directions_run

ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 299,860.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ อ.ปากพะยูน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย อุสัน แหละหีม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว เบญจวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 30 พ.ค. 2562 149,930.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 1 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 119,944.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 29,986.00
รวมงบประมาณ 299,860.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ 1,040.24 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว ละอำเภอปากพะยูน ด้วยความเป็นนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลส่งผลให้ทะเลสาบมีความอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์สัตว์น้ำถึง 770 ชนิด (ไพโรจน์ ศิริมนตราภรณ์ และคณะ 2542) หล่อเลี้ยงชาวประมงที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรในการดำรงชีวิตรอบทะเลสาบถึง 169 หมู่บ้าน 8,900 ครัวเรือน (สมาพันธ์ชาวประมงทะเลสาบสงขลา 2558) ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในทะเลสาบที่มี 3 น้ำ ทำให้สัตว์น้ำมีรสชาติที่อร่อย แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ำในทะเลสาบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการจับสัตว์น้ำที่ขาดการวางแผน เน้นการจับให้ได้ปริมาณมากโดยใช้เครื่องมือทำลายล้าง และตาอวนขนาดเล็ก กอรปกับระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการของรัฐ เช่น การปิดปากระวะ การสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ซึ่งเป็นการปิดทางเข้า-ออกของสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลากับอ่าวไทย การใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น อวนรุน โพงพาง ในทะเลสาบตอนล่าง การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลต่อความตื้นเขิน การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน การเกิดภัยพิบัติ การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและหลากหลายขึ้น ไม่มีมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นและจริงจัง ฯลฯ เหล่านี้ส่งผลให้ทะเลสาบมีความเสื่อมโทรม สัตว์น้ำมีจำนวนลดลงเห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540 ที่ชาวประมงเปลี่ยนอาชีพไปทำนา รับจ้างนอกชุมชน เช่น โรงงานถุงมือ จังหวัดสงขลาหรือไปเป็นลูกเรือในจังหวัดสตูล ทำให้ชุมชนต่างคนต่างอยู่เกิดความห่างเหินไม่มีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลเหมือนในอดีตและมีแนวโน้มจะนำไปสู่การล่มสลายของชุมชน


