stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการพลังงานสะอาดในชุมชน
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 6100-124
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรัฐพล สอนทอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ไพฑูรย์ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 100,000.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 80,000.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พลังงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการใช้เพื่อผลิตอาหาร การประกอบอาชีพ การผลิตวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า การให้แสงสว่าง และอื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น การใช้พลังงานจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตามจำนวนประชากร
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พลังงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการใช้เพื่อผลิตอาหาร การประกอบอาชีพ การผลิตวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า การให้แสงสว่าง และอื่นๆ อีกมากมาย
  เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น การใช้พลังงานจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและเริ่มขาดแคลนมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งการใช้พลังงานดังกล่าวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้ถ่านหิน จะก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide : SO2) สาเหตุของฝนกรด เขม่า ฝุ่น และควัน หรือแม้แต่เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม ก็ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น เพราะก่อให้เกิดปัญหาเรือนกระจก สร้างสภาวะโลกร้อน

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโลกร้อน มีดังนี้
๑. ผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น เมื่อปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นบวกกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลให้ระบบนิเวศของท้องทะเลเปลี่ยนไป กระทบต่อปริมาณและชีวิตของสัตว์น้ำ นั่นหมายถึงปริมาณอาหารของมนุษย์ก็ลดลงด้วย ผลกระทบนี้ยังรวมถึงภัยพิบัติธรรมชาติที่มีบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นอีกด้วย ๒. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง มีผลต่อการลดลงของรายได้ในผู้มีอาชีพจับสัตว์น้ำขาย
- รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวลดลง เพราะแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำที่เคยงดงามถูกเปลี่ยนไป - สินค้าทางการเกษตรลดลง เกษตรกรผลิตอาหารได้น้อยลง เพราะฤดูกาลไม่แน่นอน เช่น เกิดปัญหา บางปีฝนแล้ง บางปีน้ำท่วม บางปีเกิดพายุพัดทำลายรุนแรง
- ปัญหาน้ำท่วมก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบอุตสาหกรรม เช่น ก่อให้เกิดการใช้งบประมาณเพื่อการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดการไม่กล้าลงทุนถือเป็นการเสียโอกาส และเศรษฐกิจหยุดชะงัก ๓. ผลกระทบในด้านของสุขภาพ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เช่น การขยายตัวของแบคทีเรียก่อโรคเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มของยุงลายและยุงก้นปล่องก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้น เป็นต้น ยังรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

จากรายงานสภาพภูมิอากาศปี 2๕๕๙ ที่องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) เป็นผู้รวบรวม ได้ข้อสรุปที่ยืนยันว่าปี ๒๕๕๙ เป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา และเป็นสถิติอุณหภูมิโลกที่ร้อนต่อเนื่อง 3 ปี รายงานระบุว่า อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนระยะยาว และความรุนแรงของปรากฏการณ์เอล นีโญ โดยอุณหภูมิที่วัดได้จากพื้นผิวโลก ผิวน้ำทะเล และปริมาณก๊าซเรือนกระจกในปี 2๕๕๙ ล้วนอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา 137 ปี และสะท้อนถึงแนวโน้มของการเกิดภาวะโลกร้อน

รายงานชี้ด้วยว่า ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงทำสถิติใหม่ โดยค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศต่อปี วัดได้ที่ 402.9 ส่วนในล้านส่วน (ppm) หรือสูงกว่า 400 ppm เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การวัดสภาพชั้นบรรยากาศเพื่อเก็บข้อมูลในยุคใหม่ รวมถึงในการเก็บข้อมูลจากแกนน้ำแข็ง ซึ่งมีสถิติย้อนกลับไปได้ 800,000 ปี NOAA ระบุด้วยว่า "การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่สุดที่มนุษยชาติ และสิ่งมีชีวิตบนโลกกำลังเผชิญ" ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ต่ออนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาดการณ์ว่าหากอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นเช่นนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ. 2643 นักวิทยาศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ประมาณการว่า หากปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 450 ppm ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจของโลกก็จะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นตัวให้เป็นอย่างเดิมได้ (แผนยุทธศาสตร์องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2558-2562,2557) จึงจำเป็นที่ทั่วโลกจะต้องดำเนินมาตรการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน และประเทศไทยได้กำหนดมาตรการและแนวทางที่ชัดเจนเพื่อรองรับปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นผลให้มีการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน

การรณรงค์ให้ใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดโลกร้อน เช่น การใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม หรือกระทบน้อยกว่า และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ ลดการนำเข้าพลังงานของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น และช่วยลดภาระของประชาชนทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต และลดมลภาวะได้อีกด้วย และช่วยสร้างงานในภาคพลังงานหมุนเวียน ทั้งระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับประเทศ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานในระดับครัวเรือน

1) ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถวางแผนจัดการพลังงานในครัวเรือนของตนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2) เกิดข้อมูลสถานการณ์พลังงานชุมชน ....

0.00
2 2. เพื่อให้เกิดแผนชุมชน จัดการพลังงานชุมชน

1) เกิดแหล่งเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง 2) เกิดเครือข่ายผู้ใช้พลังงานสะอาดในชุมชน 3) เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน 4) เกิดแผนการจัดการพลังงานชุมชนอย่างน้อย 1 ชุมชน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 360
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มประชากรที่ตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของพ 200 -
กลุ่มประชากรที่ได้รับประโยชน์จากการสอนและสาธิตการใ 150 -
ครัวเรือนที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก 10 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,212.00 15 199,794.90
10 ม.ค. 62 จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่ 2.1) 0 11,300.00 17,860.00
24 ม.ค. 62 จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่ 2.2) 0 11,300.00 8,040.00
7 ก.พ. 62 จัดเวทีทำความเข้าใจเรื่องสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่ 2.3) 0 11,300.00 8,100.00
20 ก.พ. 62 เตรียมการเพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องพลังงานในครัวเรือน (กิจกรรมที่ 1) 0 6.00 6,000.00
23 ก.พ. 62 จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมที่3.2) 0 0.00 39,395.00
23 ก.พ. 62 จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 4 (กิจกรรมที่3.4) 0 8,400.00 9,180.00
23 ก.พ. 62 จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 5 (กิจกรรมที่3.5) 0 0.00 8,825.00
5 มี.ค. 62 จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 1 (กิจกรรมที่3.1) 0 0.00 25,679.90
10 มี.ค. 62 - 25 พ.ค. 62 ส่งสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง และในระดับครัวเรือนอย่างน้อย 10 ครัวเรือน (กิจกรรมที่ 4.1) 0 10,000.00 30,675.00
1 - 2 พ.ค. 62 จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3) 0 8,900.00 11,920.00
15 มิ.ย. 62 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (กิจกรรมที่ 5.1) 0 0.00 7,500.00
15 มิ.ย. 62 จัดทำแผนการจัดการพลังงานชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน(กิจกรรมที่ 6 ) 0 0.00 10,100.00
15 ก.ค. 62 - 15 ส.ค. 62 กิจกรรมบริการความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานด้านพลังงานสะอาด ณ แหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน (กิจกรรมที่ 4.2) 0 6.00 6,420.00
4 ส.ค. 62 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2562 (กิจกรรมที่ 5.2) 0 0.00 6,000.00
4 - 6 ก.ย. 62 จัดนิทรรศการนอกสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้และบริการความรู้ด้วยชุดสาธิตพลังงานสะอาด (กิจกรรมที่ 4.3) 0 5,000.00 4,100.00
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ในการให้ความรู้ด้านพลังงานเพื่อขับเคลื่อนให้ชุมชนเป้าหมายปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด คณะทำงานไม่น้อยกว่าชุมชนละ 10 คน รวม 3 ชุมชน
  2. จัดเตรียมเอกสารในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการเรียนการสอน การฝึกอบรมปฏิบัติ
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะทำงานในโครงการพลังงานสะอาด มีความเข้าใจถึง วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการ
  2. ได้แผนระยะเวลาการจัดกิจกรรม
  3. ชี้แจงเอกสารที่จะใช้ประกอบการอบรมให้ความรู้
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 20:39 น.