directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ”

ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอภิชาติ เทพกล่ำ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

ที่อยู่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-00169-0006 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 63-00169-0006 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 157,915.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารเคมี มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น ตำบลเขาปู่ เป็นพื้นที่ต้นน้ำมีพื้นที่ทั้งหมด 48,104 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน มีประชากร 4,599 คน เพศชาย 2,884 คน เพศหญิง 2915 คนจำนวน 1,747 ครัวเรือน เฉลี่ย 0.61 คน/ครัวเรือน มีสถิติร้อยละการป่วยด้วยโรคกล่าวคือ มะเร็งทุกชนิดร้อยละ 0.47 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 13.90 โรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.28 สำหรับอัตราการตายร้อยละของประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 0.18 สถิติร้อยละของการบริโภคผักกลุ่มเด็กและเยาวชนร้อยละ30 กลุ่มวัยทำงานร้อยละ 60 กลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 80
จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกพืชผักปลอดภัย ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน พบว่า   1. ครัวเรือนทั้งหมดของตำบลพบว่าร้อยละ 17.55 ปลูกผักผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพในปัจจุบัน โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล่านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการทำไร่ถั่วลิสง ปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และมีการทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ เป็นอาชีพเสริม   2. ข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ ทั้งหมด 225 คน ไม่พบสารเคมีร้อยละ 3.12 พบสารเคมีในระดับปลอดภัยร้อยละ 64.00 พบสารเคมีในระดับเสี่ยงร้อยละ 27.55 และพบสารเคมีในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 5.33 ภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 27.55 และผิดปกติจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33   3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ จำนวน 450 บาท ร้อยละ 70 ของพืชผักที่บริโภคเป็นพืชผักสวนครัวและพืชผักพื้นบ้านที่สามารถซื้อได้ในตลาด รถพ่วง และที่เก็บหาได้ไม่ต้องซื้อ   4. ตำบลเขาปู่มีศักยภาพในการผลิตพืชผักปลอดภัย ทั้งในด้านสภาพพื้นที่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถยกระดับให้เพิ่มพื้นที่ ชนิด และจำนวนการผลิตเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักของคนในตำบลให้เพิ่มขึ้น และยังสามารถเป็นแหล่งผลิตเพื่อนำสู่ตลาดส่งเสริมให้ผู้บริโภคของคนนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนอีกส่วนหนึ่งด้วย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนโครงการและจัดการความรู้ (การปลูก การกินปลอดภัย)
  2. เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดภัยและกระจายให้ผู้บริโภค
  3. เพื่อให้ประชาชนบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ร่วมประชุมเวทีปฐมนิเทศ ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการการเชื่อมโยงการดำเนินงานโครงการย่อยกับยุทธศาสตร์ Phatthalung Green City และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
  2. ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนวางแผนและแบ่งหน้าที่
  3. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครั้งที่ 1
  4. กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย
  5. กิจกรรมที่ 3. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์เปิดโครงการ
  6. กิจกรรมที่ 4. กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
  7. กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1
  8. กิจกรรมที่ 5. อบรมพัฒนาศักยภาพการทำปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวะภัณฑ์ การขยายพันธุ์ การปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP
  9. ประชุมติดตามประเมินผล ARE1
  10. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 1
  11. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 2
  12. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 3
  13. กิจกรรมที่ 8. ประสานกับร้านค้าในชุมชน ร้านค้า/ร้านอาหาร /ผู้บริโภคภายนอกชุมชน
  14. กิจกรรมที่ 9. ประกาศรับรองมาตรฐาน GAP และจัดทำข้อตกลงระหว่าง ตัวแทนผู้ผลิต (ศพค. เขาปู่) กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค
  15. กิจกรรมที่ 10. ประชุมติดตามประเมินผล ARE2
  16. กิจกรรมที่ 11. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 2
  17. กิจกรรมที่ 12. ประชุมติดตามประเมินผล ARE3
  18. กิจกรรมที่ 13. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์ 2
  19. ค่าเดินทางร่วมกับหน่วยจัดการ ARE
  20. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกกลอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ
  21. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ
  22. ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์
  23. ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารคืน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ร่วมประชุมเวทีปฐมนิเทศ ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการการเชื่อมโยงการดำเนินงานโครงการย่อยกับยุทธศาสตร์ Phatthalung Green City และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

วันที่ 20 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง พื้นที่ตำบลเขาปู่ มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ รับฟังชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงของทุน สนับสนุนที่มา จาก สสส. มาสนับสนุนกับ กลุ่มองค์กร พื้นที่หมู่บ้าน ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ในด้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย ที่มีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนให้สองคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อผลักดันให้พัทลุงเป็นเมืองสีเขียว
จากนัั้นเข้ากระบวนการเรียนรู้การคลี่บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจในองค์ประกอบบันไดผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 ผลลัพธ์ของโครงการ เป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโครงการ เป็นตัวบงบอกความสำเร็จในรูปแบบ ตัวปริมาณ ส่วนที่ 3 ตัวกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิด ผลผลิต และ ผลลัพธ์ พื้นที่ได้ทบทวนบันไดบันผลลัพธ์ ทบทวนภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ มีทั้ง
ภาคีเครือนข่ายแนวราบ (ภาคีร่วม) - ท้องที่ ท้องถิ่น
ภาคีเครือข่ายแนวดิ่ง (ภาคียุทธศาสตร์) - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ - สำนักงานเกษตรตำบลเขาปู่

เรียนรู้การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นายไพฑูรย์ ทองสม การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัดผลลัพธ์ โดยการนำตัวชี้วัดแต่ละบันไดที่เป็นส่วนหนึ่งของบันไดผลลัพธ์ ที่อยู่ใต้บันได นำมาออกแบบ โดยแบบฟอร์มการออกแบบ ประกอบไปด้วย
ตัวชี้วัด ข้อมูล ใช้ข้อมูลอะไรตอบตัวชีวัด
แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/เก็บอะไร
วิธีรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือใด
ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์
ระยะเวลาเก็บข้อมูล เก็บข้มูลเมื่อใด
แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตัวชี้อย่างไร
การออกแบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เป็นการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่เหมาะสม การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานโครงการก่อนและหลัง จะได้รู้ถึงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่มีข้อมูลยืนยันของการดำเนินงานตลอดโครงการ

เรียนรู้การออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ โดย นายเสณี จ่าวิสูตร เรียนรู้การวางแนวทางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรม 14 กิจกรรม ในระยะเวลา 10 เดือน เริ่ม เดือนมิถุนายน2563- เดือนมีนาคม 2564

เรียนรู้การบริหารจัดการ การเงิน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง
ครบถ้วนประกอบไปด้วย เอกสารประกอบกิจกรรม มีครบในงบประมาณค่าใช้จ่าย สมบรูณ์ ประกอบ ไปด้วย เอกสารบิลเงินสด มี เลขที่เล่ม วันที่ นามผู้รับ รายละเอียดของการใช้จ่าย นามผู้จ่าย ถูกต้อง ประกอบไปด้วย การลงนาม ผู้รับ ผู้จ่ายถูกต้อง
การบริหารจัดการ การเงินโครงการ จัดการบริหารไปตามแผนงบประมาณการจ่ายตามตัวโครงการ รายกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีการของอนุมัติการจ่ายโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกครั้ง ต้องมีการทำบันทึกการจ่ายในสมุดเงินสดเพื่อการเบิกจ่ายและสามารถรู้งบประมาณที่เป็นปัจจุบัน รับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร ยอดคงเหลือเท่าไร

สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง สรุปตั้งแต่กระบวนการ คลี่บันไดผลลัพธ์ ให้ยึดหลักไว้ เราอยู่ที่ไหน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการเปลียนแปลง มีกิจกรรมอะไร มีตัวชีวัดสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำแล้วถึงหรือยัง โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อการรู้ว่าถึงผลลัพธ์หรือไม่ ระดับไหน การติดตามผลลัพธ์ระหว่างทาง ทบทวน แก้ไข ประเมิน สู่เป้าหมายปลายทาง
การบริหารโครงการ ที่มีงบประมาณ ทำตามแผนกิจกรรมโครงการ มีพี่เลี้ยงหนุมเสริม เพิ่มทักษะ การรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ ควบคู่การบริหารจัดการการเงิน มีหน่วยจัดการเสริมความรู้ความเข้าใจตามเอกสารการจ่ายตามคู่มือ

การเขียนรายงานผ่านระบบ Happy Network เรียนรู้การเข้าระบบออนไลน์ ลงรายละเอียดโครงการหน้าเวป ลงรายละเอียดงบประมาณแต่ละงวด รายละเอียดโครงการ ข้อมูลสถานการณ์ / หลักเหตุผล ลงวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ วิธีการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลงรายงานเวทีปฐมนิเทศ เสร็จสิ้นกระบวนการเวทีปฐมนิเทศ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน

ผลลัพธ์
รู้และเข้าใจการดำเนินงานตามเงื่อนไขของ สสส
คาดว่าจะสามารถบริหารจัดการโครงการสู่ผลลัพธ์ได้ และสามารถจัดทำเอกสารหลักฐานการจ่ายได้ครบถ้วน ถูกต้อง

 

3 0

2. ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนวางแผนและแบ่งหน้าที่

วันที่ 30 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ แนะนำสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นที่มาของเงินงบประมาณโครงการ
แนะนำคณะทำงาน และกลไกขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 25 คน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1 นายอภิชาต เทพกล่ำ หน.โครงการ/ประธานคณะทำงาน
2 นายวิชิต ราชแก้ว ประสานงาน
3 นางญานิศา คงใหม่ การเงิน/บัญชี
4 นางวรรณดี  บุญแก้วปอม กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 1
5 นางพุทธิญดา ทองมีเอียด กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 2
6 นางสร้อยประดับ คงยืน กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 3
7 นางรจนาพร ดำจวนลม กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 4
8 นางโสภิดา วรรณะ กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 5
9 นางจิตติมา ไหมศรีขาว กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 6
10 นางฤหัส เกลาฉีด กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 7
11 นางใจ หนูจุ้ย กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 8
12 นางมาลี คงแก้วหนู กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 9
13 นายสมนึก เพ็งนุ่น กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 10
14 นางวารุณี บุญแก้วสุด กรรมการปฏิบัติการ หมู่ที่ 11
15 นางโสภา เกษม กรรมการปฏิบัติการ
16 นางดารา กลั้งทองด้วง ติดตามประเมินผล
17 นายประเสริฐ บุญแก้วคง ติดตามประเมินผล
18 นางสาวปรียาภรณ์ คงผอม ติดตามประเมินผล
19 นายนคร ชูช่วย ติดตามประเมินผล
20 นางอุไร คงแสง ติดตามประเมินผล
21 นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง ติดตามประเมินผล
22 นายสมพงศ์ แก้วนาม ติดตามประเมินผล
23 นางสุกัญญา สิริชุม ติดตามประเมินผล
24 นางจริญญา ดำช่วย เลขานุการ/รายงานผล
25 นางสาวภาวิณี พูลเนียม ผู้ช่วยเลขานุการ/รายงานผล

แจ้งรายชื่อตัวแทนชุมนที่ร่วมเปิดบัญชี 3 คน
1. นายอภิชาต เทพกล่ำ
2. นายวิชิต ราชแก้ว
3. นางญานิศา คงใหม่

กำหนดปฎิทินปฏิบัติงานตามรายละเอียดกิจกรรมโครงการรายละเอียดปรากฏแล้วในแผนดำเนินงาน กำหนดครัวเรือนเป้าหมายจาก 11 หมู่บ้านๆ ละ 10 ครัวเรือน รวม 110 ครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
คณะทำงานเข้าร่วมเรียนรู้ แบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ จำนวน ...22....คน
มีคณะทำงาน 5 คน กลไกขับเคลื่อน 17 คน แบ่งงานดังนี้
ฝ่ายปฏิบัติการ
ฝ่ายติดตามประเมินผล
ฝ่ายอำนวยการ
ได้ครัวเรือนสมาชิกโครงการครบตามจำนวน 110 ครัวเรือน จาก 11 หมุ่บ้านๆละ 10 ครัวเรือน

ผลลัพธ์
คณะทำงาน คณะกรรมการไกการขับเคลื่อนโครงการ เข้าใจแนวทางการดำเนิงาน และเข้าใจบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแบ่งงานแบ่งหน้าที่ประจำหมู่บ้าน เพื่อง่ายต่อการติดตามงาน

 

25 0

3. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครั้งที่ 1

วันที่ 15 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จาการประชุมคณะทำงาน คณะกลไกขับเคลื่อน ฝ่ายปฏิบัติการได้แบ่งพื้นที่กันเก็บข้อมมูลตามแบบสำรวจ จำนวน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 10 ตัวอย่าง โดยโครงการสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวหน้าชุด เพื่อแ่บ่งให้ผู้เก็บข้อมุลทุกคนๆละ 30 บาท รวมเป้นเงิน 330 บาท
หัวหน้าชุดเก้บข้อมูล รวบรวมแบบสำรวจข้อมุล ซึ่งประกอบด้วย
ข้อมูลครัวเรือน
ข้อมุลการปลูก
ข้อมุลการผลิต
ข้อมุลการขาย
ข้อมูลการซื้อ
ข้อมุลการบริโภค
ส่งในคณะทำงานบันทึกข้อมุลลงในตาราง xls. รวบรวม วิเคราะห์ สรุปผลเพื่อนำสู่การคืนข้อมุลในกิจกรรมเปิดโครงการ คืนข้อมูลต่อไป
(รายละเอียดปรากฏตามไฟล์เอกสารที่แนบ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
เก็บข้อมูลได้ครบถ้วนทั้ง 110 ครัวเรือน
ผลลัพธ์
มีข้อมูลสถารณ์ พื้นที่การปลูก จำนวนการผลิต ชนิดของพืชอาหาร
แหล่งขาย แหล่งซื้อ รายได้ รายจ่าย
อัตราการบริโภคผักผลไม้เพียงพอตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

 

110 0

4. กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย

วันที่ 7 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์ รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS นาย ไพฑรูณ์ ทองสม จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้
มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่ แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่
จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม
พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นอาหารปลอดด้วยกัน เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ประเด็นอาหารปลอดภัย หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
1. ประเด็นทรัพยากร
2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม
3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน
ผลลัพธ์
เชื่อมกิจกรรมกับภาคียุทธศาสตร์เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ และเกษตรจังหวัด
เชื่อมร้อยกิจกรรมกับภาคีสาธารณสุข สาธารณสุขอำเภอ และสาธารณสุขจังหวัด

 

3 0

5. กิจกรรมที่ 3. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์เปิดโครงการ

วันที่ 30 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมการ
การจัดจุดเรียนรู้ประจำกลุ่ม บูธผักพื้นบ้าน บูธพืชผักสวนครัว จัดเตรียมเรียบร้อยในเย็นของวันก่อนกิจกรรม ได้รับความร่วมมือจาก รพสต.บ้านเขาปู่ และกลุ่ม อสม.ที่ร่วมจัดบูธ

รายละเอียดกิจกรรมตามกระบวนการ
เวลา 09.00 น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนพร้อมแล้วในห้องประชุม รพสต.บ้านเขาปู่
เวลา 09.30 น นางอุไร คงแสง ผอ.รพ.สต. บ้านเขาปู่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแนะนำสถานที่
ตามด้วยนายอภิชาติ เทพกล่ำ หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานสร้างความเข้าใจรายละเอียดโครงการ สถานการณ์บริบทพื้นที่ตำบลเขาปู่ วัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัด ผลลัพธื กิจกรรมโครงการ แนะนำคณะทำงานโครงการ และกลไกขับเคลื่อนโครงการ
เวลา 10.30 น นายอำเภอศรีบรรพต ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัยตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง และปถกฐาแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัย สู่ผู้บริโภค เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยงเชิงวิภีชีวิตคนเขาปู่ และกับยุทะศาสตร์จังหวัด โดยมีพัฒนาการอำเภอ ผู้แทนสาธารณสุขอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
เวลา 10.15 น.เปิด VTR ชุมชนน่าอยู่บ้านหูยาน http://youtube.com/watch?
เพื่อรับชมตัวอย่างของพื้นที่ที่สำเร็จทางด้านการบริหารจัดการ การผลิตและบริโภคผักปลอดภัย
เวลา 10.45 น.มีการสร้างความเข้าใจถึงตัวโครงการกระบวนการและแหล่งที่มาของงบประมาณ ทำความรู้จักกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เวลา 13.00 น. ชมบูทเรียนรู้สองบูท บูทผักพื้นบ้าน และบูทผักสวนครัว โดยนำผักที่มีในตำบลมาจัดบูท
เวลา 13.30 น. มีการจัดกิจกรรมสันทนาโดยทีมสร้างสุข ตำบลเขาปู่
เวลา 13.45 น. เวทีเสวนา สถานการณ์การผลิตและบริโภคผักปลอดภัย โดย นายฉลอง คงใหม่ นายก อบต.เขาปู่ / นายอภิชาติ เทพกล่ำ ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเขาปู่ / นางอุไร คงแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุขภาพตำบลเขาปุ่ / นายนคร ชูช่วย นักวิชาการสงเสริมการเกษรปฏิบัติการ รพ.สต เกษตรตำบล และประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเขาปู่
เวลา 15.15 น.การนำเสนอแบบสรุปข้อมูล คืนข้อมูลและประเมินการดำเนินกิจกรรมการปลูกผักในครัวเรือนตำบลเขาปู่ โดย นางสาวปรียาภรณ์ คงผอม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
จำนวนผู้เข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน 110 คน จาก 110 ครัวเรือน 11 หมู่บ้าน
มีภาคีเข้าร่วม
นายอำเภอ นายกอบต.เขาปู่ รพ.สต. เกตรตำบล พัฒนาชุมชน

ผลลัพธ์
ด้านกลไกขับเคลื่อน
1 มีกลไกคณะทำงานครอบคลุมพื้นที่ 10 หมู่บ้าน
2 ภาคียุทธศาสตร์ เกษตรตำบลเขาปู่ และ รพสต.บ้านเขาปู่ ร่วมเป็นเจ้าภาพ
3.ภาคี อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม อสม. ให้ความร่วมมือ

ด้านข้อมูลสถานการณ์
1. มีทะเบียนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 110 ครัวเรือน
2. มีทะเบียนแปลงผลิต และจำนวนพืชผักอาหาร ปริมาณการผลลิต
3. มีข้อมุลแหล่งซื้อ แหล่งขาย
4. มีข้อมุลจำนวนผู้บริโภคพืชผักเพียงพอ 400 กรัม/คน/วัน

รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบ

 

115 0

6. กิจกรรมที่ 4. กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

การเรียนรู้ดูงานความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ตำบลโคกม่วง
เวลา 07.30 น คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน แกนนำหมู่บ้าน ภาคียุทธศาสตร์(รพสต.) จำนวน 40 คน พร้อมกัน ออกเดินทางโดยรถบัสปรับอากาศ จาก อบต.เขาปู่ เวลา 09.00 น ถึงศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ (ปุย๋ขี้ไส้เดือน) หมู่ที่ 9 บ้านควนยวน ต้อนรับและบรรยายโดยนายณัฐพงศ์ คงสง วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้ ว่าด้วเรื่องการใช้ไส้เดือนจัดการขยะอินทรีย์ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีสำหรับการบำรุงดิน ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ตามลำดับดังนี้
1. การเตรียมวัสดุ ขี้วัวแห้ง + หยวกกล้วย + ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน แช่น้ำหมักไว้ 7 วัน แล้วเปิดรูระบายน้ำออก น้ำที่ได้เป้นปุ๋ยน้ำอย่างดี ใช้รดต้นไม้ พืชผักได้เลย
2. ปล่อยแม่พันธุ์ไส้เดือนลงเลี้ยงในภาชนะ (กะละมังใส่ไส้เดือน 250 กรัม ท่อซีเมนต์ 80x100 ซม. ใช้ใส้เดือน 1 กิโลกรัม) โดยการกองใส้เดือนลงบนผิวหน้าวัสดุเลี้ยง ไส้เดือนจะชอนไชลงไปในกองวัสดุเองภายใน ครึ่งชั่วโมง
3. รถน้ำด้วยฝักบัว หรือน้ำแบบฝอย ให้ชุ่ม ทุกวันๆละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน น้ำที่ไหลออกมาจากรูระบาย ใช้เป้นปุ๋ยน้ำรถผักได้
4. วันที่ 8 หยุดรดน้ำ และเตรียมเก็นน้ำเยี่ยวไส้เดือนโดยรองรับเอาจากรูระบายน้ำ เก็บเยี่ยวไปจนครบ ให้เก็บมูลไส้เดือนที่ผิวหน้าของวัสดุเลี้ยง
5. เติมวัสดุเลี้ยงให้สูงขึ้นมาเท่าเดิม ทำกระบวนการรถน้ำ 7 วัน หยุดให้น้ำเก็บเยี้ยว เก็บมูล วนไป
เอกสารการเลี้ยงไส้เดือน https://drive.google.com/file/d/1WKLY6Ky3vJDloW07ocCIDip1amHh3vWB/view
ปุ๋ยไส้เดือนมีธาตุอาหาร N สูง P ปานกลาง K ต่ำ จึงเหมาะกับพืชผักกินใบ กินต้น กินดอก หรือจะเสริมธาตูอาหาร K เพื่อให้ใช้ได้กับพืชผักทุกชนิด

รับประทานอาหารว่าง

เวลา 10.30 น เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารบ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่ 15 เยี่ยมชมการจัดการสวนผสมผสานเพื่อความมั่นคงทางอาหาร บรรยายสรุปโดยนางจินตนา อภัยรัตน์ ตามด้วยศุูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีพืชผักอาหารปลอดภัย มีเป็ด ไก่ ปลา กบ แหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือน บรรยายโดยนายเอียด สนดี ต่อไปที่ศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน บรรยายสรุปหลักคิด วิธีการ สร้างความมั่นคงทางอาหารโดยนายวิโรจน์ เหตุทอง วิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้
หลักคิด คนในชุมชนจะต้องมีความมั่งคง มีข้าวเพียงพอ มีพืชผักผลไม้ เพียงพอ มีอาหารโปรตีนเพียงพอ
หลักการ เพิ่มพื้นที่การผลิตข้าวในสวนยางปลุกใหม่ ส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือนโดยใช้แผนพัฒนาหมุ่บ้าน เสนอของบประมาณสนับสนนุนจากงบปพัฒนาจังหวัด ผ่านปศุสัตว์อำเภอเขาชัยสน เพิ่่มพื้นที่ผลิตอาหารในโรงเรียนแปลงผักโรงเรียน นาข้าวโรงเรียนร่วมกับชุมชน

พักรับประทานอาหารกลางวัน (หลากหลายเมนุจากชุมชน)

เวลา 13.00 น เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 11 ต้อนรับ และบรรยายสรุปโดย นายมนูญ สุขรัตนื แลนายทวี จันทร์ขาว รายละเอียดตามลำดับดังนี้
1. การจัดการน้ำที่ต้นน้ำ โดยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินให้ชุมชน ดำเนินการเมื่อปี 2557 จนถึงปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำจำนวน 206 ฝาย สร้างฝาย มีชีวิตในพื้นที่ชุมชน 3 ฝาย สามารถเพิ่มระดับน้ำใต้ดินในหน้าแล้งได้ที่ระดับ 1-1.5 เมตร ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่เพื่อปลูกพืชผักสวนครัว พืชผักร่วมยาง เพิ่มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ชุมชนน่าอยู่บ้านทุ่งยาว http://youtube.com/watch?v=sP-SGhcDyZg

พักรับประทานอาหารว่าง

  1. การทำปุ๋ยหมักดจากจุลินทรีย์ในท้องถิ่น โดยสถาบันปฏิบัติการชุมชนฯขอเชิญผู้สนใจเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์สูตร ICOFIS จากจุลินทรีย์ในท้องถิ่น ผ่านการให้บริการของชุมชนบ้านทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นชุมชนเครือข่ายของสถาบันฯ โดยสามารถติดต่อขอรับบริการได้ทุกช่องทาง FB สายตรง ผอ. อีเมลล์ icofis@gmail.com เป็นปุ๋ยหมักที่ทำง่ายไม่ต้องกลับกอง หมักนานเวลา 15 วัน ก็นำไปใช้ได้ ที่นี่เป้นแหล่งเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ มาตรฐาน Organic ผลิตผักสลัดในนามวิสาหกิจอาหารปลอดภัยบ้านทุ่งยาว มีสมาชิกกลุ่ม 10 ราย จัดตารางปฏิทินการผลิต ส่งขายให้ร้านมีสลัด เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
    ปุ๋ยอินทรีย์สูตร ICOFIS
    สูตร 1 บำรุงต้นและใบ
    ขี้ไก้แกลบ  400 กก.
    รำละเอียด  50 กก.
    แกลบดำ  10 กก.
    ขี้เลื่อย  400 กก.
    หยวกกล้วย  50 กก.
    โดโลไมต์  10 กก.
    หัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ 50 ลิตร

สูตร 2 บำรุงดอกและผล
ขี้วัว 200 กก.
ขี้ไก่ 200 กก.
รำละเอียด 50 กก.
แกลบดำ 55 กก.
ขี้เลื่อย 400 กก.
หยวกกล้วย 100 กก.
หินฟอสเฟต (0-3-0) 50 กก.
หัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ 50 ลิตร

เวลา 16.00 น เดินทางกลับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
คณะทำงาน กลไก แกนนำร่วมเรียนรู้ดุงาน 4 แผล่งเรียนรู้ จำนวน 31 คน

ผลลัพธ์
ผู้ร่วมดูงาน ได้รุ้ ได้เห็น ได้เข้าใจแนวทาง และสามารถนำกลับไปดำเนินการในชุมชนได้ เช่นผักในโรงเรีอนที่สามารถปลูกได้ตลอดปี การทำปุ๋ยหมักที่ลดต้นทุนได้อย่างมาก

 

30 0

7. กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจเอกสารการเงิน ดังนี้
1. เอกสารหลักฐานการเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศ วันที่ 20 มิถุนายน 2563
2. เอกสารหลักฐานการเข้าร่วมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย วันที่ 7 ตุลาคม 2563
3. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรม เวทีที่ 1 ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน วางแผนและแบ่งหน้าที่1
4. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรมเวทีที่ 2 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 1
5. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรมเวทีที่ 3 การเรียนรู้สถานการณ์คืนข้อมูลครั้งที่ 1
6. หลักฐานเบิกจ่าย การจัดกิจกรรมเวทีที่ 4 กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหาร ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
7. กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
ส่งเอกสารตรวจทั้ง 7 ชุด 7 กิจกรรม
ผลลัพธ์
1. เอกสารด้านการเงินครบถ้วนถูกต้อง ทั้ง 7 ชุดกิจกรรม 2. ออกรายงานการเงินได้

 

4 0

8. กิจกรรมที่ 5. อบรมพัฒนาศักยภาพการทำปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวะภัณฑ์ การขยายพันธุ์ การปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP

วันที่ 1 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

09.00น. หัวหน้าโครงการแจ้งวัตถุประสงค์การอบรม 09.30-10.30น. นายนคร ชูช่วย เกษตรตำบลสร้างความเข้าใจการทำเกษตรตามมาตรฐาน GAP 10.30 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 นายวิทย์ ณ เมธา เกตุแก้ว เลขานุการสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนพัทลุง สร้างความเข้าใจการเษตรตามมาตรฐาน SDGs PGS พัทลุง ทุกคนที่ทำการเกษตรสามารถสมัครเข้าร่วมพัฒนาแปลงได้ไม่จำกัดพื้นที่ ภายใต้การรับรองแปลงตามเกณฑ์กติกา 22 ข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระยะเปลี่ยนผ่าน 3 ปี
  นายประสิทธิ์ ชูแก้ว ประธานบริษัทพัทลุงออณ์แกนนิค สร้างความเข้าใจเรื่องผลผลิตเพื่อเข้าสู่ตลาด ตามมาตรฐาน PGS เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มผลิต และส่งผลผลิตผ่านบริษัทได้ แต่ถ้าสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน ก็จะยิ่งเป็นการดียิ่ง เพราะบริษัทดำเนินการในรูปสหกรณ์ สมาชิกสมาพันธ์มีสิทธืเป้นสมาชิกสหกรณ์ เวลา 12.00 พักรับประทานอาหาร เวลา 13.00 แบ่งกลุ่มเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน
ฐานการทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยนายสมปอง ทองหนูนุ้ย ประธานศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านไสประดู่ หมู่ที่2 ตำบลเขาปู่
    ฐานการปลูกและขยายพันธ์พืช โดยนางณัฐวดี ตุ้นด้วง นักพัฒนาชุมชน เรียนรู้การปักชำแบบควบแน่น โดยผุ้เรียนรู้ทุกคนได้ลงมือทำ และนำผลงานที่ทำกลับบ้าน     ฐานที่การเรียนรู้มาตรฐานการเกษตร PGS โดยนายชำนาญ สงชู และนางสาวหวานใจ ด้วงนิล เจ้าหน้าที่ตรวจมาตรฐานแปลงเกษตร สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนจังหวัดพัทลุง รับประทานอาหารว่างในฐานการเรียนรู้ เวลา 15.00 น นายชวพล อ่อนเรือง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง สร้างความเข้านโยบายเกษตรยั่งยืนจังหวัดพัทลุง โดยมีเป้าหมายการเกษตรปลอดภัยจำนวน 1.3 ล้านไร่ เพื่อสร้างพัทลุงเป็นเมืองความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางด้านความปลอดภัย ภายใต้สโลแกน “พัทลุงเมืองเกษตรอินทรีย์วิถียั่งยืน” ซึ่งเกษตรกรและชาวพัทลุงจะต้องทำ และไม่ทำ 3 อย่าง ดังนี้

ไม่ทำ 3 อย่าง คือ
1. ต้องไม่มีการเผาในกระการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ป้องกันการทำลายหน้าดิน ป้องกันการทำลายจุลินทรีย์
2. ต้องไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดในการเกษตร เพื่อให้ผลผลิตมีความปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้าง
3. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร เพื่อลดต้นทุน เพื่อปรับสภาพดิน และเพื่อฟื้นฟูจุลินทรีย์ช่วยย่อย
ต้องทำ 3 อย่างคือ
1. เกษตรกรจะต้องปลูก และผลิตสิ่งที่เป็นอาหารให้มาก หลากหลายที่สุด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้านความเพียงพอ และเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน
2. เกษตรกรจะต้องทำป่าร่วมยาง สร้างฐานผลิตอาหารในสวนยาง พืชผักพื้นบ้าน ที่สามารถปลูกได้ในสวน ซึ่งจะช่วยให้สวนยางมีความสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้น ช่วยให้น้ำฝนซึมสู่ใต้ดินได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจังหวัดจะช่วยเรื่องการจัดการน้ำด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินอีกส่วนหนึ่งด้วย ปี 2564 จำนวน 1000 ที่ และปี 2566 จำนวน 5000 ที่ ตลอดแนวต้นน้ำ
3. จะต้องจัดการขยะอย่างจริงจัง เป็นระบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

ปิดประชุมเวลา 15.45 น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกรู้และเข้าใจการทำเกษ๖รเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย ระดับ GAP และระดับ PGS
สมาชิกสามารถทำปุ๋ยหมัก ใช้เองได้ โดยมีนายกิตติพงศ์  รับเป็นต้นแบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของตำบล  พร้อมให้สมาชิกได้ร่วมเรียนรู้ในกระบวนการโรงเรียนชุมชน โดยมีกำหนดการเรียนรู้ในวันที่ 26 ธันวาคม 2563 วันที่ 9 มกราคม 2564 และวันที่ 16 มกราคม 2564
การปลูก นายกิตติพงศ์  รับเป็นต้นแบบการปลูกผักเหลียงของตำบล พร้อมให้สมาชิกได้ร่วมเรียนรู้ในกระบวนการโรงเรียนชุมชน โดยมีกำหนดการเรียนรู้ในวันที่ 26 ธันวาคม 2563 วันที่ 9 มกราคม 2564 และวันที่ 16 มกราคม 2564 การขยายพันธุ์ นายกิตติพงศ์  รับเป็นต้นแบบการขยายพันธุ์ (การตอนกิ่ง การปักชำ การติดตา การเสียบยอด) ของตำบล พร้อมให้สมาชิกได้ร่วมเรียนรู้ในกระบวนการโรงเรียนชุมชน โดยมีกำหนดการเรียนรู้ในวันที่ 26 ธันวาคม 2563 วันที่ 9 มกราคม 2564 และวันที่ 16 มกราคม 2564

 

115 0

9. ประชุมติดตามประเมินผล ARE1

วันที่ 6 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กลไกขับเคลื่อน (คณะทำงาน ตัวแทนสมาชิกโครงการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์) เข้าประชุม ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับบันไดผลลัพธ์  ค้นหาความสำเร็จ  ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ แกนนำเด่น ภาคีเด่น นวัตกรรม  สรุปรายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.เกิดกลไกคณะทำงานและจัดการความรู้
  1.1 มีกลไกคณะทำงานครอบคลุมพื้นที่ ภาคีท้องถิ่น และภาคียุทธศาสตร์   1.2 กลไกขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย(คณะกรรมการตามโครงการ)   1.3 กลไกขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย(เกษตรตำบลและศูนย์ถ่ายทอดฯ)
  1.4 กลไกขับเคลื่อนการบริโภคผักปลอดภัย(รพ สต) 2. ทะเบียนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ
  2.1 ทะเบียน 110 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ จาก 11 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10 ครัวเรือน คัดเลือกจากครัวเรือนที่สมัครใจและมีผลการดำเนินงานเพื่อพืชผักปลอดภัยอยู่แล้ว
  2.2 รายละเอียด ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ปรากฏตามเอกสารแนบท้าย 3. ทะเบียนแปลงผลิตพืชอาหารปลอดภัย ได้ทะเบียนแปลงผลิตพืชอาหาร 110 ครัวเรือน จำนวนพื้นที่ 119ไร่ 3งาน 73ตารางวา   1. ขึ้นทะเบียนแปลงผลิตพืชผัก 3 ประเภท   1.1 แปลงผลิตพืชผักสวนครัว..............ครัวเรือน   1.2 แปลงผลิตพืชผักเพื่อขาย.............ครัวเรือน   1.3 แปลผลิตพืชผักในสวน..........ครัวเรือน ผลลัพธ์
  กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิกโครงการเข้าใจในวัตถุประสงค์ กิจกรรม ของโครงการ และให้ความร่วมมือขับเคลื่อนสู่ผลลัพธืร่วมกัน

 

25 0

10. ค่าเดินทางร่วมกับหน่วยจัดการ ARE

วันที่ 20 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ผู้จัดการโครงการของหน่วยจัดการพัทลุงได้ทำความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนโครงการและคณะทำงานโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยจัดการและได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ทางหน่วยจัดการได้จัดกระบวนการไว้

 

3 0

11. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 16 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหมู่พื้นที่ตำบลเขาปู่ จำนวน 3 ฐาน 1. ฐานการเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก เวลาเริ่มต้น......13.00....น. สิ้นสุดเวลา....17.00...น. สถานที่จัด..ประชุมให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพบ้านของวิทยากรผู้ถ่ายทอด ให้ความรู้ คือ นายสมปอง ทองหนูนุ้ย เลขที่ 111 บ้านใสประดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง และเยี่ยมชมการสาธิตสถานที่ทำปุ๋ยหมักในสวนทุเรียนของนายสมปอง ซอยถ้ำสาย บ้านใสประดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
กลุ่มเป้าหมาย....40.......คน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดกิจกรรม เวลา 13.30 น. ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนและรับการเจาะเลือดตรวจสารพิษในเลือด ครั้งที่ 1 จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ และเวลา 14.00 น. นายอภิชาติ เทพกล่ำ ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเขาปู่ กล่าวพบปะผู้เข้าร่วมโครงการและเปิดการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยและความสำคัญของการปลูกและบริโภคผักปลอดภัย และความสำคัญของการเตรียมดินให้มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชผัก โดยมีวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพและการทำปุ๋ยหมักแห้ง คือ นายสมปอง ทองหนูนุ้ย ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านและหมอดินอาสาของตำบลเขาปู่ ดังต่อไปนี้ การทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อุปกรณ์ประกอบการทำน้ำหมักชีวภาพ 1. ถังหมักแบบมีฝาปิด ความจุ 200 ลิตร 2. ถังน้ำละลายสารเร่ง พด.2พร้อมไม้พายสำหรับคน 3. มีด/เขียง

ส่วนผสม 1. สับปะรดสุก จำนวน 40 กิโลกรัม 2. กากน้ำตาล จำนวน 10 กิโลกรัม
3. สารเร่งซุปเปอร์พด. 2 จำนวน 1 ซอง 4. น้ำ จำนวน 10 ลิตร วิธีการทำ 1. หั่นสัปรดหรือสับเป็นชิ้นเล็กๆ
2. ผสมกากน้ำตาลกับน้ำในถังหมัก คนจนเข้ากัน 3. ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซองในส่วนผสมของกากน้ำตาลกับน้ำ คนให้เข้ากันนาน 5 นาที (คนให้วนไปทางเดียวกัน) 4. นำสับปะรดใส่ลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากัน 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท วางในที่ร่ม 6. ในระหว่างการหมักให้คน 1-2 ครั้งต่อวัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น ระยะเวลาการหมัก อย่างน้อย 45 วัน

  1. ฐานการเรียนรุ้ การปลูกพืชผัก เวลาเริ่มต้น......13.00....น. สิ้นสุดเวลา....17.00...น. สถานที่จัด..ประชุมให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผัก ผู้ให้ความรู้ คือ นางถนอมจิต หนูรอด
    กลุ่มเป้าหมาย....40.......คน
    ส่วนที่ 2 รายละเอียดกิจกรรม เวลา 13.30 น. นางสาวภาวิณี พูลเนียม ได้กล่าวทักทายกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเวทีที่6 โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟื้นฟูภูมิปัญญา
    ต่อมากล่าวทักทายสมาชิกโดยนางฤหัส เกลาฉีด สมาชิกกลุ่มปลูกผักเหมี่ยงบ้านเขาป้าแหร้ กล่าวถึงที่มาของการรวมตัวกันปลูกผักเหมียง เนื่องจากผักเหมียงเป็นผักที่สามารถปลูกแซมในสวนยางได้ ไม่กินพื้นที่ ต้นมีขนาดเล็ก และที่สำคัญคือเป็นที่ต้องการของตลาด ดูแลง่าย การปลูกผักเหมียง นิยมทำโดยการตอนกิ่ง วิธีการตอนกิ่งผักเหมียง

- การเลือกกิ่งควรเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปโดยสังเกตเปลือกของกิ่งควรมีสีน้ำตาลอมเขียว - ควั่นให้ชิดกับข้อรอยควั่นมีระยะห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงของต้นหรือกิ่งที่จะตอน - เมื่อควั่นเสร็จแกะเปลือกขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด - ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำจนอิ่มใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุง - กรีดถุงจากก้นถึงปากถุงนำมาหุ้มที่รอยควั่นผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น - อย่าปล่อยให้แห้ง รากจะงอกภายในเวลาประมาณ 2 - 3 เดือนตรวจดูรากสามารถดูดน้ำได้หรือไม่ เมื่อรากทำงานดีแล้วตัดเอาลงถุงปลูก - เมื่อต้นแข็งแรงดีจึงนำลงหลุมปลูก


ฐานที่ 3.การขยายพันธ์พืช วิทยากรให้ความรู้ นายสมคิด ฉิมทองโอ บ้านเลขที่ 137 ม.1 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง วิธีการขยายพันธ์ 1. เตรียมอุปกรณ์ - กระบะเพาะเมล็ด -ขุยมะพร้าว -ขนขุยมะพร้าว การเพาะเมล็ด นำเมล็ดทุเรียนมาล้างให้สะอาด คัดเลือกเมล็ด เอาเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำเมล็ดไปเพาะในกระบะที่เตรียมไว้ โดยให้ด้านขาวของเมล็ดลงในขุยมะพร้าวครึ่งเมล็ด ประมาณ 10-20 วัน จะมีลำต้น แล้วให้หักเมล็ดทุเรียนทิ้ง การเสียบยอด สิ่งที่ต้องเตรียม พลาสติกสีฟ้า เชือกฟาง สกอตเทป คัตเตอร์ ยอดทุเรียน ต้นทุเรียนที่ชำไว้ 2 เดือน วิธีการเสียบยอด ตัดต้นตอทุเรียน ห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. และผ่าตรงกลางต้น ลึกประมาณ 2 ซม. นำยอดพันธุ์ทุเรียนมาปาดเป็นลักษณะรูปลิ่ม และเสียบลงยังต้นตอ แล้วผูกด้วยเชือกฟาง เอาถุงคลุม และเก็บไว้ในที่ร่ม การเสริมราก วิธีการมีดังนี้ นำต้นทุเรียนที่ต้องการเสริมราก ไปปลูกติดกับต้นทุเรียนพันธุ์ดี ระยะห่างประมาณ 30 ซม. โน้มต้นทุเรียนที่ต้องการเสริมรากเข้าหาต้นทุเรียนพันธุ์ดี กรีดเปลือกต้นทุเรียนพันธุ์ดีออก และมันเข้าด้วยกัน พันด้วยพลาสติกใสติดตา จากข้างล่างขึ้นข้างบนให้แน่นเพื่อกันน้ำเข้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้รับความรู้ที่หลากหลาย ทั้งการขยายพันธ์ การปลูก และการผลิตปุ๋ยใช้เอง

 

115 0

12. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

วันที่ 23 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรม 3 ฐานเรียนรู้ ฐานเรียนรู้ที่ 1 การขยายพันธุ์พืช วันที่จัด.....23 มิถุนายน 2564........................วันที่สิ้นสุดกิจกรรม......... 23 มิถุนายน 2564 เวลาเริ่มต้น......13.00....น. สิ้นสุดเวลา....17.00...น. สถานที่จัด..ประชุมให้ความรู้เรื่องการการขยายพันธุ์พืช ณ สวนของวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ คือ นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง เลขที่ 38 บ้านสะพานยาง หมู่ที่ 2 ตำบลเขาย่า อำเภอ ศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง และเยี่ยมชมแปลงพืชผักที่ขยายพันธุ์และสาธิตการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการปักชำแบบควบแน่น
กลุ่มเป้าหมาย....40.......คน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดกิจกรรม เวลา 13.30 น. ผู้เข้าร่วมลงทะเบียน ณ ฐานการขยายพันธุ์พืช ซึ่งเป็นกิจกรรมโรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญา ระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ เยี่ยมชมแปลงพืชผักที่ขยายพันธุ์เรียบร้อยแล้ว และ นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง วิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชการปักชำแบบควบแน่น รายละเอียด ดังต่อไปนี้ การขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น วัสดุอุปกรณ์ 1. ยอดพันธุ์ ความแก่อ่อน 40- 60% 2. น้ำสะอาด 3. แก้วพลาสติก ขนาดบรรจุ 6-10 ออนซ์ (หรือภาชนะที่ขนาดใหญ่กว่า ดูตามขนาดของยอดหรือกิ่งพันธุ์) 4. ถุงพลาสติกใสขนาด 6x11 นิ้ว (หรือขนาดใหญ่กว่า ) 5. ยางวงเส้นเล็ก หรือเชือก 6. กรรไกรแต่งกิ่ง และกรรไกรเอนกประสงค์ วิธีทำ 1. เก็บดินจากบริเวณที่มีอินทรีวัตถุน้อย ทำดินให้ร่วนซุย พรมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปั้นดู พอติดมือ (กำพอเป็นก้อน) 2. นำดินใส่ให้เต็มแก้วพลาสติกหรือภาชนะกระถางที่จะใช้ กดดินให้แน่น ระดับ 80% 3. ใช้ไม้แหลมหรือกรรไกรเสียบตรงกลางภาชนะที่ใส่ดิน ให้ลึกไม่เกิน 3 ใน 4 ส่วนของแก้ว 4. ใช้กรรไกรคม ตัดยอดพืชพันธุ์ ตามที่ต้องการ ตัดให้ยาวประมาณ 12 - 18 ซม. ข้อสำคัญอย่าให้แผลที่ตัดเปลือกฉีก จะออกรากไม่ดี 5. ใช้กรรไกรตัดหนามออกให้หมด ป้องกันหนามแทงถุง ถ้าอากาศเข้าจะออกรากยาก 6. นำยอดพันธุ์เสียบลงในรูที่เตรียมไว้ ให้สุด 7. ใช้นิ้วหัวแม่มือ กดดินรอบกิ่งมะนาวให้แน่น อย่าให้หลวม จะออกรากยาก 8. นำถุงพลาสติกครอบลงแล้วรัดด้วยยางวงจำนวน 2 เส้น แล้วดึงก้นถุงให้ยางไปรัดอยู่ที่ขอบปากแก้ว 9. นำไปเก็บไว้ในที่ร่มรำไร หลังจากนั้น 15 - 20 วัน ให้ตรวจดูราก พอพบรากให้ปล่อยจนรากมีสีน้ำตาล การกลับถุงมีวิธีดังต่อไปนี้              1. ให้นำถุงออกจากแก้ว ช่วงเย็น เพื่อป้องกันความร้อน 2. นำถุงออกแล้ว นำแก้วควบแน่นที่ออกรากแล้ว ใส่กลับลงไปในถุง (เปิดปากถุงไว้ ไม่ต้องใช้ยางวงรัด) 3. ทิ้งไว้ในร่มรำไร ประมาณ 5 - 7 วัน ค่อยนำแก้วออกจากถุง เพื่อให้กิ่งพันธุ์ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม 4. หลังจากนั้นนำแก้วที่ออกจากถุง พักตัวไว้ในร่ม 7 - 10 วัน ค่อยนำไปเพาะในกระถาง หรือนำไปปลูกได้เลย ถ่ายทอดความรู้การปักชำแบบควบแน่น โดย นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง (พี่จา) นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ โทร.064 0350869 ขอขอบคุณ นายเฉลิม พีรี ผู้คิดค้น จากศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านวัดใหม่ ตำบลบึงสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

การเสียบยอด

การเสียบยอด คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร 2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร 3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น 4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก
5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การผลิตปุ๋ยอินทรี (ปุ๋ยคอก) วิทยากรชื่อ นางพุทธิญดา ทองมีเอียด ส่วนประกอบของ การทำปุ๋ยคอกหมัก 1.ปุ๋ยคอก  1 ส่วน (1 กระสอบ) 2.แกลบ  1 ส่วน (1 กระสอบ) 3.รำ  1 ส่วน (1 กระสอบ) 4.น้ำ EM  1 ลิตร
5.กากน้ำตาล 1 ลิตร 6.น้ำสะอาด 25 ลิตรหรือมากกว่า
วิธีทำ 1. นำปุ๋ยคอกที่ได้มาตากแดดให้แห้ง 2. เกลี่ยให้โดนแดดทิ้งไว้ 1-2 แดด ถ้าปุ๋ยคอกที่ได้มาแห้งแล้วก็ไม่ต้องตาก 3. เทส่วนผสมลงบนพื้น หรือภาชนะ เกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน 4. เติมน้ำ EM และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ ผสมน้ำให้เข้ากัน 5. นำไปรดที่กองปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้ ถ้าไม่มีบัวรดน้ำใช้ขันตักไปก็ได้ 6. ใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน ลองใช้มือบีบดู ไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไป ถ้ายังแห้งอยู่ เพิ่มน้ำอีกได้เลยโดยไม่จำเป็นต้อง 25 ลิตรเป๊ะ แล้วใช้จอบเกลี่ยไปด้วยเรื่อย ๆ ตักใส่ไว้ในกระสอบ ตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก

วิธีการขยายน้ำ em สิ่งที่ต้องเตรียม หัวเชื้อ EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า  20 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน แต่ถ้าใช้น้ำปะปาควรใส่อ่างทิ้งไว้ 1-2 วัน ภาชนะบรรจุ แบบมีฝาปิด วิธีทำ 1. เทน้ำเปล่าลงในถังที่เตรียมไว้ 2. เทกากน้ำตาลและหัวเชื้อ EM ลงถังเล็ก ใช้ไม้คนให้เข้ากันก่อน 3. เมื่อละลายแล้ว ให้เทลงในถังน้ำที่เราเตรียมไว้ และคนอีกรอบให้เข้ากัน 4. ใช้ภาชนะตักใส่ถังที่จะหมัก แล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


ฐานที่ 3 การปลูก วิทยากร นางใจ หนูจุ้ย 1. นำทิชชู่วางที่ก้นกล่องพลาสติก ใส่น้ำลงไปพอเปียกชุ่มๆ 2. ใส่เมล็ดพันธุ์ผักแล้วปิดฝา 3. ประมาณ 1-3 วัน ผักจะมีรากออกมา นำไปใส่ถุงชำหรือลงแปลง 4. ภาชนะสำหรับใส่

การเตรียมแปลงปลูก 1. ทำแปลงปลูก ใส่มูลวัว สับผสมให้เข้ากัน 2. นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะไว้ลงปลูก 3. รดน้ำด้วยฝักบัว เช้า-เย็น 4. 15 วัน พ่นน้ำหมัก 1 ครั้ง กันแมลง 5. พ้นน้ำหมักอีกครั้งก่อนเก็บ แล้วแต่ชนิดของผัก - ผักบุ้ง 15 วัน - ผักสลัด 45 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ที่หลากหลาย สามารถนำไปปรับใช้ในครัวเรือน

 

115 0

13. กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

วันที่ 1 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมเป็นสามฐานการเรียนรู้

ฐานที่ 1 ฐานเรียนรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ (บ้านนายจำแนก ชูปาน หมู่ที่ 1 ตำบลเขาปู่) การทำปุ๋ยหมัก ส่วนผสม มีดังนี้ 1. มูลสัตว์ มูลวัว มูลไก่ 2. น้ำหมักชีวภาพ   - กากน้ำตาล 5 กก.   - EM 1 ลิตร   - เศษผลไม้สด
ผสมไว้ในถัง 7 วัน คนให้เข้ากัน

วิธีขยายหัวเชื้อ 1 เตรียมถัง 200 ลิตร 2. ตักหัวเชื้อ 2 ลิตร มาผสมกับน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากัน

วิธีหมักปุ๋ย 1. มูลวัว 50 กก. 2. มูลไก่แกรบ 25 กก. ผสมให้เข้ากันในกระบะ ผสมครั้งละ 1 กระสอบ

นำน้ำหมักที่ผสมหัวเชื้อแล้วมาราดที่มูลวัว/ไก่ ที่เตรียมไว้ให้หมาดๆ พอจับกันเป็นก้อน หมักทิ้งไว้ในโรงเก็บเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าจนหมดวัสดุที่เตรียมไว้ กองไว้ในที่รม น้ำหมักที่เหลือราดข้างบนอีกครั้ง หมักไว้ประม่าณ 5 วัน คนพริกกลับด้านเพื่อระบายความร้อน หากอีกห้าวันยังร้อนให้พริกกลับด้านอีกครั้ง หากความร้อนหมดสามารถนำไปใส่ต้นไม้ได้

ฐานที่ 2.การขยายพันธ์พืช วิทยากรให้ความรู้ นางคล้ายจันทร์ ฉิมทองโอ บ้านเลขที่ 137 ม.1 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง วิธีการขยายพันธ์ 1. เตรียมอุปกรณ์ - กระบะเพาะเมล็ด -ขุยมะพร้าว -ขนขุยมะพร้าว การเพาะเมล็ด นำเมล็ดทุเรียนมาล้างให้สะอาด คัดเลือกเมล็ด เอาเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำเมล็ดไปเพาะในกระบะที่เตรียมไว้ โดยให้ด้านขาวของเมล็ดลงในขุยมะพร้าวครึ่งเมล็ด ประมาณ 10-20 วัน จะมีลำต้น แล้วให้หักเมล็ดทุเรียนทิ้ง การเสียบยอด สิ่งที่ต้องเตรียม พลาสติกสีฟ้า เชือกฟาง สกอตเทป คัตเตอร์ ยอดทุเรียน ต้นทุเรียนที่ชำไว้ 2 เดือน วิธีการเสียบยอด ตัดต้นตอทุเรียน ห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. และผ่าตรงกลางต้น ลึกประมาณ 2 ซม. นำยอดพันธุ์ทุเรียนมาปาดเป็นลักษณะรูปลิ่ม และเสียบลงยังต้นตอ แล้วผูกด้วยเชือกฟาง เอาถุงคลุม และเก็บไว้ในที่ร่ม การเสริมราก วิธีการมีดังนี้ นำต้นทุเรียนที่ต้องการเสริมราก ไปปลูกติดกับต้นทุเรียนพันธุ์ดี ระยะห่างประมาณ 30 ซม. โน้มต้นทุเรียนที่ต้องการเสริมรากเข้าหาต้นทุเรียนพันธุ์ดี กรีดเปลือกต้นทุเรียนพันธุ์ดีออก และมันเข้าด้วยกัน พันด้วยพลาสติกใสติดตา จากข้างล่างขึ้นข้างบนให้แน่นเพื่อกันน้ำเข้า

ฐานที่ 3 การปลูกพืชผักปลอดภัย


เวลาเริ่มต้น..13.00....น.      สิ้นสุดเวลา.......17.00........น. สถานที่จัด บ้านของนางกัลญา  วรกาจนนนท์  เลขที่ 201  หมู่ที่  11  ตำบลเขาปู่  อำเภอศรีบรรพต  จังหวัดพัทลุง กลุ่มเป้าหมาย.......35............คน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม
เวลา  13.00 น.  สมาชิกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลเขาปู่ เป้าหมาย จำนวน 4  หมู่บ้านๆละ 10 คือหมู่ที่ 3 บ้านควนลม, หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งยูง,หมู่ที่ 7 บ้านเขาป้าแหร้, หมู่ที่ 10 บ้านโหล๊ะปราง ได้ออกพื้นที่เพื่อรับการอบรมพัฒนาศักยภาพในสถานที่จริง  ซึ่งเป็นแหล่งต้นแบบในพื้นที่ตำบลเขาปู่  ได้แก่บ้านของนางกัลญา  วรกาจนนนท์ ซึ่งมีการปลูกพืชผัก หลายชนิด โดยการจัดสรรพื้นที่ปลูกผักสวนครัวบริเวณบ้านได้อย่างสวยงาม มีความหลากหลาย เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารที่มีความปลอดภัย เกิดความสุข มีองค์ความรู้ที่ได้ผลิตพืชผักปลอดภัยสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและภายในชุมชน
นางกัลญา  วรกาจนนนท์  ได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ถึงประโยชน์ของการปลูกผักเอาไว้กินเอง  ว่ามีความปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวอีกด้วย อีกทั้งได้สาธิตการทำ จุลินทรีย์น้ำซาวข้าวใช้บำรุงพืชผักให้สมบูรณ์ กรอบ สวยสดน่ารับประทาน โดยมีวิธีการทำ ดังต่อไปนี้ จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว 1. น้ำซาวข้าว (ประมาณ) 2 ลิตร 2.  หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 1  ช้อนโต๊ะ 3.  กากน้ำตาล 1 ช้อนชา วิธีทำ 1. น้ำซาวข้าว ( น้ำเพื่อล้างฝุ่นข้าวและส่งสกปรกออกก่อนนำไปหุง) ประมาณ 2 ลิตร หากไม่ถึงให้เติมน้ำสะอาดลงไปกรองด้วยผ้าขาวบางให้ใส 2. ผสมกากน้ำตาลที่ละลายน้ำเจือจางแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซาวข้าวใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 1 ช้อนโต๊ะ แล้วบรรจุ ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้สนิท 3. เก็บไว้ประมาณ 3 – 5 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้ วิธีใช้ วิธีการใช้ EM หมักน้ำซาวข้าว EM น้ำซาวข้าวผสมน้ำอัตราส่วน 1:500 สำหรับเช็ดถูพื้นห้องภายในบ้านหรืออาคาร  ฉีดพ่นห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก หรือห้องอื่นๆ เพื่อกำจัดกลิ่นอับ  ฉีดพ่นขจัดกลิ่นอับภายในรถยนต์

EM น้ำซาวข้าวผสมน้ำอัตราส่วน 1:200
ใช้ทำความสะอาดภาชนะถ้วยชามเช็ดถู บริเวณอ่างล้างชาม ล้างสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ  ฉีดพ่นถังขยะ และกองขยะ  ผสมน้ำรดต้นไม้ในสวนภายในบ้าน ใช้สำหรับบำบัดน้ำเสียและรักษาสิ่งแวดล้อม(ใช้ EM น้ำซาวข้าวไม่ผสมน้ำ) เท รด ราด ตามท่อ และระบบน้ำเสีย  เทใส่ชักโครก โถปัสสาวะ  เทใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย ***หมักส่วนผสมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน จากนั้นจึงเติมนมข้นหวานลงไป 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นนำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพ่นตมต้องการ จะทำให้ พืชผักมีผิวสวย รสชาติผักหวาน กรอบ ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการทำจุลินทรีย์น้ำซาวข้าว
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  เรื่องการปลูกพืชผักที่มีความปลอดภัยไว้รับประทาน เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านอาหาร 3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้เรื่องการนำน้ำซาวข้าวที่เหลือในครัวเรือน  มาสร้างมูลค่าเพิ่ม  สำหรับใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายต่อครัวเรือนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4. ผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครัวเรือนได้
5. แหล่งปลูกพืชผักต้นแบบในชุมชน  เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการปลูกผักและการทำจุลินทรีย์น้ำซาวข้าว ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้อื่นต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ จากการปลูกพืช ขยายพันธุ์พืช และการทำปุ๋ยหมัก สามารถนำไปปรับใช้กับแปลงผักของตนเอง เกิดการขยายปริมาณการปลูก

 

115 0

14. กิจกรรมที่ 8. ประสานกับร้านค้าในชุมชน ร้านค้า/ร้านอาหาร /ผู้บริโภคภายนอกชุมชน

วันที่ 20 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ปรับแผนการดำเนินกิจกรรม

ทางมติที่ประชุม เสนอให้ทำป้ายพืชผักปลอดภัยให้กับร้านค้าที่ขายของสดในชุมชน ซึ่งคณะกรรมการได้ประสานกับร้านค้าชุมชนได้ 7 ร้านค้า จึงจัดทำป้าย ขนาด 80*60 ซม. จำนวน 7 ป้าย เพื่อให้สมาชิกและบุคคลทั่วไป ได้มีตลาดรองรับในการขายผักปลอดภัย ประชาชนทั่วไปก็ได้บริโภคพืชผักปลอดภัยในชุมชนด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในโครงการมีตลาดรองรับในการขายพืชผักที่ปลูก ประชาชนทั่วไปได้บริโภคพืชผักปลอดภัยในชุมชน

 

5 0

15. กิจกรรมที่ 10. ประชุมติดตามประเมินผล ARE2

วันที่ 9 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เริ่มกิจกรรมเวลา 09.00 น. หัวหน้าโครงการ (นายอภิชาติ เทพกล่ำ) กล่าวเปิดกิจกรรมการประชุมติดตามผล (ARE 2) นายสมนึก  พี่เลี้ยงโครงการ ทบทวนกิจกรรมโครงการ และบันไดผลลัพธ์โครงการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยตำบลเขาปู่ โดยให้คณะทำงานโครงการเร่งดำเนินกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564

นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง นำเสนอภาพกิจกรรม ของเวทีต่างๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว และมีกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการมีดังนี้ 1. กิจกรรม เวทีที่ 8 ประสานร้านค้าชุมชน ร้านค้า/ร้านอาหาร/ผู้บริโภคภายนอกชุมชน 2. กิจกรรมเวทีที่ 9 ประกาศรับรองมาตรฐาน GAP และจัดทำข้อตกลงระหว่าง ตัวแทนผู้ผลิต (ศพค.เขาปู่) กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ซึ่งเวทีนี้ ไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินกิจกรรม 3. กิจกรรมเวที่10 การประชุมติดตามประเมินผล ARE 2 (กำลังดำเนินการ) 4. กิจกรรมเวทีที่ 11 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 2 5. กิจกรรมเวทีที่ 12 การประชุมติดตามประเมินผล ARE 3 6. กิจกรรมเวทีที่ 13 การเรียนรู้สถานการณ์ที่2

มติที่ประชุม ให้ดำเนินการติดต่อร้านค้าในชุมชน เพื่อสั่งทำป้าย ผักปลอดภัยในชุมชน
และเอาผลการดำเนินงาน มารายงานให้ทราบในการประชุม ครั้งต่อไป

ปิดการประชุม เวลา 15.00 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดตามประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา และมีแนวทางขับเคลื่อน

 

25 0

16. กิจกรรมที่ 11. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 2

วันที่ 17 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครั้งที่ 2 จัดทำรายงาน ตามไฟล์ที่แนบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกมีการปลูกผักเพิ่มขึ้น มีรายได้จากการขายผักมากขึ้น
จากเดิมมีรายได้อาทิตย์ละ 21220 บาท เพิ่มเป็น 39170 บาท เฉลี่ย 356 บาท/คร.

มีการบริโภคพืชผักปลอดภัยในชุมชนเพิ่มขึ้น

 

55 0

17. ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทราบถึงความก้าวหน้าของทุกๆกิจกรรม มีภาพประกอบ

 

0 0

18. กิจกรรมที่ 12. ประชุมติดตามประเมินผล ARE3

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

รายงานการประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยในชุมชน เวทีที่ 12 ประชุมติดตามผล ARE 3 วันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2564 ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลเขาปู่


ผู้เข้าประชุม 1. นางดารา กลั้งทองด้วง 2. นางพุทธิญดา ทองมีเอียด 3. นายชัยวิทย์ บัวทองเรือง 4. นางจุฬาภรณ์ บัวทองเรือง 5. นางจิตติมา ไหมศรีขาว 6. นางรจนาพร ดำจวนลม 7. นายวิชิต ราชแก้ว 8. นางญาณิศา คงใหม่ 9. นางใจ หนูจุ้ย 10. นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง 11. นางวรรดี บุญแก้วปอม 12.นางสาวโสภิดา วรรณะ 13. นางสาววารุณี บุญแก้วสุทธิ์ 14. นายละมุล เต็มทอง 15. นางเพ็ชชรี บัวทองเรือง 16. นางสาวมาลี คงแก้วหนู 17. นางจรรยา ทองบุญนุ้ย 18. นางโสภา เกษม 19. นางสร้อยประดับ คงยืน 20. นางสาวปณิตา ทองดีเพ็ง 21. นายบันจง พรมแก้ว 22. นางนิชจิตต์ เส้งทับ 23. นางสาวภาวิณี พูลเนียม 24. นางจริญญา ดำช่วย 25. นางฤหัส เกลาฉีด

เริ่มประชุมเวลา  09.00 น. ประธาน โดย นายอภิชาติ เทพกล่ำ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 การดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนตำบลเขาปู่ ประธานคณะทำงาน จากการดำเนินการตามกิจกรรมของโครงการ ซึ่งมีจำนวน 13 กิจกรรมที่กำหนดในโครงการ แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม หลายกิจกรรมที่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ เช่น การได้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งต้นแบบ ทำให้สมาชิกบางคนสามารถนำไส้เดือนมาเลี้ยงได้ แต่โครงการไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ทันตามห้วงระยะเวลา ซึ่งได้ขอขยายระยะเวลามาจนถึงเดือนกันยายน 2564 เพราะฉะนั้น กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการก็จะดำเนินการในโอกาสต่อไป เมื่อไม่มีเหตุการณ์สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ขอชื่นชมในความร่วมมือของคณะทำงานทุกท่าน 1.2 การรายงานสถานะทางการเงินของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภค  ผักปลอดภัยในครัวเรือนตำบลเขาปู่ นางจริญญา ดำช่วย รายงานการเงิน ตอนนี้โครงการได้ดำเนินมาแล้ว จำนวน 11 กิจกรรม จากทั้งหมด 13 กิจกรรม จำนวนเงินที่ทาง สสส.โอนให้ คือ 142,124 บาท ดำเนินการไปแล้ว 11 เวที คิดเป็นเงิน จำนวน 102,915 บาท แต่จะมีบางกิจกรรมที่จ่ายไม่ตรงกับตัวโครงการ เนื่องจากมีการปรับแผนตามสถานการณ์ โควิด เงินในบัญชีคงเหลือ 48,417.15 บาท นางสาวณัชวดี ตุ้นด้วง 3.2 การจัดทำป้ายจุดขายพืชผักปลอดภัยในตำบลเขาปู่ ขนาด 80x60 ซม. จำนวนทั้งสิ้น 7 ร้าน 3.3 ประมวลภาพกิจกรรมที่กำเนินการไปแล้ว

ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปโครงการ ได้ติดตามการดำเนินงานของกิจกรรมทั้งหมด

 

25 0

19. ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารคืน

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินจากการเปิดบัญชีธนาคารของโครงการ โดย ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเงินการบัญชี จำนวน 500 บาท  เมื่อมีการดำเนินโครงการเป็นที่เสร็จสิ้น ได้ทำการถอดเงินคืนออกจากบัญชีธนาคารให้เป็นไปตามระบบบัญชี รับจ่ายของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ถอนเงินจากการเปิดบัญชีธนาคารคืนจำนวน 500 บาท

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนโครงการและจัดการความรู้ (การปลูก การกินปลอดภัย)
ตัวชี้วัด : 1.มีกลไกคณะทำงานครอบคลุมพื้นที่ ภาคีท้องถิ่น และภาคียุทธศาสตร์ 2.ทะเบียนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 3.ทะเบียนแปลงผลิตพืชอาหาร 4.ข้อมูลจำนวนชนิดและผลลิต 5.ข้อมูลการกินผัก/คน/วัน 6. ประชาชนเข้าร่วมเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 70 ของเป้าหมาย(ข้อ2.)
6.00 6.00

มีการเก็บข้อ และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกับการคืนข้อมุล

2 เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดภัยและกระจายให้ผู้บริโภค
ตัวชี้วัด : 7. ครอบครัวปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น60% 8. พื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 40% 9. ชนิดจำนวนที่ปลูกเพิ่มขึ้น10% 10. จำนวนผลผลิตเพิ่มขึ้น40% 11. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายผ่านการรับรอง GAP 12. มีบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค 13. ร้อยละ 80 ของร้านค้าในตำบลขายพืชผักจากโครงการ
7.00 0.00

รอดำเนินการงวดที่ 2

3 เพื่อให้ประชาชนบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนคนที่กินผักเพิ่มขึ้น 40% 2.จำนวนเงินที่ได้จากการขายผลผลิต 300บาท/เดือน 3.จำนวนเงินที่ลดลงจากการไม่ซื้อผัก 200 บาท/เดือน
3.00 0.00

ยังไม่ประเมิน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนโครงการและจัดการความรู้ (การปลูก การกินปลอดภัย) (2) เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดภัยและกระจายให้ผู้บริโภค (3) เพื่อให้ประชาชนบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ร่วมประชุมเวทีปฐมนิเทศ ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการการเชื่อมโยงการดำเนินงานโครงการย่อยกับยุทธศาสตร์ Phatthalung Green City และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (2) ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนวางแผนและแบ่งหน้าที่ (3) สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครั้งที่ 1 (4) กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย (5) กิจกรรมที่ 3. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์เปิดโครงการ (6) กิจกรรมที่ 4. กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน  จ.พัทลุง (7) กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1 (8) กิจกรรมที่ 5. อบรมพัฒนาศักยภาพการทำปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวะภัณฑ์  การขยายพันธุ์ การปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP (9) ประชุมติดตามประเมินผล  ARE1 (10) กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 (11) กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 (12) กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 (13) กิจกรรมที่ 8. ประสานกับร้านค้าในชุมชน  ร้านค้า/ร้านอาหาร /ผู้บริโภคภายนอกชุมชน (14) กิจกรรมที่ 9. ประกาศรับรองมาตรฐาน GAP และจัดทำข้อตกลงระหว่าง ตัวแทนผู้ผลิต (ศพค. เขาปู่) กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (15) กิจกรรมที่ 10. ประชุมติดตามประเมินผล  ARE2 (16) กิจกรรมที่ 11. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 2 (17) กิจกรรมที่ 12. ประชุมติดตามประเมินผล ARE3 (18) กิจกรรมที่ 13. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์ 2 (19) ค่าเดินทางร่วมกับหน่วยจัดการ ARE (20) จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกกลอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ (21) ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ (22) ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (23) ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารคืน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-00169-0006

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอภิชาติ เทพกล่ำ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด