directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ชุมชนบ้านวังเนียง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ชุมชนบ้านวังเนียง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0018
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 76,020.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิรันดร์ อินทร์นาค
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอำนวย กลับสว่าง
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนบ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 30,408.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 38,010.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 7,602.00
รวมงบประมาณ 76,020.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพทั่วไป ชุมชนบ้านวังเนียง เป็นชุมชนในเขตเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายมาจากชุมชนบริเวณศาลากลางและศาลจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน เนื่องจากรัฐต้องการใช้เป็นที่ตั้งของส่วนราชการ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นญาติกัน
  ปัจจุบันชุมชนบ้านวังเนียง ได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง มีสถานที่ราชการที่สำคัญอยู่ในพื้นที่คือวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง สถานีตำรวจอำเภอเมืองพัทลุง เรือนจำจังหวัดพัทลุง โรงเรียนเทศบาล(ท.1) ศูนย์ส่งเสริมภูมิปัญญาผู้สูงอายุเทศบาลเมือง วัดวังเนียง ฯลฯ สถานประกอบการ มี โพธิ์ฉลองคาร์แคร์ ร้านข้าวแกงแม่จวบ ร้านข้าวแกงบ้านจ่า ชาฮับคาเฟ สเต็กลุงหยิก ฯลฯ บ้านเช่า บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมาคือ อาชีพธุรกิจส่วนตัว มีครัวเรือนจำนวน 609 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,322 คน ชาย 643 คน หญิง 679 คน ที่ตั้ง อาณาเขตของชุมชน ทิศเหนือ จดชุมชนบ้านท่ามิหรำและชุมชนบ้านจ้ายเจริญ จากสี่แยกเอเชียถึงสามแยกบ้านท่ามิหรำ ตามแนวถนนราเมศวร์ ทิศใต้ จดชุมชนบ้านควนปรง  ทิศตะวันตก จด ชุมชนบ้านป่าไสย จากซอย5 ตามแนวถนนเอเชียถึงสี่แยกเอเชีย ทิศตะวันออก จด ชุมชนบ้านพระยาช่วยฯจากสามแยกท่ามิหรำถึงกำแพงปั๊มน้ำมันปตท. มีสถานที่ประกอบการ ได้แก่ อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายข้าวแกง ร้านเสริมสวย ร้านขายขนม ฯลฯ

สาเหตุของปัญหา คน : คนในชุมชนบ้านวังเนียง ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางครัวเรือนและสถานประกอบการ เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น มักง่ายเอาสะดวกเข้าไว้  ไม่มีที่ทิ้งหรือพื้นที่ในการจัดการ ไม่รู้ว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อม บ้านเช่าที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีที่ทิ้ง และชุมชนไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียเช่น น้ำที่ใช้อาบ น้ำจากซักผ้าล้างจาน
สภาพแวดล้อม : ชุมชนบ้านวังเนียง เป็นชุมชนที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นเขตชนบทแต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตชุมชนเมืองเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายหน่วยงาน และใกล้หน่วยงานราชการบางพื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมขังทำให้น้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนละแวกใกล้เคียง ปากทางเข้าวัดวังเนียงเป็นพื้นที่ลุ่มเมื่อฝนตกหนักก็จะเกิดน้ำท่วมขังทำให้น้ำเน่าเสียด้วยเช่นกันฯลฯ ชุมชนบ้านวังเนียงมี สถานประกอบเช่น บ้านเช่า บ้านจัดสรร ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายข้าวแกง ร้านเสริมสวย ร้านขายขนม และอาคารพาณิชย์ ที่ยังขาดระบบการจัดการขยะอินทรีย์และการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ยังมีการเททิ้งน้ำเสียลงท่อลงคูระบายน้ำทำให้ท่ออุดตันมีการหมักหมมของขยะในคูระบายน้ำ ทำให้เกิดน้ำเสีย กลไก : ระบบบ่อดักตะกอนของเทศบาล ระบบการจัดการขยะต้นทางของครัวเรือนและสถานประกอบการ ของเทศบาลเมือง ที่เกิดขึ้นคือ ระบบจัดการน้ำเสียที่มีเฉพาะบ้านใหม่ทีเกิดขึ้นจากการขอสร้างใหม่ โดยเทศบาลต้องบังคับใช้กฎหมายให้มีการทำบ่อดักไขมันก่อน ส่วนบ้านเก่ามีบ้างไม่มีบ้าง ทำให้น้ำที่ออกจากครัวเรือนลงสู่แหล่งน้ำและท่อน้ำเสียไม่ได้บำบัดก่อน สถานที่ประกอบการก็เช่นกัน ผลกระทบของน้ำเสีย ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ลำคลองตื้นเขิน สัตว์น้ำสูญพันธ์ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคผิวหนัง ฯลฯ แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วม และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
3.จัดให้มีแผนจัดการน้ำเสียและมีรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเพื่อให้มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนวางแนวทางปฏิบัติการลดน้ำเสีย ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ 4. จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำเสีย เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 5. จัดให้มีระบบจัดการน้ำสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ที่มีการจัดการร่วม ระหว่างพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น (แผนทำร่วม แผนทำขอ) 6. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

