directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนบ้านใสประดู่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนบ้านใสประดู่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 97,790.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักบ้านไสประดู่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมปอง ทองหนูนุ้ย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.2 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 48,895.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 39,116.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,779.00
รวมงบประมาณ 97,790.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกผักผลไม้ ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน พบว่า 1. มีครั
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารเคมี มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกผักผลไม้ ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน พบว่า 1. มีครัวเรือนจำนวน 42 ครัวเรือนจากครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 245 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.55 ที่ปลูกผักผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพในปัจจุบัน โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล้านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการทำไร่ถั่วลิสง ปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และมีการทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ เป็นอาชีพเสริม 2. ข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ ทั้งหมด 225 คน พบว่ามีประชาชนมีภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 27.55 และผิดปกติจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ จำนวน 550 บาท และยังมีปัญหาอุปสรรคด้านความต่อเนื่องและการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง ตลอดจนขาดความหลากหลายในเรื่องชนิดพืชที่ปลูกในชุมชน ชุมชนฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักผลไม้ โดยไม่ใช้สารเคมีในชุมชมขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปลูกผักผลไม้ปลอดภัยในปริมาณมากขึ้น ให้เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน และแลกเปลี่ยน หรือขายในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้คนในชุมชนมีโอกาสได้ทานผักผลไม้ที่ปลอดภัยมากขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

๑.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน ๒.มีการประชุมคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง ๓.มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและเข้าใจในการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี

๑.ชุมชนรับรู้สถานการณ์ปัญหาและผลที่เกิดจากการใช้สารเคมีร้อยละ ๗๐ ๒.ครัวเรือนมีความรู้และสามารถในการทำปุ๋ยหมักแห้ง หมักน้ำ และสารไล่แมลงไปใช้เองร้อยละ ๗๐

0.00
3 เพื่อให้ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี

๑.ครัวเรือนเข้าร่วมปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ ๗๐ ๒.ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษอย่างน้อย ๕ ชนิดร้อยละ๘๐ ๓.มีกฎกติกาของชุมชน

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย

๑.ครัวเรือนรับประทานผักปลอดสารพิษ ร้อยละ ๘๐ ๒.ผลการตรวจสารเคมีในเลือดผลระดับปกติและระดับปลอดภัยอย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ๓.ปริมาณการใช้สารเคมีลดลง ร้อยละ ๕๐

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตัวแทนครัวเรือน 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 97,790.00 8 97,790.00
24 ธ.ค. 61 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน 0 5,600.00 5,600.00
26 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงานจัดเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการทำสวน ทำไร่และการปลูกผัก 0 6,090.00 6,090.00
4 ม.ค. 62 ครัวเรือนลงมือปฏิบัติปลูกผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี อย่างน้อยครัวเรือนละ ๕ ชนิด 0 5,500.00 5,500.00
3 ก.พ. 62 เวทีให้ความรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของคนในชุมชน ในสวน ในไร่และแปลงผัก 0 17,800.00 17,800.00
21 มี.ค. 62 แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ 0 9,400.00 9,400.00
5 เม.ย. 62 ร่วมจัดทำข้อตกลงชุมชนเกี่ยวกับการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีของคนในชุมชนในการทำสวน ทำไร่และการผลิตผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในครัวเรือนและติดตามการขยายผลการปลูกผักในครัวเรือน 0 14,000.00 14,000.00
15 มิ.ย. 62 ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบลดการใช้สารเคมีในการทำสวน ทำไร่และการปลูกผัก 0 19,400.00 19,400.00
5 ก.ค. 62 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ผักผลไม้ปลอดสารพิษ” 0 20,000.00 20,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:34 น.