แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาย เจริญศักดิ์ ชูสง

ชื่อโครงการ การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน



บทคัดย่อ

โครงการ " การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะการตั้งถิ่นบ้านเรือนของครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ใกล้เคียงกันมีครัวเรือนตั้งอยู่ใกล้ๆกันตามข้างริมถนนตลอดทั้งหมู่บ้าน ซึ่งบ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรปานกลาง ในตำบลโคกม่วงอีกด้วยมีประชากร 302 ครัวเรือน สภาพภูมิอากาศลักษณะภูมิประเทศ เป็นเชิงควนและเป็นที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตรเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพเกษตร 275 ครัวเรือน มีการทำสวนยางพาราเป็นหลัก จำนวน 1,537ไร่ ปลูกผลไม้ ปลูกผัก ภูมิอากาศลักษณะเป็นร้อนชื้น ไม่ร้อนจัด ไม่หนาว ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนมกราคม ซึ่งถ้าฝนตกมากๆจะมีน้ำขังที่ราบลุ่มแต่จะขังไม่นาน น้ำก็ไหลลงลำคลองสาธารณะไหลลงทะเลต่อไป ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยาง ทำนา เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป

สภาพปัญหาโดยรวมของชุมชน ชุมชนมีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้คือ ปัญหาด้านสุขภาพ สุขภาพชาวบ้านเป็นโรคเรื้อรัง โรคความดันถึง 71 คน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะความเครียดตามมา ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวเองก็เพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการไปหาหมอ ต้องซื้อยามาพบว่าคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ชอบรับประทานอาหารรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ไม่ได้มีการออกกำลังกาย

ปัญหาไม่ปลูกผักกินเอง หรือปลูกน้อยไม่เพียงพอ ทำให้ในแต่ละครัวเรือนมีรายจ่ายซื้อผัก ไม่ทำอาหารกินเองซื้อแกงถุง กินผักปนเปื้อนสารเคมี นอกจากนี้เห็นได้ว่าจากการใช้สารพิษในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการฉีดหญ้าบริเวณข้างบ้าน บริเวณในสวนยาง ทำให้เกิดมลพิษ ดินเสื่อม แหล่งน้ำมีสารพิษเจือปน เมื่อปลูกพืช ผัก ก่อให้เกิดสารพิษสะสมต่อพืช ผัก ที่ปลูกไว้ จากนั้นส่งผลต่อผู้บริโภค กลายเป็นการสะสมสารพิษในร่างกายโดยอัตโนมัติ ทำให้โรคภัยไข้เจ็บตามมา จึงทำให้สถิติการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ทำให้มีต้นทุนในการทำการเกษตรมีรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีการใช้สารเคมีคิดเป็นร้อยละ 20% มีการใช้ปุ๋ยเคมีร้อยละ 60%

ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการของหมู่บ้านไม่มีประสิทธิภาค กลไกคณะทำงานทำเฉพาะแกนนำบางคน และดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ขาดมาตรการชุมชนและนโยบายหมู่บ้านที่แก้ปัญหา ทำตามนโยบายของอำเภอและจังหวัดที่ลุงมา

ปัญหาขยะในชุมชน ครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ผิดวิธีขยะในชุมชน อย่างน้อยร้อยละ70 ของครัวเรือนในชุมชน ระดับปัญหาค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง มีขยะครัวเรือนและขยะที่มีการทิ้งริมถนน ทำให้ชุมชนไม่สะอาดมีความตระหนักถึงปัญหา เพราะสังคมสมัยใหม่เข้ามาทำให้มีการใช้วัสดุที่เป็นขยะมากขึ้น และไม่มีกระบวรการจัดเก็บขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอย เกิดจากการไม่รู้จักการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ขาดวินัยของคนในหมู่บ้าน ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ขาดการบริหารจัดการที่ดี การแก้ปัญหาจะไม่ยาก หากคนในชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ถึงวิธีคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะอย่างถูกวิธี

จากการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนของการประชุมหมู่บ้าน ประชาชนให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาขยะและการจัดการขยะโดยชุมชน จึงได้เลือกปัญหาการจัดการขยะในครัวเรือนและในชุมชน สถานการณ์ขยะของชุมชนบ้านทางเกวียน จากข้อมูลขยะในครัวเรือน พบว่า ชุมชนมีปริมาณขยะปีละ 330,690 กิโลกรัม โดยในครัวเรือนสร้างขยะวันละ 3 กิโลกรัม ชุมชุนมีครัวเรือนอยู่ 306 ครัวเรือน ในแต่ละวันชุมชนสร้างขยะ 306 กิโลกรัม แยกตามประเภทของขยะ ขยะทั่วไปร้อยละ 16 ขยะอินทรีย์ร้อยละ 61 ขยะรีไซเคิลร้อยละ 20 ขยะอันตรายร้อยละ 3

สาเหตุของปัญหาขยะในชุมชนเกิดจาก 1.สาเหตุด้านพฤติกรรมของประชาชน คือประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ความเคยชินทิ้งขยะ กำจัดขยะไม่ถูกวิธีมีการเผาถุงพลาสติก ขาดความรู้การกำจัดและจัดการขยะที่ถูกวิธี มีการกำจัดและจัดการขยะผิดวิธีร้อยละ 70 ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น ใช้ซ้ำ 2. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ไม่มีกลไกการจัดการขยะของชุมชน ขาดกติกาข้อตกลงร่วมในการจัดการขยะ ไม่มีการรวมกลุ่มการแก้ปัญหาขยะ หมู่บ้านเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางคนที่ใช้เส้นทางจากภายนอกทิ้งขยะข้างทาง มีตลาดนัดหลายแห่งคนที่มาซื้อของในตลาดทิ้งขยะ 3.สาเหตุปัญหาขยะด้านระบบภายนอก คือ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบขยะอันตรายอย่างต่อเนื่อง การจัดการของเทศบาลยังไม่ครอบคลุม

ผลกระทบของปัญหาขยะ คือ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นมีขยะสองริมทาง มีจุดคนทิ้งขยะ ทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม เกิดกองขยะในชุมชน ซึ่งกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและเป็นที่อยู่อาศัยของพาหะนำโรคต่าง ส่งกลิ่นรมกวนให้กับประชาชนที่อยู่ใกล้ เมื่อมีฝนตกมีการชะล้างลงคลองน้ำเสียจากกองขยะไหลลงคลอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำในคลองทำให้บางจุดน้ำไม่สามารถใช้ในการบริโภค น้ำในคลองลงอาบแล้วทำให้เป็นผื่นคัน เผาขยะไม่ถูกหลักและการนำขยะเช่น ถุงพลาสติก โฟม ทำให้เกิดมีสารพิษปนเปื้อนในอากาศ จากผลกระทบเกิดขึ้นนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งในชุมชน มีข้อร้องเรียนเรื่องขยะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มขึ้น เทศบาลมีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น

สภาผู้นำชุมชนและชุมชนบ้านทางเกวียนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน จากระบวนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการขยะโดยชุมชนเอง เพราะถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนจากสถานการณ์ปัญหามีแนวโน้มมีขยะเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบกับชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สุขภาวะของชุมชน ชุมชุนได้มีแนวทางในการขับเคลื่อนของชุมชนมีกลไกขับเคลื่อนชุมชนจัดการขยะโดยชุมชน คนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและการจัดการขยะโดยชุมชน มีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครอบครัวแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อให้ขยะในชุมชนลดลงอย่างน้องร้อยละ 50

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถใช้ประโยชน์จากขยะได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 1
  2. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 2
  3. ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานเรียนรู้และออกแบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 1
  4. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั่งที่ 3
  5. ชื่อกิจกรรมที่ 1 คณะทำงานเปิดเวทีสร้างความเข้าใจปัญหาขยะในชุมชนและการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
  6. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 4
  7. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 1
  8. ชื่อกิจกรรมที่ 8 คณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานกาจัดการขยะ ชุมชนควนโดน จ สตูล
  9. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 5
  10. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1
  11. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 6
  12. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 2
  13. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 7
  14. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2
  15. ชื่อกิจกรรมที่ 5 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
  16. ชื่อกิจกรรมที่ 9 จัดตั้งกลุ่มจัดการขยะอินทรีย์เพื่อการผลิตปุ๋ยทดแทนเคมี
  17. ชื่อกิจกรรมที่ 10 คณะทำงานสร้างกฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันทั้งชุมชน
  18. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 8
  19. ชื่อกิจกรรมที่ 11 คณะทำงานรวมกลุ่มรับซื้อขายขยะในชุมชนจัดตั้งธนาคารขยะ
  20. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 9
  21. ชื่อกิจกรรมที่ 4 คณะทำงานจัดสร้างแผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะ
  22. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ื 3
  23. ชื่อกิจกรรมมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 10
  24. ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานสรุปข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 2
  25. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 3
  26. ชื่อกิจกรรมที่ 12 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนนำเสนอข้อมูลผลการจัดการขยะต่อท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ตัวแทนครัวเรือน 150

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 1

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร โดยมีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความเข้าใจร่วมกันในที่ประชุมว่าเป้าหมายของโครงการ และได้ข้อสรุปเบื้องต้นในการหาสมาชิกเพื่อมาเข้าร่วมในการนำเสนอในที่ประชุมเปิดโครงการ
1.เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละคนในโครงสร้างคณะทำงาน 2.เข้าใจในวัตถุประสงค์เป้าหมายและตัวชี้วัดของแต่ละกิจกรรมของโครงการ 3.คณะทำงานมีความเข้าใจแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้น 4.คณะทำงานเข้าใจรายละเอียดในการบริหารจัดการโครงการทุกกิจกรรม

 

25 0

2. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 2

วันที่ 10 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ คณะทำงาน 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเกิดความเข้าใจในรายละเอียดการทำงานมากขึ้น เห็นได้จากการพูดคุยนำเสนอว่าคณะทำงานเองต้องพยายามในพื้นที่ตัวเอง 1.ประชุมเพื่อติดตามประจำเดือน 2. ประชุมเพื่อการจัดบันทึกรายงานเพื่อง่ายในการติดตามเก็บข้อมูล 3.ประชุมกำหนดกติกาหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดในชุมชน

 

25 0

3. ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานเรียนรู้และออกแบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 1

วันที่ 10 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

มีคณะทำงาน 25 คน กำนันเจริญศักดิ์ ชูสง เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องขยะ ได้ออกแบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะ 1.ลดขยะนำเข้า 2.ใช้ถุงผ้าใช้ตะกร้าไปจ่ายตลาดแทนถุงพลาสติก 3.ไม่ใช้โฟม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเป็นต้นแบบในการเดินจ่ายตลาดโดยใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และลดการนำเข้าขยะในชุมชนการคัดแยกขยะและนำขยะไปใช้ประโยชน์

 

25 0

4. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั่งที่ 3

วันที่ 18 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร โดยมีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปเรื่องเปิดเวทีสร้างความเข้าใจปัญหาขยะในชุมชนและการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

 

25 0

5. ชื่อกิจกรรมที่ 1 คณะทำงานเปิดเวทีสร้างความเข้าใจปัญหาขยะในชุมชนและการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. วิทยากรได้เริ่มบรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ปิดประชุมเวลา 12.00 น.และร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน มีนางกัลยา ปฎิสุวรรณ เป็นวิทยากรได้เริ่มบรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ให้ชาวบ้านทราบถึงเรื่องการคัดแยกขยะ และสมัครเข้าร่วมโครงการ 125 คน

 

150 0

6. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 4

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร โดยมีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเกิดความเข้าใจในรายละเอียดการทำงานมากขึ้น ได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนการไปเรียนรู้ศึกษาดูงานการจัดการขยะ ชุมชนนาทอน จ สตูล ว่าจะไปกี่คน และจะจัดการกันอย่างไร เรื่องรถ เรื่องอาหาร เรื่องน้ำ เรื่องวิทยากรและรายละเอียดที่ต้องการให้สมาชิกที่ไปจะได้เรียนรู้

 

25 0

7. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 1

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

เดินเก็บขยะถนนสองข้างทาง มีคณะทำงาน 25 คน ตัวแทนครัวเรือน 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะทำงาน 25 คน และตัวแทนครัวเรือนจำนวน 25 คน เก็บขยะถนนสองข้างทางหมู่บ้านได้หลายกระสอบ สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขยะที่พบมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก ขวดน้ำอัดลม ขวดนม ช่วงเวลา 16.00 น. ถึง 18.00 น.

 

50 0

8. ชื่อกิจกรรมที่ 8 คณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานกาจัดการขยะ ชุมชนควนโดน จ สตูล

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

เรียนรู้การคัดแยกขยะและการจัดการขยะเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชุมชนคณะทำงาน 25 คน ตัวแทนครัวเรือน 20 คน พี่เลี้ยง 2 คน วิทยากรได้ให้ความรู้ในการจัดการขยะของบ้านควนโดน จังหวัดสตูล ฐานที่1และ ฐานที่2 ทำแก๊สและน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียก จำพวกผัก ขี้ปลา ข้าว ฐานที่3ธนาคารศูนย์บาท และฐานที่4 ถังขยะรักษ์โลกนำขยะเปียก  คณะทำงาน 25 คน ตัวแทนครัวเรือน 20 คน ชอบถังขยะรักษ์โลกกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน 25 คน ตัวแทนครัวเรือน 20 คน ดูงานการจัดการขยะ 4 ประเภทแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลนาทอน และสามารถแยกประเภทได้

 

45 0

9. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1

วันที่ 16 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 25 คนได้แบ่งออกไปดูครัวเรือนต้นแบบติดตามจำนวนขยะของแต่ละครัวเรือน ลดลง และสามารถคัดแยกขยะได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จำนวนขยะของครัวเรือนต้นแบบลดลง 20 เปอร์เซ็นและสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง

 

25 0

10. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 6

วันที่ 10 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร และได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนกิจกรรมติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 มีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเกิดความเข้าใจในรายละเอียดการทำงานมากขึ้น และได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนการกิจกรรมติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 2

 

25 0

11. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 2

วันที่ 20 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 25 คนได้แบ่งออกไปดูครัวเรือนต้นแบบติดตามจำนวนขยะของแต่ละครัวเรือนจำนวน 10 ครัวเรือน ลดลง และสามารถคัดแยกขยะได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จำนวนขยะของครัวเรือนต้นแบบลดลง 30 เปอร์เซ็นและสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง ครัวเรือนต้นแบบและสมาชิกในครัวเรือนจ่ายตลาดโดยใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าแทนถุงพลาสติก และลดการนำเข้าขยะในบ้าน

 

25 0

12. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 5

วันที่ 6 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป โดยเป็นกระบวนการชวนคุยในเชิงปรึกษาหารือว่าจะขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้พูดคุยในการจัดการพื้นที่ของตัวเองว่าจะเดินไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็าเป้าหมายอย่างไร โดยมีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความเข้าใจร่วมกันในที่ประชุมว่าเป้าหมายของกิจกรรม คณะทำงานสร้างกฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันทั้งชุมชนคืออะไรและต้องทำอะไรกันบ้างในแต่ละกิจกรรมที่จะต้องทำ และสรุปการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ

 

25 0

13. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2

วันที่ 10 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 25 คน และตัวแทนครัวเรือน 25 คน โดยร่วมกันเดินเก็บขยะถนนสองข้างทางถนนเส้นทางในหมู่บ้านทางเกวียนตั้งแต่ศาลาหมู่บ้านขึ้นไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เริ่มมีจำนวนขยะลดลง และคนในชุมชนมองเห็นถึงความสำคัญของขยะมากขึ้น สามารถแยกขยะได้ถูกต้อง

 

50 0

14. ชื่อกิจกรรมที่ 5 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ

วันที่ 6 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจและชี้แจงกำหนดการฝึกอบรม 2 มีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
  2. วิทยากรร่วมกันระดมความคิดเห็นในการจัดทำตัวชี้วัดครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
  3. วิทยากรร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานกับคณะทำงานและการติดตามการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ
    กิจกรรม 12.30 - 15.30 น.
    ลงทะเบียน 12.00 - 12.30 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี่้ มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมทั้งหมด 125 คน แบ่งเป็น ตัวแทนครัวเรือน คณะทำงาน และผู้นำชุมชน โดยกำนันเจริญศักดิ์ ชูสงค์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน และออกแบบการจัดการขยะในรูปแบบเป็น ขยะเปียก ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ ตัวแทนครัวเรือนสามารถคัดแยกขยะในแต่ละประเภทได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง

 

150 0

15. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 8

วันที่ 10 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ในการประชุมครั้งนี้ มีคณะทำงานและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุม 50 คน สถานที่ประชุมคือศาลาหมู่บ้านทางเกวียน
1.รับซื้อขายขยะในชุมชนเพื่อที่จะจัดตั้งธนาคารขยะภายในชุมชน 2.การรับซื้อขยะภายในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนการรับซื้อขยะรีไซเคิลจากชุมชน และกำหนดราคาการรับซื้อ
1.ขวดพลาสติก 2.ขวดพลาสติกขาวขุ่น 3.ขวดแก้วสีชา 4.ขวดแก้ว 5.กระดาษ

 

25 0

16. ชื่อกิจกรรมที่ 9 จัดตั้งกลุ่มจัดการขยะอินทรีย์เพื่อการผลิตปุ๋ยทดแทนเคมี

วันที่ 23 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดตั้งธนาคารขยะ รวมกลุ่มจัดทำข้อตกลงและมีปฏิบัติการแยกและรวบรวมขยะนำขยะรีไซเคิลไปจำหน่าย 2.จัดตั้งกลุ่มจัดการขยะอินทรีย์เพื่อการผลิตปุ๋ยทดแทนโดยการเลี้ยงไส้เดือน รับสมัครสมาชิกในชุมชนสนใจร่วมกลุ่ม มีกลไกและการบริหารจัดการกลุ่ม และมีปฏิบัติการในการเลี้ยงใส้เดือน ฝึกอบรมให้ความรู้
    3.จัดตั้งกลุ่มย่อยจัดการขยะในครัวเรือนขยะอินทรีย์ โดยมีการสนับสนุนจากกลุ่มการเลี้ยงไส้เดือน

กิจกรรม 12.30 - 15.30 น.
ลงทะเบียน 12.00 - 12.30 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี่้ มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมทั้งหมด 28 คน  โดยกำนันเจริญศักดิ์ ชูสงค์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ และได้แจกไส้เดือนให้ไปเลี้ยงเพื่อย่อยขยะอินทรีย์ในครัวเรือน     วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์ ใส่ขี้วัวลงไปในบ่อซีเมนต์ 1หรือ1กระสอบครึ่ง รดน้ำขี้วัว รดน้ำประมาณ1-2 อาทิตย์ แล้วทำให้ขี้วัวเย็น หรือคลายความร้อน  วิธีการวัดง่ายๆว่าขี้วัวเย็นพร้อมใช้หรือยัง ให้ใช้มือล้วงลงไปในขี้วัว ถ้ามือเราเย็นก็หมายถึง ขี้วัวพร้อมใช้ทำปุ๋ยแล้ว แต่ถ้ามือที่ล้วงลงไป รู้สึกอุ่นๆ ก็แสดงว่าขี้วัวยังไม่คลายความร้อน หรือยังเย็นไม่พอ ต้องรดน้ำเพิ่มให้กับขี้วัว จนเย็นได้ที่ พอวัดได้ว่าขี้วัวเย็นได้ที่แล้ว ให้นำ ไส้เดือนดินพันธุ์ ใส่ลงไปบนขี้วัว ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ใส่ลงไปโดยที่ไม่ต้องฝังตัวเค้าลงใต้ขี้วัว เพราะถ้าขี้วัวเย็นได้ที่ เค้าจะทำการชอนไช้ลงใต้ขี้วัวเอง ให้ความชื้นโดยการรดน้ำ 3-4 วันครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน ก็สามารถเก็บ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ไปใช้กับพืช,ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้แล้ว

      วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80-100 มูลสัตว์หรือขี้วัวแห้ง 1 กระสอบ หรือ กระสอบครึ่ง ต่อหนึ่งบ่อ ไส้เดือนดิน ประมาณ 2 กิโล ต่อ1บ่อ

 

25 0

17. ชื่อกิจกรรมที่ 10 คณะทำงานสร้างกฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันทั้งชุมชน

วันที่ 28 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนร่วมกันเสนอกฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันทั้งชุมชนบ้านทางเกวียนโดยให้ ประชาชนเสนอกันในที่ประชุมแล้วนำมาสรุปให้ได้ 5 ข้อ ที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้จริง
โดยมีประชาชนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ 150 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันในชุมชน 1.ห้ามเผาขยะสองข้างถนน 2.ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะและบริเวณสองข้างทางถนนในชุมชน 3.ให้สมาชิกนำขยะมาขาย อย่างน้อย 2 เดือน 1ครั้ง 4.นำตะกร้าไปจ่ายตลาด เพื่อลดขยะในชุมชน 5.ให้สมาชิกทำ big cleaning day เดือนละ 1 ครั้ง

 

150 0

18. ชื่อกิจกรรมที่ 11 คณะทำงานรวมกลุ่มรับซื้อขายขยะในชุมชนจัดตั้งธนาคารขยะ

วันที่ 30 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานร่วมตัวกันจัดตั้งธนาคารขยะ โดยกำหนดราคากันเองแล้วจะนัดเทศบาลเข้ามารับซื้อทุกๆ สิ้นเดือน และทำสมุดบันทึกน้ำหนักขยะพร้อมจำนวนเงินที่ได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีประชาชนในชุมชนนำขยะมาขายให้กับธนาคารหลายครัวเรือน มีหลายประเภท โดยเน้นไปทางพลาสติก  กระดาษลัง ขวดแก้วสีชา ขวดแล้วสีใส

 

25 0

19. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 7

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรมและกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป คือกิจกรรมBig Cleaning Day ครั้งที่ 2 โดยมีคณะกรรมการ 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้กำหนดรายละเอียดเพื่อวางแผนการกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2 และจะจัดการกันอย่างไร

 

25 0

20. ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 9

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน โครงการ โดยชี้แจงรายละเอียด 1.การติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่่ 3 2.การจัดสร้างแผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้กำหนดรายละเอียดในกิจกรรมต่อไป
1.ทบทวนติดตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา 2.ร่วมกันกำหนดแผนงานการดำเนินงานกิจกรรม และกำหนดการทำกิจกรรมต่างที่จะปฏิบัติ 3.มอบหมายหน้าที่ในการทำกิจกรรม

 

25 0

21. ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ื 3

วันที่ 13 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมตัวกันติดตามและประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ครั้งที่ 3 ของหมู่บ้าน โดยแยกออกเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน แบ่งคณะทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม และเก็บข้อมลูครั้งสุดท้ายโดยใช้ใบประเมินเป็นตัวชี้วัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานร่วมตัวกันติดตามและประเมินผลการจัดการขยะของหมู่บ้าน โดยแยกออกเป็นตัวแทนครัว และประเมินตามเกณฑ์ พอสรุปได้ว่าครัวเรือนที่สามารถจัดการขยะได้ดีมีจำนวน  40 ครัวเรือน และมีการขยายพันธ์ไส้เดือนเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดขยะอินทรีย์ที่สามารถย่อยได้

 

25 0

22. ชื่อกิจกรรมมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 10

วันที่ 12 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานโครงการ โดยชี้แจงรายละเอียด 1.สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนนำเสนอข้อมูลผลการจัดการขยะต่อท้องถิ่น 2.คณะทำงานสรุปข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้กำหนดรายละเอียดในกิจกรรมต่อไป
1.ทบทวนติดตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา 2.ร่วมกันกำหนดแผนงานการดำเนินงานกิจกรรม และกำหนดการทำกิจกรรมต่างที่จะปฏิบัติ 3.มอบหมายหน้าที่ในการทำกิจกรรม 4.สรุปกิจกรรมทั้งหมดที่ได้ปฎิบัติมาทั้งหมดเพื่อที่ปิดโครงการ

 

25 0

23. ชื่อกิจกรรมที่ 4 คณะทำงานจัดสร้างแผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะ

วันที่ 17 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมกับวิทยากรให้ความรู้และจัดสร้างแผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะ ร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะของชุมชนทางเกวียน จะแบ่งการจักการขยะได้หลายประเภทคือ
1 การใช้ถังหมักขยะโดยการเศษขยะของแต่ละวันมาใส้ถังหมักให้ย่พลอยสะลายเป็นปุ๋ยไปในตัว 2 การใช้ไส้เดือนเป็นตัวย่อยสลายเศษผักและนำขี้ไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ 3 การเก็บขวดพลาสติกมาขายกับธนาคารขยะชุมชน 4 การไม่นำถุงพลาสติกเข้าครัวเรือน

 

25 0

24. ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานสรุปข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 2

วันที่ 17 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมกันสรุปและเก็บข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนในระยะเวลาของโครงการ โดยเอาข้อมูลจากการเก็บขยะสองข้างทางหมู่บ้านและจากจำนวนขยะที่สมาชิกของครัวเรือนนำขยะมาขายให้กับชุมชน มาสรุปข้อมูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนในระยะเวลาของโครงการ โดยเอาข้อมูลจากการเก็บขยะสองข้างทางหมู่บ้าน มาสรุปเป็นข้อมูล โดยได้ข้อมูลดังนี้ ขวดพลาสติกสองข้างถนนลดน้อยลง ขวดแก้วสีชาลดลง พอสรุปได้ว่าขยะในชุมชนลดลง เป็นที่น่าพอใจ

 

25 0

25. ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 3

วันที่ 18 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ในกิจกรรมจะมีคณะทำงานและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม โดยให้กำนันเจริญศักดิ์ ชูสงค ประกาศทางหอกระจายข่าวให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงรายละเอียดกิจกรรมร่วมกัน
1.เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 15.00 - 17.-30 น 2.เดินเก็บขยะถนนสองข้างทางถนนเส้นทางในหมู่บ้านทางเกวียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการเก็บขยะตั้งแต่เริ่มโครงการมาครั้งนี้มีจำนวนขยะลดน้อยลง ขยะจากสองข้างถนนในหมู่บ้านมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่มันกะเป็นกล่องนม และถุงพลาสติก และคนในชุมชนมองเห็นถึงความสำคัญของขยะมากขึ้น สามารถแยกขยะได้ถูกต้อง

 

50 0

26. ชื่อกิจกรรมที่ 12 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนนำเสนอข้อมูลผลการจัดการขยะต่อท้องถิ่น

วันที่ 25 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานของโครงการคณะทำงานสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนและนำเสนอข้อมูลผลการจัดการขยะต่อท้องถิ่น
พร้อมมีวิทยากรร่วมให้ข้อสรุปร่วมกัน โดยมีกำนันผู้ใหญ๋บ้าน นายเจริญศักดิ์ ชูสง เป็นวิทยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในชุมชนมีความสนใจในโครงการและพร้อมใจที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไป และจะร่วมกันเป็นหูเป็นตาเรื่องการทิ้งขยะสองข้างทางตลอดหมู่บ้านและตามสายซอย และมีการทำป้ายรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะติดตลอดสองข้างถนน

 

150 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถใช้ประโยชน์จากขยะได้
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทำงานที่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้ อย่างน้อย 25 คน 2. มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 3. ข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทของชุมชนเชิงปริมาณก่อน,หลัง 4. ครัวเรือนร้อยละ 50 มีการคัดแยกขยะ และครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ50 คัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องทำบัญชีขยะในครัวเรือน 5. มีกลุ่มที่สามารถจัดการขยะได้อย่างน้อย 2 กลุ่ม 6. คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะในชุมชน 7. เกิดกติกาชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ 8. เกิดธนาคารขยะ 9. ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลงร้อยละ 50
150.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตัวแทนครัวเรือน 150

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถใช้ประโยชน์จากขยะได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 1 (2) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 2 (3) ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานเรียนรู้และออกแบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 1 (4) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั่งที่ 3 (5) ชื่อกิจกรรมที่ 1 คณะทำงานเปิดเวทีสร้างความเข้าใจปัญหาขยะในชุมชนและการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ (6) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 4 (7) ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 1 (8) ชื่อกิจกรรมที่ 8 คณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานกาจัดการขยะ ชุมชนควนโดน จ สตูล (9) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 5 (10) ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 (11) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 6 (12) ชื่อกิจกรรมที่ 7 คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 (13) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 7 (14) ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2 (15) ชื่อกิจกรรมที่ 5 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ (16) ชื่อกิจกรรมที่ 9 จัดตั้งกลุ่มจัดการขยะอินทรีย์เพื่อการผลิตปุ๋ยทดแทนเคมี (17) ชื่อกิจกรรมที่ 10  คณะทำงานสร้างกฎกติกาการจัดการขยะร่วมกันทั้งชุมชน (18) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 8 (19) ชื่อกิจกรรมที่ 11  คณะทำงานรวมกลุ่มรับซื้อขายขยะในชุมชนจัดตั้งธนาคารขยะ (20) ชื่อกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 9 (21) ชื่อกิจกรรมที่ 4 คณะทำงานจัดสร้างแผนที่การจัดการขยะทั้งชุมชนทุกประเภทของขยะ (22) ชื่อกิจกรรมที่ 7  คณะทำงานติดตามประเมินผลการจัดการขยะและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ครั้ง ครั้งที่ื 3 (23) ชื่อกิจกรรมมที่ 2 ประชุมคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน ครั้งที่ 10 (24) ชื่อกิจกรรมที่ 3 คณะทำงานสรุปข้อมูลปริมาณขยะเก็บข้อมูลในชุมชนเก็บข้อมูลก่อนและหลัง ครั้งที่ 2 (25) ชื่อกิจกรรมที่ 6 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 3 (26) ชื่อกิจกรรมที่ 12 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนนำเสนอข้อมูลผลการจัดการขยะต่อท้องถิ่น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การจัดการขยะชุมชนบ้านทางเกวียน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย เจริญศักดิ์ ชูสง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด