directions_run

ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

การที่ชุมชนใช้กิจกรรมการทำเขตอนุรักษ์เป็นช่องทางในการ ผ่อนปรนข้อกฏหมาย ของกรมเจ้าท่า ที่ออกประกาศห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างลงในทะเลสาบ

ชุมชนใช้พื้นที่การ ทำเขตอนุรักษ์ เพื่อทดลองทำกระชังเลี้ยงปลา กระบอก ปลาขี้ตัง ซึ่งเป็นปลาเศรฐกิจสร้างรายได้เสริมให้กับประมงอาสา จำนวน 2 กระชัง ในพื้นที่ เขตอนุรักษ์ ม 6 บ้านบางขวน และ ม 8 บ้านแหลมไก่ผู้

จัดทำข้อมูล นำเสนอเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาเศรฐกิจในเขตอนุรักษ์ชุมชน โดยมีการดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการทำเขตอนุรักษ์ชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะให้ทะเลมีสัตว์น้ำจับตลอดปี มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการบริโภคในชุมชน

เอกสารการเก็บข้อมูลการเพิ่มขึ้นชนิด และันธุ์สัตว์น้ำ ก่อน- หลังมีเขตอนุรักษ์ ตลอดถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจับสัตว์น้ำของชาวประมงในชุมชน และคนในชุมนมีการบริโภคปลาเพิ่มข้น 5 มื้อต่อสัปดาห์

ขยายผลใไยังชุมชนใกล้เคียงและยกระดัยพื้นที่เดิมให้เเป็ยแหล่งเรียนรู้ พื้นที่ต้นแบบการทำกิจกรรมฟื้นฟูบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

เกิดกลุ่ม ที่มีโครงสร้างการทำงานที่หลากหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งมีความต่างจากรูปแบบเดิมที่มีฝ่ายปกครองเป็นกลไกหลักในการทำงาน

เอกสารบันทึกการประชุม และแผนผังกลไกโครงสร้างการขับเคลื่อนการทำงานของโครงการ

มีการออกแบแผนพัฒนา/รูปแบบการทำงานที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างหลากหลาย หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนการทำงานแทนกันได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

เป็นแหล่งเรียนรู้การบรการจัดการทรัพยากรในระดับภูมินเวศน์ ในรูปแบการทำเขตอนุรักษษืที่สอดคล้องตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และสามารถออกแบบกิจกรรมต่อยอดที่ผ่อนปรนกฏหมายให้เอื้อต่อการทำมาหากิน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

จัดทำเป็นกระชังเลี้ยงปลาเศรฐกิจกิจในแหล่งน้ำ ที่เป็นเขตอนุรักษ์ชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างในทะเลของกรมเจ้าท่า ในรูปแบบการเลี้ยงปลาเศษฐกิจในกระชังเพื่อการเรียนรู้

ยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปลาเศรฐกิจ ที่สามรถสร้างรายได้ให้กับชาวประมง ที่รว่มกันดูแลรักษาทะเล และมีกติกาข้อตกลงปฏิบัติร่วมกัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

-

-

-

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

มีการบริโภคปลาที่จับได้ในชุมชนเพิ่มขึ้น 5 มื้อ ต่อ 1 สัปดาห์ จากเดิม บริโภคปลาแช่น้ำแข็ง

การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้บริโคบปลาที่จับได้ในชุมชน และการบอกเล่าของสมาชิกในชุมชนในขณะการประชุมเพื่อจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดโครงการ ของการเพิ่มขึ้นในการบริโภคปลาของคนในชุมชน

วางแผนกับทางโรงเรียนในชุมชนเพื่อให้เด็กในโรงเรีบนบริโภคอาหารทะเลที่จับได้ในชุมชน โดยเพิ่มเป็นมื้ออาหารกลางวัน เพื่อให้เด็กเข้าถึงอาหารโปรตีนที่จับได้จากชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

คนในชุมชน มีการบริโภคปลา เพิ่มขึ้น จากเดิม กินหมู ไก่ ปลาแช่แข็ง แต่ปัจุบันหลังจากการทำกิจกรรมฟื้นฟูทะเล คนในชุมชนกินปลาเพิ่มขึ้น 5 มื้อ ต่อ สัปดาห์

การเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโครงการตามบันไดผลลัพธ์ และการพูดคุยของสมาชิกในชุมชน

ผลักดันให้มีเนูอาหารกลางวันที่เป็นโปรตีนจากปลา/สัตว์น้ำที่จับได้ในชุมชนเป็นอาหารมื้อเที่ยงสำหรับเด็กในโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

มีการลดารสูบบุหรี่ ในสถานที่ประชุม หรือขณะทำกิจกรรม

เป็นกติกาข้อตกลง พร้อมทั้งป้ายสัญลักษณ์ ว่าในขณะทำกิจกรรมห้ามสูบบุหรี่และกินเหล้า

ยกระดับเป็นกติกาชุมชน หรือ งานบุญในชุมชน ที่จะเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และเหล้า

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

มีการใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาบูรณาการใช้ในการดำรงชีวิต เช่น ชาวประมงมีวิถีการประกอบอาชีพ ที่สัมพันธ์กับ ดินฟ้า อากาศ และทิศทางลม ดังนั้น การออกทะเลไปวางอวน หรือการทำกิจกรรมในทะเลแต่ละครั้งต้องดู สภาพดินฟ้า อากาศ และทิศทางลม ซึ่งส่งผลต่อปริมาณ และฝูงปลา ในการดักจับสตว์น้ำแต่ละครั้ง

บันทึกการพูดคุย และเอกสารจากงานข้อมูล งานวิจัยชุมชน ของชุมชนประมง บ้านช่องฟืนซึ่งอยู่ในนิเวศน์ทะเลสาบตอนกลางเดียวกันกับพื้นที่บ้าน บางขวน ที่อยู่ในชุดการงานวิจัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ หาดใหญ่ ปี 2559

  • ควรจะมีการถอดบทเรียน ในรูปแบบองค์ความรู้ของชุมชนประมงชายฝั้งที่มีวิถีเชื่อม เชื่อมโยงกับการใช้ทรัพยากรที่มีภูมิปัญาท้องถิ่นสัมพันธุ์กับการกำหนดเคื่องมือและช่วงฤดูกาล เวลาที่เหมาะสมในการทำมาหากินโดยใช้นิเวศน์เป็นฐาน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแกนนำชาวประมงที่เห็นได้ชัดคือ ชาวประมงที่อาสาสมัคร มาเป็นประมงอาสา ในแต่ละหมู่บ้าน มีการจัดการตัวเอง การทำงานอาสาสมัคร ให้มีความสัมพันธุ์ที่ลงตัวระหว่าง ครอบครัวและชุม โดยไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ในครอบครัว มีการบริหารการวางแผนการทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างลงตัว เพราะมีการวางแผนการทำงานร่วมในเวที และสมาชิกในครอบครัว/คนในชุมชน เห็นรูปธรรมความสำเร็จที่เกิดขึ้น สมาชิก คนในชุมชนได้ประโยนช์ร่วมกัน จากการร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ที่มาจากการจัดการเวลาที่ลงตัวในการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

-การบันทึกการประชุมในการ แบ่งการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งการประเมินความพึงพอใจ จากการเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนกิจกรรมของ สมาชิกและแกนนำแต่ละคน และการประเมินตามตัวชี้วัดบันไดผลลัพธ์ ของโครงการ และการพูดคุยในวงน้ำชาของคนในชุมชน

  • ควรจะมีการจัดทำเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่ ขยายผลจากการทำงานที่ส่งผลต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในชุมชนหลังจากที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

