directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-0023-0012
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 76,020.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ เจษฎานุวัฒน์ จุลนิล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอำนวย กลับสว่าง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 30,408.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 38,010.00
3 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 7,602.00
รวมงบประมาณ 76,020.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง พื้นที่นาแปรเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย เกิดบ้านเช่า บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมาคือ อาชีพธุรกิจส่วนตัว มีครัวเรือนจำนวน 195 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 537 คน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาเหตุของปัญหา คน : คนในชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางจากครัวเรือนและสถานประกอบการ เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น มักง่ายเอาสะดวกเข้าไว้  ไม่มีที่ทิ้งหรือพื้นที่ในการจัดการ ไม่รู้ว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อม บ้านเช่าที่ขาดความรับผิดชอบ และชุมชนไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียเช่น น้ำที่ใช้อาบ น้ำจากซักผ้าล้างจาน
สภาพแวดล้อม : ชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ขึ้นกับเทศบาลเมือง ระบบการจัดการขยะเทศบาลเมืองจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีการรณรงค์เรื่องขยะเป็นช่วงๆ เน้นการคัดแยกที่ครัวเรือน มีกิจกรรมคัดแยกและจัดการขยะกันเอง ชุมชนส่วนใหญ่บ้านเช่า บ้านจัดสรร ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายข้าวแกง ร้านเสริมสวย ร้านขายขนม และอาคารพาณิชย์ ชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำขาดระบบการจัดการขยะอินทรีย์และการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ยังมีการเททิ้งน้ำเสียลงท่อ ลงคู ลงคลองลางสาด ทำให้เกิดน้ำเสีย ลำคลองตื้นเขิน ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคในท่อในคู
กลไก : ขาดระบบไกกลการขับเคลื่อนในการสร้างกระบวนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ที่ชัดเจน มีแต่หน่วยงานเทศบาลเมืองที่เข้ามาช่วยในการลอกคูคลอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดไม่ใช่แก้ไขปัญหาที่ต้นทาง ยังไม่มีแผนการจัดการน้ำเสียที่เป็นรูปธรรม ยังขาดหน่วยงานที่เกี่ยวเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน และยังไม่มีมาตรการทางสังคมใดๆ ผลกระทบของน้ำเสีย ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ลำคลองตื้นเขิน สัตว์น้ำสูญพันธ์ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคผิวหนัง ฯลฯ แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วม และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ
2. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
3. จัดให้มีแผนจัดการน้ำเสียและมีรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เพื่อให้มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนวางแนวทางปฏิบัติการลดน้ำเสีย ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ
4. จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำเสีย เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน
5. จัดให้มีระบบจัดการน้ำสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ที่มีการจัดการร่วม ระหว่างพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น (แผนทำร่วม แผนทำขอ)
6. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การดำเนินการตามกระบวนการที่วางไว้ของชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ จะเห็นเป็นระบบการจัดการตั้งแต่ต้นทาง ของการเกิดน้ำเสีย ที่มาจากครัวเรือน ชุมชน มีกลไกขับเคลื่อนที่มีร่วมของทุกภาคส่วน ที่จะมาเข้าหนุนเสริม การแก้ไขปัญหา ลดปัญหาน้ำเสียที่ส่งลงลำคลอง ที่มีผลต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาในเรื่องสุขภาพที่มาจากกลิ่น และลดแหล่งแพร่เชื้อของพาหนะ นำโรค  เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ของการลดน้ำเสียของชุมชน สามารถเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่นๆในการจัดการน้ำเสียชุมชน ที่มีตั้งระบบการดำเนินงาน มีระบบไกกล มีภาคีที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลง สามารถผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดการน้ำของจังหวัดต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
  1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า60 ครัวเรือน
  2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า.60 ครัวเรือน
  3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
0.00
2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน
  3. เกิดแผนที่เส้นทางน้ำชุมชน
3 มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  1. จำนวนบ่อดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%
  2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
  3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า  10 ครัวเรือน 4.มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน
4 ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย

1.จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70% 2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค)

5 มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน

1.จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า 1จุด 2. เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชนหรือเกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเทศบาลเมืองพัทลุง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนปฏิบัติการจัดการ 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 515 76,020.00 23 69,450.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศน์โครงการ 3 3,000.00 0.00
4 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 20 5,500.00 665.00
13 มิ.ย. 65 . เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน 20 3,400.00 3,400.00
9 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 20 0.00 685.00
22 ส.ค. 65 ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ 50 0.00 0.00
21 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 20 0.00 500.00
30 ก.ย. 65 เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย 60 11,200.00 11,200.00
30 ก.ย. 65 2.ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม ไม่เกิน 1,000 บาท 1 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 65 ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
5 พ.ย. 65 5. ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1 25 3,250.00 3,250.00
26 พ.ย. 65 การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก 40 21,200.00 21,200.00
28 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 20 0.00 0.00
27 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 20 0.00 0.00
10 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 20 0.00 0.00
30 ม.ค. 66 ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน 20 2,600.00 2,600.00
8 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่7 20 0.00 0.00
14 มี.ค. 66 7. จัดทำแผนผังน้ำชุมชน 20 3,600.00 2,600.00
25 เม.ย. 66 6. วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชนเป้าหมาย 20 5,000.00 5,000.00
9 ก.ค. 66 11. ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE 2.) 25 3,250.00 3,250.00
12 ก.ค. 66 เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 0 0.00 600.00
20 ก.ค. 66 10. ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ 60 5,300.00 5,300.00
20 ส.ค. 66 12. สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ 30 6,720.00 6,700.00
30 ส.ค. 66 1.ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท 1 1,000.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:09 น.