directions_run

ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านบ้านควนคง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้สถานการณ์ การใช้สารเคมี และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร
ตัวชี้วัด : 1. มีครัวเรือนพร้อมเข้าร่วมปรับเปลี่ยนร้อย 80 2.มีสมาชิกครัวเรือนสมัครเข้าร่วมกระบวนเกษตรปลอดสารเคมี ไม่น้อยกว่า 40 คน
100.00 40.00

ประชาชนรับทราบสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบ ในชุมชน

100 ครัวเรือน เกิดครัวเรือนต้นแบบในการปฏิบัติการการทำเกษตรปลอดสารเคมี 40 ครัวเรือน

 

ประชาชนให้ความร่วมมือเข้าร่วมรับฟัง และมีหน่วยงานภาคีเข้าร่วม ทั้งท้องที่ ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ

2 เพื่อสร้างกติกาในการทำเกษตรปลอดสารเคมี
ตัวชี้วัด : 1.มีกติกาและปฏิบัติตามกติกาการทำเกษตรปลอดสารเคมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของสมาชิก
40.00 40.00

กติกาการทำเกษตรปลอดสารเคมี 1. ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

  1. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง

  2. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก

  3. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด

 

 

3 สร้างปฏิบัติการหนุนเสริมระดับครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนปฏิบัติการนำร่องการทำเกษตรปลอดสารเคมีสามารถทำและใช้สิ่งทดแทนสารเคมีเองได้ไม่น้อยร้อยละ80 2.เกิดนวัตกรรม หรือแหล่งเรียนรู้ เกษตรปลอดสารเคมีในชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง
40.00 40.00

ครัวเรือนปฏิบัตการ 40 ครัวเรือน เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ปุ๋ยหมักน้ำ ปุ๋ยหมักแห้ง เรียนรู้การทำสารทดแทนการ ใช้สารเคมีในการเกษตร สามารถทำปุ๋ยอินทรีย์และใช้สารทดแทนการใช้สารเคมี
ได้ จำนวน 39 ครัวเรือน มีครัวเรือนต้นแบบ 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนรู้ จากครัวเรือนต้นแบบการทำเกษตร จำนวน 1 แปลง
เป็นแปลงของนาย กระจ่าง นุ่นดำ มีการปลูกผัก การเสี้ยงวัว การเสี้ยงปลาดุก การเสี้ยงผึ้ง
มีการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ที่เสี้ยง ใช้สารทดแทนการใช้สารเคมี เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ยึกหลักการทำเกษตรอินทรีย์

 

ครัวเรือนปฏิบัติการสามารถทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ และสารทดแทนการใช้สารเคมี ได้เป็นอย่างดี และมีวัสดุดิบในชุมชนอย่างเพียงพอ

4 เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อน ติดตามประเมินผลการเกษตรปลอดสารเคมี
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลไกร่วมระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง 2. มีรายงานการติดตามประเมินผลตามแผนงาน 3. เกิดคณะทำงานที่สามารถขับเคลื่อนกระบวนเกษตรอินทรีในชุมชนอย่างเนื่อง
13.00 13.00

มีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ 13 คน ผู้นำชุมชน 4 คน ผู้แทนกลุ่มบ้าน 3 คน แกนนำชุมชม 2 คน

รพ.สต. 1 คน ส.อบต. 2 คน กำนัน 1 คน ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เสริมพลัง ชุมชน ติดตามความก้าวหน้าครัวเรือน

ติดตามการดำเนินงานตามแผน ประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ปัญหา ปรับปรุงแผนการดำเนินงาน

 

เป็นกลไกการขับเคลื่อนการดำเนิดโครงการ ที่ครบคลุม มีทั้งผู้นำที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ท้องที่  ท้องถิ่น

5 เพื่อเลิกการใช้สารเคมี ในการทำเกษตร
ตัวชี้วัด : 1.ครอบครัวต้นแบบเลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 80
40.00 40.00

ครัวเรือนต้นแบบ 3 ครัวเรือน การปลูกปลอดสารเคมีในครัวเรือน

  1. นายบุญเจือ ชุยัง ไม่ใช้เคมีในการเกษตร ผลิต และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัวในกระบะแสนดี และบริเวณบ้าน เหลือกินแบ่งปันให้เพื่อบ้าน เลี้ยงผึ้ง ในบริเวณบ้าน เลี้ยงปลาดุก เป็ด ไก่ เลี้ยงวัว

  2. นายช่วง เพ็งหนู ไม่ใช้เคมีในการเกษตร ผลิต และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัวในกระบะแสนดี และบริเวณบ้าน เหลือกินแบ่งปันให้เพื่อบ้านเลี้ยงผึ้ง เป็ด ไก่

  3. นายกระจ่าง นุ่นดำ ไม่ใช้เคมีในการเกษตร ผลิต และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัวในกระบะแสนดี และผักพื้นบ้าน เหลือกินแบ่งปัน เลี้ยงผึ้ง เลี้ยง

214 คน กินผักและผลไม้ 400 กรัม / วัน

ครัวเรือนปฏิบัติการการทำเกษตรปลอดสารเคมี  40 ครัวเรือน เลิกใช้สารเคมีในการเกษตร