directions_run

โครงการเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อความมั่นคงด้านอาหารชุมชนบ้านลอน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อความมั่นคงด้านอาหารชุมชนบ้านลอน
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 107,550.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมหมู่บ้าน บ้านลอน ม.3ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทัศน์ อุไรวงศ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 31 ก.ค. 2564 1 ก.พ. 2564 31 ก.ค. 2564 93,825.00
2 1 ส.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 1 ส.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 13,725.00
รวมงบประมาณ 107,550.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนลอนเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสัก มีเนื้อที่ทั้งหมด1,942 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแบ่งออกเป็น สวนยางพารา485ไร่ สวนปาล์มน้ำมัน473ไร่ ที่อยู่อาศัย150ไร่ แหล่งน้ำสาธารณะ20ไร่ ที่ว่างเปล่า120ไร่ มีครัวเรือนที่อาศัยอยู่จำนวน 160 หลังคาเรือนมีประชากรทั้งหมดจำนวน 612คน แบ่งเป็นเพศชาย313คน เพศหญิง299คน มีองค์กรภาคราชการคือ รพ.สต.บ้านลอน(มีบุคลากร3คน) โรงเรียนวัดลอน(มีนักเรียน201คน) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน(มีเด็กก่อนวัยเรียน40คน บุคคลากร5 คน) และวัดลอน ในอดีตชุมชนบ้านลอนเคยมีพื้นที่นาข้าวเกือบทั้งหมดของพื้นที่ทำการเกษตรแต่ในช่วง20ปีที่ผ่านมาชาวบ้านเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นทำสวนยางพาราและสวนปลามน้ำมันเพราะมีความคิดว่าพืชดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนมากกว่าการทำนาข้าวที่เน้นการทำเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น จึงส่งผลใหเกิดปัญหาของคนในชุมชนเช่น ด้านเศรษฐกิจคือปัญหารายได้ที่ลดลงจากผลกระทบราคายางพาราและราคาปลามน้ำมันตกต่ำ ด้านสุขภาพคือปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดต่อสุขภาพของคนในชุมชนที่ข้อมูลทางสุขภาพบ่งชี้ว่าในชุมชนมีคนป่วยเรื้อรังจำนวน68คน แยกเป็นเป็นความดัน37คน เบาหวาน8คน ความดัน+เบาหวาน23คน (แหล่งข้อมูล รพ.สต.บ้านลอน)ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจาก ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ปัญหาการบริโภคผักที่ไม่เพียงพอชองคนในชุมชน 1 เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อของคนที่เชื่อว่าการปลูกพืชเศรษฐกิจประเภทยางพาราและปาล์มน้ำมันจะสามารถสร้างรายได้ในครัวเรือนได้จึงหันเหการประกอบอาชีพจากดั้งเดิมเคยทำนาเพื่อการยังชีพเพียงอย่างเดียว และพฤติกรรมของคนในชุมชนที่ต้องซื้ออาหารจากภายนอกชุมชนทั้งอาหารประเภทสดมาประกอบปรุงในครัวเรือนและอาหารประเภทสำเร็จ รวมทั้งคนในชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าในในการปลูกผักและการปรับสภาพพื้นที่ที่อาศัยในการปลูกผักเพื่อการบริโภคในครัวเรือน 2 เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคม เพราะชุมชนชุมชนมีพื้นที่ตั้งใกล้กับตลาดแม่ขรีจึงง่ายกับการเข้าถึงการซื้ออาหารสดเพื่อการบิโภคในครัวเรือนและอีกทั้งการง่ายต่อการเข้าถึงปัจจัยการผลิตการทำการเกษตรที่เป็นสารเคมีเพราะชุมชนไม่ห่างไกลกับแหล่งจำหน่ายสารเคมีหรือปุ๋ยเคมีมากนักทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงปัจจัยเหล่านี้ 3 เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีการเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเพื่อไปทำเป็นสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและปัญหาการขาดพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ปัญหาการขาดน้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีในชุมชนอยู่ห่างไกลที่อยู่อาศัยไม่สามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตรได้กาเพาะปลูกที่มีในครัวเรือนต้องพึ่งพาระบบประปาหมู่บ้าน จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้นที่กลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์แล้วพบว่าส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆของชุมชนคือ 1 ผลกระทบต่อด้านสังคม ทำให้คนมีเวลาในการทำกิจกรรมของชุมชนน้อยลงเพราะวิถีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำนานั้นหายไปส่งผลต่อวัฒนธรรมที่ดีงามเช่นการออกปากดำนา เก็บข้าว หาบข้าวเกือบหายไปด้วย คนในชุมชนขาดการแบ่งปันการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพราะต่างคนต่างอยู่ต้องดิ้นรนในการหารายได้เข้าครัวเรือนและการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในระดับครัวเรือน 2 ผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม คือทำให้ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและมีการปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี รวมทั้งแหล่งน้ำที่ใช้การทำการเกษตรนั้นมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมี ระบบนิเวศน์ของชุมชนนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำให้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์เดิมหายไปด้วย สัตว์น้ำที่เคยมีชุกชุมและเป็นแหล่งอาหารของชุมชนก็ลดหายไปด้วย 3 ผลกระทบต่อด้านสุขภาพ คือจากการเก็บข้อมูลของรพ.สต.บ้านลอนพบว่ามีคนชุมชนที่ป่วยเป็นโรคความดันจำนวน37คน มีคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำวน 8คน 4 ผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจของชุมชนพบว่าครัวเรือนมีรายจ่ายในครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคที่สูง มีรายจ่ายที่ต้องซื้อข้าวสาร900บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการซื้อผัก1,200บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายการซื้ออาหารโปรตีน1,300บาทต่อเดือน จากการวิเคราะห์ร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มจึงมีความเห็นพ้องร่วมกันการที่จะสร้างการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกของกลุ่มและคนในชุมชนร่วมกันในการปลูกผักในครัวเรือนและชุมชนเพื่อหวังให้เกิดการเพิ่มพื้นที่การปลูกผักและการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือนและชุมชน โดยที่ผ่านมาผู้นำชุมชนเองก็มีความพยายามที่จะช่วยกันให้สมาชิกในชุมชนมีการปลูกผักในครัวเรือนและชุมชนเพื่อการลดปัญหาดังกล่าวลงผ่านความร่วมมือกับภาคราชการที่เข้ามามีบทบาทในชุมชน มีการร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนบ้านลอนให้มีการปลูกผักในพื้นที่โรงเรียนเพื่อให้มีการปลูกและการบริโภคที่เพียงพอในชุมชน แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จและเกิดความต่อเนื่องได้ แต่ชุมชนก็ยังไม่เลิกความพยายามที่จะดำเนินการเพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าวของชุมชน ชุมชนมีความคาดหวังผลจากโครงการที่จะทำให้คนในชุมชนมีการปลูกผักเพื่อการบริโภคของคนในชุมชนและการร่วมมือกับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่ให้มีการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัยให้แก่เด็กในโรงเรียนในรูปแบบการสนับสนุนในกิจกรรมอาหารกลางวันของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนรวมทั้งการเพิ่มการบริโภคในครัวเรือนและในชุมชน โดยในอนาคตชุมชนมีความคาดหวังให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยเพื่อการบริโภคและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนและชุมชนรอบข้างให้เกิดความตระหนักและเริ่มสร้างกระบวนการที่นำไปสู่การขยายผลในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารแก่ชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน 2.มุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารแก่ชุมชน 3.รักษาพันธุกรรมพืชท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้และให้เกิดความตระหนักต่อการผลิตและบริโภคพืชผักที่ปลอดภัยของคนในชุมชน

1.มีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พันธุกรรมพืช และผลกระทบที่เกิดจากผลิตและบริโภค

0.00
2 เพื่อร่วมกันสร้างกลไกหนุนเสริมการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยในชุมชน

1.ผู้ร่วมโครงการสามารถออกแบบและสร้างแผนการปลูกพืชที่ปลอดภัยได้ทุกคน 2.มีการปรับพื้นที่ว่างเปล่าในที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ในการปลูกพืชอาหารได้จำนวน80ครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ10ตรว. 3.มีจุดแลกเปลี่ยนผลผลิตในชุมชนเพื่อการแบ่งปันและสร้างรายได้อย่างน้อย1จุด

0.00
3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและปัจจัยหนุนเสริมการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยในครัวเรือนและชุมชน

1.ผู้ร่วมโครงการสามารถผลิตปัจจัยทดแทนการใช้สารเคมีและมีการนำไปใช้ได้อย่างน้อย3ชนิดในทุกครัวเรือนที่ร่วมโครงการ 2.ทุกครัวเรือนที่ร่วมโครงการมีการนำปัจจัยหนุนเสริมการปลูกที่ปลอดภัยทุกครัวเรือน

0.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เกิดการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและส่งเสริมให้มีการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือนและชุมชน

1.มีพื้นที่ผลิตพืชผักอาหารที่ปลอดภัยในครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย80ครัวเรือนๆละ10ตารางวา 2.มีครัวเรือนสามารถปลูกผักพื้นถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างน้อย5ชนิด 3.มีคนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดภัยอย่างน้อย300คน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 15
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการ 15 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 906 107,550.00 23 92,876.00
1 ก.พ. 64 - 30 ส.ค. 64 บริหารจัดการ 5 8,000.00 0.00
8 ก.พ. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่1 30 1,250.00 1,250.00
15 ก.พ. 64 จัดทำป้ายประกอบโครงการ 0 0.00 676.00
20 ก.พ. 64 ประชุมเปิดโครงการและทำความเข้าใจชุมชน 100 3,800.00 3,800.00
23 ก.พ. 64 เจาะเลือดตรวจสารพิษในเลือดและเรียนรู้ผลกระทบจากการผลิตและบริโภค 80 18,000.00 18,700.00
25 ก.พ. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2 30 1,250.00 1,250.00
25 ก.พ. 64 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิตปุ๋ยหมัก 80 12,300.00 12,300.00
27 ก.พ. 64 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ/ศึกษาดูงาน 40 16,300.00 16,300.00
10 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3 30 1,250.00 0.00
10 มี.ค. 64 เวทีอบรมและเรียนรู้การปลูกพืชที่ปลอดภัยออกแบบพื้นที่ชุมชนและวางแผนการปลูก 80 4,300.00 4,300.00
20 มี.ค. 64 จัดทำฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 15 4,400.00 4,400.00
26 มี.ค. 64 อบรมการผลิตสารทดแทนสารเคมีปราบศัตรูพืช 80 10,300.00 10,300.00
28 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4 30 1,250.00 0.00
30 มี.ค. 64 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 40 5,800.00 5,800.00
10 เม.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5 30 1,250.00 0.00
20 เม.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6 30 1,250.00 0.00
5 พ.ค. 64 วางแผนการปลูก 50 5,000.00 0.00
25 ก.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 7 30 1,250.00 0.00
16 ส.ค. 64 คืนข้อมูล/สรุปการดำเนินงานโครงการ 80 4,800.00 5,500.00
31 ส.ค. 64 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 40 5,800.00 5,800.00
30 ก.ย. 64 กิจกรรมบริหารจัดการ จัดทำระบบรายงาน 1 0.00 2,000.00
30 ก.ย. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
21 ต.ค. 64 ร่วมประชุมกับหน่วยจัดการ 5 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการเรียนรู้และความตระหนักต่อการผลิตและบริโภคพืชผักที่ปลอดภัยของคนในชุมชน 2.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมชุมชนให้หนุนเสริมการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยในชุมชน 3.เกิดปัจจัยหนุนเสริมการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยในครัวเรือนและชุมชน 4.เกิดพื้นที่การผลิตพืชผักที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือนและชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2564 11:43 น.