directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนบ้านใสประดู่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : ๑.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน ๒.มีการประชุมคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง ๓.มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
0.00 10.00

บางกิจกรรมต้องใช้บุคลากรเยอะแต่คณะทำงานมีเพียง10คน ทำให้การทำงานของแต่ละคนงานจะเยอะไปหน่อยและบางทีต้องขอแรงจากครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาช่วยเพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้นและได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

2 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและเข้าใจในการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี
ตัวชี้วัด : ๑.ชุมชนรับรู้สถานการณ์ปัญหาและผลที่เกิดจากการใช้สารเคมีร้อยละ ๗๐ ๒.ครัวเรือนมีความรู้และสามารถในการทำปุ๋ยหมักแห้ง หมักน้ำ และสารไล่แมลงไปใช้เองร้อยละ ๗๐
0.00 171.00

บางทีเกษตรกรเกิดความท้อใจเนื่องจากผลผลิตที่ได้น้อย แมลงศัตรูพืชที่ต้องคอยระวังอยู่ตลอดแต่ราคาผลผลิตกลับไม่ต่างกันกับราคาผักทั่วไปตามท้องตลาด

3 เพื่อให้ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี
ตัวชี้วัด : ๑.ครัวเรือนเข้าร่วมปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ ๗๐ ๒.ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษอย่างน้อย ๕ ชนิดร้อยละ๘๐ ๓.มีกฎกติกาของชุมชน
0.00 30.00

ในบางครัวเรือนที่มีพื้นที่ปลูกมากๆ สามารถปลูกผักได้ปริมาณที่มากจนยึดเอาเป็นอาชีพหลักไปเลยเพื่อส่งผักขายในตลาดนอกชุมชน

4 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย
ตัวชี้วัด : ๑.ครัวเรือนรับประทานผักปลอดสารพิษ ร้อยละ ๘๐ ๒.ผลการตรวจสารเคมีในเลือดผลระดับปกติและระดับปลอดภัยอย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ๓.ปริมาณการใช้สารเคมีลดลง ร้อยละ ๕๐
0.00 245.00

ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่2 จากกลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับที่ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่1 พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงคือ พบบุคคลที่มีความเสี่ยงเพียง6คนจากเดิมครั้งแรกมีถึง62คน และไม่พบบุคคลที่ไม่ปลอดภัยซึ่งจากเดิมมีีถึง12คน นี่คือผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรรมการเลือกบริโภคผักที่ปลอดภัยที่สามารถหาบริโภคได้ในชุมชนของตัวเอง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตัวแทนครัวเรือน 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (2) เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและเข้าใจในการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี (3) เพื่อให้ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี (4) เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน (2) ประชุมคณะทำงานจัดเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการทำสวน ทำไร่และการปลูกผัก (3) ครัวเรือนลงมือปฏิบัติปลูกผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี อย่างน้อยครัวเรือนละ ๕ ชนิด (4) เวทีให้ความรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของคนในชุมชน ในสวน ในไร่และแปลงผัก (5) แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ (6) ร่วมจัดทำข้อตกลงชุมชนเกี่ยวกับการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของคนในชุมชนในการทำสวน ทำไร่และการผลิตผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในครัวเรือนและติดตามการขยายผลการปลูกผักในครัวเรือน (7) ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบลดการใช้สารเคมีในการทำสวน ทำไร่และการปลูกผัก (8) เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ผักผลไม้ปลอดสารพิษ”

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีส่วนร่วมทุกๆกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh