directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0006
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 157,915.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเขาปู่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิชาติ เทพกล่ำ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก นุ่นด้วง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 7 พ.ย. 2563 63,166.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 8 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 78,958.00
3 1 ก.พ. 2564 31 มี.ค. 2564 15,791.00
รวมงบประมาณ 157,915.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลไกขับเคลื่อนโครงการและจัดการความรู้(กลไกการปลูก กษ. กลไกการกิน สธ.)
2.00
2 ร้อยละของผลผลิตพืชผักปลอดภัยและกระจายให้ผู้บริโภคเพียงพอ
74.00
3 ร้อยละประชาชนบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน
48.89

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารเคมี มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น ตำบลเขาปู่ เป็นพื้นที่ต้นน้ำมีพื้นที่ทั้งหมด 48,104 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน มีประชากร 4,599 คน เพศชาย 2,884 คน เพศหญิง 2915 คนจำนวน 1,747 ครัวเรือน เฉลี่ย 0.61 คน/ครัวเรือน มีสถิติร้อยละการป่วยด้วยโรคกล่าวคือ มะเร็งทุกชนิดร้อยละ 0.47 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 13.90 โรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.28 สำหรับอัตราการตายร้อยละของประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 0.18 สถิติร้อยละของการบริโภคผักกลุ่มเด็กและเยาวชนร้อยละ30 กลุ่มวัยทำงานร้อยละ 60 กลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 80
จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกพืชผักปลอดภัย ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน พบว่า   1. ครัวเรือนทั้งหมดของตำบลพบว่าร้อยละ 17.55 ปลูกผักผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพในปัจจุบัน โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล่านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการทำไร่ถั่วลิสง ปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และมีการทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ เป็นอาชีพเสริม   2. ข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ ทั้งหมด 225 คน ไม่พบสารเคมีร้อยละ 3.12 พบสารเคมีในระดับปลอดภัยร้อยละ 64.00 พบสารเคมีในระดับเสี่ยงร้อยละ 27.55 และพบสารเคมีในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 5.33 ภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 27.55 และผิดปกติจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33   3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ จำนวน 450 บาท ร้อยละ 70 ของพืชผักที่บริโภคเป็นพืชผักสวนครัวและพืชผักพื้นบ้านที่สามารถซื้อได้ในตลาด รถพ่วง และที่เก็บหาได้ไม่ต้องซื้อ   4. ตำบลเขาปู่มีศักยภาพในการผลิตพืชผักปลอดภัย ทั้งในด้านสภาพพื้นที่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถยกระดับให้เพิ่มพื้นที่ ชนิด และจำนวนการผลิตเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักของคนในตำบลให้เพิ่มขึ้น และยังสามารถเป็นแหล่งผลิตเพื่อนำสู่ตลาดส่งเสริมให้ผู้บริโภคของคนนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนอีกส่วนหนึ่งด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ผลิตอาหารปลอดภัยเกณฑ์ GAP > บริโภคพืชผักผลไม้ไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนโครงการและจัดการความรู้ (การปลูก การกินปลอดภัย)

1.มีกลไกคณะทำงานครอบคลุมพื้นที่ ภาคีท้องถิ่น และภาคียุทธศาสตร์
2.ทะเบียนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ
3.ทะเบียนแปลงผลิตพืชอาหาร
4.ข้อมูลจำนวนชนิดและผลลิต
5.ข้อมูลการกินผัก/คน/วัน
6. ประชาชนเข้าร่วมเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 70 ของเป้าหมาย(ข้อ2.)

6.00
2 เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดภัยและกระจายให้ผู้บริโภค
  1. ครอบครัวปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น60%
  2. พื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 40%
  3. ชนิดจำนวนที่ปลูกเพิ่มขึ้น10%
  4. จำนวนผลผลิตเพิ่มขึ้น40%
  5. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายผ่านการรับรอง GAP
  6. มีบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
  7. ร้อยละ 80 ของร้านค้าในตำบลขายพืชผักจากโครงการ
7.00
3 เพื่อให้ประชาชนบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

1.จำนวนคนที่กินผักเพิ่มขึ้น 40%
2.จำนวนเงินที่ได้จากการขายผลผลิต 300บาท/เดือน
3.จำนวนเงินที่ลดลงจากการไม่ซื้อผัก 200 บาท/เดือน

3.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1126 157,915.00 19 105,179.00
20 มิ.ย. 63 ร่วมประชุมเวทีปฐมนิเทศ ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการการเชื่อมโยงการดำเนินงานโครงการย่อยกับยุทธศาสตร์ Phatthalung Green City และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 3 5,000.00 288.00
4 ก.ค. 63 ชื่อกิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนวางแผนและแบ่งหน้าที่ 25 6,250.00 6,250.00
11 ก.ค. 63 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครั้งที่ 1 110 2,460.00 2,460.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย 3 0.00 288.00
17 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 3. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์เปิดโครงการ 115 18,800.00 18,800.00
1 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4. กลไกขับเคลื่อนศึกษาดูงานพื้นที่สำเร็จด้านความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 30 16,400.00 16,400.00
14 พ.ย. 63 กิจกรรมปิดงวดครั้งที่ 1 4 0.00 200.00
18 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 5. อบรมพัฒนาศักยภาพการทำปุ๋ยหมัก การใช้สารชีวะภัณฑ์ การขยายพันธุ์ การปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP 115 25,200.00 24,050.00
20 พ.ย. 63 ประชุมติดตามประเมินผล ARE1 25 3,250.00 3,250.00
28 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 115 21,675.00 14,625.00
5 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 115 0.00 3,375.00
19 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 6. โรงเรียนพืชผักปลอดภัยในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาระหว่างหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 115 0.00 3,375.00
20 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 8. ประสานกับร้านค้าในชุมชน ร้านค้า/ร้านอาหาร /ผู้บริโภคภายนอกชุมชน 5 1,750.00 2,100.00
31 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 9. ประกาศรับรองมาตรฐาน GAP และจัดทำข้อตกลงระหว่าง ตัวแทนผู้ผลิต (ศพค. เขาปู่) กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค 115 20,200.00 -
13 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 10. ประชุมติดตามประเมินผล ARE2 25 3,250.00 3,250.00
27 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 11. สำรวจข้อมูลสถานการณ์ 2 55 1,430.00 1,430.00
6 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 12. ประชุมติดตามประเมินผล ARE3 25 4,550.00 3,250.00
20 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 13. เวทีการเรียนรู้สถานการณ์ 2 115 24,700.00 -
20 มี.ค. 64 ค่าเดินทางร่วมกับหน่วยจัดการ ARE 3 0.00 288.00
31 มี.ค. 64 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกกลอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ 5 1,000.00 -
31 มี.ค. 64 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 3 1,000.00 -
31 มี.ค. 64 ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 64 ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารคืน 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 14:05 น.