directions_run

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนในทอน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนในทอน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65 00232 0022
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 105,895.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณีย์ ทองแก้ว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 42,358.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 52,948.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 10,589.00
รวมงบประมาณ 105,895.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพทั่วไป กลุ่มเกษตรสวนยางแปลงใหญ่ยางพารา สกย.บ้านในทอน จำกัด เกิดจากนโยบายของการยางแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มซึ่งที่มาของสมาชิกต้องเป็นสมาชิกของ สกย.ฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมของกลุ่มคือ -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนายกระดับคุณภาพผลผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกสร้างและพัฒนากลไกการตลาดในการจำหน่ายผลผลิต -เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกบริหารจัดการองค์กรให้มีความเข้มแข็ง สกย.บ้านในทอน จำกัด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 178 คน มีพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกทั้งหมด 1,200 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดที่เป็นส่วนยางพาราของสมาชิกตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลควนขนุน จำนวน 2 หมู่บ้าน ตำบลโคกม่วง จำนวน 2 หมู่บ้านและตำบลนาโหนดจำนวน 3 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่อดีตเคยเป็นที่ทำนาข้าวเมื่อราคายางพาราขยับตัวสูงขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วเกษตรกรจึงเลิกทำนาแล้วหันมาปลูกยางพาราและพื้นที่บางส่วนผสมสันเนินกระจายสลับกันไปการทำการเกษตรส่วนใหญ่พึ่งพาธรรมชาติเพราะยางพาราเป็นพืชที่ไม่จำเป็นต้องจัดการมากมายไม่ต้องใช้น้ำในการผลิตมากมายกิจกรรมที่ สกย.ดำเนินการอยู่เป็นกิจกรรมธุรกิจซื้อ/ขาย แปรรูปน้ำยางสดของสมาชิกและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพารา เช่นจำหน่ายปุ๋ยให้กับสมาชิกรวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิกในการลงทุนประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจุบัน สกย. มีทุนดำเนินการที่เกิดจากการลงหุ้นของสมาชิก จำนวน 3,300,000 บาท ใช้ในการลงทุนซื้อขายน้ำยางสดจากสมาชิก หนี้สิน 5,000,000 บาท จำนวนน้ำยางสดของสมาชิกมีปริมาณต่อวันที่ 5,000 กก.คิดเป็นน้ำยางแห้งอยู่ที่ 1,500 กก. คิดเป็นมูลค่า 75,000 บาทต่อวัน ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนี้แยกออกเป็นของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่จำนวน 2,500 กก.คิดเป็นน้ำยางแห้ง 450 กก.คิดเป็นมูลค่า 25,000 บาท ซึ่งกลุ่มแปลงใหญ่มีสมาชิกทั้งหมด39 คนมีโครงสร้างการทำงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม กลุ่มแปลงสวนยางใหญ่มีเนื้อที่สวนยางพาราทั้งหมด 338 ไร่
ปัจจุบันกิจกรรมที่ สกย.บ้านในทอนดำเนินการอยู่คือ การรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน รวมถึงการขายน้ำยางสดในกรณีที่ สกย.เกินกำลังการผลิต จำหน่ายปุ๋ยให้กับสมาชิก ปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิก บริการใช้เช่าเครื่องตัดหญ้าแก่สมาชิกและคนทั่วไป ส่วนในกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ในปีที่ผ่านมากลุ่มสวนยางแปลงใหญ่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกคือกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในการพัฒนายกระดับอาชีพและผลผลิตน้ำยาง รวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกในการสร้างอาชีพแก่สมาชิกของกลุ่ม เช่นการผสมปุ๋ยใช้เอง และจำหน่ายสมาชิกในราคาต้นทุน บริการไถพรวนดิน

สภาพปัญหา ช่วงเวลา 5-10 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องเผชิญกับปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำลงมากเพราะสาเหตุอาจมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุนให้มีการปลูกยางพารามากเกินไปและรวมถึงระบบการจัดการคุณภาพยางพาราที่ส่งผลต่อการตลาดด้วย จึงส่งผลกระทบแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นวงกว้าง จากการร่วมกันพูดคุยเราค้นพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากปัญหาที่เป็นปรากฏการณ์เพียงอย่างเดียวแท้จริงแล้วปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่เผชิญอยู่ในปัจจุบันพบว่า   สาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อของคน คือ คนนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเพราะมีความเชื่อว่าการกรีดยางพาราเพียงอย่างเดียวยังสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดได้ เพราะคนขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างรูปแบบสวนยางพาราแบบผสมผสาน คนขาดความตระหนักที่จะจัดการต่อการร่วมกันพันธุ์พืชท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชน คนไม่เชื่อว่าหากมีการสร้างสวนยางรูปแบบใหม่จะนำไปสู่การสร้างรายได้และลดรายจ่ายครัวเรือนได้ รวมทั้งการที่คนในชุมชนมัวมุ่งอยู่กับการหาเงินจนไม่มีเวลามาเรียนรู้การสร้างสวนยางพาราในรูปแบบใหม่   สาเหตุที่เกิดจากกลไกและระบบที่หนุนเสริมเชิงนโยบายคือ ในชุมชนยังไม่มีแปลงต้นแบบในการสร้างรูปแบบการจัดการสวนยางพาราในรูปแบบพืชร่วมยางให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ ขาดการส่งเสริมและหนุนเสริมจากองค์กรภาครัฐและภาคท้องถิ่น คนในชุมชนมีความรู้แต่ขาดการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชนชนอีกทั้งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายในการสวนยางพาราที่ทำลายพันธุกรรมพืชในชุมชนเองก็ขาดการสร้างการเรียนรู้และขาดการจัดการให้ชาวสวนยางพารามุ่งสร้างสวนยางพาราแบบสวนยางพาราเชิงเดี่ยวด้วยกับการพัฒนาที่มาพร้อมการทำลายจากโครงการของหน่วยงานภายนอกและเกิดจากความไม่รู้เท่าทันของประชาชนในการประกอบอาชีพ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากอย่างรวดเร็ว และนับวันยิ่งหายไปจากพื้นที่ อาจจะด้วยจากสาเหตุที่มาจากประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรปลูกยางพาราในลักษณะเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นกำไรเป็นตัวเงินมากกว่าการดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของพืชพันธ์ต่างๆ ด้วยอาจจะเข้าใจว่าการเกษตรปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า แต่ในทางกลับกันพบว่าแนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลายอย่างนั้นทำให้เกิดรายได้จากส่วนต่างๆได้มากกว่าและทำให้ปัจจัยการผลิตจำพวกปุ๋ยนั้นน้อยกว่าและไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อีกอย่างที่สำคัญคือการใช้ปุ๋ยเคมีโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง จะเป็นสาเหตุที่สำคัญในการนำไปสู่ความเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของดินและแหล่งน้ำ ทั้งเป็นการทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆในพื้นที่สวนยางพาราและในชุมชนด้วย จนนำไปสู่เรื่องปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ที่ได้รับการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้างปนเปื้อนเหล่านี้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพราะเมื่อพื้นที่สวนยางพาราถูกสร้างวิธีคิดให้ปลูกยางเพียงอย่างเดียวจึงทำให้พืชอาหารโดยธรรมชาติที่เคยเจริญงอกงามและมีความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมหายไปด้วย ผู้คนจึงต้องพึ่งพาพืชอาหารจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งไม่สามารถรู้ได้ถึงกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการผลิตของพืชอาหารเหล่านั้นส่งผลให้ไม่สามารถรับรองได้ถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพในการบริโภค   ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคายางพาราที่ตกต่ำและประชาชนคิดได้เพียงว่ารายได้นั้นมาจากยางพาราเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รวมถึงต้นทุนในการผลิตที่สูงมากทั้งต้นทุนที่เกิดจากการซื้อปุ๋ยมาใช้ในสวนยางพารา ต้นทุนในการขนส่งน้ำยางพารา ต้นต้นในการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางไปประกอบอาชีพกรีดยางของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ดังกล่าวนั้น ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายย่อยยังคงประสบปัญหาความยากจนรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตในปัจจุบันรวมทั้งการที่เกษตรกรต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายประจำในครัวเรือนและหนี้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตภาคการเกษตรในการทำสวนยางพาราสังเกตุได้จากสมาชิกยังเป็นหนี้ต่อเนื่องกับสกย.จำนวน 2,000,000 บาท จึงเกิดการพูดคุยรวมตัวกันของกลุ่มคนที่อยากเห็นการพัฒนายกระดับการประกอบอาชีพของเกษตรกรและการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันและสามารถรักษาทรัพยากรพืชท้องถิ่นเอาไว้พร้อมทั้งเป็นทางออกให้เห็นว่ามีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการปลูกพืชผสมผสานอย่างอื่นในแปลงที่มากกว่ายางพาราเพียงอย่างเดียวด้วย ทางกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ได้หันมาสนใจผลักดันขับเคลื่อนการสวนเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโดยการใช้พื้นที่สวนยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าการกรีดเอาน้ำยางเพียงอย่างเดียว จึงคิดสร้างให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชในสวนยางพาราให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กลุ่มคนที่สนใจนี้เป็นเครื่องมือกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือและร่วมกันวางแผนการทำงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ขยายแนวคิดที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติการแล้วไปสู่ชุมชนในระยะต่อไป ทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทำสวนอยู่แล้วและผู้คนที่อยู่ในชุมชนที่สนใจได้หันมาตระหนักและร่วมกันสร้างเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติให้มากขึ้น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยใช้การฟื้นฟูและอนุรักษ์ให้กลับมาได้ใช้ประโยชน์ และคาดหวังกันว่าพื้นที่ที่เข้าร่วมการเรียนรู้ในปีนี้จะกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรในสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสามารถจัดการหมู่บ้านตนเองได้ในระยะยาวต่อไปได้ โครงการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโยการใช้พืชร่วมยางพารา จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาคประชาชนในพื้นที่ ภาครัฐที่เข้ามาหนุนเสริม และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น ทั้งยังจะเป็นการสร้างพื้นที่การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ การสร้างแรงกระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพการทำงานโดยผ่านเครื่องมือกลไกต่างๆเช่น การลงเก็บข้อมูลสำรวจในพื้นที่จริง การออกแบบการทำงานสร้างกลไกกติกาที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง การพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เป็นต้น และเชื่อว่าในระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการนี้นั้นจะเห็นมิติการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างแน่นอน   กลุ่มได้รับงบสนับสนุนจาก กยท. ในการสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการองค์กรให้แก่สมาชิกจนสมาชิกส่วนหนึ่งเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทักษะอื่นในการประกอบอาชีพสวนยางพาราและความรู้อื่นๆที่จะสามารถยกระดับและสร้างรายได้เสริมและลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับสมาชิกกลุ่มสวนยางแปลงใหญ่ตื่นรู้และมีความคิดที่จะริเริ่มการประกอบอาชีพในการทำสวนยางพาราในรูปแบบใหม่โดยทางกลุ่มมีความคาดหวังว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบในการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราจะเป็นทางออกทางรอดของสมาชิกในชุมชนที่จะนำพาครอบครัวให้อยู่รอดได้ในภาวะที่เกิดความถดถอยและราคายางพาราที่ตกต่ำลงไปทุกขณะ
  แต่จากการที่สมาชิกร่วมกันพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกันในการที่จะเปลี่ยนสภาพสวนยางพาราในพื้นที่ได้นั้นพบว่าปัญหาสำคัญที่เป็นข้อจำกัดของพื้นที่คือ สมาชิกที่จะร่วมโครงการยังไม่เข้าใจและมีความรู้ในการทำป่าร่วมยางเพราะในพื้นที่ยังไม่มรใครลงมือทำอย่างจริงจังจึงขาดคนนำและการเริ่มทำตาม การที่พื้นที่เป็นพื้นที่ราบต่ำต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนที่ยาวนานจึงไม่สามารถออกแบบหรือวางแผนได้ว่าจะปลูกพืชชนิดไหนที่เหมาะสมกับพื้นที่ พื้นที่สวนยางที่ร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เปลี่ยนสภาพมาจากพื้นที่นาข้าวจึงเป็นพื้นที่ที่ขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมจึงเป็นข้อจำกัดในการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชในสวนยางพารา รวมถึงความสมบูรณ์ของดินที่ผ่านการใช้งานมายาวนานจากการทำนาข้าว จากการร่วมกันวิเคราะห์ทั้งหมดนี้จึงนำมาซึ่งการขอรับสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างเกิดปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมที่จะนำไปถึงความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม

1.มีคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.ได้ 2.มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า30รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ2ไร่ 3.มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม

0.00
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา

1.เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกพืชร่วมยาง 2.มีแผนการปลูกพืชร่วมยางรายแปลงที่เหมาะสมกับอายุยางและสภาพพื้นที่สวนยาง 3.มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ย/สารทดแทนสารเคมีและนำไปใช้ในแปลง 4.มีแปลงต้นแบบของสมาชิกในพื้นที่โครงการ

0.00
3 เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

1.มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มตามแผนและกติกาไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า3ครั้ง 3.มีบทเรียนการปลูกพืชร่วมยางจากพื้นที่ดำเนินการโครงการ

0.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา

1.มีการปลูกพืชอาหารในพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า5ชนิด 2.มีพื้นที่ร่วมโครงการที่มีการปลูกพืชอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า60ไร่ 3.มีการลดปริมาณการใช้สารเคมีในสวนยางพาราที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ30

0.00
5 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายในครัวเรือนลดลง

1.สมาชิกสามารถมีรายได้จากสวนยางพาราเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า1,000บาทต่อเดือน 2.รายจ่ายในครัวเรือนของสมาชิกลดลง 3.เกิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนอย่างน้อย 1จุด 4.มีการประสานความร่วมมือในการรับซื้อ จำหน่ายผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยกับหน่วยงานภาคราชการไม่น้อยกว่า 1หน่วยงาน

0.00
6 เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

1.มีผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยจากสวนยางพารามาจำหน่ายในชุมชน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เป้าหมายหลัก 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 551 105,895.00 33 68,060.00
6 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศน์ผู้รับทุน 3 1,000.00 480.00
11 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 9 425.00 425.00
23 มิ.ย. 65 .เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์ 30 2,625.00 2,625.00
24 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 9 425.00 425.00
25 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายประกอบโครงการ 1 1,000.00 1,000.00
29 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 9 425.00 425.00
30 ก.ค. 65 กิจกรรมศึกษาดูงาน 30 16,300.00 16,300.00
30 ก.ค. 65 กิจกรรมเวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง 30 6,100.00 6,100.00
15 ส.ค. 65 กิจกรรมออกแบบแปลงปลูกรายแปลง 30 6,100.00 6,100.00
26 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 9 425.00 425.00
29 ส.ค. 65 กิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก 30 14,700.00 14,700.00
12 ก.ย. 65 งานสมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข 5 500.00 480.00
16 ก.ย. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมหนุนเสริมการปลูก 30 0.00 0.00
24 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 9 425.00 425.00
20 ต.ค. 65 กิจกรรมเรียนรู้การผลิตสารทดแทนสารเคมีปราบศัตรูพืช 30 3,350.00 0.00
26 ต.ค. 65 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)1 15 2,390.00 0.00
27 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 9 425.00 425.00
27 ต.ค. 65 . กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก 1 30 6,100.00 0.00
31 ต.ค. 65 กิจกรรมจัดทำเรือนเพาะชำ 30 16,800.00 16,800.00
1 พ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมสร้างพื้นที่แบ่งปันผลผลิตในชุมชน 30 0.00 0.00
15 พ.ย. 65 กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก 1 8 2,310.00 0.00
25 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่7 9 425.00 425.00
21 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่8 9 425.00 0.00
29 ธ.ค. 65 . กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก 2 8 2,310.00 0.00
26 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่9 9 425.00 0.00
22 ก.พ. 66 กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก 3 8 2,310.00 0.00
23 ก.พ. 66 . กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก2 30 6,100.00 0.00
24 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่10 9 425.00 0.00
23 มี.ค. 66 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)2 15 2,350.00 0.00
24 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่11 9 0.00 0.00
30 มี.ค. 66 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ 50 9,300.00 0.00
20 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่12 9 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดพื้นที่อาหารปลอดภัยในสวนยางพารา คนในชุมชนได้บริโภคพืชอาหารปลอดภัย มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตทั้งในและนอกชุมชน ผู้ร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:21 น.