directions_run

รวมพลังจัดการขยะโรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร "ชลวาสวย ด้วยมือเรา"

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการรวมพลังจัดการขยะโรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร "ชลวาสวย ด้วยมือเรา" ประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ตามเป้าหมายเกือบทุกกิจกรรม มีบางกิจกรรมที่ไม่สามารถดำเนินการได้อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีความรุนเเรง จึงไม่สามารถดำเนินกิจกรรมที่มีการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดตรังได้ เเต่ทั้งนี้ทางคณะทำงานได้จัดกิจกรรมอื่นที่ทดเเทนจนสามารถทำให้โครงการประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1) นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียนมีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ เเละมีพฤติกรรมในการจัดการขยะที่ถูกวิธี โดยใช้หลัก 3Rs เเละ 2) การบริหารจัดการขยะในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะ เเละป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เกิดจากขยะได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.นักเรียนครูบุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียนมีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพและมีพฤติกรรมในการจัดการขยะที่ถูกวิธี โดยใช้หลัก 3Rs
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดคณะทำงานที่ประกอบด้วย (ผู้บริหารโรงเรียน/แกน นำครู/แกนนำนักเรียน/ตัวแทนผู้มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน/ผู้ปกครอง และตัวแทนหน่วยงานด้านสุขภาพในชุมชน จำนวน 15 คน) 1.2 เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงานในการดำเนินงาน โครงการ 1.3 คณะทำงานมีความรู้ ตระหนักในเรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพและสามารถถ่ายทอด สื่อสาร ในรูปแบบต่างๆ ได้ 1.4 คณะทำงานมีความรู้ ทักษะ ตระหนักในการจัดการขยะตามหลัก 3Rsและสามารถถ่ายทอด สื่อสาร ในรูปแบบต่างๆ ได้ 1.5คณะทำงานตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับแผนการทำงาน/แผนการบริหารจัดการ/แผนการติดตาม 1.6 ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงโดยการสร้างขยะให้มีมูลค่า 1.7โรงเรียนปลอดโฟม และถุงพลาสติก 100%
15.00 15.00

เกิดคณะทำงานที่ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน/แกนนำครู/แกนนำนักเรียน/ตัวแทนผู้มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน/ผู้ปกครอง และตัวแทนหน่วยงานด้านสุขภาพในชุมชน จำนวน 15 คน เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เเละกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงานในการดำเนินงาน โครงการ คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม จึงเป็นทีมงานที่มีคุณภาพ การทำงานที่เกิดจากความร่วมเเรง ร่วมใจกันของคณะทำงานทำให้ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง โดยเฉพาะขยะประเภทถุงพลาสติก โฟม และ กระดาษ นอกจากนี้ขยะบางประเภทก็นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ขยะอินทรีย์นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ถุงนมนำมาเเปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ เป็นต้น

2 2.การบริหารจัดการขยะในโรงเรียน มีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะ และป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากขยะได้
ตัวชี้วัด : 2.1แกนนำนักเรียนมีสมรรถนะในการถ่ายทอดความรู้การจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rsต่อนักเรียน/ ผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน และติดตามพฤติกรรมการจัดการกับขยะของนักเรียน/ ผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน ได้ 2.2 นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่มาจากขยะ โดยใช้กระบวนการโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) อย่างน้อยช่วงชั้นละ 1 โครงงานรวม 3 โครงงาน 2.3 นักเรียนสามารถนำเสนอโครงงานผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำเสนอด้วยวาจา บอร์ดประชาสัมพันธ์เป็นต้น 2.4 จำนวนปริมาณขยะในบริเวณโรงเรียนลดลงร้อยละ 50 2.5นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ในโรงเรียน มีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถังร้อยละ 80 2.6 นักเรียนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ(สร้างขยะให้มีมูลค่า) 2.7 นักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพลดลง (การขาดเรียนที่เกิดจากการเจ็บป่วยน้อยลง) ร้อยละ 30 2.8 โรงเรียนมีฐานข้อมูล สารสนเทศ เรื่องขยะ 2.9 โรงเรียนสามารถสร้างนวัตกรรม / Best Practice จากการดำเนินโครงการ
110.00 131.00

จากการดำเนินโครงการทำให้การบริหารจัดการขยะในโรงเรียน มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเห็นได้จากปริมาณขยะในโรงเรียนที่ลดลง โรงเรียนมีแกนนำนักเรียนที่มีสมรรถนะในการถ่ายทอดความรู้การจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดตามพฤติกรรมการจัดการกับขยะของนักเรียน/ ผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่มาจากขยะ โดยใช้กระบวนการโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ช่วงชั้นละ 1 โครงงานรวม 3 โครงงาน และนักเรียนสามารถนำเสนอโครงงานผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งการนำเสนอด้วยวาจา บอร์ดประชาสัมพันธ์ ได้ จากการดำเนินโครงการส่งผลให้ปริมาณขยะในบริเวณโรงเรียนลดลงร้อยละ 54 นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ในโรงเรียน มีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถังร้อยละ 82 นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้นักเรียนมีรายได้จากการคัดแยกขยะได้อีกด้วย นักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพลดลง ร้อยละ 36 โรงเรียนมีฐานข้อมูล สารสนเทศ เรื่องขยะ เเละโรงเรียนสามารถสร้างเเนวทางที่ดีในการบริหารจัดการขยะในรูปแบบของโรงเรียนวัดชลวาปีวิหารได้อีกด้วย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 110 131
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครู บุคลากรในโรงเรียน 14 12
ตัวแทนหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่น รพ.สต. อสม. 5 5
นักเรียนโรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร 81 104
ผู้ปกครองนักเรียน 5 5
แกนนำผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ในโรงเรียน 5 5

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.นักเรียนครูบุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียนมีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพและมีพฤติกรรมในการจัดการขยะที่ถูกวิธี โดยใช้หลัก 3Rs (2) 2.การบริหารจัดการขยะในโรงเรียน มีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะ และป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากขยะได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 6 ประชุม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ติดตามผล และสรุปผลการทำงาน (ตลอดระยะเวลา 10 เดือน) (2) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (เบิกจ่ายตามจริง และเมื่อเหลือจะต้องคืนให้กับ สสส. เมื่อสิ้นสุดโครงการ) (3) วัสดุรวมทุกกิจกรรม (4) กิจกรรมที่ 1 สรรหา เเละพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (5) กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ที่มาใช้บริการพื้นที่ของโรงเรียน (6) กิจกรรมที่ 2 สำรวจที่มา ปริมาณของขยะ และพฤติกรรมการทิ้งขยะในโรงเรียน โดยกลุ่มนักเรียนแกนนำ (7) กิจกรรมที่ 5 โรงเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม(Say No to plastic bags and Foams) (8) กิจกรรมที่ 7 โรงเรียนปลอดขยะโดยหลัก 3Rs (9) กิจกรรมที่ 8 เรียนรู้ด้วยโครงงาน (10) กิจกรรมที่ 9 ขยะมีคุณค่าเพิ่มราคา ด้วยการคัดแยก (11) กิจกรรมที่ 10 สุขภาพดี ชีวีมีสุข (12) กิจกรรมที่ 11 การจัดทำฐานข้อมูล และสารสนเทศด้านการบริหารจัดการขยะ (13) กิจกรรมที่ 4 Smart School (ลดการใช้กระดาษในโรงเรียน) (14) กิจกรรมที่ 12 การจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ผลงาน (15) ประชุมคณะทำงาน (กิจกรรมโรงเรียนรักษ์สิ่งเเวดล้อม) (16) ศึกษาดูงานเเหล่งการเรียนรู้ตลาดสวนไผ่ขวัญใจ เเละ กิจกรรม ตลาดจำลองGreen Market at School (17) ฝึกปฏิบัติการเย็บถุงผ้าลดโลกร้อน (18) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (19) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (20) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (21) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (22) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 (23) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 (24) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 (25) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 (26) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 (27) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 (28) ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (29) ปฐมนิเทศนำเสนอโครงการรวมพลังจัดการขยะโรงเรียนวัดชลวาปีวิหาร "ชลวาสวย ด้วยมือเรา" (30) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส.1 เเละการเงิน ง.1 ในระบบ www.happynetwork.org (31) จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เเละเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เเละป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม (32) ทำป้ายสติ๊กเกอร์ติดฟิวเจอร์บอร์ดรณรงค์การงดสูบบุหรี่ (33) ประชุมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน (ARE) (34) พี่เลี้ยงติดตามการดำเนินโครงการ (ARE) (35) อบรมหลักสูตรการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้เเละการพัฒนา (Action Research Evaluation) (36) ประชุมรับฟังปัญหาการระบาดโควิดตรัง เเละเเนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด (37) ประชุมสมัชชาสร้างสุขตรัง (38) ประชุมถอดบทเรียนการจัดการขยะ (39) อบรมหลักสูตรการสื่อสารเพื่อความเปลี่ยนเเปลงโดยใช้มือถือ (40) ประชุมปิดโครงการย่อยผ่านระบบ Zoom (41) จัดซื้อวัสดุ ครั้งที่ 1 (42) จัดซื้อวัสดุ ครั้งที่ 2

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการขยะในโรงเรียนจะประสบความสำเร็จ เเละมีความยั่งยืน ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อยา่งต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องสร้างให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตสำนึก มีความตระหนัก ในการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนอยู่ (2) การทำงานประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยทีมงานที่เข้มเเข็ง เพราะฉะนั้นทีมคือหัวใจหลักของทำงาน เเละทีมที่มีคุณภาพย่อมเกืดจากผู้ที่มีคุณภาพ ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของทีมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ที่จะส่งผลให้การทำงานประสบผลสำเร็จได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น (3) ขยายผลองค์ความรู้ที่มีออกสู่ชุมชน โดยใช้ทีมที่มี เเละสร้างเครือข่ายเพิ่มเติม โดยดึงผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในทีมให้มากขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh