แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายจิรัฐพล สอนทอง

ชื่อโครงการ การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 6100-124 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 6100-124 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

พลังงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการใช้เพื่อผลิตอาหาร การประกอบอาชีพ การผลิตวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า การให้แสงสว่าง และอื่นๆ อีกมากมาย
  เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น การใช้พลังงานจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและเริ่มขาดแคลนมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งการใช้พลังงานดังกล่าวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้ถ่านหิน จะก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide : SO2) สาเหตุของฝนกรด เขม่า ฝุ่น และควัน หรือแม้แต่เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม ก็ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น เพราะก่อให้เกิดปัญหาเรือนกระจก สร้างสภาวะโลกร้อน

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโลกร้อน มีดังนี้
๑. ผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น เมื่อปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นบวกกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลให้ระบบนิเวศของท้องทะเลเปลี่ยนไป กระทบต่อปริมาณและชีวิตของสัตว์น้ำ นั่นหมายถึงปริมาณอาหารของมนุษย์ก็ลดลงด้วย ผลกระทบนี้ยังรวมถึงภัยพิบัติธรรมชาติที่มีบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นอีกด้วย ๒. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง มีผลต่อการลดลงของรายได้ในผู้มีอาชีพจับสัตว์น้ำขาย
- รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวลดลง เพราะแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำที่เคยงดงามถูกเปลี่ยนไป - สินค้าทางการเกษตรลดลง เกษตรกรผลิตอาหารได้น้อยลง เพราะฤดูกาลไม่แน่นอน เช่น เกิดปัญหา บางปีฝนแล้ง บางปีน้ำท่วม บางปีเกิดพายุพัดทำลายรุนแรง
- ปัญหาน้ำท่วมก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบอุตสาหกรรม เช่น ก่อให้เกิดการใช้งบประมาณเพื่อการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดการไม่กล้าลงทุนถือเป็นการเสียโอกาส และเศรษฐกิจหยุดชะงัก ๓. ผลกระทบในด้านของสุขภาพ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เช่น การขยายตัวของแบคทีเรียก่อโรคเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มของยุงลายและยุงก้นปล่องก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้น เป็นต้น ยังรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

จากรายงานสภาพภูมิอากาศปี 2๕๕๙ ที่องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) เป็นผู้รวบรวม ได้ข้อสรุปที่ยืนยันว่าปี ๒๕๕๙ เป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา และเป็นสถิติอุณหภูมิโลกที่ร้อนต่อเนื่อง 3 ปี รายงานระบุว่า อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนระยะยาว และความรุนแรงของปรากฏการณ์เอล นีโญ โดยอุณหภูมิที่วัดได้จากพื้นผิวโลก ผิวน้ำทะเล และปริมาณก๊าซเรือนกระจกในปี 2๕๕๙ ล้วนอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา 137 ปี และสะท้อนถึงแนวโน้มของการเกิดภาวะโลกร้อน

รายงานชี้ด้วยว่า ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงทำสถิติใหม่ โดยค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศต่อปี วัดได้ที่ 402.9 ส่วนในล้านส่วน (ppm) หรือสูงกว่า 400 ppm เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การวัดสภาพชั้นบรรยากาศเพื่อเก็บข้อมูลในยุคใหม่ รวมถึงในการเก็บข้อมูลจากแกนน้ำแข็ง ซึ่งมีสถิติย้อนกลับไปได้ 800,000 ปี NOAA ระบุด้วยว่า "การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่สุดที่มนุษยชาติ และสิ่งมีชีวิตบนโลกกำลังเผชิญ" ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ต่ออนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาดการณ์ว่าหากอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นเช่นนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ. 2643 นักวิทยาศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ประมาณการว่า หากปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 450 ppm ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจของโลกก็จะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นตัวให้เป็นอย่างเดิมได้ (แผนยุทธศาสตร์องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2558-2562,2557) จึงจำเป็นที่ทั่วโลกจะต้องดำเนินมาตรการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน และประเทศไทยได้กำหนดมาตรการและแนวทางที่ชัดเจนเพื่อรองรับปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นผลให้มีการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน

การรณรงค์ให้ใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดโลกร้อน เช่น การใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม หรือกระทบน้อยกว่า และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ ลดการนำเข้าพลังงานของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น และช่วยลดภาระของประชาชนทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต และลดมลภาวะได้อีกด้วย และช่วยสร้างงานในภาคพลังงานหมุนเวียน ทั้งระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับประเทศ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานในระดับครัวเรือน
  2. 2. เพื่อให้เกิดแผนชุมชน จัดการพลังงานชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่ 2.1)
  2. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 2.2)
  3. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 2.3)
  4. เตรียมการเพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องพลังงานในครัวเรือน (กิจกรรมที่ 1)
  5. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่3.2)
  6. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่3.4)
  7. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่3.5)
  8. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่3.1)
  9. ส่งสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง และในระดับครัวเรือนอย่างน้อย 10 ครัวเรือน (กิจกรรมที่ 4.1)
  10. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3)
  11. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (กิจกรรมที่ 5.1)
  12. จัดทำแผนการจัดการพลังงานชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน(กิจกรรมที่ 6 )
  13. กิจกรรมบริการความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานด้านพลังงานสะอาด ณ แหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน (กิจกรรมที่ 4.2)
  14. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2562 (กิจกรรมที่ 5.2)
  15. จัดนิทรรศการนอกสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้และบริการความรู้ด้วยชุดสาธิตพลังงานสะอาด (กิจกรรมที่ 4.3)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มประชากรที่ตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของพ 200
กลุ่มประชากรที่ได้รับประโยชน์จากการสอนและสาธิตการใ 150
ครัวเรือนที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก 10

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณะทำงานในโครงการพลังงานสะอาด มีความเข้าใจถึง วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการ
  2. ได้แผนระยะเวลาการจัดกิจกรรม
  3. ชี้แจงเอกสารที่จะใช้ประกอบการอบรมให้ความรู้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เตรียมการเพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องพลังงานในครัวเรือน (กิจกรรมที่ 1)

วันที่ 23 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ   - ประชุมคณะทำงานโครงการ ฯ เพื่อวางแผน ทำความเข้าใจวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงาน       1.นายจิรัฐพล  สอนทอง ผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ       2.นายวิทย์ณเมธา เกตุแก้ว คณะทำงานโครงการ ฯ       3. นายชำนาญ สงชู คณะทำงานโครงการ ฯ       4. นายสหจร ชุมคช คณะทำงานโครงการ ฯ       5. นางสุภาพร สงชู คณะทำงานโครงการ ฯ การเตรียมการ   - คณะทำงานโครงการ ฯ มีการกำหนดเป้า จำนวน 3 พื้นที่ด้วยกัน
          1.พื้นที่ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง       2. พื้นที่ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง       3. โรงเรียนชะรัดชนูปถัมภ์ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง การดำเนินการ   1. นายจิรัฐพล สอนทองรับผิดชอบและประสานงานพื้นที่เป้าหมาย  หมู่ที่ 5 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขา่ชัยสน จังหวัดพัทลุง โดยกำหนดเป้าหมาย 40 คน   2. นายสหจร ชุมคช รับผิดชอบและประสานพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง โดยกำหนดเป้าหมาย 30 คน   3. นางสุภาพร สงชูรับผิดชอบและประสานงานโรงเรียนชะรัดชนูปถัมภ์ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง โดยกำหนดเป้าหมาย 30 คน   4. นางสุภาพร สงชู รับผิดชอบ เอกสาร สื่อการเรียนรู้ และแผ่นป้าย โครงการ ฯ

 

30 0

2. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่ 2.1)

วันที่ 10 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที 5 ตำบลหานโพธิ์ เพื่อนัดประชุมครัวเรือนเป้าหมายจำนวน  40 ครัวเรือน

  1. ติดต่อประสานงานขอเข้าพบผู้อำนวยโรงพยาบาลประจำตำบลหานโพธิ์เพื่อขอใช้สถานที่ห้องประชุมของ โรงพยาบาล ฯ

  2. เตรียมเอกสารแบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องพลังงาน สื่อวิดีทัศน์ แผ่นป้ายชื่อ โครงการ ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการ       1. เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านชี้แจงที่มาของโครงการ ฯ ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ กำหนดเป้าหมายไว้ 40 ครัวเรือน ในวันทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้
      2. วันทำกิจกรรม เวทีทำความเข้าใจ เรื่องสถานะการณืด้านพลังงานในปัจจุบัน           2.1. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนเรียน           2.2 การอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งฉายภาพ วิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ                   นายจิรัฐพล  สอนทอง เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                   - เรื่องสถานะการณ์พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน
                  - เรื่องพลังานจากแสงอาทิตย์                   - ชวนคิดชวนคุยเรื่องพลังงานในครัวเรือน               นายวิทย์ณเมธา เกตุแก้ว เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                 - เรื่องพลังงานน้ำและพลังงานจากลม               นายชำนาญ สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                 - เรื่องพลังงานจากชีวมวลและแก๊วชีวภาพ       3. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบหลังเรียน       4. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมซักถามข้อสงสัยในเรื่่องความรู้ที่ได้อบรม       5. รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม           เพื่อสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญ ด้านพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ พลังงานเตาชีวมวล และพลังงานจากแก๊สชีวภาพ รวมไปถึงพลังงานลมและพลังงานน้ำสามารถแยกคำว่า พลังงานสิ้นเปลืงและพลังงานหมุนเวียนแตกต่างกันอย่างไร และต้องการให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดคิดค้น นวัตกรรมการใช้พลังงานทางเลือกมากยิ่งขึ้น           มีการจดบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือนเพื่อนำมาประเมินค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้านพลังงานได้

สรุปผลการดำเนินการ         1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยแบบทดสอบจะมีทั้งหมด 12 ข้อ และผู้ผ่านการประเมินจะต้องตอบคำถามหลังการเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 9 ข้อ หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
            ของคะแนน         2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสมัครใจที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก             -  เตาชีวมวล จำนวน 16 ครัวเรือน เหตุผลที่ใช้เตาชีวมวลของครัวเรือนที่สมัครคือ ฟีนหาได้ง่ายและสนใจนวัตกรรมเตาชีวมวลที่ได้ให้ความรู้ไปในการเข้าร่วมกิจกรรม             -  พลังงานแสงอาทิตย์ 5 ครัวเรือน  เหตุผลที่ต้องการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะต้องการนำไปใช้กับภาคการเกษตรที่สายส่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เกินเป้าหมายไว้ 2 คน

 

40 0

3. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 2.2)

วันที่ 24 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานศูนย์เรียนรู้พันธุกรรมพืชตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์  เพื่อทำกิจกรรม เวทีทำความเข้าใน เรื่องสถานะการณืพลังงานในปัจจุบัน ครัวเรือนเป้าหมายจำนวน  20 ครัวเรือน

  1. เตรียมเอกสารแบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แบบฟอร์มการบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องพลังงาน สื่อวิดีทัศน์ แผ่นป้ายชื่อ โครงการ ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการ
  เป้าหมาย 20 ครัวเรือน       1. วันทำกิจกรรม เวทีทำความเข้าใจ เรื่องสถานะการณืด้านพลังงานในปัจจุบัน           1.1. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนเรียน           1.2 การอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งฉายภาพ วิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ                   นายจิรัฐพล  สอนทอง เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                   - เรื่องสถานะการณ์พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน
                  - เรื่องพลังานจากแสงอาทิตย์                   - ชวนคิดชวนคุยเรื่องพลังงานในครัวเรือน                 - เรื่องพลังงานน้ำและพลังงานจากลม               นายชำนาญ สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                 - เรื่องพลังงานจากชีวมวลและแก๊วชีวภาพ       2. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบหลังเรียน       3. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมซักถามข้อสงสัยในเรื่่องความรู้ที่ได้อบรม       4. สาธิตการใช้เตาชีวมวล นวัตกรรมใหม่ (เตาจรวด) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาชีวมวลแบบเดิม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม           เพื่อสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญ ด้านพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ พลังงานเตาชีวมวล และพลังงานจากแก๊สชีวภาพ รวมไปถึงพลังงานลมและพลังงานน้ำสามารถแยกคำว่า พลังงานสิ้นเปลืงและพลังงานหมุนเวียนแตกต่างกันอย่างไร และต้องการให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดคิดค้น นวัตกรรมการใช้พลังงานทางเลือกมากยิ่งขึ้น           มีการจดบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือนเพื่อนำมาประเมินค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้านพลังงานได้

สรุปผลการดำเนินการ         1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยแบบทดสอบจะมีทั้งหมด 12 ข้อ และผู้ผ่านการประเมินจะต้องตอบคำถามหลังการเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 9 ข้อ หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
            ของคะแนน         2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสมัครใจที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก             -  เตาชีวมวล จำนวน 4 ครัวเรือน เหตุผลที่ใช้เตาชีวมวลของครัวเรือนที่สมัครคือ ฟีนหาได้ง่ายและสนใจนวัตกรรมเตาชีวมวลที่ได้ให้ความรู้ไปในการเข้าร่วมกิจกรรม             -  พลังงานแสงอาทิตย์ 2 ครัวเรือน  เหตุผลที่ต้องการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะต้องการนำไปใช้ภายในครัวเรือนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เกินเป้าหมายไว้ 8 คน

 

30 0

4. จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 2.3)

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานโดยทำจดหมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนชะรัดชนูปถัมภ์ศูนย์  เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครการ ฯ พร้อมกันนี้ได้ขออนุญาตใช้สถานที่ เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและคณะครูในความรับผิดชอบของโรงเรียนเป้าหมายจำนวน  30 คน

  1. เตรียมเอกสารแบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด แบบฟอร์มการบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องพลังงาน สื่อวิดีทัศน์ แผ่นป้ายชื่อ โครงการ ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการ
เป้าหมาย 30 คน       1. วันทำกิจกรรม เวทีทำความเข้าใจ เรื่องสถานะการณืด้านพลังงานในปัจจุบัน           1.1. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนเรียน           1.2 การอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งฉายภาพ วิดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ                   นายจิรัฐพล  สอนทอง เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ
                  - เรื่องพลังานจากแสงอาทิตย์และสอนสาธิตการต่อวงจรไฟฟ้าจากแผ่นโซล่าเซลล์เพื่อนำมาใช้กับแสงสว่าง                   - ชวนคิดชวนคุยเรื่องพลังงานในครัวเรือน                 - เรื่องพลังงานน้ำและพลังงานจากลม               นายชำนาญ สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                 - เรื่องพลังงานจากชีวมวลและแก๊วชีวภาพ               นางสุภาพร สงชู เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ                   - เรื่องสถานะการณ์พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน

      2. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบหลังเรียน

      3. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมซักถามข้อสงสัยในเรื่่องความรู้ที่ได้อบรม

      4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัตการทดลองการต่อวงจรจากแผ่นโซล่าเซลล์เพื่อนำมาใช้กับแสงสว่าง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม           เพื่อสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญ ด้านพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ พลังงานเตาชีวมวล และพลังงานจากแก๊สชีวภาพ รวมไปถึงพลังงานลมและพลังงานน้ำสามารถแยกคำว่า พลังงานสิ้นเปลืงและพลังงานหมุนเวียนแตกต่างกันอย่างไร และต้องการให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดคิดค้น นวัตกรรมการใช้พลังงานทางเลือกมากยิ่งขึ้น           เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนคิดค้นออกแบบนวัตกรรมวิธีการนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น           เพื่อให้คณะครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสถานะการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น           มีการจดบันทึกการใช้พลังงานในครัวเรือนเพื่อนำมาประเมินค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้านพลังงานได้

สรุปผลการดำเนินการ         1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยแบบทดสอบจะมีทั้งหมด 12 ข้อ และผู้ผ่านการประเมินจะต้องตอบคำถามหลังการเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 9 ข้อ หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
            ของคะแนน         2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสมัครใจที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก             -  เตาชีวมวล จำนวน 3 ครัวเรือน เหตุผลที่ใช้เตาชีวมวลเพราะสนใจนวัตกรรมเตาชีวมวล             -  คระครูที่เข้าอบรมรับความรู้ขยายผลบอกต่อไปยังสถานศึกษา อื่น

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เกินเป้าหมายไว้ 35 คน

 

30 0

5. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่3.1)

วันที่ 10 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการ 1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนและ การสร้าง ทำชุดสาธิต ประกอบการเรียนทำเตาชีวมวล
2. จัดทำเอกสารชุดความรู้ เรื่องเตาชีวมวลและการใช้งาน 3. จัดวิทยากรอบรมให้ความรู้ และสาธิตการสร้างเตาชีวมวล เรื่องการทำเตาชีวมวล นวัตกรรมใหม่ (เตาจรวด)
4. ประสานงาน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เพื่อจัดอบรมการสร้างเตาชีวมวล แบบเตาจรวด 5. จัดหาเตาชีวมวลแบบประยุกต์ชนิดไร้ควัน ขนาด 2 หัวเตา เป็นชุดเรียนรู้ 6. จัดเตรียมสถานที่่เพื่อใช้ในการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการวันอบรมให้ความรู้

  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งหมด 26 คน ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่ใช้ฟืนและถ่านในการหุงต้มอยู่แล้ว

  1. นายชำนาญ สงชู วิทยากรผู้ให้ความรู้ด้านสร้างเตาชีวมวล (เตาจรวด)       - สอนหลักการทำงานที่ดีในการออกแบบเตาชีวมวล       - สอนขั้นตอนการตัดเหล็กในการสร้างเตาชีวมวล       - เทคนิคการทำเตาจรวด ให้ประหยัดต้นทุน       -  ขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากเตาชีวมวลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  1. แจกเอกสารชุดความรู้เรื่องเตาชีวมวลให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

    1. สอนวิธีการบันทึกข้อมูลด้านพลังงานในครัวเรือนให้แก่ผู้สมัครใจปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดและผู้เข้าร่วมอบรมพร้อมทั้งมอบแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลให้กับผู้เข้าร่วมอบรม

    2. กำหนดกติกาให้ครัวเรือนที่รับการหนุนเสริมจาก โครงการ ฯ
            - โดยให้ครัวเรือนที่ได้รับการหนุนเสริมต้องทำการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานภายในคร้วเรือน ทุกเดือน       - ข้อมูลที่บันทึกจะต้องมอบให้คณะทำงานของโครงการ ฯ ทุกครั้งที่คณะทำงานร้องขอ       - ข้อมูลที่ครัวเรือนบันทึกและส่งมอบให้คณะทำงานของโครงการ ฯ ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ อนุญาตให้เปิดเผยและนำมาสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะได้โดยไม่มีเงื่อนไข       - หากครัวเรือนใดที่รับอุปกรณ์หนุนเสริมไปแล้ว (เตาจรวด) ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามที่คณะทำงานของโครงการ ฯ เห็นสมควร คณะทำงานของโครงการ ฯ สามารถเรียกคืนและนำไปให้แก่บุคคลอื่นที่สนใจที่
              ต้องการรับการหนุนเสริมได้ทุกกรณี ทั้งนี้ทั้งนั้นอุปกรณ์ที่หนุนเสริมไปนั้นต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี

  5. ครอบครัวที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ฯ จำนวน 13 ครัวเรือน และรับมอบอุปกรณ์หนุนเสริม (เตาจรวด) หลังจากการปิดอบรมไปเป็นที่เรียบร้อย

  6. ผู้ที่เข้าร่วมอบรมที่มีทักษะในการทำงานเหล็กและโลหะมาก่อนสามารถผลิตเตาชีวมวลใช้เองและผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้

 

20 0

6. ส่งสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง และในระดับครัวเรือนอย่างน้อย 10 ครัวเรือน (กิจกรรมที่ 4.1)

วันที่ 10 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนเตรียมการเพื่อทำกิจกรรม   - คณะทำงานของโครงการ ฯ คัดเลือกเป้าหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายพื้นที่การเรียนรู้เรื่องการจัดการพลังงานในชุมชน   - รับสมัครครัวเรือนที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ระดับครัวเรือนจำนวน 13 ครัวเรือน   - จัดหาวัสดุอุปกรณ์หนุนเสริมให้กับแหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน จำนวน 2 ครัวเรือน   - จัดหาวัสดุอุปกรณ์หนุนเสริมให้กับครัวเรือนที่ต้องการปรับเปลี่ยน จำนวน 13 ครัวเรือน   - จัดทำป้ายสื่อการเรียนในแหล่งเรียนรู้ ระดับชุมชนและระดับครัวเรือน -  จัดประชุมเพื่อกำหนดกติกาของศูนย์เรียนรู้ทั้งระดับชุมชนและระดับครัวเรือน   - เตรียมช่างและเครื่องมือในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดให้กับแหล่งเรียนรู้ที่กำหนด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินในกิจกรรม

  1. มีครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นศูนย์เรียนรู้ระดับครัวเรือน จำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด คือ เตาชีวมวล
  2. มีแหล่งเรียนรู้ระดับชุมชนด้านพลังงานสะอาด จำนวน 2 แหล่งเรียนรู้   2.1 แหล่งเรียนรู้ ชื่อโรงเรียนฅนกินแดด เลขที่ 153 ม.9 ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100เปอร์เซ็นต์ และใช้พลังงานเตาชีวมวล   2.2 แหล่งเรียนรู้ ชื่อเครือข่ายฅนกินแดด ตั้งอยู่ที่ศูนย์รวมพันธุกรรมพืชตำบลลำสินธุ์ เลขที่ 212 ม. 7  ต.ลำสินธุ์  อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานเตาชีวมวล
  3. มีการกรอกใบสมัครเพื่อความสมัครใจในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดจากทุกแหล่งเรียนรู้
  4. มีการกำหนดกติการเป็นแหล่งเรียนรู้ดังต่อไปนี้     4.1  ทางแหล่งเรียนรู้ต้องจดบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความสะดวกในการทำงาน และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้น     4.2  แหล่งเรียนรู้จะต้องบอกต่อข้อมูลเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนแก่ผู้อื่นได้

 

20 0

7. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการ 1.จัดเตรียมเอกสารคู่มือประกอบการเรียนรู้ เรื่องระบบโซล่าเซลล์ขั้นพื้นฐาน 2. จัดทำวิดีทัศน์ในการฝึกอบรมและแผ่นป้ายประกอบการอบรม 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในการอบรม เช่น แผ่นโซล่าเซลล์ คอนโทรลชารท์ แบตเตอรี่ สายไฟ และหลอดไฟ เป็นต้น
4. จัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ และ สาธิตการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์ 5. ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้ารับการอบรม โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, ทางไลน์(Line)กลุ่มเครือข่ายพันธุกรรมพืช, เครือข่ายฅนกินแดด, เครือข่ายประมงอาสา และช่องทางอื่นๆ โดยมีเป้าหมาย มีผู้สมัคร รวม 20 คน 6. จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการวันฝึกอบรม   เป้าหมายในการอบรมจำนวน 20 คน   1.แนะนำคณะทำงานโครงการ ฯ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จัก และชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ

  2. นายชำนาญ สงชูเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้     -  องค์ประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้พื้นฐานการผลิตและชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์

  3. นายจิรัฐพล สอนทองเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้     -  ความรู้เรื่องหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้เรื่องหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้หลักการบริหารการใช้พลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์     -  หลักการคำณวนและการใช้สูตรของไฟฟ้าเบื้องต้น     -  การคิดและคำณวนการลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในครัวเรือน     -  การสาธิตการต่อวงจรในระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฎิบัติจริงจากอุปกรณ์สื่อการสอนที่เตรียมไว้     - การใช้เครื่องมือและอ่านค่าต่างของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์และแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในระบบโซล่าเซลล์   - ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาดูงานการใช้ระบบโซล่าเซลล์ภายในครัวเรือนและการใช้ระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร

ผลจากการทำกิจกรรม

  1. ความรู้ที่ได้รับ แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

    -  พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานโซลาร์เซลล์ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้ในบ้านเรือนและในภาคการเกษตรได้ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานทางเลือก ที่มีให้ใช้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาจนกว่าโลกนี้จะไม่มีดวงอาทิตย์

    -  พลังงานแสงอาทิตย์ เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับบ้านเรือน หรือสถานที่ ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเสาไฟฟ้า ค่าลงเสา และค่าสายไฟที่ยิ่งส่งไกลจะยิ่งแพงขึ้น เป็นต้น การผลิตไฟฟ้าใช้เอง ทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานภายในครัวเรือนไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก

    -  ได้เรียนรู้ว่า อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ มีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างมีหลักการทำงานอย่างไร

    -  ได้เรียนรู้วิธีคิด คำนวนหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และคำนวนหาค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้ลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน

    -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตระหนัก ต่อการบริหารจัดการ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง เพื่อให้มีพลังงานไว้ใช้ไปอีกยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน

2.  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตั้งใจว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการใช้งานดังนี้

    - ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ในสวนเกษตร

    - ไปติดตั้งระบบน้ำหมุนเวียน ให้ออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
    - ไปติดตั้งระบบแสงสว่างภายในบ้าน เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า โดยเริ่มจากระบบเล็กๆ ลงทุนทีละน้อยแล้วค่อยขยายปริมาณการผลิตให้เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อดีของระบบการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถ้างบประมาณยังมีไม่เพียงพอ

    - ไปติดตั้งระบบสูบน้ำ และ ระบบแสงสว่างในห้องอบสมุนไพร และโฮมสเตย์ ที่ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

หมายเหตุ

      - มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งหมด 29 คน เกินเป้าหมายที่วางไว้ 9 คน       - เกิดเครือข่ายผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 3 ราย       - ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานแต่มีความต้องการจะใช้ในอนาคต 26 คน

 

20 0

8. กิจกรรมบริการความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานด้านพลังงานสะอาด ณ แหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน (กิจกรรมที่ 4.2)

วันที่ 21 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ติดต่อประสานงานไปยังโรงเรียน กลุ่มเกษตรกร หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงานจังหวัดพัทลุง เพื่อแจ้งให้ทราบว่าแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานสะอาดระดับชุมชน จากโครงการ การจัดการพลังงานสะอาด เปิดให้มีการเข้ามาศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาตัวเองและสังคม
  2. จัดสถานที่ให้เหมาะสมต่อการเข้ามาศึกษาดูงาน
  3. กำหนดให้มีฐานการเรียนรู้ ตามระดับความเหมาะสม ต่อผู้เข้ามาศึกษาดูงาน
  4. มีการจัดวงอภิปราย ถาม-ตอบ แบบปากเปล่า เพื่อทดสอบผู้เข้ามาเรียนรู้ ว่าได้รับความรู้ไปมากน้อยแค่ไหน และต้องการให้แหล่งเรียนรู้ปรับปรุงหรือพัฒนาอะไรอีกบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินการ 1. มีผู้เข้ามาศึกษาดูงาน ณ แหล่งเรียนรู้ ทั้งหมด 52 คน เดินทางมาจากโรงเรียนศรีบรรพตพิทยาคม อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

  1. กำหนดฐานการเรียนรู้ เป็น 4 ฐาน ได้แก่
        2.1 พลังงานแสงอาทิตย์กับการใช้ในครัวเรือน
        2.2 พลังงานแสงอาทิตย์ กับการใช้งานในภาคการเกษตร และการประมง
        2.3 พลังงานชีวมวล สาธิตการใช้เตาชีวมวลประหยัดฟืน
        2.4 เตาเผาถ่านผลิตน้ำส้มควันไม้

  2. วงอภิปราย ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ช่วยกันสรุปเรื่องที่ได้มาศึกษาเรียนรู้ตามฐานการเรียน วิทยากรชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาพลังงานในปัจจุบัน ทัศนคติด้านการใช้พลังงานในอนาคต แก่นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน

  3. นักเรียนกล่าวแสดงความตั้งใจ ที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อให้กับคนอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้เพื่อนำไปใช้งานในครัวเรือนหรือในแปลงเกษตร เพื่อจะได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง

 

50 0

9. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่3.2)

วันที่ 3 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการ 1.จัดเตรียมเอกสารคู่มือประกอบการเรียนรู้ เรื่องระบบโซล่าเซลล์ขั้นพื้นฐาน 2. จัดทำวิดีทัศน์ในการฝึกอบรมและแผ่นป้ายประกอบการอบรม 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในการอบรม เช่น แผ่นโซล่าเซลล์ คอนโทรลชารท์ แบตเตอรี่ สายไฟ และหลอดไฟ เป็นต้น
4. จัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ และ สาธิตการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์ 5. ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้ารับการอบรม โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, ทางไลน์(Line)กลุ่มเครือข่ายพันธุกรรมพืช, เครือข่ายฅนกินแดด, เครือข่ายประมงอาสา และช่องทางอื่นๆ โดยมีเป้าหมาย มีผู้สมัคร รวม 20 คน 6. จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการวันฝึกอบรม   เป้าหมายในการอบรมจำนวน 20 คน   1.แนะนำคณะทำงานโครงการ ฯ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จัก และชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ   2. นายจิรัฐพล สอนทองเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้     2.1  องค์ประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์     2.2  ความรู้พื้นฐานการผลิตและชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์     2.3  ความรู้เรื่องหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์     2.4  ความรู้เรื่องหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์     2.5  ความรู้หลักการบริหารการใช้พลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์     2.6  หลักการคำณวนและการใช้สูตรของไฟฟ้าเบื้องต้น     2.7  การคิดและคำณวนการลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในครัวเรือน     2.8  การสาธิตการต่อวงจรในระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฎิบัติจริงจากอุปกรณ์สื่อการสอนที่เตรียมไว้     2.9 การใช้เครื่องมือและอ่านค่าต่างของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์และแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในระบบโซล่าเซลล์   2.10 ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาดูงานการใช้ระบบโซล่าเซลล์ภายในครัวเรือนและการใช้ระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร

ผลการอบรม
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจหลักการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ได้ถูกต้อง   2. ผู้เข้าร่วมอบรมเลือกใช้ระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้เหมาะสมกับตนเองเพื่อลดการลงทุน   3. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถคำณวนต้นทุนในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ได้   4. เกิดเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์

หมายเหตุ
      - มีผู้ใช้ระบบโซล่าเซลล์ในการอบบรมครั้งนี้ 4 คน       - หลังจากการอบรมให้ความรู้ มีคนสนใจที่จะใช้ะบบโซล่าเซลล์ในอนาคตเพิ่อมเติม 16 คน

 

20 0

10. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่3.4)

วันที่ 3 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการ 1.จัดเตรียมเอกสารคู่มือประกอบการเรียนรู้ เรื่องระบบโซล่าเซลล์ขั้นพื้นฐาน 2. จัดทำวิดีทัศน์ในการฝึกอบรมและแผ่นป้ายประกอบการอบรม 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในการอบรม เช่น แผ่นโซล่าเซลล์ คอนโทรลชารท์ แบตเตอรี่ สายไฟ และหลอดไฟ เป็นต้น
4. จัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ และ สาธิตการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์ 5. ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้ารับการอบรม โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, ทางไลน์(Line)กลุ่มเครือข่ายพันธุกรรมพืช, เครือข่ายฅนกินแดด, เครือข่ายประมงอาสา และช่องทางอื่นๆ โดยมีเป้าหมาย มีผู้สมัคร รวม 20 คน 6. จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการวันฝึกอบรม   เป้าหมายในการอบรมจำนวน 20 คน   1.แนะนำคณะทำงานโครงการ ฯ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จัก และชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ

การาให้ความรู้   2. นายชำนาญ สงชูเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้     -  องค์ประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้พื้นฐานการผลิตและชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์

  3. นายจิรัฐพล สอนทองเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้     -  ความรู้เรื่องหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้เรื่องหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์     -  ความรู้หลักการบริหารการใช้พลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์     -  หลักการคำณวนและการใช้สูตรของไฟฟ้าเบื้องต้น     -  การคิดและคำณวนการลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในครัวเรือน     -  การสาธิตการต่อวงจรในระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฎิบัติจริงจากอุปกรณ์สื่อการสอนที่เตรียมไว้     - การใช้เครื่องมือและอ่านค่าต่างของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์และแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในระบบโซล่าเซลล์     - ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาดูงานการใช้ระบบโซล่าเซลล์ภายในครัวเรือนและการใช้ระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร

ผลจากการทำกิจกรรม

  1. ความรู้ที่ได้รับ แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

    -  พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานโซลาร์เซลล์ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้ในบ้านเรือนและในภาคการเกษตรได้ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานทางเลือก ที่มีให้ใช้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาจนกว่าโลกนี้จะไม่มีดวงอาทิตย์

    -  พลังงานแสงอาทิตย์ เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับบ้านเรือน หรือสถานที่ ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเสาไฟฟ้า ค่าลงเสา และค่าสายไฟที่ยิ่งส่งไกลจะยิ่งแพงขึ้น เป็นต้น การผลิตไฟฟ้าใช้เอง ทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานภายในครัวเรือนไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก

    -  ได้เรียนรู้ว่า อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ มีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างมีหลักการทำงานอย่างไร

    -  ได้เรียนรู้วิธีคิด คำนวนหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และคำนวนหาค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้ลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน

    -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตระหนัก ต่อการบริหารจัดการ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง เพื่อให้มีพลังงานไว้ใช้ไปอีกยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน

2.  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตั้งใจว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการใช้งานดังนี้

    - ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ในสวนเกษตร

    - ไปติดตั้งระบบแสงสว่างภายในบ้าน เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า โดยเริ่มจากระบบเล็กๆ ลงทุนทีละน้อยแล้วค่อยขยายปริมาณการผลิตให้เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อดีของระบบการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถ้างบประมาณยังมีไม่เพียงพอ

    - ไปติดตั้งระบบสูบน้ำ และ ระบบแสงสว่างในเถียงปลายนา

หมายเหตุ

      - มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งหมด 26 คน เกินเป้าหมายที่วางไว้ 6 คน       - เกิดเครือข่ายผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 3 ราย       - ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานแต่มีความต้องการจะใช้ในอนาคต 26 คน       - ผู้เข้าร่วมอบรมมาจากต่างจัวหวัดที่สนใจใช้ระบบโซล่าเซลล์แต่ขาดองค์ความรู้ในพื้นที่เหล่านั้น

 

20 0

11. จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่3.5)

วันที่ 11 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการเพื่อทำกิจกรรม 1. คณะทำงานลงพื้นที่ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อศึกษาและดูวิธีการผลิตแก๊สชีวภาพและการนำไปใช้ในครัวเรือนของคุณธนัญธิตา แสงสว่าง เพื่อประกอบการวางแผนในการทำกิจกรรมจัดอบรมให้
    ความรู้เกี่ยวกับการผลิตแก็สชีวภาพ 2. จัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อประกอบการบรรยายและสาธิต เรื่อง การใช้พลังงานสะอาดจากแก๊สชีวภาพ 3. จัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดจากแก๊สชีวภาพ 4. ประกาศรับสมัครผู้เข้ากิจกรรมการเพื่อเข้ารับการอบรม โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, ทางไลน์(Line)กลุ่มเครือข่ายพันธุกรรมพืช, เครือข่ายฅนกินแดด, เครือข่ายประมงอาสา และช่องทางอื่นๆ โดยมีเป้าหมาย
    รับผู้สมัคร 20 คน 5. ประสานงานกับเจ้าของสถานที่ เพื่อเตรียมสถานที่การจัดอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

** มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งหมด 22 คน โดยแบ่งเป็นผู้ที่ใช้งานแก๊สชีวภาพอยู่แล้ว 3 คน และยังไม่เคยใช้งานแต่สนใจที่จะผลิตแก๊สชีวภาพใช้ในอนาคต 19 คน วิทยากรผู้ให้ความรู้เรื่องแก๊สชีวภาพ คุณธนัญธิตา แสงสว่าง   - เล่าประสบการณ์การใช้แก๊สชีวภาพขนาด 5000 ลิตรที่ผลิตใช้เองในครัวเรือน   - แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบในการนำมหมักให้เกิดแก็สชีวภาพ   - การใช้ประโยชน์และวิธีนำไปใช้ในครัวเรือน

ความรู้ที่ผู้เข้าร่้วมอบรมได้รับ

  1. ด้านวิชาการและปฎิบัติการ : สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพ ว่าแต่ละอย่างมีหน้าที่อย่างไร และถ้าต้องการจะผลิตแก๊สชีวภาพได้ด้วยตัวเอง ต้องมีวินัยในการจัดการอย่างไร และต้นทุนในการผลิตแก๊สให้ได้ปริมาณตามที่ต้องการใช้นั้นมีเท่าไหร่

  2. ด้านพฤติกรรม  :  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน โดยลดการใช้แก๊สหุงต้มแอลพีจี (LPG) แล้วหันมาใช้แก๊สชีวภาพแทนในอนาคต เพราะสามารถผลิตได้จากมูลสัตว์เลี้ยงและจากเศษอาหาร ส่งผลให้มีพฤติกรรมการคัดแยกขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนได้อีกต่อหนึ่งด้วย

  3. ด้านเศรษฐกิจ  :  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รู้วิธีการปรับลดรายจ่ายจากการซื้อแก๊สหุงต้ม ด้วยการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เอง และได้ทราบว่า เศษอาหาร หรือของเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ผ่านการหมักในบ่อแก๊ส สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ในแปลงเกษตร

  4. ด้านสังคมชุมชน  :  ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องแก๊สชีวภาพ ทั้งในด้านวิธีการผลิต การใช้เศษอาหาร เช่น โคนเห็ด กากมะพร้าว น้ำล้างปลา จะทำให้เกิดแก๊สจากการหมักเร็วขึ้น ถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อสามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้มากขี้น รวมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเวลาแก๊สไม่ออกมาตามท่อส่งแก๊ส ซึ่งต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้าในท่อส่งนั่นเอง

    1. ด้านสิ่งแวดล้อม : สามารถลดปํญหาด้านขยะอินทรีย์โดยการนำมาหมักเป็นแก๊สชีวภาพใช้ภายในครัวเรือน

 

20 0

12. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (กิจกรรมที่ 5.1)

วันที่ 15 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ประชุมทีมโครงการ เพื่อออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล และจัดทำเอกสารแบบบันทึกข้อมูล
2. นัดวันลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายครัวเรือน โดยประสานงานกับชาวบ้านในครัวเรือนที่ร่วมโครงการ 3. ลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์
4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการจัดทำแผนพลังงานชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนิการ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้พลังงาน เป้าหมายครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด และครัวเรือนที่ยังไม่ได้ทำการปรับเปลี่ยน จำนวน 13 ครัวเรือน

**ผลการใช้งานเตาชีวมวล (สำหรับครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยน และจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระดับครัวเรือน) 1. เตาชีวมวลมีการประหยัดไม้ฟืนได้จริง โดยปกติจะมีการใช้ไม้ฟืนเดือนละ 35กระสอบ ตอนนี้ลดลงเหลือ 20กระสอบ สำหรับครัวเรือนที่มีอาชีพปรุงแกงขาย 2. เตาชีวมวลจุดติดไฟได้เร็ว 3. เตาชีวมวลบางบ้านบอกว่าให้ความร้อนช้า ควรปรับปรุงให้เพดานรองฟืน ขยับขี้นมาใกล้กับขาวางของหม้อหุงต้ม 4. บางครัวเรือน สามารถใช้ฟืนมาแทนแก๊สแอลพีจี  ตั้งแต่มีเตาชีวมวล ค่าใช้จ่ายด้านแก๊สจึงลดลงมา

**ข้อมูลที่่ควรวิเคราะห์ 1. พลังงานที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด คือ พลังงานน้ำมัน
2. ช่วงเดือนเมษายน มีการใช้น้ำมากขึ้นทุกบ้าน โดยปริมาณการใช้น้ำเพิ่มเป็นสองเท่าจากเดิม 3. มีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง จากการสร้างความตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

**ปัญหาที่เกิดขี้นระหว่างดำเนินกิจกรรมเก็บข้อมูลปฏิบัติการลงพื้นที่

  1. การลงพื้นที่ ต้องมีการนัดล่วงหน้า และบางบ้านต้องไปซ้ำ เพราะเจ้าของบ้านไม่อยู่บ้าน สาเหตุคือลืมนัด หรือ ติดธุระกระทันหัน

  2. ควรลงพื้นที่อย่างน้อย 2 คน เพื่อความสะดวกในการทำงาน

 

16 0

13. จัดนิทรรศการนอกสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้และบริการความรู้ด้วยชุดสาธิตพลังงานสะอาด (กิจกรรมที่ 4.3)

วันที่ 4 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานกับเครือข่ายผู้จัดงาน เพื่อแจ้งความประสงค์การจัดนิทรรศการ ตามวันและเวลาที่กำหนด พร้อมการเดินทางไปดูสถานที่ที่จะออกไปจัดนิทรรศการ

  1. จัดเตรียมชุดนิทรรศการ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน รวมไปถึงจัดเตรียมเครื่องขยายเสียง เครื่องฉายภาพ ป้ายความรู้ และเอกสารที่เกี่ยวกับความรู้ด้านพลังงาน

  2. ประสานงานวิทยากร ผู้ให้ความรู้ประจำวัน รวมทั้งหมด 3 วัน

  3. รับสมัครผู้สนใจเข้าเรียนเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ภายในงาน ซึ่งจะจัดให้มีการเรียนการสอนในวันสุดท้ายของงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินการการจัดนิทัศนการ 1. มีผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการที่ลงทะเบียน ทั้งหมด 122 คน โดยแบ่งเป็นประชาชนทั่วไป และ นักเรียน

  1. ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และข้าราชการบ้างเล็กน้อย ส่วนนักเรียนเป็นนักเรียนชั้นประถมและมัธยม

  2. มีผู้สมัครเรียนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด 17 คน แต่มาเรียนจริง 8 คน มาจากจังหวัดใกล้เคียง 2 คน

  3. ชุดนิทรรศการที่ประชาชนสนใจมากที่สุดคือ เครื่องสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ รองลงมาคือ เตาชีวมวล(เตาจรวด) สุดท้ายคือแก๊สชีวภาพ เนื่่องจากคนให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการน้ำในสวน โดยเฉพาะแปลงเกษตรที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

  4. ผู้ที่สนใจเรื่องเตาชีวมวล เพราะเห็นว่าที่บ้านมีไม้ฟืนมาก และรูปทรงของเตากระทัดรัด พกพาไปเข้าสวนหรือสถานที่อื่นๆ ได้สะดวก และช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องแก๊ส LPG

ุ6. ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ จะสนใจเรื่องการผลิตแก๊สชีวภาพ แต่ยังกังวลเรื่องต้นทุน และปริมาณมูลสัตว์กับขยะอินทรีย์ว่าจะมีเพียงพอหรือไม่ในแต่ละวัน แต่สิ่งที่จูงใจอยากผลิตแก๊สเองได้ นอกจากจะได้แปลงมูลสัตว์เป็นแก๊สแล้ว ยังหวังว่าจะได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีประสิทธิภาพดีด้วย

  1. มีการติดต่อสอบถามถึงที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้ของโครงการฯ และทางคณะทำงานก็ได้แนะนำเพิ่มเติมถึงแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่อยู่ใกล้ตัวผู้สอบถามเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปหาความรู้

  2. ในส่วนของนักเรียน เบื้องต้นมีความสนใจเรื่องปัญหาโลกร้อน และ พวกเขาอยากให้โลกนี้อยู่กับเขาไปนานๆ พวกเขาไม่อยากให้เกิดพายุรุนแรง อยากให้ฝนตกตามฤดูกาล และอากาศไม่ร้อน ทางคณะทำงานโครงการ ฯได้สอบถามพูดคุย และแนะนำกับนักเรียนว่า วิธีการลดโลกร้อนทำได้อย่างไรบ้าง นักเรียนตั้งในฟัง และช่วยกันตอบปัญหาถึงวิธีการลดโลกร้อน เช่น บางคนตอบว่าปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เป็นต้น

  3. คณะทำงานโครงการ ฯ งานได้ตั้งคำถามนักเรียนว่าใครหุงข้าวกับไม้ฟืนเป็นบ้าง จากเด็ก 12 คน มีคนยกมือแค่คนเดียว นั่นแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานยังมีน้อย ถ้าพลังงานจากแก๊สหมดไปจากโลก เด็กๆ จะทำอย่างไร มันเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องคิด และ ต้องฝึกสอน รวมทั้งสร้างความตระหนัก เรื่องการพึ่งตนเองด้านพลังงานในครัวเรือน เพื่อความมั่นคงและลดค่าใช้จ่าย รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อม

  4. การจัดนิทรรศการครั้งนี้ ทางโครงการ ฯ  ได้รับความร่วมมือจากภาค๊คือสำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง เป็นชุดจำลอง (Model) แสดงแบบระบบสูบน้ำประปาหมู่บ้านจากพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตแก๊สชีวภาพในฟาร์มสัตว์ และโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ จากสำนักงานพลังงานจังหวัด รวม 4 ชุด

 

100 0

14. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2562 (กิจกรรมที่ 5.2)

วันที่ 10 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ 1. ประชุมทีมโครงการ เพื่อออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล และจัดทำเอกสารแบบบันทึกข้อมูล
2. นัดวันลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายครัวเรือน โดยประสานงานกับชาวบ้านในครัวเรือนที่ร่วมโครงการ 3. ลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์
4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการจัดทำแผนพลังงานชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้พลังงาน เป้าหมายครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด และครัวเรือนที่ยังไม่ได้ทำการปรับเปลี่ยน จำนวน 13 ครัวเรือน (ระยะที่ 2)

**ผลการใช้งานเตาชีวมวล (สำหรับครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยน และจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระดับครัวเรือน)

1.สำหรับครัวเรือนที่มีอาชีพค้าขาย เตาชีวมวลทำให้ลดต้นทุนด้านพลังงานจากแก๊สแอลพีจี อย่างเห็นได้ชัดเจนและลดการใช้ฟีนได้ด้วยทำให้ประหยัดเวลาในการเก็บฟืน
2.ครัวเรือนที่ใช้เตาชีวมวลสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และประโยชน์ของการใช้เตาชีวมวลให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้รับรู้

3.หลังจาการใช้เตาชีวมวลไปได้สักระยะ จะสามารถวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของเตาชีวมวลชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นเตาทั่วไปที่มีขายในท้องตลาดเปลืองไม้ฟืนมากกว่าเต่าชีวมวลที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เข้าใจหลักการการเผาใหม้ของเตาชีวมวล 4.มีการคิดวิธีจะทำให้เตาชีวมวลมีประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น และประยุกใช้เป็นเตาเผาขยะเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้

**ข้อมูลทั่วไป 1. พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงป็นพลังงานที่ครัวเรือนใช้มากที่สุด ข้อสังเกตุ บางครัวเรือนมีรถจักยานยนต์มากเท่ากับจำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน

  1. การลงเก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ทางทีมงานได้แสดงตัวเลขค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานชนิดต่าง ๆให้เจ้าของครัวเรือนทราบอย่างละเอียดและเน้นย้ำให้ประหยัดการใช้อยู่เสมอ

  2. การใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือน ยังคงอยู่ในเกณฑ์สม่ำเสมอ เพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วยังปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณืที่ประหยัดไฟ เช่นหลอดไฟแสงสว่าง หรือตู้เย็นรุ่นเก่า ๆ

 

20 0

15. จัดทำแผนการจัดการพลังงานชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน(กิจกรรมที่ 6 )

วันที่ 24 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม   - คณะทำงานเตรียมเครื่องมือเป็นแบบสอบถามและการกรอกข้อมูลการใชัพลังงานในครัวเรือนในการสำรวจข้อมูลการใช้พลังงานในชุมชนเป้าหมาย   - คณะทำงานโครงการ ฯ รวบรวมผลการสำรวจเก็บข้อมูลในครัวเรือนเป้าหมาย   - คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การใช้พลังงานของครัวเรือนเป้าหมาย   - คณะทำงานสรุปผลการเก็บข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการทำโครงการ ฯ   - คณะทำงานโครงการ ฯ กำหนดวันประชุมชี้แจงการนำส่งข้อมูลที่ได้สำรวจคืนสู่ชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินการ   - การลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือนทุกเดือนที่ได้กำหนดไว้ตามแผนงานเบื้องต้น   - การเก็บข้อมูลด้านพลังานแต่ละครั้งจะทำการสรุปรายจ่ายด้านพลังงานให้กับครัวเรือนนั้น ๆ ได้รับทราบและแนะนำการประหยัดการใช้พลังงานหรือแนะนำให้ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น   - ได้รับทราบปัญหาในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน เช่น  การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่ยังไม่ชำรุดเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย การ ลงทุนในด้านพลังงานแสงแดดจะมีการลงทุนที่สูง   - ผู้นำในชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญในการรณรงค์ให้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเท่าที่ควร   - ผลการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนเป้าหมาย สรุปรวมทุกครัวเรือน ระยะเวลา 10 เดือน ตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ ฯ กำหนด  แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้       1.การใช้น้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้ 4312 ลิตร คิดเป็นเงิน 116,260 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหกพันสองร้อยหกสิบบาทถ้วน)       2.การใช้น้ำมันเบนซิลหรือแก๊ซโซฮอร์ ปริมาณการใช้ 2,901 ลิตร คิดเป็นเงิน 79,345 บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันสามร้อยสี่สิบห้าบาทถ้วน)       3.การใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ 10,365 หน่วย คิดเป็นเงิน 46,371 บาท (สี่หมื่นหกพันสามร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทถ้วน)       4.การใช้แก๊สหุงต้มหรือแอลพีจี ปริมาณการใช้ 807 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 20,164 บาท (สองหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบสี่บาทถ้วน)       5.การใช้น้ำ ปริมาณการใช้ 1,598 หน่วย คิดเป็นเงิน 8,387 บาท (แปดพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดบาทถ้วน)       6.การใช้ถ่าน ปริมาณการใช้ 740 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 6,012 บาท (หกพันสิบสองบาทถ้วน)       7.การใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถสาธารณะ คิดเป็นเงินรวม 5,828 บาท (ห้าพันแปดร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน)       8.การใช้ฟืน ปริมาณการใช้ 5,077 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 0 บาท (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ผลจากการให้ความรู้ด้านการพลังงานทดแทน(การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์) จากการอบรมให้ความรู้ โดยแหล่งเรียนรู้ชุมชน (โรงเรียนฅนกินแดดพัทลุง) ทำให้มีผู้ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจำนวน11 ครัวเรือน และแต่ละครัวเรือนมีแผ่นโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองได้ดังนี้

    1.นายจิรัฐพล สอนทองทอง (โรงเรียนฅนกินแดดพัทลุง) จำนวน 1220 วัตต์     2.นายสหจร ชุมคช (แห่งเรียนรู้ในเครือข่ายโครงการ ฯ ) จำนวน 240 วัตต์     3.นายเลิศชาย จันทร์มูล                                        จำนวน 900 วัตต์     4.นายภาคิน เพชรสง                                            จำนวน 4000 วัตต์     5.นายประเสริฐ จันวนา                                          จำนวน 120 วัตต์     6.นายสมบัติ เพ็งมี                                                จำนวน 660 วัตต์     7.นายสันทัด เกลาฉีด                                            จำนวน 600 วัตต์ฺ     8.นายจิญาภร หุ้นเอียด                                          จำนวน 150 วัตต์     9.นายเสน่ห์ จุลฉีด                                                จำนวน 120 วัตต์     10.นายธนิต สมพงค์                                              จำนวน 600 วัตต์     11.นางจุฑารัตน์ เมฆเรือง                                        จำนวน 330 วัตต์

    ถ้าหากคิดเป็นกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตามขนาดของแผ่นโซล่าเซลล์ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเอาค่าเฉลี่ยที่เป็นมาตรฐาน โดยคิด 5 ชั่วโมงต่อวันแล้ว จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 44.7 กิโลวัตต์ต่อวัน หรือ 1.34 เมกกะวัตต์ต่อเดือน

สรุปผลผลการคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนเป้าหมายเพื่อทำแผนการใช้พลังงานในอนาคต
  1.การปรับเปลี่ยนให้คนในชุมชนหันมาใช้พลังงานด้านชีวมวลให้มากขึ้นนั้นต้องมีนวัตกรรมการเปลี่ยนชีวมวลจากไม้มาเป็นถ่านโดยต้องมีเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงและการใช้งานต้องง่ายและประหยัดเวลา   2.จะต้องประชาสัมพันธ์ ซ้ำ ๆ หรือควรให้มีเสียงตามสายในการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน   3.มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอในด้านพลังงานและมีแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลย๊่ในชุมชนเป้าหมาย   4.ควรส่งเสริมให้กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หันมาสนใจผลกระทบจากการใช้พลังงานต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกลุ่มเหล่านี้จะมีอิทธืพลต่อสังคมโดยรวมทั้งที่บ้านและสถานศึกษา   5.การสร้างครัวเรือนต้นแบบเป็นสิ่งจำเป็นต่อชุมชน ควรส่งเสริมและนำมาต่อยอดให้บุคคอื่นได้ปฎิบัติตามและเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ

แผนการจัดการพลังงานในอนาคต 1. ระดับนโยบาบเพื่อเสนอต่อภาครัฐ       - เสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาลม์น้ำมันรายย่อย รวมตัวกันเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากผลปาลม์เพื่อใช้แทนน้ำมันดีเซล       - ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานให้คลอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลังงานทดแทนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนได้ 2. ระดับภาคีความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรในพื้นที่       - ศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน       - ให้ผู้นำชุมชนประสานงานกับองค์กรภาครัฐเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้   3. ระดับชุมชนพึ่งพาตนเอง       - จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้สร้างร่มเงา       - ปรับเปลี่ยนอุปกรณืไฟฟ้าที่ชำรุดมาเป็นอุปกรรณืประหยัดพลังงาน       - เปลี่ยนฟืนมาเป็นถ่านแทนแก๊สแอลพีจี       - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานให้คุ้มค่า       - สร้างคนต้นแบบด้านพลังงาน       - จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ในการประหยัดพลังงานในทุกกิจกรรมของชุมชน

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานในระดับครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1) ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถวางแผนจัดการพลังงานในครัวเรือนของตนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2) เกิดข้อมูลสถานการณ์พลังงานชุมชน ....
0.00

 

2 2. เพื่อให้เกิดแผนชุมชน จัดการพลังงานชุมชน
ตัวชี้วัด : 1) เกิดแหล่งเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง 2) เกิดเครือข่ายผู้ใช้พลังงานสะอาดในชุมชน 3) เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน 4) เกิดแผนการจัดการพลังงานชุมชนอย่างน้อย 1 ชุมชน
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 360
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มประชากรที่ตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของพ 200
กลุ่มประชากรที่ได้รับประโยชน์จากการสอนและสาธิตการใ 150
ครัวเรือนที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก 10

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานในระดับครัวเรือน (2) 2.  เพื่อให้เกิดแผนชุมชน จัดการพลังงานชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่ 2.1) (2) จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 2.2) (3) จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 2.3) (4) เตรียมการเพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องพลังงานในครัวเรือน (กิจกรรมที่ 1) (5) จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่3.2) (6) จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่3.4) (7) จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่3.5) (8) จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่3.1) (9) ส่งสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง และในระดับครัวเรือนอย่างน้อย 10 ครัวเรือน (กิจกรรมที่ 4.1) (10) จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3) (11) การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562  (กิจกรรมที่ 5.1) (12) จัดทำแผนการจัดการพลังงานชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน(กิจกรรมที่ 6 ) (13) กิจกรรมบริการความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานด้านพลังงานสะอาด ณ แหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน (กิจกรรมที่ 4.2) (14) การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2562 (กิจกรรมที่ 5.2) (15) จัดนิทรรศการนอกสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้และบริการความรู้ด้วยชุดสาธิตพลังงานสะอาด (กิจกรรมที่ 4.3)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 6100-124

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายจิรัฐพล สอนทอง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด