directions_run

สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลโคกม่วง ปีที่2

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลโคกม่วง ปีที่2
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ ุ63-00169-0017
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 96,150.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกม่วง
ผู้รับผิดชอบโครงการ พันจ่าตรีเจนวาที เพชรรักษ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฐพงศ์ คงสง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 38,460.00
2 1 ก.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 48,075.00
3 1 มี.ค. 2564 31 ก.ค. 2564 9,615.00
รวมงบประมาณ 96,150.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การจักการขยะเทศบาล ต.โคกม่วงทั้งหมด15หมู่บ้านสามารถจัดการขยะได้ 54%และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 40%แต่ยังมีปัญหาเรื่องขยะทั่วไปที่ชุมชนจัดการที่ผิดวิธีเช่นการเผาและฝังที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการยกระดับการจัดการขยะให้ได้ทั้งระบบโดยมีพื้นที่เด่นด้านการจัดการขยะที่ผ่านมา 5 หมู่บ้านจึงต้องขยาย 10 หมู่บ้านที่ยังไม่ชัดเจนโดยใช้ 5 หมู่บ้านเป็นต้นแบบและจัดการขยะทั่วไปของ 5 หมู่บ้านให้ถูกวิธีด้วยมี ม.2 ม. 9 ม.11 ม.12 ม.15 มีขยะที่ต้องจัดการให้ถูกวิธี 6.9 ตันต่อปีและส่วนของ 10 หมู่บ้านมี ม.1 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ม.7 ม.8 ม.10 ม.13 ม.14 มีปริมาณขยะที่ต้องจัดการให้ถูกวิธี 30.95ตันต่อปี รวมขยะทั้ง 15 หมู่บ้านที่ต้องจัดการ 37.85 ตันต่อปีประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะทั่วไปมีครัวเรือนบ่างส่วนทีไม่รู้เรื่องในการคัดแยกขยะไม่คัดแยกก่อนเผามีคนบางกลุ่มของ5หมู่บ้านที่จัดการขยะไม่ถูกวิธี ขยะที่ต้องจัดการ 6.9 ตันต่อปีมีคนบางกลุ่มของ5หมู่บ้านที่จัดการขยะไม่ถูกวิธี ขยะที่ต้องจัดการ 6.9 ตันต่อปีมองว่าปัญหาขยะทั่วไปจัดการยากวิธีการเผาขยะทั่วไปและการฝังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ขาดแหล่งการจัดการที่ถูกวิธีของชุมชนและตำบลไม่มีที่เผาหรือจัดการขยะทั่วไปของตำบล-ร้านขายของชำ  75 ร้านแยกได้แต่นิยมการเผาที่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งโรงเรียน 5แห่ง วัด 4 แห่ง มัสยิด 3 แห่งที่ยังจัดการขยะทั่วไปผิดวิธีตลาดนัด2 แห่งในตำบลมีขยะทั่วไปที่จัดการผิดวิธี-รถขายน้ำหวาน ลูกชิ้นพวงที่มาจากข้างนอก 20 คันเป็นส่วนหนึ่งของขยะทั่วไปที่ถูกนำเข้ามาถนนเส้นหลักทางผ่านคนสัญจรผ่านทิ้งขยะไม่มีถังขยะริมถนน ขาดความร่วมมือในการกำหนดกติกาข้อตกลงเรื่องการจัดการขยะทั่วไปขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างกฎกติการ่วมทำให้แต่ละหมู่บ้านไม่เอาจริงเอาจังกับการจัดการที่ถูกต้องยังไม่มีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนการจัดการขยะทั่วไปที่ถูกวิธี เกิดความแตกต่างของพื้นที่ในด้านการจัดการขยะและขยะทั่วไปขาดความสามัคคี ขาดการสร้างวินัยในสังคมขาดความสามัคคี ขาดการสร้างวินัยในสังคม-เกิดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเสียงบประมาณในการพัฒนาที่ไม่เกิดความยังยืนเพื่อให้เกิดรายได้จากการคัดแยกขยะและลดรายจ่ายจากการนำขยะไปใช้ประโยชน์-เกิดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเสียงบประมาณในการพัฒนาที่ไม่เกิดความยังยืนเพื่อให้เกิดรายได้จากการคัดแยกขยะและลดรายจ่ายจากการนำขยะไปใช้ประโยชน์มีเรื่องร้องเรียนแหล่งน้ำเน่าเสียทำความเสียหายกับพื้นที่เพาะปลูกเกษตรปลอดภัย ทำให้พื้นที่เพาะปลูกมีมลพิษจากการฝังและการเผาทำให้เกิดมลพิษส่งผลให้โลกร้อนอากาศเป็นพิษดินเสื่อมสภาพ-โรคทางเดินหายใจหอบหืด 64 รายไม่ทราบสาเหตุ-โรคไข้เลือดออก 31 ราย -โรคตาแดง 80 ราย-โรคฉี่หนู 3 ราย -โรคอุดจาระร่วงที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ 125 รายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แมลงวัน สัตว์มีพิษ และเชื้อโรคกลิ่นน้ำเสียและควันจากการเผาขยะโรคภูมิแพ้ โรคเครียดจากการเผาขยะและปัญหาจากกลิ่นควันที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
จากสภาพปัจจุบันของชุมชนตำบลโคกม่วง เป็นการป้องกันและควบคุมโรคด้วยอีกทางหนึ่ง เทศบาลตำบลโคกม่วงมีประชากรจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ประชากรมีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด3,510 ครัวเรือนมีประชากรรวม 10,371 คน มีโรงเรียน 5 โรงเรียน มีวัด 4 วัด มีมัสยิด 7 มัสยิด ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลโคกม่วง คือการขาดความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องในการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ประโยชน์
จากการทำงานปีที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์ขยะลดลงร้อยละ 54 โดยการใช้รูปแบบการจัดการขยะในชุมชนใช้แกนนำของแต่ละชุมชนทั้ง 15 หมู่บ้านเป็นกลุ่มขับเคลื่อนของตำบลกลุ่มเป้าหมาย 10 ครัวเรือนต่อหมู่บ้านและใช้การชวนครัวเรือนที่สนิทกันทำร่วมอีก 10 ครัวเรือนแล้วใช้กลุ่มเป้าหมายหาครัวเรือนขยายผลอีกไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้านมีการจัดทำข้อมูลและการคืนข้อมูลจากเวทีประชุมทุกๆ 2 เดือนใช้กติการ่วมกันเป็นกติกาของตำบลมีการประกาศใช้กติการ่วมกัน ทั้ง 15 หมู่บ้านมีความเด่นกว่าอยู่ 5 หมู่บ้านและอีก 10 หมู่บ้านก็สามารถจัดการได้แต่ยังไม่สามารถเป็นต้นแบบได้ ทำให้ตำบลโคกม่วงสามารถจัดการขยะได้ตามรายงานข้างต้น แต่ยังพบปัญหาที่ยังเป็นปัญหาของคนในตำบลโคกม่วงจากการคัดแยกขยะของชุมชนทั้ง 4 ประเภทพบว่ามีขยะทั่วไปจำนวน 37.85 ตันต่อปีของตำบลโคกม่วงมีครัวเรือนทั้งหมด3,510 ครัวเรือนมีประชากรรวม 10,371 เฉลี่ยครัวเรือนละ 6.2 กิโลกรัมต่อครัวเรือน เช่น ถุงพลาสติก ซองกาแฟ กล่องนม และการจักการขยะติดเชื้อ ที่ยังขาดความรู้เรื่องการจัดการและไม่สามารถจัดการได้ถูกวิธีเพื่อลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งพบว่าวิธีจัดการของชุมชนมีการ เผาและฝัง เพื่อการสร้างความรู้และการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในชุมชนเรื่องการจัดการขยะทั่วไปให้กับชุมชน เนื่องจากตำบลโคกม่วงไม่มีรถไม่มีถังเป็นนโยบายของเทศบาลที่ให้ครัวเรือนคัดแยกขยะและจัดการขยะในครัวเรือนด้วยครัวเรือนเองจึงพบการจัดการขยะทั่วไปที่ไม่ถูกวิธีของคนในชุมชนตำบลโคกม่วง   ดังนั้นการจัดการขยะของตำบลโคกม่วงเป็นไปอย่างถูกวิธีและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและสามารถจัดการขยะได้ทั้งระบบของขยะในครัวเรือนของประชาชนตำบลโคกม่วงให้เป็นไปในทิศทางของการแก้ปัญหาได้และเกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหาและสามารถส่งต่อได้หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ เทศบาลตำบลโคกม่วง จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สิ่่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดการจัดการขยะทุกประเภทของตำบลโคกม่วงลดลง 100%
  1. ทุกหมู่บ้านใช้กติกาและสามารถจัดการขยะได้ทุกประเภท
  2. ทั้ง15หมู่บ้านใช้กติการ่วมเพื่อการจัดการขยะในระดับตำบลได้ทั้ง15 หมู่บ้าน
  3. คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะได้ทั้ง 15 หมู่บ้าน
    4 หมู่บ้านมีเส้นทางขยะของการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท
1.00
2 เกิดการจัดการขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 50%
  1. ติดตามผลการจัดการขยะทั้ง 15 หมู่บ้าน
  2. เกิดหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะได้ทุกประเภททั้ง15 หมู่บ้าน
  3. เกิดความร่วมมือจากภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการขยะที่ถูกวิธีทุกประเภท
    4 มีกิจกรรมส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
1.00
3 เพื่อให้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

1.ทีมงานมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10404
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานของโครงการ 50 -
ประชาชนตำบลโคกม่วง 10,354 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 558 96,150.00 14 85,625.00
20 มิ.ย. 63 กิจกรรมปฐมนิเทศ 2 5,000.00 300.00
13 ส.ค. 63 พัฒนาทักษะด้านการจัดการขยะ 50 7,500.00 7,500.00
7 ต.ค. 63 ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ Node 2 0.00 300.00
12 พ.ย. 63 พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่การจัดการขยะทั่วไป 50 22,400.00 22,400.00
13 พ.ย. 63 คณะทำงานประชุมทุก 2 เดือน(ครั้งที่ 1) 50 1,450.00 1,450.00
14 พ.ย. 63 ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ Node 2 0.00 400.00
15 พ.ย. 63 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 50 1,000.00 1,000.00
20 พ.ย. 63 ค่าอินเตอร์เน็ต 3 1,000.00 1,000.00
23 ก.พ. 64 คณะทำงานประชุมทุก 2 เดือน(ครั้งที่ 2) 50 1,450.00 1,450.00
28 ก.พ. 64 ค่าอินเตอร์เน็ต 3 0.00 -
10 มี.ค. 64 คณะทำงานประชุม่ทุก 2 เดือน (ครั่งที่ 3) 15 1,450.00 -
20 มี.ค. 64 ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ Node 2 0.00 300.00
24 มี.ค. 64 ARE ครั้งที่ 1 50 1,450.00 1,450.00
30 มี.ค. 64 ค่าเปิดบัญชี 4 0.00 500.00
29 - 30 พ.ค. 64 เวทียกระดับหนุนเสริมเตาเผาจัดการขยะทั่วไป 50 46,750.00 46,750.00
29 มิ.ย. 64 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน 0 1,000.00 -
30 มิ.ย. 64 เวทีคืนข้อมูลผลการดำเนินงาน 150 4,250.00 -
13 ก.ย. 64 ARE ครั้งที่ 2 25 1,450.00 825.00
  1. คณะทำงานจำนวน 50 คน จากแกนนำหมู่บ้าน 15 หมู่บ้านร่วมเรียนรู้สถานการณ์การจัดการขยะในตำบลโคกม่วงวิเคราะห์ปัญหาขยะในหมู่บ้านที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน 2.คณะทำงานออกแบบแผนการจัดการขยะทุกประเภททั้ง 15 หมูบ้าน
    1. นำแผนติดตามครัวเรือนปฏิบัติการและขยายผลในหมู่บ้านทั้ง 15 หมูบ้าน 4.คณะทำงานประชุม 5 ครั้ง(ทุก 2 เดือน) ผู้เข้าร่วมประไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพื่อ รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ ประเมิน และรายงานผลทั้ง 15 หมู่บ้าน 5.คณะทำงานติดตามสัญญาประชาคมการปฏิบัติตามกติกาของคนในชุมชนทั้ง 15 หมู่บ้าน
      6.คณะทำงานจัดทำร่างแผนจัดการขยะทุกประเภททั้ง 15 หมู่บ้าน บนฐานข้อมูลและความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้ การนำผลการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์ร่วมกัน 8.ศึกษาดูงานการจัดการขยะตำบลอ่าวนางต้นแบบการจัดการขยะทั่วไปเพื่อการนำมาปฏิบัติในชุมชนสามารถนำกลับมาใช้ได้จริงในชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่างการจัดการขยะที่ถูกวิธีและจัดการขยะได้ทั้งตำบล 9.คณะทำงาน รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะทุกประเภทนำมาวิเคราะห์ ประเมิน สร้างแผนการจัดการขยะของแต่ละหมู่บ้านทั้ง 15 หมู่บ้าน 10.คณะทำงานทั้ง 15 หมู่บ้านติดตามการปฏิบัติตามกติกาการคัดแยกขยะทุกประเภทและการจัดการได้ถูกวิธี 11.เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการขยะทั่วไป 12.คืนข้อมูลผลการดำเนินโครงการการจัดการขยะทุกประเภทของตำบลทั้ง 15 หมู่บ้าน 13.นายกเทศมนตรี ประธานสภา และกำนันตำบลโคกม่วง ผู้ใหญ่บ้านต้นแบบ หน่วยงานต้นแบบ นำเสนอ แนวทางการ รูปแบบจัดการขยะชุมชน หน่วยงาน
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการจัดการขยะทุกประเภทของตำบลโคกม่วงลดลง100% 2.เกิดการจัดการขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ 50%

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 10:23 น.