directions_run

ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านบ้านควนคง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านบ้านควนคง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 72,910.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ที่14 ต. ตำนาน อ.เมือง จ.พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกระจ่าง นุ่นดำ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 36,455.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 29,164.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 7,291.00
รวมงบประมาณ 72,910.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านควนคง หมู่ที่ 14 ตำบลตำนาน อำเภอเมื่อง จังหวัดพัทลุง ห่างจากเขตเทศบาลเมืองพัทลุง 4.3 กม. พื้นที่ทั้ง หมู่บ้าน 1,122 ไร่ สภาพพื้นที่ครึ่งหนึ่งเป็นที่ราบสูง (ควนคง) ส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นที่ราบ ประชาชนประกอบอาชีพทำสวนยางพารา 596 ไร่ บนที่สูง ทำนา 308 ไร่ ปลูกผักเพื่อขาย 34 ไร่ ทำสวนปาล์ม 17 ไร่ ทำสวนมะพร้าว 15 ไร่ ปลูกพลู 11 ไร่ ในที่ราบ มีแหล่งนำ้ และสายห้วยรวมพื้นที่ 41 ไร่ บ้านควนคงดินดี นำ้ดี ประชาชนทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก แต่ด้วยความเชื่อเดิมๆ ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่คนรุ่นก่อน ที่ถูกปลูกฝังให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยากำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ในการทำเกษตร ซึ่งทำแล้วได้ผลดีในเชิงปริมาณของผลผลิต แต่ไม่เคยได้เรียนรู้ในเชิงคุณภาพว่าสะอาด ปลอดภัยอย่างไร แค่ไหน การผลิตแลการบริโภคของประชาชนจึงอยู่บนกระบวนการของการทำต่อกันมา ขาดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง  และขาดหน่วยงานองค์กรที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เหล่านั้นในวิถีชีวติประจำวันของประชาชน ชุมชนได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีมาต่อเนื่อง เท่าที่รวบรวมข้อมูลได้เป็นพื้นฐาน ดังนี้ ตรวจพบสารเคมีในเลือดร้อยละ 84 จากจำนวน 200 คน ร้านขายของชำในชุมชน 2 ร้านขายสารเคมีในการเกษตรทั้ง 2 ร้าน คนปลูกผักเพื่อขาย 30 ครอบครัว รวมพื้นที่ 34 ไร่ ใช้เคมีทั้งหมด คนรับจ้างฉีดยาคุมหญ้า ฆ่าหญ้ามีงานทำตลอด การติดต่อจ้างต้องรอคิว จากการสังเกตพืชอาหารในสวนลดลง ปลาในนาลดลงและหลายชนิดสูญพันธ์

    คน(ความรู้และพฤติกรรม)     มีความเชือเดิมๆ ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่คนรุ่นก่อน ที่ถูกปลูกฝังให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยากำจัดวัชพืช ศัตรูพืชในการเกกษตร ซึ่งทำอล้วได้ผลในเชิงปริมานของผลผลิต แต่ไม่เคยได้เรียนรู้ในเชิงคุณภาพว่าสะอาด ปลอดภัยอย่างไร แค่ไหน การใช้เคมีไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด หรือคำแนะนำฉลากผลิตภัณฑ์ ขาดการป้องกันที่ถูกต้องผู้ใช้เคมี     สภาพแวดล้อม(สังคมและสิ่งแวดล้อม)     สารเคมีหาง่ายใกล้เมือง คนพ่นเคมี มีในหมู่บ้านรับจ้างฉีดฆ่าหญ้า ยาุมหญ้าที่ทำเป็นอาชีพ การใช้สารเคมีทำง่าย สะดวก ได้ผลเร็ว จึงมีผลกระทบต่อดิน น้ำ พืช และสัตว์ ที่ลดความอุดมสมบรูณ์ลงอย่างรวเร็วและต่อเนื่อง ขาดแกนนำการเปลี่ยนแปลง ไม่มีคนทำเกษตรอินทรีย์ในุมชน     ระบบกลไก (ภายในภายนอก)     ไม่มีการหนุนเสริมเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานใด อย่างต่อเนื่อง และ การผลลิตและการบริโภคของประชาชนจึงอยู่บนกระบวนการทำต่อกันมา ขาดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และขาดหน่วยงานองค์กรที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เหล่านั้นในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แนวทางการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการโดยคณะทำงานตามโครงการจะได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้สถานการณ์ และผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสุขภาพ และสิ่งแวกล้อม ในเบื้องต้นเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้สารเคมี และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในช่วงเวลาของโครงการ สร้างครอบครัวต้นแบบ ส่งเสริมให้เรียรรู้การเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรอินทรีย์จากพื้นที่ต้นแบบ สร้างแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์สาธิตในการทำการเกษตรปลอดสารเคมีในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเกษตรอินทรีย์ สนันสนุนการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนทุกกลุ่มวัย คืนข้อมูลสู่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้สถานการณ์ การใช้สารเคมี และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร
  1. มีครัวเรือนพร้อมเข้าร่วมปรับเปลี่ยนร้อย 80 2.มีสมาชิกครัวเรือนสมัครเข้าร่วมกระบวนเกษตรปลอดสารเคมี ไม่น้อยกว่า 40 คน
100.00
2 เพื่อสร้างกติกาในการทำเกษตรปลอดสารเคมี

1.มีกติกาและปฏิบัติตามกติกาการทำเกษตรปลอดสารเคมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของสมาชิก

40.00
3 สร้างปฏิบัติการหนุนเสริมระดับครัวเรือน
  1. ครัวเรือนปฏิบัติการนำร่องการทำเกษตรปลอดสารเคมีสามารถทำและใช้สิ่งทดแทนสารเคมีเองได้ไม่น้อยร้อยละ80
    2.เกิดนวัตกรรม หรือแหล่งเรียนรู้ เกษตรปลอดสารเคมีในชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง
40.00
4 เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อน ติดตามประเมินผลการเกษตรปลอดสารเคมี
  1. เกิดกลไกร่วมระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง
  2. มีรายงานการติดตามประเมินผลตามแผนงาน
  3. เกิดคณะทำงานที่สามารถขับเคลื่อนกระบวนเกษตรอินทรีในชุมชนอย่างเนื่อง
13.00
5 เพื่อเลิกการใช้สารเคมี ในการทำเกษตร

1.ครอบครัวต้นแบบเลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 80

40.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนต้นแบบ 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 436 72,910.00 17 72,110.00
10 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 10 5,050.00 2,125.00
10 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 13 0.00 325.00
15 ม.ค. 62 เวทีสร้างความเข้าใจโครงการ 100 14,300.00 14,300.00
10 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 13 0.00 325.00
26 ก.พ. 62 ประชุมสมาชิกครัวเรือนต้นแบบการเกษตรปลอดสารเคมี 40 10,050.00 10,050.00
9 มี.ค. 62 การเรียนรู้ดูงานพื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดสารเคมี/เกษตรอินทรีย์ 13 6,180.00 5,380.00
10 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 13 0.00 325.00
10 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 13 0.00 325.00
7 พ.ค. 62 เรียนรู้การทำ และใช้สารสิ่งทดแทนสารเคมี 40 12,900.00 12,900.00
10 พ.ค. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 13 0.00 325.00
15 มิ.ย. 62 สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ 3 6,000.00 6,000.00
20 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 13 0.00 325.00
10 ก.ค. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 13 0.00 325.00
27 - 28 ก.ค. 62 การเก็บรวบรวมสำรวจข้อมูลการใช้ และผลกระทบจากสารเคมี 13 3,380.00 3,380.00
17 ส.ค. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 13 0.00 325.00
17 ก.ย. 62 เวทีสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูล 100 15,050.00 15,050.00
28 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 13 0.00 325.00
  1. สร้างความเข้าใจให้ชุมชนรับทราบสถานการณ์ การใช้สารเคมี และผลกระทบจากสารการใช้สารเคมีในการเกษตร และสารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน (ยากำจัดหญ้า ยาคุมหญ้า กำจัดหนอน แมลง ยาฆ่าปู ฆ่าหนู รวมถึงยากำจัดมด ปลวกในบ้าน) โดยใช้ข้อมูลนำเข้าจากภายนอก และการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ที่หาได้
  2. ชักชวน จูงใจให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมเลิกใช้สารเคมี ตามที่ชุมชนกำหนดและร่วมกระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่การเกษตรปลอดสารเคมีใน 3 ระดับ   2.1 ร่วมเรียนรู้ตามกระบวนการ   2.2 ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนกำหนดกติกาและปฏิบัติการเป็นต้นแบบของชุมชน   2.3 ร่วมดำเนินการอย่างจริงจัง สร้างวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
  3. กลไกขับเคลื่อนต้องปฏิบัติการสนับสนุน ผลักดัน ส่งเสริม เสริมพลังให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการดำเนินการทำเกษตรอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารเคมีและผลักดันการเกษตรปลอดสารเคมีอย่างต่อเนื่อง
  4. ตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการจากคณะทำงานตามโครงการและภาคีที่เกี่ยวข้อง
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมู่บ้านควนคงขับเคลื่อนการลดสารเคมีในการเกษตร จะช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร ช่วยส่งเสริมการสร้างกระบวนการอาหารปลอดภัยซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:40 น.