1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและผลที่เกิดขึ้น (รูปแบบช่องฟืนโมเดล) ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ทะเลสาบคือหม้อข้าวหม้อแกง” ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้วิกฤติให้สามารถจับสัตว์น้ำทำการประมงเหมือนในอดีตได้ แต่ก็มีชาวประมงบางส่วนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น พยายามร่วมคิดออกแบบหาทางออกที่หลากหลายในการที่จะฟื้นให้ทะเลสาบมีสัตว์น้ำที่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงในชุมชนบ้านช่องฟืน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 หมู่บ้านในตำบลเกาะหมากที่อยู่ในนิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ซึ่งมีประชากร 256 ครัวเรือน ประชากร 1,009 คน 80% ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก ก็เคยผ่านการประสบปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆรอบทะเลสาบสงขลาชุมชนดังกล่าวได้พยายามรวมกลุ่มของชาวประมงในพื้นที่เพื่อร่วมกันหาทางออก คิดหารูปแบบต่างๆในการฟื้นฟูให้มีสัตว์น้ำ สามารถทำการประมงได้ในรูปแบบของการทดลองทำเขตอนุรักษ์ชุมชน ซึ่งเป็นเขตทะเลหน้าบ้านที่สมาชิกในชุมชนเห็นพ้องต้องกันยอมรับที่จะให้มีพื้นที่สำหรับอนุบาลและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดนมีอาณาเขตพร้อมกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับและร่วมปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด และมีประมงอาสาซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอย่างต่อเนื่องซึ่งวิธีการดังกล่าวได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันโดยมีการร่วมประชุมทุกวันที่ 19 ของเดือนโดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการจัดให้มีเวทีการพูดคุยสรุปทบทวนวางแผนในการทำงานของชุมชนและชุมชนใกล้เคียงคือ “สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ อ.ปากพะยูน” ซึ่งมีตัวแทนจากประมงอาสาและตัวแทนกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่จำนวน 8 กลุ่ม เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานและกิจกรรมเขตอนุรักษ์ถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งของสมาคมฯที่นำไปสู่การฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและยังเป็นกลไกร่วมในการบริหารจัดการทุกกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้กิจกรรมอนุรักฟื้นฟูเกิดรูปธรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มขึ้นของชนิดและพันธุ์สัตว์น้ำส่งผลให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้ตลอดปี สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง จากเดิมที่มีรายได้จากการทำประมงวันละ 150 -300 บาท ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยวันละ 500 – 1,000 บาท และสามารถทำประมงได้ตลอดทั้งเกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงมรสุม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะซึ่งตอบโจทย์ความสุขของคนในชุมชนบ้านช่องฟืนที่จะนำไปสู่อาชีพประมงที่ยั่งยืนในอนาคต จากความสำเร็จดังกล่าวข้างต้นทำให้แกนนำในหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดความสนใจและอยากจะนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเองโดยพร้อมที่จะเข้ามาเป็นเครือข่ายของ“สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ อ.ปากพะยูน” และสนใจรูปแบบการติดตามกิจกรรมฟื้นฟูเขตทะเลหน้าบ้านในลักษณะเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน โดยมีกติกาข้อตกลงเป็นเครื่องมือที่จะปฏิบัติร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความมือของคนในชุมชนในการร่วมฟื้นฟูทะเลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีพื้นที่ที่สนใจจำนวน 6 พื้นที่ซึ่งอยู่ในพื้นที่นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ได้แก่
1.ม.6 บ้านบางขวน, ม.8 บ้านแหลมไก่ผู้ ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 2.ม. 9 บ้านปากพล ,ม. 11 บ้านหัวปอ, ม. 14 บ้านคลองกะอาน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
3. ม. 1 บ้านแหลมจองถนน ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง บ้านบางขวน และบ้านแหลมไก่ผู้ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบตอนกลางของทะเลสาบสงขลา ถึงแม้ว่าอาชีพประมงจะไม่ใช่อาชีพหลักของคนทั้งสองชุมชนนี้แต่วิถีชีวิตก็ผูกพันกับประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยบ้านบางขวน และบ้านแหลมไก่ผู้นั่น เคยทำเขตอนุรักษ์ร่วมกันในบริเวณอ่าวบางขวน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีพื้นที่เขตอนุรักษ์ความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปจากฝั่ง 800 เมตร มีกฎกติกาเขตอนุรักษ์ คือ ห้ามทำการประมงทุกชนิด และมีทีมอาสาดูแลเขตอนุรักษ์ 20 คน มีการตรวจตราเขตเป็นประจำทุกสัปดาห์ และได้ล้มเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากตัวแกนนำเป็นคนละเมิดกฎกติกาเขตอนุรักษ์เสียเอง หลังจากการเขตอนุรักษ์ได้ล้มเลิกไป ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำที่เคยมีนั้นเริ่มน้อยลง ชาวประมงต้องเริ่มออกไปทำประมงไกลบ้านขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็เลิกทำประมงเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุนซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้มีการทดลองดำเนินการมาแล้วแต่ไม่เกิดความต่อเนื่องจนต้องหยุดไปในบางช่วง แต่ยังมีแกนนำและชาวประมงบางส่วนมีความสนใจและพยายามที่จะดำเนินการโดยต้องการนำรูปแบบการทำงานของชุมชนช่องฟืนไปขยายผลดำเนินการในพื้นที่ของตนเองเพื่อให้ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องออกไปหากินไกลๆ และต้องการให้เกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งในชุมชนของตัวเองที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมฟื้นฟูเพื่อให้ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์และมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยเพียงพอต่อการบริโภคสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งสามารถจัดการตัวเองได้ในอนาคต
บทเรียนจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำด้วยเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เนื่องจากการได้มาของกติกาข้อตกลงของชุมชนไม่ได้ผ่านการพูดคุยจากกลุ่มที่ไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง และการรับรู้ในชุมชนไม่แพร่หลายในขณะเดียวกันการทำงานของประมงอาสาภายใต้บทบาทหน้าที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้ไม่เกิดการยอมรับในชุมชนวงกว้างในขณะเดียวกันไม่มีองค์กรที่เป็นกลไกหลักมาเชื่อมร้อยให้มีเวทีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบชมรมฯหรือสมาคมฯ ที่มีหลายภาคียอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำงาน ในขณะเดียวกันกติกาข้อตกลงชุมชนยังไม่มีการเผยแพร่หรือติดประการให้คนในชุมชนได้เห็นอย่างทั่วถึง ตลอดถึงกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูยังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนส่งผลให้กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดังกล่าวไม่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในชุมชน ส่งผลให้กิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.3 แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ในปลายปี พ.ศ. 2560แกนนำและชาวประมงมีความคิดเห็นที่จะฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และใช้กระบวนการทำงาน การดูแลเขตอนุรักษ์ของบ้านช่องฟืนเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ในครั้งนี้โดยได้มีตัวแทนแกนนำชาวประมงและผู้ใหญ่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมชนช่องฟืนพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรูปแบบการทำงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยรูปแบบเขตอนุรักษ์ พร้อมทั้งกลไกการขับเคลื่อนขององค์กรชาวประมงในพื้นที่ชุมชนช่องฟืนนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง โดยเข้าร่วมประชุม 3-4 ครั้ง และแกนนำชุมชนบ้านช่องฟืนมองว่าการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากเกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายชาวประมงด้วยกันแล้วยังเป็นการขยายพื้นที่เขตทะเลหน้าบ้านที่ส่งผลในการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบ ให้มีอาหารทะเลที่พอเพียง พร้อมทั้งสร้างอาชีพ เสริมรายได้ หลักประกันของชาวประมงที่มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารที่ปลอดภัย และมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการดูแลทะเลสาบซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายชาวประมงทะเลสาบสงขลาที่ต้องการให้ทะเลสาบมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัย และเกิดพื้นที่เขตอนุรักษ์ในทุกตำบลที่ติดริมทะเลสาบของพื้นที่ในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่อำเภอควนขนุน – อำเภอปากพะยูน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2561 – 2564 ซึ่งมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน” ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสสร้างกลไกการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันกับจังหวัดพัทลุงในรูปแบบของ “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Phatthalung Green City)” การดำเนินโครงการ “การขยายพื้นที่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน” โดยใช้กระบวนการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในแผนกิจกรรม) จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนที่อยากเห็นทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอ อันจะนำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงดังกล่าวข้างต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ในปลายปี พ.ศ. 2560แกนนำและชาวประมงมีความคิดเห็นที่จะฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และใช้กระบวนการทำงาน การดูแลเขตอนุรักษ์ของบ้านช่องฟืนเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ในครั้งนี้โดยได้มีตัวแทนแกนนำชาวประมงและผู้ใหญ่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมชนช่องฟืนพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรูปแบบการทำงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยรูปแบบเขตอนุรักษ์ พร้อมทั้งกลไกการขับเคลื่อนขององค์กรชาวประมงในพื้นที่ชุมชนช่องฟืนนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง โดยเข้าร่วมประชุม 3-4 ครั้ง และแกนนำชุมชนบ้านช่องฟืนมองว่าการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากเกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายชาวประมงด้วยกันแล้วยังเป็นการขยายพื้นที่เขตทะเลหน้าบ้านที่ส่งผลในการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบ ให้มีอาหารทะเลที่พอเพียง พร้อมทั้งสร้างอาชีพ เสริมรายได้ หลักประกันของชาวประมงที่มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารที่ปลอดภัย และมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการดูแลทะเลสาบซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายชาวประมงทะเลสาบสงขลาที่ต้องการให้ทะเลสาบมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัย และเกิดพื้นที่เขตอนุรักษ์ในทุกตำบลที่ติดริมทะเลสาบของพื้นที่ในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่อำเภอควนขนุน – อำเภอปากพะยูน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2561 – 2564 ซึ่งมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน” ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสสร้างกลไกการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันกับจังหวัดพัทลุงในรูปแบบของ “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Phatthalung Green City)” การดำเนินโครงการ “การขยายพื้นที่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน” โดยใช้กระบวนการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในแผนกิจกรรม) จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนที่อยากเห็นทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอ อันจะนำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงดังกล่าวข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบ

1.คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถาการณ์ทะเลสาบ 2. ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวปากพะยูน 3. ได้ร่างแผนการดำเนินงานของชุมชน

0.00
2 2.เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล

1.เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 15 คน 2. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 11 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงในการดูแลเขตฯ 4.ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่

0.00
3 3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน

1.มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 3. มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่

0.00
4 4. นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์

1.พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปลาแป้น(ปลาลาปัง) ปลากระบอก กุ้งก้ามกราม
2.ขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์จากแนวเดิมออกไปไม่ต่ำกว่า 100 เมตร

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 290
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ม. 1 บ้านแหลมจองถนน 70 -
ม. 11 บ้านหัวปอ 40 -
ม. 8 บ้านแหลมไก่ผู้ 70 -
ม. 9 บ้านปากพล 30 -
ม.14 บ้านคลองกะอาน 30 -
ม.6 บ้านบางขวน 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 778 297,040.00 33 291,630.00
10 ธ.ค. 61 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,812.00
10 ม.ค. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,638.00
15 ม.ค. 62 จัดทำขอมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง 20 8,000.00 8,000.00
30 ม.ค. 62 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของทะเลสาบสงขลาตอนกลาง (เวทีเปิดโครงการ) 80 17,100.00 17,097.00
31 ม.ค. 62 กิจกรรมสมัครประมงอาสาเพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของประมงอาสา 70 13,800.00 13,798.00
3 ก.พ. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 5,000.00
10 ก.พ. 62 เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,880.00
13 ก.พ. 62 เวทีค้นหาจิตอาสาเพื่อเข้ามาเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมบริหารจัดการโครงการ 70 13,800.00 13,373.00
26 ก.พ. 62 เก็บข้อมูลรายได้จากการทำประมงย้อนหลัง10ปี 20 18,600.00 18,600.00
7 มี.ค. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ 20 2,818.00 2,818.00
11 มี.ค. 62 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตอนุรักษ์ 20 7,800.00 7,264.00
20 มี.ค. 62 ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่ 5 11,550.00 9,625.00
28 มี.ค. 62 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE) 15 3,100.00 3,000.00
10 เม.ย. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,818.00
24 เม.ย. 62 เวทีแลกเปลียนเรียนรู้บทบาทการทำงานของประมงอาสาในนอกพื้นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้นที่บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 24 43,140.00 43,140.00
14 พ.ค. 62 เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,815.00
4 มิ.ย. 62 เก็บขัอมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธ์สัตว์น้ำหลังการมีเขตอนุรัก 15 24,300.00 24,258.00
12 มิ.ย. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 4,870.00
14 มิ.ย. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,815.00
5 ก.ค. 62 ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้ง6ชุมชน 15 36,200.00 36,200.00
8 ก.ค. 62 ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ2ครั้ง 20 8,400.00 6,900.00
14 ก.ค. 62 ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,815.00
16 ก.ค. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 4,870.00
28 ก.ค. 62 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE) 15 3,100.00 3,020.00
14 ส.ค. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,815.00
20 ส.ค. 62 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 15 1,950.00 1,942.00
25 ส.ค. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 4,993.00
2 ก.ย. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 4,860.00
3 ก.ย. 62 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE) 15 3,100.00 2,869.00
14 ก.ย. 62 เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ 15 2,818.00 2,815.00
19 ก.ย. 62 เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้่นที่ บ้านช่องฟืนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง 24 6,420.00 6,420.00
26 ก.ย. 62 เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง 15 5,000.00 4,990.00
29 ก.ย. 62 เวทีปิดโครงการ 90 18,500.00 18,500.00

เป็นกิจกรรมเปิดโครงการ ฟื้นเล ให้สมบรูณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อบอกเล่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ ในระยะเวลา1ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม จำนวน 78 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครง แกนนำชาวประมงในชุมชน บ้านบางขวน ม.6 บ้านแหลมไก่ผู้ ม.8 บ้านปากพล ม.9 บ้านหัวปอ ม.11 บ้านคลองกระอาน ม14 บ้านจองถนน ม.1 ผู้ใหญ่บ้าน ม1 ม.6 ม.8 ม.11 ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน บางขวน หาดไข่เต่า ปลัดอำเภอปากพะยูน​ พี่เลี้ยงโครงการแกนนำประมงอาสาบ้านช่องฟืน​ นายกสมาคมร้กษ์ทะเลสาบ​อำเภอปากพะยูน และภาคีความรวมถึงภาคีความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมงอำเภอเขาชัยสน ปลัดอำเภอปากพะยูน ผู้อำนวยการหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด จังหวัดพัทลุง เจ้าหน้าสำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง และ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจังหวัดพัทลุง

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะทำงาน ละผู้เข้าร่วมตลอดถึงชาวประมงและสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้ที่มีความรู้ความเช้าใจ​ถึง ๆเป้าหมาย วัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินงานโครงการที่เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของชนิดแลพันธ์ุสัตว์น้ำในทะเลสาบและได้ทราบ ถึงปัญหาสถานการณ์​ทะเลสาบและสามารถบอกต่อกันได้

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:41 น.