directions_run

จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0007
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 56,325.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุดม การะนันต์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.311103,100.040159place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 22,530.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 28,162.00
3 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 5,633.00
รวมงบประมาณ 56,325.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลเขาหัวช้างตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 12 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 2,876ครัวเรือน มีประชากรรวม 7,221 คน มีโรงเรียนรัฐ4แห่ง รพ.สต.2แห่ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ มีวัด 1วัด มีสำนักสงฆ์ 1 แห่ง มีตลาดนัด จำนวน 3 แห่ง มีฟาร์มปศุสัตว์4แห่ง ที่ท่องเที่ยว3จุด สภาพทั่วไปของตำบลเขาหัวช้างเป็นพื้นที่ชนบท สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขามีสายน้ำไหลผ่านที่สำคัญจำนวน3สายประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ประกอบด้วย สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้คือทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ การคมนาคมมีถนนเส้นทางหลักจำนวน2สายคือถนนบ้านนา-ป่าบอนแม่ขรี-โหล๊ะจันกระ สถานการณ์ปัญหาขยะของพื้นที่เทศบาลตำบลเขาหัวช้างในผ่านมา เทศบาลเขาหัวช้างได้วางแนวทางการจัดการขยะระดับตำบลโดยการที่เทศบาลไม่มีนโยบายจัดเก็บขยะด้วยการแจกถังขยะและบริการจัดเก็บรับขยะโดยเทศบาลจึงไม่มีข้อมูลปริมาณขยะที่เป็นตัวเลขที่ชัดเจนแต่จากการที่ลงพื้นที่พบว่าขยะส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดจากภาคการเกษตรและครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ70ของปริมาณขยะทั้งหมด ส่วนขยะทั่วไปที่เกิดจากครัวเรือนมีปริมาณน้อยที่ครัวเรือนสามารถจัดการเองได้เพราะหลายปีที่ผ่านมาเทศบาลเขาหัวช้างได้ส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้การจัดการขยะโดยชุมชนเองมาตลอด โดยผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งการอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะในครัวเรือน การนำขยะไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างไม่ว่าจะเป็นการขายขยะผ่านโครงการธนาคารขยะหมู่บ้าน โครงการขยะแลกไข่ การนำขยะเปียกทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ แต่กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานั้นขาดความต่อเนื่องและการสรุปบทเรียนและการขยายผลให้เกิดปฏิบัติการเต็มพื้นที่ในตำบลได้ดังนั้นปริมาณขยะของตำบลจึงยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป จากการร่วมคุยกันของคณะทำงานพบว่าปัญหาขยะในตำบลที่เกิดในปัจจุบันคือ ปัญหาที่เกิดจากขยะทั่วไปที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ซ้ำได้และเมื่อไม่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้จึงจำเป็นที่ขยะดังกล่าวต้องมีการกำจัดโดยครัวเรือนเองในขณะที่ครัวเรือนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถกำจัดจยะได้อย่างถูกวิธียังมีอีกมากเช่นการเผาขยะจำพวกพลาสติกส่งผลให้เกิดกลิ่นและควันไฟรบกวนคนในชุมชน ขยะที่ถูกทิ้งไว้ในที่ท่องเที่ยวที่ไม่มีระบบการจัดการและการดูแลสถานที่รวมถึงพื้นที่บริเวณริมถนนเกิดจากพฤติกรรมของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรที่ริมถนนสายหลักของเทศบาลทิ้งขยะไว้ริมทางและไม่มีคนหรือหน่วยงานที่มีการจัดเก็บ ส่งผลให้มีขยะตกค้างที่ริมทาง เมื่อฤดูฝนมาก็จะไหลลงสู่ลำคลองและลอยไปตามกระแสน้ำจนเป็นกองโตจำนวนหนึ่งก็ติดค้างกับกิ่งไม้ในลำคลองส่งผลให้ในคลองมีขยะติดค้างอยู่ส่งผลกับการท่องเที่ยวของชุมชนที่ใช้สายน้ำลำคลองในการท่องเที่ยวแบบพายเรือล่องแก่งศึกษาธรรมชาติบางส่วนลอยผ่านไปยังพื้นที่อื่นซึ่งเทศบาลเองได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจัดกิจกรรมทำความสะอาดมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงล่าสุดเมื่อต้นปี2565ทางเทศบาลก็ได้ทำกิจกรรมปรับภูมิทัศน์สองข้างทางด้วยการปลูกต้นไม้และดูแลมาอย่างต่อเนื่องก็ตามก็ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และในช่วง3ปีที่ผ่านมาปัญหาขยะในตำบลเริ่มปรากฎให้เห็นชัดอีกครี้งเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ทำให้มีคนนำขยะเข้าครัวเรือนมากขึ้นจากการบรรจุสิ่งของต่างๆรวมถึงการเพิ่มข้นของขยะติดเชื้อจากเชื้อไวรัส เช่นหน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK ผ้าอ้อมสำเร็จ ที่มีการใช้มากขึ้นตามการระบาดของโรคในขณะที่ครัวเรือนไม่สามารถกำจัดขยะเหล่านี้ได้ ส่วนภาคราชการเองก็ไม่มีกลไกและวิธีการที่ชัดเจนว่าจะจัดการกับขยะติดเชื้อเหล่านี้อย่างไร
จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นคณะทำงานเห็นร่วมกันว่ายังต้องแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องโดยการให้คนในชุมชนเห็นปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาร่วมของตำบล การแก้ปัญหาต้องเริ่มที่การสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ร่วมมือการในการแก้ปัญหาร่วมกันและจะต้องทำกิจกรรมต่างๆที่จะส่งผลต่อการลดลงของปริมาณขยะในชุมชน คณะทำงานจึงตัดสินใจขอร่วมโครงการกับชุดโครงการ Node Flagship พัทลุงเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คณะทำงานและขยายผลให้เกิดการเรียนรู้กับคนในชุมชนโดยการใช้หลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และจะขยายผลไปสู่การปฏิบัติการระดับหมู่บ้านผ่านกิจกรรมโครงการที่แกนนำหมู่บ้านจะดำเนินการตามสภาพปัญหาของแต่ละหมู่บ้านด้วยการเสนอแผนงานโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อไป ทั้งนี้ทางคณะทำงานจึงร่วมประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลและคณะผู้บริหารของเทศบาลจึงมีความเห็นและแนวทางร่วมกันที่จะทำงานในการแก้ไขปัญหาขยะของตำบลโดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในตำบลทุกภาคส่วน ทั้งท้องถิ่น ท้องที่ องค์เอกชน องค์ภาครัฐที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อมุ่งผลลัพธ์ให้เห็นการลดลงของปริมาณขยะในชุมชนผ่านกิจกรรมต่างที่นำเสนอมาคาดว่าผลที่เกิดจากโครงการคือ ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ในปัญหาของตนเอง ได้มีการปฏิบัติการต่างๆที่นำไปสู่การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันขององค์ต่างๆที่มีในชุมชน และที่สำคัญคือจะเป็นชุดความรู้จะถ่ายทอดและส่งต่อให้พื้นที่ได้เรียนรู้และนำไปดำเนินการต่อไปในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลที่เข้มแข็ง

1.มีกลไกคณะทำงานที่มีตัวแทนจากท้องถิ่น รพ.สต.แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. โรงเรียน
2.มีข้อมูลขยะชุมชนและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการขยะ 3.มีกลไกนักเรียนแกนนำที่เป็นผู้นำท้องถิ่น ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4.มีโรงเรียนขยะตำบลที่มีหลักสูตรการสอน 5.มีครูขยะตำบลไม่น้อยกว่า 10 คน 6.มีการจัดทำแผนการสอนและกิจกรรมการสอนที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนขยะมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ

1.มีการจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอน(คัดแยก กำจัด ใช้ประโยชน์ 2.มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน 3.มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4.นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมขยะของครัวเรือนในชุมชนของนักเรียน 5.นักเรียนของโรงเรียนขยะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 10 คนต่อนักเรียน 1คน

0.00
3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการขยะ

1.มาตรการของชุมชนเพื่อการจัดการขยะ
2.มีใช้ประโยชน์จากขยะ อย่างน้อย2รูปแบบ 3.มีการปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆในทุกชุมชน

0.00
4 เพื่อให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

1.มีครัวเรือนที่จัดการขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ50 ของครัวเรือนทั้งหมด 2.ขยะครัวเรือนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3.ปริมาณขยะในที่สาธารณะลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20

0.00
5 เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการขยะตำบล

1.มีข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

0.00
6 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 830 56,325.00 36 56,585.00
6 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00
9 พ.ค. 65 กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 3 1,128.00 1,128.00
11 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 10 0.00 0.00
18 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 10 0.00 0.00
16 ก.ย. 65 เวทีถอดบทเรียนการจัดการขยะตำบล(จัดกิจกรรมใช้เวลา1วัน) 30 6,700.00 6,700.00
16 ก.ย. 65 กิจกรรมจัดทำป้ายประกอบโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
16 ก.ย. 65 กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
27 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 10 0.00 0.00
10 พ.ย. 65 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ ครั้งที่1 4 1,000.00 1,000.00
7 มี.ค. 66 กิจกรรมศึกษาดูงานการสร้างโรงเรียนขยะ ณ.โรงเรียนขยะเทศบาลตำบลชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง (เวลา1วัน) เปลี่ยนแปลงสถานที่ศึกษาดูงานเป็น อบต.เขาชัยสน 14 7,820.00 7,820.00
27 มี.ค. 66 กิจกรรมจัดทำหลักสูตรโรงเรียนขยะ(เวลา1วัน) 20 3,100.00 3,100.00
29 มี.ค. 66 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่2 4 0.00 0.00
30 มี.ค. 66 เบิกเงินค่าเปิดบัญชี 0 0.00 0.00
3 เม.ย. 66 กิจกรรมสอนนักเรียนโรงเรียนขยะตำบล(กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด55คน)(ใช้เวลา1วัน) 55 0.00 0.00
11 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่1 50 2,850.00 2,850.00
12 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่2 50 2,850.00 2,850.00
18 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่3 50 2,850.00 2,850.00
19 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่4 50 2,850.00 2,850.00
19 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่5 50 2,850.00 2,850.00
20 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่6 50 2,850.00 2,850.00
20 เม.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่7 50 2,850.00 2,850.00
23 พ.ค. 66 กิจกรรมเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ 2 231.00 231.00
4 ก.ค. 66 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)1 25 825.00 825.00
5 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 10 0.00 0.00
5 ส.ค. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่8 50 2,850.00 2,850.00
8 ส.ค. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่9 50 2,850.00 2,850.00
10 ส.ค. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่10 50 2,850.00 2,850.00
11 ส.ค. 66 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่11 50 2,850.00 2,850.00
14 ส.ค. 66 กิจกรรมครูติดตามนักเรียน 0 0.00 0.00
14 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 10 0.00 0.00
15 ส.ค. 66 กิจกรรมเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 3 524.00 524.00
16 ส.ค. 66 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 60 1,647.00 1,807.00
18 ส.ค. 66 กิจกรรมปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ 0 0.00 0.00
21 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 10 0.00 0.00
24 ส.ค. 66 กิจกรรมคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00
28 ส.ค. 66 กิจกรรมยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน

  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่

  • มีแผนการดำเนินงาน

  • มีการประชุมทุก 3 เดือน

  • คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง

  • ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 60 %

  • ในโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก,วัด จัดการขยะที่ถูกต้อง ทุกแห่ง

  • มีกติกาในด้านสิ่งแวดล้อมที่บรรจุไว้ใน “ธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลบ้านนา”

  • มีการติดตามการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/วัด ทุกเดือน

  • มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 12 แห่ง

  • ปริมาณขยะที่เทศบาลจัดเก็บลดลงร้อยละ 50

  • เกิดครัวเรือนคัดแยกขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด

  • มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40

  • ขยะครัวเรือนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 13:59 น.