directions_run

ใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัยบ้านฝาละมี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัยบ้านฝาละมี
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 99,700.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้านประจำหมู่บ้าน ( อสม) หมู่ที่ 1 บ้านฝาละมี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิยม ณ พัทลุง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 11 พ.ย. 2561 10 มี.ค. 2562 49,850.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 11 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 39,880.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,970.00
รวมงบประมาณ 99,700.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด
32.00
2 ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์
238.00
3 ครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 346 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 21.76 ที่ปลูกผัก กินเอง โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

บ้านฝาละมี เป็นชุมชนชนบท มีเนื้อที่ 5,677 ไร่ อยู่ห่างจากตัว อ.ปากพะยูน 6 กม. สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับเนิน และเป็นป่าพรุติดชายฝั่งทะเลสาบสงขลา เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยางพารา สวนปาล์ม การเลี้ยงปลา จากการลงพื้นที่ทำกิจกรรมโครงการตำบลจัดการตำบลสุขภาวะ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ซึ่งเป็นโครงการที่ศึกษาชุมชน เข้าหาสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ได้สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของประชาชน บ้านฝาละมี หมู่ที่ 1 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 346 ครัวเรือน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ร้อยละ 75 (แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน,2560) พร้อมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเอง รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การประกอบอาชีพ และการใช้ยาในการรักษาโรค ซึ่งทาให้เกิดการอาการดื้อยาการเจ็บป่วยเรื้อรังและปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชนโดยสถิติการรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี  หมู่ที่ 1 ตำบลฝาละมี อำเภอ ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ช่วงเดือนกันยายน ถึง เดือนตุลาคม 2561 ผู้ป่วย 5 อันดับแรกมีดังนี้ (1)อาการหวัด ไข้หวัด 1,077 ครั้ง (2)ความดันโลหิตสูง 322 ครั้ง (3)โรคเบาหวาน 244 ครั้ง (4)อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามที่ต่างๆ 210 ครั้ง (5)แผลในช่องปาก 205 ครั้ง (รพ.สต.บ้านฝาละมี, 2560)

จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกผัก ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักบริโภคในครัวเรือน และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน พบว่า .มีครัวเรือนจำนวน 75 ครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 346 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 21.76 ที่ปลูกผัก กินเอง โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล้านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน และจากการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ทั้งหมด 125 คน พบว่ามีประชาชนมีภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 25.6 และผิดปกติจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ ประมาณ จำนวน 450 บาท และยังมีปัญหาอุปสรรคด้านความต่อเนื่องและการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง ตลอดจนขาดความหลากหลายในเรื่องชนิดพืชที่ปลูกในชุมชน ชุมชนบ้านฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปลูกผักปลอดภัยในปริมาณมากขึ้น ให้เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน และแลกเปลี่ยน หรือขายในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้คนในชุมชนมีโอกาสได้บริโภคผักที่ปลอดภัย และส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดี ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรทั้งด้านอาหารและสรรพคุณการรักษาโรค

มีคณะทำงาน ทีเข้มแข็งและมีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน

20.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรทั้งด้านอาหารและสรรพคุณการรักษาโรค

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของพืชผักสมุนไพรทั้งด้านอาหารและสรรพคุณการรักษาโรค

คนในชุมชน เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าและมีการนำสมุนไพร ผักพื้นบ้านมาบริโภคเป็นอาหาร นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 40 ครัวเรือน

40.00
4 เพื่อให้ประชาชนปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้ใช้ในการบริโภคและรักษาโรค
  1. ครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ 100 ครัวเรือน(เดิม 75 ครัวเรือน ใหม่ 25 ครัวเรือน)
100.00
5 เพื่อให้ประชาชนปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้ใช้ในการบริโภคและรักษาโรค

. เกิดครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ จำนวน  10 ครัวเรือน

100.00
6 เพื่อให้ประชาชนปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้ใช้ในการบริโภคและรักษาโรค

ประชาชนในชุมชนประกอบอาหารจากผักพื้นบ้านที่ปลูกเอง โดยไม่ซื้อจากท้องตลาด และมีการประกอบเมนูเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

100.00
7 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้พืชผักสมุนไพรใช้ในการรักษาโรค จำนวน 1  แห่ง

1.00
8 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย

มีแปลงสาธิตปลูกพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ
2.   4 แปลง

4.00
9 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย

ปริมาณการใช้สารเคมีลดลง ร้อยละ 70

70.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 95
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 20 -
ครัวเรือนต้นแบบเดิม 75 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในเลือด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
12 ก.ย. 62 ตรวจปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 94,700.00 9 94,700.00
20 ม.ค. 62 1 ประชุมคณะทำงาน 0 700.00 700.00
27 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้ 0 17,600.00 17,600.00
27 ก.พ. 62 ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย 0 23,800.00 23,800.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 สื่อสารให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง 0 10,000.00 10,000.00
1 มี.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 สร้างครอบครัวต้นแบบด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย 0 1,000.00 1,000.00
1 - 30 พ.ค. 62 ปลูกเพิ่ม เสริมการป้องกัน 0 13,400.00 13,400.00
6 มิ.ย. 62 ประกวดครอบครัวต้นแบบด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย 0 7,400.00 7,400.00
10 ก.ค. 62 การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้พืชผักสมุนไพรใช้ในการรักษาโรค 0 9,500.00 9,500.00
6 ก.ย. 62 สรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ผักผลไม้ ปลอดสารพิษ” 0 11,300.00 11,300.00

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร 2ประชาชนปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้ใช้ในการบริโภคและรักษาโรค
3เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผักปลอดภัย ให้ประชาชนปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้ใช้ในการดูแลสุขภาพ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 20:38 น.