directions_run

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติที่บ้านโคกไทร

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน30 กันยายน 2562
30
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ ไวนิล แผ่นพับ วิดิทัศน์ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าว ให้เป็นที่รับรู้ของคณะทำงานและสมาชิก ผู้สนใจ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีไวนิลประชาสัมพันธ์พื้นที่ต้นแบบ มีแผ่นพับรายละเอียดของกิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของสมาชิก มีป้ายรณรงค์การทำการเกษตรผสมผสานให้ประชาชนทั่วไปรู้ มีข้อมูลชุดความรู้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่1029 กันยายน 2562
29
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นประชุมในรอบเดือน โดยวันนี้ได้ร่วมกับทางผู้ใหญ่บ้าน ใช้ห้องประชุมของหมู่บ้าน ได้สรุปผลการทำงานที่ผ่านมาให้คณะทำงานและผู้สนใจที่เข้าร่วมประชุม ว่าทางกลุ่มเกษตรฯที่ขับเคลื่อนกิจกรรมนั้นได้ทำอะไรไปบ้างแล้วและเกิดอะไรขึ้นบ้าง และในปีหน้าถ้าคณะทำงานมีความพร้อมจะทำต่อก็จะได้ประชุมกันใหม่อีกครั้ง เพื่อหาแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และจะขยายสมาชิกในหมู่บ้านให้เข้ามาร่วมเพิ่มขึ้น ในส่วนหมู่บ้านใกล้เคียงที่สนใจมาร่วมให้สมาชิกและคณะทำงานค่อยคุยกันอีกที น.ส.ใบดะ คณะทำงานได้นำเสนอว่าเน้นให้สมาชิกจัดการในพื้นที่ตัวเอง โดยของตัวเองได้ขยายพันธ์ราน้ำ ไฟกา เพิ่มแล้ว นายโหยบ ได้เล่าว่าตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ ได้ขยายพันธ์ผักกูดเพิ่ม จำนวนมากขึ้นได้ขายด้วย ผู้ใหญ่จรี ได้เพิ่มเติมถึงการที่จะพัฒนาต่อยอดการทำเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้ากับการทำงานของอำเภอด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าร่วม8คน สมาชิกและผู้สนใจ เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรผสมผสานและการขยายแนวคิดการทำงานในปีต่อไป เกิดการบูรณาการร่วมกันกับกลุ่มผู้สนใจคนใหม่ๆที่อยากเข้าร่วม เกิดการบูณณาการกับการนำนโยบายของอำเภอมาร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมไปสู่เป้าหมาย มีการวางแนวทางการทำงานให้ปีต่อไป มีการสรุปผลที่บูรณาการกับการจัดเก็บข้อมูลพืชผักท้องถิ่นเพื่อการวิจัย

กิจกรรมประเมินผลการทำงาน 3 เดือนครั้ง24 กันยายน 2562
24
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การติดตามประเมินผลในรอบ๓เดือนเริ่มจากนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปผลการทำงานที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและมีการทบทวนกิจกรรมที่ทำมาแล้วว่าได้ทำกิจกรรมอะไรกันไปบ้างเพื่อให้ไปตอบโจทย์ตามบันไดผลลัพธ์และสิ่งที่ค้นพบระหว่างการทำกิจกรรม รวมถึงกิจกรรมที่ทำเพิ่มขึ้นนอกจากแผนกิจกรรมที่ทำแผนไว้ หลังจากนั้นเป็นพี่เลี้ยง คุณอรุณ ได้เล่ารายละเอียดการประชุมของภาพรวมจังหวัดพัทลุงที่ขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่ายฯให้ไปตอบโจทย์ยุทธศาสตร์จังหวัด ๓ เรื่อง คือทรัพยากร ดินน้ำป่า สิ่งแวดล้อม และอาหารปลอดภัย โดยเป็นการแลกเปลี่ยนให้ผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งเป็นคณะทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมว่าแต่ละคนได้ทำอะไรกันบ้างแล้ว ไปถึงไหน และมีผลลัพธ์ต่อตัวเอง ครอบครัว กลุ่มสมาชิกและในหมุ๋บ้านอย่างไรบ้า่ง โดยได้สอบทานตามบันไดผลลัพธ์ว่าสมาชิกได้ทำอะไรกันบ้าง เช่นสอบถามกันว่าสมาชิกแต่ละคนมีพืชพันธ์ท้องถิ่นอย่างน้อย ๑๐ ชนิดตามที่ตกลงกันไว้หรือเปล่า มีการปลูกเพิ่มมากน้อยแค่ไหน มีการปลูกไว้กินเองหรือเปล่า มีพื้นที่ปลูกอย่างน้อยคนละไร่ได้หรือเปล่า แปลงต้นแบบมีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง  สมาชิกได้แลกเปลี่ยนกันการทำงานกันอีกหลายเรื่อง ปัญหาอุปสรรคที่พบเจอในการทำงาน ข้อเสนอแนะที่อยากให้ทางกลุ่มฯดีขึ้นกว่าเดิม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้เข้าร่วมการประชุมที่เข้าร่วมการประชุมได้สอบทานการดำเนินกิจกรรมของตัวเองว่าได้ทำอะไรกันแล้วบ้าง -ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เรียนรู้กระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น
-สมาชิกได้ปลูกพืชที่ตั้งใจกันไว้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ตอนแรกหลายคน -ได้เห็นความตั้งใจของสมาชิกที่อยากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำการเกษตรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

เวทีสร้างกติกาการทำการเกษตรผสมผสาน12 กันยายน 2562
12
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเพื่อสร้างกติกาการทำการเกษตรผสมผสาน ใช้กระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนในคณะทำงานและสมาชิก ซึ่งกระบวนการพูดคุยพูดคุยในเรื่องกติการ่วมกันนั้นมีการพูดคุยกันประจำในการประชุมในแต่ละรอบเดือน วันนี้ได้เชิญทางกลุ่มเครือข่ายรักษืผึ้งเขาบรรทัด มาพูดคุยกระบวนการทำงานของกลุ่มฯให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้เห็นภาพชัดมากขึ้น เช่นกลุ่มสมาชิกที่เป็นเครือข่ายคนที่เลี้ยงผึ้ง ซึ่งสมาชิกของกลุ่มฯบางส่วนก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วยจะไม่มีใครใช้สารเคมีในการสวนโดยเฉพาะยาฆ่าหญ้าเพราะจะทำให้ผึ้งไม่อาศัยอยู่ในรัง ซึ่งก้ให้สมาชิกเห็นภาพชัดว่ามันมีผลกระทบต่อการทำการเกษตผสมผสานแบบนี้ และนายพงศ์พันธุ์ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอตะโหมดได้ให้แนวคิดความรู้ในการทำการเกษตรผสมผสานที่ให้ผลที่ดีต่อเกษตรกรเอง ไม่ว่าจะให้แง่ของรายได้ที่เพิ่มจากหลายๆทาง และสามารถเฉลี่ยความเสี่ยงในการประกอบอาชีพให้ตัวเกษตรกรเอง และเน้นย้ำถึงการสร้างข้อตกลงที่สมาชิกทุกคนต้องเคารพตัวเองไม่ใช้สารเคมีให้ผู้บริโภคต้องรับไปแบบเต็มๆ นายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการฯได้ทบทวนข้อตกลงของสมาชิกที่ได้ร่วมกันตกลงไว้ตั้งแต่เริ่มทำโครงการว่าอย่างน้อยสมาชิกจะต้องมีพืชผสมผสานในแปลงของตัวเองไม่น้อยกว่า๑๐ถึง๒๐ ชนิด และต้องใช้พื้นที่อย่างน้อย๑ไร่ในการปลูกเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งสมาชิกก็มีการแลกเปลี่ยนกันว่าแต่ละแปลงมีอะไรบ้าง และให้ทำป้ายกฏกติกติหรือแนวทางของกลุ่มประชาสัมพันธ์ไว้ในกลุ่มฯให้ทุกคนที่มาได้เห็นภาพชัดเจน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกได้เข้าใจในกระบวนการสร้างกติร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนและการนำเสนอผ่านรูปธรรมที่เกิดขึ้นของกลุ่มฯที่มีกระบวนการทำงานที่มีกติกาชัดเจน
  • เกิดแนวคิดร่วมกันในการที่จะร่วมกันยึดกติกาของกลุ่มในการทำงาน -สมาชิกตกลงที่จะปลูกพืชผสมผสานในแปลงของตัวเอง ที่มีพื้นที่ก้จะใช้พื้นที่อย่างน้อย ๑ ไร่ ถ้าไม่มีก็จะใช้พื้นที่ข้างบ้านในการปลูกผสมผสานตามบริบทแวดล้อม -สมาชิกตกลงกันว่าจะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในการกำจัดวัชพืชในแปลงและจะขยายแนวคิดให้ผู้ที่สนใจต่อไป -อย่างน้อยในแปลงต้องเพิ่มพืชพันธุ์ท้องถิ่นให้มากขึ้นตามบริบทแวดล้อม -ในปีแรกกติกาอาจจะยืดหยุ่นให้ทุกคนปรับตัวและเอื้อต่อการสร้างเกษตรแบบผสมผสานให้ได้มากที่สุด -ทุกเดือนให้สมาชิกเข้ามาร่วมพูดคุยและสามารถกำหนดแนวทางการทำงานกันได้หากพบว่ามีปัญหาในการทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสะดวก
กิจกรรมอบรมการขยายพันธุ์พืช11 กันยายน 2562
11
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจริงการขยายพันธ์ุพืช เป้าหมายเพื่อให้คณะทำงาน สมาชิกที่มาร่วมและผู้สนใจก็เรียนรู้การขยายพันธุ์พืชของตัวเองเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้สมาชิกในการขยายพันธุ์พืช โดยสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมได้มีมติตกลงกันว่าจะเน้นการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การติดตาและการเพาะชำต้นกล้า โดยใช้กระบวนการเริ่มต้นด้วยการประชุมชี้แจงรายละเอียดต่างๆของกิจกรรมในวันนี้โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโหยบ หลำสะ ซึ่งเป็นคณะทำงานของกลุ่มฯและมีความรู้ความเข้าใจในการขยายพันธุ์พืชได้บอกเล่ารายละเอียดการเลือกวิธีที่จะขยายพันธุ์พืชแต่ละชนิดว่าควรจะใช้วิธีการแบบไหนให้มีความเหมาะสม พร้อมยกตัวอย่างแปลงของตัวเองที่ใช้การขยายพันธุ์ผักกูด สมุนไพร เป็นต้น หลังจากนั้นก็วิทยากรที่ได้เชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนและสอนวิธีการตอนกิ่ง นายอิบร้อเหม มาบอกเล่าถึงการทำสวนเกษตรผสมผสานของตัวเองให้ทุกคนที่มาร่วมได้เห็นภาพรวม แล้วลงลึกวิธีการขยายพันธุ์พืช แนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอน การเตรียมวัสดุต่างๆและในช่วงบ่ายมีการปฏิบัติการจริงในแปลงด้วยการลงมือทำจริงและให้สมาชิกแต่ละคนที่สนใจได้ร่วมลงมือลองฝึกทำด้วยตัวเอง..

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงาน สมาชิก และผู้สนใจที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้แนวคิดการทำการเกษตรผสมผสานที่ให้ผลลัพธ์ที่มากกว่าพืชเชิงเดียวโดยวิทยากรที่มาให้ความรู้ได้นำประสบการณ์ตัวเองมาบอกเล่าให้ฟัง 2.คณะทำงาน สมาชิกและผู้สนใจที่เข้าอบรมการขยายพันธุืพืชได้เรียนรู้วิธีการขยายพันธุ์พืชแต่ละชนิดว่าควรจะเลือกใช้วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไหน ในช่วงใด 3.ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการที่จะขยายพันธ์ุพืชว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างไร
4.สมาชิกผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ปฏิบัติการจริงในการขยายพันธุ์พืช เช่นได้ลงมือฝึกหัดการตอนกิ่ง  ได้ลงมือฝึกหัดการผสมดินปลูก เป็นต้น 5.สมาชิกเกิดความมั่นใจว่าสามารถกลับไปขยายพันธุืพืชในสวนของตัวเองได้

กิจกรรมประเมินผลการทำงาน 3 เดือนครั้ง25 สิงหาคม 2562
25
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการประเมินผลการทำงานในรอบ๓ เดือนครั้ง เริ่มต้นจากนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปผลการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมดให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมได้รับทราบ และได้อธิบายรายละเอียดการทำโครงการและกิจกรรม เป้าหมายที่ทำมาให้ผู้สนใจใหม่ที่เข้าร่วมฟังในวันนี้ คือครูหมาน และนายนิรันดร์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองทรายขาว หลังจากนั้นก็เป็นนายอรุณ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงได้ทักทายสมาชิกผู้เข้าร่วมการประชุมและได้สอบทานการทำงานแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรกันไปถึงไหนแล้ว และผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ตามบันได้ผลลัพทธ์นั้นบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยขนาดไหน มีผลการทำงานเป็นอย่างไรบ้่าง ผลที่เกิดขึ้นเป็นที่น่าพอใจมากน้อยขนาดไหน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันระหว่างพี่เลี้ยงและสมาชิกที่เข้าร่วม นายอรุณ พี่เลี้ยง ได้สอบทานข้อมูลว่ามีแปลงที่เป็นต้นแบบให้สมาชิกอย่างน้อย ๕ แปลงว่ามีแปลงของใครบ้างที่ตรงไหน และมีลักษณะของแปลงที่เป็นข้อเด่นอย่างไรบ้าง เช่น เป็นแปลงที่มีพืชผสมผสานหลายชนิดโดยมีพืชหลักเป็นเป็นไม้ผลและมีพืชอื่นอย่างหลากหลายอย่างสวนของนายเจ๊ะโหด พลนุ้ย หรือแปลงที่ใช้พื้นที่รอบบ้านเน้นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่จำกัดที่สามารถปลูกพืชผักผสมผสานมากมายหลายชนิดทั้งพืชสมุนไพร พืชกิน พืชพันธุ์ท้องถิ่นที่หายาก  ต่างๆเป็นต้น และพี่เลี้ยงได้สอบถามความคิดเห็นผู้เข้าร่วมประชุมว่าจะขับเคลื่อนการขยายผลการทำงานอย่างไรในปีต่อไปให้สอดคล้องกับยุทธ์จังหวัดสีเขียว..

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกที่เข้าร่วมได้สอบทานการทำงานที่ผ่านมาในรอบเกือบปีว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สมาชิกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการทำงานที่ผ่านมาว่าควรจะต้องปรับปรุงและพัฒนาเรื่องอะไรเพิ่มเติมให้มันดีขึ้น เช่นกระบวนการทำงานในกลุ่มให้สามารถทำงานแทนกันได้มากกว่านี้ สมาชิกได้เรียนรู้เข้าใจร่วมกันในเป้าหมายการทำโครงการพันธุกรรมพืชท้องถิ่นเพื่อการฟื้นฟูและรักษาทรัพากรธรรมชาติในพื้นที่ของตัวเอง สมาชิกได้ปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้นในแปลงของตัวเอง และได้เริ่มขยายความคิดไปยังคนใกล้ชิดมากขึ้น ผู้สนใจเข้ามาใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามการบอกเล่าของสมาชิกและการเห็นการทำกิจกรรมของกลุ่ม

