directions_run

การจัดการขยะ บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการขยะ บ้านสำนักปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0005
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2020 - 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 78,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านสำนักปราง หมู่ที่๑ ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพันธ์ เรืองณรงค์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก นุ่นด้วง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.724345,99.909894place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2020 31 ต.ค. 2020 1 มิ.ย. 2020 31 ต.ค. 2020 31,200.00
2 1 พ.ย. 2020 28 ก.พ. 2021 1 พ.ย. 2020 30 ก.ย. 2021 39,000.00
3 1 มี.ค. 2021 31 มี.ค. 2021 7,800.00
รวมงบประมาณ 78,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านสำนักปราง หมู่ที่ 1 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 200 หลังคา
ประชากร 590 คน แบ่งเป็นชาย 292 คน คิดเป็นร้อยละ 49.49 และ หญิง 298 คน คิดเป็นร้อยละ 50.50 หมู่บ้านสำนักปรางได้แบ่งเขตบ้านการดูแลออกเป็น 4 เขตบ้าน โดยมีหัวหน้าและผู้รับผิดชอบแต่ละเขต ดังนี้ เขตที่ 1 กลุ่มบ้านปากช่อง มีนายประเสริฐ บุญแก้วคง เป็นหัวหน้าเขต เขตที่ 2 กลุ่มบ้านสำนักปราง มีนายบันจง พรหมแก้ว เป็นหัวหน้าเขต เขตที่ 3 กลุ่มบ้านเหนือ มีนายประเสริฐ คำเพ็ง เป็นหัวหน้าเขต และเขตที่ 4 กลุ่มบ้านนอก มีนายพิจิตร ชูเพ็ง เป็นหัวหน้าเขต นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กร 11 องค์กรคือ กองทุนอาสาพัฒนาป้องกันหมู่บ้านและตนเอง(อพป.) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กลุ่มพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.) กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มปลูกปาล์มและปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มซื้อน้ำยางสด กลุ่มดอกไม้จันทน์ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยไข่แก้ว กลุ่มชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านสำนักปราง เป็นชุมชนมีครัวเรือนหนาแน่น มีร้านค้า มีตลาด จากการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน พบว่าขยะเป็นปัญหาหลัก ในปัจจุบันปริมาณขยะร้อยละ 80 ของขยะทั้งหมดถูกกำจัดโดยการเผา รองลงมาคือการนำไปทิ้งในที่สาธารณะ ซึ่งยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีจุดเสี่ยงที่มักจะมีการนำขยะมาทิ้งกองไว้ในที่สาธารณะและไม่มีการจัดการ 2 จุด ส่งผลกระทบไปในอีกหลายๆปัญหา เช่น ปัญหาการหมักหมมของขยะในที่สาธารณะเกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหละเพาะพันธุ์และอยู่อาศัยของสัตว์นำโรค นอกจากนี้ยังมีขยะทิ้งอยู่ข้างถนน ริมสวนยาง ใกล้บ้านเรือนสร้างความจนเป็นเหตุของความขัดแย้ง 2 ราย ทั้งยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากขยะเป็นเหตุโดยเฉพาะขยะประเภทกระป้อง แก้ว ภาชนะมีคม เกิดการบาดเจ็บจากแก้ว กระเบื้องบาด 4 ราย ส่วนขยะถุงพลาสติก เมื่อมีฝนตกมีน้ำขังในภาชนะเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก มีเด็กป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 1 ราย และทำให้ประชาชนในชุมชนต้องเสียเวลา เสียเงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องมาจากผลกระทบมาจากไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และแมลงมีพิษเมื่อมีฝนตกก็มีการชะล้างเอาสิ่งสกปรกลงไปในลำห้วยหลักของหมู่บ้าน ทำให้เกิดภาวะน้ำเสียประชาชนใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำไม่ได้ ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจมีรายจ่ายในเรื่องของการเฝ้าระวังและรักษาโรคที่เกิดจากปัญหาขยะ
วัตถุประสงค์1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ และการจัดการขยะ 2. เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ 3. เพื่อลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ และการจัดการขยะ

1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะ
1.2 ประชาชนเข้าร่วมเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 40%
1.3 มีครัวเรือนเข้าร่วมจัดการขยะไม่น้อยกว่า 50%
1.4 มีทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

4.00
2 2. เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ

2.1 เกิดกลไกที่ประกอบด้วยแกนนำชุมชนภาคียุทธศาสตร์ และภาคีอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีกฎกติกาเป็นมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการขยะ
2.3 รายงานการติดตามประเมินผล
2.4 มีแผนที่ทางเดินขยะ
2.5 ครัวเรือนปฏิบัติตามกติกาทุกข้ออย่างน้อย 50%
2.6 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 80%
2.7 ขยะในที่สาธารณะได้รับการ จัดการ
2.8 มีข้อมูลการลดขยะ/การนำขยะไปใช้

8.00
3 3. เพื่อลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

3.1 ขยะครัวเรือนลดลง 50%
3.2 ขยะถูกนำไปใช้ 40%
3.3. ขยะในชุมชนและที่สาธารณ ได้รับการจัดการทุกจุด

3.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายท 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 563 78,000.00 17 71,440.00
20 มิ.ย. 63 กิจกรรมปฐมนิเทศ 3 5,000.00 280.00
17 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ 15 3,550.00 3,550.00
24 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ขยะในชุมชน 80 4,550.00 4,550.00
4 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 เวทีสร้างความเข้าใจให้ชุมชนรับทราบสถานการณ์ขยะ 3 18,750.00 15,850.00
4 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 ประชุมกลไกขับเคลื่อน ติดตาม ประเมินผลการจัดการขยะ ทุกเดือน 15 1,950.00 1,950.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย 3 0.00 280.00
9 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 5. อบรมการจัดการขยะครัวเรือน 80 14,050.00 14,050.00
14 พ.ย. 63 กิจกรรมจัดทำค่าป้ายปลอดบุหรีและเครื่องดื่มแอกลอฮออล์ 80 1,000.00 1,000.00
16 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 6 การรณรงค์จัดการขยะชุมชน ขยะในที่สาธารณะ ครั้งที่ 1 0 2,500.00 2,500.00
17 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 7 การรณรงค์จัดการขยะชุมชน ขยะในที่สาธารณะ ครั้งที่ 2 100 2,500.00 2,500.00
27 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 8 สำรวจข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ขยะ ครั้งที่ 2 15 3,550.00 3,550.00
4 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 9 สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน ARE3 80 6,300.00 6,300.00
18 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 10 เวทีคืนข้อมูลการจัดการ 80 12,300.00 12,300.00
20 มี.ค. 64 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ร่วมระหว่างโครงการย่อยและหน่วยจัดการฯ 3 0.00 280.00
21 มี.ค. 64 กิจกรรมค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 3 1,000.00 1,000.00
27 มี.ค. 64 กิจกรรมค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

การดำเนินงานตามแนวทาง 1. ศึกษาข้อมูลขยะชุมชน 3 ด้าน พฤติกรรมการทิ้งขยะ, ที่มาของขยะ,และประเภทของขยะ 2. เวทีสร้างความเข้าใจให้ชุมชนรับทราบสถานการณ์ ขยะ และผลกระทบจากขยะ 3. ชักชวน จูงใจให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมจัดการขยะครัวเรือน ขยะชุมชน
4. สร้างแรงจูงใจ ในการลดการนำขยะกลับบ้าน การนำภาชนะมาใส่ของจากร้านค้า แม่ค้า ประกวด คัดเลือกบ้านต้นแบบการจัดการขยะ บุคคลตัวอย่างด้านการจัดการขยะ
5. อำนวยให้การซื้อขายขยะสะดวก เข้าถึงได้ง่าย จูงใจผู้ขาย 6. ส่งเสริมการใช้ซ้ำ นำไปใช้ใหม่
7. สนับสนุนการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และสนับสนุนการปลูกผักสวนครัว 8. คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างต่อเนืองและมีประสิทธิภาพ 9. ครัวเรือน และชุมชนต้องมีกฎกติการ่วมกัน และยอมรับปฏิบัติตามกติกา 10. มีการเก็บข้อมูลขยะต้นโครงการ และปลายโครงการเพื่อการติดตามและประเมินผล 11. สรุปผล ถอดบทเรียนรายงานประชาชนทราบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2020 14:06 น.