโครงสรางของดินใหเหมาะสม เชน หากดินมีสภาพ ทางกายภาพที่มีชองวางระหวางเม็ดดินติดตอเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ก็จะชวยใหอากาศแพรผานลงไปในดินไดลึกมากขึ้น ขณะเดียวกันชวย ใหคารบอนไดออกไซดที่ถูกกักเก็บสามารถแพรออกจากดินสู บรรยากาศไดไมยุงยาก รากพืชก็จะทําหนาที่ไดสมบูรณขึ้น ทุกครั้งที่ฝนตก หากดินมีชองวางระหวาง อนุภาคดินติดตอ เชื่อมโยงเปนเครือขายถึงกันอยางเปนระบบ การระบายน้ำลงสูดินชั้น ลางจะกระทําไดเปยมประสิทธิภาพ จะไมมีน้ำถูกกักขังอยูระหวางชองวางอนุภาคดิน สงผลใหรากพืชไมเครียดเพราะขาดออกซิเจน สําหรับหายใจ เมื่อดินสามารถกักอากาศเอาไวในชองวางระหวาง อนุภาคดินไดมาก ก็จะมีไนโตรเจนสําหรับให้  จุลินทรียตรึงเพื่อ เปลี่ยนเปนไนเตรต ขณะเดียวกันก็มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสําหรับ ใหรากพืช สัตวในดิน และจุลินทรียใชในการหายใจเพื่อสรางพลังงาน หากการสรางพลังงานไมติดขัด การขับเคลื่อนวิถีภายในระบบชีวิตของ แตละสรรพชีวิตก็จะสะดวกและคลองตัว สงผลใหสภาวะแวดลอมของ ดินดีขึ้น สภาวะเชนวานี้จะสนับสนุนใหเกิดการชักนําใหสรรพชีวิตอื่นๆ ในที่อยูอาศัยอื่น ไดอพยพเขามามากขึ้นตามลําดับ หากเปนเชนนี้ไดก็ จะชวยใหดินพัฒนาไปสูสุขภาวะอยางตอเนื่อง ในธรรมชาติพัฒนาการ ของสังคมพืชไดใ ห ความสําคัญ กับความ หลากหลายของพันธุกรรม ทั้งพืช สัตวและจุลินทรีย ไดมีสวนรวมในการทําหนาที่ อ ยางเปนระบบ กรอบ ความคิด ดังกลาวมีสวน สนับสนุนใหเครื่องจักรมีชีวิต ในดินแตละภาคสวนไดทําหน้าที่สนับสนุนการ ขับเคลื่อนวงจรธาตุอาหาร ใหเคลื่อนตัวไดเร็วขึ้น และขยายเครือขายสูวงกวางมากขึ้น ทําใหมีปุยธรรมชาติคืนกลับสูดิน เพียงพอสําหรับการเฉลี่ยและแบงปนกัน ผลลัพธก็คือความแข็งแรง ของระบบนิเวศที่จะทยอยคืนกลับมาอยางชาๆ แตมั่นคง สุดทาย ระบบเกษตรเชนวานี้จะกาวยางสูมิติของความยั่งยืน หากเราสรางกรอบคิดการปลูกยางพารา โดยอาศัยหลักการ และเหตุผลดังกลาวขางตน ก็จะมี สวนชวยใหสังคมพืชปายางพารา ไดปรับตัวจากความเปราะบางสูความแข็งแรงของระบบ แมวาจะมี การคุกคามที่ทําใหเกิดภาวะเครียด จากตัวแปรใดๆ ก็ตาม สรรพชีวิต ก็สามารถปรับตัวโดยอาศัยกลไกการปองกันตัวเอง ชวยแกปญหา ทั้ง การแกปญหาเฉพาะสวนตัวหรือการแกปญหาแบบมีสวนรวม เชน จุลินทรียกลุมหนึ่งอาจชวยกันแยงชิงอาหาร หรือตัวรับอิเล็กตรอน ของจุลินทรียกอโรค ทําใหจุลินทรียกอโรคขาดอาหาร หรือพลังงาน สุดทายจุลินทรียกอโรคจะคอยๆ ลดจํานวนประชากรลงตามลําดับ อยางตอเนื่อง และหายไปในที่สุดโดยเกษตรกรไมตองพึ่งพาสารเคมี ที่เปนพิษแตอยางใด สังคมพืชสวนยางพารา มองดูก็คลายกับสังคมพืชใน ปาดิบชื้น เพียงแตมีจํานวน เรือนยอดของพืชเสมือนรม ขนาดและรูปแบบที่ซอน เหลื่อมในแนวดิ่งจํานวนนอย กวา แตจํานวนที่นอยกวานี้ก็ สามารถทําหนาที่ชวยดูดซับ และสะทอนรังสีอัลตราไวโอเลตไมใหกระทบกับประชากร ของจุลินทรียโดยตรง ทั้งนี้เพื่อใหเครื่องจักรที่มีชีวิตเหลานี้ไดทําหนาที่ ผลิตอินทรียวัตถุ และชวยคืนกลับธาตุอาหารใหกับดินผานกลไกของ การยอยสลายเพื่อสงตอใหกับพืช ทํานองเดียวกันธรรมชาติยังได ออกแบบใหโปรโตซัว คอยทําหนาที่ควบคุมประชากรของแบคทีเรีย ไมใหเพิ่มจํานวนเร็วมากเกินไป ทั้งนี้เพื่อความสอดคลองกับปริมาณใบ พืชที่รวงหลน รวมทั้งเศษซากพืชที่มีจํานวนสอดคลองกับประชากร ของสัตวกินซาก หากเราสามารถเขาถึงทุก มิติของการทําหนาที่ของสรรพชวีติ ในสังคมพืชปายางพารา เราก็จะ เขาใจไดวา แทจริงสังคมพืช ยางพารา เปนระบบชีวิตในระดับ ของสังคมชีวิต ระบบชีวิตในระดับ ดังกลาวนี้สรรพสิ่งที่อยูรวมกันถูก ออกแบบมาใหรวมรับผิดชอบ ภารกิจหลักและภารกิจรอง ในลักษณะที่สัมพันธและเชื่อมโยง ผลลัพธของความสําเร็จในการ ทําหนาที่ในระบบชีวิต จะชวยทุกชีวิตภายในระบบสามารถอยูรอด การอยูรวมจึงมีสวนชวยใหแตละชีวิตไดสรางโอกาสของการอยูรอด นั่นคือ สรรพสิ่งยอมเปนไปตามธรรมชาติกิจกรรมของสรรพชีวิต ที่ทํางานอยางสัมพันธและเชื่อมโยง ชวยใหเกิดระบบภูมิคุมกันตาม ธรรมชาติซึ่งจะครอบคลุมไปถึงตัวเกษตรกรเองดวย เนื่องจากการทําสวนยางแบบสังคมพืชปายางพารา ไมมีความจําเปนตองพึ่งพาปุยเคมี หรือสารเคมีอื่นใดใหเปน  สวนเกินกลายเปนตนทุนการผลิตที่ เกษตรกรตองมาแบกรับโดยไมจําเปน เนื่องจากดินมีปริมาณธาตุ อาหารในระดับหนึ่งที่เกิดจากการหมุนเวียนของธาตุอาหารภายใน วงจรธาตุอาหารแตละวงจรอยูแลว และธาตุอาหาร  เหลานั้นตนพืช สามารถใชเจริญเติบโตไดตลอดชีพจักร การสรางสังคมพืชในสวนยางพาราใหม หรือการพัฒนา สังคมพืชในสวนยางพาราเชิงเดี่ยวลวนสนับสนุนใหเกิดกลไก ที่สอดคลองกับธรรมชาติภายในระบบเกษตร โดยมุงเนนการให ความสําคัญกับคุณภาพของสิ่งแวดลอม และวิถีชีวิตของเกษตรกรไดมีหลักประกันเกี่ยวกับความเสี่ยงของตนทุนและราคาซื้อขายที่ แปรผัน และที่สําคัญคือ ชวยประกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการปนเปอน สารพิษและความเสื่อมโทรมของดิน ที่อาจพัฒนาไปสูตนทุนที่สูงมาก ขึ้นในอนาคต เนื่องจากอาจกอผลกระทบใหสรรพชีวิตทั้งตนน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งนําไปสูหายนะที่ไมอาจประมาณคาได

ขอมูลที่กลาวมาขางตนทั้งหมด ลวนบงชี้ใหเห็นวาระบบ เกษตรเชิงเดี่ยวในบริเวณพื้นที่ปาตนน้ำ นาจะเปนจุดเริ่มตนของ ประเด็นปญหาหลายๆ ประเด็นที่สัมพันธและเชื่อมโยงกันอยางเปน ระบบ จากตนน้ำสูปลายน้ำ และรายทาง กอใหเกิดผลกระทบกับ สรรพชีวิตที่เปนสวนประกอบของโครงสรางระบบนิเวศ ภายใตระบบ ธรรมชาติที่ซับซอน หากประสงคจะแกปญหาดังกลาวจะตองมองให ครบทุกมิติหลังจากนั้นจึงเริ่มตนแกปญหาแบบมีสวนรวมโดยเริ่มที่ตนน้ำ แลวเชื่อมโยงสูกลางน้ำและปลายน้ำอยางเปนระบบ ถึงจะทํา ใหทุกขของสรรพสิ่งของลุมน้ําคอยๆ คลี่คลายลงอยางมีพัฒนาการ
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มวิถีชุมชนคนเกษตรร่วมกับกลุ่มเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง จึงได้จัดทำฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง เพื่อปรับกระบวนทัศน์ในการทำสวนยางพาราของคนเมืองลุงให้เปลี่ยนจากระบบพืชเชิงเดี่ยวไปสู่ระบบพืชร่วมยางขึ้น รวมถึงสร้างและพัฒนากลไกเครือข่ายภาคประชาชน เกษตรกรคนเล็กคนน้อยในชุมชนพัทลุง ให้รู้และตระหนักถึงการพิษภัยของการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดของภาคประชาชนในการสร้างพัทลุงให้เป็นเมืองสีเขียวเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่มั่นคง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตพืชร่วมยาง
  2. เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นพื้นร่วมยาง
  3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนป่าร่วมยางและให้มีการสร้างกลไกการตลาดที่เอื้อต่อการเกษตรแบบพืชร่วมยาง
  4. เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 11. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลทุกเดือนครั้งที่ 1
  2. 4 เรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยืน
  3. เวทีเรียนรู้ออกแบบการปรับเปลี่ยนส่วนยางสู่พื้นที่พืชร่วมยาง (ครั้งที่ 1)
  4. 11.ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  5. เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง
  6. 11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  7. 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่ 1
  8. 8. จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น
  9. 5. สน้บสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง
  10. 7. จัดตั้งธนาคารปุ๋ยหมัก
  11. 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่2
  12. 10. ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน
  13. 13. เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุง 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ (ประธานกลุ่ม) แจ้งผลการอนุมัติโครงการและทำความเข้าใจโครงการ
  2. พี่เลี้ยงแนะนำ สสส. บทบาทและแนวทางการสนับสนุน  และแนะนำหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุง และรายละเอียดโครงการภาพร่วม ร่วมกันคิด ทำ สู่เมืองลุงสีเขียว
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงร่วมกันดำเนินการระดมความคิดเห็นของสมาชิกในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติการการดำเนินการ และลงปฏิทินการทำงาน
  4. มีการแบ่งบทบาทการทำงานของคณะทำงาน และนัดในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้เกิดคณะทำงานขับเคลือนโครงการฯ จำนวน 20 คน  คณะทำงานเข้าใจแนวทางการทำงานและแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงาน

 

20 0

2. 4 เรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยืน

วันที่ 16 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการได้ชี้แจงทำความเข้าใจและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยื
  2. กระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการพึ่งตนเอง
  3. เชฟจากกรุงเทพมาเยี่ยมชมสวนยางต้นแบบในการทำป่าร่วมยาง พร้อมด้วยสมาชิก
  4. เจ้าของสวนได้แนะนำพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ เพื่อนำไปปรุงอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้ความรู้ในการบริหารจัดการสวนยาง มีปลูกพืชหลากหลายชนิด และมีการแบ่งพืชระยะสั้น ให้ผลผลิตเร็ว  พืชระยะกลาง พืชระยะยาว  และเหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละแปลง และระบบนิเวศ
2.  สมาชิกได้มีความรู้และสามารถออกแบบที่จะปลูกต้นไม้ในสวนของตัวเอง เพื่อที่ได้เข้าถึงตลาดว่ามีความต้องการพืชชนิดไหนบ้าง
3.  ทำให้สมาชิกทุกคนได้แรงบันดาลใจในการทำป่าร่วมยางกลับไปทำในสวนของตัวเอง ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นจากการทำป่าร่วมยาง
4. ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นในการทำป่าร่วมยาง ทำให้เกิดความสุขในครอบครัว ได้กินอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพอีกด้วย
5. ได้เมนูอาหารใหม่ มีรสชาดอร่อย และมีความปลอดภัยเนื่องจากใช้พืชผักในสวนที่มีการทำแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาเคมีในสวน  ทำร่วมทุกคนมีความสุขที่เชฟจากกรุงเทพได้มาเยี่ยมชมที่สวน เชฟเองยังได้นำพืชผักจากสวนกลับไปปรุงอาหารด้วย ทำเกิดเครือข่ายเชื่อมโยงผลผลิต นำพืชผลในสวนไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

40 0

3. เวทีเรียนรู้ออกแบบการปรับเปลี่ยนส่วนยางสู่พื้นที่พืชร่วมยาง (ครั้งที่ 1)

วันที่ 24 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • หัวหน้าโครงการทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรมเรียนรู้ออกแบบการปรับเปลี่ยนสวนยาง
  • แลกเปลี่ยนให้ความรู้การปลูกพืชร่วมยาง พืชที่่เหมาะสมปลูกร่วมยาง และกระบวนผลิตแบบอินทรีย์
  • กิจกรรมออมทรัพย์ เพื่อให้สมาชิกได้มาพบกันและร่วมวางแผนการทำงาน ออมของกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันเองของสมาชิกและทุนหมุนเวียนขับเคลื่อนพืชร่วมยาง
  • วิทยากร ให้ความรู้ในเรื่องของการปลูกพืชร่วมยางและการขยายพันธุ์พืชใช้ร่วมยาง และฝึกการเพาะพันธุ์เม็ดดาหลา การดูแลรักษาและวางแผนในการนำไปปลูกร่วมในสวนยาง
  • แลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลรักษาดาหลาที่ได้เพาะกลับไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สมาชิกได้ออกแบบการปลูกพืชร่วมยาง มีพืชร่วมอย่างน้อยครัวเรือนละ 20 ชนิด เช่น พืชตัดใบ ตัดดอก
  2. เงินอได้การออมเกิดขึ้นในกลุ่มของเราทำให้สมาชิกมีอมมากขึ้น.
  3. สมาชิกได้มีความรู้วิธีการเพาะพันธุ์ไม้ว่าขั้นตอนมีอะไรบ้างใช้ระยะเวลากี่วันในการเพาะ การชำ เพื่อจะได้จัดเตรียมพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ได้ถูกต้องและให้เหมาะสมกับพื้นที่
  4. สมาชิกได้เพาะเป็นทำเป็น และได้นำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ทำการอบรมการเพาะเมล็ดพันธุ์ไปปลูกที่บ้านและในสวนของตัวเอง

 

50 0

4. 11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 25 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประธานกล่าวเปิดการประชุมต้อนรับสมาชิกและคณะทำงาน
  2. วาระติดตามเรื่องการออม เพื่อได้มีการช่วยเหลือกันเองในกลุ่มและใช้เพื่อการพัฒนากลุ่มต่อไปอย่างไร
  3. ทบทวนความก้าวหน้า ของการวางแผนในการการปรับเปลี่ยนทำป่ายางอินทรีย์
  4. ติดตามผลของการฝึกอบรมในการขยายพันธุ์ไม้ ต้นไม้ที่ได้ไปทำการตอนกิ่งไว้แล้ว และจะกำหนดวันที่ทำการฝึกอบรมตอนกิ่งรอบต่อไป พร้อมกับเตรียมแบ่งบทบาทหน้าที่และเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้มีการออมทรัพย์ของกลุ่ม ได้มีข้อตกลงร่วมกันให้มีการฝากทุกเดือน เพื่อสะสมเงินและช่วยเหลือกันในกลุ่ม หากมีใครมีความเดือดร้อนจำเป็น ได้มีการมอบหมายให้คณะทำงานชุดเล็กไปยกร่างระเบียบข้อตกลงจากการระดมประชุมในครั้งนี้ เพือนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
  • ได้มีการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน คณะทำงานได้มีการขับเคลือนงาน่ มีสมาชิกให้ความสนใจและแจ้งความประสงค์เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนทำป่ายางอินทรีย์จำนวน 5 คน
  • สมาชิกผ่านการฝึกอบรมมีความรู้และสามารถตอนกิ่งไม้ได้ ได้นำความรู้ที่บ้านและนำกลับมาใช้ที่บ้าน ทำให้สมาชิกมีความสนใจและตื่นตัวเรียนรู้เพิ่มเติม ได้มีการกำหนดวันในการฝึกอบรมการตอนกิ่งครั้งต่อไป วันที่........ สถานที่........  แบ่งให้คณะทำงานเตรียมการแบ่งบทบาท ประสานงาน เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์

 

20 0

5. เวทีเรียนรู้ออกแบบการปรับเปลี่ยนสวนยางสู่พื้นที่พืชร่วมยางครั้งที่ 2

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและผู้มาเยี่ยมชมสวน พระทานได้บอกถึงที่มาที่ไปในการทำป่าร่วมยาง ในส่วนของตัวเองและได้ปลูกต้นไม้ชนิดใดไว้บ้าง อุปสรรคในการทำป่าร่วมยาง พื้นที่ใดควรปลูกพืชชนิดใดได้บ้างเหมาะสมกับดินอย่างไร ผลผลิตและรายได้ที่เกิดขึ้นหลังจากการทำป่าร่วมยาง การรักษาต้นไม้ไม่ให้ตายเวลาได้ต้นไม้จากที่ไกลๆมาผูกไว้ที่บ้าน การตอนกิ่ง การติดตาต้นไม้ เปิดโอกาสให้สมาชิกและผู้เข้าร่วม ซักถามหากมีข้อสงสัยในการทำป่าร่วมยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ตระหนักในการทำพืชร่วมยาง เพราะผลที่จะเกิดขึ้นในการทำป่ารวมยางนั้น ทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้น สามารถเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในการทำป่าร่วมยางนั้นมีพืชผักที่เราได้ปลูกไว้มากมาย ทำให้เราได้นำไปขายก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น รู้จักและหวงแหนต้นไม้ที่ปลูก ไม่คิดที่จะทำลาย เพราะต้นไม้ทุกต้นไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่มีประโยชน์เหมือนกัน สามารถใช้สอย ทำเป็นยา ทำเป็นอาหารได้ สมาชิกและผู้เข้าร่วมสามารถขยายพันธุ์ไม้ได้ด้วยตัวเอง่ จะได้ลดค่าใช้จ่ายในการไปซื้อต้นไม้มาปลูก

 

48 0

6. เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

9 โมงถึง 10 โมงลงทะเบียนผู้เข้าร่วม ผู้จัดการโครงการกล่าวถึงที่มาที่ไปของงบ สสส.
10:00 นายกเทศมนตรีตำบลลำสินธุ์กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานทุกคน และผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานเช่นกัน
10:30 ปลัดอาวุโสอำเภอศรีนครินทร์จังหวัดพัทลุงกล่าวเปิดงานโครงการ  ทักทายผู้เข้างานและเดินดูนิทรรศการเมล็ดพันธุ์การดำเนินการต้านสารเคมีพิษ 10:50 ชมวีดีทัศน์ของผู้รับผิดชอบโครงการป่าร่วมยาง
11:00 ถึง 12:15 เวทีเสวนารวมล้อมวงพูดคุยเรื่องป่าร่วมยาง และการลดการใช้สารเคมีโดย นายสหจร ชุมคช อ.คัชชา กาญจนจันทร์ และนายสุทธิพงศื บกเกศ 13.00 น. ร่วมล้อมวงพูดคุยต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมได้มีความรู้โครงการและแนวทางการดำเนินงานโครงการ และความร่วมมือขอ สสส.ในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพของโครงการ  พร้อมกับรู้ถึงาสถานการณ์การทำพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่พัทลุง และผลกระทบในการทำพืชเชิงเดียว เลยพยายามที่จะทำสวนยางของตัวเองให้เป็นป่ายางแทน ข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์วางแผนการขับเคลื่อนงานต่อไป
  2. สร้างแรงขับเคลื่อนให้ผู้เข้าร่วมในการทำสวนยางให้เป็นป่ายาง พยามยามหาต้นไม้ให้เหมาะกับสวนของตัวเองโดย ดูป่ายางของเจ้าของโครงการเป็นตัวอย่าง
  3. ผู้เข้าร่วมได้สร้างความมั่นใจได้แรงบัลดาลใจ มีแรงบัลดาลใจในการทำป่าร่วมยางด้วย พร้อมมีผู้ตั้งใจร่วมปรับเปลี่ยนมาทำป่ายางจำนวน 50 คน พยายามลดละเลิกการใช้สารเคมีเนื่องจากเห็นถึงพิษภัยในการใช้สารเคมีและยังมีอาหารที่ปลอดภัยอีกด้วย และนำความรู้ในการทำป่าร่วมยางอินทรีย์ไปปรับใช้ในสวนของตนเอง
  4. ได้เครือข่ายภาคีความร่วมมือ เช่น เทศบาลตำบลลำสินธุ์  ในการสนับสนุนพืชร่วมยาง/ป่ายางอินทรีย์ เน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความหลากหลายเพิ่มพื้นที่ป่า  เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอย

 

100 0

7. 11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประธานเปิดการประชุม แจ้งรายละเอียดของงบที่มาของสสส ว่าได้มาทั้งหมด 198500 พร้อมทั้งให้สมาชิก ได้ดูถึงเอกสารโครงการ การจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ว่ามีงบเท่าใดบ้าง
ประธาน กล่าวขอบคุณทุกคนในวันงานเปิดโครงการ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ว่างงานดำเนินไปได้ด้วยดี และราบรื่น ทุกคนได้รับของข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ในการทำป่าร่วมยาง ที่สำคัญ ทุกคนชมว่ากับข้าวกินอร่อยมาก โดยเฉพาะ แกงน้ำเคยพาโหม น้ำพริก ไก่ต้มกะทิ ประธานแจ้งว่า ในวันไปประชุมที่หาดใหญ่ ในวันที่ 24 เดือน 2 2562 ประธานได้นำเสนอข้อมูลของกลุ่ม และได้เป็นคณะกรรมการทำงานด้วย วันนี้ ได้จ่ายเงินค่าใส่ตุ้ม ตอนกิ่งผักเหลียงให้แก่สมาชิก และ แจ้งเรื่องวิธีการออมอีกรอบ เพราะครั้งก่อน สมาชิกบางคนไม่ได้ประชุม แจ้งให้สมาชิกทราบว่า กินผักเหลียงที่ตอนไว้ มีคนสั่งซื้อมาบ้างแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิ่งตอนที่ได้ไปตอนเอาไว้เริ่มมีคนสั่งซื้อแล้ว และส่วนที่เหลือ จากการจำหน่าย ก็จะแจกให้สมาชิกและไว้ขายต่อไป
ได้มีการออมเกิดขึ้น ทำให้สมาชิกมีเงินเพิ่มจากการใส่ตุ้มตอน การไปตอนกิ่ง ได้รับทราบถึงกิจกรรมแต่ละครั้ง ที่ได้ทำร่วมกันมาว่าได้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง นำไปใช้ได้จริงไหม

 

18 0

8. 11 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 25 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับสมาชิกทุกคน และร่วมแสดงความยินดีกับ แม่ครัวคนเก่งของกลุ่มที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันทำอาหาร ที่สวนป่านาโอ เมื่อวันที่่ 14มีนาคม2562่ คื่อนางไพรัตน์ เพชรโชติและนางสุมาลี บัวแสง -แจ้งให้รู้ว่า เราได้รับสมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มอีก 2คนคือ นางประจวบ น่ิมเพ็งและนายปิยะณัฐ นวลขลิบ -นางสุมาลีบอกว่า ตนเองดีใจมากที่ได้รับรางวัลในครั้งนั้น ตนเองก้อได้รับแรงบัลดาลใจในการปลูกต้นไม้ การทำกิจกรรมต่าง ๆ มาจากประธานกลุ่มของเราเอง เนื้องจากประธานเป็นคนทำจริง และทำให้สมาชิกเกิดความมั่นใจในการทำงาน -แจ้งให้รู้ ว่า ทางกลุ่มของเรา จะขยายศูนย์การเรียนร้ธูเพิ่มอีก 2่แห่ง คือ ของพี่พลที่หารโพธิฺและของน้องเบลที่หลาเม็ง ปลายเดื่อน มีนาคม-ต้นเมษายนนี้ -ปรธานเสนอ อยากให้ปลูกต้นคลุ้ม ตามริมแดนป่ายางของแต่ละคน เพราะตอนนี้ความต้องการสาดคลุ้มมีมาก -ตอนนี้ ที่คนสั่งมาก เช่น ตะเคียนหิน ผักเหมียง
-การเตรียมต้นไม้ปลูกควรมีการวางแผนด้วยและดูฤดูกาลด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกเริ่มแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะเริ่มมั่นใจในพลังของกลุ่ม ได้รับสมาชิกป่าร่วมยางอีก 2 คนโดยความสมัครใจ ได้รับสมาชิกการออมเพิ่มขึ้นอีก 4 คน เนื่องจากสมาชิกใหม่เห็นว่ากลุ่มของเราทำจริง ก้อเลยมั่นใจ และอีกอย่างก้อได้นำเงินที่ได้มาจากการขายต้นไม้มาฝาก เลยทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น สมาชิกมีความมันใจในการรวมกลุ่มมากขึ้น เลยทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นในการที่จะนำผลผลิต มาทำการแปรรูปเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่ม กลไกการขับเคลื่อน สมาชิกช่วยกันบริหารดูแลเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีพื่้นที่ป่าร่วมยางเพิ่ม

 

20 0

9. ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนใต้โคนยางกระจายตามภูมิเวศเมืองลุง

วันที่ 5 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ช่วงเช้า ประธานศูนย์ใหญ่ ได้พาสมาชิกไปทำการเปิดศูนย์ย่อย โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนรู้ทับซาไก ที่อำเภอกงหรา โดยมีนายสุทํธิพงศ์ บกเกตุเจ้าของศูนย์ย่อย พร้อมด้วยสมาชิกและประชาขนที่สนใจการเข้าร่วมเป็นคนต้อนรับด้วยความอบอุ่น
  • ประธานได้บอกถึงที่มาที่ไปในการทำป่าร่วมยางพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกและประชาชนที่เข้าร่วมซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ อย่างเป็นกันเอง
  • เจ้าของศูนย์การเรียนรู้ทับซาไก บอกว่า เขาเองได้รับแรงบันดาลใจมาจากประธานศูนย์ใหญ่ของเราเองในการทำป่าร่วมยาง เพราะตัวเองชื่นชอบปลูกต้นไม้อยู่แล้วและในสวนยางของตัวเองก้อได้ปลูกต้นไม้ไว้หลายชนิดแล้วด้วย ยิ่งพอได้มาเห็นสวนยางของประธานศูนย์แล้ว รู้สึกว่าตัวเองเดินมาถูกทางแล้ว เพราะทำให้ตัวเองและครอบครัวมีความสุข ไม่ต้องไปทำงานที่ไกลๆ เหมือนก่อน
  • นอกจากนั้น ก้อได้เชิญหมอหวาน ซึ่งเป็นหมอสมุนไพร ที่มีความรู้ มาเป็นวิทยากร บอกเล่าถึงต้นไม้และสมุนไพรต่าง ๆ ที่เราสมควรจะปลูกไว้ในสวนยาง พร้อมทั้งเปิดรับสมาชิกใหม่ด้วย
  • ช่วงบ่าย ได้พาสมาชิกไปเปิดศูนย์การเรียนรู้อีก 1แห่ง คือ ศูนย์การเรียนโรงเรียนใต้โคนยาง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โดยมี คุณจิรัฐพล สอนทอง เจ้าของศูนย์ย่อย เป็นคนต้อนรับ
  • ได้นำล้อมวงคุย โดยได้คุยกันอย่างเป็นกันเองพร้อมกับสมาชิกป่าร่วมยางคนใหม่และคนเก่ารวมถึงประชาชนที่สนใจ
  • ได้พาไปดูถึงสวนยางและการปลูกต้นไม้ของเขาเอง เขาจะปลูกเป็นแถว และโรงเรีอนที่เขาไว้เพาะและอนุบาลต้นไม้ก่อนนำไปปลูกในสวนยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดโรงเรียนใต้โคนยางจำนวน 3 แห่ง  คือ 1.โรงเรียนใต้โคนยางบ้านขาม  2.โรงเรียนใต้โคนยางทับซาไก  โรงเรียนใต้โคนยาง ตำบลเขาชัยสน  แต่ละโรงเรียนใต้โคนยางมีคณะทำงานในการดูแลและถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ แต่ละโรงเรียนมีวิทยากรชาวบ้านที่มีความรู้ป่ายางอินทรีย์ที่สอดคล้องเหมาะสมกับภูมินิเวศน์ จำนวนศูนย์ละ 3 คน และมีนิทรรศการมีชีวิตเป็นสื่อประกอบการเผยแพร่ความรู้ในการการส่งเสริมป่ายางอินทรีย์ในแต่ละโรงเรียน
  • ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดีและได้มีการซักถามถึงการปลูกพืชในป่าร่าวมยางว่าจะปลูกอะไรดีที่ทำให้เกิดรายได้ เพิ่มขึึ้น ปรธานศูนย์ใหญ่ได้ชี้แจงว่า จริงๆ แล้ว การทำป่าร่วมยาง เราจะุปลูกได้กินเองก่อน และเราต้องไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพิช เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเราและคนในครอบครัวเหลือจากที่เรากินจึงคอ่ยขาย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนมาทำป่ายางอินทรีย์ จำนวน  คน
  • ประธานศูนย์บอกว่าในสวนยางเขาตอนนี้ ขายได้เกือบทุกอย่างเลย เช่นดอกดาหลา คลุ้ม ผักเหรียง ลูกฉิ่ง และอีกหลายชนิด
  • ได้ทราบถึงปัญหาแต่ละพื้นที่ ในการนำต้นไม่้แต่ละชนิดไปปลูก ว่าดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ให้ดูความเหมาะสมเอาเองว่าจะปลูกไม้ชนิดไหนดี
  • สวนยางแปลงใหญ่เปลี่ยนแปลงยาก รายย่อยไม่ค่อยมีปัญหา สามรถปรับเปลี่ยนได้ในการทำป่าร่วมยาง
  • หัวใจหลักของการทำป่าร่วมยางคือ อาหารปลอดภัย การพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

 

50 0

10. 11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 25 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประธานเปิดประชุม แนะนำ ผญ.วัน ผญ.บ้านของตำบลบ้านนา ให้สมาชิกได้รู้่จัก เนื่องจากวันนี้ ผญ.วันจะมาส่งเสริมการปลูกเสลดพังพอนและหัวไพรให้สมาชิกทุกคน15 ผญ.วัน ได้แนะนำวิธีการปลูก พันธู์ วิธีการสกัดน้ำมันจากหัวไพร และการตลาด พร้อมทั้งรับประกันราคาให้ด้วย เสลดพังพอน อยู่ที่่ 15บาทและหัวไพรตอนนี้อยู่ที่ 20บาท ประเด็นสำคัญในการปลูกพืชครั้งนี้ คือ สมาชิกทุกคนต้องไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าและสารเคมีต่างๆ โดยเด็ดขาด ประธานแจ้งเพื่อทราบ ว่าตอนนี้ เราได้สมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มอีก 4คน แจ้งรายงานทางการเงิน โดยให้สมาชิกที่รับผิดชอบด้านนี้ เป็นคนรายงานให้สมาชิกได้รู้ ประธาน ได้ถามถึง ต้นไม้ที่ลูกค้าได้สั่งมาให้ชำ คือ ต้นอูจง ว่าไปถึงไหนแล้ว เพราะเขาสั่งมา ประมาณ 1200ต้น และประธานได้ให้สมาชิกแต่ละคนรับไปชำตามแต่กำลังแต่ละคน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สมาชิกได้รู้จักพันธุ์ไม้ตัวใหม่ คือ หัวไพร และ เสลดพังพอน ที่จะเอาไปปลูกในป่ายางหรือพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งก็ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราได้ร่วมทำกิจกรรมกันมา คือเพิ่มพื้นที่พืชร่วมยางและพื้นที่ป่าร่วมยางให้มากขึ้น
  2. มีความรู้ปลูกพื้ชร่วมยางและพันธฺุ์ไม้และการได้ไปขยายพันธุ์มานั้น ทำให้สมาชิกทุกคน มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และสมาชิกเองก็รู้สึกมีความสุข และมีการตื้นตัวในการขยายพืชในป่าร่วมยางกันมากขึ้นด้วย
  3. สมาชิกได้รู้ว่าการปลูกพืชและต้นไม้นั้น ต้องงดการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือสารเคมีทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพื่อคุณภาพชีวิตและสินค้าที่ดีขั้นด้วยและยังทำให้เราสามารถขายผลผลิตได้ตลอดไปและยั่งยืนอีกด้วย  จำนวน 50 ครอบครัว
  4. เราได้รับสมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวน  3 ครอบครัว 5.ผลจากการขายพันธุ์ไม้ได้นั้น ทำให้สมาชิกมีเงินที่ฝากไว้กับกลุ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

23 0

11. 11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่่ 6

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ประธานกล่าวสวัสดี สมาชิกและคณะทำงานทุกคน แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมด ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 61-เมษายน 62 ว่ามีทั้งหมด 4กิจกรรมใหญ่และ 5กิจกรรมย่อย คือ กิจกรรมที่ 1 -4 และประชุมคณะทำงาน ทั้งหมด 5ครั้ง
  • แจ้งให้รู้ถึงเรื่องที่ไปประชุมพบปะกับกลุ่มทำงานกลุ่มอื่่นของสสส.ทั่งหมดและได้ไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม รวมถึงการทำกิจกรรมว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ซึ่งของกลุ่มเราก้อเรียบร้อยดีไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งงานจัดที่โรงเรียนประภัสสรรังสิต
  • แจ้งให้ทราบว่า วันนี้ทางกลุ่มจะแจกต้นผักเหรียงที่ได้ตอนมา แจกให้สมาชิกครัวเรือนละ 10 ต้น ถ้าใครอยากได้มากกว่านี้ ให้ซื้อในนามสมาชิก จะได้ราคาถูก
  • เหรัญญิก ของกลุ่ม แจ้งรายงานทางการเงิน ให้สมาชิกทุกได้รู้ เงินที่เก็บเข้ากลุ่มส่วนมากได้มาจากการขายต้นไม้ ของสมาชิกเอง และต้นไม้ของกลุ่ม
  • ประธานแจ้งว่า วันที่ 30-31 กค.นี้ ทางกลุ่มของเราได้รับเชิญให้ไปร่วมงานและออกบูธ พืชร่วมยาง โดยจะจัดงาน ที่เทศบาลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยจะชวนให้สมาชิกไปร่วมงานด้วย
  • แจ้งให้รู้ว่า กิจกรรมที่เหลือจะจัด พ.ค.-ก.ย. นี้ และมีกิจกรรมอะไรบ้าง และให้สมาชิกได้ร่วมกันออกแบบ
  • วาระติดตาม ประธานถามว่า มีสมาชิกคนไหนจะทำโรงเรือนเพิ่มบ้าง และให้สมาชิกที่จะทำโรงเรือน เคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย แล้วจะให้สมาชิกผ้ชายได้ช่วยกันไปทำให้ โดยเอา อุปกรณ์จากกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะกรรมการได้มีขับเคลื่อนการดำเนินการของกลุ่มเพื่อทำให้เกิดความเข้มแข็งภายในกลุ่ม  ติดตามและหนุนเสริมการดำเนินการของสมาชิก ทำให้สมาชิกตื่นตัวและมีการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์กล้าไม้สำหรับปลูกร่วมในสวนยาง เพื่อเป็นป่ายางอินทรีย์ที่มีความหลากหลายในแปลง มีพืชกินได้ พืชเป็นไม้ใช้สอย ให้ความร่มรื่นเพิ่มพื้นที่ป่าในสวนยาง "ป่ายางวิถีอินทรีย์"
  • มีความรู้ เรื่องของการบริหารจัดการทำธนาคารพันธุ์ไม้  ได้มีการจัดทำร่างข้อตกลงร่วมกันในการออมต้นไม้ และการแบ่งปันต้นไม้ให้กับสมาชิกและคนทั่วไปที่สนใจ และมีข้อตกลงร่วมในการกำหนดราคาพันธุ์กล้าไม้ และแบ่งสัดส่วนเข้ากองทุนและการบริหารจัดการธนาคารต้นไม้ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากลุ่มต่อไป สมาชิกทุกคนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธ์ุไม้ และเกิดการหวงแหนต้นไม้
  • สมาชิก 35 ครัวเรือนได้รับพันธุ์ผักเหมียงครัวเรือนละ 10 ต้น เพื่อจะนำไปปลูกตามที่ได้วางแผนปลูกในป่ายาง
  • เกิดโรงเรีอนเพาะชำกล้าไม้ของครัวเรือนต้นแบบจำนวน  ครอบครัว  ได้นำความรู้ในการขยายพันธุ์พืชในการแลกเปลี่ยนฝึกอบรมเพาะและขยายพันธุ์พืช  ในแต่ละโรงเรือนได้มีการเพาะชำกล้าไม้ที่ได้วางแผนนำไปปลูกในสวนของตนเองและส่วนเข้าออมกับกลุ่มเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิกและคนสนใจ
  • ได้มีแผนงานร่วมกันในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพิ่มป่ายางษวิถีอินทรีย์ ออกแบบนิทรรศการมีชีวิตใช้ในงาน รวมพลคนรักษ์ลุ่มน้ำเลสาบ จังหวัดพัทลุง

 

20 0

12. 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิก คณะทำงาน ภาคีเครื่อข่ายทุกคน -บอกถึงเราได้ทำกิจกรรมกับ สสส. มาสักพักแล้ว กิจกรรมก้อทำไปหลายกิจกรรมแล้วเหมือนกัน ทำให้กลุ่มของเรา มีความเข็มแข็งมากขึ้น -ถามความคืบหน้าของสมาชิกแต่ละคนในการนำต้นไม้ไปปลูก เพาะ ว่าเป็นยังไงกันบ้าง -เราทำงานกลุ่มมีปัญหาอะไรบ้าง หรือมีข้อขัดแย้งอะไรบ้าง
-แจ้งให้สมาชิกได้รู้ว้า เรามีภาคีเครือข่ายที่มาร่วมทีมป่าร่วมยางเพิ่มมากขึ้น -เปิดโอกาสให้สมาชิกสอบถามข้อสงสัยต่าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางให้มากขึ้น  มีสมาชิกสมัครเข้าร่วมเพิ่มขึ้นได้ 40 ครอบครัว จำนวน 256 ไร่ -มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมทีมมากขึ้น เทศบาลตำบลลำสินธุ์ได้มีการสนับสนุนในการขยายป่าร่วมยางและการอนุรักษ์พันธุ์พืชพืนบ้าน และส่งเสริมให้เยาวชนในตำบลได้มาเรียนรู้ป่าร่วมยางกับอนุรักษ์พันธุ์กรรมท้องถิ่น เกิดความร่วมมือกับ ธกส.
-คณะทำงานได้ทำงานตามแผนที่ได้วางไว้ ช่วยกันดำเนินงาน แบ่งบทบาทตามความถนัด
-เกิดกติกาป่าร่วมยางร่วมกัน -สมาชิกได้ความรู้จากการปลูกพืชร่วมยาง รู้จักชนิดที่ปลูกได้มากขึ้นและการขยายพันธุ์พืชได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเก็บและคัดพันธุ์ดอกดาหลา การตอนกิ่ง การเพาะต้นกล้าไม้  การติดตา ทำให้มีพันธุ์ที่จะนำไปใช้ในการปลูก แบ่งปัน และขายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและกลุ่ม  ทำให้กลุ่มมีกองทุนใช้ในการพัฒนาและขยายป่าร่วมยาง เครือข่ายจัดการผลผลิตและค่อย ๆสะสมทุนเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคตได้

 

20 0

13. 11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่่ 7

วันที่ 25 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีทุกคน แจ้งว่ากลุ่มเราจะทำเสื้อกลุ่ม เพราะเวลาไปไหนจะได้ไปกันเป็นทีม เสื้อราคาประมาณ 150บาท โดยทางกลุ่มจะออกให้คนละ 100บาท ส่วนที่เหลื้อสมาชิกเป็นคนออกเอง -แจ้งกำหนดการ การจัดกิจกรรมที่จะจัดในวันที่ 3กรกฎาคม นี้ โดยให้สมาชิกมาเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยเราจะเชิญคณะทำงาน ภาคี เครือข่ายและสมาชิกป่าร่วมยางจากต่างอำเภอมาด้วย -จะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 50คน
-แจ้งให้รู้ว่า ทางกลุ่มเราได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุน ยาไส้-ยาใจแล้ว -แนะนำสมาชิกใหม่อีก 1คน คือ อาจารย์ธนิศ จากกงหรา -แจ้งยอดการสั่งชำต้นไม้ให้สมาชิกได้รู้ และรับกันไปชำเพื่อเพิ่มรายได้ ซึงมียอดการสั่งชำ 2000ต้น -ย้ำอีกครั้ง วันที่ 30-31กรกฎาคมนี้ ทางกลุ่มเราได้เข้าร่วมและออกบุธ งานรวมพลคนรักษ์ลุ่มน้ำ ที่เทศบาลโคกม่วงเขาชัยสน โดยทางกลุ่มจะพาสมาชิกบางส่วนไปร่วมงานด้วย -และในวันนั้นเราจะจัดกิจกรรมเพิ่มอีก 1 กิจกรรม คือ กิจกรรม ปฏิบัติการขยายลดการใช้สารเคมีในสวนยาง

-เหรัญญิกแจ้งยอดเงินออมและเงินกองกลาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบถึงผลการดำเนินและ สมาชิกมีความรู้และสามารถชำต้นไม้ได้ ไว้ใช้ในปลูกในแปลงป่าร่วมยางและส่วนที่เหลือมีการแบ่งกระจาย สร้างรายได้ให้กับสมาชิก  และได้มีการวางแผนในการเพาะชำกล้าไม้เพิ่มแต่ละโรงเรือน ได้เตรียมและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในสวนยาง  มีทีมวิททยากรกลุ่มให้ความรู้จำนวน 3คน ทีมงานเตรียมเมนูอาหารจากผักพื้นบ้านจากป่าร่วมยางและสวนข้างบ้าน พร้อมเตรียมเมล็ดพันธุ์ดาหลาแจกให้ผู้เข้าร่วมเพื่อนำไปปลูกในแซมในสวนยางหรือพื้นที่เหมาะสม

 

20 0

14. 5. สน้บสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง

วันที่ 28 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานได้ทำการแจกกล้าไม้ แก่สมาชิก
-ได้นำแสลนไปทำโรงเรือนให้แก่สมาชิกที่ยังไม่ได้ทำ และจะทยอยทำให้แก่สมาชิกทุกคน โดยให้สมาชิกผู้ชายไปช่วยกันทำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สมาชิก จำนวน 35 ครัวเรือน ได้นำกล้าไม้ ที่ได้รับจากประธาน ไปปลูกไว้ในสวนยาง เพื่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์วิทยา โดยเน้น ลดการใช้สารเคมีและหญ้าฆ่าหญ้าต่าง ๆ เพื้อความปลอดภัยต่อสุขภาพ -ได้นำแสลนไปทำให้กับสมาชิก ที่เป็นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 20ครัวเรือน เพื่อได้เป็นที่พักต้นไม้ เป็นโรงเรือนก่อนที่จะนำไปปลูกต่อไป

 

35 0

15. 8. จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น

วันที่ 3 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกๆคน -เชิญนายกเทศมน่ตรีกล่าวเปิดงานและร่วมกิจกรรมในฐานะเป็นสมาชิกและภาคีเครื่อข่าย -พีเสนีกล่าวที่มาของโครงการ node flagship พัทลุงและพูดถึงการจัดการทรัยพยากร ผลผลิตของตำบลลำสินธ์ุ  คนพัทลุงทีชีวิตที่ดีขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ขอธรรมชาติ และตัวพันธุกรรมพื้นท้องถิ่นของเรา -กล่าวถึงพืชอาหารเริ่มลดน้อยลง ผูกขาดโดยคนไม่กี่กลุ่ม -กล่าวถึงทำยังไงให้เกิดการทำป่าร่วมยางเพิ่มขั้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพของพวกเรา มีความมั่งคง และกินอาหารปลอดภัยจากการลดการใช้สารเคมีในสวนยาง -กล่าวถึงการดึงพันธุกรรมพืชท้องถิ่นให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม -กล่าวถึงจุดเด่นในการทำป่าร่วมยาง คือปลูกพืชผสมผสานหลายๆชนิดเพื่อให้เกิดความหลากหลาย -ทำให้เกิดรายได้นอกเหนือจากยางอย่างเดียว -ช่วงบ่ายได้มีการล้อมวงคุย โดยนายสหจร ชุมคช ผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เสนี พีจิรัฐพลและร่วมด้วยสมาชิกและผู้เข้าร่วมทุกคน -ได้ร่วมกันพูดคุย ซักถามข้อสงสัยต่างๆ -คุณเสาวนีย์ จากเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ พูดถึงตัวพันธุกรรม เมล็ดพันธืุ รวมถึงพืชผักพื้นบ้านต่าง ๆ เราได้ส่งให้คน กทม.ได้กินเป็นดใช้เป็น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผักพื้น่บ้านของเรา โดยเป็นอาหารปลอดภัยและปลอดสารพิษ และถือเป็นการให้โอการชุมชน -กล่าวถึง ควรเสนอความหลากหลายของพืชผักให้เชฟและผู้สนใจได้เห็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้รู้ถึงพืชผักท้องถิ่นสที่ได้สำรวจสอบถามจากสมาชิก คนในชุมชนและเครือข่ายว่าแต่พื้นที่ มีผักชนิดใดบ้างที่น่าสนใจบ -หาพืชผักบางส่วนที่ขาดหายไปแต่เป็นที่ต้องการของตลาด กลับมาปลูกเพิ่ม -เกิดกติกากลุ่มของธนาคารต้นไม้ร่วมกัน เช่น ชำต้นไม้ ไม่ใช้สารเคมี ลด ละ เลิก
-ชำต้นไม้ท้องถิ่นเพิ่มขั้น -ดูแล ทำปุ่๋ยอินทรีย์ แทนการใช้ป่๋ยเคมี -ได้มีการจัดตั้งธนาคารต้นไม้พันธุ์พืชพื้นถิ่นขึ้น แบ่งเป็น ธนาคารกล่าง คือศูนย์แม่ เป็นที่รวบรวมผลผลิต ของสมาชิก  ธนาคารย่อย คือ ธนาคารของสมาชิกที่ไว้ชำต้นไม้ เพาะต้นกล้า เพื่อส่งให้ศูนย์แม่  และไว้ปลูกลงแปลงของต้ัวเอง

-ขยายของสาขาธนาคารต้นไม้เพิ่มขึ้น

 

50 0

16. 7. จัดตั้งธนาคารปุ๋ยหมัก

วันที่ 18 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีกับผู้เข้าร่วมและสมาชิกทุกคน -กล่าวแจกแจงที่มาของการทำปุ๋ยหมักในวันนี้ -บอกให้รู้ถึงประโยชน์ของปู่ยหมัก -วัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยหมักในวันนี้ ว่ามีอะไรบ้าง -เปิดโอกาสให้สมาชิกและผู้เข้าร่วม สอบถาม รายละเอียดหรือข้อสงสัยต่างๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยหมัก 2 แห่ง คือ ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง และ ที่กลุ่มของเรา คือ กลุ่มวิถีชุมชนคนเกษตร -ลดต้นทุนที่ใช้ในแปลง -ทางกลุ่มและสมาชิกได้มีปุ๋ยหมักที่ทำขึ้นไว้ใช้เอง -ได้กินอาหารที่ปลอดภัย และไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ทำให้สุขภาพแข็งแรง -ได้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก -ได้ตื่นตัวและตระหนักและทำแผนขยายธนาคารปุ๋ยหมัก

 

30 0

17. 11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่่ 8

วันที่ 25 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิกและคณะทำงานทุกคน -แนะนำสมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มอีก 4คน -แจ้งกิจกรรมที่เราได้ร่วมทำกับสสส ปตท. ให้สมาชิกใหม่ได้ทราบ -แจ้งผลของการที่พาสมาชิกจำนวน 10ไปดูงาน ที่นครกับสุราษฎร์และขอบคุณสมาชิกทุกคนที่ให้ความร่วมมือและเต็มใจทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างดี -แจ้งให้รู้ว้า ในวันที่ 26/07/62นี้ ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว จาก ม.ทักษิณ ป่าพะยอม จะมาคุยรายละเอียดของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม -แจ้งเรื่องการทำป่ยหมักไว้ใช้เอง โดยสมาชิกบางคนได้เสนอให้ทำไว้ใช้เอง -แจ้งเรื่อง วันที่ 27/07/62นี้ ทางกลุ่มจะทำการฝึกอบรมการสานสาดคลุ่มให้กับสมาชิก เวลา 9.00น. เป็นต้นไป -ชวนสมาชิกไปร่วมงานออกบูธ ที่เทศบาลโคกม่วง อ.เขาชัยสน โดยเราจะร่วมทำกิจกรรรม ปฎิบัติการขยายลดใช้สารเคมีในสวนยาง -เหรัญญิก แจ้งยอดเงินออมและเงินคงเหลือของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้รู้ถึงรายละเอียดของงาน เป็าของกิจกรรมว่า ได้ดำเนินการไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ -ได้มารับรู้ถึงปัญหาและหาทางออก

 

20 0

18. 6. ปฏิบัติการขยายลดใช้สารเคมีในสวนยาง

วันที่ 31 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-9.00 น เริ่มทำการลงทะเบียนสมาชิกและประชาชนที่สนใจ -ได้มีการแจกเมล็ดดาหลาฟรี ให้กับผู้มาลงทะเบียนและแจกแผ่นพับการลดและโทษของสารเคมีพิษทุกีคน -แจ้งให้รู้ถึงโทษของสารเคมีที่มีต่อตัวเราเองรวมไปถึงคนรอบข้าง -ได้จัดทำชุดนิทรรศการ ถึงโทษของสารเคมีให้ปร่ะชาชนและผู้สนใจได้รับรู้และตระหนักุถึงการที่จะไม่ใช้สารเคมีในสวนยางอีกต่อไป -ได้พูดคุยกับคุณะครูและนักเรียนที่ได้เขามาเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ โดยแจ้งให้นักเรียนได้รับรู้ถึงโทษของสารเคมีและให้นักเรียนทุกคนกลับไปบอกพ่อแม่ของตัวเองให้เลิกใช้สารเคมีพิษในสวนยางและผลที่จะเกิดขั้นหากเรายังไม่หยุดใช้สารเคมีในสวนยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ประชาชนและผู้ที่สนใจได้ให้ความสำคัญและรู้ถึงโทษของสารเคมีและจะ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในสวนยาง ประชาชนและสมาชิกได้ความรู้จากการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ เพราะมันบ่งบอกถึงอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร
  • นักเรียนได้รู้โทษและพิษภัยของสารเคมีและได้มีความตั้งใจในการนำความรู้ที่ได้ไปบอกพ่อแม่ที่บ้าน ให้เลิกใช้ใช้สารเคมีพิษในสวนยางและปลูกพืชร่วม
  • ประชาชนให้ความสนใจป่าร่วมยาง และการอนุรักษ์พันธุ์พืชพืนบ้าน และการนำผักพื้นบ้านมาเป็นอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยกินในครอบครัว และมีความตั้งใจเอาแนวคิดและป่าร่วมยางไปปรับทำในสวน
  • ได้เครือข่ายที่ชวยกันขยายความคิดทำเกษตรเลิกใช้สารเคมีในการทำเกษตรและรักษาพันธุ์กรรมพื้นบ้านที่เหมาะสมกับพืนที่ เขา นา เล

 

100 0

19. 9. พัฒนากลไกการรวบรวมและกระจายผลผลิตของเครือข่าย

วันที่ 5 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน -ชี้แจงรายละเอียดในเนื้อหาของกิจกรรมที่จัด -ตั้งวงคุยถึงการกระจายผลผลิตจากสมาชิกว่าจะไปในทางไหน -สมาชิกและผู้ร้วมได้ซักถาม ข้อสงสัยต่างๆ -ปรึกษาหารือเรืองตลาดในชุมชนใกล้บ้านและตลาดที่ไกลออกไปทำยังไงให้มีผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด -การรวบรวมผลผลิตแต่ละแห่ง ว่าน่าจะมีศูนย์แม่ รับสินค้าไว้ -พืชชนิดไหนที่ตลาดต้องการ
-ดูพื้นที่ของแต่ละคนว่า เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง -ต้องมีการบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้มีการจัดตั้งพื้นที่โซนต่างๆ เพื่อเป็นที่รองรับและกระจายสินค้าของสมาชิก -จัดตั้งธนาคารต้นไม้ไปต่างอำเภอ เพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะชำกล้าไม้ และการปลูกให้มากขึ้น -มีการจัดระเบียบ การซื้อ-ขาย การจ่ายเงิน การขนส่ง -เปิด-หาตลาดชุมชน เช่นขายผักตามร้านขนมจีนในหมู่บ้าน ฝากขายตามร้านค้า ร้านขายของชำ ในหมู่บ้าน -หาร้านอาหารต่างๆในตัวเมือง และพื้นใกล้ ไกลรวมถึงตลาด กทม. ุ

 

50 0

20. 11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่่ 9

วันที่ 25 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับสมาชิกและคณะทำงานทุกคน -กล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่อีก คนนึงคือ นายสมพงษ์  ลำประไพ -แจ้งเรื่องที่จะไปออกบูธ ที่เทศบาลตำบลบ้านนา โดยให้สมาชิกไปร่วมงานด้วย เพราะเราจะจัดกิจกรรมด้วย -ถามถึงเรื่องต้นไม้ที่เบิกไปแล้วนั้น นำไปปลูกกันหรือยัง และใครที่ยังไม่ได้เบิกก้อให้มาเบิกไปปลูกด้วย เพราะฝนเริ่มตกแล้ว -ให้สมาชิกแจ้งรายได้ของแต่ละคน และให้ทุกคนกรอกลงในแบบฟอร์มที่ทางประธานจัดทำไว้ให้
-สอบถามปัญหาที่พบเจอในการทำงานแต่ละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ทราบถึงความคิบหน้าของกิจจกรรม -แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด -สมาชิกมีรายได้จากการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง -สมาชิกมี่รายได้จากการนำผลิตภัณฑ์ไปออกบูธ -เพิ่มความหลากหลายในสวนยางให้มากขึ้น เนื่องจากได้นำต้นไปปลูกเพิ่มมากขึ้น

 

20 0

21. 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่2

วันที่ 26 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีทุกคน -สอบถามถึงต้นไม้ทีนำไปปลูกว่าเจอปัญหาบ้างม้าย -แจ้งถุงการดำเนินงานของกลุ่ม ในแต่ละกิจกรรมที่ได้ทำกันมา ผ่านไปด้วยดี -แจ้งว่าสมาชิกในกลุ่มเรา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ -พูดถึง "สัญญาใจ ข้อตกลงที่เราได้ร่วมทำกันไว้" ว่าลืมกันไปหรือยัง -ถามถึงแปลงร่วมยางแต่ละแปลงของสมาชิกว่าเป็นยังไงบ้าง
-ถามถึงเรามีสิ่นค้าอะไรบ้าง ที่พร้อมจำหน่ายและพร้อมแปรรูป -ปัญหาในกลุ่ม ผลจากการออกบูธแต่ละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดกติการกลุ่ม    ปลูกพื่ชอย่างน้อย 20ชนิด ไม่ใช้สารเคมีในแปลง ทำปู่ยหมักไว้ใช้เอง  ปลูกพืชให้หลากหลาย มีสุขภาพแข็งแรง -สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำสินค้าไปขาย -เกิดความสมาคีกลมเกลี่ยวกันภายในกลุ่ม -รู้่จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งได้ดี

 

20 0

22. 10. ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน

วันที่ 5 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับผู้สมาชิกและผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมบูธของกลุ่ม -คุยรณรงค์ให้ความรู้แลกเปลี่ยนผลผลิต -ให้ความรู้เยาวชนและผู้เข้าร่วมแปรรูป ผลผลิต จากป่าร่วมยาง -เพิ่มมูลค่าผลผลิต เป็นเมนูอาหารจากพืชร่วมยาง เช่น น้ำดอกดาหลา เมี่ยงสมุนไพร น้ำดอกอัญชันมะนาว หมูทอดสมุนไพรว่านสาวหลง เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สมาชิกมีความสุขกาย สุขใจเวลามีการออกบูธในแต่ละครั้ง เนื่องจากได้นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย -เพิ่มรายได้ให้สมาชิก จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และขายต้นไม้ -ทำให้ผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าได้กินอาหารที่ปลอดสารเคมี และปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย

 

50 0

23. 11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่่ 10

วันที่ 25 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิกและคณะทำงานทุกคน -แจ้งให้รู้ว้าวันนี้ ช่วงบ่าย สสส.ส่วนกลางจากกรุงเทพฯ จะพาสื่อจากหลายสำนักด้วยกันจะมาเจาะและสัมภาษณ์ เอาข้อมูลเกี่ยวกับป่าร่วมยาง -ทางกลุ่มได้รับเกียรติจาก ท่านนายกเทศบาลตำบลลำสินธุ์ ร้อยตรี สุขุม ทับทวีรวมทั้งรองนายกและทีมงาน มาร่วมต้อนรับ -เราจะทำเมนูสาธิตโชว์ให้เขาดูด้วย เช่น เมี่ยงสมุนไพร ผักสมุนไพรชุบแป้งทอด น้ำดอกดาหลา ลูกชิดรวมสี -ทำการออมเงิน เหรัญญิกแจ้งยอดฝากและยอดคงเหลือของเงิน -แจ้งให้รู้ว่า วันที่่ 26/9/2562นี้ เราจะจัดกิจกรรมอีก ครั้งนึง เป็นการสรุปผลการดำเนินการโครงการ ที่เราได้ทำร่วมกับ สสส.มาครบ ปีแล้ว -ให้สมาชิกมาทำกิจกรรมกันโดยพร้อมเพรียงด้วย -แจ้งให้รู้ว้า ถึงแม้ว่า เราจะจบโครงการของ สสส.แล้วแต่เราก้อย้งประชุมกันเหมือนเดิมทุกเดือน คือทุกวันที่ 25

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ทราบถึงการดำเนินงาน ความคืบหน้าต่างๆ
  • ได้เตรียมความพร้อมของคณะทำงานในการจัดทำสื่อเผยแพร่ป่าร่วมยาง
  • ได้เมนูสาธิตจำนวน 4 ชนิด ที่มาจากพืชผักในป่ารวมยาง ที่เน้นความหลากหลายของผักพื้นบ้าน  เช่น เมี่ยงสมุนไพร(จากผักพืนบ้าน 10 ชนิด)
  • ได้เตรียมพร้อมในการจัดกิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ประสานผู้เข้าร่วม แบ่งนำข้อมูลผลการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มมาสรุป และวิเคราะห์ พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ได้รับการยอมรับและเชื่อมมั่นทีมงาน ระบบป่าสวนยาง  เดือนนี้มีสมาชิกสมัครเข้าร่วมเพิ่มเติมปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชร่วมยางอินทรีย์  จำนวน 5 คน

 

20 0

24. 13. เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 26 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิก คณะทำงาน ภาคีเครือข่าย ที่มาร่วมทำกิจกรรมในวันนี้ -แจ้งให้ทราบว่า เมื่อวานที่ สื่อหลายสำนักมาทำข่าวเกี่ยวกับการทำป่า่ร่วมยาง ว่าผ่านไปด้วยดี -ประธานขอบคุณสมาชิกทุกคนที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี -สอบถามสมาชิกแต่ละคนว่า เราได้มาร่วมทำกิจกรรมกันปีนึงแล้วรู้สึกยังไงบ้าง -สมาชิกก็ได้ตอบว่า มีความสุข สบายใจ ได้ความรู้จากการได้รู้่จักพันธ์ไม้เพิ่มมากขึ้น มีรายได้ ได้พบเพื่อน ได้วิชาใหม่ๆ
-เร่ิมมั่นใจในตัวประธานมากขึ้น

-เกิดจุดเปลี่ยน ไปในทางที่ดี เช่น จากเมื่อก่อนเข้าสวนยางไม่เคยสนใจต้นไม้อะไรเลย แต่ตอนนี้พอเห็นต้นอะไรแปลกก็จะรีบนำกลับมาบ้านและถามประธานว่าต้นอะไร ถ้ามีประโยชน์หรือขายก็จะนำไปชำต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมมา ปีนึงแล้ว สมาชิกได้อะไรบ้าง -อาหารปลอดภัย จากการลดใช้สารเคมีในสวนยาง
-มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเมือก่อนได้แค่ยางเพียงอย่างเดียว -มีความสุข สบายใจ ได้มาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน
-มีป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น จากตั้งเป้าไว้ 200ไร่เพิ่มเป็น400กว่าไร่ -ได้สมาชิก ภาคีเครือข่ายเพิ่ม -มีกติกากลุ่มป่าร่วมยาง -เกิดโรงเรียนใต้โคนยาง 3แห่ง -เกิดธนาคารพันธุ์ไม้ 2แห่ง -สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการป่าร่วมยางรู้จักชนิดพันธ์ไม้เพิ่มมากขึ้น -เกิดเครือข่ายอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในป่ายาง -เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนการปลูกยางเชิงเดียวเป็นป่าร่วมยางและมีพืชอย่างน้อย 5ชนิด จำนวน 35ครัวเรือน -เกิดข้อตกลงร่วมกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการกระจายรายได้การรับซื้อผลผลิต -เกิดตลาดอินทรีย์ป่ารวมยาง 1แห่ง -สมาชิกเข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการทำป่าร่วมยางอย่างน้อยเดือนละ 1000บาท -ถ้าเราจะเดินไปข้างหน้าเราจะทำยังไงต่อ? -งานเดิมต้องไม่ทิ้ง -งานใหม่ก็ต้องทำ -มีการรับรองมาตรฐานอินทรีย์เพิ่มมูลค่า

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตพืชร่วมยาง
ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ชนิดพันธุ์พืชที่จะปลูกในพื้นที่ของตนเองและสามารถขยายพันธุ์พืชได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2. เกิดโรงเรียนใต้โคนยางอย่างน้อย 3 แห่ง
90.00

 

2 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นพื้นร่วมยาง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนการปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวสู่พืชร่วมยางที่มีพืชอย่างน้อย 5 ประเภทไม่น้อยกว่า 35 ครัวเรือน 2. เกิดกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชในป่ายางอย่างน้อย 1 กลุ่ม
35.00

 

3 เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนป่าร่วมยางและให้มีการสร้างกลไกการตลาดที่เอื้อต่อการเกษตรแบบพืชร่วมยาง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดธนาคารพันธุ์พืชอย่างน้อย 2 แห่ง 2. เกิดกติกากลุ่มเกษตรกรพืชร่วมยาง 3. เกิดข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการกระจายและการรับซื้อผลผลิตของเครือข่ายพืชร่วมยาง 4 เกิดตลาดอินทรีย์วิถีคนป่ายางอย่างน้อย 1 แห่ง
2.00

 

4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุงไม่น้อยกว่า 200 ไร่ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการสร้างพื้นที่ป่าร่วมยางอย่างน้อย 1,000 บาทต่อไร่ต่อเดือน
200.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุง 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตพืชร่วมยาง (2) เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นพื้นร่วมยาง (3) เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนป่าร่วมยางและให้มีการสร้างกลไกการตลาดที่เอื้อต่อการเกษตรแบบพืชร่วมยาง (4) เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 11.  ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลทุกเดือนครั้งที่ 1 (2) 4 เรียนรู้การบริหารจัดการสวนยางเพื่อการเพิ่มรายได้และการฟื้นฟูแผ่นดินอย่างยั่งยืน (3) เวทีเรียนรู้ออกแบบการปรับเปลี่ยนส่วนยางสู่พื้นที่พืชร่วมยาง (ครั้งที่ 1) (4) 11.ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (5) เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง (6) 11.  ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (7) 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (8) 8. จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น (9) 5. สน้บสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง (10) 7. จัดตั้งธนาคารปุ๋ยหมัก (11) 12. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน ครั้งที่2 (12) 10. ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน (13) 13. เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-0186

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสหจร ชุมคช )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด