directions_run

ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61018650
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 97,800.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านปากเครียว
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำนงค์ ไชยสินโณ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 48,900.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 39,120.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,780.00
รวมงบประมาณ 97,800.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาขยะชุมชน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านปากเครียว ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรในอนาคต จึงคาดหมายว่าจะมีผลทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะกับคลองฝาละมี ซึ่งถือว่าเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงคนในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ในแต่ละวันมีปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนมาก ถังขยะส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นถังขยะที่วางไว้หน้าบ้านเรือนของตนเอง ไม่มีการแบ่งแยกประเภทของถังขยะก่อนทิ้งชัดเจน การคัดแยกขยะของบ้านเรือนผู้คนในชุมชน ผู้คนส่วนใหญ่ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ทั้งลงในถังขยะในบ้านตนเอง และถังขยะสาธารณะ โดยรถขยะจะมาเก็บขยะจากถังขยะหน้าบ้าน และถังขยะสาธารณะ ทุกวันพุธ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านปากเครียว มีขยะจำนวนมาก
องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี ได้มีการจัดเก็บขยะเฉลี่ยวันละ 2,400 กิโลกรัม ปีละ 840 ตัน(ข้อมูลจาก อบต.ฝาละมี) แสดงว่าจำนวนขยะตำบลฝาละมี มีจำนวนมากมายโดยไม่มีการแยกขยะเลย(จากรถเก็บขยะ อบต.)และจะส่งผลการจัดเก็บขยะในอนาคตต่อไป และหมู่ที่ 7 ตำบลฝาละมี มีจำนวนรัวเรือน จำนวน 126  หลังคาเรือนประชากร จำนวน 373 คน มีขยะเฉลี่ยวันละ 120 กิโลกรัม และขยะส่วนใหญ่เป็นขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (ข้อมูลจาก การสังเกตของพนักงานเก็บขยะ อบต.ฝาละมี) ดังนั้น หมู่ที่ 7 บ้านปากเครียว จึงเป็นหมู่บ้านที่มีปัญหาเรื่องขยะ เนื่องมา ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นความสำคัญในการพึ่งตนเองในการแยกและกำจัดขยะ และขยะบางส่วน ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย โรคอุจจาระร่วง จำนวน 23 ราย (ข้อมูลผู้รับบริการ ที่ รพ.สต.บ้านพระเกิด)
โดยหมู่ที่ 7 บ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง และได้ทำการสำรวจปัญหาในหมู่บ้านจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 โดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่ ดังนี้ ยาเสพติด 4 คะแนน คะแนน โรคเรื้อรังในชุมชน 6 คะแนน ความแตกแยกของคนในชุมชน 7 คะแนน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน 10 คะแนน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีคะแนนรวมมากที่สุดเพราะเนื่องจากหมู่ที่ 1 บ้านฝาละมี เป็นหมู่บ้านที่ติดถนนใหญ่ผู้คนสัญจรไปมามาก จึงทำให้สองข้างทางมีขยะที่ผู้คนผ่านไปมาทิ้งไว้ทำให้ดูไม่สะอาดตา และภูมิทัศน์ที่สวยงามก็ดูจะจืดจางไป ประชาชนในหมู่บ้านไม่เล็งเห็นความสำคัญเท่าที่ควร ประกอบกับเป็นชุมชนการเกษตร จึงมีขยะจากผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือทิ้งจำนวนมาก รวมทั้งเศษอาหารจากครัวเรือนซึ่งไม่ได้มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีเฉพาะถังขยะของ อบต.ที่จัดรองรับไว้เป็นจุดๆและทิ้งขยะปะปนกันทุกประเภท ปัจจุบันพฤติกรรมการทิ้งขยะส่วนใหญ่ของผู้คนในชุมชน คือ การทิ้งขยะหลายประเภทลงในถังเดียวกัน นำไปไว้หน้าบ้านและรอรถขยะมารับ ซึ่งในถังขยะใบนั้นประกอบด้วยขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ซึ่งเมื่อดูจากปริมาณขยะมูลฝอยแต่ละวันแล้ว ถึงแม้จะมีการคัดแยกขยะที่ปลายทาง ก็ยังมีคงเหลืออยู่อีกมาก จึงจำเป็นต้องมีการคัดแยกตั้งแต่ต้นตอของขยะ นั่นคือบ้านเรือนของผู้คนในชุมชน แต่เนื่องจากปัญหาอย่างหนึ่งคือผู้คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงในถังโดยไม่เลือกประเภทขอขยะ คิดว่าทิ้งลงถังเหมือนกัน ทางผู้จัดทาจึงเห็นว่าเราควรจัดทาโครงการ “ชุมชนร่วมใจ แยกขยะรีไซเคิล” ขึ้นมา เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้คนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในชุมชนได้เห็นถึงคุณค่าของขยะรีไซเคิล สร้างกระแสการคัดแยกขยะขึ้นในชุมชน โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบของถังขยะให้เข้าถึงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้คนแยกขยะจนเป็นนิสัย สามารถแยกขยะรีไซเคิลออกมาเพื่อให้รถขยะมารับได้ดังเช่นขยะทั่วไป โดยเน้นการสร้างแรงกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ผลพลอยได้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังลดปริมาณขยะ และอาจสร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะจึงจำเป็นต้องจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด แยกถึง แยกถุง แยกการจัดเก็บหรือกำจัดให้สอดคล้องตามลักษณะประเภทของขยะ จึงจะทำให้การจัดการมีประสิทธิภาพและช่วยลดปัญหาเรื่องผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมา และให้สามารถใช้พื้นที่กำจัดขยะได้ในอนาคต ชุมชนปากเครียว จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาระบบการจัดการขยะมูลฝอย โดยวิธีคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด ซึ่งขณะนี้ชุมชนฝาละมีได้จัดทำสถานที่คัดแยกขวดสีขาว สีแดง เศษแก้วทุกชนิด  จัดตั้งศูนย์ขยะรีไซเคิลชุมชน จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการดำเนินการ ตลอดจนมีการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลในโรงเรียนและชุมชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคัดแยกขยะมูลฝอย กำหนดพื้นที่ชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพระเกิด คือ  หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 4 ตำบลฝาละมี เป็นชุมชนนำร่องหรือชุมชนต้นแบบ เพื่อนำผลการพัฒนาไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป - จัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อจัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงาน โครงการ
- ประสานงานกับผู้นำชุมชนร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ในการประสัมพันธ์โครงการ - นำผู้นำชุมชน แกนนำและเยาวชนไปศึกษาดูงานที่ท้องถิ่นที่มีการจัดการขยะดีเด่น - รับสมัครและลงทะเบียนครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ
- จัดอบรมพัฒนาให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัวและนักเรียนในโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ - กิจกรรม Big Cleaning Dayชุมชนร่วมกันรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้น่าอยู่
- สร้างโรงเก็บและคัดแยกขยะ รวมทั้งนำตะแกรงแยกขยะไปติดตั้งตามจุดต่างๆ ในหมู่บ้าน - จัดกิจกรรมบูรณาการผสมผสาน การลดขยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต - จัดตั้งธนาคารขยะของหมู่บ้านและโรงเรียน - จัดกิจกรรมการเก็บ คัดแยกขยะและการนำขยะมาใช้ประโยชน์นำขยะมาฝากขายที่ธนาคารขยะ - จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ - ขยายเครือข่ายผู้เข้าร่วมโครงการไปสู่ครอบครัวอื่นๆ ในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง - จัดประกวด “บ้านเรือนน่าอยู่” - ประชุมคณะทำงานและที่ปรึกษาเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการจนสิ้นสุดโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญ/ตระหนักในผลกระทบจากขยะ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน
  1. ครัวเรือนในชุมชน ร้อยละ 80 มีการคัดแยกขยะได้ถูกต้อง
  2. มีแผนชุมชนการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 1 ชุด
  3. มีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ จำนวน 30 ครัวเรือน
0.00
2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ
  1. เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ  1 กลุ่ม
  2. มีจุดรวบรวมขยะ และส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง
0.00 0.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

1.ประชาชนสามารถลดปริมาณขยะในครัวเรือนและในชุมชนได้ ร้อยละ 60 2. ทุกครัวครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการใช้ถุงผ้า
อย่างน้อย จำนวน 100  ครัวเรือน

80.00
4 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
  1. มีการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน
  2. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  3. มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 97,400.00 9 97,800.00
15 พ.ย. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงแก่ คณะทำงาน/กรรมการสภาผู้นำชุมชน เพื่อให้รับทราบความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมในโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
19 ธ.ค. 61 การจัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อ จัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงาน โครงการ 0 5,200.00 5,200.00
19 ม.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้อันตรายจากขยะและวิธีการคัดแยกขยะ 0 21,100.00 21,100.00
26 ม.ค. 62 4. ศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลควนโดน เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการขยะ เพื่อที่ได้นำมาปรับใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อย่างเป็นระบบ 0 22,800.00 22,800.00
1 ก.พ. 62 - 31 ส.ค. 62 5 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง 0 5,500.00 5,500.00
30 มี.ค. 62 ุ6. จัดประกวด “บ้านเรือนปลอดขยะ” 0 12,000.00 12,000.00
6 เม.ย. 62 7. จัดกิจกรรมบูรณาการผสมผสาน การลดขยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 0 9,900.00 10,300.00
10 พ.ค. 62 8. จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ 0 13,200.00 13,200.00
7 ก.ย. 62 9 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม 0 4,700.00 4,700.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 20:37 น.