directions_run

ควนเหลงร่วมใจ จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ควนเหลงร่วมใจ จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 88,480.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๕ บ้านควนเหลง ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญเรียง พันธ์พงค์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายประเทือง อมรวิริยะชัย
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.715241886938,99.985865041648place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 44,240.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 1 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 35,392.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 8,848.00
รวมงบประมาณ 88,480.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชุมชนทุกระดับชั้น ลักษณะของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี หรือมีขยะมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บ หรือเก็บขน หรือกำจัดให้หมดในวันเดียว ขยะจึงตกค้างในชุมชน ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การเพิ่มอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ชุมชนบ้านควนเหลง หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑๙๘ ครัวเรือน นับเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาการจัดการขยะในชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุมชนบ้านควนเหลง หมู่ที่ ๕ บ้านควนเหลง ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ ๖ กิโลกรัม/สัปดาห์ แยกชนิดเป็นขยะแห้ง ๒ กิโลกรัม ขยะเปียก ๓.๘ กิโลกรัม ขยะ และขยะอื่น ๆ ๐.๒ กิโลกรัม จากการที่ประชาชนขาดความรู้และขาดแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น โดยจากผลการศึกษาชุมชนพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่คัดแยกขยะไม่ถูกวิธีร้อยละ ๙๘ และกำจัดโดยการเผาที่ไม่ถูกวิธีร้อยละ ๙๗.๗๓ หากครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีแล้ว ขยะก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ร้อยละ ๙๑.๙๗ ซึ่งส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เช่น โรคอุจจาระร่วงซึ่งพบว่าในชุมชนบ้านควนเหลงมีการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงซึ่งโรคอุจจาระร่วงนั้นมีความรุนแรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากภาวะการขาดน้ำ ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยในปี ๒๕๖๐ ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 3,420.47 และมีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี ซึ่งการป้องกันโรคดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการจัดการกับขยะไม่ให้เหมาะสมกับการเป็นแปลงเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่างๆ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ชุมชนบ้านควนเหลง หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งประสานการทำงานเป็นทีม มีผู้นำที่เข้มแข็ง เป็นทุนทางสังคมที่มีคุณภาพมีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะในครัวเรือน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายชุมชนสีเขียวนั้น ชุมชนบ้านควนเหลง มีแนวทางการจัดการขยะในชุมชนสู่อนาคตชุมชนสีเขียวดังนี้ 1.การคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด โดยคัดแยกขยะมูลฝอยออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และดำเนินการรีไซเคิลครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ ถือหลักการกำจัดขยะจากแหล่งกำเนิดต้นทาง ลดปริมาณขยะ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย รวมถึงนำขยะกลับมาใช้ใหม่ในหลายรูปแบบ โดยมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษผักและเศษอาหาร เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่เพื่อทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด 2.การลดขยะที่ตัวเราเอง
ปัญหาขยะไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยี แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากเราทุกคน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ คือ การลดขยะที่ตัวเราเอง โดยมีหลายชุมชนที่นำแนวคิดนี้มาใช้ หรือที่รู้จักกันว่าเป็น “ชุมชนไร้ถัง” เน้นหนักมาตรการทางสังคมให้สมาชิกในชุมชนร่วมมือกันลดขยะและคัดแยกขยะแทนการพึ่งพาเทคโนโลยี และยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายสำหรับเป็นมาตรการทางการคลังผ่านการจำหน่ายถุงขยะ แต่ปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ผู้นำชุมชนมีการติดตามและสนับสนุนการคัดแยกขยะอย่างเปิดโอกาสให้ชาวบ้านร่วมกันอภิปราย ระดมความเห็นกันว่าเราควรมีการจัดการอย่างไร จนได้เป็นข้อสรุปของการบริหารจัดการขยะอย่างมีศักยภาพ โดยได้กำหนดมาตราการช่วยกันกำจัดขยะในชุมชนร่วมกันว่า ชาวบ้านจะต้องมาช่วยกันกำจัดขยะในพื้นที่สาธารณะเดือนละ 1 ครั้ง โดยแต่ละหมู่บ้านช่วยกันทำอย่างพร้อมเพียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

1.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน

2.มีการประชุมคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง

3.มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน

10.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะ

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 60 ครัวเรือน

2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 60 ครัวเรือน

0.00
3 เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ

1.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 60 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ

2.มีครัวเรือนนำขยะไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 60

3.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน

4.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง

5.ชุมชนมีกำหนดข้อตกลงมาตรการร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่อง

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 82,080.00 10 82,080.00
20 ธ.ค. 61 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการทำงานร่วมกัน 0 6,400.00 6,400.00
24 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชน 0 6,760.00 6,760.00
28 ธ.ค. 61 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนดำเนินกิจกรรม 0 6,400.00 6,400.00
4 ม.ค. 62 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 1 0 3,800.00 7,400.00
22 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 0 22,600.00 22,600.00
28 ก.พ. 62 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในลดการนำเข้าขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติ และประกาศใช้ในชุมชน 0 4,200.00 4,200.00
4 มี.ค. 62 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 2 0 1,800.00 0.00
26 ก.ค. 62 ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ 0 6,320.00 6,320.00
23 ส.ค. 62 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” 0 22,000.00 22,000.00
31 ส.ค. 62 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 3 0 1,800.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:39 น.