directions_run

การใช้ประโยชน์จากขยะเพื่อเป็นพลังงานในครัวเรือนชุมชนอำเภอเขาชัยสน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การใช้ประโยชน์จากขยะเพื่อเป็นพลังงานในครัวเรือนชุมชนอำเภอเขาชัยสน
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0025
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มิถุนายน 2563 - 31 มกราคม 2564
งบประมาณ 107,800.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายฅนกินแดด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรัฐพล สอนทอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 43,120.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 53,900.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 10,780.00
รวมงบประมาณ 107,800.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. หลักการเหตุผล / ความสำคัญของปัญหา/ การวิเคราะห์สถานการณ์ (โปรดระบุ1.1 สถาามหลากหลายและให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่มากขึ้น มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุดก่อนที่จะนำขยะมูลฝอยส่วนที่เหลือไปกำจัดให้น้อยที่สุด
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยมีปริมาณมากขึ้นทุกปีซึ่งส่งผลให้หลายหน่วยงานทำการพัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอยให้มีความหลากหลายและให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่มากขึ้น มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุดก่อนที่จะนำขยะมูลฝอยส่วนที่เหลือไปกำจัดให้น้อยที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลพลอยได้จากการดำเนินการ อาทิ ไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ น้ำมัน และขยะเชื้อเพลิงเพื่อทำให้การจัดการขยะมูลฝอยมีความคุ้มทุนมากขึ้นขยะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ดังนี้ (ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อ สิ่งแวดล้อม, 2558)
1. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรค ขยะ เศษวัสดุของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัย อย่างหนาแน่น หากใช้วิธีกําจัดท ี่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่ จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ เพราะขยะมูลฝอยมีทั้งความชื้น และ สารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหารขยะพวกอินทรีย์สารที่ทิ้งค้างไว้จะเกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของ แมลงวัน นอกจากนั้นพวกขยะที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นที่อยู่อาศัยของหนูโดยหนูจะเข้ามาทำรังขยายพันธุ์ เพราะมีทั้งอาหารและที่หลบซ่อน ดังนั้น ขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกําจัด จึงทําให้เกิดเป็นแหล่ง เพาะพันธุ์ที่สำคัญของเชื้อโรค แมลงวัน หนูและแมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนําโรคมาสู่คน
2. เป็นบ่อเกิดของโรค เนื่องจากการเก็บรวบรวม และการกําจัดขยะมูลฝอยไม่ดีหรือปล่อยปละ ละเลยทําให้มีขยะมูลฝอยเหลือทิ้งค้างไว้ในชุมชน จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ      เชื้อไทฟอยด์ฯลฯ เป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นพาหะนําโรคมาสู่คน เช่น แมลงวัน หนู และแมลงสาบ เป็นต้น 3. ก่อให้เกิดความรำคาญ ขยะมูลฝอยถ้ามีการเก็บรวบรวมได้ไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวน กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน นอกจากนั้นฝุ่นละอองที่เกิดจากการเก็บรวบรวมการขนถ่าย และการกำจัดขยะก็ ยังคงเป็นเหตุรำคาญที่มักจะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในชุมชนอยู่เสมอ
4. ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธีปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชน เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเกิดเน่าเสียได้และนอกจากนี้ ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน ซึ่งจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ในดินมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในดิน และ สารอินทรีย์ในขยะมูลฝอยเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน และเมื่อฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอยจะทำให้น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเปื้ อนดินบริเวณรอบ ๆ ทําให้เกิดมลพิษของดินได้ การปนเปื้อนของดินยังเกิดจากการนํามูลฝอยไปฝังกลบหรือการนําไปทิ้งไม่ถูกวิธีทําให้ของเสียอันตราย ปนเปื้อนในดิน ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทําให้เกิดควันมีสารพิษทําให้คุณภาพของอากาศเสีย    ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและพวกแก๊สหรือไอระเหย ที่สําคัญก็คือ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อยและสลายตัวของอินทรีย์สารเป็นส่วนใหญ่
5. ทําให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ ขยะมูลฝอยที่ทิ้งและรวบรวมโดยขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งขยะมูลฝอยพวกของเสียอันตราย ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชนได้ง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะหรือได้รับสารพิษ ที่มากับของเสียอันตราย โดยในอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 150 ตันต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นขยะมูลฝอยที่สมารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงาน ในอำเภอเขาชัยสนจำนวน 5 ตำบลมี 2 ตำบลที่มีกระบวนการจัดการขยะที่ดีคือตำบลโคกม่วง และตำบลเขาชัยสน แต่อย่างไรก็ตามการจัดการขยะของทั้ง 2 ตำบลข้างต้น ก็ยังมีส่วนของขยะทั่วไปที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิล หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการจัดการขยะที่ครบวงจร คณะทำงานเครือข่ายคนกินแดดจึงสนใจที่จะดำเนินโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะมาเป็นพลังงานของครัวเรือน การสร้างกลไกในการจัดการขยะร่วมกันระหว่างท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการขยะให้เป็นพลังงานของครัวเรือน หรือกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธีไม่เป็นภาระของท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้เสนอโครงการการใช้ประโยชน์จากขยะเพื่อเป็นพลังงานในครัวเรือนชุมชนอำเภอเขาชัยสน โดยมีพื้นที่ดำเนินงานหลักในพื้นที่ตำบลโคกม่วงและตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้ประเภทและปริมาณของขยะที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานในระดับครัวเรือน
  1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถจัดเก็บข้อมูล วางแผนจัดการใช้ประโยชน์จากขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือนของตนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. เกิดข้อมูลปริมาณขยะประเภทต่างๆในชุมชน
0.00
2 เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเป็นพลังงานครัวเรือน
  1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล
  2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน
  3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
0.00
3 เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเป็นพลังงานครัวเรือน
  1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล
  2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน
  3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
0.00
4 1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล 2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน 3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
  1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล
  2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน
  3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
0.00
5 1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล 2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน 3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
  1. เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนครัวเรือนจากทั้ง 2 ตำบล
  2. เกิดกติการ่วมในการจัดการขยะมาเป็นพลังงานในครัวเรือน
  3. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาการใช้ขยะเป็นพลังงานในครัวเรือนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
20 มิ.ย. 63 ปฐมนิเทศน์โครงการ 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 10:17 น.