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่98 สิงหาคม 2562
8
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประจำเดือนโดยใช้ห้องประชุมหมู่บ้านร่วมกับสมาชิกและผู้ที่สนใจ เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานต่อเนื่องที่ได้จากการการทำกิจกรรมของแต่ละคนอยู่แล้ว โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ได้ทบทวนการทำกิจกรรมที่แล้วมาและสอบทานการขับเคลื่อนของแต่ละคน โดยมีนักศึกษามาชี้แจงข้อมูลพืชท้องถิ่นที่ได้ลงเก็บข้อมูล โดยมีข้อตกลงกันว่าจะให้นายวินิตร์ ได้เป็นสถานที่รวบรวมพืชผักที่พอหาได้มาปลูกไว้ สมาชิกที่เข้าร่วมพบที่ไหนขุดมาลงถุงเพาะชำไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงาน ได้รู้จักพืชผักท้องถิ่่นที่เคยใช้ประโยชน์ต่างๆว่ามีอะไรบ้างและใช้ประโยชน์อย่างไร ได้ข้อสรุปว่าให้สมาชิกช่วยกันปลูกไว้ให้มาก ได้ข้อสรุปว่าจะต้องไปศึกษาดูงานกันอีกสักครั้งที่สวนปันแสง และไปดูตลาดที่สวนไผ่หรือใต้โหนด

กิจกรรมอบรมการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก29 กรกฎาคม 2562
29
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการอบรมการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก เป้าหมายเพื่อให้สมาชิกสามารถผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตได้ในครัวเรือนของตนเอง โดยได้มีการประชุมตกลงกันว่าจะทำน้ำหมักและปุ๋ยไว้ใช้กันเองในสมาชิกโดยทำร่วมกันที่จุดเดียวคือที่ทำการของของกลุ่มฯโดยการทำน้ำหมักชีวภาพนั้นได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการที่เกษตรกรได้ใช้น้ำหมักชีวภาพในแปลงของตนเอง โดยนายวิทูลย์ พลนุ้ย ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มฯและมีความรูความเข้าใจได้มาแนะนำวิธีการทำหมักแต่ละประเภทว่าแต่ละประเภททำอย่างไร และวัตถุดิบอะไรบ้าง ใช้วิธีการหมักอย่างไร และการนำไปใช้อย่างไร โดยได้เลือกการทำน้ำหมักจากปลาสาธิตในการทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้และปฏิบัติการจริงกับการทำน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ใช้ง่ายและมีประโยชน์มาก โดยมีทีมคณะครูจาก กศน.กงหรา ปราชญ์ชาวบ้านที่มาจากต่างหมู่บ้านคือ นายจรูญมาร่วมเรียนรู้และพูดคุยแลกเปลี่ยนการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการทำงานในระบบกลุ่มฯ
ในส่วนของการทำปุ๋ยหมัก ทางที่ประชุมมอบหมายให้นายโหยบ หลำสะเป็นผู้รับผิดชอบในการลงมือทำ โดยที่ประชุมตกลงกันที่จะทำโรงปุ๋ยเล็กๆเพื่อใช้ในการผสมปุ๋ยให้สมาชิกได้นำไปใช้ โดยนายโหยบ ได้ประสานทางสำนักงานเกษตรอำเภอกงหราได้เข้ามาร่วมให้ความรู้ คำแนะนำและการใช้ปุ๋ยหมักให้เกิดประโยชน์ในสวนของสมาชิกแต่ละคน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดทำน้ำหมักชีวภาพและสมาชิกที่เข้าร่วมสามารถทำน้ำหมักใช้เองได้ -เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันว่าการการใช้ปุ๋ยหมักจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีได้มาก -สมาชิกเรียนรู้เข้าใจในการจัดทำปุ๋ยหมักเองได้ และได้นำปุ๋ยหมักจากของกลุ่มไปใช้ในสวนเองได้เลย -เกิดการขยายแนวคิดการไม่ใช้สารเคมีในแปลงของสมาชิกผู้สนใจที่มาร่วมมากยิ่งขึ้น -มีโรงปุ๋ยที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักของกลุ่มฯที่สมาชิกสามารถมาผลิตได้ตลอดเวลา

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 87 กรกฎาคม 2562
7
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานในรอบเดือน โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงรายละเอียดการทำงานของกลุ่มฯที่ผ่านมาและได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมในเดือนหน้า หลังจากที่ในเดือนก่อนเป็นเดือนที่ถือศีลอด มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเสนอการพัฒนางานให้ดีขึ้น มีครู กศน.แนะนำให้มีการตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาส่งเสริมอีกทาง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน สมาชิกเข้าร่วม เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดในการทำงาน เกิดการเรียนรู้การพัฒนาการทำการเกษตรอินทรีย์

เวทีคัดเลือกแปลงต้นแบบ29 มิถุนายน 2562
29
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการคัดเลือกแปลงต้นแบบ เริ่มต้นการประชุมปรึกษาหารือกันในสมาชิกและคณะทำงานที่เข้าร่วมการประชุม โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการทำงานของกลุ่มต่างๆและได้เชิญให้นายโหยบ หลำสะ ได้ชวนคุยถึงกิจกรรมต่างๆที่ได้เข้าร่วมและได้เน้นย้ำการทำการเกษตรที่ปลอดภัย และได้สอบทานการทำงานของสมาชิกแต่ละคนโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าแปลงของใครบ้างที่พอจะเป็นแปลงต้นแบบให้สมาชิกและผู้สนใจได้ศึกษาเป็นกรณีได้บ้าง ได้เลือกแปลงของนายโหยบ หลำสะ มีลักษณะเด่นคือเป็นสวนยางพาราที่ผสมผสานไปด้วยพืชสมุนไพรและพืชท้องถิ่นหลายชนิดและไม่ใช้สารเคมีในการผลิต แปลงของนายเจ๊ะโหด พลนุ้ย เป็นลักษณะสวนผลไม้ที่ผสมผสานด้วยความหลากหลายชนิดทั้งไม้ผล เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง กาแฟ ตะเคียน ต้นกอ ผักเหมียง และอีกหลายชนิด ไม่ใช้สารเคมี และสามารถเก็บกินเก็บขายได้ด้วย แปลงนายมุห่ำ เหล็มปาน ลักษณะเด่นใช้พื้นรอบบ้านปลูกพืชผักท้องถิ่นที่ใช้กินในครัวเรือน พืชสมุนไพรต่างๆ หลายสิบชนิด ไม่ใช้สารเคมีในการผลิต และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ แปลงนายวินิตร์ พลนุ้ย เป็นลักษณะสวนผสมผสานสมรมมีไม้หลายระดับหลายชนิดเน้นไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้กินยอดใบ ผสมผสานให้เอื้อต่อกันไม่ใช้สารเคมีในการผลิต แปลงของน.ส.กรรณิการ์ ราป้อม เป็นสวนยางพาราที่เว้นไม้ริมน้ำไว้หลายชนิดเน้นการเว้นไว้ใช้และปลูกเพิ่ม แปลงนายอำนวย แอนิ่ม ที่เน้นผสมผสานพืชต่างๆไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักต่างๆ พืชริมน้ำ เป็นต้น และในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนถึงการที่จะปลูกเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ใช้หลักการว่าไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าแล้วพืชท้องถิ่นจะค่อยๆกลับมา หลังจากนั้นจะใช้หลักการเว้นไว้ในสวนของแต่ละคน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกได้เรียนรู้การจัดทำข้อมูลของตัวเองว่ามาพืชพันธ์อะไรบ้าง ลักษณะเด่นของตัวเองมีอะไรบ้าง -ได้รู้จักพืชท้องถิ่นที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อ เช่น ราน้ำ ตีนนกยูง บอนยายรัด เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้มีลักษณะอยู่แค่เพียงในแปลงของบางคน -มีการตกลงกันที่จะขยายพันธ์เพิ่มเพื่อปลุกให้มากขึ้นในแต่ละแปลงของสมาชิกเพื่อเพิ่มจำนวนและเพิ่มพื้นที่ปลูก เช่น ลูกประ ลูกจำไหร ลูกไฟกา เป็นต้น -เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่าพืชแต่ละชนิดที่เป็นพืชถิ่นเมื่อมันมีความสมบูรณ์ในดินมันจะงอกขึ้นมาเอง จากกรณีของแปลงนายโหยบ นายเจ๊ะโหด นายวินิตร์ นางสาวใบดะ ราป้อม

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 79 มิถุนายน 2562
9
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการทำงานและถอดบทเรียนที่ทำกันมาว่าแต่ละคนได้ทำไปถึงไหนบ้างตามบันไดผลลัพธ์และลองสำรวจแปลงที่มีลักษณะเด่นที่พอจะให้สมาชิกได้เรียนได้บ้าง แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดการทำงานและปัญหาอุปสรรคที่พบ โดยมีนายอรุณ พี่เลี้ยง ได้สอบทานการทำงานที่ผ่านมาในช่วงประมาณครึ่งปีที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและสมาชิกเข้าร่วมแลกเปลี่ยน เกิดกระบวนการเรียนรู้การถอดบทเรียนการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนลักษณะเด่นของแต่ละแปลง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 65 พฤษภาคม 2562
5
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนเพื่อชี้แจงผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและวางแผนการทำงานในเดือนถัดไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่่จะให้เป็นไปตามตัวชี้วัดของบันไดผลลัพธิ์อย่างน้อยต้องมีพื้นที่ต้นแบบอย่างน้อย 5 แปลง แปลงละไม่ต่ำกว่า 1 ไร่ และมีพืชท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 10 ชนิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมแลกเปลี่ยนมีการกำหนดพื้นที่ต้นแบบที่คณะทำงานได้ลงไปสำรวจและเห็นแนวทางที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกได้ตามตัวชี้วัด คือ 1. แปลงของนายโหยบ หลำสะ มีลักษณะเป็นสวนยางพาราที่มีพืชสมุนไพรหลายสิบชนิดและมีพืชผักพื้นบ้านที่หากินได้ง่าย 2. แปลงนายเจ๊ะโหด พลนุ้ย มีลักษณะเป็นสวนผลไม้ผสมผสานมีพืชหลักทุเรียน มังคุด พื้นที 5 ไร่ มีต้นไม้พื้นถิ่นหลายสิบชนิด เช่น กอ บอนส้ม เพกา ตาหมัด เป็นต้น 3.แปลงของนายวินิตร์ พลนุ้ย มีพื้นที่ ประมาณ ๓ ไร่กว่าๆ เป็นสวนผสมผสานมีไม้โตเร็วจำพวกตะเคียนทอง ทุเรียนบ้าน พยอม มอฮฮกกานีเป็นไม้หลักมีพืชผักอีกหลายสิบชนิด 4 แปลงของนายหมู่ห่ำ เหล็มปาน เป็นพื้นที่ประมาร 1 ไร่รอบบ้านมีพืชผักท้องถิ่นที่ใช้ในครัวเรือน 5 แปลงนางสาวไบดะ ราป้อม ใช้พื้นที่บริเวณบ้านประมาณ ไร่กว่าๆ มีพืชผักท้องถิ่น เช่น แส้ ผักกาดนกเขา ลำแย้ เป็นต้น 6 แปลงนางสาวกรรณิการณ์ ราป้อม เป็นสวนยางพาราผสมผสานไม้ยืนต้นโตเร็ว พืชผักท้องถิ่นต่างๆ เช่น ราน้ำ ผักหนาม บอนส้ม ต้นกรวด เนียง เป็นต้น

คณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจในบันไดผลลัพธ์มากขึ้น และมีการประสานหน่วยงานที่จะเข้ามาแจกพันธ์กล้าไม้โตเร็ว เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจในเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเครื่องมือในการดึงคนในหมู่บ้านมาร่วมกันเข้าร่วมโครงการในการขยายผลต่อไป

