directions_run

ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ”

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางรอมละ ราโมง

ชื่อโครงการ ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ที่อยู่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-00214-0010 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 เมษายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 64-00214-0010 ระยะเวลาการดำเนินงาน 12 เมษายน 2564 - 31 มกราคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 70,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านรามง มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ในอดีตคนในชุมชนจะมีการรวมตัวกันใต้ต้นรามงเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการประชุม บ้านรามงเป็นหนึ่งใน 7 หมู่บ้านของตำบลปูยุด บ้านรามง หมู่ที่ 1 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 282 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 1292 คน เป็นชาย 639 คนหญิง 653 คน
จากการลงสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจคนในชุมชนมีอาชีพรับจ้าง ในพื้นที่ ในตัวเมือง ต่างจังหวัดและมาเลย์เซีย รองลงมามีอาชีพค้าขายในชุมชน และในตลาดนัดทั้งในชุมชนและต่างชุมชน จากสถานการณ์โรคระบาดโควิต 19 ที่ผ่านมา จากสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่าไวรัสในช่วงปลายปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ได้แพร่ระบาดเชื้อไปยังทั่วโลกนั้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ทำไห้ประชาชนที่มีอาชีพรับจ้างและค้าขายในต่างจังหวัดและมาเลย์เซียมีปัญหา ต้องกลับมาบ้านเกิด ค่าใช้จ่ายทุกอย่างเหมือนเดิม แต่รายรับลดลง ทำไห้ต้องใช้จ่ายเงินเก็บ บางครอบครัวเงินเก็บไม่มี ต้องอาศัยการกู้เงินจากเพื่อนบ้าน ทำไห้เกิดหนี้สิน ก่อให้เกิดความเครียดสะสม เนื่องจากโรคระบาดโควิต 19 ยังย้อนกลับมาอีกระลอก 2 ซึ่งหมู่บ้านรามง เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้ บ้านรามงประชากรร้อยละ 15 ที่ประกอบอาชีพรับจ้างนอกพื้นที่ ได้แก่ หาดใหญ่ สงขลา ภูเก็ต กรุงเทพฯ และมาเลเซีย เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิต 19 และได้เดินทางกลับมาภูมิลำเนา ขาดรายได้ จากการที่เคยได้รับ 200-600 บาท ต่อวัน ทำไห้เกิดปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย เกิดหนี้สิน และภาวะเครียดขึ้นมาในครอบครัว
จากการวิเคราะห์ต้นไม้ของแกนนำชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน พบประเด็นปัญหา 4 ปัญหา ดังนี้ 1.ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย 2.ปัญหาด้านสุขภาพ 3.ปัญหายาเสพติด ผลการสำรวจข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาแรงงานกลับถิ่นครั้งนี้ พบว่า ร้อยละ 10 ได้กลับไปทำงานที่เดิม เนื่องจากภายในประเทศได้รับเข้าทำงานได้อีกครั้งเป็นส่วนหนึ่ง และร้อยละ 5 ยังคงต้องอยู่ในพื้นที่ ยังขาดงานขาดรายได้ สภาผู้นำร่วมกันจัดทำต้นไม้ปัญหาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุแลผลกระทบของปัญหาในแต่ละประเด็น พร้อมได้ร่วมกันลงมติเลือกประเด็นปัญหาเพื่อจัดทำโครงการแก้ปัญหาของบ้านรามง โดยแกนนำชุมชนซึ่งรวมกันเรียกว่า สภาผู้นำชุมชนบ้านรามง เลือกประเด็นปัญหา รายได้ไม่พอกับรายจ่ายเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชน โครงการส่งเสริมอาชีพในชุมชน บ้านรามง หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด เพื่อให้เกิดงานในชุมชน เกิดการจัดการ การบริหารงานกิจกรรมมาจากคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชนได้มีอาชีพ มีรายได้ เลียงชีพในครัวเรือน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระจากการระบาดโควิด 19
  2. เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ปฐมนิเทศโครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยง สสส.
  2. กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ (ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มโครงการ)
  3. จัดทำไวนิลโครงการ
  4. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 1
  5. กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
  6. กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชน
  7. กิจกรรมที่ 5 อบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผนเผชิญเหตุเชิง ปฏิบัติงาน
  8. กิจกรรมที่ 6 อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน
  9. กิจกรรมที่ 8 จัดตั้งกลุ่มกลุ่มอาชีพ การออมและการลงหุ้น
  10. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  11. กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ)
  12. กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่ 1
  13. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 3
  14. กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (เพาะเห็ดนางฟ้า)
  15. กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่ 1
  16. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2
  17. กิจกรรมที่ 11 การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด
  18. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3
  19. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 4
  20. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3
  21. กิจกรรมที่ 12 สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)
  22. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 5
  23. เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับ สสส.
  24. ไปหาพี่เลี้ยง
  25. ไปหาพี่เลี้ยง
  26. จัดทำรายงานสรุปโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยง สสส.

วันที่ 12 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้

10 เมษายน พ.ศ. 2564

  • 17.00 น. โครงการย่อยเข้าพักและลงทะเบียน(สตูล สงขลา นราธิวาส) ตรวจหลักฐาน ลงนามในข้อตกลงโครงการย่อย และรับหนังสือเปิดบัญชีโครงการย่อย

11 เมษายน พ.ศ. 2564

  • 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ตรวจหลักฐาน ลงนามในข้อตกลงโครงการย่อย และรับหนังสือเปิดบัญชีโครงการย่อย(ปัตตานี ยะลา)
  • 08.30 – 09.30 น. กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ โดยคุณนฤมล ฮะอุรา และคุณอุบัยดีละ
  • 09.30 – 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการดำเนินงานโครงการ และธามไลน์โครงการ โดย คุณสุวิทย์ หมาดอะดัม
  • 10.00 – 10.30 น. บรรยายเรื่อง บันไดผลลัพธ์โครงการ โดยคุณรูสลาม สาระ
  • 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 – 11.15 น. บรรยายเรื่อง การทำแผนการทำงานด้วยปฏิทินกิจกรรม โดยคุณนฤมล ฮะอุรา
  • 11.15 – 12.00 น. บรรยายเรื่องการออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด คุณอัดนัน อัลฟารีตีย์
  • 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 – 13.30 น. บรรยายเรื่อง ระบบบัญชี การเงิน และการเสียภาษี โดยคุณซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง
  • 13.30 – 14.30 น. บรรยายเรื่อง การรายงานกิจกรรมโครงการทางระบบออนไลน์ โดยคุณสุวิทย์ หมาดอะดัม
  • 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 14.45 – 16.00 น. พบพี่เลี้ยงจังหวัด ตรวจเอกสารตรวจหลักฐานฯ ต่อ นัดหมายการลงพื้นที่ติดตาม

12 เมษายน พ.ศ. 2564

  • 09.00 – 09.30 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ทบทวนเรื่องที่ได้เรียนรู้เมื่อวันวาน
  • 09.00 - 10.00 น. แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ฐานที่ 1 ระบบบัญชี การเงิน และการจ่ายภาษี -วิทยากรประจำฐาน คุณซอร์ฟีเย๊าะ คุณกัลยา คุณไอลดา ฐานที่ 2 บันไดผลลัพธ์โครงการ-วิทยากรประจำฐาน คุณรูสลาม คุณมะยูนัน ฐานที่ 3 การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดและการสะท้อนผลลัพธ์-วิทยากรประจำฐาน -คุณอัดนัน คุณอุบัยดีล๊ะ ฐานที่ 4 การทำรายงานออนไลน์-วิทยากรประจำฐาน คุณสุวิทย์ คุณนฤมล
  • 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 - 12.00 น. เข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ(ต่อ)
  • 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 – 15.00 น.  เข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ(ต่อ)
  • 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 15.15 – 16.00 น. ทำแผน เวทีการสะท้อนผลลัพธ์(ARE) ร่วมกับพี่เลี้ยง สามารถสรุปผลการเรียนรู้ของตัวแทนชุมชนได้ดังนี้ -ผู้รับผิดชอบโครงการส่งตัวเเทนเข้าร่วมอบรบพัฒนาศักยภาพ จำนวน โครงการละ 5 คนให้เข้าเรียนรู้ทำความเข้าใจกระบวนการจัดทำโครงการตามรายเอียดขอบเขตเนื้อหา กรอบแนวความคิดที่ สสส.กำหนด ในการเข้าร่วมครั้งมีมีตัวแทนจากชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศทั้งหมด 5 คน สมาชิกทุกได้ร่วมเรียนเครืองมือต่างๆที่จะนำไปใช้ในโครงการ เช่น อบรมการบริหารการเงิน เครื่องมือการดำเนินโครงการ วิเคราะห์ประเมินผล เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานผู้รับผิดโครงการมีความรู้ความเข้าใจโครงการกระบวกการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของ สสส.และวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ
  • คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจการใช้เครืองมือกิจกิจกรรมที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในโครงการ
  • คณะทำงานเข้าใจถึงการทำบัญชีโครงการ
  • โครงการมีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

 

3 0

2. กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ (ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มโครงการ)

วันที่ 13 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งคณะทำงานเป็น  5 กลุ่ม แบ่งบทบาทหน้าที่  ทีมเก็บข้อมูล  เพื่อทำการสำรวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพื่อการจัดทำข้อมูลพื้นฐานผู้ได้รับผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจชุมชน  อาชีพ  รายได้ รายจ่ายและหนี้สิน  เป้าหมายในการเก็บข้อมูล 30 ราย (ครอบครัว)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลที่เกิดขึ้น จากการสำรวจ ด้านอาชีพ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีความต้องการมีอาชีพเสริมในครัวเรือน เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายและไม่ก่อเกิดหนี้สินเพิ่ม เกิดแกนนำ 15 คน ที่มาจาก และกลุ่มเป้าหมาย 35 คน แกนนำมีความเข้าใจต่อบทบาทที่ได้รับมอบหมาย

 

30 0

3. จัดทำไวนิลโครงการ

วันที่ 15 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และป้านรณรงค์ ห้ามสูบบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ  และการรณรงค์สถานที่ ห้ามสูบบุหรี่

 

45 0

4. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 18 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 จำนวน 15 คน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ การสร้างความเข้าใจต่อแผนงาน การแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และการสรุป ปรับแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำได้ทราบถึงแผนงาน เกิดกลุ่มแกนนำตามบทบาท ขับเคลื่อนงาน

  1. การแบ่งบทบาทหน้าที่
  2. การแบ่งกลุ่มรับผิดชอบกลุ่มอาชีพ

 

15 0

5. กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19

วันที่ 25 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เวทีชี้แจงโครงการ ผู้เข้าร่วม แกนนำจำนวน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 30 คน สร้างความเข้าใจต่อโครงการ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของโครงการ การจัดตั้งคณะทำงานพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการทำงาน โดยร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีคณะทำงานแกนนำ ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้นำ อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครพัฒนาชุมชน อาสาสมัครพัฒนาังคม เกษตรอาสา ผู้นำสตรี กลุ่มแม่บ้าน กรรมการมัสยิด เยาวชน กลุ่มออมทรัพย์ฯและผูัได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 45 คน
  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการทำงาน ทีมเก็บข้อมูล 3 คน ทีมติดตามผลการดำเนินงาน ประเมินผล 5 คน ทีมผู้ประสานงาน จัดกระบวนการ 7 คน
    เกิดข้อตกลง ในการจัดกิจกรรม

 

45 0

6. กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชน

วันที่ 29 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย 45 คน  โดยมี       คณะทำงาน 15 คน
      ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 30 คน ประชุม เพื่อจัดทำข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ในการจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเสันทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการสถานการณ์โรคโควิด-19 นำกระบวกการพูดในเวทีโดย นางฮานาน มะยีแต ผอ.รพสต.ปุยุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 30 พ.ค. 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรามง ม.1 ต.ปุยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี การจัดกิจกรรม เวทีคืนข้อมูลและการจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในสถานการณ์วิกฤติ ผู้เข้าร่วมประชุม ครบตามเป้าหมาย โดยมี คณะทำงาน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบ 30 คน ได้ขออนุเราะห์ วิทยากรจาก อนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด นำกระบวนการ การจัดทำข้อมูลเพื่อการจัดทำแผน ผลที่ได้รับ ได้มีการเตรียมโซนเพื่อการรองรับสถานการณ์ โดยมี การเตรียมการปลูกผัก เพื่อให้คนในชุมชนได้มีแหล่งอาหาร เวทีนี้ ได้เกิดผู้นำกลุ่มที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีความเอื้ออาทร นายตูแวรอมาลี ลอจิ ในการนำการเป็นผู้นำและต้นแบบในการประกอบอาชีพเสริมของการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง และเพื่อขายเสริมรายได้ในครัวเรือน

 

45 0

7. กิจกรรมที่ 5 อบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผนเผชิญเหตุเชิง ปฏิบัติงาน

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม เวทีจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มในสถานการณ์วิกฤติ 20 มิถุนายน 2564
ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรามง หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  คณะทำงาน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบ 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรม เวทีจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มในสถานการณ์วิกฤติ 20 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรามง หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบ 15 คน

กระบวนการกิจกรรม ได้เชิญวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลปุยุด ในการนำกระบวนการพูดคุย เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน

  • แผนที่ 1 แผนการด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนให้พอกับความต้องการของคนในชุมชน กิจกรรมการปลูกผักเป็นหนึ่งกิจกกรมแผนด้านความมั่นคงทางอาหารในช่วงวิกฤติ และได้เพิ่มอีก 1 กิจกรรมกลุ่ม คือ การเพาะเห็ดนางฟ้า
  • แผนที่ 2 แผนการจัดหาตลาด เพื่อกระจายผลผลิตทางด้านเกษตร ตลาดในหมู่บ้าน ในตำบลและชุมชนข้างเคียง และตลาดออนไลน์ เน้นผักที่ปลอดสารพิษ ทานแล้วได้สุขภาพ และเป็นที่ตลาดต้องการ
  • แผนที่3 การป้องกัน และการแก้ไขหากสถานการณ์ระบาด โดยจัดให้ความรู้การป้องกันตนเอง และการสอดส่องดูแลคนในชุมชน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีอาการ เพื่อการป้องกันการระบาด
  • แผนที่ 4 การแปรรูปผลผลิตที่มีอยู่ในชุมชน ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่นการทำอาหารกล่องขาย ในช่วงโรคระบาด รับออเด้ออาหารตามสั่งและบริการจัดส่ง

นักพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และจะเสนอในที่ประชุมผู้บริหาร เพื่อเสนอให้มีการสนับสนุนในกิจกรรมนี้ต่อไป

 

45 0

8. กิจกรรมที่ 6 อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรามง หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  คณะทำงาน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบ 30คน โดยขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากพัฒนาชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวทีอบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน วิทยากรนักพัฒนาชุมชนจากองค์การบริหารส่วนตำบลปุยุด มาให้ความรู้ หลักการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนแบบง่าย และการส่งเสริมการออม  ผู้เข้าอบรมเข้าใจ และพร้อมปฏิบัติ เพื่อรับกับสถานการณ์โรคระบาดที่ปัญหาทางเศรษฐกิจรุมเร้า การมีความรู้การจัดการด้านการเงิน เป็นเกราะป้องกันเป็นอย่างดี

 

45 0

9. กิจกรรมที่ 8 จัดตั้งกลุ่มกลุ่มอาชีพ การออมและการลงหุ้น

วันที่ 4 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การออมและการหุ้น ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรามง หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  คณะทำงาน 15 คน ผู้ได้รับผลกระทบ 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวทีให้ความรู้ การส่งเสริมการออมและการหุ้น โดยวิทยากรจาก พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี คุณค่าของการออม หลักการออม การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การบริหารกลุ่มที่ดี หลักการออมทรัพย์ การทำข้อบังคับกลุ่ม วัตถุประสงค์ และการลงหุ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกลุ่ม และการจัดสวัสดิการให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชน ผลตอบรับ สมาชิกมีความพร้อม และเริ่มเก็บหุ้นเดือนหน้า และจะเริ่มออมเงินทุกเดือน

 

45 0

10. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 12 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม แกนนำจำนวน 15 คน เพื่อการติดตาม นำเสนอผลการดำเนินงาน การจัดฐานข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 เพื่อปรับแผนการส่งเสริมอาชีพและความมั่นคงทางอาหารแบบมีส่วนร่วม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน คณะทำงานได้จัดทำฐานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด 19 จำนวน 30 คน ได้แบ่งกลุ่มกิจกรรมตามที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ

  1. กลุ่มผัก 17 คน (ปลูกผัก  ปลูกพริก ตะไคร้ )
  2. กลุ่มทำพิมเสม 5 คน (การทำพิมเสม ยาหม่อง น้ำมันเหลือง ลูกประคบ)
  3. กลุ่มเพาะเห็ด 5 คน (เป็นกลุ่มที่แตกย่อยจากกลุ่มผัก กลุ่มนี้ได้ต่อยอดจากที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้สนับสนุนโรงเรือน)
  4. กลุ่มจำหน่ายผลผลิต 3 คน (เป็นกลุ่มที่แตกย่อยจากกลุ่มผัก โดยการจัดทำสลัดผักจำหน่าย วางรับออเดอ้อผัก/เห็ด และรับออเด้ออาหารจากศูนย์กักกัน (LC) ตำบลปูยุด ได้แบ่งโซน

 

15 0

11. กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ)

วันที่ 27 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การอบรมพัฒนนาทักษะอาชีพ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน และคณะทำงานจำนวน 15 คน
การอบรมให้ความรู้ในวันนี้ มี 3 วิชาความรู้

  1. การอบรมทักษะความรู้การปลูกผัก
  2. การทำปุ๋ยหมัก ได้เชิญปราชญ์ในชุมชน นายตูแวรอมาลี ลอจิ ที่มีความรู้ความชำนาญในการปลูกผักและการทำปุ๋ยหมักใช้ในการปลูกผัก
  3. การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ โดย วิทยากร ครูบัญชีอาสา จากสำนักงานตรวจบัญชีจังหวัดปัตตานี นางสาวนิมาเรียม ราโมง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก  และการจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพและการทำบัญชีครัวเรือนแบบง่าย

 

45 0

12. กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่ 1

วันที่ 6 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 15 คน ลงติดตาม ประชุมกลุ่มอาชีพ ติดตามการออม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มอาชีพ 30 คน มีการออมทรัพย์ เดือนละ 50 บาท อย่างต่อเนื่อง โดยฝากที่กลุ่มออมทรัพย์บ้านรามง

 

45 0

13. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 13 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 15 คน การรายงานผลการติดตามและการรายแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน

  • ได้แผนงานกิจกรรม
  • ได้รับทราบปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19

 

15 0

14. กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (เพาะเห็ดนางฟ้า)

วันที่ 28 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อเชื้อก้อนเห็ดนางฟ้า จำนวน 500 ก้อน ได้รับการสนับสนุนโรงเรือนเพาะเห็ดจากองค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด จำนวน 1 โรง ได้ขอความอนุเคราะห์วิทยากรให้ความรู้จากเกษตรอำเภอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เพิ่มกิจกรรมอาชีพ 1 กิจกรรม กลุ่มได้มีกิจกรรมและรายได้เพิ่ม

 

45 0

15. กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่ 2

วันที่ 11 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

การติดตามประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน
การจัดกลุ่มพูดคุย สอบถามความคืบหน้าการออม  การทำบัญชี  ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขของปัญหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการติดตาม  การทำบัญชีกลุ่มการทำบัญชีต้นทุน กลุ่มทำได้ดีพอสมควร แต่การทำบัญชีครัวเรือน สมาชิกมีการขาดการบัญทึกบ้างบางคน เนื่องจากความที่ไม่เคยทำ จึงมีความรู้สึกยาก แนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ทางทีคณะทำงาน จึงแนะนำให้มีการจดบัญทึกแบบง่าย และจดหัวข้อใหญ่ เช่นการบัญทึกค่าอาหารจะไม่แยกแยะ ให้ทำรวมทั้งหมดที่จ่ายในในการค่าอาหารทั้งวัน ทำให้เกิดความง่ายขึ้น

 

35 0

16. กิจกรรมที่ 11 การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด

วันที่ 19 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวที โดยมีเป้าหมาย คณะทำงาน 15 คน  ผู้เข้าร่สมโครงการ 30 คน โดยเชิญวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปัตตานี มาไห้ความรู้ แนวทางการตลาด การเชื่อมโยงเครือข่ายในชุมชน เพื่อขยายตลาด การสร้างตลาดออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความรู้ในการบริหารจัดการตลาด  การจัดการเรื่องผลิตภัณฑ์ ฝ่านผลิต ฝ่ายขาย  และได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผักสดสู่การเป็นผัก GMP ได้มีการดำเนินการส่งตรวจ 1 ฟาร์ม  และส่งเสริมให้กลุ่มปลูกผักในชุมชนในการพัฒนาสู่การปลูกผักที่มีคุณภาพต่อไป จากการประชุมสร้างเครือข่ายในชุมชน ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปัตตานี ได้เสนอตลาดเพื่อการขายผักที่ตลาดหน้าอำเภอ ทุกวันศุกร์ และพร้อมที่จะสนับสนุนต่อไป  ทางเกษตรอำเภอ ได้ตอบรับและส่งเสริมในการจดวิสาหกิจชุมชน และได้สนับสนุนแคร่ปลูกผัก จำนวน 2 แคร่ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตร (กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้) และพร้อมที่จะสนับสนุนเรื่องความรู้และเมล็ดพันธ์ต่อ พร้อมชี้แนวทางการตลอดหน้าสำนักงานเกษตรทุกวันพุธ

 

45 0

17. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

วันที่ 25 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามประเมินการออมและการทำบัญชีครัวเรือนกับกลุ่มปลูกผัก เพื่อสร้างความเข้าใจและการทำการบัญทึกบัญชีอย่าสม่ำเสมอ โดยการทไบัญทึกการทำบัญชีแบบง่ายๆในสมุดบันทึกที่ได้จากสำนักงานตรวจสอบบัญชีจังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มได้บัญทึกบัญชีต้นทุนอาชีพ  และมีการบันทึกบัญชีครัวเรือนแบบง่าย  และได้ติดตามการออมเงินของกลุ่มสมาชิกกลุ่มปลูกผัก เพื่อสร้างวินัยในการออมที่ดี และสามารถมีเงินออมไว้เป็นต้นทุนในการเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

 

35 0

18. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 17 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะทำงาน จำนวน 15 คน ดังนี้

  1. นางรอมละ ราโมง
  2. นายบือราเฮง แวน๊ะ
  3. น.ส.นิเมาะ สาและอูเซ็ง
  4. น.ส.ซูมัยยัมส์ กะลูแป
  5. น.ส.อรอฟะห์ ลอจิ
  6. นายรอสดี กะลูแป
  7. นายรอซาลี กะลูแป
  8. นายอิสมาอัล กะลูแป
  9. นายนิเละ เจะเละ
  10. น.ส.วันรอฟีอะห์ แวมายิ
  11. น.ส.ฟาตีฮะห์ สะตายา
  12. นายอิสมาอัล กะลูแป
  13. นายอัลฟาน กาแม
  14. นายอับดุลอาสิ กะลูแป
  15. นายยะห์ยา กะลูแป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ณ สวนน้ำบ้านรามง ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน
น.ส.นิเมาะ สาและอูเซ็ง ได้รายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มปลูกผักสวนครัว
กลุ่มที่มีการปลูกยกแคร่ มีอยู่ 10 คน คือ

  1. นายนิแอ ราโมง
  2. น.ส.อรอฟะห์ ลอจิ
  3. นางยามีเราะห์ ลอจิ
  4. นางซัลวานี แวสาแล
  5. นายมะกอเซ็ง โตะนุ
  6. นางกัสมา ยือลาแป
  7. น.ส.นิกอรีเยาะ กะลูแป
  8. นายรอมือลี กะลูแป
  9. นางแวลีเมาะ มะแซ
  10. นางอัซนะห์ กะลูแป

ปลูกผักบนแคร่ ตอนนี้สามารถปลูกได้อย่างต่อเนื่อง มีการเก็บผลผลิตจำหน่ายแล้ว สองรอบ ทำไห้เกิดรายได้และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่วนของนายตูแวรอมาลี ลอจิ และครอบครัว ได้เช่าที่ปลูกใหม่ เป็นฟาร์มที่แยกออกจากกลุ่ม ตอนนี้กลายเป็นอาชีพของสมาชิกในครอบครัว เดือนพฤศจิกายนนี้ เริ่มเก็บผลผลิต และเริ่มการจดบัญชีต้นทุน เพื่อจะได้ทราบถึงรายรับ/รายจ่ายในอาชีพการปลูกผัก

กลุ่มปลูกผักบนแปลงดิน 15 คน ดังนี้
1.นางนูรีเยาะ กะลูแป 2. นางดอลีปะห์ แวอาลี 3. นางนิบูงอ เตะแต 4. นางกอลีเยาะ กะลูแป 5.นายดือราแม กะลูแ ป 6. นางแยนะ กาโฮง 7. นายรุสลัน กาโฮง 8.นางแวรอฮานา มามะ 9.นางนุรมา สาเมาะ 10. นางปาตีเมาะ กะลูแป 11.นางมารียะ กะลูแป 12.นางเซาดะห์ กะลูแป 13. นางสารีปะห์ มูฮิ 14. นางจุไรรัตน์ สตาปอ 15.นางมะซง บาเหม สำหรับกลุ่มปลูกผักบนแปลง เนื่องจากพื้นที่เป็นที่รายลุ่ม ง่ายต่อการน้ำขังในแปลง ทำไห้การปลูกผักต้องชะงัก และย้ายการปลูกไปอีกที่ ซึ่งมีการลงปลูกพริกขี้หนูสวน ซึ่งอาจไห้ผลผลิตช้าลงหน่อย แต่พริกสามารถขายได้ตลอด เป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการเช่นกัน ซึ่งตอนนี้ได้ลงปลูกแล้ว 500 ต้น ในสวนของแวเสาะ กะดอง ซึ่งปลูกในสวนยางที่ยังเล็ก ส่วนนางแยนะ กาโฮง ลูกชายได้ย้ายแปลงไปปลูกอีกที่ เพราะเวลาน้ำขังจะทำไห้รากผักติดเชื้อรา จึงต้องย้ายที่ปลูก ทำการยกแคร่ใหม่
กลุ่ม พิมเสนน้ำสมุนไพร มี 5 คน ดังนี้

  1. นางเจะซาลมา ราโมง
  2. นางขอลีเยาะ ลูดิน
  3. น.ส.นิมาเรียม ราโมง
  4. น.ส.เจะรอปีอะห์ กะลูแป

กลุ่มทำพิมเสนน้ำ ได้ผลิต พิมเสนน้ำ ยาหม่องเหลืองไพร น้ำมันเหลือง และน้ำมันนวดเข่าสำหรับผู้สูงอายุ

  • นายยะห์ยา กะลูแป ได้รายงานถึงการออมของสมาชิก ทั้ง 30 คน ที่ได้มีการออม ตอนนี้ ทุกคนออม 30 บาทต่อเดือน 20 คน และออม 100 ต่อเดือน 10 คน ในการนี้ นางรอมละ ราโมง ซึ่งเป็นประธานในกลุ่มออมทรัพย์ ได้มีการเตรียมจัดให้มีสวัสดิการให้กับกลุ่มสมาชิก และในอนาคตจะเป็นทุนหมุนเวียน นายรอสดี กะลูแป ได้รายงาน ผลการดำเนินงานของกลุ่มทำเห็ดนางฟ้า เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ด้วยที่มีต้นทุนสูง จากการที่ได้บันทึก ผลกำไรได้ต่ำ เพราะต้นทุนซื้อก้อนเชื้อแพง ซึ่งในอนาคตจึงขอเสนอแผนการจัดอบรมทำเชื้อเห็ดเอง เพื่อลดต้นทุน และคิดว่าจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ ทางนางรอมละ ราโมง ได้รับเรื่องและเตรียมประสานกับเกษตรอำเภอเพื่อประสานวิทยากรในการที่จะอบรมทำเชื้อก้อนเห็ดเอง
  • สำหรับฝ่ายจัดการตลาดขายผลิตภัณฑ์นั้น ทางนางรอมละ ราโมงได้ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด และทาง องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุดได้จัดซื้อซุ้มขายผัก 1 เรือน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการจัดขายผลผลิตต่อไป และได้จัดให้นายรอสดี กะลูแป เป็นฝ่ายจัดส่งออร์เด้อผักในตำบล มอบหมายให้นางสาวนิเมาะ สาและอุเซ็ง เป็นฝ่านการตลาดในโซเซียล โดยการโพสต์ขายในเฟสบุ๊คและเพจของชุมชน
  • มติในการประชุม ทุกคนรับทราบ
  • น.ส.ซูมัยยัมส์ กะลูแป ได้แจ้งแผนกิจกรรมครั้งต่อไป วันที่ 24 ตุลาคม 2564 จะลงติดตามกลุ่มอาชีพครั้งที่ 4

 

15 0

19. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3

วันที่ 24 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

24  ตุลาคม 2564 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ผู้เข้าร่วม 45 คน  โดยจากคณะทำงาน 15 คน กลุ่มอาชีพ 30 คน การติดตามแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกลงติดตามกลุ่มปลูกผักยกแคร่ด้วยระบบดินและระบบน้ำ  และกลุ่มปลูกผักสวนครัวแบบแปลงบนดิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ผู้เข้าร่วม 45 คน โดยจากคณะทำงาน 15 คน กลุ่มอาชีพ 30 คน

การติดตามแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกลงติดตามกลุ่มปลูกผักยกแคร่ด้วยระบบดินและระบบน้ำ และกลุ่มปลูกผักสวนครัวแบบแปลงบนดิน การติดตามประเมินกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม คณะทำงานได้แบ่งเป็นสองทีม ทีมที่ 1 ได้ซึ่งติดตามกลุ่มปลูกผักยกแคร่ด้วยดิน ลุ่มยกแคร่ที่ปลูกด้วยน้ำ ในช่วงเช้า และช่วงบ่ายได้ติดตามกลุ่มปลูกผักในแปลงดิน

  • การติดตามของกลุ่มที่ 1 กลุ่มปลูกผักยกแคร่ ได้ลงติดตามฟาร์มที่ 1 ของนายตูแวรอมาลี ลอจิ ซึ่งได้แยกปลูกมาเช่าที่สำหรับการปลูกผักโดยเฉพาะ ได้มีการผสมผสานการปลูกผักยกแคร่กับการปลูกบนดิน เนื่องจากการปลูกผักยกแคร่ต้องใช้ต้นทุนในการจัดทำแคร่สูง ทางทีมงานได้แนะนำให้ทำบัญชีต้นทุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งวันนี้ทางตูแวรอมาลี ลอจิ ได้เนอแนะให้นางรอมละ ราโมง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ยื่นเอกสารกับเกษตรในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น ซึ่งสำหรับเรื่องนี้ ทางนางรอมละ ราโมง ได้รับเรื่อง และจะประสานกับเกษตรอำเภอเป็นขั้นตอนต่อไป จากนั้นได้ลงติดตามกลุ่มปลูกผักไฮโดรโปนิก (ปลูกผักด้วยน้ำ) และการปลูกผสมผสานกับปลูกบนดิน กลุ่มนี้ได้ผลผลิตดีมาก ได้ส่งผักอย่างสม่ำเสมอ และกำลังจะขยายการปลูก ซื้อกล่องโฟมขึ้น จากรายได้ที่ได้ขายผัก
  • ในช่วงบ่ายทางคณะทำงานได้ลงติดตามกลุ่มอาชีพที่ปลูกผักสวนครัว การปลูกพริก ตะไคร้ ถั่วฝักยาว  นางแวเสาะ กะดอง ได้กล่าวว่า การปลูกพริกเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ต่อไปจะเริ่มขยายการปลูกไห้มากขึ้น จากการคำนวณ ถ้าได้ต้นละ 10 บาท ถ้าเราปลูก 1000 ต้น เราสามารถมีรายได้ 10,000 บาท ทุกอย่าง คิดและเริ่มทำ เราก็สามารถคำนวณรายได้ของเราได้เลย เพราะพริกตลาดต้องการมาก

 

35 0

20. กิจกรรมที่ 12 สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)

วันที่ 31 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

31 ตุลาคม 2564 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
ผู้เข้าร่วม คณะทำงาน 15 คน  กลุ่มอาชีพ 30 คน ผู้เข้าร่วมครบตามแผนงานกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

31 ตุลาคม 2564 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
ผู้เข้าร่วม คณะทำงาน 15 คน กลุ่มอาชีพ 30 คน ผู้เข้าร่วมครบตามแผนงานกิจกรรม

การพูดคุยและการเล่าเรื่องราว ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ได้รับ และสิ่งที่คาดว่าเดินต่อ นำโดย ผู้อำนวยการอนามัยเฉลิมพระเกียรติตำบลปูยุด นางฮานาน มะยีแต

  • กลุ่มปลูกผักยกแคร่ ได้พูดถึงความสำเร็จของกลุ่ม จากการดำเนินงานตามกิจกรรม ทำไห้สมาชิกกลุ่มมีรายได้ การปลูกผักยกแคร่ ทำไห้สะดวกต่อการดูแล ทำไห้ไม่ปวดเอว วัชพืชน้อยลง สามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น
  • การปลูกผักด้วยดิน ต้องมีเวลาเตรียมดิน รดน้ำ ดูแลวัชพืช สำหรับการปลูกด้วยไฮโดร ไม่ต้องรดน้ำ แค่เราดูแลระบบน้ำและการให้อาหารปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของผักแต่ละชนิด นางอัซนะห์ เล่าว่า ตนเองแพ้สารเคมี แม้แต่ปุ๋ยเอปุ๋ยบี ตนเองยังแพ้เลย จึงเลือกที่จะปลูกด้วยดิน
  • นางแวเสาะ กะดอง ตัวแทนปลูกพริก ตะไคร้ มะเขือ เล่าถึงรายได้ เพิ่มขึ้น การออมเงินทุกเดือน 130 บาทต่อเดือน อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ตนทำบัญชีรายรับรายจ่าย เห็นความชัดเจนของการเปลี่ยนแปลง
  • นางรอมละ ราโมง ได้เตรียมกลุ่มจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน 15 คน
  • การปลูกผักสร้างอาชีพ สร้างเส้นทางอาหารให้กับคนในชุมชนในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด -19 ถือว่าเป็นทางรอดทั้งทางด้านรายได้ และสุขภาพเป็นอย่างดี นางซัลวาณี แวสาแล พูดถึงกลุ่มของตนเอง ที่สามารถช่วยครอบครัว รู้สึกปลาบปลื้ม แผนในปีหน้า หลังจากสถานการณ์โควิดซาลง ตนเองจะเปิดร้านข้าว รับซื้อผักในชุมชน และจะปลูกผักไปด้วย
  • นายตูแวรอมาลี ลอจิ พูดถึงฟาร์มผักของตัวเองที่จะเริ่มเปิด ชื่อฟาร์ม ตูแวรอมาลีการ์เด้น จากการบันทึกรายได้ เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนตอนนี้ 9000 บาทต่อเดือน ซึ่งก็มากเพียงพอกับรายได้วัยเกษียน และเป็นการปูเส้นทางให้กับลูกที่ตกงานในช่วงโควิดได้มีงานสร้างอาชีพ สร้างสุขภาพจิตได้ดี
  • นางฮานาน มะยีแต ได้กล่าวปิดท้ายว่า นี่แหละ รามงโมเดล

 

45 0

21. กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 12 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่าน ปัญหาอุปสรรค ผลกระทบที่ได้รับจากกิจกรรม
  • กลุ่มอาชีพได้มีการออม การลงหุ้น การจดวิสาหกิจชุมชน ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนตำบลในการสนับวนุนแคร่จำหน่ายผัก และสนับสนุนโรงเรือนเพาะเห็น ทำให้เกิดกิจกรรมเพิ่ม

 

15 0

22. เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับ สสส.

วันที่ 25 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ ระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์น แอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดยหน่วยจัดการโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID- 19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. พื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยโครงการละ 2 คน 15 โครงการ รวม 30 คน 2.หน่วยจัดการและพี่ เลี้ยงจังหวัด รวม 7 คน

วันที่ 24 ธันวาคม 64

  • 16.00 – 17.00 น. เช็คอินเข้าพักที่โรงแรม
  • 17.00 – 18.30 น. เตรียมปฏิบัติภารกิจส่วนตัว
  • 18.30 – 20.30 น. หน่วยจัดการ/พี่เลี้ยง ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม ผู้รับผิ ดชอบโครงการ เตรียมตัวกิจกรรมนำเสนอ

วันที่ 25 ธันวาคม 64

  • 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 09.00 - 09.30 น. เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะ ดำ ผู้จัดการโครงการฯ
  • 09.30 - 10.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที
  • 10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที
  • 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 - 15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 20 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที - 15.30 – 16.30 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความรอบรู้ เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ
  • 16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
  • 18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
  • 19.00 – 21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆจะทำโครงการเกี่ยวกับการ สร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและขั้นตอน อย่างไร” พร้อมนำเสนอ

วันที่ 26 ธันวาคม 64

  • 08.30 - 09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ /สร้างสัมพันธ์
  • 09.00 - 10.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่สำเร็จ และสิ่ง ที่ได้เรียนรู้(บทเรียน) ” พร้อมนำเสนอ
  • 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 –12.00 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านกิจกรรม
  • 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ
  • 13.00 – 14.30 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน (ต่อ)
  • 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 14.45 – 15.30 น. ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงินโครงการย่อย
  • 15.30 น.-16.00 น. สรุปเวทีและปิดการประชุม โดย นายสุวิทย์ หมาดอะดำ หัวหน้าหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้

ผลลัพธ์ด้าน จำนวน ของคนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (ดึงจากข้อมูล excel) ผลลัพธ์ด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้)และผลลัพธ์ด้านการสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร) กลยุทธ์ /วิธีการดำเนินโครงการด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้) และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร) มีหน่วยงานใดบ้างมาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ บทเรียน/ข้อเรียนรู้สำหรับการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกับภาคีเครือข่าย
  • ชุมชนมีการรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

 

3 0

23. ไปหาพี่เลี้ยง

วันที่ 25 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน ฝ่ายจัดทำข้อมูลรายงานสรุปโครงการได้เดินทางไปหาพี่เลี้ยง ณ สำนักงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
เพื่อเรียนรู้การจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้เรียนรู้เพิ่มเติมในการสรุปข้อมูล และการจัดทำรายงาน การคีย์ข้อมูลลงในระบบ

 

3 0

24. ไปหาพี่เลี้ยง

วันที่ 28 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานฝ่ายจัดทำรายงาน จำนวน 3 คน เดินทางไปสำนักงานพี่เลี้ยงเพื่อเรียนรู้การจัดทำรายงานเพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้รับความรู้และได้จัดทำรายงานสรุปโครงการ

 

3 0

25. ไปหาพี่เลี้ยง

วันที่ 28 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานฝ่ายจัดทำรายงาน จำนวน 3 คน เดินทางไปสำนักงานพี่เลี้ยงเพื่อเรียนรู้การจัดทำรายงานเพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้รับความรู้และได้จัดทำรายงานสรุปโครงการ

 

3 0

26. จัดทำรายงานสรุปโครงการ

วันที่ 31 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน จำนวน 15 คน
ได้ระดมข้อมูลเพื่อการจัดทำข้อมูล เพื่อการคีย์ข้อมูลในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้ข้อสรุป
คณะทำงานฝ่ายจัดรวบรวมข้อมูลได้ข้อมูลเพื่อคีย์ในระบบ คณะทำงานได้สรุปผลการดำเนินงาน และคีย์ในระบบ

 

15 0

27. กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1

วันที่ 6 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 15 คน  ได้ลงติดตามกลุ่มอาชีพ 30 คน ในเรื่องการออม
การพูดคุย การสัมภาษณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการติดตาม กลุ่มอาชีพมีการออมเงิน 30 คน โดยมอบหมายให้กลุ่มออมทรัพย์เป็นผู้ดูแล

 

45 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระจากการระบาดโควิด 19
ตัวชี้วัด : 1.เชิงปริมาณ - ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงินการทำบัญชีราย-รายจ่ายในครัวเรือน - ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3อ 2ส 2.เชิงคุณภาพ - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม - มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองได้
1.00

 

2 เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19
ตัวชี้วัด : 1. เชิงปริมาณ มีกลุ่มอาชีพ มีระบบการจัดการกลุ่มและมีการออม 2. เชิงคุณภาพ - ผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน มีอาชีพ มีรายได้และมีการออม
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระจากการระบาดโควิด 19 (2) เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศโครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยง สสส. (2) กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ (ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มโครงการ) (3) จัดทำไวนิลโครงการ (4) กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 1 (5) กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 (6) กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชน (7) กิจกรรมที่ 5 อบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผนเผชิญเหตุเชิง ปฏิบัติงาน (8) กิจกรรมที่ 6 อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน (9) กิจกรรมที่ 8 จัดตั้งกลุ่มกลุ่มอาชีพ การออมและการลงหุ้น (10) กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (11) กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ) (12) กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่ 1 (13) กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (14) กิจกรรมที่ 7 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (เพาะเห็ดนางฟ้า) (15) กิจกรรมที่ 9 การติดและการประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  ครั้งที่ 1 (16) กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2 (17) กิจกรรมที่ 11 การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด (18) กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3 (19) กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (20) กิจกรรมที่ 10 การติดและการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3 (21) กิจกรรมที่ 12 สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน) (22) กิจกรรมที่ 3 ประชุมประจำเดือนคณะทำงาน ครั้งที่ 5 (23) เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับ สสส. (24) ไปหาพี่เลี้ยง (25) ไปหาพี่เลี้ยง (26) จัดทำรายงานสรุปโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมอาชีพ บ้านรามง ตำบลปุยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-00214-0010

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางรอมละ ราโมง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด