directions_run

ควนปริง สะอาด ปลอดภัย ไร้ขยะ ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ควนปริง สะอาด ปลอดภัย ไร้ขยะ ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 63001740008
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2563 - 10 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลควนปริง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนพงษ์ สัญวงค์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิเชตวุฒิ นิลละออ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 52,000.00
2 5 ต.ค. 2563 4 เม.ย. 2564 5 ต.ค. 2563 10 ต.ค. 2564 65,000.00
3 5 เม.ย. 2564 10 ต.ค. 2564 13,000.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีอาณาเขตติดต่อกับ เทศบาลนครตรัง และ เทศบาลตำบลโคกหล่อ ของอำเภอเมืองตรัง และติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางรัก และ องค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี ของอำเภอกันตัง มีสภาพกึ่งเมืองกึ่งชนบท ที่มีแนวโน้มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งปลูกสร้างอย่างรวดเร็ว เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ที่มีนักศึกษาและบุคลากรรวม 2,810 คน (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มิถุนายน 2563) มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีคนงานรวม 1,566 คน (บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน), มิถุนายน 2563) มีตลาดสดหน้าโรงงานฯ มีร้านสะดวกซื้อ บ้านเช่า และหอพัก เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ตำบลควนปริง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ฯ ทั้งสิ้น จำนวน 7,524 คน มีจำนวนครัวเรือนรวม 2,915 ครัวเรือน (งานทะเบียนราษฎร อำเภอเมืองตรัง, กุมภาพันธ์ 2563) และมีประชากรแฝงอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณรายรอบมหาวิทยาลัยฯ บริเวณโรงงานอุตสาหกรรม และตลาดสดหน้าโรงงานฯ จากการสำรวจข้อมูลขยะของตำบลควนปริง พบว่ามีปริมาณขยะเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังเท่ากับ 3.59 ตัน/วัน หรือประมาณ 0.5 กก./คน/วัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย อบต.ควนปริง ต้องใช้งบประมาณโดยรวมเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังสูงถึง 1,527,677.33 บาท/ปี (127,306.44 /เดือน) ในขณะที่ อบต. สามารถเก็บค่าธรรมเนียมขยะโดยเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังได้เพียง 164,248 บาท/ปี (13,687.33/เดือน) (งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดฯ อบต.ควนปริง, 2563)
สาเหตุสำคัญของปัญหาขยะตำบลควนปริง มาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคแบบฟาสฟูดส์ ข้าวถุง แกงถุง สั่งอาหารออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มปริมาณขยะอย่างรวดเร็ว ประกอบกับในพื้นที่ยังมีการคัดแยกขยะในปริมาณน้อย จากการสำรวจพบว่ามีเพียงประมาณ 10% ของครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง และยังไม่เห็นรูปธรรมของการใช้ประโยชน์จากขยะที่คัดแยกอย่างชัดเจน ประชากรส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยกับการทิ้งขยะทุกประเภทรวมกันในถังเดียว ซึ่งมีวางอยู่ในจุดต่างๆ ในพื้นที่ตำบลควนปริง ประมาณ 1,000 ถัง นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีการทิ้งขยะ 2 ข้างทางโดยเฉพาะบริเวณรกร้างที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง และมีปัญหาขยะล้นถังในที่ประชากรหนาแน่น และบริเวณทางสายหลักที่ตัดผ่านพื้นที่ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีความคิดเห็นว่าเรื่องการจัดการขยะเป็นงานของ อบต. และประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
เมื่อพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางสังคม พบว่าตำบลควนปริงเป็นตำบลที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น โดยเฉพาะหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งพบว่าในบริเวณดังกล่าวมีประชากรแฝงทั้งที่เป็นนักศึกษาและแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่จำนวนมาก และพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ประมาณ 50% ของปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ทั้งหมดของ อบต. โดยมีปริมาณขยะเฉลี่ย 1.5 กก./คน/วัน หรือประมาณ 3 เท่าของพื้นที่อื่นๆ ประกอบกับองค์กรต่างๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลควนปริงก็ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชนอย่างจริงจัง ในขณะที่ท้องถิ่นใกล้เคียงก็ไม่มีการวางถังขยะ ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายขยะจากนอกพื้นที่มาทิ้งในพื้นที่เป็นจำนวนมาก
เมื่อพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่าพื้นที่ตำบลควนปริง เป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตตรัง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดขยะสำคัญดังกล่าวข้างต้น และเป็นที่ตั้งของร้านค้า บ้านเช่า หอพัก และร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีตลาดสด มีถนนสายหลักตัดผ่านซึ่งเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างตัวอำเภอกับตัวจังหวัด และมักจะมีการเคลื่อนย้ายขยะจากนอกพื้นที่เข้ามาทิ้งในถังขยะที่วางไว้ 2 ข้างทางเป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากปริมาณขยะในถังขยะที่วางอยู่บนถนนดังกล่าว มักจะมีขยะล้นออกมาข้างนอกถัง นอกจากนี้ยังพบว่าจุดคัดแยกขยะที่ทาง อบต. ได้เตรียมไว้ให้สำหรับคัดแยกขยะรีไซเคิล มีไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของชุมชน โดยในปัจจุบันมีเพียง 10 จุด (หมู่บ้านละ 1 จุดและที่ อบต. 1 จุด) เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพการกำจัดขยะของท้องถิ่นในปัจจุบัน พบว่า อบต.มีเตาเผาขยะ 2 เตา ซึ่งมีกำลังเผาประมาณ 3 ตัน/วัน แต่เผาได้จริงเพียง 1 ตัน/วัน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความชื้นของขยะ นอกจากนี้ยังพบว่ารถที่ อบต. ใช้จัดเก็บขยะซึ่งมีอยู่เพียง 1 คัน ก็มีสภาพเก่า อายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี และชำรุดบ่อย ในส่วนของกลไกการบริหารจัดการขยะ ปัจจุบันมีคณะกรรมการจัดการขยะระดับตำบล แต่การทำงานยังขาดความต่อเนื่อง ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน อีกทั้งองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งขยะในพื้นที่ก็ยังขาดความร่วมมือในการจัดการขยะร่วมกัน ในส่วนของการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะ มีการดำเนินงานแค่ปีละประมาณ 1-2 ครั้งโดย อบต. และฝ่ายปกครองในท้องถิ่น สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะที่ตำบลควนปริงเคยทำ อาทิ เช่น โครงการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานธนาคารขยะหรือวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ โครงการบริหารจัดการศูนย์บริการจัดการขยะ ผลการศึกษาพบว่า ยังไม่มีโครงการใดประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยชุมชนจะมีส่วนร่วมดำเนินการเพียงในระยะเริ่มแรกของโครงการ แต่หลังจากนั้นไม่นานก็จะล้มเลิกไป ปรากฎการณ์ดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะในชุมชน เนื่องจากชุมชนจะมีความเชื่อว่า “ทำไปเดี๋ยวก็เลิกอีก เหมือนโครงการที่ผ่านมา” สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะของตำบลควนปริงมีหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง เกิดมลพิษทางกลิ่น ดิน และ น้ำ โดยเฉพาะบริเวณเตาเผาขยะ และจุดทิ้งขยะที่มีขยะล้นถังจะส่งกลิ่นเหม็น และมีเรื่องร้องเรียนมายัง อบต. เกี่ยวกับปัญหาขยะล้นถังบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลารถขยะชำรุดไม่สามารถไปเก็บขยะได้ตามกำหนด ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของตำบล ในส่วนของผลกระทบทางเศรษฐกิจ อบต.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเฉลี่ย 1,527,677.33 บาท/ปี (127,306.44 /เดือน) ในขณะที่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมขยะได้เพียง 164,248 บาท/ปี (13,687.33/เดือน) และมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาขยะในพื้นที่โดยเฉพาะขยะที่ถูกทิ้งอยู่นอกถังตาม 2 ข้างทางและจุดทิ้งขยะต่างๆ ได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการระบาดของไข้เลือกออกในพื้นที่ โดยในปี2562 พบว่าพื้นที่ตำบลควนปริงมีค่า HI >10 มีผู้ป่วยไข้เลือกออก จำนวน 30 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 131 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง จากสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น ชุมชนตำบลควนปริงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการประชุมวางแผนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคสังคม และภาควิชาการ ในพื้นที่ และมีการจัดตั้งคณะทำงานมารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในตำบลควนปริงให้หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการขยะ เพื่อขับเคลื่อนตำบลควนปริง สู่ “ตำบลสะอาด ปลอดภัย ไร้ขยะ” อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในตำบลต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างกลไกการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดกลไกการจัดการขยะในชุมชน 1.1 เกิดคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลควนปริงที่มาจากตัวแทนกลุ่มคนที่หลากหลายและคลอบคลุมทุกหมู่บ้าน อย่างน้อย 15 คน 1.2 เกิดอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หมู่บ้านละ 5 คน ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง 1.3 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะทุกหมู่บ้าน 1.4 เกิดกติกา/ข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการขยะระดับตำบล

1.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

ผลลัพธ์ที่ 2 ประชาชนในตำบลมีความรู้ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง 2.1 มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2.2 ครัวเรือน 30% สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดครัวเรือนต้นแบบและชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะตำบลควนปริง 3.1 เกิดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ ร้อยละ 10
3.2 เกิดชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะตำบลควนปริง 1 ชุมชน
** ครัวเรือนต้นแบบต้องสามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี และมีการใช้ประโยชน์จากขยะที่คัดแยก ** *ชุมชนต้นแบบ
1) ต้องมีครัวเรือนต้นแบบอย่างน้อยร้อยละ 50
2) ต้องมีแผนงานการจัดการขยะในชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและสามารถปฏิบัติได้จริง
3) มีกติกา/ข้อตกลงร่วมกันด้านการจัดการขยะในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และสามารถปฏิบัติการได้จริง ผลลัพธ์ที่ 4 ปริมาณขยะลดลง 4.1 ขยะในตำบลควนปริงลดลง ร้อยละ 20

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 7524
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ประชาชน ตำบลควนปริง 7,524 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (เบิกจ่ายตามจริง และเมื่อเหลือจะต้องคืนให้กับ สสส. เมื่อสิ้นสุดโครงการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 14516 13,000.00 8 13,000.00
21 ก.ค. 63 เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท 5 2,000.00 2,000.00
21 ก.ค. 63 ค่าโทรศัพท์ 3 งวด 1 2,000.00 2,000.00
21 ก.ค. 63 ป้ายชื่อโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่ 7,000 1,000.00 1,000.00
14 ต.ค. 63 รายงานในระบบ Happy net work 2 2,000.00 2,000.00
15 ธ.ค. 63 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 หน่วยจัดการจังหวัดที่มรจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship)ประเด็นการจัดการขยะ 5 1,000.00 1,000.00
7 เม.ย. 64 ประชุมกลไกระดับจังหวัด 1 2,000.00 2,000.00
25 เม.ย. 64 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการ 7,500 2,000.00 2,000.00
10 ต.ค. 64 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 หน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship) ประเด็นการจัดการขยะ 2 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 600 18,000.00 10 18,000.00
13 ส.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 60 1,800.00 1,800.00
28 ส.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 60 1,800.00 1,800.00
8 ต.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3 60 1,800.00 1,800.00
17 พ.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 4 60 1,800.00 1,800.00
17 ธ.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5 60 1,800.00 1,800.00
18 ม.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 6 60 1,800.00 1,800.00
17 ก.พ. 64 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 7 60 1,800.00 1,800.00
20 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8 60 1,800.00 1,800.00
16 เม.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 9 60 1,800.00 1,800.00
30 เม.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 10 60 1,800.00 1,800.00
3 กิจกรรมที่ 3 การจัดการตลาดต้นแบบเพื่อลดขยะอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 19,000.00 1 19,000.00
1 ส.ค. 63 - 30 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การจัดการตลาดต้นแบบเพื่อลดขยะอย่างยั่งยืน 60 19,000.00 19,000.00
4 กิจกรรมที่ 7 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 9,900.00 1 9,900.00
9 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 7 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 45 9,900.00 9,900.00
5 กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะตำบลควนปริง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 20,500.00 1 20,500.00
16 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะตำบลควนปริง 50 20,500.00 20,500.00
6 กิจกรรมที่ 4 จัดทำแผนการจัดการขยะระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 450 13,500.00 1 13,500.00
2 - 13 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 จัดทำแผนการจัดการขยะระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน 450 13,500.00 13,500.00
7 กิจกรรมที่ 6 การกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนจัดการขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 14,100.00 1 14,100.00
4 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 การกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนจัดการขยะ 50 14,100.00 14,100.00
8 กิจกรรมที่ 5 ประกวดครัวเรือนต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 18,000.00 1 18,000.00
24 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 5 ประกวดครัวเรือนต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบ 200 18,000.00 18,000.00
9 กิจกรรมที่ 8 สื่อสารสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,000.00 1 4,000.00
1 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 8 สื่อสารสาธารณะ 0 4,000.00 4,000.00
10 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
10 ต.ค. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2563 16:17 น.