directions_run

เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ”

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายเจนฤทธิ์ รอเกตุ

ชื่อโครงการ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ที่อยู่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 เมษายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล



บทคัดย่อ

โครงการ " เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 12 เมษายน 2564 - 31 มกราคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 70,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรก คือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ  อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร มีการกักตุนอาหาร ร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด ปิดให้บริการ โรงงานหยุดประกอบกิจการ การขาดแคลนแรงงาน ประชาชนตกงาน มาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก การมีอาหารไม่หลากหลาย ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงานไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อย่างสะดวก และชุมชนก็ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ปรับตัว จนเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอก 2 ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยชุมชนบ้านทุ่ง 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน เพศชาย 507 เพศหญิง 508 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 ชุมชนบ้านทุ่งเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 มีประชากรในหมู่บ้านกลับมาจากมาเลย์เซียจำนวน 18 คน จาก 18 ครัวเรือน การจัดการด้านอาหารของชุมชน ประชาชนในชุมชนมีการปลูกผัก เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อซิเมนต์ เลี่ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ เพื่อบริโภคและจำหน่ายแก่หมู่บ้านใกล้เคียงและส่งขายในตลาดสดในตัวเมืองละงู หลังจากการระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกแรกคลี่คลาย ประชาชนยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่มีการปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตหากมีการระบาดระลอกใหม่ขึ้นมา จนกระทั้งมีการระบาดระลอก 2 ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญในการจัดการ การดำรงชีวิตประจำวัน การจัดการด้านอาหารที่มีอยู่ในชุมชน จึงมีความคิดที่จะจัดการให้ชุมชนและครัวเรือนมีอาหารในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ ไม่ต้องพึ่งพาสังคมภายนอก เมื่อชุมชนบ้านทุ่งมีทรัพยากรในการดำรงชีวิตในชุมชนอยู่แล้ว ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มต่างๆมากมาย เช่น กลุ่มแม่อาสา กลุ่มขนมพื้นบ้าน กลุ่มเลี้ยงปลาดุก กลุ่มน้ำยาง กลุ่มรักสุขภาพ กลุ่มเยาวชนและกลุ่มสวัสดิการชุมชน มีตลาดนัดในชุมชน มีร้านชำ ร้านอาหาร และมีพื้นที่ในการประกอบอาชีพอย่างเพียงพอแต่ชุมชนยังไม่การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ยังคงมีการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่มีการจัดการเกี่ยวกับขยะและมูลสัตว์ ไม่มีการแปรรูปอาหารที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอละงู และคณะการหมู่บ้านชุมชนบ้านทุ่ง จึงมีแนวคิดที่จะให้ชุมชนมีการจัดการด้านอาชีพ รายได้และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นแหล่งอาหารทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหารและเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น พชอ.ละงู จึงประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกันพัฒนา ปลูกผักสวนครัวชุมชน เลี้ยงสัตว์ผลผลิตที่ได้นำมาแบ่งปันหรือจำหน่ายในราคาถูกและแปรรูปอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคและจำหน่าย เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน พัฒนาต่อยอดตลาดปันสุขชุมชน เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายพืชผักสวนครัวของชุมชน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสามัคคีในชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19
  2. 2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ปฐมนิเทศโครงการ
  2. เวทีชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงานสำรวจข้อมูล และกำหนดแหล่งผลิต
  3. พบพี่เลี้ยงเพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ
  4. อบรมการปลูกผัก เลี้ยงตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 1/2
  5. อบรมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 2/2
  6. การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม
  7. จัดการช่องทางการตลาด
  8. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 6/9
  9. ถอดเงินเปิดบัญชี
  10. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 2/2
  11. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 7/9
  12. เวทีถอดบทเรียน
  13. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 8/9
  14. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 9/9
  15. กิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ
  16. เวทีสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการร่วมกับโหนด
  17. กิจกรรมทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่
  18. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 1/9
  19. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 2/9
  20. พบพี่เลี้ยงเพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรม
  21. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 3/9
  22. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 4/9
  23. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 1/2
  24. พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลการทำงาน
  25. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 5/9
  26. พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 1
  27. พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 2

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิท 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลไกการทำงานในรูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างพชอ.และชุมชน 2.กลุ่มผลิตอาหารเกิดข้อตกลง มีความรู้ด้านการเงิน สุขภาพ สังคม และความรู้ในการลงมือผลิต
3.ชุมชนเข้าถึงอาหารปลอดภัย มีกลไก พชอ.ร่วมกับชุมชน ติดตามการทำงานต่อเนื่อง 4.เกิดเครือข่ายอาหารของชุมชน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 12 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ เพื่อให้มีความเข้าในในโครงการ ที่มา การจัดกิจกรรม การทำรายงานการเงิน การติดตามโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 2 คนที่เข้าร่วมประชุม ได้ความรู้เรื่องการทำกิจกรรม การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม การทำเอกสารการเงิน การติดต่อกับพี่เลี้ยง

 

2 0

2. กิจกรรมทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่

วันที่ 15 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประสานงาน สั่งทำป้าย เพื่อรณรงค์ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ป้าย โครงการได้ 1 แผ่น

 

2 0

3. เวทีชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงานสำรวจข้อมูล และกำหนดแหล่งผลิต

วันที่ 20 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ภาคเช้า
- ประธานโครงการนายเจนฤทธิ์ รอเกตุ ชี้แจงที่มาของโครงการ กิจกรรมโครงการ
- รับสมัครครัวเรือนแกนนำ 30 ครัวเรือน ในการเป็นแหล่งผลิตอาหารใหม่ /ขยายฐานผลิตเดิม

ภาคบ่าย - สร้างข้อตกลงกลุ่ม
- แบ่งบทบาทหน้าที่
- สำรวจข้อมูลการผลิตอาหารที่มีอยู้เดิม - กำหนดพื้นที่ในการปลูกผักเพิ่ม เลี้ยงสัตว์เพิ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ครัวเรือน แกนนำ 30 ครัวเรือน
  • สำรวข้อมูลการผลิกตอาหารที่มีอยู่เดิม พบว่า ใน 30 ครัวเรือนที่เป็นสมาชิก มีการปลูกผักเดิมดังนี้
  • พริก 29 ครัวเรือน ตะไคร้ 29 ครัวเรือน ขมิ้น 28 ครัวเรือน ผักบุ่ง 10 ครัวเรือน ขิง 8 ครัวเรือน
  • มะกรูด กระเจี๊ยบเขียว ผักกาด ถั่วฝักยาว อย่างละ 2 ครัวเรือน
  • ที่ประชุมสรุปร่วมกันว่า ส่วนใหญ่สมาชิกปลูกผักที่เป็นเครื่องแกง ไม่ใช่ผักที่นิยมบริโภค ซึ่งจากการสำสวจพบว่า สมาชิกนิยมบริโภค บวบ แตงกวา มะเขือ ไซซิ้ม ถั่วฝักยาว จึงมีมติที่ประชุมว่า จะมีการปลูกผักที่หลากหลาย เน้นผักที่นิยมกิน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และนำไปขายได้
  • ดังนั้นกำหนดให้ทุกครัวเรือนเพิ่มพื้นที่การปลูกผัก และเน้นผักที่นิยมกิน
  • การสำรวจการเลี้ยงสัตว์ พบว่า มีการเลี้ยงวัว 7 ครัวเรือน แพะ 9 ครัวเรือน ไก่พื้นเมือง 18 ครัวเรือน และเป็ด 1 ครัวเรือน
  • ที่ประชุมสรุปว่า จะให้มีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และในกระชังเพิ่ม โดยมีครัวเรือนอาสา 2 ครัวเรือน ยังไม่มีการเลี้ยงสัตว์อื่นเพิ่มเติม
  • ได้กติกาของสมาชิกกลุ่ม ดังนี้
  1. ประชุมร่วมกันที่สภาองค์กรชุมชนทุกสิ้นเดือน
  2. ร่วมกันปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร
  3. จดบันทึกรายได้ การนำมาบริโภค และทำบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอ

- จากนั้น ประธานได้ชี้แจงหน้าที่ของแกนนำโครงการ ดังนี้ 1. นางก่อเดี้ยะ มีหน้าที่ชี้แจงกิจกรรมโครงการ สรุปผลการทำงานชี้แจงแก่สมาชิก คอยช่วยเหลือแก้ปัญหาให้แกนนำและสมาชิก 2. นางอารีย์ หวันสู ทำหน้าที่ประสานงาน ชักชวนสมาชิกมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยน 3. นางวันลัย เบ็ญหลัง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จากสมาชิก 4. นางสาวไหมมูน๊ะ นิ้วหลี ทำหน้าที่่ประมวลผลข้อมูล ทำรายงาน ทำเอกสารการเงิน 5. นายดาหลัน ง๊ะสยัง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกผัก และผลผลิต

 

50 0

4. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 1/9

วันที่ 30 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประธานโครงการ นายเจนฤทธิ์ เปิดประชุม ชี้แจงการดำเนินงานโครงการดังนี้

  • แนะนำแกนนำโครงการนางก่อเดี็ยะ นิ้วหลีและทีมงาน
  • ชี้แจ้งกิจกรรมโครงการ ซึ่งได้แก่ เวทีชี้แจงโครงการ การประชุมคณะทำงาน การอบรมปลูกผักเลี้ยงปลา การอบรมบัญชีครัวเรือน สุขภาพ เศรษฐกิจ การจัดหาช่องทางการตลาด การแลกเปี่ยนเียนรู้ และการถอดบทเรียน
  • การจัดทำกติกาของแกนนำโครงการ ได้แก่ มาประชุมร่วมกันทุกวันที่ 10 ของเดือน แกนนำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้สมาชิกกลุ่ม และแกนนำต้องรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • จากนั้นมีการมอบหมายงานให้แกนนำ ดังนี้ นางก่อเดี้ยะ ประธาน มีหน้าที่ชี้แจงกิจกรรมโครงการ สรุปผลการทำงานชี้แจงแก่สมาชิก คอยช่วยเหลือแก้ปัญหาให้แกนนำและสมาชิก นางอารีย์ หวันสู ทำหน้าที่ประสานงาน ชักชวนสมาชิกมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยน นางวันลัย เบ็ญหลัง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จากสมาชิก นางสาวไหมมูน๊ะ นิ้วหลี ทำหน้าที่่ประมวลผลข้อมูล ทำรายงาน ทำเอกสารการเงิน นายดาหลัน ง๊ะสยัง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกผัก และผลผลิต
  • ประธานชี้แจงแผนการทำงานด้วยปฏิทินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกแกนนำโครงการได้ทราบวิธีการดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • สมาชิกทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง
  • เกิดแผนการทำงานด้วยปฏิทินโครงการ

 

15 0

5. พบพี่เลี้ยงเพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ

วันที่ 2 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

พบพี่เลี้ยงเตรียมการอบรมทักษะการเงินบัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 

 

3 0

6. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 2/9

วันที่ 16 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • แกนนำโครงการร่วมกันทบทวนบทบาทหน้าที่ตนเอง และมอบหมายให้กิจกรรมการอบรมมีนางสาวไหมมูน๊ะ นิ้วหลีทำหน้าที่ติดต่อเชิญวิทยากร
  • แกนนำร่วมกันกำหนดกติกาของแกนนำ ดังนี้
  1. ประชุมร่วมกันทุกสิ้นเดือน
  2. ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  3. เป็นตัวอย่างในการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร 4 . จดบันทึกผลงานและทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

- ที่ประชุมเสนอให้เชิญนายดาหลัน งะสยัง ทำงานที่สำนักงานพัฒนาที่ดินอำเภอละงู ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร มาเป็นวิทยากร - เรื่องที่ต้องการให้วิทยากรมาให้ความรู้ ได้แก่ การเตรียมดินเพื่อให้ปลูกผักขึ้นงาม การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ - การเลี้ยงปลาดุก เชิญวิทยากรจากประมงน้ำจืด และขอสนับสนุนพันธุ์ปลา - แบ่งการทำกิจกรรมนี้เป็น 2 ครั้ง ครังแรก เป็นการอบรมให้ความรู้ ครั้งที่สองเป็นการลงมือทำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดกติการ่วมของแกนนำ 4 ข้อ
  • เกิดการเตรียมงานกิจกรรมอบรมการปลูกผัก เลี้ยงปลา

 

15 0

7. อบรมการปลูกผัก เลี้ยงตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 1/2

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ครั้งที่ 1 อบรมเชิงปฎิบัติการ เน้นการผลิต อาหารที่ปลอดภัย มีสมาชิกโครงการและคนที่สนใจเข้าร่วมรวม 40 คน มีนายดาลัน ง๊ะสมัน เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาที่ดิน มาเป็นวิทยากร เรื่อง การปลูกผัก และนายอารีย์ ติงหวัง มาบรรยายเรื่อง การทำปุ่๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ - การเตรียมพื้นที่ เตรียมดินปลูก ควรสะสางวัชพืช หญ้าออก ยกแปลงให้สูงกันน้ำท่วม ผสมขี้วัว แกลบหรือฟางเพื่อให้เป็นปุ๋ยและดินมีความโปร่ง

  • การทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยส่วนผสมได้แก่ แกลบ ขี้วัว กากน้ำตาล คลุกให้เข้ากัน รดน้ำแล้วปิดพลาสติกไว้ มาเปิดพลาสติกกลับกองปุ๋ย ทุก 14 วัน ครบ 1 เดือน นำไปใช้ได้สามารถนำไปใช้ได้

  • สอนการปลูกผัก โดยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาโรยที่แปลง เมื่อแตกต้นอ่อน 1 สัปดาห์ให้แยกกอออก ปลูกเปฺนแถว เว้นระยะห่าง แต่หากเป็นผักบุ้งสามารถโรยเมล็ดได้เลย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติกิจกรรมการปลูกผัก และได้มีความรู้ในการเตรียมบ่อและวิธีการเลี้ยงปลาได้ นำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ ในชีวิตประจำวันได้มีความรู้ในการเตรียมบ่อและวิธีการเลี้ยงปลาดุก

 

35 0

8. อบรมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 2/2

วันที่ 29 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ครั้งที่ 2 อบรมการปลูกผัก โดย เป็นการนำความรู้จากการอบรม ครั้งที่ 1 มาลงมือปฏิบัติ มีนายดาหลัน งะสยัง จากสำนักงานพัฒยนาที่ดิน อำเภอละงู มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร มาให้ความรู้และร่วมลงมือปฏิบัติ นายอารีย์ ติงหวัง มาร่วมลงมือปฏิบัติเรื่องการทำปุ๋ย

  • การเตรียมดินปลูกผัก โดยการลงมือถากหญ้าและผสมดิน ที่แปลงรวม ณ ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชน

  • การทำปุ๋ยอินทรีย์ ได้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กอง ประมาณ 20 กระสอบ การทำทำโดยการคลุกเคล้าส่วนผสม ได้แก่ ดิน ปุ๋ยคอก แกลบ ระหว่างคลุกเคล้าใช้น้ำหมักโรยไปเรื่อย ๆ ปิดกองปุ๋ยไว้ โดยมากลับกองปุ๋ยและรดน้ำหมักทุก 14 วันรั้ง เมื่อครบสี่อาทิตย์นำไปใช้ได้

  • การทำน้ำหมักชีวภาพ ทำ 1 ถัง 20 ลิตร บรรจุขวดได้ 25 ขวด โดยผสมส่วนผสมผักผลไม้ 80 กิโลกรัม กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ ผดส. 2 ซอง และน้ำ 20ลิตร กวนส่วนผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 45 วัน โดยเปิดฝาคนทุก 3 วัน

  • มีการแจกเมล็ดพันธุ์ผัก และแต่ละคนได้นำปุ๋ยกลับไปใช่ต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิก 40 คน ที่เข้าอบรม

  • เกิดความรู้ในการเตรียมแปลงผัก

  • เกิดทักษะในการทำปุ๋ยหมัก และการทำน้ำหมักชีวภาพ

  • ได้ฝึกปฏิบัติและนำผลผลิตในวันนี้กลับไปหมักต่อ รอ 1 เดือนใช้ได้จริง

  • ผู้เข้าร่วม 40 คน มีความรู้ ได้ลองทำ มีความพึงพอใจในโครงการมาก

 

35 0

9. พบพี่เลี้ยงเพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรม

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำเนื้อหาอบรมการอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม เพื่อจะจัดอบรมให้กับแกนนำในชุมชน ในวันที่ 12 มิถุนายน 2564 ซึ่งได้วางแผน ว่าจะทำหนังสือถึง วิทยากร ที่ให้ความรู้ และเนื้อหาในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพของคนในชุมชน ในด้านการป้องกัน โรคโควิด 19 กับปัจจุบัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำหนังสือ เชิญวิทยากร และกำหนดการในการอบรม ซึ่งมีรายละเอียด 1.ในการอบรมมีการลงทะเบียน
2.การกล่าวเปิดการอบรมโดย นางก่อเดียะ นิ้วหลี 3.หลักสูตรการทำบัญชีครัวเรือน
4. การดูแลสุขภาพ จาก อสม.ในพื้นที่ ที่จะให้ความรู้ เรื่องสุขภาพ

 

3 0

10. การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม

วันที่ 12 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

-คณะทำงานจัดการอบรมแกนนำครัวเรือน โดยเชิญวิทยากรจาก ธกส. สสอ.ละงู และ พมจ.สตูล มาให้ความรู้เรื่อง 1) การทำบัญชีครัวเรือน การจัดการเงินในครัวเรือน วิเคราะห์สถานการณ์การเงินของครัวเรือนตนเอง 2) การรักษาสุขภาพและป้องกันโควิท 19
3) การสนับสนุนของ พมจ.ต่อชุมชนท้องถิ่น - แกนนำคุณก่อเดี๊ยะ นิ้วหลี กล่าวเปิดการอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพและสังคม โดยขอบคุณสมาชิกที่มาเข้าร่วมอบรม ขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้ ขอให้สมาชิกเก็บเกี่ยวความรู้ไปปฏิบัติ
- วิทยากรด้านสุขภาพ โดย อสม. ได้ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิท
1. รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม 2. สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้ 3. หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด 4. ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์ รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน 5. ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม 6. เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดทักษะในการทำบัญชีครัวเรือน
  2. ได้ฝึกปฏิบัติและนำมาทำบัญชีครัวเรือน มาใช้ทำให้รู้ว่ารายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย ต้องการลดค่าใช้จ่าย
  3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ได้ลองทำ และสัญญาว่าจะทำตลอดไป และจะบอกต่อครัวเรือนที่อยู่ไกล้เคียง
  4. ได้รู้ถถึงการดูแลสุขภาพเรื่องโควิด-19 ว่าต้องมีความตระหนักมาในการป้องกันตัวเอง ทำให้ทุกคนมีความตั้งใจที่จะให้ชุมชนในพื้นที่ ห่างไกล กับโรคโควิด-19 ให้มากที่สุด

 

40 0

11. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 3/9

วันที่ 19 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี ได้เปิดการประชุม  ณ สภาองค์กรชุมชนตำบลละงู ซึ่งในวันที่ เรามาประชุมกัน ว่าใครมีอะไรบ้าง
    1.นางวรรณลัย เบ็ญหลัง  แกนนำครัวเรือน โซนกลาง ควรจะให้ผู้นำชุมชน ประชาสัมพันธ์ ในการเลี้ยงสัตว์ของชุมชน ว่าต้องดูและสัตว์ของตัวเองให้ดี ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับคนอื่น  และแนะนำให้ครัวเรื่อนที่ปลูกผัก ทำรัว เพื่อปองกันสัตว์ เลี้ยง เพราะบางคนที่เลี้ยงสัตว์เขาไม่ปฏิบัติตาม 2.นางก่อเดียะ นิ้วหลี  ต่อไปเราต้องให้ชุมชน อนุรักษ์ผักพื้นบ้านด้วยซึ่งอนาคตกลัวจะสูญหายไป มีแต่ผัก ปัจจุบัน เช่น ผักหวานป่า ( ต้นโต๊ะเดะ) หมก ๆ  ถั่วพลู  มะม่วงหิมพาน  ซึ่งต้องอนุรักษ์
    3.นางสาวอารีย์ หวันสู ของให้แกนนำครัวเรือน ทำบัญชีครัวเรือน ให้สม่ำเสมอ และถ้าใครสนใจ จะเอาสมุดทำบัญชีครัวเรือน ทางกลุ่มจะไปขอที่ ธกส.ให้ สืบถามดูว่ามีกี่คนที่ต้องการเอา เพราะการทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์มาก ทำให้ครัวเรือนลดรายจ่ายได้มากขึ้น พอได้เห็นถึงการเปรียบเทียบที่ผ่านมา ใน่ส่วนตัวของตัวเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานติดตาม แปลงผักของตัวเอง และในโซนพื้นที่ของตัวเองรับผิดชอบ
  2. แกนนำครัวเรือน มีความสุขที่เห็นพืชผักของตัวเองในแปลงของแต่ละวัน
  3. มีการนำพันธุ์มาแจก แลกเปลี่ยนกันในการประชุม
  4. มีการนำเสนอวิธีการปลูกที่ให้เห็นผลเร็ว เช่่น การปลูก ต้นหอม ต้องใส่ดินที่เป็นดินที่เผาจากเศษใบไม้ ซึ่งทำให้ต้นหอม เจริญเติบโตเร็วมา
  5. ในครัวเรือน มีการทำกิจกรรมรวมกันครัวเรือน ซึ่ง ลูกของบ้านนางสาวไหมมูน๊ะ ไม่คอยให้ความสนใจในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนกับปลูกผัก ทำให้หันมาสนใจเพิ่มมากขึ้น

 

15 0

12. จัดการช่องทางการตลาด

วันที่ 27 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานจัดเวทีปรึกษาหารือร่วมกับแกนนำและภาคีเครือข่ายภายนอก เพื่อกำหนดช่องการการตลาดภายในชุมชน ภายนอกชุมชน โดยกำหนดสดส่วนให้ขายในชุมชนร้อยละ 80 และขายภายนอกร้อยละ 20 และกำหนดสถานที่ในการทำตลาดชุมชน 1 แห่ง ร้านค้าในชุมชนที่รับสินค้าไปขายอย่างน้อย 2-3 ร้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • แกนนำโครงการจัดการประชุมทีมสมาชิก เพื่อช่วยกันกำหนดช่องทางการขายให้สมาชิกที่เริ่มมีผลผลิต ช่วงโควิทตลาดหลายแห่งปิดตัวลง และสมาชิกก็ไม่กล้าไปขายในตลาด หรือขายในที่ไม่รู้ว่าใครเป็นใครมาจากไหน สมาชิกจึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ช่วยกันเสนอช่องทางการขายดังนี้
  1. ร้านขายก๋วยเตี๋ยว จำนวน 2 ร้าน โดยขายผักบุ้ง และสามารถนำผักอื่น ๆ ไปวางขายด้วย
  2. ร้านขนมจีน จำนวน 1 ร้าน ที่ต่างหมู่บ้าน ซึ่งรับผักทุกชนิด ยิ่งเป็นผักที่ชาวบ้านปลูกเองจะยิ่งขายง่าย
  3. ขายเพื่อนบ้าน โดยการบอกกล่าวว่าเรามีผักอะไรบ้าง เพื่อนบ้านที่รู้จะมาถอนเองแล้วจ่ายเงิน
  4. ขายต่างหมู่บ้านโดยการเก็บผักใส่หน้ารถจักรยานยนต์ไปเร่ขาย ซึ่งผักเราไม่ได้มากมายขับไปแค่บ้านสองบ้านก็หมด เมื่อก่อนขับไปเที่ยวเยี่ยมพูดคุยกับเพื่อนอย่างเดียว ตอนนี้ได้เงินกลับมาด้วย
  5. ขายออนไลน์ คือการโพตส์ลงกลุ่มไลน์ต่างๆ เมื่อได้ออเดอร์แล้วจึงไปส่ง

- แกนนำสรุปการประชุมให้สมาชิกเน้นการจดบันทึกรายได้ที่ขายผลผลิต และการจดบันทึกการเก็บผลผลิตมาบริโภค เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ว่าเราทำแล้วได้อะไร อย่างไร ทำแล้วดีหรือไม่อย่างไร

 

35 0

13. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 4/9

วันที่ 10 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี ได้เปิดการประชุม ณ สภาองค์กรชุมชนตำบลละงู ซึ่งในวันที่ เรามาประชุมกัน เพื่อติดตามการทำงานของครัวเรือนสมาชิก และติดตามการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน
  • ทางครัวเรือนไหนบ้างมีปัญหาอะไรบ้าง ทาง นางอุไรม๊ะ พ่อเหตุ  บัญชีครัวเรือนตอนแรกไม่อยากทำเลย  เพราะว่าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ แต่ทำมา 2 เดือน ทำให้รู้ถึงเงินที่ไม่จำเป็น  ซึ่งเมื่อก่อนคำสึงถึงว่าสิ่งที่ซื้อ หรือจ่ายที่จ่ายไปจำเป็น แต่กลับไม่จริงเลย ทำให้รู้เลยว่าปลูกผัก แล้วก็ทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้เลย
  • นางมารีหย๊ะ  อุสมา เมื่อก่อน ซื้อยาสีฟันหลอดเหล็ก  ทำให้ประหยัด แต่ไม่ใช้เลย พอทำบัญชีครัวเรือน ทำให้รู้ว่้าซื้อหลอดเล็ก หลายครั้งซื้อ ซื้อหลอดใหญ่ดีกว่า
    แลตอนนี้ ได้ติดตามครัวเรือนทีรับผิดชอบ ทุกบ้านมีการปลูกผักเพิ่มขึ้น  เช่น นางรอย๊ะ หมื่นอาด  เมื่อก่อน ไม่ปลูกผักอะไรเลย ตอนนี้มาปลูกขมิ้น ตะไครั้  มะเขือ ทำให้ลดรายจ่าย และกินผิกที่มีประโยชน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานติดตาม แปลงผักของตัวเอง และในโซนพื้นที่ของตัวเองรับผิดชอบ
  2. แกนนำครัวเรือน มีความตื่นเต้นในการปลูกผัก และมีความสุขในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. มีการนำพันธุ์มาแจก แลกเปลี่ยนกันในการประชุม
  4. แกนนำครัวเรือนมีความสุขในการทำกิจกรรมรวมกันครัวเรือน

 

15 0

14. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 1/2

วันที่ 25 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิดตอาหาร
แกนนำครัวเรือน จัดประชุมแกนนนำครัวเรือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดำเนินงานผลิตอาหาร และการจำหน่าย โดยมีการนำบัญชีครัวเรือนมาด้วยส่วนหนึ่ง
นางก่อเดียะ นิ้วหลี ขอให้แกนนำครัวเรือน สรุปผลการดำเนินงานมาของแต่ละโซน

  1. ครัวเรือนแต่ละโซน มีการทำบัญชีครัวเรือน และมีการเพิ่มแหล่งผลิต ของผักบุ้ง ผักกาด กระเจียบเขียว และปลาดุก

  2. การเพราะปลูกของเห็ด มีครัวเรือนสนใจมากขึ้น เพราะว่า ง่ายในการผลิต เห็นผลเร็ว ตลา่ด ในชุมชนต้องการมาก ซึ่งสามารถทำเป็นอาหารได้หลายอย่างมาก ในการทำโครงการครั้งนี้ ขอขอบคุณ กะเดี๊ยะ ที่นำชุมชนได้มีโอกาสทำกิจกรรมและที่สำคัญที่สุดได้ลดรายจ่าย ของครัวเรือน ได้กินผักปลอดสารพิษ และได้ทำกิจกรรมร่วมกันเกิดความสามัคคีของคนในครัวเรือน และในชุมชน
    และเพื่อช่วยกันแบ่งปันกัน ขายในช่องทางต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำครัวเรือน  ช่ายกันแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งร้านค้าต้องการสินค้าที่มีความต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุดเราต้องการการทำงานที่มีแบบแผน  ก้าวพ้นสถานการณ์ โควิดได้ การทำบัญชีครัวเรือน ทำให้เห็นว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น เดือนละ 516 บาท เฉลี่ยแล้ว ซึ่งมีความตื่นเต้นมาก ในการปลูกผัก และการทำบัญชีครัวเรือน  การที่ไม่ซื้อผักจากร้านค้าทำให้กินผักที่ปลอดสารพิษ กินอาหารที่ปลูกเอง ลดรายจ่าย เดือน ละ 416 บาท  สมาชิกตื่นเต้นมากที่ได้รับในการทำกิจกรรมในครั้งนีั้

 

18 0

15. พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลการทำงาน

วันที่ 31 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

พบพี่เลี้ยง เพื่อสรุปผลการทำงานของแหล่งผลิตอาหาร และการทำบัญชีครัวเรือน
นางก่อเดียะ นิ้วหลี ทางครัวเรือน บางคนมีการทำบัญชีครัวเรือนที่ไม่ต่อเนื่อง และการวางแผนในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร ครั้งที่ 2 เพื่อให้การผลิตอาหารและการจำหน่าย ที่ให้ได้มากที่สุด และ ทันต่อตลาดในช่องทางต่าง ๆ มากที่สุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางในการทำบัญชีครัวเรือนของแต่ละคน ในการทำที่ง่ายให้มากที่สุด และมีการวางแผนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร ครั้งที่ 2  โดยการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 2 ให้ทางสมาชิก แจ้งปัญหา อุปสรรค ต่าง ๆ  ของการดำเนินงาน

 

3 0

16. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 5/9

วันที่ 8 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี ได้เปิดการประชุม  ซึ่งในวันนี้ เรามาประชุมกัน เพื่อติดตามการทำงานของครัวเรือนสมาชิก และติดตามการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน
  • ทางครัวเรือนไหนบ้างมีการทำอย่างสม่ำเสมอก ไม่มีขาดเลย  ทำทุกเดือน ช่ายแนะนำให้เพื่อด้วยค่ะ
  1. นางวรรณลัย  เบ็ญหลัง ได้ทำทุกเดือน ค่ะ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ  เพื่อควบคุมรายจ่ายของครัวเรือน และตอนนี้ได้เพิ่มแปลงผักบุ้งจาก 2 แปลง เพิ่มขึ้นเป็น  3 แปลง  เพราะมีหมู่บ้านไกล้เคียง มาซื้อที่บ้านเอง และตอนนี้ได้ให้ลูกสาวขายทางเฟสบุค ไม่พอกับตลาด
  2. นางหารียัน หมื่นอาด  ตอนนี้ต้องระวัง ต้นพริก มีแมลงทำลาย ต้นกับใบไม่ค่อยจะสวย ควรจะปลูกต้น ดาวเรื่องมาปลูกคู่กันด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แกนนำครัวเรือนได้รู้สูตรเรื่องการใช้ยาฆาแมง ด้วยธรรมชาติด เช่นการปลูกต้นดาวเรือง
  2. คณะทำงานติดตาม แปลงผักของตัวเอง และในโซนพื้นที่ของตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งมีการปลูกเพิ่มมากขึ้น
  3. แกนนำครัวเรือน มีความตื่นเต้นในการปลูกผัก และมีความสุขในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  4. มีการนำพันธุ์มาแจก แลกเปลี่ยนกันในการประชุม

 

15 0

17. พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 29 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

พบพี่เลี้ยงเพื่อ

  • เตรียมตัวเข้าร่วมเวที ARE ของโหนดครั้งที่ 1 โดยพี่เลี้ยงชวนสรุปผลงานตามตัวชี้วัด

  • ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน รายการที่ต้องแจกแจงรายละเอียด และการบันทึกรายละเอียดเวปไซด์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง มีความรู้เรื่องการบันทึกรายละเอียดในโครงการที่รับผิดชอบ  แจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำเอกสาร และการในเวปไซด์

 

3 0

18. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 6/9

วันที่ 10 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี ได้เปิดการประชุม ซึ่งในวันนี้ เรามาประชุมกัน เพื่อติดตามการทำงานของครัวเรือนสมาชิก และติดตามการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน

  • แปลผักที่ได้ปลูกดาวเรืองพร้อมกัน แมลงก็ไม่มา ตอนนี้ปัญหาอุปสรรคเรื่องสัตว์เลี้ยง ทางชุมชนในหมู่บ้านก็ช่วยกันระวัง ให้กับสมาชิก และปลูกปลาในท่อก็ได้บริโภคเองแล้้ว ของนางสาวพรรณระวี สำโสะ ได้แปลรูปเป็นปลาส้ม วางขายตามร้านขา ขายดีมาก ซึ่งลูกค้าในชุมชนได้มาถามหากัน ไม่พอในการขายเลย ซึ่งทางลูกค้าบอกว่า เป็นสูตรโบราณ ทำกินอร่อยมาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้รู้วิธีการแปรรูป ปลาดุกที่เลี้ยงในลูกท่อ เป็นปลาส้ม
  2. คณะทำงานติดตาม แปลงผักของตัวเอง และในโซนพื้นที่ของตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งมีการปลูกเพิ่มมากขึ้น
  3. แกนนำครัวเรือน มีความตื่นเต้นในการปลูกผัก และมีความสุขในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  4. มีการนำพันธุ์มาแจก แลกเปลี่ยนกันในการประชุม

 

15 0

19. ถอดเงินเปิดบัญชี

วันที่ 17 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

หัวหน้า คก ไปถอนเงินเปืดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หัวหน้า คก ไปถอนเงินเปืดบัญชี 500 บาท

 

1 0

20. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 2/2

วันที่ 25 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิดตอาหาร
แกนนำครัวเรือน จัดประชุมแกนนนำครัวเรือน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลิตอาหาร และการจำหน่าย โดยมีการนำบัญชีครัวเรือนมาด้วยส่วนหนึ่ง
นางก่อเดียะ นิ้วหลี ขอให้แกนนำครัวเรือน สรุปผลการดำเนินงานมาของแต่ละโซน

  1. ครัวเรือนแต่ละโซน มีการทำบัญชีครัวเรือน และมีการเพิ่มแหล่งผลิต ของการเลี้ยงปลาดุก ของนายมะฮะหมาด นิ้วหลี ได้มีการเพิ่มเลี้ยงปลา เนื่องจากปลาที่เลี้ยงได้นำมาแปรรูปเป็นปลาส้ม

  2. นายดนรอหมาน ทองอยู่ เพิ่มการเลี้ยงปลาดุกในกะชัง และตอนนี้มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นถึงรายจ่าย ที่ลดลง เนื่องจากก่อนทำโครงการ เวลาทีต้องการไปซื้อผักที่ร้านค้าในหมู่บ้าน จะมีการซื้อสินค้าอื่่นด้วย ทำให้การเพิ่มค่าใช้าจ่ายมากเลย

  3. นางอารีย์ แจ้งในที่ประชุม การปลูกผักเอาดอกเทียม มาปั้นกำับน้ำ ทำเป็นยาไล่แมลงได้ ซึ่งทำให้เป็นยาที่ปลอดสารพิษและได้ทำกิจกรรมร่วมกันเกิดความสามัคคีของคนในครัวเรือน และในชุมชน และเพื่อช่วยกันแบ่งปันกัน ขายในช่องทางต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำครัวเรือน มีความรู้เรื่องยาที่ไล่แมลง ทำจากวัตถุดิบในหมู่บ้าน  มีการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งได้รายได้คิดเป็นสัปดาห์ ได้มีการคำนวณสินค้าจากการขาย และการกินที่นับเป็นราคา 1 อาทิตย์ จากการเก็บกินเอง 386 บาท และขายได้ อาทิตย์ ละ 240 บาท ซึ่ง ทำให้มีกำลังใจในการปลูกผักปลอดสารพิษ และการเลี้ยงปลา  และทุกคนตอนนี้ มีแนวทางในการปลูกผักที่กินตลอด

 

17 0

21. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 7/9

วันที่ 2 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี ได้เปิดการประชุม  ซึ่งในวันนี้ เรามาประชุมกัน เพื่อติดตามการทำงานของครัวเรือนสมาชิก และติดตามการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน
  • ขอให้ทุกท่านได้รายงานผลการดำเนินการและการติดตามด้วยค่ะ
  1. นางอารีย์ หวันสู  ตอนนี้การทำบัญชีครัวเรือน มีการทำอย่างต่อเนื่อง มีการโทรเข้ามาเพื่อขอคำแนะนำ ค่ะ
  2. นางวรรณลัย เบ็ญหลัง หลังจาก เพิ่มแปลงผัก มีหมู่บ้าน ที่ 11 หมู่ที่ 13 เข้ามาสอบรายละเอียด และมีความสนใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หมู่บ้านไกล้เคียงมีความสนใจ ที่จะปลูกผัก และสนใจในการเลี้ยงปลาดุก  ซึ่งหมู่บ้านไกล้เคยงมาสอบในการเลี้ยง  ปลา
  2. และได้ให้เยาวชนของของในพื้นที่มาศึกษาการปลุูกผัก การเลี้ยงปลาดุก
  3. มีการสนใจการทำบัญชีครัวเรือน

 

15 0

22. เวทีถอดบทเรียน

วันที่ 16 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1ประธานโครงการ นายเจนฤทธิ์ เปิดประชุม ชี้แจงการดำเนินงานโครงการดังนี้

  • แนะนำแกนนำโครงการนางก่อเดี็ยะ นิ้วหลีและทีมงาน

  • ชี้แจ้งกิจกรรมโครงการเวทีถอดบทเรียน มีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เห็นว่าทางหมู่บ้านมีความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
    และเป็นสิ่งที่ดีมากในการทำกิจกรรม ด้วยสถานการณ์โควืิด ทำให้รู้เลยว่า ทุกคนต้องพึ่งตนเอง และต้องพื้นให้ได้ มากที่สุดในการทำงานและอยากให้พื้นที่อื่น ๆ ร่วมด้วย

  1. นายดาหลัน งะสยัง ผมมีความภูมิใจมากครับในการทำงานและการเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้มีความสุขในการทำงาน มีเวลาให้กับครอบครัว และเป็นคนใจเย็นเพิ่มมากขึ้นด้วย และที่สำคัญได้รับการตอบรับจากหมู่บ้านไกล้เคียง ลดรายจ่ายของครอบครัว เพิ่มรายได้ของตนเอง

2.นางก่อเดียะ นิ้วหลี ทุกคนมีความสุขก็ดีใจมากค่ะ เพราะกิจกรรมนี้ทำให้ทุกคนได้ทำกิจกรรมของตัวเองในครัวเรือน ลดรายจ่าย เพ่ิมรายได้ และที่สำคัญ ได้รู้จักการป้องกันภัยจากสถานการณ์ โควิด - 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากที่เราต้องระวัง กับตัวเอง ครอบครัว และชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แกนนำครัวเรือนมีความตั้งใจในการทำบัญชีครัวเรือนและจะทำตลอดไป
    2.เพิ่มทักษะของตัวเองในการปลูกผัก เลี้ยงปลา  การเพาะเห็ด
  2. มีความรู้ที่ถูกต้องในการป้องกันตัวเอง จากสถานการณ์โควิด
  3. รู้สึกมีความสุขและทำตัวเองรู้จักเป้าหมายของตัวเอง

 

50 0

23. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 8/9

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการการปลูกเพื่อต้องการให้การปลูกต่อเนื่องและทันต่อความต้องการของตลาด และการทำบัญชีครัวเรือน โดยขอให้ทางนางอารีย์ หวันสู ช่วยอธิบาย ซึ่งมีหน้าที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือน
นางอารีย์ หวันสู ได้มีการทำบัญชีครัวเรือนเป็นประชุมทุกเดือน อยู่ 26 ครัวเรือน ทีเ่หลือ ก็มีการทำที่จะให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็ได้มีการทำให้ดีที่สุดและตอนนี้เป็นแบบอย่างให้กับลูก
นางสาวไหมมูน๊ะ นิ้วหลี  ตอนนี้ลดเวลาในการไปซื้อสินค้าด้านนอก เพราะหลีกเลี่ยงกับโควิด-19 และเป็นสิ่งที่ดีที่ได้กินผักปลอดสารพิษ  ซึ่งจากการกินได้รู้ว่ากินอร่อยกว่าผักที่มาจากตลาด มาก และสุขภาพก็ดีขึ้นมาก มีเวลากับครอบครัว ในการปลูกผักรวมกัน และยังมีเวลาในการปรึกษาหารือเรื่องอื่น ด้วย ซึ่งเป็นกิจรรมที่ดีมา และที่สำคัญได้ปลูก ต้นงาดำเพิ่มขึ้น บริเวณรั้วบ้าน ทำให้รั้วบ้านสวย และเป็นแบบอย่างที่ดีของเพื่อนบ้านที่ได้เห็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แกนนำครัวเรือนมีความตั้งใจในการทำบัญชีครัวเรือน และปลูกผักที่มีพันธุ์ฟืช
  2. เยาวชนสนใจในบ้านรู้จักหน้าที่ของตัวเอง เช่าน การรดน้ำผัก  การใส่ปุ๋ย
  3. มีความสุขในการทำกิจกรรม

 

15 0

24. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 9/9

วันที่ 4 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการการปลูกเพื่อต้องการให้การปลูกต่อเนื่องและทันต่อความต้องการของตลาด และการทำบัญชีครัวเรือน
นางดาหลัน งะสยัง  ได้บอกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายมะละกอ เนื่องจากการทำกิจกรรมได้ปลูกผักชีฝรั่งด้วย มีร้านค้าส้มตำมาขอซื้อและมาสอบถาม การปลูก ซึ่งทำให้มีความสุขในการทำกิจกรรม และมีรายได้เพิ่มขึ้น  เพราะหลังจากทำบัญชีครัวเรือนซึ่งรู้สึกว่า รายจ่ายลดลง ต่อ 1 อาทิตย์ 375 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้น  425 บาท  ซึ่งตอนนี้ผักชีฝรั่งขายดีมาก ร้านค้ายำในชุมชนก็มาขอซื้อ นางอารีย์ หวันสู ได้มีการทำบัญชีครัวเรือนเป็นประชุมทุกเดือน อยู่ 26 ครัวเรือน ทีเ่หลือ ก็มีการทำที่จะให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็ได้มีการทำให้ดีที่สุดและตอนนี้เป็นแบบอย่างให้กับลูก
นางสาวไหมมูน๊ะ นิ้วหลี  ตอนนี้ลดเวลาในการไปซื้อสินค้าด้านนอก เพราะหลีกเลี่ยงกับโควิด-19 และเป็นสิ่งที่ดีที่ได้กินผักปลอดสารพิษ  ซึ่งจากการกินได้รู้ว่ากินอร่อยกว่าผักที่มาจากตลาด มาก และสุขภาพก็ดีขึ้นมาก มีเวลากับครอบครัว ในการปลูกผักรวมกัน และยังมีเวลาในการปรึกษาหารือเรื่องอื่น ด้วย ซึ่งเป็นกิจรรมที่ดีมาก และที่สำคัญได้ปลูก ต้นงาดำเพิ่มขึ้น บริเวณรั้วบ้าน ทำให้รั้วบ้านสวย และเป็นแบบอย่างที่ดีของเพื่อนบ้านที่ได้เห็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หมู่บ้านไกล้เคียงมีความสนใจ ที่จะปลูกผัก และสนใจในการเลี้ยงปลาดุก  ซึ่งหมู่บ้านไกล้เคียงมาสอบในการปลูกผัก 2. และได้ให้เยาวชนของของในพื้นที่มาศึกษาการปลุูกผัก การเลี้ยงปลาดุก
3. มีการสนใจการทำบัญชีครัวเรือน

 

15 0

25. พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 3

วันที่ 5 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • พบพี่เลี้ยงเพื่อขอคำแนะนำในการทำรายงานสรุปผลลัพธ์โครงการ และจัดเป็นรูปเล่ม
  • เพื่อจัดทำข้อมูล และนำเอกสารที่ต่าง ๆ มาจัดรวบรวบรวมทั้งดูเอกสารที่ไม่เรียบร้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้ความรู้ ทักษะ การจัดทำเอกสารที่

-ได้ตรวจเอกสารการเงินโครงการ และแก้ไขส่วนที่ไม่ถูกต้อง

-ได้สรุปผลการดำเนินงานทั้งโครงการ โดยสรุปในประเด็น

1.รายได้จากการขายผลผลิต เฉลี่ยของทุกครัวเรือน ได้ 416 บาท/เดือน 2.สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหาร เฉลี่ยของทุกครัวเรือนได้ 337 บาท/เดือน 3.แกนนำมีการทำบัญชีครัวเรือน 3 ใน 5 ครัวเรือน 4. สมาชิกมีการทำบัญชีครัวเรือน 22 ใน 25 ครัวเรือน

 

3 0

26. กิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ

วันที่ 17 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. รวบรวมการทำกิจรรมทั้งหมด
  2. เข้าเล่มกิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รายงานการทำกิจกรรมฉบับสมบูรณ์จำนวน 1 เล่ม ที่รวบรวมสถานการณ์ปัญหา วิธีการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 

5 0

27. เวทีสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการร่วมกับโหนด

วันที่ 26 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนของแต่คนทบทวนหรือสรุปประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาในแง่มุมต่าง ๆ การทำงานร่วมกัน  การปลูกผัก ของตัวเองที่ถนัด เพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดของเหตุปัจจัยทำให้เกิดผลอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งที่สำเร็จและต้องแก้ไข หรือเราถอดบทเรียนก็เพื่อสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยการให้แต่ละคนได้เล่าประสบการณ์ ความรู้ที่ทำมา พร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานทั้งที่สำเร็จหรือแก้ไขเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ศึกษาเรียนรู้ได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ความรู้เรื่องการทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่าย การทำงานที่มีเป้าหมาย นำอุปสรรที่เข้ามาแก้ไขให้ถูกวิธี ซึ่งได้มี การถอดบทเรียนที่เน้นเฉพาะกิจกรรมสำคัญของโครงการ ซึ่งได้มีการทำงาน และสามารถนำผลการถอดบทเรียนจากกิจกรรมนั้นๆไปใช้ประโยชน์ในพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยกรรมการ พชอ. ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ และกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรเกษตรกร จิตอาสา จำนวน 20 คน 1.2 คณะทำงานมีการจัดโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานชัดเจน ตลอดจนมีแผนการทำงาน 1.3 เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน 1.4 คณะทำงานมีข้อมูลของแหล่งอาหารในชุมชน
0.00

 

2 2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1 มีกติกาชุมชนในการกำหนดพื้นที่ใหม่ผลิตอาหาร พื้นที่ขยายการผลิตอาหาร 2.2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเงิน สุขภาพ สังคม เพิ่มขึ้น มีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม 2.3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ 2.4 เกิดแหล่งผลิตอาหารใหม่ 15 ครัวเรือน ขยายแหล่งผลิตเดิม 15 ครัวเรือน 3.1 ครัวเรือนในชุมชนเข้าถึงอาหารปลอดภัย 200 ครัวเรือน 3.2 เกิดตลาดแลกเปลี่ยนอาหารปลอดภัย 1 แห่ง 3.3 เกิดเวทีแลกเปลี่ยนกลุ่มผลิตอาหาร 2 ครั้ง 4.1 มีฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารของชุมชนทั้งระบบ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิท 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19 (2) 2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศโครงการ (2) เวทีชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงานสำรวจข้อมูล  และกำหนดแหล่งผลิต (3) พบพี่เลี้ยงเพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ (4) อบรมการปลูกผัก เลี้ยงตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 1/2 (5) อบรมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 2/2 (6) การอบรมทักษะการเงิน  บัญชีครัวเรือนสุขภาพ  สังคม (7) จัดการช่องทางการตลาด (8) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 6/9 (9) ถอดเงินเปิดบัญชี (10) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 2/2 (11) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 7/9 (12) เวทีถอดบทเรียน (13) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 8/9 (14) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 9/9 (15) กิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 1  ฉบับ (16) เวทีสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการร่วมกับโหนด (17) กิจกรรมทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่ (18) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 1/9 (19) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 2/9 (20) พบพี่เลี้ยงเพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรม (21) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 3/9 (22) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 4/9 (23) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 1/2 (24) พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลการทำงาน (25) ประชุมคณะทำงาน  การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 5/9 (26) พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 1 (27) พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 2

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายเจนฤทธิ์ รอเกตุ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด