directions_run

จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ”

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก

ชื่อโครงการ จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

ที่อยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-00174-0004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม 2563 ถึง 10 ตุลาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง



บทคัดย่อ

โครงการ " จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-00174-0004 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 กรกฎาคม 2563 - 10 ตุลาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 117,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านมดตะนอยชุมชนชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเล ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จังหวัดตรัง สภาพที่ตั้งของชุมชนมดตะนอย ในอดีตมีสภาพเป็นเกาะๆหนึ่งที่มีน้ำล้อมรอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง โดยตั้งบ้านเรือนในพื้นที่นี้มานานกว่า 150 ปี การตั้งบ้านเรือนครึ่งหนึ่งสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง ประกอบกับมีพื้นที่ชายหาดที่ทอดยาวกว่า 2 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกิจกรรมด้านอาชีพ ด้านนันทนาการและการออกกำลังกายจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นขยะที่บ้านมดตะนอยจึงมีแหล่งกำเนิดจากหลายแหล่งคือ “ขยะที่มาจากทะเล”เป็นขยะอาจเกิดขึ้นจากขยะที่มาจากพื้นที่อื่นหรือขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือเป็นขยะที่มาจากการทำกิจกรรมทางทะเล“ขยะที่เกิดจากการซื้อกิน ซื้อใช้ของคนในชุมชน”ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนที่มีคนอยู่จริง 295 หลังคาเรือน ประชากร 1084 คน และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ปี 2557 ชุมชนมีการพูดคุยความต้องการในการแก้ปัญหาชุมชน พบว่าปัญหาแรกที่ชุมชนอยากแก้ไขเป็นอันดับแรกคือเรื่องขยะ แม้ในอดีตชุมชนพยายามแก้ปัญหาขยะมากกว่า 10 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากการที่บุคคลและองค์กรภายนอกเข้ามาร่วมจัดการปัญหาแต่ไม่สามารถสร้างความตระหนักให้ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา เมื่อหน่วยงานที่มาช่วยกลับไปประกอบกับการจัดการขยะที่ไม่ต่อเนื่องส่งผลให้ยังมีปัญหาขยะในชุมชน ชุมชนตกลงร่วมกันจัดการปัญหาขยะเพื่อให้ “ชุมชนมดตะนอยน่าอยู่ สะอาดปราศจากขยะ” มีการรณรงค์เก็บขยะกันในครัวเรือนและในชุมชน ประสานหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ เมื่อดำเนินการระยะหนึ่งชุมชนเริ่มเข้าใจเรื่องผลกระทบของขยะที่มีต่อสุขภาพ มีการรณรงค์การเลิกใช้ภาชนะประเภทโฟมบรรจุอาหารในชุมชน มีการขอความร่วมมือร้านค้าภายนอกที่เข้ามาขายในชุมชนจนทำให้สามารถประกาศเป็นหมู่บ้านปลอดโฟมในวันที่ 9 สิงหาคม 2559 มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาปี 2561 ชุมชนมีการทบทวนการดำเนินงานและสรุปบทเรียนการจัดการขยะอีกครั้งพบว่าภายหลังปี 2557 ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก คนในชุมชนตระหนักโทษภัยจากภาชนะโฟม คนในชุมชน ครัวเรือนเลิกใช้ภาชนะโฟม เด็กในหมู่บ้านแม้นออกไปภายนอกหมู่บ้านก็ไม่ซื้ออาหารที่บรรจุในภาชนะประเภทโฟม ขยะบริเวณครัวเรือนลดลง แต่ปัญหาที่พบ คือ ชุมชนครัวเรือนยังมีแนวโน้มการการใช้และสร้างพลาสติกในชีวิตประจำวันจำนวนมาก ปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะมีเพิ่มมากขึ้น ปี 2561 จึงมีการเสนอโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมสู่การจัดการสุขภาพบ้านมดตะนอยเน้นการพัฒนาครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง การพัฒนากลุ่มเด็กเยาวชนเรียนรู้การจัดการขยะ การลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก การพัฒนาการหาร้านค้าสมัครใจลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก การพัฒนาจุดเรียนรู้การจัดการขยะ ผลการดำเนินงานทำให้เกิดทีมคณะทำงานจัดการขยะชุมชนมดตะนอย ประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับแกนนำอสม. และอาสาสมัคร ครัวเรือนมีการจัดการขยะต้นทางประมาณ 80 % เกิดร้านค้าสมัครใจลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติกจำนวน 20 ร้าน เกิดจุดเรียนรู้การจัดการขยะ 1 จุด ที่ รพ.สต.มดตะนอย
ทั้งนี้ต้นปี มกราคม 2563 คณะทำงานมีการทบทวนการดำเนินงานการจัดการขยะพบว่า กลไกคณะกรรมการจัดการขยะเดิม อสม.บางส่วนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม และคณะกรรมการบางส่วนไม่มีความพร้อมในการร่วมกิจกรรม เด็กในชุมชนส่วนใหญ่ยังทิ้งขยะไม่เป็นที่ ยังพบขยะอันตรายบางส่วนไม่ถูกคัดแยก ร้านค้ายังใช้ภาชนะครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเรือนำเที่ยวเมื่อเข้ามาในหมู่บ้านเอาขยะมาทิ้งในพื้นที่ และปัญหาขยะในหาดสาธารณะ รวมถึงพบว่าปัจจุบันชุมชนมดตะนอยเริ่มมีนักท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มศึกษาดูงานเข้ามาเรียนรู้ในชุมชนมดตะนอยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเพื่อเตรียมชุมชนมดตะนอยพัฒนาเป็นเป็นชุมชนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลและชุมชนท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ คณะกรรมการจัดการขยะบ้านมดตะนอย พบว่าสถานการณ์การจัดการขยะบ้านมดตะนอยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับทุนในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ตามโครงการ “การสนับสนุนการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมสู่การจัดการสุขภาพบ้านมดตะนอย” สิ่งที่ชุมชนพบว่ายังเป็นปัญหาของชุมชน ประเด็นที่ ๑ ขยะที่มาจากการซื้อกิน ซื้อใช้ ในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดมาจากร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน ร้านค้าแต่ละร้านมีจุดทิ้งขยะของตนเองเป็นแบบถังขยะรวมและไม่มีความแข็งแรง หกล้มง่ายประกอบกับไม่สร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะของเด็ก ปริมาณขยะจุดนี้จึงไม่ลดลง ประเด็นที่ ๒ คือ ขยะที่เกิดจากคนในชุมชนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะไม่เป็นที่ หรือ ขยะมาจากภาชนะเก็บขยะไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขยะในชุมชนไหลลงสู่ทะเล และขยะจากทะเลก็ไหลกับเข้ามาในชุมชน และ ชายหาด ซึ่งยากต่อการจัดการในพื้นที่ การดำเนินการเพื่อให้มี “จุดประเมินขยะจากชุมชนสู่ทะเล” เป็นกระบวนการประเมินปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล และเป็นการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน ต่อการจัดการขยะในชุมชน การดำเนินการนี้น่าจะส่งผลให้ปริมาณขยะส่วนนี้น่าจะลดลง รวมทั้งการจัดให้มีจุดรวบรวมขยะบริเวณ ชายหาดบ้านมดตะนอย ขยะในส่วนนี้เป็นขยะที่มาจากภายนอกชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จุดรวบรวมขยะนี้จะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งในการสร้างจิตสำนึกรายบุคคลต่อการจัดการขยะเนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ชายหาดเป็นพื้นที่พักผ่อน ออกกำลังกาย รวมไปถึงเตรียมอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพทางทะเล หากพบเห็นขยะจากทะเล ก็สามารถคัดแยกขยะทิ้งในจุดที่ชุมชนจัดเตรียมไว้ปริมาณขยะจะค่อยๆลดลง ประเด็นที่ ๓ขยะที่เกิดจากการออกเรือไปประกอบอาชีพในทะเล จากการสอบถามพบว่าขยะส่วนนี้ส่วนใหญ่ถูกโยนทิ้งในทะเล การจัดทำข้อตกลง การจัดจุดรวบรวมขยะในพื้นที่สาธารณะจึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะของบุคคลในประเด็นนี้หากจุดรวบรวมที่จะจัดตั้งขึ้นโดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมดูแล มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องตามสภาพปัญหาน่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ช่วยในการลดปริมาณของลงสู่ทะเล ประเด็นที่ ๔ การจัดการขยะในพื้นที่สาธารณะทั้งในมัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนสอนศาสนา การดำเนินการทั้ง ๔ ประเด็น เพื่อจัดวางระบบการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางตามสภาพปัญหาที่ชุมชนพบเห็น โดยมีคณะกรรมการจัดการขยะที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อนโดยใช้ข้อตกลงการจัดการขยะของชุมชน ผ่านกระบวนการเยี่ยมประเมินจากตามหลักเกณฑ์บ้านจัดการขยะที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนด ชุมชนบ้านมดตะนอย ขอเสนอโครงการ “โครงการจัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย” เพื่อจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมดตะนอยให้น่าอยู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนให้สามารถจัดการขยะในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด/ส่งต่อลดลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 10 ครั้ง
  2. สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  3. บัญชีธนาคาร
  4. กิจกรรมที่ 3 การจัดทำข้อตกลง/ธรรมนูญสุขภาพการจัดการขยะชุมชน
  5. ค่าวัสดุ
  6. กิจกรรมที่ 6 เสริมพลังครัวเรือน ร้านค้าในชุมชน เป็นครัวเรือนต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ
  7. กิจกรรมที่ 2 การจัดการฐานข้อมูลขยะในชุมชน
  8. กิจกรรมที่ 4 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะ
  9. กจกรรมที่ 5 เสริมพลัง ลดการสร้างขยะ
  10. กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์
  11. ถอดบทเรียน
  12. ค่าถ่ายเอกสาร
  13. กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์
  14. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  15. เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท
  16. กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  17. ค่าวัสดุและค่าถ่ายเอกสาร
  18. กิจกรรมย่อยที่ 2.1 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 1 )
  19. กิจกรรมย่อยที่ 1.2 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย(ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน)
  20. กิจกรรมย่อยที่ 1.3 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  21. กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  22. กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  23. กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  24. กิจกรรมย่อยที่ 1.5 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  25. กิจกรรมย่อยที่ 1.9 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  26. กิจกรรมย่อยที่ 1.10 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  27. กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การจัดการฐานขยะในชุมชน(ชั่งขยะครั้งที่ 2 )
  28. ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส1และการเงิน ง1
  29. กิจกรรมย่อยที่ 6.1 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (บ้านหนองปรือ ต.รัษฎา จ.ตรัง)
  30. ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม
  31. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ
  32. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์
  33. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 3
  34. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 4
  35. กิจกรรมย่อยที่ 3.2 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 2
  36. กิจกรรมย่อยที่ 6.2 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บาเระใต้ ต.บาเงาะ จ.นาราธิวาส)
  37. กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  38. กิจกรรมย่อยที่ 6.3 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช)
  39. กิจกรรมย่อยที่ 3.1 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 1
  40. กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 3 )
  41. กิจกรรมย่อยที่ 2.4 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 4 )
  42. กิจกรรมย่อยที่ 6.4 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง)
  43. กิจกรรมย่อยที่ 6.5 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ(อบต.นาพละ จ.ตรัง )
  44. กิจกรรมย่อยที่ 6.6 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บางสัก)
  45. กิจกรรมย่อยที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1
  46. กิจกรรมย่อยที่ 6.8 ประชุมสรุปผลการเยี่ยมบ้าน
  47. กิจกรรมย่อยที่ 4.1 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในที่สาธารณะ
  48. กิจกรรมย่อยที่ 6.9 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (จากบ้านควนเมา และ บ้านเกาะลิบง)
  49. 6 .10 ต้อนรับคณะดูงาน บ้านหนองบัว
  50. 4.1 จัดทำถังขยะในที่สาธารณะ
  51. 4.2 จัดทำป้าย
  52. ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด
  53. ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด
  54. กิจกรรมย่อยที่ 2.5 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 5 )
  55. กิจกรรมย่อยที่ 2.6 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 6 )
  56. กิจกรรมย่อยที่ 1.11 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  57. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1
  58. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1
  59. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2
  60. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2
  61. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ
  62. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ
  63. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ
  64. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ
  65. กิจกรรมย่อยที่ 1.12 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย
  66. ค่าถ่ายเอกสาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการจัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย มุ่งเน้นการดำเนินงานในรูปแบบของการพัฒนา 3 กระบวนการคือ
กระบวนการที่1 การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ โดยเริ่มจากการร่วมกันกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน การจัดการบ้านที่อยู่อาศัยของตนเองผ่านเกณฑ์บ้านจัดการขยะ เพื่อให้คณะกรรมการมีความพร้อม มีภาวะเป็นผู้นำทางความคิด เป็นบ้านต้นแบบให้กับคนในชุมชน
กระบวนการที่2 การพัฒนาศักยภาพของชุมชน ผ่านการจัดทำเป็นข้อตกลงที่คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบ จนกลายมาเป็น “ธรรมนูญการจัดการขยะบ้านมดตะนอย” ซึ่งต่อมาจะเป็นเครื่องมือสำคัญของชุมชน ที่ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ต่อการจัดการขยะ
กระบวนการที่3 การดำเนินการเพื่อนำขยะมาเป็นทุน คือ ๑.ทุนที่เกิดจาก “การแบ่งปัน” เช่น การบริจาคขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำให้กับร้านค้า สถานประกอบการ ทุนที่เกิดจากการคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะ ขยะที่มีมูลค่าจะถูกแปรมาอยู่ในรูปของ “กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านมดตะนอย” ในส่วนนี้คณะกรรมการ สามารถนำมาต่อยอดการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุนต่อไป ๒.ทุนที่เกิดจาก “การจัดบ้านเรือนต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ” เพื่อการเป็นแบบอย่างที่ดี คอยกระตุ้นให้แต่ละครัวเรือนอยากมี อยากได้ เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบบ้านเรือนให้สะอาดน่าอยู่ ไม่เป็นแหล่งรังโรค และ เป็นที่ประทับใจของคนในชุมชน หรือ บุคคลภายนอกที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน ๓.ทุนที่เกิดจาก “การมีส่วนร่วมของชุมชน" เป็นทุนที่พัฒนาต่อยอดจากการมีจิตอาสา ความรัก ความห่วงใย ความปรารถนาดีอยากเห็นชุมชนของเราน่าอยู่ ซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปสู่ชุมชนจัดการตนเอง รู้เท่าทันภัยต่างๆที่เข้ามาในชุมชน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท

วันที่ 21 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

d

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

t

 

3 0

2. สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม

วันที่ 21 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 1 เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน วันที่ 21 ก.ค. 63 เวลา 9.00-15.30น. ณ ห้องประชุมภูผายอดรีสอร์ท อ.ห้วยยอด จ.ตรัง รายละเอียดกิจกรรมมีดังนี้ 1 นำเสนอบรรไดผลลัพท์ต่อคณะNOTE 2.ปฎิทินกิจกรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีปฎิทินโครงการพร้อมรายละเอียด คณะ Note ได้รับฟังพร้อมให้คำแนะนำพร้อมดำเนินการตามบันไดผลลัพ

 

0 0

3. กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 24 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จประชุมชี้แจงโครงการและพิจรณาทบทวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะเพื่อคัดเลือกเป็นคณะทำงานในการจัดการขยะบ้านมดตะนอย - ขอความคิดเห็นคัดเลือกคระทำงานการจัดการขยะบ้านมดตะนอย ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการเสนอจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการและคณะทำงาน -ที่ประชุมคัดเลือกคณะทำงานจากตัวแทนภาคีต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 1.ตัวแทนโรงเรียน จำนวน 2 คน 2.ตัวแทนครูศูนย์พัตนาเด็กเล็กจำนวน 1 คน 3.ตัวแทน รีสอร์ท 4 รีสอร์ท จำนวน 4 คน 4.ผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน 5.ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 1 คน 6.ผู้นำศาสนา จำนวน 2 คน 7.ผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน 8.ผู้ประกอบการ/เรือตกปลา/เรือประมง จำนวน 3คน
9.ผู้ประกอบการรับซื้ออาหารทะเล จำนวน 4 คน 10 ตัวแทนร้านค้า จำนวน 2คน 11.ตัวแทนเด็กและเยวชน จำนวน 6 คน 12.ตัวแทน อสม โซนละ 2 คน รวมทั้งหมด 41 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคัดเลือกคณะทำงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะ 41 คน 1. ตัวแทนครูโรงเรียน 2 คน 2. ตัวแทน ศพด  1 คน 3.ตัวแทนรีสอรท 4 แห่ง 4 คน 4.ผู้นำชุมชน 4 คน 5.ผู้นำท้องถิ่น 1 คน 6.ผู้นำศาสนา 2 คน 7.ตัวแทนผู้สงอายยุ 4 คน 8.ตัวแทนผู้ประกอบการ (เรื่อประมง เรือตกปลา แพปลา) 7 คน 9.ตัวแทนเยาวชน 6 คน 10 ตัวแทนร้านค้า 2 คน 11 ตัวแทน อสม โซนละ 2 คน  4 โซน 8 คน ทั้งหมด 41 คน

 

35 0

4. ค่าวัสดุและค่าถ่ายเอกสาร

วันที่ 24 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ค่าอุปกรณ์ต่างๆในกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ซื้อวัสดุอุปกรณ์

 

0 0

5. ค่าวัสดุ

วันที่ 24 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ค่าอุปกรณ์ต่างๆในกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ซื้อวัสดุอุปกรณ์

 

0 0

6. กิจกรรมย่อยที่ 1.2 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย(ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน)

วันที่ 17 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ทบทวนบันไดผลลัพธ์พร้อมรับรู้สภาพปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
2. คณะทำงานจากภาคีต่างๆ 3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุม - แต่งตั้งคณะทำงานพร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ - ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะชุมชนชายฝั่งทะเล - ชี้แจงบันไดผลลัพธ์การจัดการขยะชายฝั่งทะเล โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือหมู่บ้านเกิดการเรียนรู้ มีภาคีเข้มแข็ง มีข้อตกลงของหมู่บ้าน รับรู้สภาพปัญหาเหมือนกันเพื่อให้เกิดการจัดการขยะและลดขยะให้ได้ 20% ในระยะเวลา 1 ปี โดยมีแนวทางดังนี้ 1. สิ่งที่จะทำให้ขยะลดลงได้คือ
1.1 เห็นค่าของขยะ 1.2 เพิ่มถังขยะจุดสาธารณะ 1.3 มีบ้านต้นแบบเพิ่มขึ้น 1.4 นำขยะมาทำสิ่งประดิษฐ์ 1.5 สร้างแกนนำเยาวชนรุ่นไหม 1.6 มีร้านค้าต้นแบบเพิ่มมากขึ้น 1.7 นำภาชนะมาร้านค้า 2. ข้อตกลงของคณะทำงานเพื่อเสนอต่อชุมชน 2.1 กลุ่มร้านค้า
  - นำภาชนะมาซื้อของ
  - ลด เลิก หลอดกาแฟ   - ให้มีถังขยะที่แยกทุกร้าน

คณะทำงานจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโซน โซนแมงกระพรุน ประกอบด้วย 1 นางสาวบานชื่น หาผล 2 นางสาวมาลิสา ทองใส 3 นางสาปิเยาะห์ จิเหลา 4 นางสาวรุจิรา คงเส็ม 5 นายลีเซ็น ช้างน้ำ 6 นางส้วง ทองฉิม โซนประการัง ประกอบด้วย 1 นางเจาะแม พระคง 2 นางสาวทิพยา ทะเลลึก 3 นางสาวจันทิรา แซ่ตั้น 4 นายมะกาด ทะเลลึก โซนดุหยง ประกอบด้วย 1 นางสาวยิมมิละ สาลี 2 นางสาวปานใจ ไมหมาด 3 นายนรินทร์ ติ่งเก็ม โซนหอยชักตีน 1 นายมุสเก็บ ทะเลลึก 2 นางสาวสายรุ่ง บ้าเหร็ม 3 นางสาววิภาวดี ช้างน้ำ 4 นายอับดุลการีม ทะเลลึก 5 นายหมาดตน ช้างน้ำ คณะบริหารโครงการ ประกอบด้วย 1 นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก  ประธาน 2 นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก  เลขา 3นายบิสน ทะเลลึก    กรรมการ 4 นางสาวบุหลัน ติ่งเก็ม    กรรมการ 5 นางสาวนงคราญ ติ่งเก้บ  กรรมการ
6 นางสาวรอหยำ ติ่งเก็บ  กรรมการ 7 นางสุชาดา หลักศิลา    กรรมการ 8 นางสาวจันจิรา ไมหมาด  กรรมการ 9 นางสาวยุพิน ทะเลลึก  กรรมการ 10 นางสาวปูเตะ หาดเด็น  กรรมการ 11 นางสาว สะระ ทะเลลึก  กรรมการ 12 นางสาวรัตติยา ติ่งเก็บ  กรรมการ
13 นางสาวมริสา ทะเลลึก  กรรมการ
14 นางสาวนงนุช ติ่งเก็บ  กรรมการ 15 นางสาววันดี โปสู่    การเงิน

-วางแผนการจัดเก็บฐานข้อมูลขยะในชุมชน นัดทีมรวมตัวกันที่ รพ.สต เวลา 09.00 น กำหนดเส้นทางจากหัวสะพาน-ในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้คณะกรรมการบริหารและคณะทำงาน -เกิดการเรียนรู้พร้อมวางแผนการดำเนินงาน -ตกลงวิธีการจัดเก็บข้อมูลในชุมชนโดยการลงพื้นที่ชั่งขยะในชุมชน

 

35 0

7. กิจกรรมที่ 2 การจัดการฐานข้อมูลขยะในชุมชน

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-กำหนดเส้นทางวิธีการและเวลาเก็บขยะก่อนรถขยะะจะมาถึง -ชั่งถังขยะของแต่ละบ้านที่ตั้งเตรียมไว้ทิ้งก่อนจะขึ้นรถ อบต มาจัดเก้บ -คณะกรรมการสังเกตชนิดของขยะที่ครัวรวนนำมาทิ้ง -คณะกรรมการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้ลงพื้นที่ชั่งขยะครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ปริมาณของขยะ -ได้ชนิดของขยะที่ชาวบ้านยังไม่จัดการ 5 ชนิด -ชาวบ้านเกิดการตื่นตัว -กรรมการได้แนวทางที่จะชั่งเก็บขยะครั้งต่อไป เช่น การวางแผน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การระดมคน ในการจัดเก็บข้อมูลขยะ

 

35 0

8. กิจกรรมย่อยที่ 2.1 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 1 )

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-กรรมการเตรียมอุปกรณ์พร้อมรวมตัวที่หัวสะพาน -เริ่มชั่งขยะจากหัวสะพานไปยังชุมชน -หลังจากที่ชั่งขยะในชุมชนแล้วทีมนำมาสรุป

กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด - กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 11 คน ซึ่งได้เริ่มต้นชั่งจากหัวสะพาน-ในหมู่บ้าน สรุปผลการลงพื้นที่ - ได้น้ำหนักขยะทั้งหมด 1860 กก ซึ่งได้พบว่าเป็นขยะอินทรีย์รวมอยู่ในขยะทั่วไปด้วยเช่น พกพร้าว เปลือกหอย ขยะย่อยสลาย
- ทีมพบว่าครั้งนี้ใช้เวลานานเกินไป จึงหารถซาเล้งเพิ่มอีก 1 คัน เพื่อทำเป็น 2 ทีม

นัดประชุม การจัดทำฐานข้อมูลขยะ (การชั่งขยะ) ครั้งที่ 2 วันที่ 5 ตุลาคม 2563

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ปริมาณของขยะ -ได้ชนิดของขยะที่ชาวบ้านยังไม่จัดการ 5 ชนิด -ชาวบ้านเกิดการตื่นตัว -กรรมการได้แนวทางที่จะชั่งเก็บขยะครั้งต่อไป เช่น การวางแผน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การระดมคน ในการจัดเก็บข้อมูลขยะ

 

35 0

9. กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การจัดการฐานขยะในชุมชน(ชั่งขยะครั้งที่ 2 )

วันที่ 5 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ทีมแบ่งกลุ่มการทำงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
  • ลงพื้นที่ชั่งขยะ กลุ่มที่ 1 จากหัวสะพานจนถึงโซนปะการัง       กลุ่มที่ 2 จากมดตะนอยรีสอร์ทถึงดุหยงค์รีสร์อท -สรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
    1. คณะบริหารโครงการ
    2. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
      ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด คร้งที่ 2
  • กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 12 คน แบ่งสาเล้งออกเป็น 2 คัน ซึ่งได้เริ่มต้นชั่งจากหัวสะพาน-ในหมู่บ้าน

สรุปผลการลงพื้นที่ - ได้น้ำหนักขยะทั้งหมด 1,390 กก ขยะที่ชุมชนสามารจัดการได้แต่ยังทิ้ง มี 5 ชนิด 1 พจพร้าว 2 เปลือกหอย 3 เศษไม้ 4 เศษอาหาร 6 ขยะรีไซเคิล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะกรรมการเกิดการวางแผนที่ดีขึ้น -มีฐานข้อมูลขยะ -ทำให้เห็นว่ายังมีขยะอิินทรีย์ที่ควรจัดการ -ชาวบ้านเกิดการตืนตัวมากขึ้น

 

35 0

10. กิจกรรมย่อยที่ 1.3 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 15 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมทบทวนบันไดผลลัพท์พร้อทปรับแผ่นบันไดขั้นที่ 2 -เปลียนแปลงขั้นตอนการทำเวทีประชาคมชาวบ้าน -ออกแบบจุดทิ้งขยะสาธารณะ -วางแผนการเตรียมงานของคนนอกพื้นที่จะเข้ามาดูงานการจัดการขยะบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ชุมชนเห็นว่าการทำกิจกรรมเพื่อให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ก่อนแล้วค่อยมาปรับทำเวทีประชาคม -ข้อมติของกรรมการเรื่องการปรับแผนประชาคม -จุดวางถังขยะสาธารณะ 5 จุด -บ้านตัวอย่างโซนละ 1 หลัง -กรรมการวางแผนการทำงานครั้งต่อไป

 

35 0

11. ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส1และการเงิน ง1

วันที่ 16 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจ้งการเงินและคีย์รายงานเข้าในระบบ
นำเสนอกิจกรรมที่ทำมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รู้วิธีการคีย์ข้อมูลและการบันทึกกิจกรรม ได้นำเสนอกิจกรรมที่ทำมาให้เพื่อนและพี่เลี้ยงฟัง ได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์

 

0 0

12. กิจกรรมย่อยที่ 1.4 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 27 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • กรรมการมาสรุปการจัดการขยะบ้านมดตะนอยที่ดำเนินการมาตลอด 6 ปี
  • บอกให้กรรมการทุกคนได้รู้ว่าตอนนี้หมู่บ้านมดตะนอยเป็นชุมชนที่มีหลายหน่วยงานสนใจ
  • ต้อนรับคณะมาดูงานจากควนขนุน
  • มอบหมายหน้าที่กรรมการต้อนรับการมาดูงานแต่ละบูธ กิจกรรมการบรรยาย "เส้นทางการจัดการขยะชุมชนบ้านมดตะนอย" กิจกรรมการบรรยาย"กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง" กิจกรรมการบรรยาย "การออกแบบการจัดการขยะในชุมชนโดยมีส่วนร่วม"
  • เยี่ยมบูธนิทรรศการ มีทั้งหมด 4 บูธ บูธร้านค้าต้นแบบ/ร้านค้าปลอดโฟม บูธการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง บูธการนำขยะเหลือใช้มาประกอบอาชีพมาสร้างประโยชน์ บูธการทำน้ำหมัก
  • เยี่ยมบ้านต้นแบบในการจัดการขยะ ทั้ง 4 โซน
  • ทีมดูแลอาหารกลางวันและอาหารว่าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่มีความรับผิดชอบและเก่งขึ้น
  • แต่ละโซนมีการจัดการขะที่แตกต่างกัน รวมถึงบ้านตัวอย่างของแต่ละโซนมีจุดเด่นทุกโซน -ชาวบ้านได้ผลประโยชน์จากการมาศึกษาดูงานจากพื้นที่ข้างนอก เช่น ขายของดีขึ้น
  • เกิดความร่วมมือของชาวบ้าน

 

35 0

13. กิจกรรมย่อยที่ 1.5 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมคณะกรรมการเรื่อง ต้อนรับคณะดูงานรอบถัดไป - คณะทำงานทบทวนบันไดผลลัพธ์ และพูดเรื่องเป้าหมาวลดลง 20%
-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปแบบกิจกรรมที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะบ้านมดตะนอย - กิจกรรมบรรยาย
- บูธนิทรรศการแบ่งงานเหมือนเดิม - บ้านตัวอย่างต้องมีคัดแยกขยะ -ร้านค้าต้องมีที่วางถังขยะที่ชัดเจน - จุดแยกขยะริมชายหาด จุดคัดแยกขยะ พื้นที่สาธารณะ 5 จุด - โซนแมงกระพรุน - สะพาน - ไวไฟ - ริมชายหาด - โซนหอยชักตีน ฝากประสานแต่ละโซนเตรียมผลิตภัณฑ์รองรับเป็นของฝากคณะดูงาน นัดหมายพร้อมกันวันที่ 15 พ.ย 63 เวลาตี 13.30 ปิดประชุม 16.30

 

35 0

14. 4.1 จัดทำถังขยะในที่สาธารณะ

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดทำพร้อมออกแบบถังขยะจุดสาธารณะ ให้มีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้จัดทำถังขยะเป็น 4 ช่อง ด้วยเศษอวนเหลือใช้ วางไว้ตามจุดสาธารณะ ซึ่งมี ทั้งหมด 5 จุด   1 จุดทีจอดเรือโซนแมงกระพรุน (เป็นบริเวณที่คน ขึ้น-ลง เรือ )   2 จุดที่สะพานประมง (พ่อค้าแม่ค้าไปซื้อปลา และ เรือประมงขึ้นลงเรือ)   3 จุดไวไฟประชารัฐ (จุดที่เด็กไปนั่งร่วมตัวกัน)   4 จุดบริเวณริมชายหาด (เป็นจุดที่ชุมชน ขึ้น ลง เพื่อออกกำลังกาย)   5 จุดท่าเรื่อ โซนหอยชักตีน (ชาวเรือ ประมงขึ้นลง)

 

0 0

15. 4.2 จัดทำป้าย

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ค่าจ้างทำป้ายไม้ รณรงค์การจัดการขยะบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ ป้าย 30 แผ่น

 

0 0

16. กิจกรรมย่อยที่ 6.1 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (บ้านหนองปรือ ต.รัษฎา จ.ตรัง)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ตัอนรับคณะดูงานจาก ต.คลองปางและ ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ. ตรัง จำนวน 55 คน
  • บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ
  • บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ
  • ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ
  • บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ
  • เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธบาย
  • ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่

-กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป

 

0 0

17. กิจกรรมย่อยที่ 3.1 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 1

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมคณะกรรมการให้รู้ทุกคนเรื่องขยะที่จัดการได้แต่ยังทิ้งรถเพื่อให้แนวทางและแก้ไข้พร้อมหาข้อตกลงในหมู่บ้าน
-จุดกำเนิดขยะ มีจุดไหนเหลยบ้าง
- สิ่งที่ชุมชนอยากเห็น -การออกแบบข้อตกลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้รู้ขยะที่กำจัดได้แต่ยังทิ้ง เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร เศษไม้  เปลือกหอย พรตพร้าว
  • ได้รู้จุดกำเนิดขยะว่ามาจากจุดไหนบ้าง คือ ร้านค้า รถเร่ ตลาดนัด ครัวเรือน นักท่องเที่ยว ทะเล เรือประมง เด็ก/เยาวชน
  • ได้รูปแบบของบ้านตัวอย่าง

 

20 0

18. กิจกรรมย่อยที่ 3.2 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการจัดการขยะ ร่วมประชุมกำหนดแนวทางของตกลงการจัดการขยะ บ้านมดตะนอย โดยมี กิจกรรม ยกร่างธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยการจัดการขยะบ้านมดตะนอย คณะกรรมการเข้าร่วมเวทียกร่างการจัดการขยะบ้านมดตะนอย (จัดการ ณ แหล่งกำเนิดขยะ) จำนวน 20คน 1ทบทวน ความหมายของ ขยะ เพื่อ คณะกรรมการมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่เป็นทิศทางเดียวกัน   “ขยะ มดตะนอย”หมายถึง วัสดุเหลือใช้ที่ครัวเรือนหรือชุมชนจัดการเองไม่ได้ 2.ทบทวนแหล่งกำเนิดขยะจากการประชุมครั้งก่อน เพื่อให้คณะกรรมการได้ร่วมเสนอ ข้อตกลงที่ ชุมชนสามารถทำได้ง่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมจัดการขยะ มีมติรับรองร่างธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยการจัดการขยะบ้านมดตะนอย โดยมีมติรับรองร่าง จำนวน 20 คะแนน จากผู้ร่วมประชุมทั้งหมด 20 คน
มติที่ประชุมว่าด้วยเรื่อง การจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ว่าด้วยการจัดการขยะชุมชน ณ แหล่งกำเนิดของชุมชน สู่คนปลอดโรค ปลอดภัย เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านมดตะนอย ดังนี้
1.ระดับครัวเรือน ขอความร่วมมือให้แต่ละหลังคาเรือน มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ดังนี้ 1.1 ครัวเรือน จัดให้มี ถังคัดแยกขยะ อย่างน้อย 4 ประเภท คือ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซด์เคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป
1.2 ครัวเรือน มีการปลูกผัก อย่างน้อย 5 ชนิด
1.3 คนในครัวเรือน นำภาชนะไปร้านค้า ลดการใช้พลาสติกประเภทครั้งครั้งเดียวทิ้ง 1.4 คนในครัวเรือนคัดแยกพลาสติกครั้งเดียวทิ้ง เพื่อนำมาใช้ซ้ำ หรือ นำไปบริจาคให้กับร้านค้า/สถานประกอบการที่รับบริจาคพลาสติกเพื่อนำไปใช้ซ้ำ 1.5 ครัวเรือนร่วมลดการใช้ถุงพลาสติกบรรจุข้าว กับข้าว ในงานพิธีต่างๆที่จัดในชุมชน 1.6 ครัวเรือนมีการจัดบ้าน บริเวณบ้าน หน้าบ้าน ให้เป็นระเบียบ สวยงาม และไม่เป็นแหล่งเพาะธุ์ลูกน้ำยุงลาย

2.ร้านค้า / รถเร่ / สถานประกอบการ ขอความร่วมมือ ให้มีการบริหารจัดการขยะ ดังนี้ 2.1 จัดให้มีถังคัดแยกขยะ ให้ครอบคลุมตามประเภทของขยะ ที่เกิดจาก ร้านค้า / รถเร่ / สถานประกอบการ 2.2 ลด หรือ เลิกใช้ พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง 2.3 ขยะอินทรีย์ หรือ ขยะรีไซเคิล ที่มีการคัดแยกแล้ว เช่น พรตพร้าว เปลือกหอย นำไปทิ้งในจุดที่คณะกรรมการจัดการขยะกำหนด / ตามมติของเวทีประชาคม

  1. ผู้ประกอบการเรือประมง/เรือนำเที่ยว ขอความร่วมมื อ ให้มีการบริหารจัดการขยะ ดังนี้ 3.1 ขยะที่อยู่บนเรือ นำกลับมาทิ้ง ณ จุดที่คณะกรรมการ / เวทีประชาคมหมู่บ้าน กำหนด 3.2 ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว คัดแยกขยะ พร้อมนำขยะกลับไปทิ้งที่ต้นทาง 3.3 ไม่ท้ิงขยะที่จัดการเองไม่ได้ ลงสู่ทะเล

  2. ส่วนราชการ/สถานที่ประกอบศาสนกิจ ขอความร่วมมื อ ให้มีการบริหารจัดการขยะ ดังนี้ 4.1 จัดให้มีถังคัดแยกขยะ อย่างน้อย แยก 4 ประเภท ให้ครอบคลุมตามลักษณะการใช้สอย 4.2 การจัดกิจกรรมในเขตราชการ/สถานที่ประกอบศาสนกิจ งดหรือลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทครั้งเดียวทิ้ง 4.3 กำหนดให้มีการติด ป้ายประชาสัมพันธ์ เรื่องการจัดการขยะแต่ละประเภท

  3. ระบบการจัดการขยะของชุมชน มีข้อตกลงดังนี้ 1.คณะกรรมการจัดการขยะ / อสม. เป็นต้ยแบบบ้านจัดการขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย 2.จัดให้มีช่องทางการ เสริมพลัง ให้กับบุคคล/กลุ่มบุคคล / ร้านค้า /สถานประกอบการ/ส่วนราชการที่เป็นต้นแบบการจัดการขยะบ้านมดตะนอย 3.ร่วม กับ อบต. วางระบบการขนย้ายขยะให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับชนิดของขยะในชุมชน 4.ทุกครัวเรือนในบ้านมดตะนอย เลิกเผาขยะประเภทพลาสติก 5.สนับสนุนให้มีการนำขยะมาเพิ่้ม มูลค่า หรือ มาทำเป็นจุดเช็คอิน
    หมายเหตุ คณะกรรมการจัดการขยะนำร่างธรรมนูญนี้ ไปจัดพิมพ์เป็นเอกสาร และแจกจ่าย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของแต่ละครัวเรือน ในวันที่14/12/63

 

0 0

19. กิจกรรมย่อยที่ 6.2 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บาเระใต้ ต.บาเงาะ จ.นาราธิวาส)

วันที่ 12 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก อบต บาแระใต้ อ.บาเงาะ จ.นาราธิวาส จำนวน 100 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ -เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก ได้บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ ได้บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ ได้ลงเยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย ได้ ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ กรรมการได้มานั่งสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ทีมที่ลงเยี่ยมพื้นที่ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจุดบ้านตัวอย่างเพราะมีการนำขยะเหลือใช้มาใช้หลากหลาย โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ เขาก็ให้ความสนใจและชอบวิธีการคิดถังขยะที่ออกมาสวยและเข้ากับวิถีชุมชน โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานลงไปบริเวณชายหาด พบขยะไม่กี่ชิ้นลอยมากับน้ำ เขาชอบขนมที่กินในหมู่บ้าน เขาชอบบ้านตัวอย่างมีการปลูกผักกินเอง โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง ปลาหวานปลาเค็มที่ขายบริเวณนั้นหมดเกลี้ยง ทีมดูงานชอบการจัดบ้านของคนละแวกนั้น ชอบบรรยกาศ แหละให้ความสนใจกับสวิงตักขยะที่ในน้ำ

 

0 0

20. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 3

วันที่ 15 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เดินทางประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมที่ วิลัยพยาบาล

 

0 0

21. กิจกรรมย่อยที่ 6.3 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช)

วันที่ 19 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 50  คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส ปูเตะ หาดเด็น และ น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก และ น.ส มาลิสา ทองใส -บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ติ่งเก็ม -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ได้พาทีมไปดูร้านค้าตัวอย่าง และดูธนาคารปูม้า รอบนี้เป็นเด็กเบาวชนส่วนมาก กะไม่ค่อยสนใจตีแลงานสักเท่าไหร ปันหาของโซนที่พบกะคือ ถังขยะสาธารณะที่แยกประเภทมันยุรวมกัน คนทิ้งไม่ค่อยแยกให้
โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ เด็กๆ เขาก็ให้ความสนใจและชอบวิธีการคิดถังขยะที่ออกมาสวยและเข้ากับวิถีชุมชน พาไปดูบ้านตัวอย่าง
ปัญหาที่พบของโซน คือ ยังมีขยะข้างทางเดิน โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานลงพื้นที่ไปดูบ้านตัวอย่าง เขาชอบการนำของเหลือใช้มาปลูกผัก ปัญหาที่พบของโซน ยังมีขยะบริเวณทางเดิน โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง ทีมดูงานชอบการจัดบ้านของคนละแวกนั้น ชอบบรรยกาศ แหละให้ความสนใจกับวิ้งตักขยะที่ในน้ำ ปัญหาที่พบ คือ ยังมีขยะริมคลองให้เห็นไม่รู้มาจากน้ำหรือจากคนทิ้งในหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารรับฟังพร้อมแก้ปันหาต่อไป

 

0 0

22. กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 8 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ทบทวนความรู้สึก ของคนมาเที่ยวหาดมดตะนอย หลังเทศกาลปีใหม่ 2564 เกิดเหตการณ์อะไรขึ้นและมีเหตุการณ์อะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คนข้างนอกเริ่มเข้าในว่ามดตะนอยมีกฎกติกาของชุมชน 1.คนนอกรู้จักเราในเรื่องของการจัดการขยะ
2.คนในชุมชนเริ่มช่วยกันตักตวงพูดุยกับคนมาเที่ยว
3.คนในชุมชนเริ่มเป็นเจ้าของรู้จักการช่วยกันจัดการ

สิ่งที่กรรมการสะท้อนมา
1.มีจุดทิ้งขยะไม่มาพอ จึงทำให้สัตว์เลี้ยงมาคุ้ยเขียที่ถังขยะ 2.ยังไม่มีจุดป้ายบอกว่าหมู่บ้านปลอดโฟม 3.และควรทำอย่างไรเพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบว่าไม่ควรนำกล่องโฟมเข้าหมู่บ้าน

กรรมการรู้สึกอย่างไรที่เห็นภาพที่เกิดขึ้นหลังจากเทศกาลปีใหม่ 1.รู้สึกดีใจ/

ปัญหาที่ยังพบเจอ
1.ตอนนี้รถจัดการขยะไม่รับพรตพร้าว/กิ่งไม้/เปลือกหอย 2.คนที่ทิ้งพรต กำลังมองว่าเป็นปัญหา
3.รถขยะเข้าไม่ตรงเวลา เนื่องจากตอนนี้ ที่เผาขยะบ้านหาดยาวเผาไม่ทันเนื่องจากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากทำให้ขยะมาก ทำให้ให้ขยะเผาไม่ทัน 4.มีขยะเปียกมาก 5.ปัญหาที่พบเจอการทิ้งขยะในชุมชนมากคือเกิดจากเด็กๆสังเกตุได้จากร้านค้าและสอบถามข้อมูลจากแม่ค้า

สิ่งที่กรรมการควรทำ 1.สร้างข้อตกลงและโยนคำถามกลับไป โดยให้หาความคิดเห็นจากคนที่ยังทิ้งพรตพร้าว/กิ่งไม้/เปลือกหอย/กะละ (โดยกรรมไปสอบถาม 1 สัปดาห์และกลับมาคุยกัน) 2.กำหนดจุดทิ้งที่ชัดเจนพร้อมเวลาปิด-เปิดอย่างชัดเจน 3.นัดกันชั่งขยะอีกครั้ง วันพฤหัสบดีตอนเช้า 4.ตรวจสอบขยะว่ามีประเภทอะไรบ้าง 5.>60วัน 60ภาพ ฮีโรกู้โลก /สรา้งภาพความประทับใจในชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆให้เกิดเป็นต้นแบบ 6.หามุมมมองที่เด็กๆเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่าย
7.ดำเนินกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามที่ว่างไว้ 8.สรา้งเครื่องมือเพื่อเข้าเกณฑ์บ้านตัวอย่าง

จุดเด่น 1.รูปแบบการจัดการขยะเด็นชัดขึ้น เป็นแหล่งศึกษาดูงานการจัดการขยะ บ้านตัวอย่าง>โดยกฎเกณฑ์ต่างที่กำหนดไว้และต้องมีรูปแบบเดียวกัน 2.คณะกรรมเก่งขึ้น>นำเสนอได้มากขึ้น /จัดการได้ดีขึ้น / ****1.กรรมการรอบหน้าต้องคุยเครื่องมือบ้านตัวอย่าง และกรรมการต้องผ่านบ้านตัวอย่าง เกณฑ์ร้านค้า 2.ข้อตกลงเมื่อวันที่ 8ธันวาคม63 เรื่องยกร่างธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยเรื่องการจัดการขยะ ส่งให้ตามบ้านตามบ้านเลขที่โดยมีรายละเอียดตามแบบยกร่าง****

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

35 0

23. กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 3 )

วันที่ 14 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ทีมแบ่งกลุ่มการทำงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม - ลงพื้นที่ชั่งขยะ กลุ่มที่ 1 จากหัวสะพานจนถึงโซนปะการัง       กลุ่มที่ 2 จากมดตะนอยรีสอร์ทถึงดุหยงค์รีสร์อท -สรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด คร้งที่ 3 - กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน แบ่งสาเล้งออกเป็น 2 คัน ซึ่งได้เริ่มต้นชั่งจากหัวสะพาน-ในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • รู้ปริมาณของขยะแต่ละโซน โซนแมงกะพรุน 232 กก โซนปะการัง 249.5 กก โซนดุหยง 253.5 กก โซนหอยชักตีน 239.8 กก   โรงเรียนและศพด.ได้ 180 กก   จุดสาธารณะ 18.4 ( ขวด 7.2 กก ทั่วไป 11.2 )   รีสอรทซีฮัก 7.8
      ดุหยงรีสอร์ท 11.8   บูลากูน 13.7
    รวมขยะทั้งหมดที่ได้ 1206.5 กก สุปหลังจากชั่งขยะ
    โซนแมงกะพรุน
    คัดแยกขยะค่อนข้างดี มีประมาณ 5 หลัง ที่ยังไม่แยกขยะรีไซเคิลออก โซนปะการัง ร้านค้า1 ร้าน มีเศษผักรวมนิดๆ ขยะอื่นๆแยกดีแล้ว บ้าน 1-2 หลัง ถังขยะจำรวม เปลือกผลไม้กับเปลือกปู (โดยรวมถือว่าดี) หอยชักตีน แยกขยะได้ดี ( 7 หลัง ที่ร่วมรีไซเคิล ) ดุหยง คอนกรีตทำไหมยังรวมขยะอินทรีย์ โรงเรียน ถังขยะส่งกลิ่นหมิ่น รวมขยะทุกประเภทเศษอาหาร ทีมเห็นว่าน่าจะมีถังขยะแยกประเภท รีสอร์ท 1 แห่ง เศษอาหารยังทิ้งขึ้นรถ

 

0 0

24. กิจกรรมย่อยที่ 2.4 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 4 )

วันที่ 18 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ทีมแบ่งกลุ่มการทำงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม - ลงพื้นที่ชั่งขยะ กลุ่มที่ 1 จากหัวสะพานจนถึงโซนปะการัง       กลุ่มที่ 2 จากมดตะนอยรีสอร์ทถึงดุหยงค์รีสร์อท -สรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด คร้งที่ 4 - กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน แบ่งสาเล้งออกเป็น 2 คัน ซึ่งได้เริ่มต้นชั่งจากหัวสะพาน-ในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • รู้ปริมาณของขยะแต่ละโซน โซนแมงกะพรุน 165 กก โซนปะการัง 195.7 กก โซนดุหยง 258.8 กก โซนหอยชักตีน 182.7 กก   โรงเรียนและศพด.ได้ 155 กก   จุดสาธารณะ 5   รีสอรทซีฮัก 6.4   ดุหยงรีสอร์ท 7.4   บูลากูน 11.4 รวมขยะทั้งหมดที่ได้ 987.4 กก สุปหลังจากชั่งขยะ
    โซนแมงกะพรุน ดีกว่ารอบก่อนมาก ในถังมีแต่ขยะทั่วไป แต่ต้องแก้ไขเรื่องแพมเพิสจะรวมด้วยขยะทั่วไปมีบางหลังที่แยก โซนปะการัง ใบไม้ยังมี 4 หลัง ที่เหลือดีแล้ว หอยชักตีน ดีกว่ารอบก่อนมาก ร้านค้า 3 หลัง รวมใบกล้วย พดอ่อน ดุหยง
    จุดรวมขยะริมหาดยังมีขยะอินทรีย์ กระดาษลัง มี 1 หลังรวมหลอดไฟ 4 หลังรวมพดพร้าว ที่เหลือกะคือดี รีสอร์ทดุงหยง มีแต่ขยะทั่วไป รีสอร์ทซีฮักรวมขยะรีไซเคิล รีสอร์ทบูลากูน รวมขยะอินทรีย์

 

0 0

25. กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 26 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรับแผนการดำเนินงานการจัดการขยะบ้านมดตะนอย ครั้งที่1 1.ทบทวนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ ตั้งแต่ ก.ค.63 ถึง ปัจจุบัน เพื่อทบทวนเวลาที่เหลืออีก 3 เดือน โดยNot แจ้งให้ทราบว่าด้วยสถานะการตอนนี้เราไม่สามารถจัประชุมกลุ่มใหญ่ เป็น 100 คนไม่ได้ และแจ้งให้ทราบว่าจะมีเจ้าหน้าที่ โทรติดตามรายละเอียดการดำเนินงานถึงปัจจุบัน 2.ที่ประชุมแจ้งว่าเราได้ดำเนินการไปตามบันไดผลลัพธ์ เดินมาถึงขั้นใหน และคาดคิดว่าเราจะถึงเป้าหมายได้หรือเปล่า คือขยะลดลง พบลูกน้ำยุงลายต้องไม่เกินร้อยละ10 ของเป้าหมาย
3.ประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดบ้านเรือนให้สะอาด
4.คณะกรรมการแจ้งให้ทราบว่ารถจัดเก็บขยะนั่น ว่ามีขยะมากส่วนใหญเป็นขยะพลาสติก 5.ประเด็นการชั่งน้ำหนักทำไปเพื่ออะไร > เพื่อทราบปริมาณ/ประเภท/ประเมินผลการจัดการขยะ/การกระจ่ายข่าวลงถึงบ้านและเข้าถึงเรื่องการจัดการขยะ/ทราบว่าบ้านใหนบ้างที่ยังไม่ร่วมกันจัดการ/เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของชุม/เห็นถึงครัวเรือนที่มีการคัดแยก/ควรชื่ชน 6.ควรเข้าถึงชุมชนแบบบ้านต่อบ้าน ดีกว่าการประชาคม
7.การเก็บข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณ 8.รู้เป้าหมายชัดเจนขึ้น 9.กรรมการเก่งขึ้น 10.ยังเจอเด็กๆที่พบว่ายังทิ้งขยะโดยไม่คัดแยก 11.เจอปัญหาว่าที่บริเวณริมชายหาดที่ออกกำลังกาย กิจกรรมที่คิดว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ 1.กิจกรรมการชั่งขยะดีกว่าการทำประชาคม 2.ถังขยะที่ชัดเจนแยกประเภท(การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื่อต่อการทิ้งขยะ) 3.สร้างโอกาสในการทำข้อตกลง เมื่อเจอปัญหาการทิ้งขยะริมชายหาดโดยการให้เด็กๆร่วมกันจัดการขยะ 4.ควรมีถังขยะแบบถุงอวนทุกครัวเรือน(ออกแบบประกวดถังขยะแบบเก๋ๆ) เริ่มจากกรรมการควรมีทุกหลังคาเรือน 5.การขอความร่วมมือของร้านค้าให้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ร้านค้าทุกกลุ่มโซน 6.การประเมินบ้านกรรมการการจัดการขยะพร้อมกับการประกวดหน้าบ้านหน้ามองเพื่อเข้าไปกระตุ้นชาวบ้านให้มีการส่วนร่วม 7.ควรมีใบสมัครในการเข้าโครงการการจัดการขยะ มีเกณฑ์ในการเข้าประกวด 1.การมีการคัดแยกขยะมีกี่ประเภท 2.มีการปลูกผักกินได้ในครัวเรือน 3.หน้าบ้านสวยงาม 4.ไม่มีลูกน้ำยุงลาย 5.นำภาชนะเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ต่อ 6.ต้องไม่มีการเผาพลาสติก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการปรับเปลี่ยนการดำเนินการ มีทั้งหมด 7 ข้อ

 

35 0

26. กิจกรรมย่อยที่ 6.4 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง)

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก อบต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ. ตรัง จำนวน 20 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิริหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก
-บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก
-บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ทีมที่ลงเยี่ยมพื้นที่ ให้ความสนใจเรื่องการนำเปลือกหอยมาทำโมบาย สนใจเรื่องของการนำเศษอวนมาทำถังขยะ
โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ พาไปดูร้านค้าตัวอย่างที่ขายทุกอย่าง พร้อมอธิบายให้ทีมฟังเรื่องการแยกประเภทขยะ โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานดูบ้านตัวอย่าง ไปดูเรื่องการแยกขยะในครัวเรือน โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง ทีมดูงานชอบการจัดบ้านของคนละแวกนั้น และได้สาทิตวิธีการตักขยะในน้ำเวลาขยะลอยมาใต้ถุนบ้าน ชาวบ้านให้ความร่วมมือมาก และความสุขกับการเขามาดูงาน

 

0 0

27. กิจกรรมย่อยที่ 6.5 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ(อบต.นาพละ จ.ตรัง )

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก อบต.นาพละ จ. ตรัง จำนวน  50 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส ปูเตะ หาดเด็น และ น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก และ น.ส มาลิสา ทองใส -บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ทีมที่ลงเยี่ยมพื้นที่ ได้ซื้อปลาเค็มที่ชาวบ้านขายจนหมด ได้สนใจการนำพจมะพร้าวมาทำถางดอกไม้ที่โยงหน้าบ้านของบ้านตัวอย่าง ได้พาไปแลธนาคารปูม้า
โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ พาไปแลบ้านตัวอย่างเขาสนใจเรื่องการนำพจมาดับข้างๆโคนต้นไม้ให้สวยงาม และได้พาไปชมตามโซนหอยชักตีนและแมงกระพรุน โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานลงไปบริเวณชายหาด ระหวางทางเขาชอบที่ชาวบ้านปลูกต้นไม้หน้าหมู่บ้านได้สวยงามมาก ช่าวบ้านให้ความร่วมมือดี เกิดการเลียนแบบการนำภาชนะเหลือใช้มาปลูกผักมากขึ้น โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง ทีมดูงานชอบการจัดบ้านของคนละแวกนั้น แหละให้ความสนใจกับวิ้งตักขยะที่ในน้ำ ได้พาไปดูเรื่องของอวนดักขยะที่จุดหัวสะพาน

 

0 0

28. กิจกรรมย่อยที่ 6.6 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บางสัก)

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก อบต.บางสัก อ.กันตัง จ. ตรัง จำนวน 80 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ -สรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส ปูเตะ หาดเด็น และ น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก และ น.ส มาลิสา ทองใส -บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขต่อไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ทีมที่ลงเยี่ยมพื้นที่ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจุดบ้านตัวอย่างเพราะมีการนำขยะเหลือใช้มาใช้หลากหลาย พาไปดูการปลูกผักในขวดพลาสติก ไปดูอวนดักขยะที่ธนาคารปู
โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ เขาว่าเขาจะหลบไปทำถังขยะเหมือนที่นี้ พาดูร้านค้าตัวอย่างที่มีการตั้งถังแยกขยะให้เห็นชัดเจน พาไปดูโซนอื่นๆ โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานลงไปบริเวณชายหาด พาไปดูการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่แยกได้หลายประเภามาก โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง บริเวณแถวนั้นสะอาด ปลาหวานปลาเค็มที่ขายบริเวณนั้นก็ขายดี

 

0 0

29. กิจกรรมย่อยที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งทีมคณะกรรมการ 4 ทีมเพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน
  • กำหนดหลักเกณฑ์ของบ้านที่เข้าร่วม 5 ข้อ 1 มีการจัดบ้านและบริเวณบ้านเป็นระเบียบเรีนบร้อย 2 ไม่พบแหลงน้ำขลังและลูกน้ำยุงลาย 3 มีการปลูกผัก 5 ชนิดขึ้นไปแต่ต้องเป็นผักกินได้อย่างน้อย 3 ชนิด 4 มีการคัดแยกขยะอย่างน้อย 4 ประเภท 5 นำขยะเหลือใช้มาใช้ซ้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ทีมได้แบ่งออกเป็น 4 ทีม ทีมละ 9 คน แต่ละทีมได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน 4 กลุ่มโซน พร้อมแบ่งหน้าที่ (ถาม จดบันทึก สำรวจ) ทีมที่ 1 เยี่ยมโซนหอยชักตีน ทีมที่ 2 เยี่ยมโซนดุหยง ทีมที่3 เยี่ยมโซนประการัง ทีมที่ 4 เยี่ยมโซนแมงกระพรุน - มีบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 74 หลัง

 

0 0

30. กิจกรรมย่อยที่ 6.8 ประชุมสรุปผลการเยี่ยมบ้าน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

-กรรมการแต่ละทีมได้มาประชุมพร้อมสรุปผลการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 - แต่ละทีมบอกสิ่งที่ดีและปันหาที่พบในการลงพื้นที่ -กรรมการนำความคิดเห้นของแต่ละทีมมาแก้ไขและลงพื้นที่ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กรรมการแต่ละทีมได้มาประชุมพร้อมสรุปผลการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 - แต่ละทีมบอกสิ่งที่ดีและปันหาที่พบในการลงพื้นที่ -กรรมการนำความคิดเห้นของแต่ละทีมมาแก้ไขและลงพื้นที่ครั้งที่ 2

 

0 0

31. กิจกรรมย่อยที่ 6.9 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (จากบ้านควนเมา และ บ้านเกาะลิบง)

วันที่ 4 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก 2 คณะพร้อมกัน มาจากบ้านควนเมา และ บ้านเกาะลิบง หมู่บ้านใกล้เคียง จำนวน 80 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส ปูเตะ หาดเด็น และ น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก และ น.ส มาลิสา ทองใส -บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ได้พาทีมไปดูร้านค้าตัวอย่าง และดูธนาคารปูม้า พาไปดูถังขยะแยกประเภทบริเวณหัวสะพานที่คนเรือพาหลบมาจากในเล
ปัญหาของโซนที่พบกะคือ มีถังขยะที่อยู่บริเวณท่อ ซึ่งมากับน้ำ และจะนัดกรรมการในโซนรณรงค์
โซนประการัง สรุปว่า พาทีมดูงานไปดูถังขยะแยกประเภทที่จุดไวไฟ พาไปดูบ้านตัวอย่าง เขาชอบขนมและน้ำที่โซนจัดให้
ปัญหาที่พบของโซน คือ พบขยะเป็นกลองข้างบ้านคนแต่ไม่มาก กรรมการโซนวางแผนและจะชวนชาวบ้านมารณรงค์กันต่อไป โซนดุหยง สรุปว่า ได้พาทีมดูงานลงพื้นที่ไปดูบ้านตัวอย่าง เขาชอบการนำของเหลือใช้มาปลูกผัก ปัญหาที่พบของโซน ยังมีขยะบริเวณทางเดิน โซนหอยชักตีน สรุปว่า ได้พาเขาลงไปที่บ้านตัวอย่างในวัง ทีมดูงานชอบการจัดบ้านของคนละแวกนั้น ชอบบรรยกาศ แหละให้ความสนใจกับวิ้งตักขยะที่ในน้ำ ปัญหาที่พบ คือ เวลาน้อยเลยไม่ได้พาเขาเดินทั่วโซน ร่วมถึงอากาศร้อน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารรับฟังพร้อมแก้ปัญหาต่อไป

 

0 0

32. กิจกรรมย่อยที่ 1.8 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 9 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

แผนการดำเนินโครงการ เพื่อปรับแผนขั้นต่อไป - ทบทวนบันไดผลลัพธ์ให้ทีมรู้ ว่าเรามาถึงขั้นไหนแล้ว - ขั้นตอนกิจกรรมต่อไปเราจะทำอะไหรต่อ..เนื่องจากช่วงถือศีลอด เราต้องทำกิจกรรมที่ให้เหมาะสม - กิจกรรม 30 วัน 30 ภาพ ฮีโร่กู้โลก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กรรมการรู้วิธีการดำเนินเนินงานว่าอยู่ขั้นตอนไหน -กรรมการตกลง ว่าจะทำกิจกรรม 30 วัน 30 ภาพ - รับสมัคร กิจกรรม 30 วัน 30 ภาพ ภายใน 20 มี.ค เริ่มทำกิจกรรม 1 เม.ย - 30 เม.ย
เกณฑ์การสมัคร
- เด็ก ป.3- ม.3 สมัครด้วยตัวเอง - เด็ก 2 ปี - 8 ปี ครอบครัวสมัครให้

 

35 0

33. 6 .10 ต้อนรับคณะดูงาน บ้านหนองบัว

วันที่ 26 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ตัอนรับคณะดูงานจาก บ้านหนองบัว จำนวน 55 คน - บรรยาเส้นทางเรื่องการจัดการขยะ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ - ลงพื้นที่ดูการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่าวต้อนรับคณะดูงานโดย ผู้ใหญ่ ณัฐวัฒน์ ทะเลลึก -บรรยายเส้นทางขยะ โดย หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายกระบวนการและรูปแบบการจัดการขยะ โดย ผอ. รพ.สตนาย สมโชค สกุลส่องบุญศิริ - บรรยายการบิหารจัดการคณะกรรมการที่เข้มแข็ง โดย น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก และ น.ส วันดี โปสู่ -บรรยายเรื่องร้านค้าปลอดโฟม โดย น.ส ปูเตะ หาดเด็น และ น.ส สุชาดา เหล็กเกิดผล -บรรยายเรื่องการจัดการขยะของเรือประมง โดย น.ส ยุพิน ทะเลลึก และ น.ส มาลิสา ทองใส -บรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนักให้กับเด็กเยาวชนเรื่องการจัดการขยะ โดย น.ส บุหลัน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องกติกาของบ้านตัวอย่าง โดยนายบิสน ทะเลลึก -บรรยายเรื่องการนำหลอดมาใช้ประโยชน์ โดย สาระ ทะเลลึก -ได้เยี่ยมบูธแต่ละบูธเรื่องของการจัดการขยะจะมีกรรมการคอยอธิบาย - ลงพื้นที่ทั้ง 4 โซน เพื่อดูการจัดการขยะแต่ละโซนพร้อม กินเบคในพื้นที่ -กรรมการสรุปการลงพื้นที และพูดถึงปัญหาพร้อมแก้ไขตัวไป โซนแมงกระพรุน สรุปว่า ให้ความสนใจดี ชมการทำงานของทีม อยู่แบบเป็นพี่เป็นน้อง ของหมู่บ้าน ชมเรื่องการจัดหน้าบ้าน และ ปลาเค็มขายดีมาก ปัญหาที่พบ ไม่ได้แนะนำร้านกาแฟโบราน ฝนตก ก่อนที่เขามาดูงานกะได้ลงแชทมาช่วยกันเก็บขยะสาธารณะ ช่วงเช้า โซนประการัง สรุปว่า คนมาดูงานให้ความสนใจดีมาก มีการแลกเปลี่ยนกับเจ้าของบ้านตัวอย่าง กรรมการกะพร้อมกัน ดีใจที่บ้าน ข้างเคียงให้ความร่วมมือ ปัญหาที่พบของโซน คือ ฝนตก พาเดินไม่ทั่ว โซนดุหยง สรุปว่า พาเขาเดินซอยเล็กพร้อมอธิบายให้เขาฟัง กะเขาอยากทำกัน พาไปดูบ้านตัวอย่างหลังแรก เขาให้ความสนใจมาก ถ่ายรูปกันมาก แนะนำแม่ค้าต้นแบบปลอดโฟม ปัญหาที่พบของโซน ฝนตก โซนหอยชักตีน สรุปว่า ทีมมาดูงานกะให้ความสนใจ มียุบ้านหลังหนึ่งที่ไม่ร่วมมือ กะร่วมมือในรอบนี้ การเตรียมตัวกะทีมช่วยๆกันเรียกมาดูความพร้อม
ปัญหาที่พบ คือ ฝนตก เวลาน้อยเลยไม่ได้พาเขาเดินทั่วโซน ร เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารรับฟังพร้อมแก้ปัญหาต่อไป

 

0 0

34. กิจกรรมย่อยที่ 1.9 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 31 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • พาคณะกรรมการและคณะทำงาน ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • ดูงานเครื่องบดเปลือกมะพร้าว
  • ไปดูที่ส่วนผักคนเมือง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ทีมได้ไปดูเครืองบดเปลือกมะพร้าว เพื่อลดขยะจากเปลือกมะพร้าวและใช้เปลือกมะพร้าวให้เป็นประโยชน์ เครื่องบดเราสามารถนำไยมะพร้าวมาเป็นภาชนะได้ และ ขุ่ยมะพร้าวนำมาทำปุ๋ย
  • ไปดูงานที่สวนผักคนเมือง [บ้านลุงยูน พาทีมไปดูเรื่องการนำภาชนะเหลือใช้หลากหลายชนิดที่สามารถนำมาปลูกผักได้ และลุงยูนได้สอนวิธีการทำปุ๋ยก้อน จาก 7 ชนิด 1.มีเปลือกกุ้ง 2.เปลือกไข่ 3.กล้วย 4.ข้าวเย็น 5.ขุยมะพร้าว 6.ขี้วัว 7 งา
  • กาาทำน้ำหมักมารถต้นไม้ให้ใบเขียวและรากแข็งแรง

 

35 0

35. กิจกรรมย่อยที่ 1.10 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 28 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ทบทวนบันไดผลลัพท์
  • ประชุมเพื่อหาข้อมูลว่ามีบุคคลใดบ้างที่เราจะเชิญมาทำวง ARE
  • แบ่งหน้าที่ให้กรรมการบริหารในการหากลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลไกลคณะกรรมการที่เข้มแข็ง - มีฐานข้อมูลขยะ ปริมาณข้อมูลขยะแต่ละโซน
- กรรมการมีความตะหนักต่อการจัดการขยะ - กรรมการมาจากภาคส่วน (ผู้นำชุมชน อบต อสม ร้านค้า) สภาแวดล้อมเอื้อต่อการจัดการขยะ
- ร้านค้า
  ข้อกำหนด ร้านค้าควรมีการแยกขยะที่ชัดเจน อย่างน้อย 2 ประเภท คือ ขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล   - เรือประมง
  ข้อกำหนด เรือต้องมีที่เก็บขยะที่ชัดเจน ตามข้อกำหนดของกรรมการ คือ (ถุงอวน)   - ครัวเรือน   ข้อกำหนด ครัวเรือนคัดแยกขยะ 4 ประเภท สิ่งที่กรรมการต้องหาข้อมูลก่อนถึงวัน ARe ต้องทำทะเบียนร้านค้า ทะเบียนเรือประมง
วันประชุม ARE ต้องเชิญ ผู้นำชุมชน อสม ครู เจ้าของประกอบการ ร้าค้า เรือประมง ครัวเรือน

 

35 0

36. ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

วันที่ 3 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

 

0 0

37. ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

วันที่ 3 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด

 

0 0

38. กิจกรรมย่อยที่ 2.5 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 5 )

วันที่ 9 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ทีมแบ่งกลุ่มการทำงานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม - ลงพื้นที่ชั่งขยะ กลุ่มที่ 1 จากหัวสะพานจนถึงโซนปะการัง   กลุ่มที่ 2 จากประการังถึงดุหยง   กลุ่มที่ 3 จากดุหยงจนถึงหอยชักตีน -สรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด คร้งที่ 5 - กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน แบ่งสาเล้งออกเป็น 3 คัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รู้ปริมาณของขยะแต่ละโซน - ขยะที่ชั่งได้ทั้งหมด 1130  กิโล รู้ปริมาณของขยะแต่ละโซน โซนแมงกะพรุน +ประการัง 497.8 กก โซนดุหยง 408.9 กก โซนหอยชักตีน 223.3 กก ปัญหาที่พบครั้งนี้
1 ทีมพบแก้วน้ำที่ยังมีน้ำลงเหลือในถังขยะ 2 พบแมสในขยะบางถัง 3 พบหน้ากากบริเวณริมทาง 4 รีสอร์ท บางสาน ไม่มีการคัดแยกขยะอินทรีย์ 5 พอขาดการชั่งขยะทำให้ชาวบ้านไม่ค่อยแยกขยะอิทรีย์ที่เป็นเปลือกผลไม้ การเปลี่ยนแปลง 1 ร้านค้าบางร้านที่ไม่มีการคัดแยกก็เริ่มมีการคัดแยกที่ดี 2 ขยะไม่เพิ่มไปจากครั้งก่อน 3 ชาวบ้านตื่นตัว

 

0 0

39. กิจกรรมย่อยที่ 2.6 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 6 )

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ทีมแบ่งกลุ่มการทำงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม - ลงพื้นที่ชั่งขยะ กลุ่มที่ 1 จากหัวสะพานจนถึงโซนปะการัง       กลุ่มที่ 2 ดุหยงถึงหอยชักตีน -สรุปข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่นัดประชุม
1. คณะบริหารโครงการ
3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านมดตะนอย
ประเด็นที่นัดประชุมชน ลงพื้นที่ชั่งขยะในหมู่บ้านมดตะนอยทั้งหมด คร้งที่ 6 - กรรมการจัดการขยะได้ชั่งขยะในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน แบ่งสาเล้งออกเป็น 2 คัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ปริมาณขยะที่ชั่งได้ในครั้งที่ 6= 1,533.9 กิโล ปัญหาที่พบ คือ ฝนตก ถังขยะ ไม่มีฝาปิด ทำให้ทำขยะหนักและขยะเปียก
  • ยังมีการทิ้งขยะอินทรีย บางส่วน

 

0 0

40. กิจกรรมย่อยที่ 1.11 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • เตรียมคืนข้อมูล การทำ ARE โดยการทำข้อมูลนำผลการทำงานมาพูดคุย           - สรุปให้ฟังว่าขยะเพิ่มขึ้นหรือว่าลดลง โดยใช้ผลลัพธ์ เช่นการชั่งน้ำหนัก ขยะลดลง /ลดลงอย่างไร /ลดลงจากอะไร           -
    -สรุปผลการชั่งน้ำหนักขยะทั้ง 6 ครั้ง
        -
    -กิจกรรมที่ต้องดำเนินต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ข้อมูลที่จำนำไปทำ ARE
  • ได้รู้กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเชิญมาร่วมทำ ARE
  • ผลดีจากการชั่งน้ำหนัก   - ขยะลดลง เช่น เปลือกหอยและเปลือกมะพร้าว
      - ทำให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะ   - แต่ละครัวเรือนเกิดการเรียนรู้ ขยะไหนควรทิ้ง ไม่ควรทิ้ง     - ทไให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการจัดการขยะกับประชาชนในพื้นที่     - สร้างแรงบันดาลใจและจิตสำนึกในการทิ้งขยะทำให้ทิ้งขยะที่ควรทื้งและเกิดความละอายใจ

 

0 0

41. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

วันที่ 1 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

 

0 0

42. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

วันที่ 1 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

 

0 0

43. ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม

วันที่ 6 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ค่าป้ายไวนิล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าป้ายไวนิล

 

0 0

44. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

 

0 0

45. ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2

 

0 0

46. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 30 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ค่าอินเตอรเนต 10 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าอินเตอรเนต 10 เดือน

 

0 0

47. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

วันที่ 9 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

 

0 0

48. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

วันที่ 10 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

 

0 0

49. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

วันที่ 10 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

 

0 0

50. ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

วันที่ 10 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ

 

0 0

51. กิจกรรมย่อยที่ 1.12 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย

วันที่ 15 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เวทีเตรียมคืนข้อมูลทำ ARE - สรุปข้อมูลกระบวนการที่ทำมา - เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะทำ ARE - เลือกวันทำ ARE

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สรุปข้อมูลกระบวนการที่ทำ ก. บริบท/สถานการณ์   -มีการคัดแยกขยะ   -การรวมตัวของ กม.ไม่ตรงกัน   -ขยะบางประเภทไม่มีที่ไป   -ชาวบ้านยังไม่ตระหนักถึงขยะอันตราย ข. การดำเนินงานเบื้องหน้า
    • เยี่ยมบ้านเสริมพลัง
    • รับศึกษาดูงาน
    • กม.2ฝ่าย มีทั้ง คณะทำงาน และ คณะบริหาร
  • กม.ประชุมต่อเนื่อง
  • ชั่ง นน ขยะ6 ครั้ง
  • เวทียกร่างธรรมนูญสุขภาพ

 

0 0

52. กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์

วันที่ 21 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จ้างทำคลิปวีดีโอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จ้างทำคลิปวีดีโอ

 

0 0

53. ถอดบทเรียน

วันที่ 27 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

-กรรมการสรุปกิจกรรมที่ดำเนินการให้ชาวบ้านฟัง ก. บริบท/สถานการณ์   -ไม่มีการคัดแยกขยะ   -การรวมตัวของ กม.ไม่ตรงกัน   -ขยะบางประเภทไม่มีที่ไป   -ชาวบ้านยังไม่ตระหนักถึงขยะอันตราย ข. การดำเนินงานเบื้องหน้า - เยี่ยมบ้านเสริมพลัง - รับศึกษาดูงาน - กม.2ฝ่าย มีทั้ง คณะทำงาน และ คณะบริหาร - กม.ประชุมต่อเนื่อง - ชั่ง นน ขยะ6 ครั้ง - เวทียกร่างธรรมนูญสุขภาพ ค เบื้องหลังการดำเนินงาน   กิจกรรมเยี่ยมบ้านเสริมพลัง - กรรมการกำหนดกติกาบ้านที่จะเข้าร่วมกิจกรรม 5 ข้อ - รับสมัครบ้านที่เข้าร่วม
- กำหนดวันลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน - กรรมการแบ่งออกเป็น 4 โซน มีการแบ่งหน้าที่ ถาม จด บันทึก สำรวจ ชม เชียร์ แหละที่สำคัญคณะกรรมการทั้ง 30 คน ตกลงกันว่า เราจะลงพื้นที่ไปแบบชม ให้กำลังใจเขา และแนะนำเราจะไม่มีการ ไปตำหนิหรือ ติ
รับศึกษาดูงาน - มีการมอบหมายหน้าที่ผู้นำกระบวนการ - กรรมการเก่งขึ้น มีการแบ่งหน้าที่  มีการเตรียมบ้าน/ร้านค้า เส้นทางในการเดินศึกษาดูงาน และรู้จักการเป็นวิทยากร
-มีการจัดให้กินเบรคที่ร้านค้าและมีการจัดการบ้านตัวอย่าง ของแต่ละโซน -มีการจัดให้โบ้บ้านมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ปลาเค็ม อาหารทะเล ขนมพื้นบ้าน -ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดศึกษาดูง่าน (มีการจัดบ้านตัวเอง มีการชวนคุย) จัดทำฐานข้อมูลชุมชน -มีตาชั่งขยะที่ได้รับจาก สสจ. -มีการแบ่งหน้าที่ของทีม(ขัลรถ ยกขยะขึ้นชั่ง) - ทีมเสียสละ (เรียกง่ายใช้คล่อง) -มีการให้ข้อมูลการจัดการขยะกับชาวบ้านที่มาซักถาม -หลังจากชั่งขยะทีมสรุปบทเรียนที่พบในการชั่งน้ำหนักขยะ -มีการปรับแผนจาก 1 ทีม มาเป็น 2ทีม -การปรับแผ่นเส้นทางการชั่งน้ำหนักขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กรรมการเข็มแข็ง
มีการจัดกรรมการออกเป็น 2 ฝ่าย คือ คณะบริหารและคณะทำงาน -คณะบริหารมีการประชุมทุกเดือนเพื่อมาฟังปัยหาที่พบ และดำเนินกิจกรรมของแต้่ละเดือน
การรับศึกษาดูงาน -มีการรับคณะมาดูงานที่หมู่บ้าน 10 คณะ
-มีบ้านตัวอย่าง มีร้านค้าตัวอย่างที่เพิ่มขึ้น การจัดทำถังขยะ -มีการจัดถังขยะแยกประเภทในพื้นที่สาธารณะ 5 จุด
มีการบริจาคพลาสติกตามแพ เยี่ยมบ้านเสริมพลัง - มีบ้านที่เข้าร่วมทั้งหมด 97 หลังคาเรือน ขยะลดลง - มีการจัดทำฐานข้อมูลในการชั่งและสอบถามคนขับรถขยะอบต

 

30 0

54. ค่าถ่ายเอกสาร

วันที่ 2 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ค่าถ่ายเอกสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าถ่ายเอกสาร

 

0 0

55. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ

วันที่ 3 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดนิทรรศการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จ้างจัดนิทรรศการ

 

0 0

56. ค่าถ่ายเอกสาร

วันที่ 4 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ค่าถ่ายเอกสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าถ่ายเอกสาร

 

0 0

57. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 10 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คืนเงินยืมทดลองจ่ายเปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนเงินยืมทดลองจ่ายเปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

58. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 4

วันที่ 10 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมถอดบทเรียนปิดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอดบทเรียนวิทยาลัยพยาบาล

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด/ส่งต่อลดลง
ตัวชี้วัด : 1.1 มีกลไกการจัดการเข้มแข็ง 1. คณะทำงานที่เข้มแข็ง - ร้อยละคณะทำงานได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์บ้านสะอาด กรรมการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน 2. มีการจัดการฐานข้อมูลขยะ / ขยะลงสู่ทะเล - เกิดจุดรับบริจาคขยะ / จุดแบ่งปันขยะ / จุดพักขยะริมทะเล 3. มีข้อตกลงของชุมชน 1.2 การพัฒนาระบบการคัดแยกขยะ/การลดปริมาณขยะ ตามสภาพแวดล้อมของชุมชน 1. จัดให้มีจุดรวบรวมและจุดคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะพร้อมจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแล - จุดจอดเรือปลอดกองขยะ ร้อยละ ๑๐๐ 2. สนับสนุนให้เกิด ครัวเรือนต้นแบบ / ร้านค้าต้นแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มโซน - ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ร้อยละ ๘๐ – ครัวเรือนมีการจัดการขยะอันตราย ร้อยละ ๖๐ - ร้านค้ามีการคัดแยกขยะ ร้อยละ ๘๐ 3. พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมพลังลดการสร้างขยะ -- ขยะลดลง ๒๐ % - ร้านค้า / สถานประกอบการ นำสิ่งเหลือใช้ มาใช้ซ้ำ -รณรงค์การปฏิเสธถุงพลาสติก / บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
0.00 2.00

๑.มีการจัดทำฐานข้อมูลขยะ ๒.มีคณะทำงาน ๒ ชุด คือคณะกรรมการวางแผน และ คณะทำงาน ๒.มีการจัดเก็บฐานข้อมูลขยะชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด/ส่งต่อลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 10 ครั้ง (2) สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (3) บัญชีธนาคาร (4) กิจกรรมที่ 3 การจัดทำข้อตกลง/ธรรมนูญสุขภาพการจัดการขยะชุมชน (5) ค่าวัสดุ (6) กิจกรรมที่ 6 เสริมพลังครัวเรือน ร้านค้าในชุมชน เป็นครัวเรือนต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ (7) กิจกรรมที่ 2 การจัดการฐานข้อมูลขยะในชุมชน (8) กิจกรรมที่ 4 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะ (9) กจกรรมที่ 5 เสริมพลัง ลดการสร้างขยะ (10) กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์ (11) ถอดบทเรียน (12) ค่าถ่ายเอกสาร (13) กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์ (14) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (15) เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท (16) กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (17) ค่าวัสดุและค่าถ่ายเอกสาร (18) กิจกรรมย่อยที่ 2.1 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 1 ) (19) กิจกรรมย่อยที่ 1.2 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย(ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน) (20) กิจกรรมย่อยที่ 1.3 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (21) กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (22) กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (23) กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (24) กิจกรรมย่อยที่ 1.5 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (25) กิจกรรมย่อยที่ 1.9 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (26) กิจกรรมย่อยที่ 1.10 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (27) กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การจัดการฐานขยะในชุมชน(ชั่งขยะครั้งที่ 2 ) (28) ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส1และการเงิน ง1 (29) กิจกรรมย่อยที่ 6.1 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (บ้านหนองปรือ ต.รัษฎา จ.ตรัง) (30) ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม (31) ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ (32) ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (33) ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 3 (34) ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 4 (35) กิจกรรมย่อยที่ 3.2 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 2 (36) กิจกรรมย่อยที่ 6.2 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บาเระใต้ ต.บาเงาะ จ.นาราธิวาส) (37) กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (38) กิจกรรมย่อยที่ 6.3 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช) (39) กิจกรรมย่อยที่ 3.1 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 1 (40) กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 3 ) (41) กิจกรรมย่อยที่ 2.4 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 4 ) (42) กิจกรรมย่อยที่ 6.4 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง) (43) กิจกรรมย่อยที่ 6.5 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ(อบต.นาพละ จ.ตรัง ) (44) กิจกรรมย่อยที่ 6.6 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บางสัก) (45) กิจกรรมย่อยที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 (46) กิจกรรมย่อยที่ 6.8 ประชุมสรุปผลการเยี่ยมบ้าน (47) กิจกรรมย่อยที่ 4.1 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในที่สาธารณะ (48) กิจกรรมย่อยที่ 6.9 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (จากบ้านควนเมา และ บ้านเกาะลิบง) (49) 6 .10 ต้อนรับคณะดูงาน บ้านหนองบัว (50) 4.1 จัดทำถังขยะในที่สาธารณะ (51) 4.2 จัดทำป้าย (52) ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด (53) ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด (54) กิจกรรมย่อยที่ 2.5 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 5 ) (55) กิจกรรมย่อยที่ 2.6 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 6 ) (56) กิจกรรมย่อยที่ 1.11 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (57) ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 (58) ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 (59) ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 (60) ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 (61) ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ (62) ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ (63) ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ (64) ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ (65) กิจกรรมย่อยที่ 1.12 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย (66) ค่าถ่ายเอกสาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-00174-0004

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด