directions_run

การจัดการขยะ บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินยืมทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีแล้ว

กิจกรรมที่ 10 เวทีคืนข้อมูลการจัดการ27 มีนาคม 2021
27
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีคืนข้อมูลการจัดการดำเนินโครงการตลอดเวลาการดำเนินงานให้กับชุมชน 1.มีการประชุมแกนนำชุมชน ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน และภาคีเครือข่าย อบต. หน.สำนักปลัด
2.มีการสรุปคืนข้อมูลเส้นทางการดำเนินการเรื่องขยะ เช่่น
-ขยะอินทรืย์ นำมาทำปุ๋ยน้ำหมัก  ทำปุ๋ยหมัก และมีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำลายขยะอิทรีย์ และมีผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน ให้ครัวเรือนนำไปใส่ผักซึ่งส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษ
-ขยะอันตราย ครัวเรือนจะนำมาส่งเก็บที่ศาลาหมู่บ้าน ซึ่ง อบต.เขาย่า จะมาเก็บเดือนละครั้ง -ขยะรีไชเคิลหรือขยะที่ขายได้  หมู่บ้านที่ 1 บ้านสำนักปราง ซึ่งมีพื้นที่อยู่บริเวณ 2 ข้างถนนและการคมนาคมสะดวก และมีรถรับซื้อของเก่าผ่านอยู่เป็นประจำ ครัวเรือนมีการเก็บรวบรวม ขยะที่ขายได้ ขายให้กับรถเร่ที่แวะเวียนรับซื้ออยู่อย่างสม่ำเสมอ บางครัวเรือนก็เอาขยะที่เก็บไว้ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ที่เก็บขยะขาย เพื่อหารายได้ในการดำรงชีพ  และบางส่วนนำไปรีไชเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น พวกถุงนม ซองกาแฟ ซึ่งมีวิทยากรมาสอนการทำให้กับครัวเรือน และนักเรียนในการนำถุงนมมารีไชเคิลต่างๆ -ขยะทั่วไป ครัวเรือนที่มีการแยกขยะ จะมีขยะทั่วไปที่เหลือน้อยมาก ครัวเรือนจะมีการเผาทำลายโดยแยกเป็นบ้านใครบ้านมัน ไม่มีการทำที่เผาขยะรวมของหมู่บ้าน ครัวเรือนจะมีการแยกทำลายซึ่งมีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
3.ชี้แจงกฎกติกาที่กลุ่มหรือกลุ่มครัวเรือนที่เข้าร่วมได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการคัดแยกขยะของครัวเรือน   - ครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะเป็น 4 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะรีไชเคิล
    - สมาชิกทุกครัวเรือนที่สมัครร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน หากไม่มีการคัดแยก ครั้งแรกตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ ครั้งละ 50 บาท/ครั้ง
    - สมาชิกนำขยะมาขายทุกวันที่ 10 ของเดือน
    - ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการใช้ถุงผ้าและตะกร้า
ซึ่งจากการดำเนินการจัดตั้งกฎกติกา  มีครัวเรือนที่ไม่ปฎิบัติตามในการคัดแยกขยะอยุ่ 1 ครัวเรือน คณะกรรมการได้ไปพูดคุยอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากนั้นได้ติดตามซ้ำในครั้งถัดไป  ครัวเรือนดังกล่าวได้ดำเนินการคัดแยกเหมือนกับครัวเรือนอื่นๆ  สาเหตุเกิดจากเด็กวัยรุ่นแต่งงานมีครอบครัวและอาศัยกันอยู่ 2 คน  พ่อแม่แยกทางกัน  ทำให้ครัวเรือนนี้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทางกลุ่มกำหนดขึ้น  พอได้มาพูดคุยประสานงานครัวเรือนมีความเข้าใจและปฎิบัติตาม -สำหรับการจำหน่ายในภาพรวมนั้น  ทางคณะกรรมการลงความเห็นว่าครัวเรือน มีความสะดวกในการจำหน่ายขยะซึ่งมีรถมารับซื้ออยู่เป็นประจำ  เลยไม่มีการนัดขายในภาพรวมของหมู่บ้าน -การเก็บขยะในที่สาธารณะ  หรือการห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ  และบริเวณ  2ข้างถนน  ทางคณะกรรมการดำเนินโครงการได้นำป้ายประชาสัมพันธ์ไปติดไว้ จำนวน 2 ป้าย  บริเวณ 2  ข้างถนน และบริเวณหัวสะพานระหว่างหมู่ที่ 10  กับหมู่ที่ 1  และ ที่ศาลาหมู่บ้าน  ได้ดำเนินการ ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่  และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไปติดไว้เรียบร้อยเป็นมาตรการทางหมู่บ้านและชุมชน ต้องให้ความร่วมมือ 4.มีการสรุปข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ 1.ครัวเรือนมีความรู้ในการทำลายขยะอินทรีย์  โดยใชนวตกรรมการเลี้ยงไส้เดือน  และมีครัวเรือนต้นแบบในการทำลายขยะจำพวกแป้ปเพิร์ดเด็ก เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ได้  จำนวน  1 ครัวเรือน 2.มีครัวเรือนต้นแบบในการทำลายขยะอินทรีย์ เพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย  จำนวน  17  ครัวเรือน 3.มีศูนย์ขยายพันธ์ไส้เดือนเพื่อขยายพันธ์ส่งต่อให้กับครัวเรือนที่ต้องการต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์การดำเนินงานในการคัดแยกขยะในครัวเรือนของหมู่บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง 1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะเป็น เข้าใจเส้นทางในการเดินของขยะแต่ละประเภท 2.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะถูกและมีส่วนร่วม จำนวน 86 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ43 จากครัวเรือนทั้งหมด
3.ขยะที่สาธารณะได้รับการจัดการทั้ง 2 จุด คือ บริเวณ 2 ข้างถนนหมู่บ้าน และ ศาลาหมู่บ้าน
4.ขยะในครัวเรือนลดลง ร้อยละ 63% 5.ครัวเรือนได้นำปุ๋ยไส้เดือนที่เลี่ยงเพื่อทำลายขยะอินทรีย์ ไปใส่ผักที่ปลูกเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างและนำมาบริโภคเป็นผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จำนวน 17 ครัวเรือน 6.จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำลายขยะอินทรีย์ที่ รพ.สต.บ้านศาลามะปราง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การคักแยกขยะจากครัวเรือน และการกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือน

กิจกรรมค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์26 มีนาคม 2021
26
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าใช้จ่ายในการจัดทำรายงานผ่านแวปออนไลน์

กิจกรรมค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้23 มีนาคม 2021
23
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับชุมชน  มีการจัดทำป้ายสรุปการดำเนินโครงการ  เพื่อสรุปการดำเนิงานทุกขั้นตอนในการทำกิจกรรมต่างของโครงการ  เพื่อแลกเปลี่ยนให้ชุมชนได้รับรู้ร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการสรุปถอดบทเรียนการดำเนิโครงการแก่ชุมชน  และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการให้รับทราบและแลกเปลี่ยน  ให้ชุมชนรับทราบ  เกี่ยวกับ สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
1.ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการคัดแยกขยะครอบคลุมทุกครัวเรือน 2.ขยายผลจากการดำเนินการในการเลี่้ยงไส้เดือน  และให้ครัวเรือนนำปุ๋ยที่ได้มาปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินในครัวเรือน เพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ  และกินผักที่ปลูกเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โอกาสพัฒนาต่อไป เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการคัดแยกขยะของครัวเรือนและหมู่บ้านเกษตรพอเพียงอย่างยั่งยืน  ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษ  และปลอดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มลดลง

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ร่วมระหว่างโครงการย่อยและหน่วยจัดการฯ20 มีนาคม 2021
20
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการกับหน่วยงานย่อยผู้จัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการในความรับผิดชอบ และได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ

กิจกรรมที่ 9 สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน ARE319 มีนาคม 2021
19
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน ARE3 รายละเอียดกิจกรรม 1. คณะทำงาน กลไกขับเคลื่อน ภาคียุทธศาสตร์ ภาคีที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนกลุ่มครัวเรือน ร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 36 ครัวเรือน สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการขยะ หมู่ที่ 1 บ้านสำนักปราง ณ ศาลาหมู่ที่ 1 บ้านสำนักปราง 2. พูดคุยสรุผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นโดยใช้เครื่องมือบันไดผลลัพธ์ แต่ละกิจกรรมมีผลลัพธ์เกิดขึ้นแต่ละขั้นตอนดังนี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรมมาทั้งหมด  10 กิจกรรม  ได้สรุปผลการดำเนินงานดังนี้

กิจกรรมที่ 8 สำรวจข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ขยะ ครั้งที่ 222 มกราคม 2021
22
มกราคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สำรวจข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ขยะ ครั้งที่ 2 1. คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน  และขยะในที่สาธารณะทำการรงบรวมจากครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 86 ครัวเรือน
2. วิเคราะห์ข้อมูล โดยแยกขยะออกเป็น  4 ชนิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานขับเคลื่อนดำเนินโครงการได้มีการร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ  และมีการเก็บข้อมูล  ครั้งที่ 2 มาวิเคราะห์  ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลได้ดังนี้                                                     ปริมาณขยะ/กก.                                         ก่อน                          หลัง                  ลดลง ขยะขายได้                            38                            19                  19
ขยะอันตราย                          5                                1                    4 ขยะอินทรีย์                          42                              17                  25 ขยะทั่วไป                            25                              10                  15
ปริมาณขยะต่อ / 1 ครัวเรือน / เดือน

กิจกรรมที่ 7 การรณรงค์จัดการขยะชุมชน ขยะในที่สาธารณะ ครั้งที่ 229 ธันวาคม 2020
29
ธันวาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการรณรงค์เก็บขยะบริเวณ 2 ข้างถนน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 168 คน มีนายอำเภอศรีบรรพต และตำรวจอำเภอศรีบรรพตจำนวน 5 คน
อสม. หมู่ที่ 1 จำนวน 14 คน
มีผู้นำชุมชน 6 คน
จนท. อบต.และสมาชิก อบต จำนวน 5 คน
นักเรียนและครูเข้าร่วมกิจกรรม 69 คน
และครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จำนวน 68 ครัวเรือน
มีการเก็บขยะ 2 ข้างถนน โดยมีรถ อบต.เขาย่ามาประชาสัมพันธ์ร่วมด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
แหล่งขยะชุมชนได้รับการจัดการ
ผลลัพธ์
มีภาคีร่วมกิจกรรม 6 ภาคี (ปกครอง/ตำรวจ/อสม./ท้องที่/ท้องถิ่น/โรงเรียน)
ขยะที่เก็บได้ ลดลงจากครั้งก่อน
เก็บขยะทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีภาคีเครือข่ายมีส่วรร่วมมากขึ้นกว่าครั้งที่ 1 มองเห็นถึงความสำคัญ และการมีส่วนร่วมในการดูแแลการจัดการขยะในชุมชน และขยะที่เก็บได้ลดลงจากครั้งแรก 2เท่า

กิจกรรมจัดทำค่าป้ายปลอดบุหรีและเครื่องดื่มแอกลอฮออล์25 พฤศจิกายน 2020
25
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บิเวณศาลาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
มีป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผลลัพธ์
ประชาชนให้ความร่วมมือไม่สูบยา ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณจัดกิจกรรมโครงการ
เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ 6 การรณรงค์จัดการขยะชุมชน ขยะในที่สาธารณะ ครั้งที่ 111 พฤศจิกายน 2020
11
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการรณรงค์เก็บขยะบริเวณ 2 ข้างถนน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 66 คน มีผู้นำชุมชน 6 คน จนท. อบต.และสมาชิก อบต จำนวน 5 คน  และครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จำนวน 55 ครัวเรือน มีการเก็บขยะ 2 ข้างถนน โดยมีรถ อบต.เขาย่ามาประชาสัมพันธ์ร่วมด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกให้กับชุมชน ประชาชนสมาชิกโครงการ และภาคีร่วมเก็บขยะ
ผลลัพธ์
ขยะในชุมชนบริเวณ 2 ข้างถนนได้รับการจัดการ
คนทิ้งขยะสองข้างทางลดลง
เกิดความร่วมมือจากภาคีในชุมชน
ผลกระทบ
ครัวเรือนที่อยู่ 2 ข้างถนน ได้ช่วยกันดูแลความสะอาด จัดการขยะหน้าบ้าน

กิจกรรมที่ 5. อบรมการจัดการขยะครัวเรือน9 ตุลาคม 2020
9
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สมาชิกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมอบรมการจัดการขยะจำนวน 80 คน โดยมีภาคียุทธศาสตร์ร่วมด้วย
  2. มีกลไกขับเคลื่อน(ภาคียุทธศาสตร์และภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นวิทยากร)สร้างการเรียนรู้การจัดการขยะทั่วไป/ขยะอินทรีย์
  3. ชี้แจงทบทวนรายละเอียดการเกณฑ์การจัดการขยะครัวเรือน และเกณฑ์บุคคลต้นแบบการขับเคลื่อนการจัดการขยะ
  4. ชี้แจงรายละเอียดแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลขยะในครัวเรือน
  5. กลุ่มเป้าหมายร่วมกันกำหนดกติกาเพื่อเป็นเงื่อนไขสู่ผลลัพธ์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 89 คน โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมด้วย

ผลลัพธ์
1.เกิดกฎกติกาในการขับเคลื่อนขยะ "ระดับครัวเรือน" ดังนี้
  - ครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะเป็น 4 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะรีไชเคิล
  - สมาชิกทุกครัวเรือนที่สมัครร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน หากไม่มีการคัดแยก ครั้งแรกตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ ครั้งละ 50 บาท/ครั้ง
  - สมาชิกนำขยะมาขายทุกวันที่ 10 ของเดือน
  - ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการใช้ถุงผ้าและตะกร้า
2.เกิดกฎกติกาในการขับเคลื่อนขยะ "ระดับชุมชน" ที่สาธารณะ 2 ข้างทาง และบริเวณหัวสะพานคลองท่าแนะ ห้ามทิ้งขยะ เห็นจับปรับ 2,000 บาท
3.กลุ่มเป้าหมายรู้ และเข้าใจ และร่วมกันออกแบบเส้นทางขยะ และ ฐานการเรียนรู้ขยะทั่วไป และฐานขยะอินทรีย์
4.กำหนดหลักเกณฑ์ครัวเรือนการจัดการขยะครัวเรือน และกำหนดหลักเกณฑ์บุคคลต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
5.รู้และเข้าใจการเก็บข้อมูลขยะในครัวเรือน

กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย7 ตุลาคม 2020
7
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมประชุมเวทีสานพลังชุมชนน่าอยู่ phattalung Green City เวทีสร้างความเข้าใจยุทธศาสตร์ร่วม เวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 5 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์ และคณะทำงาน
รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS นาย ไพฑรูณ์ ทองสม จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้
มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่ แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่
จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม
พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
1. ประเด็นทรัพยากร
2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม
3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงานโครงการเข้าร่วม 5 คน
ผลลัพธ์
เข้าใจแนวทางในการจัดทำแผนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ โดยมี
    ภาคียุทธศาสตร์ อบต.เขาย่า และ รพสต.สำนักปราง
    ภาคีร่วม รร.เข่าย่า อสม. กรรมการหมุ่บ้าน เครือข่ายแม่ค้าในตลาดหลาปราง

กิจกรรมที่ 4 ประชุมกลไกขับเคลื่อน ติดตาม ประเมินผลการจัดการขยะ ทุกเดือน4 ตุลาคม 2020
4
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ ทุกเดือน
  2. สร้างแรงจูงใจการลดขยะ โดยใช้เครือข่ายแม่ค้า ร้านค้า
  3. กำหนดเกณฑ์ เพื่อประเมินครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์ ให้ได้รับการยกย่องในชุมน
  4. จัดการประสานผู้ซื้อ เพื่อให้การซื้อขายขยะสะดวก เข้าถึงง่าย
  5. จัดทำป้ายปิดประกาศ ประชาสัมพันธ์ ในตลาด และที่ศาลาหมู่บ้าน
  6. ติดตามการดำเนินงานตามแผน การวิเคราะห์ และประเมินผลลัพธ์ ทบทวนและปรับปรุงแผนงานตามความเหมาะสม ARE
  7. รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือน สรุปผล และคืนข้อมูลแก่ชุมชน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.มีการประชุมคณะกรรมการ จำนวน 15 คน
ผลลัพธ์
1. มีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดแยกขยะ
3. มีการประกาศกฎกติกาให้ครัวเรือนในชุมชนได้รับทราบ
4. สร้างแรงจูงใจการลดขยะ โดยใช้เครือข่ายแม่ค้า ร้านค้าในชุมชนลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ถุงผ้าแทน
5. จัดทำป้ายปิดประกาศ ประชาสัมพันธ์ในตลาด และที่ศาลาหมู่บ้าน รายงานผลการติดตามประเมินเมินผล 1.ครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด 86 ครัวเรือน มีการปฏิบัติตามกติกาทุกข้อ จำนวน 76 ครัว ร้อยละ 88 และครัวเรือน ที่เหลือ 10 ครัวปฎิบัติได้ไม่ครบทุกข้อ ส่วนใหญ่ขาดในข้อที่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายขยะเนื่องจากพื้นที่ หมู่บ้านเป็นทางผ่านมีคนรับซื้อของเก่าผ่านไปมาตลอด ในการนัดจำหน่ายจึงไม่มีของมาจำหน่าย แต่ยังคงมีการคัดแยกขยะอยู่ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 2.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะถูกต้อง จำนวน 86 ครัวเรือน ร้อยละ 100
3.ขยะในที่สาธารณะทั้ง 2 จุด มีการจัดการได้ 100% 4.ข้อมูลขยะในครัวเรือนลดลง และมีการนำขยะไปใช้ทำปุ๋ยโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ มีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อย่อยขยะอินทรีย์ และนำไปเป็นปุ๋ยปลูกผักปลอดสารพิษใช้รับประทานในครัวเรือน และนอกจากนั้นยังมีครัวเรือนที่มีผู้ป่วยติดเตียงและเด็กอ่อนได้นำกางเกงผ้าอ้อมมาจัดการโดยไส้เดือนและนำปุ๋ยมาปลูกผักใช้เอง เป็นต้นแบบแก่ครัวเรือนอื่นๆ 5.การนำขยะรีไชเคิลมาใช้ประโยชน์ใหม่

กิจกรรมที่ 3 เวทีสร้างความเข้าใจให้ชุมชนรับทราบสถานการณ์ขยะ4 สิงหาคม 2020
4
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดเวทีสื่อสารสร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ขยะ และผลกระทบจากขยะ เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการขยะ
  - โดยมีประชาชนตัวแทนครัวเรือนในชุมชนเข้าร่วม 91 คน
  - ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 82 คน
  - มีภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วม อบต.เขาย่า (หน.สำนักปลัดตำบลเขาย่า  สมาชิก อบต 2 คน ประธานกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร)
  - ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมเรียนรู้และให้รายละเอียดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะและผลกระทบของขยะในระดับมหาภาพ
  - จัดป้ายสื่อสารสถานการณ์ขยะในชุมชน 2 ป้าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. ประชาชนตัวแทนครัวเรือนในชุมชนเข้าร่วม 91 คน หรือร้อยละ 47
2. ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 82 คน หรือร้อยละ95
3. มีภาคียุทธศาสตร์ และภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดังนี้ (หน.สำนักปลัด อบต.เขาย่า สมาชิก อบต.2 คน คณะทำงานขับเคลื่อนขยะ จำนวน 14 คน)
4. มีป้ายสื่อสารสถานการณ์ขยะในชุมชน 2 ป้าย
ผลลัพธ์
1. ผู้เข้าร่วมรับทราบสถานการณ์ขยะ
2. ภาคีที่เข้าร่วมรับทราบเป้าหมายโครงการ และเป้าหมายร่วม
3. ภาคียินดีให้ความร่วมมือกับโครงการ

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ขยะในชุมชน24 กรกฎาคม 2020
24
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม
2.1 คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนต้องดำเนินการให้ได้ข้อมูลสถานการ ด้วยการออกแบบสอบถามเก็บข้อมูล เก็บข้อมูล
2.2 วิเคราะห์ข้อมูล ให้สามารถสื่อสารถึงประชาชนในชุมชนเข้าใจได้อย่างง่ายๆ
2.3 สรรหา ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และทำทะเบียนครัวเรือนเป้าหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. ได้แบบเก็บข้อมูล
2. เก็บข้อมุลขยะครัวเรือนได้  86 ครัวเรือน ร้อยละ 44 ของครัวเรือนทั้งหมด
3. วิเคราะห์ข้อมุลโดยคณะทำงานจำนวน 12 คน หรือร้อยละ  80 ของคณะทำงาน
ผลลัพธ์
1.ได้ข้อมุูลสถานการณ์ขยะชุมชน (รายละเอียดตามเอกสารแนบไฟล์)
2.ได้ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ  86 ครัวเรือน
3.ได้ทะเบียนครัวเรือนเป้าหมาย

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ17 กรกฎาคม 2020
17
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม
1.1 คณะทำงานตามโครงการต้องสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากภาคียุทธศาสตร์และภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตามโครงการ
1.2 ประชุมคณะทำงานร่วมกับตัวแทนภาคีเพื่อออกแบบการทำงาน แบ่งงานตามแผนกิจกรรมโครงการ ติดตามการดำเนินงาน วิเคราะห์ความก้าวหน้า วิเคราะห์ผลลัพธ์ สรุปประเมิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.คณะกรรมการกลไกขับเคลื่อนโครงการและ ภาคี เข้าร่วมประชุม  15 คน ( อสม. ผญ.บ้านหมู่ที่ 1 ผู้ช่วยผู้ใหญ่ สมาชิก อบต. และครูโรงเรียนอนุบาลศรีบรรพต )
ผลลัพธ์
1. มีโครงสร้างคณะทำงาน
2. คณะทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่แบ่ง มอบหมาย
3. มีการแบ่งเขตความรับผิดชอบ ออกเป็น 4 กลุ่มบ้าน
4.มีแผนติดตามประเมินผลเป็นระยะ

กิจกรรมปฐมนิเทศ20 มิถุนายน 2020
20
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย peawnop2
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 4 คน ประกอบไปด้วย
    - ผู้รับผิดชอบโครงการ
    - เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
    - ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์
    - และคณะทำงาน

      รับฟังชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ NFS นายไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงของทุน สนับสนุนที่มา จาก สสส. มาสนับสนุนกับ กลุ่มองค์กร พื้นที่หมู่บ้าน ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ในด้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย ที่มีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนให้สองคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อผลักดันให้พัทลุงเป็นเมืองสีเขียว
จากนัั้นเข้ากระบวนการเรียนรู้การคลี่บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจในองค์ประกอบบันไดผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย
      ส่วนที่ 1 ผลลัพธ์ของโครงการ เป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลง
      ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโครงการ เป็นตัวบงบอกความสำเร็จในรูปแบบ ตัวปริมาณ
      ส่วนที่ 3 ตัวกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิด ผลผลิต และ ผลลัพธ์ พื้นที่ได้ทบทวนบันไดบันผลลัพธ์ ทบทวนภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ มีดังนี้
ภาคีเครือนข่ายแนวราบ (ภาคีร่วม)
    - โรงเรียน กลุ่มแม่ค้าในตลาด อสม. สอบต. กม.
ภาคีเครือข่ายแนวดิ่ง (ภาคียุทธศาสตร์)
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาย่า
    - อบต.เขาย่า

      เรียนรู้การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นายไพฑูรย์ ทองสม การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัดผลลัพธ์ โดยการนำตัวชี้วัดแต่ละบันไดที่เป็นส่วนหนึ่งของบันไดผลลัพธ์ ที่อยู่ใต้บันได นำมาออกแบบ โดยแบบฟอร์มการออกแบบ ประกอบไปด้วย
      - ตัวชี้วัด ข้อมูล ใช้ข้อมูลอะไรตอบตัวชีวัด
      - แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/เก็บอะไร
      - วิธีรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือใด
      - ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์
      - ระยะเวลาเก็บข้อมูล เก็บข้มูลเมื่อใด
      - แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตัวชี้อย่างไร
      การออกแบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เป็นการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่เหมาะสม การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานโครงการก่อนและหลัง จะได้รู้ถึงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่มีข้อมูลยืนยันของการดำเนินงานตลอดโครงการ

      เรียนรู้การออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ โดย นายเสณี จ่าวิสูตร เรียนรู้การวางแนวทางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรม 14 กิจกรรม ในระยะเวลา 10 เดือน เริ่ม เดือนมิถุนายน 2563- เดือนมีนาคม 2564

      เรียนรู้การบริหารจัดการ การเงิน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง
      - ครบถ้วน ประกอบไปด้วย เอกสารประกอบกิจกรรม มีครบในงบประมาณค่าใช้จ่าย
      - สมบรูณ์ ประกอบ ไปด้วย เอกสารบิลเงินสด มี เลขที่เล่ม วันที่ นามผู้รับ รายละเอียดของการใช้จ่าย นามผู้จ่าย
      - ถูกต้อง ประกอบไปด้วย การลงนาม ผู้รับ ผู้จ่ายถูกต้อง

      การบริหารจัดการ การเงินโครงการ จัดการบริหารไปตามแผนงบประมาณการจ่ายตามตัวโครงการ รายกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีการของอนุมัติการจ่ายโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกครั้ง ต้องมีการทำบันทึกการจ่ายในสมุดเงินสดเพื่อการเบิกจ่ายและสามารถรู้งบประมาณที่เป็นปัจจุบัน รับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร ยอดคงเหลือเท่าไร

      สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง สรุปตั้งแต่กระบวนการ คลี่บันไดผลลัพธ์ ให้ยึดหลักไว้ เราอยู่ที่ไหน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการเปลียนแปลง มีกิจกรรมอะไร มีตัวชีวัดสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำแล้วถึงหรือยัง โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อการรู้ว่าถึงผลลัพธ์หรือไม่ ระดับไหน  การติดตามผลลัพธ์ระหว่างทาง ทบทวน แก้ไข ประเมิน สู่เป้าหมายปลายทาง  การบริหารโครงการ ที่มีงบประมาณ ทำตามแผนกิจกรรมโครงการ มีพี่เลี้ยงหนุมเสริม เพิ่มทักษะ การรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ ควบคู่การบริหารจัดการการเงิน มีหน่วยจัดการเสริมความรู้ความเข้าใจตามเอกสารการจ่ายตามคู่มือ

      การเขียนรายงานผ่านระบบ Happy Network เรียนรู้การเข้าระบบออนไลน์ ลงรายละเอียดโครงการหน้าเวป ลงรายละเอียดงบประมาณแต่ละงวด รายละเอียดโครงการ ข้อมูลสถานการณ์ / หลักเหตุผล ลงวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ วิธีการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลงรายงานเวทีปฐมนิเทศ เสร็จสิ้นกระบวนการเวทีปฐมนิเทศ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
คณะทำงานโครงการเข้าร่วมประชุม 4 คน
ผลลัพธ์
คณะทำงานรับทราบ และเข้าใจ แนวทางการบริหารจัดการโครงการ