-

-

-

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

-การขับเคลื่อนโครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ มีความเชื่อมยงสัมพันธุ์กับการจัดการน้ำ และป่าริมเล ที่เป็นนวศน์ชายฝั่ง การขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดความสำเร็จที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำในทะเลสาบที่สมารถทำประมงได้ตลอดปี ต้องมีระบบนเวศน์ที่สมบูรณ์ทั้งป่าชายเล ที่เป็นแหล่งฟักไข่ของปลาและสัตว์น้ำวัยออ่น และสภาพน้ำที่ไม่เป็นมลพิษมีสภาพความเค็มเหมาะสมในแต่ละฤดูกาล

-มีการปลูกป่าริมโดยหาต้นไม้ที่มีความเหมาะสมกับสภาพความเค็มของน้ำ และเป็นไม้ประจำถิ่น เพื่อรักษาระบบนเวศนืริมเล ที่จะเป็นแหล่งอาศรัยและเพาะฟักของสัวืน้ำวัยออ่น โดยมีหลักฐานดูจากการทำกิจกรรมป,ูกป่าริมทะเลสาบของชุมชนประมงที่ทำเขตอนุรักษ์และการจัดทำข้อมูลวิจัยชุมชน ของแผนพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

  • ควรจะมีการขยายผลและวางแผนรูปแบบการจัดการ ที่ชุมชนสามรถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้กับการต่อสุขภาพและเชื่อมโยงส่งผลต่อมิติ เศรฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะ ของคนในชุมชน ที่เขาเข้าใจและมีส่วนร่วมในกสนวางแผนออกแบบการทำกิจกรรมดังกล่าว
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

หลังจากการขับเคลื่อนโครงการ ส่งผลให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ ชาวประมงสมารถทำการประมงได้ตอลอดปี ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น จาก วเดิม วันละ 300 บาท ปัจจุบัน 1500 บาท ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น พ่อ แม่ ลูก อยุ้พร้อมหน้าพร้อมตา ไม่ต้องไปรับจา้งหารายได้เสริมนอกพื้นที่ ทำให้ครอครัวอบอ่น ลดปัญหาการแตกแยกและยาเสพติด การลักขโมย คนในชุมชนมีพื้ที่"ด้พบปะพูดคุยกันมากขึ้นโดยนำเรื่องการทำกิจกรรม และความภูมิใจในรูปธรรมความสมบูรณ์จากการฟื้นเล ทำให้เกิดพื้นที่ทางสังคมที่เอื้อต่อความสุขของคนในชุมชน

การบอกเล่าจากการพูดคุย ตามร้านน้ำชาในหมู่บ้าน และนำมาบอกเล่าในเวทีประชุมประจำเดือนของหม฿่บ้าน และการประชุมคณะทำงาน โดยมีการบันทึกเป็นลายลักอักษรที่ชัดเจน ในวาระการพุดคุย

ควรจะมีการยกระดับเชื่อมโยงที่ทำงานกับภาคี ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พม เพื่อร่วมออกแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับงานเดิมที่ดำเนินการอยู่แล้ว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

รูปธรรมความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการ ที่ทำให้ชาวประมงในพื้นที่ แกนนำ คระทำงาน ตลอดถึงภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้องท้องถิ่น /ท้องที่ เกิดการยอมรับ คือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวประมงในและพื้นที่ใกล้เคียง จากเดิม ได้วันละ 300 [บาท ปัจจุบัน ได้วันละ1500 บาท ซึ่งเกิดเศษฐกิจที่ดี สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง จนทำให้ชาวประมง และคนกินปลาเหนคุณค่าของการมีส่วนร่วมในการฟื้นทะ้เลหน้าบ้านที่ทุกคนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการดุแลรักษา และใช้ประโยชน์ร่วมกันภายใต้กติกาข้อตกลงของชุมชน

การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การเปลี่ยนแปลงรายได่้ของการทำประมง ก่อน/หลังการทำกิจกรรม และภาพสัตว์น้ำที่สมาชิกในชุมชนจับได้บริเวณใกล้เขตอนุรักษ์ตลิดถึงการเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตวืน้ำ ก่อน/หลังการทำกิจกรรมเขตอนุรักษ์

จัดทำแผนการขยายผลการทำกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั่งยกระดังต่อยอดการทำงาน ในลักษณะการทำธุรกิจ แพชุมชน ที่สมาชิกลงหุ้นการรับซื้อผลผลิตสัตว์น้ำจากชุมชน ปลอดสารเคมี ส่งขายต่อผู้บริโภคโดยไมาผ่านพ่อค้าคนกลาง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

การฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ กระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม คือ การที่ชุมชนร่วมออกแบบ กำหนดกติกา ข้อตกลงและยอมรับที่จะปฎิบัติร่วมกัน เพื่อให้เขตอนุรักษ์มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งธาคารสัตว์น้ำ โดยร่วมออกกติกา ห้าม หรือ ยกเว้นการใช้เครื่องมือ บางประเภท ในการจับสัตว์น้ำ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุชน เช่น การประกาศ เขต2 ชั้น ชั้น แรก ห้ามทำการประมงทุกชนิด ในพื้นที่ จาก ตลิ่ง อกกไป ในทะเล 500 เมตร คาวมยาว ตลอดแแนวชสยฝั่ง 1.5 เตมร หากใครฝ่าฝีน ทำประมงในเขตดังกล่าว ครั้งแรก กล่าวตักเตือน ครั้งที่ 2 ริบเครื่องมือ ครั้งที่ 3 จับ ปรับ ส่งตำรวจ ดำเนินคดีตามกฎหมาย

มีการติดป้ายประกาศกติกาข้อตกลงการห้ามทำประมงในเขตอนุรักษ์ อย่างชัดเจนในชุมชน พร้อมทั้งการประชาสัมพันธ์ประกาศหอกระจายข่าว แจ้งในเวที่การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน และเวทีประชุมชประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในแต่ละอำเภอ ตลแดถึงการติประกาศเป็นใบปิงตามร้านน้ำชา และศาลาหมู่บ้าน

ควรจะมีการพัฒนารูปแบบกิติการข้อตกลง ว่าด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน โดยบูรณการทำงานกับท้องถิ่น ในลักษณะการออกเป็นประกาศเป็น เทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ ประกาศจังหวัด เพื่อนำไปสู่การเพิ่มพื้นที่ ธนาคารพันธ์ุสัตว์น้ำชุมชนที่บูรณาการความร่วมมือการทำงานร่วมกับท้อง ถิ่น ท้องที่ ราชการ และภาคีที่เกี่ยวข้อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

กติกาข้อตกลงของชุมชน ว่าด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน ห้าม และยกเว้น เครื่่องมือทำประมง และช่วงเวลา ในการทำประมง ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยคนในชุมชนร่วมออกแบบในการกำหนดและตกลงปฏิบัติร่วมกัน ถือว่าเป็นธรรมนูญชุมชน ( Community Law) ซึ่งเป็นมาตรการทางสังคมที่บังคับใช้ปฎิบัติร่วมกัน เพือที่จะนำไปสู่ความสุขของคนในชุมชน ที่มือาชีพประมงที่ยั่งยืน รายได้ที่มั่นคง

ประกาศ กติกา ข้อตกลงต่างไ ที่มีการติดป้ายประกาศให้เห็นตามที่ สาธารณะของหมู่บ้าน อย่างชัดเจน พร้อมกับการพูดคุยบอกเล่าได้ของสมาชิกในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

ยกระดับขยายผลทำงานในพื้นที่ใกล้เคียง และผลักดันให้มีแผนในการฟื้นฟูในรูปแบบดังกล่าวในพื้นที่ชุมชน ทะเลสาบ จังหวัดพัทลุง ตำบล ละชุมชน ที่มีพื้นที่ติดทะเลสาบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

การที่คนในชุมชน มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น แะเห็นพ้องต้องกัน ในการกำหนดกติกา ข้อตกลงและถือปฏิบัติร่วมกัน โดยมีเป้าหมาเดียวกัน คือ ต้องการฟื้นทะเลให้อุดมสมบูรณ์ มีอาชีพ รายได้การทำประมงที่มันคง และมีการกำหนดบทลงโทษ ถ้าหากมีการฝ่าฝืนทำผิด ระเบียบ จนได้รับการยอมรับและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถือว่า เป็นมาตรการทางสังคม หรือ ธรรมนูญชุมชน ที่พร้อมปฏิบัติร่วมกัน ส่งผลให้ชุมชนมีความสุข สส้างสุขภาวที่ดีให้กับคนในชุมชน และเกิดประชาธิปไตยที่ตอบโจทย์ปากท้องของคนในชุมชน

ป้ายประกาศ กติกา ข้อตกลงต่างๆ ที่คนในชุมชนถ่ายทอด บอกเล่าได้ พร้อมทั้งประกาศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีให้เห็นชัดเจนในชุมชน

ผลักดัน ยกระดับการทำงานเป็นข้อบัญัิติท้องถิ่น หรือ เทศบัญญัติ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

เป็นแนวทาง ในการยกระดับต่อยอดการทำงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับ ท้องถิ่น /ท้องท่ /สถาบันการศึกษา ตราชการ และภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปรึกษา สมาชิก อบต นายก อบต. เพื่อปรึกษาในการนำเสนอเข้าวาระการประชุมสภาต่อไป

บันทึกการประชุม แผนการยกระดับขยายผลการทำงานของพื้นที่ ในการขับเคลื่อน การทำงานในปีต่อไป

ควรจะมีการผลักดันแผนการทำงานในหลายช่องทาง โดยผ่านกลไก กรรมการประมงระดับจังหวัด และเวทีสมัชชาประชาชน จังหวัดพัทลุง เพื่อนำไปศุ่การเชื่อมร้อยการผลักดันยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง เมืองสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสร้างพลังความร่วมมือขิงชาวประมงในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อต้องการขยายผลในชุมชนต่างๆในการเพื่มพื้นที่ เขตอนุรักษ์ชุมชน สร้างบ้านปลา ให้ทะเสาบเป็นแหล่งโปรตีนอาหารทะเล นในพื้นที่สามารถเข้าถีงอาหารทะเลที่ปลอดภัย มีสัตว์น้ำเพียงพอตอ่คนในชุใชน จึงมีการเชื่อมโยงขยายเครือข่ายการทำงาน กับชาวประมงทะเลสาบ ทั้ง 3 ตอน คือ ทะเลน้อย ทะเลหลวง และทะเลสาบตอนกลาง ครอบคลุม 13 ท้องถิ่น 5 อำเภอ ที่มีพื้นที่ติดทะเสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง ในนามของเครืข่ายชาวประมงพื้นบ้านทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง

มีการประชุม เครือข่ายชาวประมงทะเลสาบจังหวัดพัทลุง และเครือข่ายสมาพันธุ์ชาวประมงรอบทะเลสาบส่งขลา เพื่อทำแผนฟื้นฟูทะเลสาบรjวมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม 2562

นำแผน ที่ได้จากการประชุม เสนอกรรมการประมงระดับจังหวัด หรือกรรมยุทธศาตร์จังหวัดเพื่อผลักดันให้เป็นแผนปฎิบัติการอย่างจริงจัง นำไปสู่การทำงานต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

จากการขับเคลื่อนกิจกรรมในรูแแบบต่าง เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ความสำเร็จโครงการและความต้องการของชุมชน ในกิจกรรมต่างๆ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้การ การออกแบบวางแผนที่จทำให้กิจกรรมดำเนินการไปได้ มีความสำเร็จ มีการปรับโครงการในรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และทีมงานขัเคลื่อนได้ เป็นวางแผนเรียนรู้การแก้ปัญหา ด้วการประเมินความเป็นไปได้เพื่อให้โครงการเกิดความสำเร็จ และทีมงานมีความสุขในการร่วมขับเคลื่อนการทำงาน

การพูดคุย ออกแบบกระบวนการของคณะทำงานที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรม ทั้งการคุยในวงประชุม และการคุยวงธรรมชาติ

ควรจะมีการจัดทำคู่มือ การทำงานชุมชน การประเมิน วางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

การขับเคลื่อจกิจกรรมดังกล่าว มีการใช้ทระพยากรบุคลที่เป็นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จและตอบตัวชี้วัดโครงการและความต้องการของชุมน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำชุมชน ที่เป็นผู้นำทางการ และผู้นำธรรมชาติ ปราชญ์ชุมชน ทั้งหญิง และชาย ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ

รายชื่อ คณะทำงาน และคณะทำงานชุดต่างๆ ตลอดถึงบันทึกการประชุมและใบลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้งมั้งในชุมชน และเวที่แลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างเครือข่าย หรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ควรจะมีการพัฒนาศักยภาพ ของผู้นำที่หลากหลายเพื่อมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานใรระยะต่อไป และเฟ้นหาทีมงานเพิ่มเติมเพื่อมาเป็นทีมเสริมการทำงานให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานโครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์พื้นที่ทะเสาบตอนกลาง มีรูปธรรมที่ชัดเจนได้รับกายอมรับทั้งคนในและนอกชุมชน โดยมีกลไกการทำงานขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องชัดเจนภายใต้แผนการทำงานตามตัวชี้วัดของโครงการที่เชื่อมโยงกับแผนความต้องการของชุมชน ซึ่งมีการประชุมคระทำงานทุกเดือน และขณะมีการรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถุกต้องตามกฎหมาย ในนาม สมคมชาวประมงทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง มีคระกรรมการชุดก่องตั้ง จำนวน 9 คน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นเอกสารไปยังจังหวัดตรวจสอบความถุกต้อง และเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

บันทึกการประชุมประจำเดือนของคณะทำงานและใบลงทะเบียนผ้เข้าร่วมการประชุมในแต่ละครั้ง ตลอดถึงเกสารการยื่นจดทะเบียนนิติบุคคล ใน นามสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง

เร่งติดตามความคืบหน้า ในการจเแจ้ง การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้แล้วเสร็จ เพื่อนำไปสู่การประชุมจัดทำแผนการทำงาน ของสมาคมอย่างชัดเจน พร้อมทั้งการขยายพิ้นที่เครือข่ายสมาชิกในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

จากการขับเคลื่อนโครงการจนสิ้นสุดการทำงาน ที่ต้องมีการปรับแผนการทำงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้คณะทำงาน เกิดกระบานการจัดการความรู้นำมาปรับใช้ในการทำงาน ที่ลงตัว และสามารถนำมาเป็นต้นทุนวางแผนใช้ในการทำงานอนาคต

ข้อมูลการถอดบทเรียนประสบการณ์การทำงานของคณะทำงาน และบันทึกผลสรุปจากการดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนา ในแต่ละครั้ง

นำข้อมูบทเรียนที่ได้จากการทำงาน ไจัดระบบสังเคราห์ให้เป็นประเด็นที่คม และนำไปวางแผนการทำงานในอนาคต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

จากการขับเคลื่อนการทำงานที่ผา่นมา มีการปรับรูปแบบ และช่วงเวลา ในการทำกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาล และสถานการ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน ที่มีการใช้ข้อมูลมาวิเคระห์วางแผนในการตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่การเกิดทักษะในการบริหารจัดการโครงการที่ลงตัวโดยใ้ช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการโครงการและการวางแผนปฏิบัติการ

บันทึการประชุมคณะทำงาน และการวางแผนการทำกิจกรรมในแต่ละเดือน

ควรจะมีการถอดบทเรียน หรืการอบรม แกนนำ เนื้อหา ทักษะการจัดการโครงการที่นำข้อมูลมาใช้ตัดสินใจในการวางแผนและบริหารจัดการโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

การขับเคลื่อนโครงการ จนเกิดรูปธรรมความสำเร็จ นำไปสู่การยอมรับของสมาชิกในและนอกชุมชน ตลอดถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ส่งผลให้คนในชุมชน คณะทำงานมีความภูมิใจ อยากที่จะชวนเพื่อนชุมชนใกล้เคียงได้ทำกิจกรรมในรูปแบบเดียวกัน และยิยดีที่จะไปช่วยในการพูดคุย ถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงาน

มีการชวนชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจในการทำกิจกรรมมาร่วมวางแผนในการขยาพื้นที่อีก 4 ชุมชน ตลอดถึงการชวนท้องถิ่นมาเป็นเจ้าภาพร่วมในการขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไป

ชวนพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจ มายกร่างแนวในการดำเนินโครงการ พร้อมเฟ้นหาคระทำงานที่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

จากการทำงานจะห็นว่า คณะทำงานทุกคน ้มีภาระกิจสำคัญคือทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว แต่มีเป้าหมายความต้องการตรงกันคือ การร่วมหาทางออกในการฟื้นเลให้เกิดความสมบูรณ์ จึงมีความจำเป็นที่ต้องวางแผนในการบริหารจัการเวลาให้ลงตัว ระหว่าง งานส่่วนตัว และงานสังคม ที่ต้องมีความสมดุลย์ทั้ง 2 ส่วนที่สมารถทำไปด้วยกันได้อย่างลงตัว

การพูดคุย ในวงประชุม ที่มีการวางแผนให้ลง ตัว ไม่กระทบกับงานส้วนตัวของครอคัว

ควรถือเป็นแนวทางรูปแบบปฏิบัติ ที่ได้ประโยชนืทั้งสองฝ่ายอย่างลงตัวระหว่างงานส่วนรวม และงานในครอบครัว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

ในการขับเคลื่อนกิจกรรม สมาชิก คณะทำงานใช้ชิวิตตามปรกติ เพียงแต่มารว่มกันทำกิจกรรมในการฟื้นทะเล ซึงสอดคล้องกับปรัญาเศรฐกิจพอเพียง อยู่แบบเรียบง่าย ตามวิถีของชุมชน

บรรยากาศ การพุดคุย ความรู้สึกของสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง พร้อมภาพถ่ายการทำกิจกรรมที่สามารถสังเกตุได้

ให้ยึอถือแนวทาง ปฎิบัติ ดังกล่าวไว้ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนที่ชัเจนในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย และพอเพียง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

กิจกรรมจะประสบผลสำเร็จได้ คนสว่นใหญ่ในชุมชนต้องมีเป้าหมายเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เห็นแก่ตัว ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับชุมชนประมง คนในชุมชนเห็นความสำคัญเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการจนเกิดความสำเร็จมีรูปธรรมการทำงานที่ชัดเจน

บันทึกการประชุม และใบลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งที่มีความหลากหาย และมีส่วร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยึดถือปฏิบัติตามมติที่ประชุมส่วนใหย่อย่างคร่งครัด

ยกระดับการทำงานในการสร้างความรุ้สึกร่วม และช่วยเหลือกันให้เกิดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องและเหมาะสม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

เนื่องจากการทำงานดังกล่าว มีกลไกทำงานที่หลากหลาย จาก 5 ชุมชน และมีความคิดที่หลากหลาย ส่งผลให้บางครั้งต้องใช้เวลาพูดคุยทำความเข้าใจในทีมการทำงาน ที่ต้องใช้เหตุและผล ปํญญาในการตัดสินใจในการหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทีมงานมีความเข้มแข็งเกิดพลังในการร้วมขับเคลื่อนการทำงาน

บันทึกการประชุมในแต่ละครั้งที่ ใช้เวลา และคนเสนอในมุมงมองที่หลากหลาย นอกจากนั้นการพุดคุยในวงธรรมชาติที่มีการบอกเล่าถึงบรรยากาศพูดคุยในวงประชุมแต่ละครั้ง

เป็นรูปแบบการตัดสินใจที่มีเสน่ห์ บนพื้นฐานการใช้ปํญาที่ให้กลุ่มคนทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและมองเป้าหมายเดียวกัน ควรจะรักษารูปแบบไว้แล้วนำไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