directions_run

จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 63-00174-0004
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2563 - 10 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 117,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 46,800.00
2 5 ต.ค. 2563 4 เม.ย. 2564 5 ต.ค. 2563 10 ต.ค. 2564 58,500.00
3 5 เม.ย. 2564 10 ต.ค. 2564 11,700.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 117,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านมดตะนอยชุมชนชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเล ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จังหวัดตรัง สภาพที่ตั้งของชุมชนมดตะนอย ในอดีตมีสภาพเป็นเกาะๆหนึ่งที่มีน้ำล้อมรอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง โดยตั้งบ้านเรือนในพื้นที่นี้มานานกว่า 150 ปี การตั้งบ้านเรือนครึ่งหนึ่งสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง ประกอบกับมีพื้นที่ชายหาดที่ทอดยาวกว่า 2 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกิจกรรมด้านอาชีพ ด้านนันทนาการและการออกกำลังกายจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นขยะที่บ้านมดตะนอยจึงมีแหล่งกำเนิดจากหลายแหล่งคือ “ขยะที่มาจากทะเล”เป็นขยะอาจเกิดขึ้นจากขยะที่มาจากพื้นที่อื่นหรือขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือเป็นขยะที่มาจากการทำกิจกรรมทางทะเล“ขยะที่เกิดจากการซื้อกิน ซื้อใช้ของคนในชุมชน”ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนที่มีคนอยู่จริง 295 หลังคาเรือน ประชากร 1084 คน และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ปี 2557 ชุมชนมีการพูดคุยความต้องการในการแก้ปัญหาชุมชน พบว่าปัญหาแรกที่ชุมชนอยากแก้ไขเป็นอันดับแรกคือเรื่องขยะ แม้ในอดีตชุมชนพยายามแก้ปัญหาขยะมากกว่า 10 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากการที่บุคคลและองค์กรภายนอกเข้ามาร่วมจัดการปัญหาแต่ไม่สามารถสร้างความตระหนักให้ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา เมื่อหน่วยงานที่มาช่วยกลับไปประกอบกับการจัดการขยะที่ไม่ต่อเนื่องส่งผลให้ยังมีปัญหาขยะในชุมชน ชุมชนตกลงร่วมกันจัดการปัญหาขยะเพื่อให้ “ชุมชนมดตะนอยน่าอยู่ สะอาดปราศจากขยะ” มีการรณรงค์เก็บขยะกันในครัวเรือนและในชุมชน ประสานหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ เมื่อดำเนินการระยะหนึ่งชุมชนเริ่มเข้าใจเรื่องผลกระทบของขยะที่มีต่อสุขภาพ มีการรณรงค์การเลิกใช้ภาชนะประเภทโฟมบรรจุอาหารในชุมชน มีการขอความร่วมมือร้านค้าภายนอกที่เข้ามาขายในชุมชนจนทำให้สามารถประกาศเป็นหมู่บ้านปลอดโฟมในวันที่ 9 สิงหาคม 2559 มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาปี 2561 ชุมชนมีการทบทวนการดำเนินงานและสรุปบทเรียนการจัดการขยะอีกครั้งพบว่าภายหลังปี 2557 ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก คนในชุมชนตระหนักโทษภัยจากภาชนะโฟม คนในชุมชน ครัวเรือนเลิกใช้ภาชนะโฟม เด็กในหมู่บ้านแม้นออกไปภายนอกหมู่บ้านก็ไม่ซื้ออาหารที่บรรจุในภาชนะประเภทโฟม ขยะบริเวณครัวเรือนลดลง แต่ปัญหาที่พบ คือ ชุมชนครัวเรือนยังมีแนวโน้มการการใช้และสร้างพลาสติกในชีวิตประจำวันจำนวนมาก ปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะมีเพิ่มมากขึ้น ปี 2561 จึงมีการเสนอโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมสู่การจัดการสุขภาพบ้านมดตะนอยเน้นการพัฒนาครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง การพัฒนากลุ่มเด็กเยาวชนเรียนรู้การจัดการขยะ การลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก การพัฒนาการหาร้านค้าสมัครใจลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก การพัฒนาจุดเรียนรู้การจัดการขยะ ผลการดำเนินงานทำให้เกิดทีมคณะทำงานจัดการขยะชุมชนมดตะนอย ประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับแกนนำอสม. และอาสาสมัคร ครัวเรือนมีการจัดการขยะต้นทางประมาณ 80 % เกิดร้านค้าสมัครใจลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติกจำนวน 20 ร้าน เกิดจุดเรียนรู้การจัดการขยะ 1 จุด ที่ รพ.สต.มดตะนอย
ทั้งนี้ต้นปี มกราคม 2563 คณะทำงานมีการทบทวนการดำเนินงานการจัดการขยะพบว่า กลไกคณะกรรมการจัดการขยะเดิม อสม.บางส่วนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม และคณะกรรมการบางส่วนไม่มีความพร้อมในการร่วมกิจกรรม เด็กในชุมชนส่วนใหญ่ยังทิ้งขยะไม่เป็นที่ ยังพบขยะอันตรายบางส่วนไม่ถูกคัดแยก ร้านค้ายังใช้ภาชนะครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเรือนำเที่ยวเมื่อเข้ามาในหมู่บ้านเอาขยะมาทิ้งในพื้นที่ และปัญหาขยะในหาดสาธารณะ รวมถึงพบว่าปัจจุบันชุมชนมดตะนอยเริ่มมีนักท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มศึกษาดูงานเข้ามาเรียนรู้ในชุมชนมดตะนอยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเพื่อเตรียมชุมชนมดตะนอยพัฒนาเป็นเป็นชุมชนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลและชุมชนท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ คณะกรรมการจัดการขยะบ้านมดตะนอย พบว่าสถานการณ์การจัดการขยะบ้านมดตะนอยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับทุนในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ตามโครงการ “การสนับสนุนการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมสู่การจัดการสุขภาพบ้านมดตะนอย” สิ่งที่ชุมชนพบว่ายังเป็นปัญหาของชุมชน ประเด็นที่ ๑ ขยะที่มาจากการซื้อกิน ซื้อใช้ ในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดมาจากร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน ร้านค้าแต่ละร้านมีจุดทิ้งขยะของตนเองเป็นแบบถังขยะรวมและไม่มีความแข็งแรง หกล้มง่ายประกอบกับไม่สร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะของเด็ก ปริมาณขยะจุดนี้จึงไม่ลดลง ประเด็นที่ ๒ คือ ขยะที่เกิดจากคนในชุมชนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะไม่เป็นที่ หรือ ขยะมาจากภาชนะเก็บขยะไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขยะในชุมชนไหลลงสู่ทะเล และขยะจากทะเลก็ไหลกับเข้ามาในชุมชน และ ชายหาด ซึ่งยากต่อการจัดการในพื้นที่ การดำเนินการเพื่อให้มี “จุดประเมินขยะจากชุมชนสู่ทะเล” เป็นกระบวนการประเมินปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล และเป็นการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน ต่อการจัดการขยะในชุมชน การดำเนินการนี้น่าจะส่งผลให้ปริมาณขยะส่วนนี้น่าจะลดลง รวมทั้งการจัดให้มีจุดรวบรวมขยะบริเวณ ชายหาดบ้านมดตะนอย ขยะในส่วนนี้เป็นขยะที่มาจากภายนอกชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จุดรวบรวมขยะนี้จะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งในการสร้างจิตสำนึกรายบุคคลต่อการจัดการขยะเนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ชายหาดเป็นพื้นที่พักผ่อน ออกกำลังกาย รวมไปถึงเตรียมอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพทางทะเล หากพบเห็นขยะจากทะเล ก็สามารถคัดแยกขยะทิ้งในจุดที่ชุมชนจัดเตรียมไว้ปริมาณขยะจะค่อยๆลดลง ประเด็นที่ ๓ขยะที่เกิดจากการออกเรือไปประกอบอาชีพในทะเล จากการสอบถามพบว่าขยะส่วนนี้ส่วนใหญ่ถูกโยนทิ้งในทะเล การจัดทำข้อตกลง การจัดจุดรวบรวมขยะในพื้นที่สาธารณะจึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะของบุคคลในประเด็นนี้หากจุดรวบรวมที่จะจัดตั้งขึ้นโดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมดูแล มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องตามสภาพปัญหาน่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ช่วยในการลดปริมาณของลงสู่ทะเล ประเด็นที่ ๔ การจัดการขยะในพื้นที่สาธารณะทั้งในมัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนสอนศาสนา การดำเนินการทั้ง ๔ ประเด็น เพื่อจัดวางระบบการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางตามสภาพปัญหาที่ชุมชนพบเห็น โดยมีคณะกรรมการจัดการขยะที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อนโดยใช้ข้อตกลงการจัดการขยะของชุมชน ผ่านกระบวนการเยี่ยมประเมินจากตามหลักเกณฑ์บ้านจัดการขยะที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนด ชุมชนบ้านมดตะนอย ขอเสนอโครงการ “โครงการจัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย” เพื่อจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมดตะนอยให้น่าอยู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนให้สามารถจัดการขยะในชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด/ส่งต่อลดลง

1.1 มีกลไกการจัดการเข้มแข็ง 1. คณะทำงานที่เข้มแข็ง - ร้อยละคณะทำงานได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์บ้านสะอาด กรรมการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน 2. มีการจัดการฐานข้อมูลขยะ / ขยะลงสู่ทะเล - เกิดจุดรับบริจาคขยะ / จุดแบ่งปันขยะ / จุดพักขยะริมทะเล 3. มีข้อตกลงของชุมชน 1.2 การพัฒนาระบบการคัดแยกขยะ/การลดปริมาณขยะ ตามสภาพแวดล้อมของชุมชน 1. จัดให้มีจุดรวบรวมและจุดคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะพร้อมจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแล - จุดจอดเรือปลอดกองขยะ ร้อยละ ๑๐๐ 2. สนับสนุนให้เกิด ครัวเรือนต้นแบบ / ร้านค้าต้นแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มโซน - ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ร้อยละ ๘๐ – ครัวเรือนมีการจัดการขยะอันตราย ร้อยละ ๖๐ - ร้านค้ามีการคัดแยกขยะ ร้อยละ ๘๐ 3. พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมพลังลดการสร้างขยะ -- ขยะลดลง ๒๐ % - ร้านค้า / สถานประกอบการ นำสิ่งเหลือใช้ มาใช้ซ้ำ -รณรงค์การปฏิเสธถุงพลาสติก / บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 10 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 350 14,660.00 12 16,570.00
24 ส.ค. 63 - 24 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 390.00 390.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.2 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย(ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน) 35 1,000.00 840.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.3 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 450.00 450.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 450.00 450.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 1,155.00 4,800.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.7 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 1,155.00 450.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.5 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 1,160.00 600.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.9 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 5,000.00 4,840.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.10 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 500.00 450.00
19 ธ.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.6 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 35 500.00 450.00
16 ก.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.11 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 0 500.00 450.00
17 ก.ย. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.12 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะบ้านมดตะนอย 0 2,400.00 2,400.00
2 สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 13,000.00 17 12,900.00
21 ก.ค. 63 เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท 3 700.00 600.00
16 ต.ค. 63 ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส1และการเงิน ง1 0 600.00 600.00
7 ธ.ค. 63 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม 0 1,000.00 1,000.00
7 ธ.ค. 63 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 0 2,000.00 2,000.00
7 ธ.ค. 63 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
7 ธ.ค. 63 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 3 0 1,200.00 1,200.00
7 ธ.ค. 63 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 4 0 900.00 900.00
3 มิ.ย. 64 ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด 0 400.00 400.00
3 มิ.ย. 64 ประชุม Zoom แนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด 0 400.00 400.00
1 ส.ค. 64 ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 0 400.00 400.00
1 ส.ค. 64 ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 0 400.00 400.00
8 ส.ค. 64 ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 0 600.00 600.00
8 ส.ค. 64 ประชุม Zoom พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 0 600.00 600.00
9 ก.ย. 64 ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ 0 600.00 600.00
10 ก.ย. 64 ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ 0 400.00 400.00
10 ก.ย. 64 ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ 0 400.00 400.00
10 ก.ย. 64 ประชุม Zoom ประชุมจัดสื่อสารสาธารณโครงการประเด็นการจัดการขยะ 0 400.00 400.00
3 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
5 ก.ค. 63 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
4 กิจกรรมที่ 3 การจัดทำข้อตกลง/ธรรมนูญสุขภาพการจัดการขยะชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 11,820.00 3 11,520.00
24 ส.ค. 63 ค่าวัสดุและค่าถ่ายเอกสาร 0 5,820.00 5,820.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 3.2 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 2 0 1,000.00 900.00
8 ม.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 3.1 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ ครั้งที่ 1 20 5,000.00 4,800.00
5 กิจกรรมที่ 6 เสริมพลังครัวเรือน ร้านค้าในชุมชน เป็นครัวเรือนต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 45,500.00 10 42,510.00
15 พ.ย. 63 กิจกรรมย่อยที่ 6.1 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (บ้านหนองปรือ ต.รัษฎา จ.ตรัง) 0 4,500.00 4,480.00
12 ธ.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 6.2 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บาเระใต้ ต.บาเงาะ จ.นาราธิวาส) 0 4,000.00 4,000.00
19 ธ.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 6.3 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช) 0 5,000.00 4,800.00
9 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.4 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง) 0 4,000.00 4,000.00
17 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.5 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ(อบต.นาพละ จ.ตรัง ) 0 5,000.00 4,800.00
18 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.6 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (อบต.บางสัก) 0 5,000.00 4,480.00
23 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 0 6,000.00 5,280.00
25 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.8 ประชุมสรุปผลการเยี่ยมบ้าน 0 6,000.00 5,120.00
4 มี.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 6.9 ต้อนรับคณะดูงานการจัดการขยะ (จากบ้านควนเมา และ บ้านเกาะลิบง) 0 5,000.00 4,800.00
26 มี.ค. 64 6 .10 ต้อนรับคณะดูงาน บ้านหนองบัว 0 1,000.00 750.00
6 กิจกรรมที่ 2 การจัดการฐานข้อมูลขยะในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 13,800.00 6 13,280.00
1 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 2.1 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 1 ) 35 1,900.00 1,760.00
16 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การจัดการฐานขยะในชุมชน(ชั่งขยะครั้งที่ 2 ) 35 2,000.00 1,920.00
14 ม.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 3 ) 0 2,400.00 2,400.00
18 ม.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 2.4 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 4 ) 0 2,500.00 2,400.00
9 ก.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 2.5 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 5 ) 0 2,500.00 2,400.00
9 ก.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 2.6 การจัดการฐานขยะในชุมชน (ชั่งขยะครั้งที่ 6 ) 0 2,500.00 2,400.00
7 กิจกรรมที่ 4 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 14,220.00 3 13,720.00
3 มี.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 4.1 จัดทำจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะในที่สาธารณะ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 64 4.1 จัดทำถังขยะในที่สาธารณะ 0 3,000.00 3,000.00
1 มิ.ย. 64 4.2 จัดทำป้าย 0 11,000.00 10,500.00
29 ต.ค. 64 ค่าถ่ายเอกสาร 0 220.00 220.00
8 กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,000.00 1 4,000.00
5 ก.ค. 63 - 5 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 7 ค่าผลิต คลิปวีดีโอ ความยาว ๓ นาที สื่อประชาสัมพันธ์ 0 4,000.00 4,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 89 0.00 3 0.00
24 ส.ค. 63 ค่าวัสดุ 0 0.00 0.00
1 พ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 กจกรรมที่ 5 เสริมพลัง ลดการสร้างขยะ 59 0.00 -
27 ก.ย. 64 ถอดบทเรียน 30 0.00 0.00
29 ต.ค. 64 ค่าถ่ายเอกสาร 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการจัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย มุ่งเน้นการดำเนินงานในรูปแบบของการพัฒนา 3 กระบวนการคือ
กระบวนการที่1 การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ โดยเริ่มจากการร่วมกันกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน การจัดการบ้านที่อยู่อาศัยของตนเองผ่านเกณฑ์บ้านจัดการขยะ เพื่อให้คณะกรรมการมีความพร้อม มีภาวะเป็นผู้นำทางความคิด เป็นบ้านต้นแบบให้กับคนในชุมชน
กระบวนการที่2 การพัฒนาศักยภาพของชุมชน ผ่านการจัดทำเป็นข้อตกลงที่คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบ จนกลายมาเป็น “ธรรมนูญการจัดการขยะบ้านมดตะนอย” ซึ่งต่อมาจะเป็นเครื่องมือสำคัญของชุมชน ที่ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ต่อการจัดการขยะ
กระบวนการที่3 การดำเนินการเพื่อนำขยะมาเป็นทุน คือ ๑.ทุนที่เกิดจาก “การแบ่งปัน” เช่น การบริจาคขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำให้กับร้านค้า สถานประกอบการ ทุนที่เกิดจากการคัดแยกขยะในพื้นที่สาธารณะ ขยะที่มีมูลค่าจะถูกแปรมาอยู่ในรูปของ “กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านมดตะนอย” ในส่วนนี้คณะกรรมการ สามารถนำมาต่อยอดการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุนต่อไป ๒.ทุนที่เกิดจาก “การจัดบ้านเรือนต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ” เพื่อการเป็นแบบอย่างที่ดี คอยกระตุ้นให้แต่ละครัวเรือนอยากมี อยากได้ เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบบ้านเรือนให้สะอาดน่าอยู่ ไม่เป็นแหล่งรังโรค และ เป็นที่ประทับใจของคนในชุมชน หรือ บุคคลภายนอกที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน ๓.ทุนที่เกิดจาก “การมีส่วนร่วมของชุมชน" เป็นทุนที่พัฒนาต่อยอดจากการมีจิตอาสา ความรัก ความห่วงใย ความปรารถนาดีอยากเห็นชุมชนของเราน่าอยู่ ซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปสู่ชุมชนจัดการตนเอง รู้เท่าทันภัยต่างๆที่เข้ามาในชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2563 16:20 น.