directions_run

โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอับดลเล๊าะ เหล็มปาน

ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 พฤศจิกายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 พฤศจิกายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 199,760.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

อำเภอกงหรา มีแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีน้ำตกจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ น้ำไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกนกรำ น้ำตกหนานสูง น้ำตกปากราง น้ำตกวังตอ น้ำตกวังสายใหม่ มีถ้ำอยู่ตามแนวภูเขาที่ขึ้นชื่ออยู่ คือ ถ้ำลูกยา ถ้ำไก่ชน ถ้ำชี ถ้ำปลา ถ้ำแมวขาวและรวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนผ่านรูปแบบของตลาดชุมชนที่เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาต่างๆของชุมชนไว้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เขตพื้นที่ของตำบลคลองเฉลิม ตำบลคลองทรายขาว ตำบลกงหรา มีเส้นทางคมนาคมที่ใช้เป็นเส้นทางหลักในการท่องเที่ยวคือถนนสายบ้านนา-ป่าบอนซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดที่มีอยู่ แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในการดูแล และบริหารจัดการโดยชุมชน ปัจจุบันการท่องเที่ยวอำเภอกงหรา ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักเที่ยวจากภายนอก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นคนในละแวกใกล้เคียงหรือคนในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนา และส่งเสริมไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นเด่นชัด ส่วนท้องถิ่นเองก็ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชน ในขณะที่ชุมชนก็ยังขาดความรู้ในการจักการ การท่องเที่ยวที่เป็นระบบแบบแผนของชุมชนเองจากการพูดคุยของเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวเห็นว่าปัญหาหลักคือปัญหาที่เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวคือ 1 ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวมีขยะตกค้างในแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ80คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทขวดน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร ที่มาของขยะส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยวนำติดตัวมาจากข้างนอก อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวเองจากการประกอบการของร้านค้าต่างๆที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆส่งผลให้ทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยวไม่สวยงาม ชุมชนต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดสถานที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะอยู่ที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000บาท 2 ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยวผลกระทบส่วนที่เกิดขึ้นการการดื่มเครื่องดื่ม    แฮลกอฮอล์คือมักจะเกิดการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นเยาวชน และมักจะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง 3 ปัญหาคุณภาพอาหารและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร รวมถึงปะเภทและปริมาณอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนใหญ่อาหารที่จำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นอาหารประเภทขบเคี้ยว และอาหารปรุงสำเร็จและส่วนประกอบอาหารส่วนมากต้องนำมาจากข้างนอกไม่ว่าจะเป็นประเภทเนื้อ ผักและผลไม้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวขาดการบริโภคที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากปัญหาโดยรวมดังกล่าวส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวยังไม่เป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมากนัก จึงทำให้แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกงหราเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับการนิยมมากนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนมากมักจะมาสัมผัสกับบรรยากาศในแหล่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้เกิดความประทับใจโดยรวมกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนคนอำเภอกงหรา จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหราจึงเห็นร่วมกันในการที่ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่เอื้อต่อสุขภาวะทางการท่องเที่ยว มุ่งเน้นในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพใน3ประเด็นคือ ชุมชนต้องจัดการกับปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการดำเนินการให้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆมีการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว แก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจำหน่ายด้วย โดยการใช้กติกาและกลไกการขับเคลื่อนของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดหาหรือจัดการให้เกิดการผลิตและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพให้แก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในปีแรกของการดำเนินงานเริ่มเน้นที่อาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้มีการจำหน่ายและบริการไว้ตามแหล่งท่องเที่ยวโดยเน้นที่ผักและผลไม้พื้นถิ่นที่มีการผลิตอยู่ในชุมชน ในแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการดังกล่าวชุมชนต้องสร้างกระบวนการการทำงานโดยเน้นการเรียนรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามสภาพปัญหาในแต่ละประเด็น 1 เรื่องขยะ เริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวเนื้อหาของการจัดเก็บคือประเภทและปริมาณของขยะต่างๆที่ตกค้างอยู่พร้อมทั้งที่มาของขยะที่เกิดขึ้นแล้วมาข้อมูลดิบผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อกำหนดเป็นแผนการทำงานร่วมกัน ค้นหาประเด็นร่วมและแนวทางการจัดการร่วมกันแล้วร่วมกันกำหนดเป็นกติการ่วมกันในเรื่องที่สามารถจัดการร่วมได้แต่ในส่วนของกติกาย่อยในระดับพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่จะกำหนดกันเองตามสภาพและจารีตประเพณีของแต่ละพื้นที่แล้วร่วมกันสร้างกลไกการจัดการของแต่ละพื้นที่ ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการระดับพื้นที่ให้เห็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 2 เรื่องเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ ในแหล่งท่องเที่ยว กระบวนการและวิธีการเริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณการจำหน่ายและการดื่ม และช่วงวัยของกลุ่มที่มีการดื่มในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ระหว่างการท่องเที่ยว เมื่อมีข้อมูลของแต่ละพื้นที่ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในรูปแบบของกติกาต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว แล้วนำกติกาที่เกิดขึ้นประกาศใช้กับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆและมีการติดตามการใช้กติกาอย่างต่อเนื่องโดยใช้กลไกของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนเป็นกลไกหลักในการติดตามการใช้กติกาและมีการประเมินผลเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความพึงพอใจของพื้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะของชุมชน 2. เพื่อร่วมสร้างข้อตกลงและกลไกการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ 1. เพื่อสร้างกลไกการหนุนเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะในระดับเครือข่ายอำเภอ 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะอำเภอกงหรา

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาศักยภาพแกนนำ(ศึกษาดูงาน)
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่2
  3. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่3
  4. เก็บข้อมูลพื้นที่
  5. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่4
  6. ประชุมคณะทำงานงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่1
  7. ประชุมเปิดโครงการ
  8. เวทีวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นระดับพื้นที่
  9. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
  10. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่8
  11. กิจกรรมสร้างข้อตกลงร่วมระดับเครือข่าย
  12. กิจกรรมเวทีสร้างกติการะดับพื้นที่
  13. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่5
  14. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1
  15. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ
  16. สร้างแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่
  17. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6
  18. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่7
  19. เรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
  20. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว
  21. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่9
  22. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2
  23. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่10
  24. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะทำงานโครงการและคณะทำงานแกนนำในพื้นที่ 100

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินโครงการในครั้งนี้เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวมีความคาดหวังเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สะอาด มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในแหล่งท่องเที่ยว สามารถลดปริมาณขยะในแหล่งเที่ยวนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ มีการควบคุมการหรือจัดการกับการดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัยในการเดินทางในการท่องเที่ยวรวมถึงสอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย และมีการผลิตและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยในแหล่องท่องเที่ยวชุมชนจะส่งผลให้ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าการเกษตรของชุมชนและนักท่องเที่ยวก็มีความมั่นใจการซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งความคาดหวังนี้ส่งผลโดยรวมทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่1

วันที่ 18 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

เวลา10.00-10.30น. พร้อมกันที่ประชุม ลงทะเบียนร่วมประชุม เวลา10.30-12.00น.  ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงสนับสนุนโครงการ เนื้อการการชี้แจงเป็นเรื่องที่มาที่ไปของโครงการ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1ปีแรกของโครงการ ที่มาของโครงการคืองบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)แนวทางทำโครงการเพื่อไปหนุนเสริมยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป้าหมายของโครงการคือร่วมกันสร้าวการเรียนรู้เพื่อร่วมกันสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะ ปีแรกอาจจะทำได้แค่เรื่องของขยะ ให้ชุมชนสามารถสร้างที่ท่องเที่ยวให้มีการจัดการขยะ เน้นที่ปลอดโฟม เรื่องที่2 คือเรื่องสร้างที่ท่องเที่ยวปลอดเหล้า และเบียร์ 12.00-13.00น.  พักกลางวัน เวลา13.00-14.30น.  จัดทำโครงสร้างของเครือข่ายในรูปแบบของคณะทำงานโครงการ ดำเนินการโดยนายหรูน เส็นบัตร ผู้ประสานงานเครือข่าย และกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานของโครงการ เวลา14.30-15.00น. รับประทานอาหารว่าง เวลา 15.00-16.00น.กำหนดแผนการทำงานในระยะช่วงแรกของการดำเนินโครงการกำหนดให้มีการประชุมทุกวันที่15ของเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน 2 มีโครงสร้างในรูปของคณะทำงานโครงการและได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานร่วมกันดังนี้ นายหรูน เส็นบัตรทำหน้าที่เป็นประธานเครือข่าย นายสุนิตย์ พลนุ้ยเป็นรองประธานเครือข่าย นางปรีดา คงเกลี้ยง ผู้ใหญ่บ้านหมู่2ต.คลองทรายขาวทำหน้าที่การเงิน นางเรวดี จีนศรีพานิชย์และทีมบ้านป่าใสออกเป็นทีมเลขาดูแลเรื่องเอกสารประกอบโครงการและกรรมการด้านอื่นๆที่สำคัญ 3 ได้แผนการดำเนินงานโครงการในระยะแรกคือ   3.1 กำหนดประชุมคณะทำงานทุกวันที่ 15ของเดือน
  3.2 กำหนดวันเปืดโครงการในวันที่9มกราคม2562สถานที่จัดกิจกรรมคือนำ้ตกมโนราห์หมู่11ต.คลองเฉลิม โดยให้ทีมหมู่ที่11บ้านนาทุ่งโพธิ์รับผิดชอบในการเตรียมกิจกรรม   3.3 กำหนดสถานที่จัดประชุมคณะทำงานโครงการครั้งต่อไปโดยกำหนดที่บ้านท่าเน๊าะหมู่6ต.คลองทรายขาว 4 คณะทำงานได้เรียนรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดสำคัญของโครงการที่จะดำเนินโครงการให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวังในช่วงปีแรกของการดำเนินโครงการ รวมถึงวิธีการและเงื่อนไขในการใช้งบประมาณของโครงการ

 

20 0

2. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่2 สถานที่ หมู่6 ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

วันที่ 15 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

08.30 นัดพร้อมกันที่กลุ่มสตรีบ้านท่าเน๊าะ 10.00 นายหรูน เส็นบัตร กล่าวทักทายผู้ร่วมประชุม
    นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ ทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เน้นสาระสำคัญที่การสร้างแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสุขภาวะ คือสามารถจัดการจยะในแหล่งท่องเที่ยวขงแต่ละหมู่บ้าน โดยใช้กลไกของเครือข่ายและแกนนำในพื้นที่เป็นเพื่อนในการทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ โดยเฉพาะโฟม และการสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้ปลอดจากเครื่องดื่มแฮลกอออล์ ซึ่งโครงการได้รับงบจาก สสส .มาทำกิจกรรมเพื่อไปหนุนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะที่ผ่านมาเรื่องการท่องเที่ยวเป็นเรื่องของส่วนราชการชาวบ้านไม่ค่อยได้เรียนรู้ ตอนนี้ที่เห็นมีโครงการ นวัฒวิถีชุมชนที่มาหนุนเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนอยู่ โครงการของ สสส.ก่อนที่ไปถึงผลสุดท้ายที่ต้องการต้องมีการเรียนรู้ของชุมชน สิ่งที่ชุมชนจะใช้เป็นเครื่องมือคือ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ คือเรื่องขยะ และแฮลกอฮอล์ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้จึงต้องเก็บข้อมูลกันก่อน 12.00-13.30 พัก 13.30 ช่วยกันแสดงความเห็นเรื่่องข้อมูลที่จะเก็บ สรุปให้เห็นชนิดของขยะ แฮลกอฮอล์ ที่มา ปริมาณ และการจัดการในปัจจุบัน ของแต่ละที่ และช่วยกันแสดงความเห็นถึงแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล คือให้ใช้แกนนำของแต่ละพื้นที่ช่วยกันเก็บข้อมูลของตนเอง แล้วนำมารวบรวมและเรียนรู้ร่วมกันในครั้งต่อไปของการประชุม ชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ที่ประชุมสรุปให้แต่ละที่บริหารจัดการกันเอง เพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานมากขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีคณะทำงานร่วมประชุม 20คน
  • คณะทำงานได้เรียนรู้โครงการ ที่ไป ที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการเพิ่มขึ้น
  • ได้แบบจัดเก็บข้อมูลที่จะใช้เก็บข้อมูลในที่ท่องเที่ยวจากการร่วมคิดของคณะทำงาน
  • ได้กำหนดแนวทางและวิธีการเก็บข้อมูลร่วมกัน

 

20 0

3. เก็บข้อมูลพื้นที่ สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวทั้ง6 หมู่บ้าน ในเครือข่าย

วันที่ 20 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-แต่ละหมู่บ้านลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลกันเองในแต่ละหมู่บ้าน -แต่ละหมู่บ้านรับงบประมาณที่ใช้ในการจัดเก็บไปบริหารจัดการกันเอง -ได้ข้อมูลจากแต่ละหมู่บ้านแล้วนำข้อมูลมารวบรวมเป็นข้อมูลกลางของโครงการ -ข้อมูลที่ได้นำมาเสนอในที่ประชุมประจำเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้ฐานข้อมูลเรื่องปริมาณและประเภทของขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน -เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มในชุมชนในการร่วมกิจกรรม มีกลุ่มเด็กเยาวชน ผู้นำ กลุ่มสตรี และคนจิตอาสา -ได้ความร่วมมือจากผู่้นำกลุ่ม และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ

 

60 0

4. ประชุมเปิดโครงการ ทำความเข้าใจพื้นที่ รับสมัครแกนนำหมู่บ้าน

วันที่ 22 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวลา13.00-14.00น. กลุ่มเป้าหมายพร้อมกันที่ประชุม ลงทะเบียน เวลา14.00-14.30น.ให้ความรู้ความเข้าใจที่มาที่ไปของโครงการ โดยนายประเทือง อมรวิริยะชัย ทีมสนับสนุนวิชาการโครงการเรื่องที่มาของโครงการว่าได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกันคิดว่าจะแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตัวเองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพอย่างไร และชาวบ้านะร่วมกันรักษาที่ท่องเที่ยวของตัวเองอย่างไร โดยจะมีทีมสนับสนุนจากโครงการมาช่วยให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆที่ชาวบ้านยังติดขัดหรือไม่เข้าใจในการทำงานร่วมกับ สสส.
เวลา14.30-15.00น. ให้โอวาท คำแนะนำ เสริมกำลังใจโดยนายอำเภอกงหรา ให้แนวคิดว่าที่ท่องเทียวที่มีในชุมชนคือของชาวบ้าน ชาวบ้านควรดูแลรักษากันเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์แต่ต้องคำนึงความยั่งยืนของทรัพยากรด้วย สิ่งที่เน้นย้ำคือนโบบายจังหวัดในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน และจะช่วยกันอย่างไรให้แหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและไม่มีการดื่มเหล้า เบียร์ ในที่ท่องเที่ยวโดยเด็ดขาด เพราะที่ท่องเที่ยวถือเป็นที่สาธารณะการดื่มเหล้าในที่สาธารณะนั้นตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ จึงไม่ควรให้ดื่มหรือมีการขายโดยเด็ดขาด ส่วนเรื่องขยะก็เป็นหน้าที่ของชุมชนที่จะต้องจักการกันเอง ไม่ควรฝากความหวังไว้กับท้องถิ่นหรือภาคราชการ เพราะถ้าที่ท่องเที่ยวสามารถปลอดขยะได้ ก็จะเป็นที่เที่ยวที่สวยงาม ใครก็อยากมาเที่ยว
เวลา15.30-16.00น. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความมุ่งหวังในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีสุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 95 คน ส่วนราชการร่วมกิจกรรมจำนวน 3คน ส่วนท้องถิ่นจำนวน 2คน 2 เกิดความร่วมมือจากผู้นำท้องที่คือ กำนันวินัย ยาชะรัด สนับสนุนอาหารว่างเป็นขนมจีนน้ำยา และอำนวยความสะดวกเรื่องจัดสถานที่สนับสนุนเต๊นท์จำนวน 1หลัง 3 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ที่มาของโครงการและแนวคิดการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและมีความตื่นรู้ตื่นตัวในการที่จะจัดการแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 4 ได้อาสาสมัครจากชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาเป็นแกนนำระดับหมู่บ้านในการเคลื่อนงานของชุมชนและโครงการ 5ได้แกนนำหมู่บ้านละ10คน ตามเป้าหมาย

 

96 0

5. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่3

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. ทำความเข้าใจเรื่องคามสำคัญและเป้าหมายของโครงการ โดยนายเสนีย์ จ่าวิสูตร ทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน ให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้โดยผ่านข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านที่ได้ลงไปจัดเก็บกันและช่วยกันเอาข้อมูลที่แต่ละหมู่บ้านได้จัดเก็บมา จากการนำเสนอข้อมูลขยะ ปริมาณขยะที่มากที่สุดคือขวดน้ำและถุงพลาสติก รวมถึงกล่องโฟมที่ใช้ในการใส่อาหารกล่อง สถานที่ที่มีขยะมากคือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกคือน้ำตกมโนราห์และน้ำตกปากรางที่มาของขยะคือเกิดจากร้านค้าที่มีอยู่ในน้ำตก และที่นักท่องเที่ยวนำมาเองจากข้างนอกแล้วนำมาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ส่วนเครื่่องดื่มแฮลกอฮอล์ที่มากที่สุดคือน้ำตกมโนราห์ ส่วนมากจะเกิดจากการที่มีคนมาเที่ยวเมื่อดื่มแล้วก็ทิ้งไว้ในน้ำตก เครื่องดื่มที่มากคือประเภทเบียร์ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นในที่ท่องเที่ยว ส่วนมากจะไม่มีเหตุเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว 12.00-13.30น. พัก 13.30น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ คุยเรื่องแนวทางการใช้ประโยชน์ข้อมูล และการร่วมกันทำงานร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน  โดยให้แต่ละหมู่บ้านกลับไปทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกรรมการระดับหมู่บ้าน ให้เห็นถึงที่เหตุของการเกิดขยะและการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยว และช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
    ชี้แจงวิธีการใช้งบประมาณที่ใช้ในการทำกิจกรรมเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ท่องเที่ยวในแต่ละหมู่บ้าน คือให้แต่ละหมู่้บ้านบริหารจัดการกันเองแยกกันไปทำของแต่ละหมู่บ้าน และจัดทำเอกสารกันเองแต่ละหมู่บ้าน     กำหนดสถานที่จัดประชุมครั้งต่อไปคือน้ำตกนกรำ ตำบลคลองทรายขาว     ที่ประชุมชี้แจงการเงินของโครงการโดยกรรมการการเงินโครงการและขออนุมัติเบิกเงินโครงการในการใช้ทำกิจกรรมของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะทำงานมาร่วมประชุมจำนวน 20คน ได้ข้อมูลดิบที่เกิดจากการจัดเก็บของแต่ละหมู่บ้าน ได้แผนการและแนวทางการทำงานตามแผนงานที่วางไว้ตามโครงการ ได้กำหนดสถานที่ในการประชุมคณะทำงานในครั้งต่อไป

 

20 0

6. พัฒนาศักยภาพแกนนำ(ศึกษาดูงาน)ตลาดป่าไผ่ และตลาดน้ำคลองแดน

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

08.00น ออกเดินทางจากอำเภอกงหรา 09.00น. ถึงป่าไผ่สร้างสุข อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง รับฟังการบรรยายสรุปจากวิทยากรเรื่องการจัดการขะะและเดินชมบรรยากาศในที่ท่องเที่ยวเรียนรู้โดยการสังเกตุ 12.00-14.00 พักและเดินทางต่อไปตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา 14.00-18.00น.รับฟังการบรรยายจากวิทยากร เรื่องการจัดการชุมชนและการจัดการตลาดของชุมชน และเดินชมบรรยากาศตลาดน้ำเรียนรู้ด้วยการสังเกตุ 18.00น. เดินทางกลับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 48 คน -ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ได้เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะจากสถานที่จริงผ่านการบรรยาย การตั้งคำถาม ตอบ และการสังเกตุเห็นแนวทางการจัดการขยะที่ดี -ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การเอาสินค้าชุมชนมาสร้างให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว -ได้พบและเรียนรู้การสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

 

40 0

7. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่4

วันที่ 15 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ทำความเข้าใจเรื่่องผลลัพธ์โครงการด้วยการให้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันพูดคุยถึงความสำคัญของตัวชี้วัดโครงการโดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้และจัดเก็บข้อมูลขยะและแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว เพราะข้อมูลจะเป็นเครื่องมือในการทำโครงการให้มีผลสำเร็จ ผู้ร่วมประชุมร่วมกันแสดงความเห็นเรื่องการจัดเก็บข้อมูลและผลของการจัดเก็บข้อมูล พบว่าข้อมูลในช่วงที่ผ่านมายังไม่ชัดเจนเพราะในที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านยังไม่มีคนเข้ามาเที่ยวมากนัก คาดว่าจะมีคนมาเที่ยวมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ประชุมจึงตกลงกันว่าจะมีการจัดเก็บข้อมูลใหม่โดยให้เก็บในช่วงเทศกาลเพราะจะเห็นชัด 12.00-13.30น. พัก 13.30น. ช่วยกันสะท้อนผลการไปศึกษาดูงานที่ป่าไผ่สร้างสุข อ.ควนขนุน จ.พัทลุงและตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา สรุปผลการดูงานคือ   ที่ป่าใผ่สร้างสุข มีความโดดเด่นเรื่องการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวโดยใช้กติกาของตลาดเป็นข้อบังคับเดียวกันที่ใช้กับกลุ่มแม่ค้าที่ขายของในตลาด ในขณะที่ผู้ดูแลตลาดคอยตอกย้ำอยู่ตลอดและใช้วิธีการตรวจตราและเฝ้าระวังกติการที่สำคัญคือ ให้แม่่ค้าในตลาดรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว เพราะตลาดจะไม่มีถังขยะวางไว้ การใช้วัสดุห่อหรือบรรจุอาหารและใส่ของที่ขายในตลาดให้ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ปัญหาที่เกิดคือความยากในการจัดการเพราะมีคนมาเที่ยวมาก และไม่มีการขายหรืออนุญาติให้ดื่มแฮลกอฮอล์ในตลาด   ตลาดคลองแดน จุดเด่นคือเรื่องความสวยงามของสถานที่มีการสร้างสถานที่ให้สวยงามเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและชุมชนมีการประชาสัมพันธ์อยู่ตลอด มีสินค้าที่ขายในตลาดที่เป็นสินค้าที่ผลิตโดยคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ วิธีการจัดการขยะด้วยการจัดที่รองรับขยะไว้ในจุดต่างๆของตลาดโดยใช้ถุงดำ และให้คนที่มาเที่ยวทิ้งลงในที่จัดไว้แล้วกรรมการตลาด จะเป็นคนมาคัดแยกและจัดเก็บทีหลัง แต่วิทยากรไม่เล่าให้เห็นถึงกติกาที่ใช้ในการจัดการที่ชัดเจนนัก
  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือได้เห็นวิธีการจัดการขยะที่แตกต่างกันระหว่างสองที่ แต่ก็สามารถจัดการได้ แต่ก็ยังมีขยะเกิดขึ้นเพราะเมื่อมีการค้าขายและการท่องเที่ยวก็เท่ากับทำให้เกิดขยะในที่ท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ไปดูงานคาดว่าจะสามารถเอาความรู้จากการดูงานมาปรับใช้กับการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านต้วเองได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคนมาร่วมประชุม 20คน -ได้เรียนรู้การทำโครงการเพิ่มเดิม โดยเฉพาะเรื่องความสำคัญของข้อมูล -ได้ตกลงร่วมกันในการจัดเก็บข้อมูลครั้งใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ -ได้สรุปและสะท้อนผลการไปศึกษาดูงานเรื่องการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยว         การจัดการขยะได้ดีคือการสร้างกติกาที่สามารถทำได้  เกิดจากความร่วมมือทั้งสองฝ่ายคือคนมาเที่ยวและเจ้าของสถานที่ การแก้ปัญหาเรื่องขยะการสร้างจิตสำนึกคนไม่สร้างขยะเพิ่ม ต้องย้ำอยู่เสมอ

 

20 0

8. เวทีวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นระดับพื้นที่

วันที่ 28 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

-แต่ละหมู่บ้านแยกกันไปจัดกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้าน และบริหารจัดการการเงิน และเอกสารประกอบโครงการกันเอง -โดยพี่เลี้ยงให้โจทย์ไปคือ จากข้อมูลที่พบในสองช่วงเวลา คือก่อนเทศกาลและช่วงเทศกาล นั้นแตกต่างอย่างไร มีปัญหาอะไร และจะจะจัดการกับปัญหาอย่างไร -นำผลการวิเคราะห์มาหารือกันในการประชุมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-แต่ละหมู่บ้านได้เรียนรู้การทำงาน
-มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 83 คน -แต่ละหมู่บ้านได้ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา

 

58 0

9. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่5

วันที่ 21 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนคุยเรื่องผลการเก็บข้อมูลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของแต่ละพื้นที่ แล้วช่วยกันนำเสนอในที่ประชุมจากการนำเสนอข้อมูลพบว่าขยะที่มีมากคือในที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่เที่ยวหลัก คือน้ำตก ประเภทขยะที่มากที่สุดคือถุงพลาสติกและขวดน้ำดื่ม และแก้วน้ำพลาสติก โดยเฉลี่ยที่วันละประมาณ 50กิโลกรัมต่อวัน ในแต่ละที่ ส่วนข้อมูลเรื่องเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ มีบ้างเล็กน้อย ที่มาของขยะคือ คนนำเข้ามาจากข้างนอก และเกิดจากร้านค้าที่มีในแหล่งท่องเที่ยว จัดลำดับที่ท่องเที่ยวชุมชนที่มีปริมาณขยะมากคือ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกปากราง น้ำตกตกนกรำ ส่วนที่ท่องเที่ยวอื่นมีปริมาณเล็กน้อยคือ คลองท่าเน๊าะ คลองทอนตรน และทุ่งนาป่าใส จากการเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ทำให้ชุมชนค้นหาิธีการจัดการขยะด้วยการสร้างเป็นกติกาของแต่ละพื้นที่ 12.00-13.30น.พัก 13.30น.แต่ละหมู่บ้านนำเสนอกติกาในการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละที่ และช่วยกันเติมเต็มและแลกความคิดเห็นร่วมกัน ลักษณะของกติกาที่เกิดขึ้นเป็นกติกาที่ใช้เฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวของแต่ที่   และแต่ละหมู่บ้านนำเสนอแผนของแต่ละหมู่บ้านที่จะทำในช่วงต่อไปเพื่อเสริมให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและปลอดแฮลกอฮอล์ และที่ประชุมได้ช่วยกันแสดงความเห็นต่อแนวทางกันทำงานของแต่ละหมู่บ้าน   ที่ประชุมสะท้อนปัญหาการทำงานพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับทีมคือเรื่องการจัดทำเอกสารประกอบโครงการและ ความสามารถของคณะทำงานในการนำเสนอและการวิเคราะห์สถานะการณ์ที่ประชุมจึงมีความเห็นให้ใช้งบประมาณที่เหลือจากกิจกรรมศึกษาดูงาน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในเรื่องการทำเอกสารประกอบโครงการ โดยให้จัดในวันที่ 2 พ.ค. ที่ทุ่งนาป่าใสออก
นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการ เสนอที่ประชุมจัดกิจกรรมประเมินผลการทำงานโครงการ ที่ประชุมจึงกำหนดจัดในวันที่ 28 เมษายน 62 ที่หนำลุงชารีสอร์ท ที่ประชุมให้แต่ละพื้นที่เตรียมกิจกรรมมาเล่นสันทนาการกันในกิจกรรมด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีผู้เข้าร่วมประชุม20คน -ได้เกิดการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลและสภาพข้อมูลปริมาณขยะในช่วงเทศกาล จะเห็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะในที่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนคน และลักษณะกิจกรรมของคนที่มาเที่ยว -ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและแผนการดำเนินของแต่ละหมู่บ้านกันในที่ประชุม ผลการวิเคราะห์จะออกมาในทางเดียวกัน คือปัญหาที่มีปริมาณมากเกิดขึ้นเกิดการทำกิจกรรมของคนที่มาเที่ยว และสิ่งรอบข้างที่เอื้อให้เกิดการสร้างขยะ การแก้ปัญหาต้องสร้างกลไกและวิธีการในการจัดการในพื้นที่

 

20 0

10. กิจกรรมเวทีสร้างกติการะดับพื้นที่

วันที่ 25 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

-พี่เลี้ยงมอบหมายงานจากที่ประชุมให้แต่ละพื้นที่ไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อร่วมกันนำผลการวิเคราะห์ มากำหนดเป็นกติกาแต่ละที่ -แต่ละพื้นที่รับจัดสรรงบประมาณไปดำเนินการ -เอาผลการจัดเวทีมาเรียนรู้กันในการประชุมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานของแต่ละพื้นที่ ได้เรียนรู้การจัดกิจกรรมเรียนรู้ -มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม71 คน -ได้กติกาของแต่ละพื้นที่มาสรุปรวม คือให้คณะทำงานแต่ละพื้นที่ติดประกาศกติกาในที่ท่องเที่ยว มีรายละเอียด 1ให้มีที่คัดแยกขยะในที่ท่องเที่ยว 2ให้แม่ค้าจัดการรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว 3ให้แม่ค้าดูแลบริเวณร้านค้าของตนเอง 4ห้ามบรรจุอาหารด้วยกล่องโฟม 5นักท่องเที่ยวที่นำขยะมาจากข้างนอกต้องนำกลับไปด้วย โดยให้กรรมการคอยตรวจตรา ดูแล 6ห้ามร้านค้าที่ขายอาหารสด ทิ้งเศษอาหารลงในที่ทิ้ง แต่ต้องนำกลับบ้านหลังจากการขายในแต่ละวัน 7ห้ามร้านค้า ขายเหล้า เบียร์ ในที่ท่องเที่ยว 8 ห้ามนำเหล้า เบียร์มาดื่มกินในที่ท่องเที่ยว 9ให้ร้านค้าคุยกับลูกค้าขอความร่วมมือลดการใช้ถุงหิ้วในการใส่ของ 10กรรมการต้องตรวจตราความเรียบร้อยของที่ท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ

 

86 0

11. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1

วันที่ 28 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

09.00น. แกนนำและคณะทำงานโครงการจัดเตรียมข้อมูลตามที่ได้จัดเก็บของแต่ละหมู่บ้าน       เตรียมผลการวิเคราะห์และสิ่งที่เกิดจากการทำกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้าน       พี่เลี้ยงชวนคุยตามบันไดผลลัพธ์ที่วางไว้ในโครงการ       คณะทำงานเล่าสิ่งที่เกิดจากการทำโครงการ
13.30น.สะท้อนปัญหาที่เกิดระหว่างดำเนินโครงการ       แนวทางการดำเนินโครงการในช่วงต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมิน -มีคณะทำงานโครงการที่ชัดเจน มีโครงสร้างการบริหาร แลมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองที่รับมอบหมาย -เกิดการเรียนรู้ของคณะทำงานโครงการ ในเรื่องการบริหารจัดการโครงการรวมไปถึงการจัดทำเอกสารประกอบโครงการและได้รียนรู้การแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงการ -เกิดการเรียนรู้ผ่านการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านและได้ฐานข้อมูลเรื่องปริมาณและประเภทของขยะที่เกิดในแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน และมีข้อมูลที่ยืนยันได้เป็นเอกสาร -เกิดกติกาในการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละหมู่บ้าน คือ ห้ามทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว ห้ามนำเครื่องดื่มแลกออล์มาดื่มในที่ท่องเที่ยว ให้ร้านค้าที่ขายของในที่ท่องเที่ยวรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว ให้ร้านค้าคัดแยกขยะ
  ก่อนนำขยะไปไว้ในที่จัดเก็บรอการขนย้าย นักท่องเที่ยวที่นำขยะมาจากข้างนอกให้นำขยะกลับไปด้วย ห้ามร้านค้าใช้โฟมในการบรรจุอาหาร ให้กรรมการที่ท่องเที่ยวตรวจตราความเรียบร้อยอย่างต่อเนื่อง -เกิดแผนการทำงานโครงการในช่วงต่อไปของโครงการคือ จัดให้มีจุดคัดแยกขยะในที่ท่องเที่ยว จัดทำป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแก้ปัญหาขยะ ประกาศแหล่งท่องเที่ยวทั้ง6แหล่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและปลอด
- เครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ พื้นที่5ที่สามารถสร้างให้เกิดการปลอดการดื่ม ที่ยังจัดการไม่ได้คือน้ำตกมโนราห์ เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวใหญ่ คนมาเที่ยวมาก ยากกับการควบคุมดูแลทั่วถึง -ปัญหาที่พบจากการทำโครงการคือ ความเข้าใจโครงการที่ไม่ละเอียดพอในช่วงแรกของการทำโครงการ ช่สงกลางพบปัญหาเรื่องการจัดทำเอกสารประกอบโครงการ ทั้งเรื่องการเขียนบันทึกการประชุม  และการทำเอกสารการเงินจากแต่ละพื้นที่ ที่ไม่เท่ากัน รวมถึงรูปแบบและวิธีการเขียนรายงานทางเวปไซด์ ค้นหาทางออกร้วมกันคือ ที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมเรียนรู้การเขียนและทำเอกสารประกอบโครงการ รวมถึงทักษะต่างๆของคณะทำงาน โดยให้ใช้งบประมาณส่วนที่เหลือจากกิจกรรมศึกษามาดูงานมาใช้

 

56 0

12. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00 น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนผู้เข้าร่วมประชุม สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารโครงการ ได้พบว่าปัญหาคือหลังจากแต่ละพื้นที่ได้รับการกระจายงบประมาณไปเพื่อทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แล้วคณะทำงานทำเอกสารประกอบไม่เป็น เพราะตอนรับงบโครงการนั้นได้ไปเรียนมาแค่คนเดียวจึงไม่สามารถช่วยกันถ่ายทอดได้ การทำกิจกรรมในพื้นที่ผลของกิจกรรมการทำนั้นก็ได้มาไม่ครอบคลุมเชิงเนื้อหาเท่าใดนักเพราะทีมงานยังขาดทักษะในการจัดเวทีเรียนรู้ สิ่งที่อยากเรียนรู้คือการทำรายละเอียดต่างๆในเอกสาร และทักษะในการจัดเวทีการประชุม พี่เลี้ยงชวนผู้ร่วมประชุมให้ทุกคนได้พูดและนำเสนอเรื่องต่างๆที่ทำอยู่ในชุมชนของแต่ละคน โดยให้โจทย์คือเล่าเรื่องให้คลอบคลุมถึงเรื่องที่ทำ ผลที่เกิด อุปสรรคข้อจำกัดที่เกิดขึ้นและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยให้ใช้เวลาคนละ5นาทีในการพูด แล้วเมื่อทุกคนนำเสนอเสร็จ พี่เลี้ยงสรุปให้เห็นว่า เวลาทำกิจกรรมเวทีการเรียนรู้คนจัดกระบวนพยายามกระตุ้นให้ผู้ร่วมกิจกรรมพูดให้มากที่สุด แต่ไปสกัดความคิดคนอื่นแต่คอยซักคอยถามหากเห็นว่าเรื่องที่คุยมานั้นไม่ตรงตามที่คุยกันในแต่ละเรื่อง และที่สำคัญอีกอย่างคือการจดการบันทึกสิ่งที่มีประโยชน์ และการชื่นชมกันและกัน 12.00-13.30 น.พัก 13.30 น.เอาเอกสารที่เตรียมมาจากการทำกิจกรรมในพื้นที่มาช่วยกันกันตรวจดูความเรียบร้อย ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้ง6พื้นที่ก็จัดการทำกันเองโดยมีเลขาคอยแนะนำชวนคุยชวนทำ และพี่เลี้ยงช่วยเสริมเป็นครั้งๆไป
หลังจากทำเอกสารได้ระดับที่พอใจแล้ว ก็ร่วมกันทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกันเพื่อผ่อนคลายและสร้างคามสัมพันธ์ที่ดีกันในเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานได้เรียนรู้เทคนิคในการจัดเวทีเรียนรู้ และคาดหวังว่าจะนำไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆในหมู่บ้านและของโครงการ -ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานประกอบโครงการ และรับรู้ทุกอย่างเท่าเทียมกัน -ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในทีมทำงาน

 

26 0

13. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6

วันที่ 13 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00 นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี้เลี้ยงสนับสนุนโครงการ บอกเล่า สถานการณ์ภาพรวมของโครงการทั้งหมด ที่ร่วมทำโครงการ สสส. กับหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุงทั้งหมด ตอนนี้ถึงช่วงกลางของโครงการ หลายโครงการเริ่มเห็นผลการทำงาน หลายโครงการก็มีการประเมินไปแล้ว และจะมีการระชุมเพื่อประเมินผลระดับโครงการร่วมกันทั้งหมดในวันที่ 16-17 พ.ค.นี้ ขอให้โครงการส่งทีมงานไปร่วม จำนวน 3-4 คน เรื่องที่จะคุยคือ เรื่องผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นของแต่ละโครงการ ว่า6เดือนที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง และช่วยกันทบทวนผลการประเมินของโครงการ เพื่อเตรียมเนื่อหาเข้าร่วมประชุม 12.00-13.30 น. พัก 13.30 น. ชวนคุยเรื่องผลการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่่องการเรียนรู้การจัดทำเอกสารประกอบโครงการของแต่ละพื้นที่ ช่วยกันคุย ได้เห็นร่วมกันว่าโครงการเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถให้ชาวบ้านได้บริหารจัดการโครงการกันเอง ได้เรียนรู้เรื่องวิธีคิดและวิธีการทำงานด้วยตัวเองไม่เหมือนโครงการจากส่วนงานอื่นที่ชาวบ้านไม่ค่อยได้เรียนรู้และรับรู้เรื่องการบริหารและจัดการเลย แกนนำหลายคนกล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำและรับผิดชอบถึงว่าจะผิดบ้างถูกบ้างก็มีพี่เลี้ยงคอยช่วยอยู่ตลอด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีคณะทำงานร่วมประชุม 20คน -ได้ทบทวน เรียนรู้ เตรียมการ เพื่อร่วมประชุมประเมินผล กับหน่วยจังหวัด -ได้ช่วยกัน ตรวจเอกสาร การเงินของโครงการ

 

20 0

14. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่7

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. นายสุนิตย์ พลนุ้ย ผู้ใหญ่บ้าน บเานนาทุ่งโพธิ์หมู่ที่11ตำบลคลองเฉลิม กล่าวทักทายและต้อนรับคณะทำงานเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุทคณะทำงานประจำเดือน 10.30-11.30น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ ชี้แจงกล่าวชื่นชมคณะทำงานเครือข่ายที่ร่วมกันดำเนินโครงการในช่วงแรกของโครงการที่ผ่านมาและรายงานผลการดำเนินงานของเครือข่ายถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการว่าที่ผ่านมาการดำเนินงานถือว่าประความสำเร็จในระดับหนึ่งตามที่ได้วางไว้ของโครงการ และชี้แจงผลการจ่ายเงินที่ผ่านมาของโครงการตามที่หน่วยจัดการได้ถ่ายดอนงบประมาณมาให้คณะทำงานใช้ตามแผนการใช้เงินของโครงการ และชี้แจงแแผนงานตามโครงการในระยะที่2ที่ยังไม่ได้ทำตามแผนงานโครงการ ที่ยังคงเหลือคือ 1กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน4ครั้ง 2กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนแหล่งท่องเที่ยว 3กิจกรรมเรียนรู้การจัดการการดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว 4กิจกรรมสร้างกติกข้อตกลงระดับเครือข่าย 5กิกรรมสร้างแผนงานระดับเครือข่าย 6กิจกรรมจัดทำสื่อรณรงค์ การจัดการขยะและฮลกอฮอล์ในอหล่งท่องเที่ยว 7กิจกรรมประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนา 8กิจกรรมที่ต้องร่วมกบหน่วยจัดการระดับจังหวัดอีก3-4ครั้ง 13.00น. ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานที่เหลืออยู่ของโครงการ โดยการประชุมคณะทำงานเเครือข่ายให้ใช้การประชุมหมุนเวียนไปทุกหมู่บ้านในเครือข่ายเหมือนช่วงแรก กิจกรรมแรำที่ตกลงจัดคือกิจกรรมการสร้างแผนการดำเนินระดับเครือข่ายท่องเที่ยวตกลงใช้หมู่11บ้านนานาทุ่งโพธิ์เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ในวันที่3กรกฎาคม2562 กิจกรรมส้างกติกาและข้อตกลงระดับเครือข่ายใช้หมู่1บ้านนกรำเป็นสถานที่จัดกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้การจัดการขยะใช้บ้านท่าเน๊าะ ส่วนกิจกรรมอืื่นจะหารืในการประชุมครั้งต่อไปโดยมอบหมายให้นายสุนิตย์ พลนุ้ยเป็นผู้ประสานงานจัดกิจกรรมและคณะทำงานเครือข่ายร่วมกันค้นหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม และมอบหมายคณะทำงานพื้นที่หมู่ 11จัดการทุกเรื่องที่ดกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มึคณะทำงานเครือข่ายเข้าร่วมประชุม21คน 2ได้แผนการประชุมคณะทำงานประจำเดือน 3ได้กำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการขยะ 4คณะทำงานได้แบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานโครงการ

 

20 0

15. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่8

วันที่ 16 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมการประชุมคณะทำงานและแจ้งให้ทราบเรื่องกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้านที่หมู่บ้านร่วมกับอำเภอกงหราจัดกิจกรรมเดิน-วิ่งโดยใช้เส้นทางในหมู่บ้านเป็นเส้นทางในการใช้ในการจัดกิจกรรมเปิดโลกการท่องเที่ยวอำเภอกงหรา 11.00น. นายอรุณศรีสุวรรณพี่เลี้ยงโครงการแจ้งให้ทราบเรื่องกิจกรรมที่เหลืออยู่ของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วภายใต้งบของโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว3หมู่บ้าน แล้วชวนคณะทำงานของเครือข่ายร่วมกันบอกเล่าถึงสถานะการณ์ต่างๆของพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้วว่าประสบความสำเร็จและมีปัญหาข้อจำกัดอะไรบ้างในการดำเนินงานตามโครงการ 12.00-13.00น. พัก 13.00-15.00น.ชวนกันพูดคุยกำหนดวันที่จะจัดกิจกรรมของหมู่บ้านในเครือข่ายที่เหลืออยู่ภายใต้โครงการ และชี้แจงการใช้งบประมาณของโครงการเพื่อให้โครงการดำเนินงานต่อไปให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นางปรีดา คงเกลี้ยงชี้แจงการเงินโครงการที่ได้เบิกจ่ายเพื่อดำเนินการตามโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีคณะทำงานเครือข่ายร่วมประชุมจำนวน20คน 2ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมของหมู่บ้านในเครือข่าตามกิจกรรมของโครงการ 3ที่ประชุมได้รับรู้การเบิกจ่ายเงินของโครงการ

 

20 0

16. กิจกรรมสร้างข้อตกลงร่วมระดับเครือข่าย

วันที่ 25 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. ลงทะเบียน 10.30น. กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมโดยนายสุนิตย์ พลนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านนาทุ่งโพธิ์ หมู่11ตำบลคลองเฉลิม 11.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำกิจกรรม โดยเพื่อตองการให้คณะทำงานโครงการทั้งระดับทีมจัดการและระดับหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมการทำงานของโครงการเพื่อให้โครงการสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงคของโครงการเพื่อให้มีการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของชุมชนอย่างมีประสิทธิ์ภาพ 13.00น. คณะทำงานโครงการร่วมกันกำหนดข้อตกลงร่วมกันของเครือข่าย โดยมีเจตนาหลักเพื่อให้ขยะในแหล่งท่องเที่ยวลดลง และมีการจัดการและควบคุมการจำหน่ายและดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยวคือ 1ทุกหมู่บ้านต้องมีการทำความสะอาดท่องเที่ยวของตัวเองทุกเดือน 2จะไม่มีการใช้โฟมในการบรรจุอาหารในที่่ท่องเที่ยว 3ต้องมีกรรมการดูแลที่ท่องเที่ยว 4ต้องไม่มีการดื่มเหล้าเบียร์ในที่ท่องเที่ยว 5ต้องปิดป้ายประกาศและรณรงค์ในท่องเที่ยว 15.00น. นายสุนิตย์ พลนุ้ยผู้ใหญ่บ้าน อ่านคำประกาศให้น้ำตกมโนราห์เป็นน้ำตกปลอดขยะและปลอดการดืื่มแฮลกอฮอล์ในน้ำตก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม55คน 2ได้ข้อตกลงการจ้ดการขยะและดื่มเหล้า เบียร์ในที่ท่องเที่ยวของแต่ละชุมชน 3ประกาสน้ำตกมโนราห์เป็นน้ำตกปลอดแฮลกอฮอล์และปลอดโฟม

 

52 0

17. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว

วันที่ 8 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น.เปิดการประชุมโดยนายกิตติศักดิ์ สังข์แทน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5บ้านทอนตรน ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา 10.30น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี้เลี้ยงโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรม เพื่อให้เราได้เรียนรู้และร่วมกันหาแนวทางการจัดการและควบคุมการดื่มการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยวของชุมชน เพราะจากเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่าขยะในที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่เกิดจากการเอาเหล้า เบียร์ไปดื่มในน้ำตกแล้วทิ้งขวดเหล้า เบียร์ไว้ที่น้ำตก รวมทั้งน้ำตหรือที่ท่องเที่ยวขุมชนนั้นเป็นที่สาธารณะจึงไม่เหมาะที่จะให้มีการดื่มในที่ท่องเที่ยว 11.00น.เจ้าหน้าที่รพ.สต.ท่าเน๊าะ ชวนคุยเรื่องผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเหล้า เบียร์ในที่ท่องเที่ยว ผลกระทบที่เกิดคือการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางและภาพลักษณ์ที่ไม่น่ามองของที่ท่องเทียว 13.00น. นายสนิท ขำนุรักษ์ ชวนคุยเรื่องการจัดการและควบคุมการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยวและการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะที่มีการคัดแยกจากครัวเรือนและขยะที่คัดแยกจากการเก็บมาจากน้ำตก และการกำจัดขยะที่เป็นพลาสติกด้วยการใช้เตาชีวมวลในการกำจัดขยะ 14.00น.นายกิตติศักดิ์ สังข์แทน อ่านคำประกาศให้คลองทอนตรนเป็นที่ท่องเที่ยวปลอดขยะ และปลอดการดื่มแฮลกอฮอล์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีคนร่วมกิจกรรมจำนวน60คน 2ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเหล้า เบียร์ 3ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การจัดการขยะ 4ได้ประกาศให้คลองทอนตนนเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ ปลอดโฟม และปลอดการดื่มเหล้าเบียร์

 

52 0

18. สร้างแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่

วันที่ 9 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. ลงทะเบียน 10.30น. กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมโดยผู้ใหญ่บ้านนกรำ หมู่1ตำบลคลองทรายขาว 11.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำกิจกรรม โดยเพื่อต้องการให้คณะทำงานโครงการทั้งระดับทีมจัดการและระดับหมู่บ้านได้ร่วมกันวางแผนการทำงานของโครงการเพื่อให้โครงการสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงคของโครงการเพื่อให้มีการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของชุมชนอย่างมีประสิทธิ์ภาพ 13.00น. นายประสิทธิพร สมุหเสนีโต นายอำเภอกงหรา ได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้ร่วมประชุมและให้ขอเสนอแนะในการคิดแผนการทำงานโดยให้ทุกคนที่ร่วมประชุมได้มีส่วนร่วมกันการคิดและกำหนดแผนร่วมกันละกล่าวชื่นชมคณะทำงานโครงการ และสสส.ที่ได้ช่วยกันทำงานเพื่อแแก้ปัญหาขยะในที่ท่องเที่ยวชุมชนให้ที่ท่องเที่ยวมีความสะอาดและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวอันจะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอกงหราพร้อมทั้งให้คำมั่นว่าจะร่วมมือกับชุมชนในการแก้ปัญหาเรื่องขยะในระดับอำเภอต่อไป 14.30น. นายสนิท ขำนุรักษ์ คณะทำงานเครือข่ายได้อ่านคำประกาศให้น้ำตกนกรำเป็นน้ำตกปลอดขยะและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ และคณะทำงานโครงการร่วมกันกำหนดแผนการทำงานระดับหมู่บ้านจำนวน6หมู่บ้าน โดยมีเจตนาหลักเพื่อให้ขยะในแหล่งท่าองเที่ยวลดลง และมีการจัดการและควบคุมการจำหน่่ายและดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม55คน 2ได้แผนการจ้ดการขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละชุมชน 3ประกาศน้ำตกมโนราห์เป็นน้ำตกปลอดแฮลกอฮอล์และปลอดโฟม

 

55 0

19. เรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

วันที่ 19 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ จี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรม กิจกรรมวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวอำเภอกงหรา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้ช่วยกันจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของชุมชนโดยชุมชนเอง ซึ่งการจัดกิจกรรมได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. เพื่อให้คณะทำงานและชุมชนได้เรียนรู้การจัดการขยะด้วยชุมชนเองและให้เรียนรู้สถานการณ์ขยะของประเทศและปัญหาการจัดการขยะที่เกิดขึ้นในจังหวัดพัทลุง และแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเรื่องขยะของจังหวัดพัทลุง 11.00น. นายสนิท ขำนุรักษ์ ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ โดยเฉพาะการคัดแยกขยะรีไซเคิ้ลที่สามารถเอากลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการขายเพื่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน และเป็นการเอาขยะนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง และให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะที่เป็นพลาสติกด้วยการใช้เตาเผาแบบชีวมวลด้วยการยกตัวอย่างชุมชนบ้านทอนตรนที่ใช้เตาชีวมวลในการกำจัดขยะ 13.00น. นายประเทือง อมรวิรยะชัย ทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน มาให้แนวคิดการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะโดยชุมชนในแบบการทำธนาคารขยะ แนะนำให้ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นธนาคารขยะในชุมชนเพื่อการสร้างรายได้กับครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะและเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และประชาสัมพันธ์นโยบายนายอำเอกงหราเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือนที่เน้นให้มีการลดการใช้ขยะและกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยการทำปุ๋ยหมัก 14.30น. เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ท่าเน๊าะให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยการใช้ถังพลาสติกนำไปตัดก้นออกแล้วนำไปฝังไว้ที่โคนไม้ในสวนหรือบริเวณบ้าน แล้วเอาขยะอินทรีย์ที่เหลือในครัวเรือนมาใส่ไว้เรื่อยๆจนเต็มเมื่อเต็มแล้วก็ย้ายที่ไปทำที่ต้นไม้ต้นอื่น จะเป็นการลดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ ประโยชน์ที่เกิดคือ ได้กำจัดขยะ และเอาขยะไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทิ้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีคนร่วมกิจกรรม60คน 2ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาขยะ 3ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะและแนวทางการกำจัดขยะจากวิทยากรที่ให้ความรู้

 

52 0

20. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่9

วันที่ 21 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น.นายกิตติศักดฺ์ สังข์แทน ผู้ใหญ่บ้านหมู่5บ้านทอนตรนกล่าวต้อนรับคณะทำงานเครือข่ายที่่่เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวประจำเดือน 10.30น.นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการชวนคุยเรื่องการทำงานให้บรรลุผลลัพธ์ของโครงการ โดยให้คณะทำงานจากแต่ละหมู่บ้านเล่าประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ และปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมจ้อเสนอแนะในการทำงานจากแต่ละพื้นที่ 13.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนทบทวนแผนการทำงานของเครือข่ายในกิจกรรมที่เหลืออยู่ของโครงการและช่วยกันกำหนดวันจัดกิจกรรมที่เหลืออยู่และทบทวนเป้าหมายในการทำงานของเครือข่าย และเน้นยำ้เรื่องการจัดส่งเอกสารการเงินให้ผู้รับผิดชอบเรื่องการทำเอกสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน20คน 2ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานแก่กัน 3ได้ร่วมกันทบทวนเน้นย้ำเป้าหมายการทำงานร่วมกัน 4ได้ร่วมกันกำหนดวันจัดกิจกรรมร่วมกัน

 

20 0

21. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2

วันที่ 30 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น.นายธำรงค์ เพชรโชติ ผู้ใหญ่บ้านป่าใสออก หมู่2ตำบลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงกล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรม 10.30น. นายอุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม แก่ผู้ร่วมกิจกรรมเพื่อร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานของโครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา โดยการนำเสนอบันไดผลลัพธ์โครงการให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ ผลที่ต้องการคือการลดลงของปริมาณขยะในที่ท่องเที่ยวชุมชน แล้วแนะนำการนำเสนอให้คณะทำงานบอกเล่าถึงผลที่เกิดจากดำเนินงานโครงการ 11.00น.คณะทำงานโครงการนำโดยนายสนิท ขำนุรักษ์ จากหมู่5บ้านทอนตรน บอกเล่าผลที่เกิดคือที่ผ่านมามีการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมของโครงการ ได้เกิดข้อตกลงร่วมกันคือข้อตกลงร่วมกันระดับเครือข่ายที่แต่ละหมู่บ้านตกลงร่วมกันในการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยว และตกลงร่วมกันที่จะดำเนินงานตามแผนงานที่ร่วมกันคิดคือแต่ละหมู่บ้านลงมือทำตามแผนที่วางไว้ มีการทำความสะอาดที่ท่องเที่ยวชุมชน มีการปรับสภาพแวดล้อมที่ท่องเที่ยวให้เอื้อกับการไม่มีขยะในที่ท่องเที่ยวและชุมชนโดยคนที่ทำคือกรรมการระดับหมู่บ้าน อาศัยการเรียนรู้การการให้ความรู้จากคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่มาให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และการกำจัดขยะของทุกหมู่บ้านในเครือข่าย ผลคือทุกหมู่บ้านมีการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวโดยชุมชนเอง 13.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนผู้ร่วมกิจกรรมคุยต่อเรื่องการจัดการขยะที่ต่อเนื่องหลังจากที่โครงการได้จบลง ว่าจะทำอย่างไรให้มีการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องและไม่ก่อให้เกิดขยะในที่ท่องเที่ยวของชุมชน ผู้ร่วมกิจกรรมช่วยกันตกลงและสัญญากันว่า จะเอาความรู้ที่ได้จากการอบรมของโครงการไปใช้ให้ได้ในการจัดการขยะ ซึ่งมีวิธีการคือทุกหมู่บ้านมีกรรมการในท่องเที่ยวและกติกาในการจัดการขยะอยู่แล้ว ปัญหาของขยะในท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่มาจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้สถานที่จำเป็นต้องมีกติกาและใช้กติกาที่ตกลงกันไว้ให้เข้มงวด ส่วนเรื่องการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยวนั้นสามารถควบคุมจัดการได้เพราะนักท่องเที่ยวก็มีจิตสำนึกในการดูแลที่ท่องเที่ยวและทำตามที่กรรมการได้ตกลงและวางไว้ แต่ขึ้นอยู่กับว่ากรรมการจะเข้มงวดแค่ใหน แต่ช่วงที่มีขยะมากที่สุดคือช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว นอกเหนือจากช่วงเทศกาลปัญหาที่เกิดนั้นไม่มีปัญหามาก 15.00น.นายธำรงค์ เพชรโชติ ผู้ใหญ่บ้านได้อ่านคำแถลงการประกาศว่าชุมชนบ้านป่าใสออกจะเป็นหมู่บ้านที่แหล่งท่องเที่ยวและที่สาธารณะชุมชนปลอดขยะด้วยการยอมรับร่วมกันของคนในชุมชนและคณะทำงานเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน55คน 2ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นในการแก้ปัญหาเรื่องขยะในที่ท่องเที่ยวและที่สาธารณะทั่วไปของชุมชน 3 บ้สนป่าใสออกได้ประกาศเจตนาร่วมกันที่จะเป็นชุมชนท่องเที่ยวปลอดขยะและสัญยาว่าคนในชุมชนจะช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรที่ท่องเที่ยวของชุมชน

 

56 0

22. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่10

วันที่ 20 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น.นางปรีดา คงเกลี้ยงผู้ใหญ่บ้านหมู่2บ้านคลองหรั่งกล่าวต้อนรับคณะทำงานเครือข่าย 10.30น. อรุณ ศรีสุวรรณ ชวนคุยเล่าการทำงานในเดือนที่่ผ่านมาโดยให้แต่ละพื้นที่ช่วยกันเล่าว่าทำอะไร อย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้างในการทำงาน และคณะทำงานได้เรียนรู้อะไรในการร่วมทำงานกับโครงการ แล้วทุกพื้นที่ก็ข่วยกันเล่าถึงสิ่งที่แต่ละพื้นที่ได้รับเงินสนับสนุนไปทำกิจกรรม 13.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ สรุปการทำงานของเครือข่ายภายใต้โครงการ และเล่าถึงการไปร่วมกิจกรรมกับจังหวัด และแจ้งถึงกิจกรรมที่ต้องไปร่วมกับทีมจังหวัดที่ยังเหลืออยู่ นางปรีดา คงเกลี้ยง แจ้งเรื่องการเงินของโครงการที่ใช้จ่ายไปแล้วให้คณะทำงานได้รับทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1คณะทำงานเครือข่ายเข้าร่วมรประชุม22คน 2ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน 3ได้รับรู้การใช้จ่ายเงินของโครงการร่วมกัน

 

20 0

23. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3

วันที่ 26 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

10.00น.นางปรีดา คงเกลี้ยง ผู้ใหญ่บ้านคลองหรั่ง หมู่2ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรม และชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานของโครงการทั้งหมดที่ได้ทำตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนงานกิจกรรมของโครงการ เพื่อให้ได้รู้ว่าการทำโครงการได้เกิดผลอะไรขึ้นบ้าง 10.30น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการได้อธิบายขั้นตอนในการจัดกิจกรรมคือ ให้ทุกหมู่บ้านช่วยกันบอกเล่าถึงผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ และให้ทุกคนในที่ประชุมช่วยกันพูดและแสดงความเห็นร่วมกันว่าสิ่งที่ช่วยกันนำเสนอมานั้นใช่หรือไม่ เกิดขึ้นเพราะอะไร เราได้ร่วมมือในการดำเนินงานกับใครบ้าง 11.00น. ที่ประชุมช่วยกันนำเสนอผลที่เกิดว่า ทุกหมู่บ้านมีคณะทำงานครบทุกหมู่บ้านหมู่บ้านละ7-10คน มีหน้าที่ในการดูแลแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมการใช้กติกาที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกันทั้งระดับหมู่บ้านและระดับเครือข่าย และกติกาที่่ได้สร้างขึ้นนั้นสามารถใช้ได้จริงเพราะกรรมการมีความรับผิดชอบและมีความรักในชุมชนของตนเอง และทุกหมู่บ้านสามารถประกาศเป็นหมู่บ้านที่มีการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวได้ทุกหมู่บ้านและสามารถเลิกการใช้โฟมในการใส่อาหารในที่ท่องเที่ยวได้ทุกที่ ที่เกิดขึ้นได้เพราะนักท่องเที่ยวเข้าใจเจตนาในการทำงานของกรรมการและหมู่บ้าน และส่วนหนึ่งเกิดเพราะกระแสของสังคมที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ และเป็นนโยบายของนายอำเภอกงหราที่มุ่งมั่นตั้งให้ให้ทุกหมู่บ้านมีการจัดการขยะ และส่งผลให้เกิดการนำความรู้ที่ได้การการอบรมของโครงการไปใช้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยเฉพาะในครัวเรือนของกรรมการทุกหมู่บ้าน ส่งผลให้ขยะในที่ท่องเที่ยวลดลงเกินครึ่งหนึ่งจากที่เริ่มโครงการ และการทำงานของเครือข่ายได้ทำงานร่วมกับกรรมการหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน โดยได้ด้แรงสนับสนุนจากนโยบายนายอำเภอกงหราและมีเจ้าหน้าที่จากสาธารณะสุขมาร่วมในการทำโครงการ และมีโครงการจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด โครงการจากการคัดแยกขยะจากเทศบาลคลองทรายขาวมาร่วมหนุนเสริมด้วย ส่งผลให้่เกิดการตื่นตัวของคนในชุมชนมากขึ้น 13.00น.นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนทบทวนผลการทำงานและชวนคุยเรื่องการทำงานในอนาคต ว่าเราจะทำงานร่วมกันในอนาคตอย่างไรที่เกิดความร่วมมือจากส่วนราชการและท้องถิ่นมากขึ้น ที่ประชุมเสนอว่าน่าจะขยายการทำงานไปสู่ครัวเรือนให้มากขึ้น และให้มีการใช้กติกาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาที่ท่องเที่ยวให้สวยงามมากขึ้น วิธีการที่จะร่วมกับส่วนราชการกับท้องถิ่นน่าจะไม่ยากเพราะเขาพร้อมที่จะร่วมมือและสนับสนุนอยู่แล้ว ส่วนแนวทางการทำงานร่วมกันต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อหาวิธีการและแนวทางการทำงานร่วมกัน 15.30น.นางปรีดา คงเกลี้ยงผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 50คน
2ผู้ร่วมกิจกรรมได้ช่วยกันนำเสนอผลการทำงานในระดับหมู่บ้านและระดับเครือข่าย 3ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันแสดงความเห็นในการทำงานร่วมกันในอนาคต

 

56 0

24. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

วันที่ 30 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานเครือข่ายกระจายงบประมาณให้คณะทำงานแต่ละหมู่บ้านเพื่อไปจ้ดจ้างทำป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์ แล้วนำป้ายปิดในที่ท่องเที่ยวชุมชนและที่สาธารณะของชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1คณะทำงานหมู่บ้านได้รับงบสนับสนุน 2แต่ละหมู่บ้านได้ปิดประกาศป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์ครบทุกหมู่บ้าน

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะของชุมชน 2. เพื่อร่วมสร้างข้อตกลงและกลไกการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ 1. เพื่อสร้างกลไกการหนุนเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะในระดับเครือข่ายอำเภอ 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะอำเภอกงหรา
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลพื้นฐานตามประเด็น การจัดการ 4 ประเด็น 1.1 แหล่งท่องเที่ยวมีการจัดการขยะ อย่างน้อย 6 จุด 1.2 แหล่งท่องเที่ยว 6 จุด ปลอดโฟม 100% 1.3 แหล่งท่องเที่ยวปลอดแฮลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 จุด 1.4 แหล่งท่องเที่ยวมีผักผลไม้ปลอดภัย 2. มีคณะทำงานระดับพื้นที่ อย่างน้อยพื้นที่ละ 10 คน และมีความสามารถออกแบบการจัดเก็บข้อมูล 3. สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ได้ 1. มีกติกาในแต่ละประเด็นของ 6 พื้นที่ ทั้ง 4 ประเด็น 2. แต่ละพื้นที่มีแผนปฏิบัติแต่ละประเด็นทั้ง 4 ประเด็น ของ 6 พื้นที่ 1. มีข้อตกลงร่วมในระดับเครือข่ายอำเภอ 2. มีแผนงานประเมินผลในแต่ละประเด็น 3. มีแผนความร่วมมือกับภาคีหนุนเสริม (เทศบาล,อำเภอ) อย่างน้อย 2แผนงาน 1. แหล่งท่องเที่ยวมีการจัดการขยะ อย่างน้อย 6 จุด 2. แหล่งท่องเที่ยว 6 จุด ปลอดโฟม 100% 3. แหล่งท่องเที่ยวปลอดแฮลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 จุด 4. แหล่งท่องเที่ยวมีผักผลไม้ปลอดภัยบริโภค อย่างน้อย 6 จุด
0.00

น่าสนใจว่าหากชุมชนวางมาตรการในการคบคุมพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจากการทิ้งขยะ นำเข้าขยะ และพฤติกรรมการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยวจะส่งผลกระทบต่อปริมาณนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยวในระยะยาวหรือไม่เพราะจากพฤติกรรมที่เคยชินของนักท่องเที่ยวที่ชอบความสะดวกสบายและชินกับการไม่มีกติกาการควบคุมนั้นปริมาณนักท่องเที่ยวจะลดลงหรือไม่ซึ่งจะต้องการจัดการเก็บข้อมูลและดำเนินการต่อไปและจะมีการขยายผลสู่ชุมชนในการจัดการขยะได้อย่างไร

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการและคณะทำงานแกนนำในพื้นที่ 100

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะของชุมชน 2. เพื่อร่วมสร้างข้อตกลงและกลไกการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะระดับพื้นที่ 1. เพื่อสร้างกลไกการหนุนเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะในระดับเครือข่ายอำเภอ 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะอำเภอกงหรา

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพแกนนำ(ศึกษาดูงาน) (2) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่2 (3) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่3 (4) เก็บข้อมูลพื้นที่ (5) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่4 (6) ประชุมคณะทำงานงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่1 (7) ประชุมเปิดโครงการ (8) เวทีวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นระดับพื้นที่ (9) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (10) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่8 (11) กิจกรรมสร้างข้อตกลงร่วมระดับเครือข่าย (12) กิจกรรมเวทีสร้างกติการะดับพื้นที่ (13) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่5 (14) กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1 (15) พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ (16) สร้างแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ (17) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6 (18) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่7 (19) เรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (20) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว (21) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่9 (22) กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 (23) ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่10 (24) กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา

รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 พฤศจิกายน 2562

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการทั้งกระบวนการเรียนรู้โดยการใช้ฐานข้อมูล กระบวนการประเมินผลการดำเนินงานโดยการใช้ตัวชี้วัดในการประเมิน

บันไดผลลัพธ์โครงการและข้อมูลต่างๆที่เกิดจากกระบวนการดำเนินโครงการ

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

การใช้ถังพลาสติกเหลือใช้เพื่อการทำหลุมขยะเปียกเพื่อการใช้เป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในครัวเรือน

การประสานงานและขยายการให้ความรู้และการปฏิบัติการร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

การขยายความรู้และการปฏิบัติการสู่ครัวเรือนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

กระบวนการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในการทำงานของชุมชน

 

การสร้างความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการดำเนินงานของเครือข่ายให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

การทำงานร่วมกันในระดับเครือข่ายโดยใช้กลไกระดับเครือข่ายผ่านการมีส่วนร่วมของการทำงานในรูปแบบของคณะกรรมการระดับเครือข่าย

 

การสร้างความเข้มแข็งให้คณะทำงานเครือข่ายโดยการให้ความรู้ในการบวนการทำงานรูปแบบเครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในเชิงการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

แหล่งเรียนรู้ในการจัดการขยะในที่สาธารณะของชุมชน โดยเฉพาะการจัดการขยะในน้ำตก ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของชุมชนและเป็นการทำงานที่ก้าวสู่การทำงานในอีกรูปแบบหนึ่ง

 

การสร้างชุดความรู้ในการดำเนินงานและการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวางมาตรการการควบคุมต่างๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

การเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่่ยวที่มักนิยมดื่มเหล้า เบียร์ในที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นการสนุกสนาน จนบางครั้งนำไปสู่การวิตกกังวลของนักท่องเที่ยวอีกจำนวนหนึ่ง และการเกิดการทะเลาะวิวาทในแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงการประสบอุบัติเหตุของนักนักเที่ยวที่เกิดจากการดื่มแล้วเมาจนนำไปสู่การคึกคะนองจนเกิดอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวและการสัญจรระหว่างการท่องเที่ยว

 

การศึกษาการลดลงของการเกิดเหตุต่างๆที่เกิดจากการดื่มเหล้า เบียร์ในแหล่งท่องเที่ยว ว่ามีการลดลงมากน้อยเท่าไรและเป็นการลดการสูญเสียจากการดื่มแล้วเมาจากการท่องเที่ยว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

การลดความเสี่ยงด้านการจราจรของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจากกติกาที่ชุมชนกำหนดให้ไม่มีการจำหน่ายและมีการดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดพฤติกรรมการดื่มในแหล่งท่องเที่ยวและ ทำให้อัตราการเสี่่ยงจากการจราจรของนักท่องเที่ยวที่นิยมมีพฤติกรรมการดื่มและเมา แล้วใช้ยานพาหะนะในการเดินทางไป-กลับในการท่องเที่ยวลดลง

 

ต้องหาข้อมูลที่ชัดเจนที่มีผลกระทบจากการจราจรที่ไม่เกิดจากความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมการเมาแล้วขับที่เป็นตัวเลขเชิงประจ้กษ์ได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

การลดการเกิดอุบัติเหตุในการท่องเที่ยว เช่น การได้รับอันตรายจากเศษแก้วที่เป็นบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ที่เดิดการชำรุด แตก หรือการทิ้งลงในน้ำตก

 

การเก็บข้อมูลตัวเลขจำนวนครั้งในการเกิดเหตุก่อนและหลังดำเนินการที่สามารถตอบได้ชัดเจน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มีกตืกาที่ชุมชนร่วมกันกำหนดและมีการบังคับใช้ในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

กติกาที่เกิดจากการกำหนดร่วมกันของชุมชนและการปิดประกาศไว้ในที่ท่องเที่ยวชุมชน

การใช้กติกาต่างๆให้เข้มงวดและการศึกษาผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวต่อการสใช้กติกาและมาตราการต่างๆของชุมชนที่ควบคุมในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

การใช้กติกาาของชุมชนที่ใช้ในแหล่งท่องเที่ยวที่เข้มงวดและการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มในทางบวกที่จะได้รับการหนุนเสริมจากภาคีร่วมเช่นท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและส่วนราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

การสร้างความร่วมมือในการทำงานกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอับดลเล๊าะ เหล็มปาน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด