directions_run

ควนเหลงร่วมใจ จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.มีการประชุมคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง 3.มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
10.00 22.00

คณะทำงานประกอบด้วย อสม. ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน จำนวน 22 คน

2 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 60 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 60 ครัวเรือน
0.00 72.00

มีครัวเรือนเข้าร่วมเรียนรู้การคัดแยกขยะจำนวน 85 ครัวเรือน

3 เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ
ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 60 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 2.มีครัวเรือนนำขยะไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 60 3.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 4.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 5.ชุมชนมีกำหนดข้อตกลงมาตรการร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่อง
0.00 72.00

1.มีครัวเรือนคัดแยกขยะจำนวน 72 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 36.36 จากครัวเรือนทั้งหมด 198 ครัวเรือน 2.ขยะอินทรีย์จากเดิม 20 กก.ต่อครัวต่อเดือน หลังดำเนินการ เหลือ ศูนย์ 3.ขยะรีไซเคิ้ล จากเดิม 12 กก.ต่อครัวต่อเดือน หลังดำเนินการ 4.ขยะอันตราย ยังไม่ดำเนิการ 5.ขยะทั่วไป จากเดิม 27 กก.ต่อครัวต่อเดือน หลังดำเนินการ 1 กก.ต่อครัวต่อเดือน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (2) เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะ (3) เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการทำงานร่วมกัน (2) ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชน (3) สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนดำเนินกิจกรรม (4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 1 (5) อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ (6) จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในลดการนำเข้าขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติ และประกาศใช้ในชุมชน (7) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 2 (8) ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ (9) เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” (10) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) เทศบาลควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนชุมชนทุกกิจกรรม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh