directions_run

การจัดการขยะชุมชนบนเกาะลิบงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการขยะชุมชนบนเกาะลิบงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 63-00174-0003
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2563 - 10 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 117,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบนเกาะลิบง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพร จิเหลา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 5 ก.ค. 2563 4 ต.ค. 2563 46,800.00
2 5 ต.ค. 2563 4 เม.ย. 2564 5 ต.ค. 2563 10 ต.ค. 2564 58,500.00
3 5 เม.ย. 2564 10 ต.ค. 2564 11,700.00
รวมงบประมาณ 117,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เกาะลิบงเป็นชุมชนชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเล ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีทั้งหมด ๔หมู่บ้าน ประกอบด้วย ม.๑บ้านโคกสะท้อน ม.๔บ้านบาตูปูเต๊ะ ม.๕บ้านหลังเขาและ ม. ๗บ้านทรายแก้ว
ชุมชนมีการพูดคุยความต้องการในการแก้ปัญหาชุมชน พบว่าปัญหาแรกที่ชุมชนอยากแก้ไขเป็นอันดับแรกคือเรื่องขยะ แม้ในอดีตชุมชนพยายามแก้ปัญหาขยะมาเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากการที่บุคคลและองค์กรภายนอกเข้ามาร่วมจัดการปัญหาแต่ไม่สามารถสร้างความตระหนักให้ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา เมื่อหน่วยงานที่มาช่วยกลับไปประกอบกับการจัดการขยะที่ไม่ต่อเนื่องส่งผลให้ยังมีปัญหาขยะในชุมชน ปี ๒๕๖๓หลังจากเหตุการณ์มาเรียมได้มาอาศัยอยู่บริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ และได้เสียชีวิตลงเพราะสถานการณ์จากการกินขยะเข้าไป ทำให้เกิดกระแสการจัดการขยะเกิดขึ้นคนในชุมชนเริ่มที่จะเห็นความสำคัญและเกิดการตระหนักในการจัดการขยะมากยิ่งขึ้น โดยฉพาะบางหมู่บ้านได้มีการคัดแยกขยะเกิดขึ้นที่ก็ไม่เป็นรูปธรรม รวมไปถึงปัญหาที่พบ คือ ชุมชนครัวเรือนยังมีแนวโน้มการการใช้และสร้างพลาสติกในชีวิตประจำวันจำนวนมาก ปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะมีเพิ่มมากขึ้น แต่การจัดการขยะเกิดจากคนกลุ่มน้อย ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะ การจัดการขยะที่ผ่านมาคนในชุมชนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รับผิดชอบ ชุมชนเข้ามาร่วมจัดการขยะเฉพาะที่บ้านของตนเอง กับการออกมาร่วมกันรณรงค์เก็บขยะตามกิจกรรมที่อบต.กำหนดเท่านั้น ขยะจึงค่อยๆก่อให้เห็นผลกระทบต่อชุมชนมากขึ้นจนคนในชุมชน นักท่องเที่ยว สัมผัสได้จากการที่ เตาเผาขยะไม่สามารถกำจัดขยะไม่ทันใน ๑ วัน บริเวณเตาเผาขยะมีกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งสัตว์แมลงนำโรค ชายหาดไม่สวยงาม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการจัดการขยะบนเกาะลิบง ยังขาดการบูรณาการการทำงานในรูปแบบการสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาชุมชน ที่เริ่มตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผลประโยชน์ การสนับสนุนให้การจัดการขยะบนเกาะลิบงผ่านตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน เครือข่ายจิตอาสารวมถึงผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และผู้นำศาสนา เข้ามาเป็นคณะทำงานการจัดการขยะบนเกาะลิบง การจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นของคนบนเกาะลิบง ตกผลึกความคิดเป็น ข้อตกลงการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน นำข้อตกลงมาประกาศใช้เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบ ร่วมปฏิบัติและมีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน กระบวนการดังกล่าวน่าจะทำให้การดำเนินการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ภายใต้การหนุนเสริมของ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลเกาะลิบง มีทิศทางการทำงาน คณะทำงาน ประชาชนบนเกาะลิบงมีเป้าหมายการจัดการขยะที่เป็นทิศทางเดียวกัน มีข้อตกลงร่วมกันและข้อตกลงนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง เปิดทางเลือกที่เกิดจากการพัฒนานำไปสู่การปฏิบัติงานที่เหมาะสมได้ในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นเพื่อเตรียมชุมชนบนเกาะลิบงเป็นชุมชนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลและชุมชนท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ จึงขอเสนอโครงการ “การจัดการขยะชุมชนบนเกาะลิบงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล”เพื่อเสริมสร้างกลไกคณะกรรมการเข้มแข็ง การบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกติกาการจัดการขยะของชุมชนบนเกาะลิบงเพื่อร่วมกันนำกระบวนการเรียนรู้การจัดการขยะภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ที่หมาะสม นำบทเรียนจากการดำเนินการจัดการขยะ ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นพื้นที่ต้นเรื่องไปสู่การจัดการ “ตำบลเกาะลิบง ตำบลแห่งการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด/ส่งต่อ ลดลง

1.1 มีกลไกการจัดการเข้มแข็ง -คณะทำงานที่เข้มแข็ง -มีการจัดการฐานข้อมูลขยะ -มีข้อตกลงของชุมชน 1.2 ชุมชนจัดการขยะเข้มแข็ง -มีกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่องทุกเดือน -สนับสนุนการเป็นครัวเรือน / ร้านค้า / สถานประกอบการท่องเที่ยวต้นแบบร้อยละ ๕ -สนับสนุนให้เกิดการลดการสร้างขยะ -ขยะลดลง ร้อยละ๒๐ -หน่วยงานปลอดโฟมบรรจุอาหาร -ครัวเรือนคัดแยกขยะร้อยละ ๕๐ -ครัวเรือนคัดแยกขยะอินทรีย์ร้อยละ ๘๐ -ครัวเรือน / ร้านค้า /สถานประกอบการปลอดโฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ ๕๐ เรือประมง เรือนำเที่ยวลดการทิ้งขยะลงทะเล ร้อยละ ๖๐

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานการจัดการขยะ ,ครัวเรือน/ร้านค้า/สถานประอกบ 200 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 12,675.00 10 11,200.00
21 ก.ค. 63 เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท 0 2,000.00 2,900.00
16 ต.ค. 63 ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ง1 ส1 ผ่านระบบ www.happynetwork.org 0 2,000.00 600.00
26 พ.ย. 63 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม 0 1,000.00 1,200.00
15 ธ.ค. 63 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 หน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship) ประเด็นการจัดการขยะ 3 1,975.00 1,400.00
2 ม.ค. 64 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
8 เม.ย. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกระดับจังหวัด ประเด็นการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 ณ เกาะสุกร 0 1,100.00 1,100.00
3 มิ.ย. 64 ประชุมแนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด 3 400.00 200.00
1 ส.ค. 64 พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 2 400.00 200.00
8 ส.ค. 64 พัฒนาศักยภาพถอดบทเรียนการจัดการขยะ ครั้งที่ 2 2 400.00 200.00
10 ต.ค. 64 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 หน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship) ประเด็นการจัดการขยะ 0 1,400.00 1,400.00
2 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานจัดการขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 18,050.00 9 15,195.00
25 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 25 750.00 875.00
10 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 4 0 750.00 0.00
26 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 6 0 750.00 0.00
26 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 7 0 750.00 0.00
10 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 5 0 750.00 0.00
11 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 8 0 750.00 0.00
1 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 2 0 750.00 1,050.00
4 เม.ย. 64 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 25 12,050.00 11,400.00
1 มิ.ย. 64 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ครั้งที่ 3 0 750.00 1,870.00
3 กิจกรรมที่ 2 การจัดทำข้อตกลง/ธรรมนูญสุขภาพการจัดการขยะชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 7,625.00 3 875.00
6 ม.ค. 64 คณะทำงานจัดการขยะ จัดทำยกร่างข้อตกลงการจัดการขยะบนเกาะลิบง 0 750.00 0.00
10 ก.พ. 64 คณะทำงานจัดการขยะจัดเวทีประกาศใช้ตกลงการจัดการขยะบนเกาะลิบง 0 6,000.00 0.00
23 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 2 การจัดทำข้อตกลง/ธรรมนูญสุขภาพการจัดการขยะชุมชน 25 875.00 875.00
4 กิจกรรมที่ 3 การจัดทำฐานข้อมูลขยะในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 17,500.00 4 17,061.00
10 ก.ย. 63 ทำตะแกรงขยะ 0 10,000.00 17,061.00
14 ธ.ค. 63 การจัดกระบวนการเรียนรู้ระบบการจัดเก็บ การขนส่ง การทำลาย ครั้งที่ 1 0 750.00 0.00
23 ธ.ค. 63 คืนข้อมูลขยะ พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ แนวทางดำเนินงานที่เป็นจุดเด่น จุดด้อย 0 6,000.00 0.00
15 ม.ค. 64 การจัดกระบวนการเรียนรู้ระบบการจัดเก็บ การขนส่ง การทำลาย ครั้งที่ 2 0 750.00 0.00
5 กิจกรรมที่ 4 การรณรงค์จัดการขยะต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 600 18,000.00 8 3,850.00
22 ก.ย. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 1 75 2,250.00 1,750.00
24 ก.ย. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะในแนวหญ้าทะเล 75 2,250.00 2,100.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 75 2,250.00 0.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 4 75 2,250.00 0.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 5 75 2,250.00 0.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 6 75 2,250.00 0.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 7 75 2,250.00 0.00
2 ธ.ค. 63 รณรงค์จัดเก็บขยะต่อเนื่อง ครั้งที่ 8 75 2,250.00 0.00
6 กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนการเป็นครัวเรือน/ร้านค้า/สถานประกอบการท่องเที่ยว ต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 36,950.00 1 0.00
1 พ.ย. 63 - 28 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนการเป็นครัวเรือน/ร้านค้า/สถานประกอบการท่องเที่ยว ต้นแบบ 130 36,950.00 0.00
7 กิจกรรมที่ 7 การถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,200.00 1 2,200.00
30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 7 การถอดบทเรียน 0 2,200.00 2,200.00
8 กิจกรรมที่ 6 ค่าผลิต คลิปวิดีโอ สื่อประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,000.00 1 4,000.00
1 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 ค่าผลิต คลิปวิดีโอ สื่อประชาสัมพันธ์ 0 4,000.00 4,000.00
9 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
10 ต.ค. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ภายหลังจากโครงการสิ้นสุดลง การดำเนินงานการจัดการขยะบนเกาะลิบง จะมีผู้รับผิดชอบหลักประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง คณะกรรมการจัดการขยะ ทั้ง ๔ หมู่บ้าน โดยมี ภาคีเครือข่ายที่เป็นต้นแบบการจัดการขยะ ทั้ง ครัวเรือน ร้านค้า สถานประกอบการท่องเที่ยว คอยให้การสนับสนุนและเป็นแหล่งสื่อประชาสัมพันธ์ที่คนในชุมชนเข้าถึงได้ง่าย และที่สำคัญการมีข้อตกลงร่วมกัน บนเกาะลิบงจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เครื่องมือชุดนี้ จะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้สามารถใช้ง่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป การจัดการฐานข้อมูลขยะบนพื้นที่เกาะลิบง จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยคนในชุมชน บุคคลที่มาจากภายนอก ตระหนักและเห็นความสำคัญต่อนโยบายหรือแนวทางการจัดการขยะ การจัดทำโครงการครั้งนี้มุ่งเน้นการจัดทีมที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน เป็นเป้าหมายเดียวกันที่สามารถดำเนินการได้จริงในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการเวทีประชาคมเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันสรุปและประกาศใช้เป็นแนวทางการจัดการขยะของชุมชน การสนับสนุนให้เกิดต้นแบบการจัดการขยะเป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการขยะผ่านสภาพปัญหาของแต่ละหน่วย ทีมได้เรียนรู้การแก้ปัญหานี้ไปด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นก็จะเป็นเครื่องมือต้นแบบให้คนในชุมชนได้ปฏิบัติตามเพื่อให้บ้าน ร้านค้า สถานประกอบการ น่าอยู่ น่ามอง และนำไปสู่การท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับการบริหารจัดการที่ดีต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2563 16:21 น.