directions_run

การจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมืองบ้านโคกท้อนร่วมใจ

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอนเงินเปิดบัญชีคืน30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินคืนจากการเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินคืนจากการเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับทุนโครงการได้สำรองเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ทุกกิจกรรม โดยเบิกจ่ายจากเงิน Top up จำนวน 1000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
ทุกกิจกรรมที่รายงานผลครบถ้วน
ผลลัพธ์
รายงานมีรายละเอียดกิจกรรม  มีผลผลิต  มีผลลัพธ์/ผลกระทบ

ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ11 กันยายน 2021
11
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำไวนิลป้ายสรุปรายงานผลผลิต ผลลัพธ์  2 ป้าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
ป้ายไวนิลขนาด 1x 1.5 ม. จำนวน 2 ป้าย
ผลลัพธ์
สรุปแผนงาน และผลผลัพธืการจัดการน้ำเสีย เพื่อการเรียนรู้

ก.10 ติดตามผลโครงการ ARE สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ11 กันยายน 2021
11
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลไกจัดการ ตัวแทนกลุ่มครัวเรือน พี่เลี้ยง ร่วมประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์ โดยมีบันไดผลลัพธ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ความก้าวหน้า ปรับแผน พิจารณาคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ  สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ผลการจัดการน้ำเสีย (กิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลงวดที่ 1)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
มีระบบจัดการน้ำเสีย 3 รูปแบบ 1. ธนาคารน้ำใต้ดิน 17 ครัวเรือน 2. ชุดดักไขมัน  21 ครัวเรือน 3. แยกขยะอินทรีย์  60 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ 1.เกิดกลไกจัดการน้ำเสียที่มาจาก 3 ฝ่าย(ชุมชน+BP+SP)
2.ครัวเรือนเข้าร่วมจัดการน้ำเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.ครัวเรือนเป้าหมายจัดการน้ำเสียได้ร้อยละ 60 4.มีข้อมูลสถานการณ์การจัดการน้ำเสียของชุมชน 5.มีมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการน้ำเสีย 6.เกิดครัวเรือนต้นแบบการจัดการน้ำเสียอย่างน้อย 6 ครัวเรือน 7.เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชน

ผลกระทบ 1. ครัวเรือนจัดการน้ำเสียร้อยละ 60 2. ปริมาณน้ำเสียลดลงร้อยละ 60 3. ลดน้ำเสียชุมชนลงได้ 1,387,829.40 ลิตร/ปี (1.4 ล้านลิตร/ปี)

ก.7 ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง และหรือแผนทำร่วม)14 สิงหาคม 2021
14
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สนับสนุนงบประมาณเป็นแรงจูงใจเสริมพลังการจัดระบบจัดการน้ำเสียแก่กลุ่มเป้าหมาย
1. การจัดการด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน 17 ครัวเรือน ๆละ 600 บาท
2. การจัดการด้วยระบบชุดดักไขมัน  21 ครัวเรือน ๆ ละ  600 บาท (ทั้งทำใหม่ และปรับปรุงของเดิม) 3. การจัดการโดยการแยกขยะอินทรีย์ 60 ครัวเรือน (ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่น)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุน เสริมแรงเสริมพลัง จำนวน 38 ครัวเรือน จำแนกเป็น
1. ปล่อยน้ำเสียลงระบบธนาคารน้ำใต้ดิน  17 ที่ 17 ครัวเรือน 2. บำบัดน้ำเสียผ่านชุดดักไขมัน แล้วปล่อยลงคูระบายน้ำ  26 ที่  21 ครัวเรือน(ดักไขมันปล่อยลงธนาคารน้ำใต้ดิน 5 ครัว)

ก.9 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย8 สิงหาคม 2021
8
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.30 น กลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการจัดการน้ำเสีย ระบบธนาคารน้ำ และระบบชุดดักไขมัน พร้อมด้วยแกนนำกลุ่ม 20 คน ตัวแทนครัวเรือนเป้าหมาย 20คน รวม 40 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน ที่ศาลาหมู่บ้าน เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปรับแผนดำเนินงาน สู่ผลลัพธ์ สื่อสารสู่ชุมชนผ่านช่องทางหอกระจ่ายข่าว ติดตามผลการสนับสนุนครัวเรือนเป็นต้นแบบ ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาเป็นมาตรการทางสังคม ประกาศผลครัวเรือนผ่านเกณฑ์ตามมาตรการที่กำหนด  ทำแผนพัฒนาครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เสนอแผนจัดการน้ำเสียชุมชนต่อภาคียุทธศาสตร์(เทศบาลเมืองพัทลุง)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. แบ่งชุมชนออกเป้็น 5 กลุ่มบ่้าน แต่ละกลุ่มบ้านมีหัวหน้ากลุ่ม 1 คน
2. มีการประชาสันพันธ์ผ่านผุ้แทนกลุ่มบ้านอย่างต่อเนื่อง
3. มีการปรับแผนการจัดการชุดดักไขมันด้วยข้อมุลเฉพาะบ้าน
4. ผู้แทนกลุ่มบ้านจะติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตามแผน การปฏิบัติตามกติกาการจัดการน้ำเสียชุมชน คัดเลือกครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 ครัวเรือน จาก 5 กลุ่มบ้าน
5. ครัวเรือนจัดการน้ำเสียด้วยระบบะนาคารน้ำใต้ดิน 17 ครัวเรือน ลดการปล่อยน้ำลงคูระบายน้ำ 2040 ลิตร/วัน
6. ครัวเรือนจัดการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียก่อนปล่อยลงคูระบายจำนวน 26 ครัวเรือน 3120 ลิตร/วัน

ผลลัพธ์
1. ปริมาณน้ำเสียลดลง  744,600 ลิตร/ปี
2. ลดปริมาณขยะอินทรีย์ ไขมันออกจากน้ำเสีย จำนวน 1,138,800.00 ลิตร/ปี

ก.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมาย และรับรองแผนปฏิบัติการ22 พฤษภาคม 2021
22
พฤษภาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมาชิกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมประชุม 40คน แต่ละกลุ่มร่วมสะท้อนปัญหาการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ปัญหาน้ำเสียในชุมชน ผ่านแผนงานที่ร่วมกันออกแบบไว้
รับรองแผนปฏิบัติการ ทำเอง ทำร่วม ทำขอ
แบ่งชุมชนเป็น 4 กลุ่มบ้าน คัดเลือกตัวแทนกลุ่ม 20 คน จัดโครงสร้างละสร้างเครือข่ายเพื่อดำเนินการตามแผน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รับรองแผนจัดการน้ำเสีย ดังนี้ 1. แผนธนาคารน้ำใต้ดิน 2. แผนบ่อดักไขมัน 3. แผนถังคัดแยกเศษอาหารขยะอินทรีย์ (แผนงานบูรณาการกับโครงการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ)
4. แกนนำกลุ่มบ้าน  4 กลุ่ม สร้างดาวน์ไลน์อีก 4 คน รวมเป็น 20 คน

ผลลัพธ์ แกนนำกลุ่มบ้านรับทราบและยินดีให้ความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนตามแผน

ร่วมติดตามประเมินผลเพื่อการเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ20 มีนาคม 2021
20
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้กับหน่วย ARE 1 ของหน่วยจัดการ ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน
รายงานผลการดำเนินการตามบันไดผลลัพธ์
แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนตามประเด็น(กลุ่มสิ่งแวดล้อม)
สรุปรูปแบบการจัดการของโครงการ ทิศทางการจัดการของภาคียุทธศาสตร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผู้แทนคณะทำงานเข้าร่วม 3 คน (หน.โครงการ /การเงิน/ผู้เขียนรายงาน)
ผลลัพธ์
ผลการดำเนินงานถึงบันไดขั้น 2

ก.5 เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 4 ครั้ง5 กุมภาพันธ์ 2021
5
กุมภาพันธ์ 2021รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 4 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นเจ้าของแผนงานที่ได้จากเวที

ปิดงวดที่ 1 ณ.อบต.ชะมวง14 พฤศจิกายน 2020
14
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจเอกสารการเงิน ดังนี้ 1. เอกสารหลักฐานการเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศ วันที่ 20 มิถุนายน 2563
2. เอกสารหลักฐานการเข้าร่วมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย วันที่ 7 ตุลาคม 2563
3. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรม ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ครั้งที่ 1-4
4. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรม สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 1
5. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรม เปิดโครงการการเรียนรู้สถานการณ์คืนข้อมูล
6. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรม กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จการจัดการน้ำเสีย เทศบาลตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง
7. กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
ส่งเอกสารตรวจทั้ง 7 ชุด 7 กิจกรรม
ผลลัพธ์
1. เอกสารด้านการเงินไม่ครบ  รายงานในเวบไม่เรียบร้อย ยังออกรายงานการเงินไม่ได้

ก.8 ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 14 พฤศจิกายน 2020
4
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน กลไก ภาคีร่วมประชุมพร้อมกันตามวาระดังนี้
1. นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม หัวหน้าโครงการ รายงานความคืบหน้าของโครงการ และผลลัพธืที่เกิดขึ้น ต่อที่ประชุม
รับประทานอาหารว่าง
2. ที่ประชุมร่วมพิจารณาผลลัพธ์ตามบันได
พักรับประทานอาหารกลางวัน
3. ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมให้ความเห็น ต่อผลลัพธ์ และร่วมชี้ให้เห้นปัญหา/อุปสรรค พร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไข นายดำ สำแดง ครูวิยาลัยการอาชีพได้ให้ข้อมุูลสภาแวดล้อมคลองเขาเจียก เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา มีน้ำใสให้เล่นน้ำ มีหาดทราย มีปลาให้หากิน 10 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีสภาพน้ำเสีย ชุมชนได้ทำโครงการแก้ไขด้วยการทำฝายน้ำล้น 3 ที่ เพื่อยกระดับน้ำ และป้องกันน้ำเสียกระจายไปทางต้นน้ำ ตนเห้นด้วยอย่างยิ่งถ้าชุมชนได้ช่วยกันจัดการน้ำเสียตั้งแต่ครัวเรือน และพร้อมจะร่วมผลักดันให้เทศบาลพืจารณาระบบบำบัดน้ำปลายท่อก่อนลงคลอง
รับประทานอาหารว่าง
4. กลไกขับเคลื่อนรายงาน ครัวเรือนแสดงความประสงค์จำดำเนินการจัดการน้ำเสียนำร่อง 9 ที่ดังนี้ (นายสมมาท,นายบำเพ็ญ,นางภัทราวดี,นายทวี,นายวาสน์,นางมณีนาถ,นางซ้วน,นายเขียน,และศาลาที่ทำการชุมชน)
5. สรุปผลลัพธ์ AAR หลังเสร็จกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน ภาคี และพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุม 31 คน
ผลลัพธ์
1. เกิดกลไกขับเคลื่อน 25 คน
2. มีการจัดโครงสร้าง และแบ่งหน้าที่ โดยแบ่งเป้น 5 กลุ่มบ้าน
2.1 กลุ่มบ้านสุดเขต นายเขียน ชายเกตุ เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.2 กลุ่มซอย 26 นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.3 กลุ่มซอยร่วมใจ นายวาสน์ อินทร์ด้วง เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.4 กลุ่มซอย 24 นางภัทรวดี เป็นหัวหน้ากลุ่ม
2.5 กลุ่มสี่แยกเอเชีย นางมณีนาถ เป็นหัวหน้ากลุ่ม
3. คณะทำงานและกลไก มีการประชุมทุกเดือน มีบันทึกการประชุม ดังปรากฎตามรายงานในเว็บ
4. มีข้อมุลสถานการณ์น้ำเสียชุมชน เป็นข้อมูลต้นทางเพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเมื่อสิ้นโครงการ(รายละเอียดตามไฟล์แนบแล้ว)
4. การสร้างความเข้าใจโครงการ คืนข้อมุลสถานการณ์น้ำเสียชมุชนมีผู้เข้าร่วม ................ คน
5. มีครัวเรือนเป้าหมายประสงค์จะจัดการน้ำเสียครัวเรือนแล้ว 8 ครัวเรือน 1 ที่ทำการชุมชน (รายละเอียดข้างต้น)
6. มีการเสนอแผนจัดการน้ำเสีย 2 ระดับ 4 ประเภท
6.1 ระดับครัวเรือน
  ประเภทบ่อบำบัดสำเร็จรูปซื้อมาติดตั้ง
  ประเภทบ่อบำบัดแบบเปิดซึ่งมีต้นแบบทำใช้อยู่ก่อนแล้ว(นางหีด ,นายดำ)
  ประเภทบ่อบำบัดระบบธนาคารน้ำใต้ดิน
  ประเภทถังแยกเศษอาหาร
6.2 ระดับชุมชน
  บ่อบำบัดดักไขมันแบบเปิด สำหรับบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงคลอง ซึ่งจะต้องทำแผนนำเสนอเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

ก.4 ศึกษาดูงาน31 ตุลาคม 2020
31
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 7.00น ทุกคนพร้อมกันที่ทำการชุมชน  ออกเดินทางโดยรถบัสปรับอากาศ ถึงเทศบาลตำบลทุ่งลาน เวลา 09.30 น
กล่าวต้อนรับโดยปลัดเทศบาล แนะนำพื้นที่ตำบลทุลานด้วยวีดีทัศน์

พักรับประทานอาหารว่าง

รับฟังรายงานผลการดำนินงานการจัดการน้ำเสียชุมชน /ครัวเรือน ด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ชมวีดีโอการทำธนาคารน้ำใต้ดิน

พักรับประทานอาหารกลางวัน

ชมการสาธิตการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ดุ้วยหลุมขนาด 1.20 เมตร x 1.20 เมตร x 1.0 เมตร  รองพื้นด้วยยางล้อรถยนต์ ใส่หินเล็ด วางท่อ PVC ระบายอากาศขนาด 1.20นิ้ว ยาว 1.20 เมตร ถมกลบด้วนหินใหญ่ ขวดพลาสติกบรรจุน้ำ 1/3 ส่วน สลับกันจนเกือบเต็ม แล้วปิดทับด้วยหินใหญ่เพื่อป้องกันการลอยของขวดพลาสติด ปูปิดทับด้วยแผ่นตาข่ายเขียวตาถี่ใส่หินเล็ก หินเกล็ด ทับตาข่าย  ใช้ดินกลบทับของตาข่ายให้เรียบร้อย เป็นการเสร็จระบบส่งน้ำลงใต้ดิน  ซึ่งจะสามารถจัดการน้ำเสียลงใต้ดินได้

พักรับประทานอาหารว่างบ่าย

ออกเดินทางจากที่ทำการเทศบาลทุงลาน สู่ครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินการส่งน้ำเสียจากเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  3เครื่อง ลงสู่ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นวิทยากรบรรยายสรุปถึงปัญหาจากน้ำซักผ้า การจัดการ และผลสำเร็จที่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้นทุนการทำประมาณ 400 บาท/แห่ง

ต่อด้วยการจัดการน้ำเสียจากชุมชนที่ไหลลงร่องข้างถนน แล้วล้นเอ่อขึ้นบนถนน ด้วยเป็นร่องน้ำที่หัวปิด ท้ายปิด ไม่มีทางออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ  ชุมนแก้ปัญหาด้วยการขุดเพิ่มความลึก ตลอดแนวยาวประมาณ 200 เมตร กลบด้วยหินใหญ่ ขวดพลาสติก หินใหญ่ ปิดด้วยตาข่าย เช่นเดียวกับระบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน

เวลา 15.30 น ออกจากตำบลทุ่งลาน  เดินทางกลับถึงชุมชนโคกท้อนร่วมใจเวลา 17.30 น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดูงาน  40.คน

ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจ เข้าใจกระบวนการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น
ได้แนวทางการจัดการน้ำเสียครัวเรือนมาออกแบบดำเนินการในชุมชน

ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 415 ตุลาคม 2020
15
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น เปิดประชุมตามวาระดังนี้
1. แจ้งพื้นที่ศึกษาดูงาน สถาที่เทศบาลตำบลทุ่งลาน  อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
2. แจ้งเทศบาลทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ศึกษาดูงาน
3. ยืนยันจำนวนคนร่วมศึกษาดุงาน
4. มอบหมายคณะทำงาน ประสานงานเช่ารถบัส จัดเตรียมเอกสารการจ่าย กำหนดนัดหมายเวลาเดินทาง จุดขึ้นรถ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. ผุ้เข้าประชุม 25 คน
ผลลัพธ์
1. คณะทำงานรับทราบการแบ่งหน้าที่
2. นัดหมายขึ้นรถเวลา 07.00 น ณ หน้าร้านบุญสิริเครื่องครัว
3. เจ้าหน้าที่การเงิน เตรียมเบิกจ่ายเงิน และเตรียมความพร้อมเอกสารการจ่าย

เวทีเชื่่อมร้อยเครือข่าย7 ตุลาคม 2020
7
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์ รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS นาย ไพฑรูณ์ ทองสม จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้ มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่ แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่ จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นอาหารปลอดด้วยกัน เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ประเด็นอาหารปลอดภัย หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
1. ประเด็นทรัพยากร
2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม
3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน ได้รับทราบยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง ซึ่งชี้แจงโดย ผวจ.พัทลุง
เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการพัฒนาจังหวัดและบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดที่พึงปรารถนาในระยะเวลา 5 ปี จังหวัดจึงกำหนดเป้าประสงค์รวมของการพัฒนา ดังนี้
1. พัทลุงเมืองเกษตรคุณภาพมาตรฐานสากล การเกษตรของจังหวัด สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้ สร้างงาน อาชีพแก่เกษตร และชุมชน
2. การท่องเที่ยวสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจกระจายรายได้สู่จังหวัดและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
3. ประชาชนมีคุณภาพ เรียนรู้ตลอดชีวิต สังคมน่าอยู่ และมีความสงบด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากร ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมดี
5. ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ การคมนาคมปลอดภัย การบริหารจัดการมีธรรมาภิบาล


ผลลัพธ์
1. ได้รู้และเข้าใจยุทธศาสตร์จังหวัด
2. เชื่อมกิจกรรมกับภาคียุทธศาสตร์กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองพัทลุง
3. เชื่อมร้อยกิจกรรมกับภาคีกองสวัสดิการเทศบาลเมืองพัทลุง

กิจกรรมทำป้ายปลอดบุหรี่16 สิงหาคม 2020
16
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จ้างทำป้ายปลอดบุหรี่ ตามขนาดที่กำหนด บนวัสุแผ่นคอมโพสิต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
ได้ป้ายปลอดบุหรี่ตามที่ สสส กำหนด 1 แผ่น
ผลลัพธ์
1. ใช้ติดไว้ ณ ที่ทำการชุมชน ซึ่งเป้นสถานที่จัดกิจกรรมหลักของโครงการ
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ดื่ม  ไม่สูบ ในเขตที่ทำการชุมชน

ก.3 เวทีสร้างความเข้าใจ16 สิงหาคม 2020
16
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นเตรียมการ เย็นวันที่ 11 กันยายน 2563 คณะทำงานร่วมจัดสถานที่ เต้นท์ เก้าอี้
วันเปิดโครงการ เวลา 09.00 น นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม หัวหน้าโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน ประชาชน ภาคี และพี่เลี้ยง ได้รับทราบถึงวัตถุึงประสงค์ ผลลัพธ์สุดท้ายการลดปริมาณน้ำเสียครัวเรือน โดยมีตัวชี้วัด และมีผลลัพธ์เป้นขั้นบันได ตั้งแต่การก่อตัวกลไกขับคลื่อน การจัดการข้อมุลต้นทางเพื่อสร้างความรู้สถานการณ์น้ำเสียชุมน การสร้างครัวแกนนำหรือครัวเรือนต้นแบบของชุมชน และขายยผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ เพื่อจัดการน้ำเสียครัวเรือน
เวลา 10.30 น รับประทานอาหารว่างและเครื่องดืม เวลา 10.50 น นายสมนึก นุ่นด้วง พี่เลี้ยงโครงการ ได้แนะนำหน่วยจัดการโครงการภายใต้ชื่อ Node Flag Ship Phatthalung บริหารจัดการโดยนายไพทูรย์ ทองสม นายเสณีจ่าวิสูตร และนางจุรีย์ หนูผุด และมีนักพัฒนา ติดตามประเมินผลโครงการ (พี่เลี้ยง) อีกจำนวน 15 คน ดูแลโครงการ 25 โครงการ ใน 3 ประเด็นยุทะศาสตร์ คือ
1. พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากร ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมดี (การจัดการน้ำเสียชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี) 2. ประชาชนมีคุณภาพ เรียนรู้ตลอดชีวิต สังคมน่าอยู่ และมีความสงบด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัทลุงเมืองเกษตรคุณภาพมาตรฐานสากล การเกษตรของจังหวัด สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้ สร้างงาน อาชีพแก่เกษตร และชุมชน
เวลา 11.00-12.00 น นางสมศรี กลับทอง เลขาโครงการ ได้รายงานผลการเก็บวิเคราะห์ข้อมุูลสถานการณ์น้ำเสียชุมชน และแผนที่ทางเดินน้ำเสียจากครัวเรือนถึงคลองเขาเจียก  โดยได้รับความสนใจจากประชาชน และนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง

เวลา 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น นายสุเมท บุญยก นายกเทศบาลเมืองพัทลุง แสดงความยินดีกับชุมชน ทั้งโคกท้อน และส้มตรีดออก ที่เล้งเห็นปัญหานำเสียชุมชนและลงมือทำก่อนชุมชนอื่นๆ เทศบาลพร้อมให้การสนับสนุน และได้กำชับกองสาธารณสุข กองสวัสดิการ กองช่าง ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชุมชน และยังกล่าวถึงการจัดการน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดที่ปลายคู ก่อนลงสู่คลองเขาเจียกด้วย หลังจากได้รับทราบแผนที่ทางเดินน้ำเสียที่ชุมชนนำเสนอ จึงได้ให้กำลังใจ ชื่นชมกรรมการชุมชน คณะทำงาน และกลไกขับเคลื่อนโครงการ
เวลา 14.30 น รับประทานอาหารว่างว่าง
เวลา 14.50 น เปฺิดโอกาสให้ที่ประชุมได้ซักถาม
          นาย.....เล็บบรรจง อดีตประธานชุมชน นำเสนอน้ำเสียทั้งสองฝั่งของสี่แยกเอเชีย เนื่องจากคูระบายน้ำอุดตัน เทศบาลสมควรลอก ล้างคู เพื่อให้น้ไได้ไหลสะดวก น้ำไม่ขังนิ่ง ไม่เน่าเสีย
          นายวาสน์ อินทร์ด้วง แกนนำชุมชนซอยร่วมใจ เสนอให้ใส่ใจกับน้ำเสียจากสถานประกอบการ ซึ่งเป้นน้ำเสียที่มีสารเคมีปนเปื้อนสูง สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ร้านคาร์แคร์ มีน้ำมันเครื่องปนเปื้อนลงคูระบายน้ำ ลงคลอง
          นางภัทรวดี  เสนอให้ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองเขาเจียก ซึ่งเห็นว่าในหน้าแล้ง น้ำเริ่มมีปัญหา มีสีคล้ำ ดำ เวลา 15.30 น ประธานชุมชน หัวหน้าโครงการ รับฟังทุกปัญหา และขอบคุณประชาชนทุกกลุ่มบ้าน แกนนำชุมชนทุกคน และปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงาน กลไก แกนนำครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมาย จพนวน 80 คน ภาคียุทธศาสตร์ เข้าร่วมรับฟัง 4 คน
  1. นายกเทศบาลเมืองพัทลุง
  2. ผอ.กองสาธารณสุข เทศบาลเมืองพัทลุง และเจ้าหน้ที่ 2 คน
  3. ผู้แทนกองสวัสดิการ 1คน
ผลลัพธ์
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และผู้แทนภาคียุทธศาสตร์ ทราบสถานการณ์น้ำเสียชุมชน (รายะเลียดตามไฟล์เอกสารแนบ)
3. ประชาชนสมัครร่วมโครงการ และแจ้งความประสงค์ไปศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียครบ จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 35 สิงหาคม 2020
5
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน กลไกฯ เวลา 13.00 น เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้
1. วางแผนสำรวจเส้นทางน้ำเสีย ให้คณะทำงานทุกคนศึกษาเส้นทางน้ำเสีย ตั้งแต่ครัวเรือนถึงแหล่งน้ำสาธารณะ(คลองเขาเจียก)
2. ให้คณะทำงาน ประสานแกนนำครัวเรือน เพื่อเป็นตัวแทนศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสีย
3. ทบทวนสถานที่ดูงานการจัดการน้ำเสียในโครงการ ด้วยได้สอบถามไปแล้ว ปัจจุบันไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดุงานได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะทำงาน กลไก เข้าร่วมประชุม 25 คน

ผลลัพธ์
1. คณะทำงาน แบ่งพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำเสียจากครัวเรือน ถึงคลองเขาเจียก
2. รับทราบการหาแหล่งดูงานใหม่ เลื่อนกำหนดการดุงานไปก่อนจนกว่าหาที่ใหม่ได้

ก.2 เก็บวิเคราะห์ข้อมูล29 กรกฎาคม 2020
29
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.30 น ประธานเปิดการประชุมวิเคราะห์ข้อมุล จากการเก็บข้อมุลของแกนนำแต่ละกลุ่มบ้าน และนำข้อมุลมาบันทึกเพื่อวิเคราะห์ ด้วยตาราง xls. จำนวนประชากรกลุ่มตัวย่าง 115 ครัวเรือน คิดเป้น 66.47% ของครัวเรือนทั้งหมด ที่ประชุมร่วมกันวิเคราะห์ในแต่ละประเด็น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต คณะทำงาน กลไก ร่วมวิเคราะห์ข้อมุลน้ำเสียชุมชน รายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบ

ผลลัพธ์
1. ได้ข้อมุลสถานการณ์น้ำเสียครัวเรือน
2. ได้แผนที่ทางเดินน้ำเสียชุมชน

ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกครั้งที่ 216 กรกฎาคม 2020
16
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น เปิดประชุมตามวาระดังนี้
1. ติดตามการเก้บข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียครัวเรือน/ชุมชน
2. นัดหมายวิเคราะห์ข้อมุล เร่งรัดการบันทึกข้อมูลที่เก็บแล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คระทำงาน กลไกเข้าร่วมประชุม  25 คน
ผลลัพธ์
1. ข้อมุลที่เก้บมาได้เแล้ว 74 ชุด
2. บันทึกข้อมุลแล้ว 20 ชุด เร่งรัดการบันทึก
3. กำชับ เร่งรัด แกนนำที่ยังไม่ส่ง

ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 127 มิถุนายน 2020
27
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน
เวลา 13.00 น นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม ประะานชุมชน หัวหน้าโครงการ ดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้ 1. แนะนำคณะทำงาน แนะนำกลไกขับเคลื่อน และพี่เลี้ยงโครงการ
2. ชี้แจง สร้างความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรมโครงการ ชื่อกิจกรรมที่
    2.1 ประชุมคณะทำงาน+กลไกขับเคลื่อน รวม 25 คน จำนวน 7 ครั้ง     2.2 เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน เพื่อนำแจ้งให้ชุมชนทราบ
    2.3 เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย และคืนข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียชุมชนรับทราบ
    2.4 การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก เพื่อเรียรุ้การจัดการน้ำเสี่ย เรียนรู้หลักคิด หลักการปฏิบัติเพื่อจัดการน้ำเสีย
    2.5 จัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 4 ครั้ง เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ออกแบบแผนจัดการน้ำเสียร่วมกัน
    2.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมาย และรับรองแผนปฏิบัติการ ที่ร่วมกันออกแบบไว้
    2.7 ครัวเรือนเป้าหมายลงมือปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง และหรือแผนทำร่วม
    2.8 ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1 เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    2.9 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ทราบความคืบหน้าของการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
    2.10 ติดตามผลโครงการ ARE เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    2.11 สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ
3. ชี้แจงโครงสร้างของคระทำงานกลไกขับเคลื่อน และมอบหมายงานแบ่งหน้าที่ กลไกทุกคนมีหน้าที่ดูแล 7 บ้าน และจัดเก็บข้อมูลในบ้านที่รับผิดชอบด้วย เพื่อมอบให้ฝ่ายเลขาบันทึก และวิเคราะห์  คณะทำงาน กลไก ทุกคนรับแบบเก็บข้อมุลคนละ 7 ใบ
4. นักประชุมครั้งต่อไปวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 16.30น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน 25 คน
ผลลัพธ์
1. คณะทำงาน กลไก เข้าใจและพร้อมร่วมดำเนินงานตามโครงการ
2. มีการจัดโครงสร้าง และแบ่งหน้าที่
3. มีการแบ่งกลุุ่มบ้าน 7 บ้าน/ 1 คนรับผิดชอบ
4. มีคนเก้บข้อมุลน้ำเสียครอบคลุมทุกบ้าน

ปฐมนิเทศโครงการใหม่20 มิถุนายน 2020
20
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย napatsawan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง พื้นที่บ้านควนคง มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ รับฟังชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงของทุน สนับสนุนที่มา จาก สสส. มาสนับสนุนกับ กลุ่มองค์กร พื้นที่หมู่บ้าน ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ในด้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย ที่มีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนให้สองคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อผลักดันให้พัทลุงเป็นเมืองสีเขียว
จากนัั้นเข้ากระบวนการเรียนรู้การคลี่บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจในองค์ประกอบบันไดผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 ผลลัพธ์ของโครงการ เป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโครงการ เป็นตัวบงบอกความสำเร็จในรูปแบบ ตัวปริมาณ ส่วนที่ 3 ตัวกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิด ผลผลิต และ ผลลัพธ์ พื้นที่ได้ทบทวนบันไดบันผลลัพธ์ ทบทวนภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ มีทั้ง
ภาคียุทธศาสตร์ เทศบาลเมืองพัทลุง ภาคีร่วม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง

เรียนรู้การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นายไพฑูรย์ ทองสม การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัดผลลัพธ์ โดยการนำตัวชี้วัดแต่ละบันไดที่เป็นส่วนหนึ่งของบันไดผลลัพธ์ ที่อยู่ใต้บันได นำมาออกแบบ โดยแบบฟอร์มการออกแบบ ประกอบไปด้วย ตัวชี้วัด ข้อมูล ใช้ข้อมูลอะไรตอบตัวชีวัด แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/เก็บอะไร วิธีรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือใด ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ ระยะเวลาเก็บข้อมูล เก็บข้มูลเมื่อใด แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตัวชี้อย่างไร การออกแบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เป็นการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่เหมาะสม การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานโครงการก่อนและหลัง จะได้รู้ถึงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่มีข้อมูลยืนยันของการดำเนินงานตลอดโครงการ

เรียนรู้การออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ โดย นายเสณี จ่าวิสูตร เรียนรู้การวางแนวทางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรม 14 กิจกรรม ในระยะเวลา 10 เดือน เริ่ม เดือนมิถุนายน2563- เดือนมีนาคม 2564

เรียนรู้การบริหารจัดการ
การเงิน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง
ครบถ้วนประกอบไปด้วย เอกสารประกอบกิจกรรม มีครบในงบประมาณค่าใช้จ่าย สมบรูณ์ ประกอบ ไปด้วย เอกสารบิลเงินสด มี เลขที่เล่ม วันที่ นามผู้รับ รายละเอียดของการใช้จ่าย นามผู้จ่าย ถูกต้อง ประกอบไปด้วย การลงนาม ผู้รับ ผู้จ่ายถูกต้อง

การบริหารจัดการ การเงินโครงการ จัดการบริหารไปตามแผนงบประมาณการจ่ายตามตัวโครงการ รายกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีการของอนุมัติการจ่ายโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกครั้ง ต้องมีการทำบันทึกการจ่ายในสมุดเงินสดเพื่อการเบิกจ่ายและสามารถรู้งบประมาณที่เป็นปัจจุบัน รับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร ยอดคงเหลือเท่าไร

สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง สรุปตั้งแต่กระบวนการ คลี่บันไดผลลัพธ์ ให้ยึดหลักไว้ เราอยู่ที่ไหน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการเปลียนแปลง มีกิจกรรมอะไร มีตัวชีวัดสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำแล้วถึงหรือยัง โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อการรู้ว่าถึงผลลัพธ์หรือไม่ ระดับไหน การติดตามผลลัพธ์ระหว่างทาง ทบทวน แก้ไข ประเมิน สู่เป้าหมายปลายทาง ทุกกระบวนการจะต้องยึดโยงกับภาคียุทธศาสตร์ ซึ่ง ผว.ได้ย้ำถึงยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง "คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมยั่งยื่น" การบริหารโครงการ ที่มีงบประมาณ ทำตามแผนกิจกรรมโครงการ มีพี่เลี้ยงหนุมเสริม เพิ่มทักษะ การรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ ควบคู่การบริหารจัดการการเงิน มีหน่วยจัดการเสริมความรู้ความเข้าใจตามเอกสารการจ่ายตามคู่มือ

การเขียนรายงานผ่านระบบ Happy Network เรียนรู้การเข้าระบบออนไลน์ ลงรายละเอียดโครงการหน้าเวป ลงรายละเอียดงบประมาณแต่ละงวด รายละเอียดโครงการ ข้อมูลสถานการณ์ / หลักเหตุผล ลงวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ วิธีการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลงรายงานเวทีปฐมนิเทศ เสร็จสิ้นกระบวนการเวทีปฐมนิเทศ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน
ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

ผลลัพธ์ คณะทำงานรับทราบวัตถุประสงค์การดำเนินของ NFS
ได้เรียนการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ เรียนรู้การกำหนดแผนงาน
การจัดเตรียมเอกสารที่ถูกต้อง การรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์