directions_run

การจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมืองบ้านโคกท้อนร่วมใจ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมืองบ้านโคกท้อนร่วมใจ
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0011
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 123,665.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนโคกท้อนร่วมใจ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบำเพ็ญ พูลเพิ่ม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก นุ่นด้วง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.609624,100.050361place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 30 พ.ย. 2563 1 มิ.ย. 2563 30 พ.ย. 2563 49,466.00
2 1 ธ.ค. 2563 28 ก.พ. 2564 1 ธ.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 61,833.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 12,366.00
รวมงบประมาณ 123,665.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนโคกท้อนร่วมใจ ตั้งอยู่ในตำบลตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง สภาพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ทิศตะวันออกติดถนนเอเชีย ทิศใต้ติดถนนเพชรเกษม สะภาพพื้นที่ถูกโอบไว้ด้วยถนนสายหลัก 2 สาย มีลำคลองไหลมาจากตำบลเขาเจียกผ่านชุมชนบ้านโคกท้อนร่วมใจไปสู่ชุมชนบ้านท่ามิหรำอีกฝั่งของถนนเอเชีย สภาพการอยู่อาศัยของประชากรเป็นชุมชนเมือง ประกอบด้วยบ้านเดี่ยว ห้องแถว หมู่บ้านจัดสรร สถานประกอบการ กล่าวคือ
ประชากรทั้งสิ้น 530 คน แยกเป็น ชาย 223 คน หญิง 307 คน จำนวนครัวเรือน 173 ครัวเรือน พื้นที่โดยรวม 6.3 ตารางกิโลเมตร มีหน่วยงานบริการของราชการ 1 แห่ง คือ สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมและบริษัท คือบริษัทบำรุงไทยจำกัด ,บริษัทโตโยต้าพัทลุงจำกัด ร้านไพเราะคาร์แคร์ ,อาคารเก็บและกระจายสินค้า บริษัทหาดทิพย์จำกัด ,บริษัทกัลป์สตีฟกรองน้ำภาคใต้จำกัด มีร้านจำหน่วยสินค้าและอาหาร 3 แห่ง คือ ร้านบุญศิริเครื่องครัว ,ร้านข้าวต้มมณี ,ร้านเอเชียก๋วยเตี๋ยวหางหมู มีถนนและคูระบายน้ำในชุมชน 2 สาย ที่ครัวเรือนและสถานประอบการใช้เป็นช่องทางส่งน้ำเสียลงคลองเขาเจียก ซึ่งเป็นสายน้ำธรรมชาติแห่งเดียวของชุมชน ที่คุณภาพน้ำเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้มีน้ำเสียในหน้าแล้ง มีกลิ่น มีสีคล้ำ มีคราบคล้ายน้ำมัน และมีวัชพืชมากขึ้น
ส่วนข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน ทั้งครัวเรือนและสถานประกอบการ ชุมชนบ้านโคกท้อนร่วมใจยังไม่เคยมีข้อมูลใดๆมาก่อน การทำแผนพัฒนาชุมชนมีแผนการก่อสร้างคูระบายน้ำเลียบคลองเขาเจียก เพื่อเชื่อมต่อกับคูระบายน้ำที่มาจากถนนเพชรเกษม แผนที่ได้ดำเนินการแล้วคือจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนได้ทำร่วมกับ อสม. ซึ่งถ้าได้ดำเนินการจัดการน้ำเสียครัวเรือน สถานประกอบการ เพื่อการบำบัด หรือลดการระบายน้ำเสียลงคลอง อันจะช่วยรักษาคุณภาพน้ำในคลองเขาเจียก ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติแห่งเดียวของชุมชน

สาเหตุของปัญหา คน : ไม่เคยได้รับรู้สถานการณ์น้ำเสีย ไม่ตระหนักต่อผลกระทบจากน้ำเสีย รักความสะดวก ประหยัด
สภาพแวดล้อม : พื้นที่เป็นชุมชนเมือง แต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ใช้สอยจำกัด มีคูระบายหน้าบ้านให้ส่งน้ำเสียลงไปได้ง่าย
กลไก : ไม่มีกลไกติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำในคู ในคลอง ไม่มีมาตรการทางสังคมใดๆ

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วม และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 2. จัดการข้อมูล เพื่อการเรียนรู้สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
3. สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนากลไกและแกนนำ 4. ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อวางแผน จัดทำแผนแก้ไขน้ำเสียในชุมชนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ให้ได้แผน ทำเอง ทำร่วม ทำขอเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. สนับสนุนให้มีครัวเรือน ชุมชน ดำเนินการตามแผน
6. และพัฒนาต้นแบบครัวเรือนจัดการน้ำเสียด้วยการลดการปล่อยน้ำเสีย หรือการบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 7. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

จะดำเนินงานตามโครงการอย่างไร 1. ประชุมกลไกคณะทำงานทุกเดือน 2. เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของครัวเรือน วิเคราะห์ภาพรวมของชุมชน ย้อนอดีตสายน้ำ แผนที่ผลกระทบจากน้ำเสีย 3. เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย สื่อสารสร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชน ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
4. การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก เพื่อเรียนรู้ดูงานการจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง สรุปผลการศึกษาดูงาน กลไก กระบวนการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ ผลกระทบ และการสร้างความยั่งยืน 5. เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสะท้อนปัญหาการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ปัญหาน้ำเสียในชุมชน สร้างความเข้าใจการบันทึกข้อมูลการจัดการน้ำเสียครัวเรือน แบ่งกลุ่ม คัดเลือกตัวแทนกลุ่ม จัดโครงสร้าง และสร้างเครือข่ายภายในชุมชน และร่วมกันออกแบบแก้ไข จัดทำแผน ทำเอง ทำร่วม ทำขอ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. สนับสนุนกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตามแผนทำเอง ทำร่วม
8. ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ เพื่อร่วมติดตามประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ความก้าวหน้า ปรับแผน สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียนความสำเร็จ แล้วจัดทำเอกสารสื่อสารถึงชุมชนทุกครัวเรือน สถานประกอบการ และภาคี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สร้างกลไก สร้างกติกา > ปฏิบัติการลดน้ำเสียจากครัวเรือน > ลดน้ำเสียชุมชน = การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดการน้ำเสียในครัวเรือนโดยชุมชน

1.เกิดกลไกจัดการน้ำเสียที่มาจาก 3 ฝ่าย(ชุมชน+BP+SP)
2.ครัวเรือนเข้าร่วมจัดการน้ำเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.ครัวเรือนเป้าหมายจัดการน้ำเสียได้ร้อยละ 60
4.มีข้อมูลสถานการณ์การจัดการน้ำเสียของชุมชน

4.00
2 เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง

1.มีมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการน้ำเสีย
2.เกิดครัวเรือนต้นแบบการจัดการน้ำเสียอย่างน้อย 6 ครัวเรือน
3.เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชน

3.00
3 ลดปริมาณน้ำเสียจากชุมชน

1 ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนเป้าหมายลดลงร้อยละ 60

60.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 299 123,665.00 22 108,290.00
20 มิ.ย. 63 ปฐมนิเทศโครงการใหม่ 3 0.00 200.00
27 มิ.ย. 63 ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 1 25 6,375.00 2,625.00
16 ก.ค. 63 ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกครั้งที่ 2 25 0.00 625.00
19 ก.ค. 63 ก.2 เก็บวิเคราะห์ข้อมูล 0 4,050.00 4,050.00
29 ก.ค. 63 ก.3 เวทีสร้างความเข้าใจ 0 14,800.00 14,800.00
29 ก.ค. 63 กิจกรรมทำป้ายปลอดบุหรี่ 80 1,000.00 1,000.00
5 ส.ค. 63 ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 3 25 0.00 625.00
7 ต.ค. 63 เวทีเชื่่อมร้อยเครือข่าย 3 0.00 200.00
15 ต.ค. 63 ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนครั้งที่ 4 25 0.00 625.00
31 ต.ค. 63 ก.4 ศึกษาดูงาน 40 21,200.00 21,200.00
14 พ.ย. 63 ปิดงวดที่ 1 3 0.00 300.00
5 ก.พ. 64 ก.5 เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 4 ครั้ง 0 10,200.00 0.00
20 มี.ค. 64 ร่วมติดตามประเมินผลเพื่อการเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ 0 5,000.00 200.00
30 มี.ค. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
22 พ.ค. 64 ก.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมาย และรับรองแผนปฏิบัติการ 0 15,200.00 15,200.00
4 มิ.ย. 64 ก.8 ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1 30 4,140.00 4,040.00
8 ส.ค. 64 ก.9 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 40 13,800.00 13,300.00
14 ส.ค. 64 ก.7 ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง และหรือแผนทำร่วม) 0 20,000.00 20,400.00
11 ก.ย. 64 ก.10 ติดตามผลโครงการ ARE สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ 0 5,900.00 5,900.00
11 ก.ย. 64 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 64 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 64 ถอนเงินเปิดบัญชีคืน 0 0.00 500.00
  1. สรา้งกลไกขับเคลื่อน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ชุมชน+ภาคีร่วม+ภาคียุทธศาสตร์ (ตัวแทนชุมชน +กองสวัสดิการและกองสาธารณสุข +เทศบาลเมือง)
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-มีการจัดการน้ำเสียด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
- เกิดต้นแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือนในชุมชนเมือง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 13:55 น.