    จะดำเนินงานตามโครงการอย่างไร 1. ประชุมคณะทำงานจำนวน 7 ครั้ง เพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ
2.เก็บข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชนจำนวน 2 ครั้ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเข้าใจให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชนด้วยข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียของชุมชน เก็บข้อมูลการจัดการน้ำเสียก่อน/หลัง ผลลัพธ์การจัดการน้ำเสียชุมชน 3.เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียสื่อสารสร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชน ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยใช้ชุดข้อมูล สถานการณ์ น้ำเสีย ครัวเรือน สถานที่ประกอบการและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม 4.ศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชนเพื่อเรียนรู้การจัดการน้ำเสียในชุมชน สรุปผลการศึกษาดูงาน กลไก กระบวนการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ ผลกระทบ และการสร้างความยั่งยืน       5.ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ด้วยกลไกที่มาจาก ท้องที่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน 6.วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน นำใช้ข้อมูลจากการจัดเก็บสถานการณ์ของน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่การผ่านวิเคราะห์ มาวางแนวทางการแก้ไข ปัญหาน้ำเสียครัวเรือนชุมชน 7.จัดทำแผนผังน้ำชุมชน เกิดแผนที่ทางเดินของน้ำจากต้นทางครัวเรือน สถานที่ประกอบการ เห็นเส้นทางของน้ำเสียเพื่อจัดการ ระบบการจัดการน้ำเสีย ได้ 8.ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/ทำร่วม/ทำขอ) เกิดการบูรณาการแผนภาคีร่วม  สสส. ทสจ. สปสช.แผนพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมือง แผนโครงการพระราชดำริ
9.ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา( ARE1.)ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการครั้งที่1 10.ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน โดยวิธีเลี้ยงไส้เดือน ธนาคารน้ำใต้ดิน และบ่อดักไขมันอย่างง่าย
11.ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา( ARE2.)ติดตามประเมินผลการดำเนินงานครั้งที่2 12.สรุปผลถอดบทเรียนโครงการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน กระบวนการ วิธีการ นำไปสู่ผลการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลง ปัญหา อุปสรรค การพัฒนาต่อยอด ต่อเนื่องและยั่งยืน 1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ได้อย่างไร การดำเนินการตามกระบวนการที่วางไว้ของชุมชนบ้านวังเนียง จะเห็นเป็นระบบการจัดการตั้งแต่ต้นทาง ของการเกิดน้ำเสีย ที่มาจากครัวเรือน ชุมชน มีกลไกขับเคลื่อนที่มีร่วมของทุกภาคส่วน ที่จะมาเข้าหนุนเสริม การแก้ไขปัญหา ลดปัญหาน้ำเสียที่ส่งลงลำคลอง ที่มีผลต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาในเรื่องสุขภาพที่มาจากกลิ่น และลดแหล่งแพร่เชื้อของพาหนะ นำโรค เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ของการลดน้ำเสียของชุมชน สามารถเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่นๆในการจัดการน้ำเสียชุมชน ที่มีตั้งระบบการดำเนินงาน มีระบบไกกล มีภาคีที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลง สามารถผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดการน้ำของจังหวัดต่อไปได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
  1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า60 ครัวเรือน
  2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า.60 ครัวเรือน
  3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
0.00
2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน
  3. เกิดแผนที่เส้นทางน้ำชุมชน
0.00
3 3.มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  1. จำนวนบ่อดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%
  2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
  3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน
  4. มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน
0.00
4 4.ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย
  1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70%
  2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค)
0.00
5 5.มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน
  1. จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า 1จุด
  2. เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชนหรือเกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเทศบาลเมืองพัทลุง
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 43 5,500.00 3 1,300.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการภายใต้การสนับสนุนจาก node flagship พัทลุง 3 0.00 300.00
7 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 20 5,500.00 500.00
14 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 20 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:15 น.