directions_run

ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบ
ตัวชี้วัด : 1.คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถาการณ์ทะเลสาบ 2. ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวปากพะยูน 3. ได้ร่างแผนการดำเนินงานของชุมชน
0.00 290.00

สมาชิกชาวประมงในพื้นที่เป้าหมายจำนวนไม่ต่ำกว่า 290 คน มีความรู้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบ ตลอดถึงข้อมูลชนิดพันธุ์สตว์น้ำ และการเปลี่ยนแปลงก่อน หลัง การทำกิจกรรมฟื้นฟูด้วยเขตอนุรักษ์ จำนวน 13 ชนิด ที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ที่เป็นเครื่องมือถูกต้องตามกฏหมายไม่ทำลายล้าง พร้อมทั้งได้ร่วมออกแบบวางแผนที่สอดคล้องในการฟื้นฟูทะเลสาบในนเวศน์ดังกล่าว

ชาวประมงในพื้นที่เป้าหมาย สามารถบอกเล่า สถาณการ์ทะเลสาบและกิจกรรมที่ขับเคลื่อนตลอดถึงผลที่เกิดขึ้นจากการร่วมฟื้นฟูทะเลสาบตอนกลางด้วยการทำเขตอนุรักษ์ ที่มีกลไกในการดูแลพร้อมกติกาข้อตกลงชุมชนที่ตกลงปฏิบัติร่วมกัน จนเห็นผลการเปลื่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำทั้งชนิดและปริมาณ ส่งผลให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถสร้างการยอมรับกับชาวประมงในพื้นที่ใกล้เคียงตลอดถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำเอารูปแบบการฟื้นฟูไปขยายผลในชุมชนใกล้เคียงุ

การทำกิจกรรมฟื้นฟูทะเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์มีรูปธรรมความสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งชนิด และปริมาณของสัตว์น้ำที่ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากวันละ 300 -500 เป็น 500-1500 บาท เนื่องจากชาวประมงในชุมชน เข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหา และเห็นความจำเป็นสำคัญที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทะเลสาบด้วยกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีแกนนำชาวประมงในชุมชนใกล้เคียงสนใจที่จะนำรูปแบบกิจกรรมดังกล่าวไปขยายผล อีก 4 ชุมชน โดยมี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ฝาละมี ร่วมสนับสนุน พร้อมที่ผลักดันบรรจุในแผนสิ่งแวดล้อมของตำบลเพื่อบรรจุในปีงบประมาณ ปี 63

2 2.เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 15 คน 2. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 11 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงในการดูแลเขตฯ 4.ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่
0.00 15.00

จากการขับเคลื่อนโครงการที่ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ โดยมีตัวแทนจากชุมชนเป้าหมายจำนวน 5 ชุมชนเข้ามาร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ พร้อมที่ปรึกษา จำนวน 15 คน และมีประมงอาสา ที่สมัครใจทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ละ 15 รวม 75 คน โดยแต่ละเขต ได้ร่วมออกแบบกติกาข้อตกลงที่จะปฏิบัติร่วมกันและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในแต่ละพื้นที่ เชื่อมโยงกับแผนการทำงานของประมงอาสา ที่ชุมชนได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันในการฟื้นฟูทะเลสาบเพื่ให้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ มีความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลที่ปลอดภัย และอาชีพประมงที่ยั่งยืน

การสร้างรูปธรรมการฟื้นฟุเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง ที่มีรูปธรมความสำเร็จที่เกิคขึ้นอย่างชัดเจน โดยการมีกลไกในการขับเคลื่อนงาน ที่มีทั้งทีใบรหารจัดการโครงการและกลไก การขับเคลื่อนเขตอนุรักษ์ที่ชุมชนร่วมออกกฏระเบียบกติกาข้อตกลงและถือปฺฏิบัติร่วมกัน ส่งผลใให้เกิดความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ส่งผลให้มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาตร์การฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งของสำนังานประมงจังหวัด ที่ยอมรัยรูปแบบการทำงานแลพเข้ามาเป็นเจ้าภาพร้วมในการขับเคลื่ินกิจกรรมทั้งงบประมาณ เช่นการสร้างบ้านปลา และร่วมผลักดันที่ให้มีการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงโดยผ่านการพุดคุยในเวทีการประชุมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของกรรมการประมงระดับจังหวัดพัทลุง

ได้มีการนำเสนอรูปธรรมความสำเร็จของการอุนรักษ์ฟื้นฟู ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับสัตว์น้ำ /ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเงื่อนไขสำคํญ คือการมีกลไก ที่มีความรู้ความเข้าในในการทำงาน และมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายร่วมกัน ที่งกลไก กรรมการบิหารโครงการ ที่มีความเชื่อมโยงกับก,ไก ปฏิบัติการ คือประมงอาสา ในแต่ละพื้นที่ โดยทั้ง 2 กลไก มีการประชุทกันอย่างต่อเนื่อง และหนุนเสริการทำงานให้ขับเคลื่อนไปตามเป้าหมาย วัตถุประงค์ที่กำหนดไว้

3 3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 3. มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่
0.00 12.00

มีการขับเคลื่อนการทำงาน ด้วยการประชุม สรุปติดตามความคืบหน้าและวางแผนการทำงาน เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง ทั้งประชุมทางการและการประชุมนอกรอบ โดยนำข้อมูลผลการดำเนินงานมาบอกเล่าทบทวนและวางแผนการทำงานเพื่อตอบโจทย์บันไดผลลัพธ์และตัวชี้วัดโครงการ ทั้งคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้คียง ด้วยให้มีการรับรู้ผลการทำงาน พร้อมทั้งพื้นที่ กำหนดเขตอนุรักษ์ที่มีกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับปฏิบัติร่วมกัน โดยออกแบบเป็นเป็นป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงที่ต้องปฎิบัติร่วมกัน แต่ละพื้นที่ จำนวน 5 พื้นที่ ประกาศให้เห็นแต่ละชุมชน

กติกาข้อตกลงชุมชน ว่าด้วยเขตอนุรักษ์ชุมชน มีการปิบัติการ อย่างจริงจัง ผู้ที่กระทำผิดละเมิดกติกา เช้น ทำประมงในเขตุอนุรักษ์ ไดัรีบการลงโทษ คือการกล่าวตักเตือน บางราย มีการทำผิดครั้งที่ 2 ถึงขั้นริบเครื่องมือประมงเพื่อนำมาประมูลนำเงิน เข้ากองทุนใช้ในการตรวจตราดูแลเขต การทำงานและมีการตรวจจับอ่ายจริงจังของประมงอาสา ทำให้การลักลอบในเขตลดน้อยลง จนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และฝ่ายปกครองที่เข่ามาร่วมทำงานรวมถึงตำรวจในพื้นที่

มีการพุดถึงรูปแบบการฟื้นฟู และรูปธรรมการทำงานของพื้นที่ ในเวทีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และการประชุมกรรมการประมงระดับจังหวัด ที่สนใจรูปแบบดังกล่างที่จะนำไขยายผลในชุมชนใกล้เคียง

4 4. นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวชี้วัด : 1.พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปลาแป้น(ปลาลาปัง) ปลากระบอก กุ้งก้ามกราม 2.ขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์จากแนวเดิมออกไปไม่ต่ำกว่า 100 เมตร
0.00 13.00

จากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำ ที่เกิดขึ้น ก่อนหลัง ทำเขตอนุรักษ์ พบว่า สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 13 เช่น ปลาแป้น ปลากระบอก ปลาพลก ปลาดุกทะเล ปลาวัว ปลากระเบน ปลาจิ้มฟันจระเข้ ฯลฯ นอกจากนั้น มีการขยายพื้นที่ แนวเขต จากเดิม ความยาวตลอดแนวชายฝั่ง 100 เมตร เป็น 500 เมตร บางพื้นที่ 1500 เมตร จากริมตลิ่ง ออกไปในทะเล 400 เมตร หรือ 500 เมตร ขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนแต่ละพื้นที่ ที่มีนิเวศน์แตกต่างกันโดยมีกติกาข้อตกลงชุมชนเป็นตัวกำหนดในการปฺฏิบัติร่วมกัน

จากการขยายพื้นที่เขต อย่างชัดเจนพร้อมกับการเคารพปฏิบัติตามกติกาข้อตกลง ตลอดถึงการทำงานที่เข้มข้นของประมลอาสา ส่งผลให้ชนิดแลจำนวนสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น คนในชุมชนมีรายไดเพิ่มขี้นและที่สำคัญ คนในชุมมีการบริโภคปลาที่เพียงพอ เพิ่มขึ้น อาทิตย์ ละ 5 มื้อ เหตุผลเหล่านี้ ทำให้โครงการได้รับการยอมรับทั้งคนในชุมชนและภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง

การที่ชาวประมงในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง มีรายได้เพิ่มขึ้น และเข้าถึงอาหารทะเลเพียงพอในการบริโภค จากการจับสัตว์น้ำได้หลากหลายชนิด ซึ่งตอบโจทย์เรื่องปากท้อง ส่งผลให้ รูแบแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมตลอดถึงการกำหนดพื้นที่แนวเขตที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่สะดวกในการดูแลรักษา เอื้อต่อการทำประมงของคนในพื้นที่ ส่งผลให้การทำงานดังกล่าว นำไปสู่การสร้างความร่วมมือและการยอมรับจากชุมชนตลอดถึงภาคึความร่วมมือที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง