directions_run

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติที่บ้านโคกไทร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่นด้วยเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติที่บ้านโคกไทร
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 99,890.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ บ้านโคกไทร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวินิตร์ พลนุ้ย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสงคราม
พื้นที่ดำเนินการ บ้านโคกไทร - นาเหรน ม.1 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 8 มิ.ย. 2562 49,855.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 9 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 40,046.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,989.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 99,890.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 สภาพทั่วไปของบ้านโคกไทร- นาเหรน หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่10,200 ตารางเมตร มีครัวเรือนจำนวน 242 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 1,013 คน ชายจำนวน 505 คน หญิงจำนวน 508 คน ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก โดยเฉพาะการทำสวนยางพารา การทำสวนผลไม้ และการปลูกพืชไร่จำพวกถั่ว พืชผักท้องถิ่นต่างๆ รองลงมาก็เป็นอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย ประชากรนับถือศาสนาอิสลามประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ มีมัสยิด 2 มัสยิด มีบาลาย 1 บาลาย สภาพพื้นที่ทางกายภาพมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาบรรทัดตลอดแนวของหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ ประชาชนหลายหมู่บ้านใช้ประโยชน์จากการใช้น้ำและทรัพยากรจากผืนป่าตรงบริเวณนี้คนในพื้นที่ตำบลคลองเฉลิมและพื้นที่ตำบลใกล้เคียงใช้ประโยชน์ร่วมกันในการหาของป่ามาขาย มีแหล่งน้ำที่มีความสำคัญที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภค ใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่หลายแหล่ง เช่นน้ำตกคลองน้ำน้อย น้ำตกไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ ที่อยู่ติดต่อใกล้เคียงกัน และเป็นแหล่งน้ำดิบผลิตน้ำประปาใช้ของหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นต้น.. ในอดีตคนในหมู่บ้านเคยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของพืชพรรณไม้พื้นถิ่นที่มีความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใช้ประโยชน์ในทำมาหากิน เช่น การใช้พืชสมุนไพรในการรักษาดูแลอาการป่วยไข้ของประชาชนในพื้นที่ ทั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่างๆในพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บน้ำผึ้งที่มีจำนวนมากมายในบริเวณผืนป่าต้นน้ำ ปัจจุบันวาทกรรมเพื่อการพัฒนาของหน่วยงานภายนอกและความไม่รู้เท่าทันของประชาชนในการประกอบอาชีพทำให้ทรัพยากรเหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว และนับวันยิ่งหายไปจากพื้นที่จนเป็นที่น่ากังวลว่าในอนาคตอันใกล้จะไม่มีให้คนรุ่นปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์ อาจจะด้วยจากสาเหตุที่มาจากประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นกำไรเป็นตัวเงินมากกว่าการดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของพืชท้องถิ่น ด้วยความเข้าใจว่าการเกษตรเชิงเดี่ยวจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า ในทางกลับกัน พบว่าแนวทางการทำการเกษตรแบบนี้กลับให้ผลกระทบที่ตามมาหลายอย่างการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชมากขึ้น การใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต เร่งผลผลิตต่างๆ การใช้ปุ๋ยเคมีโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญในการนำไปสู่ความเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของทรัพยากรดิน และแหล่งน้ำทั้งเป็นการทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ จนนำไปสู่เรื่องปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ที่ได้รับการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้างปนเปื้อนเหล่านี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังเป็นสาเหตุสำคัญทีทำให้ความอุดมสมบูรณ์ความหลากหลายของพืชพันธุ์ท้องถิ่นต่างๆหายไปด้วย
1.2 จากสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดการพูดคุยรวมตัวกันของกลุ่มคนไม่กี่คนที่อยากเห็นการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเป็นไปอย่างรู้เท่าทันและสามารถรักษาทรัพยากรพืชท้องถิ่นเอาไว้ด้วย กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ บ้านโคกไทร ที่ได้ปรับกระบวนการทำงานมาจากกลุ่มเลี้ยงผึ้งฯ บ้านโคกไทร ได้หันมาสนใจในเรื่องการสร้างสวนผสมผสานแบบธรรมชาติ สร้างความอุดมสมบูรณ์ความหลากหลายของพืชท้องถิ่นในพื้นที่ให้กลับมามีอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กลุ่มคนที่สนใจนี้เป็นเครื่องมือกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระยะยาวโดยผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือและร่วมกันวางแผนการทำงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อได้ขยายแนวคิดเหล่านี้ไปสู่ชุมชนในระยะต่อไปส่งเสริมกระบวนการให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทำสวนอยู่แล้วและผู้คนที่อยู่ในชุมชนที่สนใจได้หันมาตระหนักและร่วมกันสร้างเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติให้มากขึ้น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยใช้การฟื้นฟูและอนุรักษ์พืชพันธ์ท้องถิ่นให้กลับมาได้ใช้ประโยชน์และเป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชนคนรุ่นหลังอีกด้วย และคาดหวังกันว่าชุมชนบ้านโคกไทร นาเหรนจะกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสร้างความมั่นคงในเรื่องอาหารการกินสามารถจัดการหมู่บ้านตนเองได้ในระยาวต่อไป 1.3 โครงการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติ จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพื้นที่การทำการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ การสร้างแรงกระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพการทำงานโดยการศึกษาดูงานและถอดบทเรียน การเก็บข้อมูลสำรวจในพื้นที่จริง และมีการออกแบบการทำงานสร้างกลไกกติกาที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง เชื่อว่าในระยะหนึ่งปีที่ร่วมโครงการนี้นั้นจะเห็นมิติการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนในการจัดการฟื้นฟูอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นด้วยเกษตรอินทรีย์ผสมผสานแบบธรรมชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างการเรียนรู้การทำการเกษตรแบบผสมผสานในสวนยางและสวนผลไม้ 2.เพื่อให้เกิดกลไกหนุนเสริมในการทำการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติมีกติกาที่เอื้อต่อการทำการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติ3.เพื่อให้เกิดแปลงเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติและมีความอุดมสมบูรณ์

1.มีข้อมูลพืชท้องถิ่นที่มีอยู่ในแปลงเกษตรของสมาชิก 2.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ดำเนินการอย่างน้อย 1ไร่ 3.สมาชิกมีความรู้สามารถวิเคราะห์พืชที่จะปลูกในแปลงของตนเองได้ 4.สมาชิกมีความรู้และสามารถขยายพันธุ์พืชได้เอง 5.มีแปลงเกษตรต้นแบบเพื่อการเรียนรู้อย่างน้อย 5 แปลง 6.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตปัจจัยเพื่อหนุนเสริมการผลิตได้อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 อย่าง 7.มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แปลงๆละไม่น้อยกว่า 1 ไร่ 8.แปลงเกษตรที่เข้าร่วมโครงการต้องมีพืชท้องถิ่นที่

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,583.00 23 99,740.00
9 ธ.ค. 61 -ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 0 950.00 950.00
6 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2 0 950.00 950.00
17 ม.ค. 62 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ 0 5.00 5,300.00
2 ก.พ. 62 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 0 17.00 17,000.00
3 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3 0 950.00 950.00
7 ก.พ. 62 จัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชในแปลงที่มีในปัจจุบัจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชในแปลงที่มีในปัจจุบันและพันธุกรรมท้องถิ่นย้อนหลังที่เคยมีในชุมชนนและพันธุกรรมท้องถิ่นย้อนหลังที่เคยมีในชุมชน 0 2.00 2,300.00
16 ก.พ. 62 -สรุปผลการศึกษาดูงานและสรุปผลการดำเนินงาน 0 4.00 4,450.00
2 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 0 950.00 950.00
2 มี.ค. 62 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจำแนกพันธุกรรมพืชท้องถิ่น 0 9.00 9,780.00
7 มี.ค. 62 กิจกรรมอบรมการขยายพันธุ์พืช 0 10.00 10,780.00
16 มี.ค. 62 เวทีสร้างกติกาการทำการเกษตรผสมผสาน 0 9.00 9,800.00
23 มี.ค. 62 เวทีคัดเลือกแปลงต้นแบบ 0 1.00 1,950.00
6 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 0 950.00 950.00
7 เม.ย. 62 กิจกรรมอบรมการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก 0 11.00 11,780.00
7 เม.ย. 62 กิจกรรมประเมินผลการทำงาน 3 เดือนครั้ง 0 4.00 4,650.00
4 พ.ค. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6 0 950.00 950.00
8 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7 0 950.00 950.00
29 มิ.ย. 62 กิจกรรมประเมินผลการทำงาน 3 เดือนครั้ง 0 4.00 4,650.00
6 ก.ค. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8 0 950.00 950.00
3 ส.ค. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่9 0 950.00 950.00
31 ส.ค. 62 กิจกรรมประเมินผลการทำงาน 3 เดือนครั้ง 0 4.00 4,650.00
5 ก.ย. 62 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน 0 3.00 3,150.00
7 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่10 0 950.00 950.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:31 น.