directions_run

จัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนที่คลองส้านแดง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนที่คลองส้านแดง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0001
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 157,750.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักษ์คลองส้านแดง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรอสลี ยาพระจันทร์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 10 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 63,100.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 78,875.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 15,775.00
รวมงบประมาณ 157,750.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับสันเนิน มีทั้งหมด12หมู่บ้าน ด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ตำบลมีสายน้ำสายหนึ่งไหลผ่านเริ่มจากบ้านโหล๊ะจันกระไหลผ่านกลางหมู่บ้านโหล๊ะจันกระ2ตำบล คือตำบลตะโหมด และตำบลคลองเฉลิม สายน้ำดังกล่าวเกิดจากการรวมตัวของสายห้วยเล็กๆแนวเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน สายห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยกัว ห้วยไข่เขียว ห้วยไม้ไผ่ ห้วยหาร ห้วยน้ำชุบ ห้วยยาง ไหลมารวมตัวกันเป็นสายคลองโหล๊ะจันกระ ไหลผ่านใจกลางของหมู่บ้านไปรวมกับสายคลองหัวช้าง คลองอินนอโม รวมตัวกันเป็นสายน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าคลองซ่านแดง ไหลไปรวมกับสายน้ำอื่นจากอีฟากหนึ่งกลายเป็นลุ่มน้ำคลองท่าเชียด มีบ้านเรือนตั้งรกรากอยู่สองฝั่งคลองบ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ที่ 6ตำบลตะโหมดและหมู่ที่9ตำบลคลองเฉลิม บ้านโหล๊ะเหรียงหมู่8ตำบลตะโหมด บ้านหัวช้างหมู่2ตำบลตะโหมดคือจุดร่วมทางสามแพร่งของสายน้ำที่รวมกับคลองหัวช้าง กลายเป้นคลองซ่านแดงแล้วไหลสู่บ้านอินนอโมหมู่ที่7ตำบลตะโหมดแล้วสู่ตำบลแม่ขรีบ้านด่านโลดรวมระยะทางการ ไหลตามความยาวของสายน้ำประมาณ15กิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปของพื้นที่เป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่สวนใหญ่เป็นสวนยางพารา สวนผลไม้ อาชีพสวนใหญ่ของคนในพื้นที่ตลอดสายน้ำจึงเป็นอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ สภาพในอดีต คลองซ่านแดง เป็นสภาพคลองที่มีเส้นทางไหลของสายน้ำคดเคี้ยว มีต้นไม่เล็กใหญ่จำนวนมากอยู่สองริมฝั่งคลอง มีแอ่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า วัง อยู่มากมาย มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมายในสายน้ำ พันธ์ปลามากมายหลายชนิด เช่น ปลาหวด ปลาหลวน ปลาแก้มช้ำ ปลาขี้ขม ปลาขะหยา ปลาขอ ปลาหมู ปลาข้าว ผู้คนได้อาศัยเป็นอาหารในการเลี้ยงชีวิตของคนในหมู่บ้านและใช้สายน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าการเกษตรไปขายที่ตลาดแม่ขรี ตลาดบางแก้ว โดยอาศัยแพ เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง ซึ่งแพก็ประกอบขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการทำ สินค้าการเกษตรที่สำคัญในอดีตได้แก่ กล้วย ของป่า น้ำมันยาง สัตว์ป่า เป็นต้น ปัจจุบันมีการทำการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชนในรูปแบบล่องแก่ง ปัจจุบันสภาพสายคลองซ่าแดงได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากคือที่เห็นชัดเจนที่มีปัญหาเรื่องปริมาณน้ำในสายน้ำที่ลดลงมาก จากสายคลองที่คดเคี้ยวมีต้นไม้ใหญ่อยู่สองฝั่งคลองได้หายไป สภาพน้ำลึกที่เคยเป็นวังต่างๆก็หายไป สัตว์น้ำต่างๆที่เคยอาศัยอยู่มากมายก็หายไป ซึ่งการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาพบว่าสาเหตุเกิดจาก   พฤติกรรมของคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาคเกษตรกรรมของคนในชุมชนที่ปลูกยางพาราและสวนผลไม้ตลอดแนวสองฝั่งคลองมีการใช้สารเคมีในการเกษตรกรรมทั้งยาฆ่าหญ้า และปุ๋ยเคมี ปัญหาการลุกล้ำพื้นที่ฝั่งคลองตามแนวตลิ่งเพื่อการเพาะปลูก มีคนแอบขุดต้นไม้สวยงามที่งอกอยู่ตามริมคลองเพื่อเอาไปเป็นไม้ประดับและขายให้นักธุรกิจ มีการล่าและจับสัตว์น้ำมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปรวมถึงการใช้เครื่องมือ และวิธีการที่ไม่เหมาะสมคือการใช้ตาข่ายดักปลาที่ตาถี่เล็กเกินไป หายปลาโดยการใช้วิธีไฟฟ้าช็อตและใช้สารเคมี เช่นยาเบื่อหรือแอมโมเนียในการหาปลา รวมถึงการหาปลาในฤดูกาลวางไข่ การทิ้งขยะมูลฝอยลงสายน้ำของคนที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลอง
  ปัญหาที่เกิดสภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพคือเกิดจากธุรกิจดูดทรายในตอนล่างของคลอง การที่พื้นที่ป่าต้นน้ำลดปริมาณลงเพราะมีการต้องการพื้นที่เพื่อทำกสิกรรมมากขึ้นอันเกิดจากผลพวงของการเพิ่มจำนวนประชากรในพื้นที่ทำให้มีความต้องการใช้น้าในการอุปโภคบริโภคมากขึ้น ในขณะที่สภาพอากาศก็เปลี่ยนแปลงไปอากาศโดยรวมร้อนมาก พอเข้าช่วงฤดูฝนก็เกิดน้ำป่ารุนแรง   ปัญหาที่เกิดจากระบบและกลไกคือตอบของสายน้ำมีการทำประปาภูเขาขนาดใหญ่ ต้นน้ำของคลองหัวช้างมีการสร้างอ่างเก็บน้ำทำให้มีการควบคุมน้ำโดยหน่วยงาภาครัฐในขณะขึ้นชุมชนเองก็ยังขาดวิธีการและกลไกต่างๆที่ชัดเจนในการจัดการระบบการใช้น้ำและฟื้นฟูดูแลรักษาสายน้ำลำคลอง
  จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบโยตรงต่อสภาพแวดล้อมของสายน้ำคือเกิดการเปลี่ยนการไหลของสายน้ำจากที่เคยไหลคดเคี้ยวและไหลช้าๆก็ไหลเร็วขึ้น พื้นคลองที่เคยเต็มไปด้วยเม็ดทรายและก้อนหินขนาดต่างๆก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตลิ่งสองฝั่งคลองพังทลาย ส่งผลให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดลงไปด้วย ปลาชนิดต่างๆขาดที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการขยายพันธ์ของสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว สายพันธ์ปลาดั้งเดิมของชุมชนหลายชนิดเริ่มสูญหายไป พืชผักตามธรรมชาติที่เคยเจริญงอกงามอยู่ตลอดแนวฝั่งคลองก็ลดน้อยลง และกำลังจะสูญหายไปจากชุมชน จากที่วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เคยหากินอยู่กับสายน้ำก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป การหาปลาแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นภูมมิปัญญาของชุมชนก็มีให้เห็นน้อยมาก จากที่เคยเก็บพืชผักที่เจริญงอกงานอยู่คนพอที่จะมาเป็นอาหารในครัวเรือนก็เปลี่ยนไปเป็นซื้อพืชผักจากท้องตลาดมาบริโภคและเสี่ยงต่อการบริโภคสารเคมีแฝงอยู่ ในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นรายได้หลักของคนพื้นก็มีปริมาณที่ลดลงเพราะไม่สามารถเอาน้ำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จากการหารือของกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่าต้องเร่งแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลำคลองโดยเน้นความสำคัญดังนี้ 1. สร้างการเรียนรู้แก่ชุมชนในเรื่องข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องสายน้ำสภาพความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของตลิ่งและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดลงของจำนวนและปริมาณป่าริมคลอง 2. ชุมชนจำเป็นต้องสร้างกติกาและกลไกในการดูแลและใช้ประโยชน์ของลำคลอง 3. ชุมชนจะเพิ่มพื้นที่และปริมาณของป่าริมคลองให้มากขึ้นเพื่อเอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยรวมของลำคลอง 4.สร้างรูปแบบการจัดการน้ำโดยชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ หากโครงการดำเนินการประสบผลสำเร็จก็จะทำให้ชุมชนสามารถเกิดกระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนให้มีปริมาณน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภคได้เพียงพอกับคนในพื้นที่ได้ตลอดทั้งปีพื้นที่ป่าและปริมาณและความหลากหลายของพันธุ์ไม้ริมคลองเพิ่มขึ้น ปัญหาการพังทลายของริมฝั่งคลองก็จะลดลงและส่งผลระยะยาวต่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยรวมของลำคลอง อันจะเอื้อต่อการประกอบกิจกรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชนก่อให้เกิดการร่วมกันสร้างกลไกการเรียนรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันของชุมชนที่ร่วมใช้สายน้ำให้เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่จะถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปของชุมชน   ทั้งนี้ใช่วงปีที่ผ่านมากลุ่มลำเนาไพร เคยได้รับงบสนับสนุนจากสสส.มาแล้วและได้ดำเนินการปฎิบัติการไว้เพื่อเป็นต้นแบบให้เกิดการเรียนรู้แก่ชุมชนรอบๆสายน้ำที่ใช้ประโยชน์และมีผลระทบจากปัญหาดังกล่าว จนประผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง พอที่มองเห็นแนวทางที่ดำเนินการให้เกิดผลร่วมกันในระดับสายน้ำด้วยการขยายพื้นที่การดำเนินเพิ่มขึ้นมายังตอนล่างของสายน้ำ โดยการชักชวนพื้นที่ใกล้เคียงอีก4ชุมชนมาร่วมดำเนินงานและเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีความคาดหวังว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ในครั้งนี้จำไปสู่การสร้างแนวทางและเกิดองค์ความรู้หรือรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน ให้ชุมชนอื่นได้เรียนรู้และร่วมกันสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดกรน้ำของจังหวัดพัทลุงร่วมกัน อันที่จะได้มาซึ่งความสุขของชุมชนที่ได้ใช้ชีวิตที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและมีการบริหารจัดการทรัพยากรโดยชุมชนภายใต้ยุทธศาสตร์พัทลุงGreen City

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อร่วมกันสร้างคณะทำงานและกลไกการทำงานร่วมกันระดับสายน้ำแบบมีส่วนร่วม

-มีโครงการสร้างการทำงานที่มาจากทุกพื้นที่ร่วมโครงการและมีกลไกการทำงานและการติดตามผลที่ชัดเจน2ระดับ -มีกติกาการทำงาร่วมกันที่เกิดจากการมีส่วนและสามารถนำไปใช้ได้จริง -มีแผนการทำงานร่วมกันที่เกิดจากการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกันในระดับสายน้ำ

13.00
2 2. เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้คนชุมชนและให้เกิดความตระหนักในการดูแลรักษาทรัพยากรชุมชน

-มีฐานข้อมูลที่สำคัญของสายน้ำ -คนในพื้นที่ได้เรียนรู้ข้อมูลและเกิดความตระหนักร่วมกัน -มีกติกาการในการดูแลรักษาจัดการสายน้ำของทุกพื้นที่ที่ร่วมโครงการ

2.00
3 3. เพื่อร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศน์ระดับสายน้ำและสร้างรูปแบบการจัดการน้ำโดยชุมชน

-มีรูปแบบและการปฏิบัติการการจัดการสายน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่อย่างน้อย2รูปแบบ -มีการปรับสภาพแวดล้อมของสายน้ำให้เอื้อต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์สายน้ำเหมาะสมทุกพื้นที่

2.00
4 4. เพื่อให้ทุกชุมชนมีน้ำใช้เพียงพอกับการเกษตรและอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี

-พื้นที่ทั้งสองฝั่งคลองระยะ500เมตรมีปริมาณน้ำใช้ที่เพียงพอตลอดระยะความยาวคลองอย่างน้อย10กม. -มีการเพิ่มพื้นที่ป่าริมคลองอย่างน้อยเป็นระยะทาง3,000เมตร

0.00
5 5.การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

1.มีความโปร่งใส 2.ร่วมกิจกรรมตามที่หน่วยจัดการกำหนด

4.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง คือ กลุ่มประชากรที่ได้รับผลประโยช 150 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มประชากรที่จะเข้าร่วมดำเ 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 693 157,750.00 27 134,740.00
10 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมบริหารจัดการ (ปฐมนิเทศโครงการ) 0 8,000.00 1,000.00
25 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 25 3,750.00 3,750.00
15 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 25 3,750.00 3,750.00
20 ก.ค. 63 เวทีสร้างการเรียนรู้และค้นหาคณะทำงานร่วมระดับพื้นที่ (5หมู่บ้าน) 50 5,000.00 5,000.00
30 ก.ค. 63 บริหารจัดการ(ทำป้ายไวนิลโครงการและป้ายสสส.) 0 0.00 1,000.00
15 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 25 3,750.00 3,750.00
31 ส.ค. 63 กิจกรรมบริหารจัดการ จัดทำระบบรายงาน 1 0.00 2,000.00
15 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 25 3,750.00 3,750.00
16 ก.ย. 63 เรียนรู้ปัญหาและสถานการณ์น้ำ 50 10,600.00 10,600.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมบริหารจัดการ(ประชุมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด) 2 0.00 1,000.00
15 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 25 3,750.00 3,750.00
25 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 25 3,750.00 1,700.00
28 พ.ย. 63 จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำและพื้นที่การใช้ประโยชน์ 30 9,950.00 9,900.00
30 พ.ย. 63 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 20 3,200.00 3,200.00
3 ธ.ค. 63 เวทีเรียนรู้และเสนอรูปแบบการจัดการน้ำระดับชุมชน 40 3,750.00 5,500.00
13 ธ.ค. 63 เวทีสังเคราะห์บทเรียนการจัดการน้ำชุมชน 50 10,100.00 10,100.00
15 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 25 3,750.00 3,500.00
18 ธ.ค. 63 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 20 3,200.00 3,100.00
22 ธ.ค. 63 กิจกรรมปลูกป่าริมคลอง 40 10,000.00 9,600.00
15 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 25 3,750.00 2,000.00
10 ก.พ. 64 จัดทำฝายชะลอน้ำ 25 40,000.00 30,000.00
15 ก.พ. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 25 3,750.00 1,440.00
24 ก.พ. 64 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 25 10,000.00 9,500.00
15 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 25 3,750.00 0.00
20 มี.ค. 64 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 3 20 3,200.00 0.00
25 มี.ค. 64 เวทีคืนข้อมูลชุมชน/สรุปผลการดำเนินงาน 70 3,250.00 5,350.00
30 ก.ย. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

วางแผนและดำเนินการตามที่คณะทำงานกำหนด

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานและกลไกการทำงานร่วมกันระดับสายน้ำแบบมีส่วนร่วม 2.เกิดการเรียนรู้ของคนชุมชนและเกิดความตระหนักในการดูแลรักษาทรัพยากร 3.เกิดปรับสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศน์ระดับสายน้ำและสร้างรูปแบบการจัดการน้ำ 4.เกิดความความสมบูรณ์ของสายน้ำ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2563 19:00 น.