กิจกรรมประเมินผลการทำงาน ครั้งที่130 เมษายน 2562
30
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลียงผู้รับผิดชอบโครงการชิ้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมินติดตามผล สาระสำคัญคือให้พื้นที่ชวนกันคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมภายใต้โครงการ โดยมีเครื่องสำคัญในการคุยคือบันไดผลลัพธ์ ให้คุยตามสิ่งที่เกิดขึ้นตามช่วงของบันไดผลลัพธ์ วิธีการนำเสนอให้ช่วยกันนำเสนอตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละช่วง ว่าเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าเกิดเกิดขึ้นอย่างไร มีอะไรหนุนให้เกิด ถ้าไม่เกิดเป็นเพราะอะไรแล้วจะทำอย่างไรให้เกิดขึ้น และในการทำงานตามโครงการในช่วงเวลาที่ผ่านมาคณะทำงานหรือกลุ่มเป้าหมายพบข้อจำกัดหรืออุปสรรคอะไรบ้างแล้วจะมีวิธีการในการลดข้อจำกัดนั้นอย่างไร เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจที่ตรงกันแล้วก็เริ่มพูดคุยกัน โดยพี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบพื้นที่ได้เอาผังบันไดผลลัพธ์ขึ้นหน้าเวทีแล้วให้คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายเริ่มพูดคุยในลักษณะการเล่าเสนอ ซึ่งพี่เลี้ยงจะคอยตั้งคำถามหรือชวนคุยต่อในประเด็นที่ยังเห็นไม่ชัดตามตัวชี้วัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 41 คน เป็นคณะทำงานจำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายโครงการจำนวน 20 คน ภาคีสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่หมู่บ้านรัก์ป่า สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง จำนวน 5 คน ครู กศน.อำเภอกงหรา จำนวน 1 คน รวมทั้งหมดจำนวน 41 คน 2 คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการ ได้เรียนู้กระบวนการติดตามประเมินผลในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การประเมินแบบผิดหรือถูกแต่เป็นก่รประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ร่วมระหว่างพี่เลียงโครงการ คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการ 3 ผลที่ได้จากการประเมินตามบันไดผลลัพธ์ในแต่ละช่วงของบันไดตามตัวชั้วัด 3.1เกิดการเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสานในสนยางพาราและสวนผลไม้ 3.1.1มีข้อมูลพืชท้องถิ่นที่มีอยู่ในแปลงสมาชิก ฐานข้อมูลในการเรียนรู้ของสมาชิกมีแล้วและคณะทำงานได้รวบรวมเป็นฐานข้อมูลกลางของกลุ่มไว้แล้ว 3.1.2มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย20ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ดำเนินงานอย่างน้อยแปลงละ1ไร่ ผลที่เกิดคือมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน20คน จากครัวเรือนจำนวน 20 ครัวเรือน 3.1.3 สมาชิก กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถวิเคราะห์พืชที่จะปลูกในแปลงของตนเองได้ ผลคือสมาชิก/กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการสามารถรู้ว่าในแปลงของตนเองจะปลูกพืชอะไรได้บ้างเพราะผ่าการเรียนรู้จากการไปดูงานมาส่วนหนึ่ง จากการสังเกตในแปลงตัวเองส่วนหนึ่งและส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนสมาชิกร่วมโครงการด้วยกันซึ่งมีการปลูกแล้วในแปลงคือ บอนส้ม บอนเต่า ผักกูด ผักหวานช้าง(ตาหมัด)ราน้ำ สาคูวิลาส กอ เตาร้าง บัวบก ประ ไฟกา สาคู พ้อ ทุเรียนบ้าน ตะเคียนทอง สะเดาเทียม มะเดื่อ ซึ่งพืชพวกนี้เป็นพืชที่มีดั้งเดิมในพื้นที่และสามารถงอกงามได้ดีและสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกินเป็นอาการ เป็นยารักษาโรค และเป็นไม้ใช้สอย 3.1.4สมาชิก/กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถขยายพันธ์เองได้ ผลคือ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้จาการถ่ายทอดของผู้รู้ในพื้นที่ และการเรียนรู้จากการดูงาน และการลงมือทำจริง ซึ่งตอนนี้สามารถลงมือเริ่มขยายพันธ์พืชหลายชนิด ล็ดเช่น ไฟกาขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ผัดกูดขยายพันธุ์ด้วยหน่อและสปอร์ เตาร้างขยายพันธ์ุด้วยหน่อและเพาะเมล็ด ประขยายพันะุ์ด้วยการเพาะเมล็ด 3.2 เกิดข้อตกลงหรือกติกาในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ข้อตกลงที่เกิดขึ้นการการเรียนรู้ร่วมกันจนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมายเกิดจากคณะทำงานเป็นคนร่างกติกาแล้วถามความเห็นสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย กติกาคือ 3.2.1 สมาชิกกลุ่มเป้าหมายต้องไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าที่เป็นเคมีในพื้นที่ที่ร่วมโครงการ และรวมถึงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วย 3.2.2 สมาชิกกลุ่มเป้าหมายต้องขยายพันธ์ุพืชที่มีในแปลงตนเองก่อน ก่อนที่จะขอจากเพื่อนสมาชิก และเพื่อนสมาชิกควรต้องมีน้ำใจแบ่งปันกันและกัน 3.2.3 ในแปลงพื้นที่ร่วมโครงการจะไม่การไถพรวนด้วยเครื่องจักรใหญ่ที่จะส่งผลต่อการทำลายพันธุ์กรรมพืช 3.3 เกิดกลไกหนุนเสริมการทำเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติ 3.3.1มีแปลงเกษตรเป็นต้นแบบเพื่อการเรียนรู้อย่างน้อย 5 แปลง ผลคือ แปลงต้นแบบที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นแปลงของแกนนำ/คณะทำงานที่สามารถเป็นต้นแบบได้จำนวน 5 แปลงคือ แปลงที่ 1 ของนายโหยบ หลำสะ เหตผลที่เป็นต้นแบบเพราะเป็นสวนยางพาราที่ผสมผสานไปด้วยพืชสมุนไพรและพืชถิ่นอีกหลายชนิด จุดเด่นนายโหยบ หลำสะเป็นหมอสมุนไพรของชมรมหมอพื้นบ้านอำเภอกงหรา มีความรู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรด้วยและยังเป็นเกษตรกรที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้การทำการเกษตรแบบผสมผสานด้วย แปลงที่ 2 ของนายเจ๊ะโหด พลนุ้ย เหตผลที่เป็นต้นแบบเพราะเป็นสวนผลไม้ที่มีทุเรียนและมังคุดเป็นพืชหลักแต่ผสมผสานไปด้วยพืชอีกหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นต้นกอ ไผ่ป่า เจียก กาแฟ ไม้ยืนต้นโตเร็ว ขี้ค้อน ผักเมี่ยง และอีกหลายชนิด จุดเด่น สวนผลไม้ที่ไม่ใช่พืชเชิงเดียว ไม่ใช้ยาฉีดหญ้าไม่ใช้ยาฆ่าแมลงใดๆเน้นการผสมผสานที่ธรรมชาติดูแลกันเอง แปลงที่ 3 ของนายอำนวย แอนิ่ม เหตผลที่เป็นต้นแบบเพราะใช้สวนผลไม้ผสมผสานปลูกหลายชนิดในพื้นที่ 2 ไร่กว่าๆ มีทุเรียนเป็นพืชหลัก มีผักกูด
แปลงที่ 4 ของนายหมู่ห่ำ เหล็มปาน เหตผลที่เป็นต้นแบบเพราะ เป็นพื้นที่ขนาด 1 ไร่บริเวณรอบบ้านที่ใช้พื้นที่รอบบ้านให้เกิดประโยชนืมากที่สุด มีพืชพันธ์ุที่ใช้กิน ใช้ประโยชน์อย่างลงตัว พืชสวนครัวทุกชนิด พืชท้องถิ่น เน้นเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีใดๆ
แปลงที่ 5 ของนายวินิตร์ พลนุ้ย เหตผลที่เป็นต้นแบบเพราะใช้พื้นที่ 2 ไร่กว่าๆ ผสมผสานปลูกพืชหลากหลายชนิด ไม้เศรษฐกิจโตเร็ว ตะเคียนทอง มอฮอกกานี พยอม กระถิน และมีไผ่หวาน ทุเรียนสายพันธ์พื้นเมือง ขี้เหล้ก และอีกหลายชนิด เน้นเกษตรอินทรีย์ กสิกรรมธรรมชาติไม่ใช่ใช้สารเคมี ให้ธรรมชาติจัดการกันเอง 3.3.2 ผู้ร่วมโครงการสามารถผลิตปัจจัยหนุนเสริมการปลูกได้อย่างน้อยครัวเรือนละ1 อย่าง ผลคือ .....ยังไม่เกิด......เหตผล.....ยังไม่ได้ทำกิจกรรม 3.4 เกิดแปลงเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติและมีความอุดมสมบูรณ์ 3.4 เกิดแปลงเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติและมีความอุดมสมบูรณ์ 3.4.1 มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แปลง ผลคือ ยังไม่เกิดเพราะไม่ไม่มีการขยายผลกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ 3.4.2 แปลงเกษตรที่ร่วมโครงการต้องมีพืชถิ่นที่ปลูกในแปลงไม่น้อยกว่าแปลงละ10 ชนิด ผลคือ ช่วงนี้มีแปลงที่นอกเหนือจากแปลงต้นแบบมีการปลูกพืชถิ่นแล้วยังไม่เด่นชัดอยู่ในช่วงจัดเก็บข้อมูล
4ข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ค้นพบระหว่างดำเนินการคือ.....ความสมาร๔ของคณะทำงานในการจัดทำรวบรวมฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช.วิธีการลดข้อจำกัดคือ....ต้องเร่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คณะทำงานมีความสามารในการรวบรวมข้อมูล...

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจำแนกพันธุกรรมพืชท้องถิ่น10 เมษายน 2562
10
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมจัดประชุมคณะทำงาน และผู้ร่วมโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจำแนกพันธุกรรมพืชท้องถิ่น และเป็นการวิเคราะห์พืชที่สามารถปลูกได้ในแปลงของสมาชิกว่าน่าจะปลุกอะไรได้บ้าง กระบวนการได้เชิญนายโหยบ หลำสะ ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องพืชและตำรายาพื้บ้านเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการรู้จักชนิดพืชพันธ์ท้องถิ่นที่มีในพื้นที่บ้านเรารวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ และครูปู นายภูวนาท เหล็มปาน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความใจในการปลุกพืชผสมผสานมาเล่าวิธีคิดและการจัดการ มีเจ้าหน้าที่จากโครงการหมู่บ้านรักษ์ป่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาแลกเปลี่ยนการปลุกพืชผสมผสานชนิดต่างๆในสวนผลไม้และสวนยางพารา ลักษณะการพูดคุยมีการสาธิตปฏิบัติจริงในสวน และเปลี่ยนกันแต่ละคนในลักษณะสอบถามพูดคุยได้ระหว่างการให้ความรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมมีคณะทำงาน สมาชิก ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานรวม42 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในพืชพันธุ์ท้องถิ่นต่างๆที่มีในพื้นที่และสามารถที่จะชำต้นกล้าขยายพันธ์ฟื้นฟูให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่งและเพิ่มพื้นที่ของสมาชิกในการปลุกให้มากขึ้น มีข้อตกลงกันในเบื้องต้นว่าให้สมาชิกปลุกพืชชนิดต่างๆในสวนของตัวเอง เช่น บอนส้ม ก่อ ประ ฯ และมีข้อสรุปกันในที่ประชุมว่าจะให้คณะทำงานมีการชำต้นกล้าพืชพันธ์ที่มีมติจากที่ประชุมแล้วเพื่อได้แจกจ่ายหรือขายให้ทางสมาชิกได้นำไปปลูกต่อหรือให้สมาชิกกลับไปหาปลุกกันเองได้เลย แล้วค่อยมารายงานความก้าวกันในการประชุมครั้งต่อๆไป

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 56 เมษายน 2562
6
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการนัดประชุมประจำเดือน เพื่อรายงานผลการทำงานและวางแผนการทำงานในเดือนถัดไปโดยกระบวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชวนคุยการสร้างพื้นที่ในแปลงของตัวเองแต่ละให้มีการปลุกพืชผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในครัวเรือน และเป็นการฟื้นฟูพืชพันธ์ท้องถิ่นให้เกิดขึ้นในพื้นที่แปลงของตัวเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานและผู้นใจที่เป็นได้สมาชิก ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจพื้นที่ของบ้านโคกไทร นาเหรน ได้เห็นความหลากหลายของพันธุ์พืชที่เคยมีและเคยใช้ประโยชน์ในอดีต สมาชิกได้ช่วยกันนำเสนอข้อมูลต่างๆ

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 416 มีนาคม 2562
16
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประจำเดือนของคณะทำงาน ชี้แจงการสำรวจพื้นที่สมาชิกให้ส่งเอกสารต่างๆที่จะขอไม้โตเร็วมาร่วมปลุกในสวน และรายละเอียดเพิ่มที่สมาชิกเก็บข้อมูลพืชในสวนเพิ่มเติม เป็นการแลกเปลี่ยนพูดคุย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและมีสมาชิกบางส่วนที่ไม่ใช่คณะทำงานเข้าร่วม มีการนำผลผลิตที่เกิดจากในแปลงของคณะทำงานมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นและลองชิมกัน มีความเข้าใจกันมากขึ้นในการสร้างพื้นที่ในแปลงของแต่ละคนให้หลากหลายชนิดตามบันไดผลลัพธ์ว่ามันสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ด้วย ข้อสรุปที่เกิดขึ้นเร่งการปลุกพืชที่พอให้ได้ในแปลงของแต่ละคน และช่วยกันสร้างความใจการใช้ยาฆ่าหญ้าในพื้นที่ชาวบ้านทั่วไป

-สรุปผลการศึกษาดูงานและสรุปผลการดำเนินงาน16 กุมภาพันธ์ 2562
16
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หลังจากที่ได้ไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติ ณ สวนการเรียนรู้พันธุกรรมพืชตำบลลำสินธุ์ แล้วก็มีการนัดแนะและประสานงานคณะทำงาน สมาชิกและผผู้สนใจได้มาถอดบทเรียนบอกเล่ากันว่าไปแล้วได้อะไรกันบ้าง ได้เห็นแนวคิดการจัดการอย่างไร และสมาชิกคิดว่าจะนำมาปรับใช้กันอย่างไรให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เราต้องการร่วมกัน โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถามกันในวงคุย โดยมีคุณอรุณ ศรีสงคราม พี่เลี้ยงมาช่วยนำคุยแลกเปลี่ยนการทำงานและเป่้าหมายร่วมของโครงการฯ มีการเชิญครูจุไรรัตน์ หมาดหมาน ซึ่งเป็นครูจาก กศน.อำเภอกงหรามาให้ความรู้ความเข้าใจในการสร้างสวนเกษตรแบบผสมผสานโดยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทาง กศน.อำเภอกงหราได้มีการสนับสนุนส่งเสริมอยู่ในพื้นที่บ้างแล้ว และนายเจ๊ะโหด พลนุ้ย ประธานกลุ่มฯและเป็นเป็นประธาน อสม.ของหมู่บ้านได้แลกเปลี่ยนการจัดการในสวนของแต่ละคนที่ควรจะเลิกใช้สารเคมีประเภทยาฆ่าหญ้าอย่างเด็ดขาดเพราะว่าจะมีผลต่อการสร้างพื้นเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มฯและของหมู่บ้านด้วยทำให้มีผลต่อสุขภาพโดยรวม นายโหยบ หลำสะ รองประธานกลุ่มฯและเป็นหมอสมุนไพรได้เล่าความรู้สึกว่าดีใจที่ได้เห็นสมาชิกทุกคนตื่นตัวและมาร่วมกันอย่างจริงจัง นายวินิตร์ พลนุ้ยในฐานะผู้ประสานงานบอกว่าที่เลือกพื้นที่สวนของแก่ยีโหยบ ในวันนี้เพราะอยากให้ทุกคนมาร่วมประชุมกันในพื้นที่ที่จัดการสวนได้ดี จะทำให้ทุกคนได้เห็นและเกิดแนวคิดไปปรับใช้ในสวนตัวเองและส่วนหนึ่งได้เห็นว่ามีใครที่ตั้งใจจริงที่มาร่วมประชุมในวันนี้เพราะว่าสวนที่มาประชุมการเดินทางค่อนข้างลำบากพอสมควร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน สมาชิกและผู้เข้าร่วม ได้แลกเปลี่ยนความคิดความเข้าใจในข้อมูลพืชท้องถิ่นที่ได้ไปเห็นจากการศึกษาดูงาน และได้สะท้อนความคิดเห็นถึงแนวคิดการจัดการสวนผสมผสานแบบธรรมชาติที่จะนำมาปรับใช้ในสวนของตัวเอง
นายโหยบ หลำสะ ได้นำคณะทำงาน สมาชิกและผู้เข้าร่วมการประชุมถอดบทเรียนได้ไปเดินในพื้นที่สวนของตัวเองเพื่อให้เห็นผลการขับเคลื่อนของตัวเองที่ลงมือทำแล้ว ได้เห็นพืชหลายชนิดที่อยู่ในร่องสวนยางที่ปลูกอย่างผสมผสาน เช่นผักกูด กาแฟ สมุนไพรหลายชนิดที่ปลูกไว้เป็นจำนวน บ้างก็กำลังอยู่ในช่วงเพิ่งปลูกใหม่ บางต้นก็ปลูกไว้นานแล้ว มีการจัดการที่ลงตัว เอื้อสมดุลต่อกันในพื้นที่ ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนยนในวันนี้ได้ตื่นตัวและมีความสนใจที่จะทำกันมากขึ้น มีการสรุปผลและวางแผนกันว่าในการประชุมเดือนต่อไปและกิจกรรมครั้งต่อไป เราจะจัดกันที่สวนของสมาชิกทื่ท่านใด ที่ประชุมเห็นว่าให้นายวินิตร์ พลนุ้ย ไปสำรวจในพื้นที่ของสมาชิกแต่ละคนดูว่าสวนไหนที่มีความพร้อมและให้ประสานนัดวันเวลาได้เลย สมาชิกได้เข้าใจในการนำความรู้และแนวคิดจากการไปดูงานที่สวนปันแสงมาปรับใช้ตามบริบทในพื้นที่ของตัวเอง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 39 กุมภาพันธ์ 2562
9
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดประชุมประเดือนคณะทำงาน รายงานการทำงานในรอบเดือนที่สมาชิกแต่ละคนที่เข้าร่วมประชุมและสมาชิกในสายต่างๆมีการขับเคลื่อนอะไรกันไปบ้าง โดยใช้การชวนคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน มีการแลกเปลี่ยนความคิดได้เข้าใจในการช่วยกันสร้างแปลงของตัวเองในลักษณะสวนผสมผสาน เกิดความเข้าใจร่วมกันของคณะทำงานที่เข้าร่วมและได้สรุปผลการลงมือแล้วบ้างในบางแปลง

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย2 กุมภาพันธ์ 2562
2
กุมภาพันธ์ 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการศึกษาดูงานนอกสถานที่เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติ ณ สวนการเรียนรู้พันธุกรรมพืชตำบลลำสินธ์ุ ของพี่ไก่ สหจร ชุมคช เป้าหมายเพื่อให้คณะทำงาน สมาชิกและผู้สนใจได้จากพื้นที่จริงได้เข้าใจแนวคิดและการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ว่ามันเกิดรูปธรรมการจัดการอย่างไรที่ส่งผลต่อตัวเองและชุมชนและมีกระบวนการจัดการอย่างไรเพื่อได้นำมาปรับใช้ในพื้นที่ตัวเอง.. รายละเอียดขั้นตอน เริ่มต้นจากการ ประชาสัมพันธ์ให้คณะทำงานของกลุ่มฯสมาชิกและผู้ที่สนใจในหมู่บ้านที่ได้เข้าร่วมเปิดโครงการฯใครที่สนใจให้มาพร้อมกันที่บริเวณหน้าหอประชุมหมู่บ้าน และส่วนหนึ่งให้ผู้ประสานงานไปเดินบอกกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งใจจริงจังในการทำงาน เสร็จจากนั้นได้ชี้แจงรายละเอียดการไปดูงานว่าเป้าหมายเพื่ออะไรให้คนที่ไปเข้าใจคร่าวๆ ผู้ที่สนใจไปดูงานมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งใจ ไปถึงสวนปันแสงที่บ้านขาม สมาชิกเดินชมบริเวณบ้านเจ้าของสวน อาจารย์ไพทูรฑ์ ทองสม ได้บอกเล่าที่ไปที่มาของโครงการและกระบวนการทำงานของ Node Flagship พัทลุงที่จะขับเคลื่อนชุมชนมุ่งไปสู่การสร้างพื้นทีสีเขียวโดยให้ชุมชนจัดการตัวเองตามบริบทศักยภาพของแต่ละพื้นที่ หลังจากนั้นก็เข้าฟังการบรรยาย แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดรายละเอียดความเป็นมาของสวนปันแสง แนวคิดกระบวนการจัดการตั้งแต่เริ่มต้น จัดการมาอย่างไร ได้ผลอะไรบ้างและรูปธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้และได้เข้าเข้าไปศึกษาเรียนรู้ในแปลงจริงๆพร้อมการบรรยายให้ความรู้ของเจ้าของสวน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สิ่งที่เกิดขึ้นมีคณะทำงาน สมาชิกและผู้สนใจเกินเป้าหมายจากที่ตั้งไว้คณะทำงาน 15 คน สมาชิก 20 คน
-คณะทำงาน สมาชิกและผู้สนใจที่มาเรียนรู้ได้เข้าใจกระบวนการจัดการสวนยางที่สามารถผสมผสานพืชพันธุ์ต่างๆไว้ด้วยความลงตัวในพื้นที่จริง ตลอดจนได้เห็นและเข้าใจแนวคิดการสร้างสวนยางแบบผสมผสานทีสามารถให้ผลผลิตและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้จริงโดยที่ไม่ได้ยึดติดกับผลผลิตจากยางเพียงอย่างเดียว -ได้แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดการจัดการในพื้นที่เพื่อนำไปปรับใช้ในบริบทพื้นที่ของตัวว่าจะจัดการอย่างไรให้เกิดผลผลิตและสามารถพอจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นบ้าง -ได้เห็นพื้นที่สวนยางที่ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆในสวนไม่ว่าจะเป็นปุ่ยเคมีและยาฆ่าหญ้าเพียงเพราะสร้างพื้นที่ทุกตารางนิ้วในสวนให้เกิดประโยชน์และจัดให้สมดุลที่สุดและให้เห็นว่าสามารถได้ผลิตที่ไม่น้อยกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 227 มกราคม 2562
27
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองโดยให้ลองวาดภาพในสวนของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร นายอำนวย แอนิ่ม หรือยีวาเฮด ได้นำเสนอในสวนของตัวเองในพื้นที่ประมาณสองไร่ที่ปลูกทุเรียนและพืชอื่นๆผสมผสาน เน้นจัดการตามสภาพพื้นที่ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเกิดความเข้าใจในรายละเอียดการทำงานมากขึ้น เห็นได้จากการพูดคุยนำเสนอว่าคณะทำงานเองต้องพยายามให้พื้นที่ตัวเองต้องเป็นพื้นที่ให้พี่น้องในชุมชนได้เรียนรู้ได้ด้วยในระดับหนึ่ง นายโหยบ หลำสะ รองประธานกลุ่มฯซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญได้นำเสนอความคิดการจัดการสวนของตัวเองที่ปล่อยให้พืชพันธ์ุท้องถิ่นได้อยู่ด้วยกัน และนำเสนอว่าน่าจะไปประชุมในสวนของสมาชิกกันบ้างในแต่ละเดือน และช่วยกันสะท้อนการประชุมเปิดโครงการว่าเป็นอย่างไรบ้าง สมาชิกแต่ละคนเห็นพ้องกันว่าพี่น้องชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่สมาชิกก็พยายามจะกำหนดการทำงานไว้ในระดับวงที่ไม่กว้างเกินไปในช่วงแรกเพราะกังวลว่าจะทำให้เกิดความไม่เข้าใจในเป้าหมายในรายละเอียดต่างๆของกลุ่มฯ และได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนการไปเรียนรู้การจัดการป่าร่วมยางที่บ้านขาม ว่าจะไปกี่คน รับสมาชิกกี่คน และจะจัดการกันอย่างไร เรื่องรถ เรื่องอาหาร เรื่องน้ำ เรื่องวิทยากรและรายละเอียดที่ต้องการให้สมาชิกที่ไปจะได้เรียนรู้

จัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชในแปลงที่มีในปัจจุบันและพันธุกรรมท้องถิ่นย้อนหลังที่เคยมีในชุมชนนและพันธุกรรมท้องถิ่นย้อนหลังที่เคยมีในชุมชน20 มกราคม 2562
20
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดมีการนัดแนะประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจและเป้าหมายของกิจกรรมในการลงเก็บข้อมูลพืชพันธุ์ในแปลงของคณะทำงานโดยที่ประชุมมีมติให้นายวินิตร์ พลนุ้ยและนายโหยบ หลำสะ เป็นตัวหลักในการลงไปเก็บข้อมูลในแต่ละแปลง เพราะว่าจะได้บันทึกรายละเอียดคนหนึ่งและจะได้บอกรายละเอียดของพืชแต่ละชนิดคนหนึ่ง การเก็บใช้วิธีการกรอกข้อมูลลงในในสอบถามบางสวนก็ให้สมาชิกเก็บข้อมูลมาบันทึกเองแล้วให้นายวินิตร์ พลนุ้ยไปเก็บภาพรายละเอียดในสวนอีกทีหนึ่ง แล้วมาร่วมกันสรุปว่าที่ประชุมอยากให้เพิ่มอะไรอีกบ้างฟื้นฟูปลูกอะไรเพิ่มอีกได้บ้าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ลงไปเยี่ยมในแปลงของคณะทำงานและสมาชิก และสมาชิกได้เก็บรายละเอียดข้อมูลพันธุกรรมพืชในสวนของตัวเองที่พบเห็นในปัจจุบันและที่หายไป และผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมได้ลงไปในแปลงต่างๆเพื่อเก็บรายละเอียดตามแบบสอบถา่มและเก็บภาพในแปลงต่างๆ สมาชิกรู้จักพืชที่มีอยู่ในสวนของตัวเองและพืชที่เคยมีและหายไปจากแปลงของตัวเอง และมีข้อมูลพืชแต่ละสวนของคณะทำงานและสมาชิก

ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ17 มกราคม 2562
17
มกราคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านโคกไทร -นาเหรน โดยจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานโครงการฯ สมาชิกสภา อบต. อสม.และ พี่น้องในชุมชนรวม ๘๐กว่าคน มีหน่วยงานภายนอกที่เข้าร่วม หัวหน้า รพ.สต.บ้านพูด ครู กศน.อำเภอกงหรา หมอประเทือง จาก รพ.สต.บ้านชะรัดมาเป็นพี่เลี้ยงแทนนายอรุณ ที่ไม่สามารถอยู่ได้ตลอดการประชุม เปิดโครงการการประชุมโดยนายอรุณ พี่เลี้ยงโครงการได้เล่าความเป็นมาเป็นไปและเป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติที่บ้านโคกไทรสนับสนุนโดย Node Flagship พัทลุงเพื่อนำไปสู่การสร้างเมืองพัทลุงสีเขียวคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีงบประมาณมาสนับสนุนในระยะเวลา ๑ ปี เป็นเงิน ๙๙,๘๙๐ บาท โดยรายละเอียดงบประมารจะแยกเป็นรายกิจกรรมต่างๆในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง เป้าหมายเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้สมาชิกและคนทำงานเพื่อจะนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยางต่อไป โดยมีตัวชี้วัดแต่ละรายกิจกรรมตามเอกสารในโครงการ อย่างน้อยสิ้นสุดโครงการจะมีครัวเรือนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า ๒๐ ครัวเรือนและมีพื้นที่อย่างน้อย ๑ไร่ในการที่จะสร้างเกษตรผสมผสานมีพืชพันธุ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ๑๐ ชนิด และโครงการนี้จะทำต่อเนื่องไปประมาณ ๓ ปี ต่อจากนั้นก็เป็นทางผู้ใหญ่จรี เหรียญนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านได้บอกเล่าความตั้งใจในการที่จะร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียวให้เกิดขึ้นในบ้านดคกไทร นาเหรน โดยเน้นไปในเรื่องการฟื้นฟูสายน้ำลำคลองให้กลับมาชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเล่าว่าในระยะสักปีสองปีข้างหน้าจะจัดทำฝายชะลอน้ำเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของลำคลองกลับมา โดยมีบัณฑิตอาสาขาจาก มอ.จะเข้ามาร่วมด้วยในการจัดกิจกรรมตรงนี้ซึ่งสอดคล้องกับโครงการนี้ในเป้าหมายที่เหมือนกัน นายวินิตร์ พลนุ้ย ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ได้บอกเล่าความตั้งใจในการทำโครงการนี้ว่าได้ร่วมปรึกษาหารือกับแกนนำชุมชนและผู้สนใจมาระยะหนึ่งแล้ว โดยได้ใช้กลุ่มเลี้ยงผึ้งที่เคยทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์การเลี้ยงผึ้งคือการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ด้วย และได้กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตระหนักร่วมกันในปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในพื้นที่ถิ่นของตัวเองและได้ชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้วาดภาพฝันร่วมกันในอนาคตว่าบ้านโคกไทรนาเหรนจะเป็นอย่างไรและเราต้องช่วยกันขับเคลื่อนอย่างไรให้นำไปสู่การเป็นพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้สุขภาวะดีทุกกลุ่มวัย และเปิดโอากาสให้ผู้เข้าร่วมปรระชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นายคอง หมอจาก รพ.สต.บ้านพูด ได้เล่าถึงเรื่องราวในอดีตของบ้านโคกไทรนาเหรน และบ้านกงหรา ฉายภาพให้เห็นถึงความอุดมสบูรณ์และความปลอดภัยในการกินการใช้ชีวิต เล่าถึงลำคลอง ทุ่งนา ความหลากหลายทางพืชพันธุ์ต่างๆที่เคยมีและเคยใช้กิน สมุนไพรต่างๆที่เป็นทั้งอาหารการกินที่ทำให้คนสมัยก่อนไม่ค่อยมีโรคประจำตัว และการใช้ชีวิตที่อิงแนบอยู่กับธรรมชาติอย่างลงตัว หมอประเทือง เล่าถึงกระบวนการทำงานของnode flagship ที่หนุนเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ผ่านการทำงานของคนในพื้นที่เป็นหลักโดยมีงบประมาณมาช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัวและสร้างแรงเหวี่ยงให้มีผลกระทบต่อชุมชนในระยาวได้ หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ หลายคนสนใจและยืนหยัดกันว่าจะช่วยกันสร้างพื้นที่ของตัวเอง ไม่ใช้สารฆ่าหญ้าในพื้นที่ตัวเอง นายฉุย ฮุยอ้าย อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยืนยันว่าจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำโครงการครั้งนี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. ผลผลิตที่เกิดขึ้นมีผู้เข้าร่วมประชุมเกินเป้าหมายที่วางไว้ในโครงการ ทั้งผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิก อบต. คณะทำงานของดครงการและผู้สนใจที่ทั้งไว้ตอนแรก ๒๐ ครัวเรือน
๒.ผลลัพธ์จากการสอบถามทุกคนเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการประชุมและเข้าใจในเป้าหมายของโครงการ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆที่จะทำร่วมกันในรอบปี และจะเปิดรับสมัครให้เข้าร่วมโครงการสำหรับปีแรกเอาเฉพาะคนที่สนใจจะทำจริงๆและมีผู้มาสมัครสอบถามที่จะทำและวางแผนว่าจะไปศึกษาดูงานในพื้นที่ป่ายางสวนปันแสง

-ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 116 ธันวาคม 2561
16
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย winit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานโครงการฯโดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการกล่าวเปิดการประชุม แนะนำตัวเองอีกครั้งในการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการ และเล่ารายละเอียดการจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของบ้านโคกไทรนาเหรนในครั้งนี้ และชี้แจงรายละเอียดโครงการว่ามีงบประมาณเท่าใด ต้องทำอะไรบ้าง และต้องการผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง โดยมีตัวชี้วัดต่างๆตามรายละเอียดในชาร์จที่ขึ้นให้ดู โดยให้ทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นนายวินิตร์ พลนุ้ย ผู้รับผิดชอบได้ชี้แจงรายละเอียดและเป้าหมายการทำงานร่วมกันว่าเป้าหมายคืออะไร เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายการทำงานร่วมกันตลอดโครงการ เน้นการแลกเปลี่ยนความคิดว่าแต่ละคนคิดเห็นอย่างไรบ้างและอยากเห็นอะไรในการทำงาน เพราะรายละเอียดการทำกิจกรรมบางรายละเอียดเราสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดให้มากที่สุด และเปิดโอกาสให้คณะทำงานนำเสนอว่าสมาชิกที่จะมาร่วมโครงการจำนวน20 ครัวเรือนนั้นจะมีวิธีการคัดเลือกกันอย่างและเลือกใครบ้าง นายโหยบ หลำสะ รองปรธานกลุ่มฯในฐานะอาวุโสคนหนึ่งก็นำเสนอว่าจากประสบการณ์การทำงานกิจกรรมด้านกลุ่มมาแล้วพอจะเข้าใจพอสมควร อยากให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติที่ทำกันในครั้งนี้นั้นยั่งยืน จึงอยากเสนอให้เลือกคนที่ทำจริงและมีความรักชอบในกิจกรรมแนวนี้จริงๆก่อนในส่วนปีต่อไปค่อยว่ากันอีกที แต่จะไม่ปิดกั้นคนที่สนใจที่จะมาร่วม
1.สร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.สร้างความเข้าใจตัวชี้วัดของโครงการ 3.การวางแผนการบริหารจัดการโครงการ 4.การกำหนดแผนกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดความเข้าใจร่วมกันในที่ประชุมว่าเป้าหมายของโครงการคืออะไรและต้องทำอะไรกันบ้างในแต่ละกิจกรรมที่จะต้องทำ และได้ข้อสรุปเบื้องต้นในการหาสมาชิกมาร่วมเพื่อใช้ในการนำเสนอในที่ประชุมเปิดโครงการ 1.เกิดเกิดโครงสร้างการทำงาน บทบาทหน้าที่ของแต่ละคน และมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละคนในโครงสร้างคณะทำงาน 2.เข้าใจในวัตถุประสงค์เป้าหมายและตัวชี้วัดของแต่ละกิจกรรมของโครงการที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาของโครงการที่จะดำเนินการ 3.คณะทำงานเข้าใจแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ 4.คณะทำงานเข้าใจรายละเอียดในการบริหารจัดการโครงการทุกกิจกรรม